คาถาพระสีวลี

หัวใจพระสีวลี
นะชาลีติ
นะ หมายถึง นอบน้อม มีสัมมาคาราวะ
ชา หมายถึง ขวนขวายเรื่องการงาน
ลี หมายถึง ไม่นอนมาก ไม่นอนดึก ไม่ตื่นสาย
ติ หมายถึง ว่าโดยทั้งหมด

ท่องตอน ติดต่อลูกค้า คุยกับผู้ใหญ่ ติดต่องานการ
“นะชาลีติ ประสิทธิลาภา”

คาถาบูชาพระสีวลี
สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ

คาถาพระสีวลี(คาถาเมตตามหานิยม)
พุทฺธังฺ เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ ธัมฺมังฺ เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ สังฺฆังฺ เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ สีวลี เมตฺตา นะ-ชา-ลี-ติ

อ่านเพิ่มเติม

วิธีขอลาภพระสีวลีเถระเจ้า

ทุกวันพระขึ้น15ค่ำ ผู้ใดปรารถนาโชค สิริมงคลในชีวิตพึงรักษาศีล 5 หรือศีล 8 ทำจิตใจของตนให้สะอาด นุ่งห่มขาว หากมีพระธาตุหรือรูปองค์ท่านได้ยิ่งดี ให้ทำตอนเที่ยงคืนจะดีมากหรือถ้าจำเป็นจริงๆเวลา 3 ทุ่มก็ได้
ให้จัดที่บูชาพระสีวลีในห้องพระดังนี้
– ให้ตั้งโต๊ะปูผ้าขาว
– มีพานใส่ดอกไม้ขาวเท่าอายุ
– ธูป 3 ดอก
– เทียนขี้ผึ้งแท้ 9 เล่ม
– น้ำผึ้งอย่างดี 1ขวด
– ปัจจัย 1000 บาท
พึงจุดธูปเทียนไหว้พระสวดมนต์ สมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 แล้วกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ สวดบูชาพระสีวลีดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

คาถาบูชาพระสีวลี

พระสีวลี ได้รับยกย่องในทางผู้มีลาภมาก ด้วยอำนาจบุญที่ท่าน พระสิวลี ได้บำเพ็ญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติ เป็นปัจจัยส่งผลให้ท่านเจริญด้วยลาภสักการะ โดยมีเทพยดา นาค ครุฑ และมนุษย์ทั้งหลาย นำมาถวายโดยมิขาดตกบกพร่อง เราจึงควรที่บูชาสักการะคาถาพระฉิมพลี พระสิวลีเป็นประจำ

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ

อ่านเพิ่มเติม

เคล็ดลับการบูชาพระสีวลีเสริมโชคลาภ

พระสีวลีเป็นพระเถระ ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นพระอรหันต์ที่เลิศทางลาภสักการะมากหากผู้ใดมีพระสีวลีไว้บูชา ประจำบ้านเรือน จะนำโชคมหาลาภ มาสู่ท่านผู้บูชา ในธุรกิจ การค้า หรือเคหาสน์สถานบ้านเรือนหากได้บูชาพระสีวลีแล้วจะสำเร็จดังปรารถนาแน่นอน

คำบูชาพระสีวลี

นโม ( ๓ จบ )

สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา

สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ลาภัง ภะวันตุ เมฯ

อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิชื่อดัง

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ ในแต่วันมีผู้ศรัทธาพากันมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น
ที่ตั้งและการเดินทาง ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด รถยนต์ส่วนตัว จากอำเภอด่านขุนทดให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 ไปทางอำเภอบำเน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ประมาณ 11 กม.จะเห็นซุ้มประตูวัดทางขวามือชัดเจน เลี้ยวเข้าไปอีกราว 1 กม.จะถึงที่ตั้งวัด ถ้ามาจากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ขับผ่านอำเภอปากช่องถึงอำเภอสีคิ้ว เลี้่ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 201ขับตรงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด
รถประจำทาง นั่งสองแถวที่หน้า รพ.ด่านขุนทดราคา 6 บาทหรือนั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้างจากหน้ารพ.ด่านขุนทดไปส่งราคาเดียว 60 บาทประวัติวัดบ้านไร่ : เดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมี พระอาจารเชื่อม
วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้มีการสร้างศาสนอาคารต่างๆขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธเป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด โดยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศ ได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เช่นการบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

ขอขอบคุณ http://th49.ilovetranslation.com/

‘มหามงคล’จากเทพเจ้าด่านขุนทดหลวงพ่อคูณ

jbj966ee9bihfa7b8d5f6

วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ตั้งอยู่ในต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา มีชื่อเสียงเนื่องจากหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ

เดิมที่วัดบ้านไร่เป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี ๒๔๓๖ ในช่วงรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระอาจารย์เชื่อม วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกได้มีการก่อสร้างศาสนอาคารต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด ด้วยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล โดยเริ่มสร้างอุโบสถ ปี ๒๔๙๖ นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น การบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เกจิที่มาแรงแห่งยุค

spd_20090502152747_b

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ มาแรงจริงๆครับ เกจิแห่งที่ราบสูง โคราช ทั่วฟ้าเมืองไทยจนกระทั่ง ชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ ต่างรู้จักและศรัทธาหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก หลังจากหลวงพ่อคูณอุปสมบทได้เพียง 7 พรรษา ท่านได้สร้างเครื่องราง,ของขลังขึ้นมาเป็นยุคแรก เป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ประมาณปี พศ..2493 การปลุกเสก พระเครื่อง ของขลังของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กี่บท หัวใจพระคาถาคือ มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ พุทโธ และยานะ

“ใครขอกูก็ให้ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หลายคนถามว่า หลวงพ่อคูณแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ
หลวงพ่อคูณท่านตอบไปว่า กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม “ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก” อ่านเพิ่มเติม

ไหว้ครู ทอดผ้าป่า วัดแสงแก้วโพธิญาณ ขอพร ครูบาอริยชาติ

ยามนี้ชื่อเสียงของ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มิใช่เป็นที่คุ้นเคยของพุทธศาสนิกชนชาวไทยเท่านั้น ยังดังไกลไปถึงต่างแดน ชาวสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศจีน ต่างบินลัดฟ้ามากราบสักการะและแวะไปเยี่ยมเยือนมิได้ขาด ด้วยหน่อเนื้อนาบุญและบารมีของ ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสหนุ่มน้อย ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของศิษยานุศิษย์ทั่วสารทิศ

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาพลังแห่งศรัทธาของสาธุชนที่ร่วมบริจาคทุนทรัพย์พัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณจากเชิงดอยห่างไกลและทุรกันดาร กลายเป็นสถานที่สวยงามอลังการที่สุดแห่งหนึ่งของภาคเหนือ เปรียบประดุจวิมานบนสวรรค์ชั้นฟ้าก็ไม่ปาน กลายเป็นแหล่งศึกษาธรรมแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ รูปหล่อโลหะครูบาเจ้าศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งโดดเด่นเป็นสง่า พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และวิหารผสมผสาน ๓ ศิลปะไว้ด้วยกันอย่างลงตัว นั่นคือ ศิลปะล้านนา ไตใหญ่ (ไทยใหญ่) และพม่า จึงงามวิจิตรแปลกตาและชวนให้หลงใหลมิรู้ลืม

ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เสียสละทุ่มเทแรงกายและแรงใจ เชิญชวนสาธุชนร่วมกันก่อสร้างและพัฒนาวัดแสงแก้วโพธิญาณจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี ทุกเทศกาลหรืองานสำคัญจะจัดกิจกรรมให้สาธุชนเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมเสมอมิได้ขาด ในช่วงมหาสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองที่ผ่านมา ครูบาอริยชาติ ก็จัดพิธีทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม สวดพระไตรปิฎก และสรงน้ำพระพุทธรูป เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว ซึ่งมีญาติโยมจำนวนมากร่วมงานบุญครั้งยิ่งใหญ่โดยพร้อมเพรียงกัน

ทั้งนี้ในวันที่ ๑๒ เม.ย. ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา วัดแสงแก้วโพธิญาณ ได้นำรูปหล่อขนาดใหญ่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกวนอิมพันมือ มาประดิษฐานที่วัดแสงแก้วโพธิญาณเพื่อเป็นศูนย์รวมพลังศรัทธาเพิ่มเติมจากเดิม โดยได้เกิดเหตุการณ์สุดอัศจรรย์ พระอาทิตย์ทรงกลดเป็นรัศมีวงกลมขนาดใหญ่ทั่วท้องฟ้าสว่างสดใส สร้างความฮือฮาให้แก่สาธุชนที่ไปร่วมพิธีกันทั่วหน้าอีกด้วย เชื่อกันว่าเป็นนิมิตหมายอันดี เป็นสิริมงคลยิ่งนักในโอกาสมหามงคล วัดแสงแก้วโพธิญาณ ได้จัดงานใหญ่ขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ งานพิธีไหว้ครูและทอดผ้าป่าประจำปี ในวันที่ ๑๐ พ.ค. ๒๕๕๗

ที่จะถึงนี้ โดยพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. ใส่บาตรพระภิกษุสงฆ์เวลา ๐๙.๐๐ น. บวงสรวงเทพพรหมเทวดา อ่านโองการไหว้ครู และถวายเครื่องสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

เวลา ๑๑.๓๐ น. พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล เวลา ๑๓.๐๐ น. เชิญร่วมพิธีทอดผ้าป่าปลดหนี้ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกวนอิมพันมือ เวลา ๑๔.๐๐ น. มีพิธีเป่ายันต์เศรษฐีนวโกฏิและครอบเศียรครู

ในโอกาสนี้ วัดแสงแก้วโพธิญาณ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลสุดเข้มขลัง ได้แก่ เหรียญปลดหนี้ ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เพื่อหาทุนทรัพย์ไปใช้ในการก่อสร้างหรือปลดหนี้ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกวนอิมปางพันมือ รวม ๒ เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ ๙ เหรียญ (เปิดประมูลในวันงาน) เนื้อเงิน ๕๐๐ เหรียญ

ขอขอบคุณ http://www.dailynews.co.th

กำเนิด “ครูบาน้อย” –ครูบาอริยชาติตอนที่ 1

019

โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันศุกร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔…

“พี่…เด็กคนนี้เลี้ยงให้ดีนะ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ผมทำคลอดมาหลายคน ยังไม่เคยเห็นเหมือนเด็กคนนี้เลย…”

“คุณหมอสุชาติ” แพทย์ผู้ทำคลอดให้กับ นางจำนงค์ อุ่นต๊ะ บอกกับนางจำนงเมื่อวันที่บุตรชายคนที่ ๓ ของนางลืมตาดูโลกเป็นวันแรก แล้วคุณหมอผู้ทำคลอดก็ขออนุญาตตั้งชื่อให้ทารกแรกเกิดผู้นี้ว่า “เก่ง”

ณ วันนั้น การได้เห็นลูกน้อยซึ่งตนอุ้มท้องมานานถึง ๙ เดือน เป็นความปีติยินดีของนางจำนงค์ยิ่งกว่าสิ่งใด อีกทั้งลักษณะของบุตรชายที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้น ก็ทำให้นางจำนงค์รู้สึกภูมิใจไม่น้อย ด้วย “เด็กชายเก่ง” ผู้นี้ มีลักษณะอัน “งาม” ยิ่ง กล่าวคือ…ผิวพรรณผุดผ่อง ตาโต ใบหูยาวใหญ่ นิ้วมือนิ้วเท้าเรียวยาว…ซึ่งรูปลักษณ์เช่นนี้ตามคำทำนายของคนเฒ่าคนแก่แต่โบร่ำโบราณว่ากันว่า…นี่คือลักษณะของ “ผู้มีบุญ”

ทารกน้อยผู้เป็นลูกชาย ทำให้นางจำนงค์นึกถึงความฝันอันประหลาดซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ก่อนจะตั้งท้องลูกคนนี้ ครั้งแรกนางฝันไปว่า…ได้รับผ้าผืนใหญ่สีขาวนวลตา เมื่อพิจารณาดูก็รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เพราะผ้าผืนนั้นขาวสะอาดไร้รอยเปื้อนใดๆ

และครั้งที่สอง… “แม่ฝันว่าผลักประตูเข้าไปในห้องนอน เห็นแต่สีเหลืองทองเต็มห้องไปหมด…”
ไม่ว่าจะเป็นความฝันที่น่าจะเป็นนิมิตหมายอันดี หรือรูปลักษณ์อันงามของบุตรชายคนสุดท้องก็ตาม วันที่ “เด็กชายเก่ง” หรือ สุชาติ อุ่นต๊ะ ถือกำเนิดขึ้น ก็นับเป็นวันแห่งความสุขและความปลื้มปีติของนายสุขและนางจำนงค์ผู้เป็นบิดาและมารดาอย่างที่สุด

ถึงอย่างนั้น ใครเล่าจะคาดคิด ว่าในกาลข้างหน้า เด็กชายผู้ลืมตาดูโลกในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้นี้ จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม “ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต” … “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจรดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย ตลอดรวมถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำยกย่องว่า “ครูบา” หรือ “ตนบุญ” นี้ ถูกเรียกขานมาตั้งแต่นักบวชหนุ่มผู้นี้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ได้เพียงไม่กี่ปี

เป็น “ครูบาน้อย” ตั้งแต่อายุยังน้อย และตั้งแต่ยังเป็นเพียงสามเณรเท่านั้น!

ขอขอบคุณ http://www.watsangkaew.com/

พระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ตนบุญแห่งล้านนา : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

9k86bbeib96ah6bg99b5c

“ครูบาคิดว่าความสวยงามในวัตถุทำให้เกิดกุศลขึ้นในจิตใจ เรามาวัดอย่างน้อยได้เห็นความร่มรื่น ได้เห็นความสงบ ได้เห็นสิ่งสวยงาม ได้เห็นพระพุทธรูป ได้เห็นความเป็นไทย จิตเราจะเกิดความเบิกบาน นี่คือคำว่า บุญ”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปณิธานในการสร้างวัดของพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยท่านได้สร้างมีรูปหล่อเหมือนพระครูเจ้าศรีวิชัยหน้าตัก ๙ เมตร เนื้อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นตระการตา เป็นที่เคารพสักการะของผู้ที่มาเยือน มีเทพทันใจให้ผู้คนได้เสี่ยงทายขอโชคลาภ มีแม่นางกวักตุ้ยนุ้ยให้ได้บูชาเป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์

ครูบาอริยชาติ ถือวัตรปฏิบัติเช่นเดียวกับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ลูกศิษย์จึงตั้งสมญานามว่า “ครูบาอริยชาติ ตนบุญแห่งล้านนา” โดยในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางไปกราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก

ครูบาอริยชาติ บอกว่า คำถามยอดฮิตที่มาหาครูบา คือ “เมื่อไรจะรวย เมื่อไรจะดี เมื่อไรจะขายที่ได้” เท่าที่มีคนมาหายังไม่เคยเห็นคนรวยเลย เจ้าของโรงงานมีคนงานเป็นพัน ก็มาถามครูบาว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของโรงแรมขนาด ๕๐ ห้อง ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของที่เป็นพันไร่ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” นั่งรถเบนซ์มาก็ถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” ใครต่อใครที่ก้าวเข้ามาในวัด แต่งตัวดีใส่นาฬิกาโรเล็กซ์ ใส่เพชรใส่พลอยเต็มตัวสุดท้ายก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?”

ตั้งแต่บวชเป็นพระมาครูบายังไม่เคยเห็นคนรวยเข้ามาที่นี่เลย คนเราเวลาขอพร มักบอกขอให้รวยมีเงินมีทอง ครูบาว่า คนเราถึงจะมีเงินมากก็ตาม แต่เงินก็ไม่สามารถให้ความสุขแก่เราได้ มีเงินก็ต้องมีความสามารถ ในการบริหารเงิน มีเงินแล้วบริหารไม่ดีก็หมด ติดเหล้า ติดยา ติดเพื่อน ติดการพนัน นำความเดือดร้อนมาให้ครอบครัว มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้านก็ไม่มีความสุขถ้าไม่รู้จักพอ คนเราถ้ารูจักพอมันก็รวยแล้ว

พร้อมกันนี้ ครูบาอริยชาติ ยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ให้สนใจศึกษาเรื่องภายใน เรื่องของตนเอง ไม่ต้องไปไกลถึงนอกโลก บางคนมาคุยกับครูบา รู้ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องภายนอก รู้เหตุการณ์บ้านเมือง รู้ความเป็นไปของโลก คนไปโลกพระจันทร์ชื่ออะไร นิลอาร์มสตรอง รู้ถึงนอกโลกโน้นแน่ะ พอถามว่า “แล้ววันนี้กินข้ากี่คำ?” กลับตอบว่า “ไม่รู้” ไม่รู้เพราะอะไร เพราะไม่สนใจศึกษาเรื่องของตนเอง รู้จักคนอื่น รู้จักโลกอื่น แต่ไม่รู้จักตนเองก็ไม่มีประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม

ความฝันของหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป ในคืนวันที่ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ละสังขาร

ความฝันของหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป ในคืนวันที่
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ละสังขาร

ปลายปีที่แล้วในระยะหลวงตาอาพาธ อาตมาได้แวะไปเยี่ยมหลายครั้ง ในวันที่หลวงตามหาบัวจะละสังขาร อาตมภาพ ขณะพักจำวัดหลับเคลิ้มไป ก็

ปรากฏว่าหลวงตามหาบัวแวะมาหากราบ ๓ ครั้ง ก็พูดว่า “เจ้าคุณฯ ผมมาลานะ” อาตมภาพก็ถามว่า “จะลาไปไหน ?” ท่านบอกว่า “ไปที่ไม่เกิดอีก เพราะชาติสุดท้ายของผม ให้เจ้าคุณอยู่ต่อไป ให้ลูกหลานได้กราบไหว้” แล้วหายไป

ตื่นขึ้นก็จำความฝันได้ชัดเจน เวลาประมาณตี ๔ นาฬิกา ก็ยังนึกอยู่ว่า หลวงตามหาบัว คงไม่ได้อยู่กับพวกเราแล้ว ตอนเช้าก็รับทราบว่ามรณภาพ รู้สึกใจหายและรู้สึกอาลัยในการจากไปของหลวงตาเป็นที่สุด ซึ่งอาตมภาพมั่นใจว่า “ท่านไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว” ท่านได้วางแบบอย่างอันงดงาม ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตาม ขอให้ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนได้สืบแนวปฏิปทาต่อไป

พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)

(จาก หนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์)

ขอยคุณข้อมูลจาก : http://muangput.com/webboard/index.php/topic,636.0.html

เคลื่อนขบวนไปสู่ความจริง

เคลื่อนขบวนไปสู่ความจริง

พฤศจิกายนเป็นเดือนท้ายของฤดูฝน อุณหภูมิเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่หน้าหนาว ตอนเช้ามี หมอกลงบางเบา อากาศหนาว ท้องฟ้าโปร่ง แจ่มใสในเวลากลางวัน กลางคืนหนาวเยือกเย็นต้องห่มผ้าหนา หลายผืน ลมประจำฤดูเริ่มพัดโชยมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือและพัดผ่านลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นการแสดงถึงอาการที่จะเข้าสู่หน้าหนาว พืชไร่ และต้นข้าวในนาของชาวไร่ชาวนา กำลังแก่ใบเหลือง เป็นสีทอง เมล็ดข้าวในรวงกำลังสุกสกาวเหลืองอร่ามแผ่กระจายไปทั่วทุกท้องนาอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดสาย หูสายตา น้ำตามตลิ่ง ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ เริ่มหยุดไหล ประชาชนชาวไร่ชาวนาในชนบทกำลังมี ความหวัง ที่จะได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของตน มองดูใบหน้าและแววตาของแต่ละคน มีความสดชื่นเป็นประกาย นั่นหมายถึง การทำไร่ทำนาในปีนี้กำลังให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ แต่ละคนมีความกระปรี้กระเปร่ากุลีกุจอเตรียม เสาะแสวงหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยวข้าวกัน เช่น เคียวเกี่ยวข้าว ต้องซื้อต้องหา กระบุง ตะกร้า มีด พร้า จอบ เสียม ตลอดทั้งเตียมถากถางกลางลานนา สำหรับเป็นที่นวดข้าว เป็นต้น เหล่านี้ เป็นวิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนาในภาคอีสานทั่วไป

ชาวบ้านหนองผือก็เช่นเดียวกัน มีความหวังตั้งตารอ ที่จะได้ลงนาเก็บเกี่ยวข้าวกันในเดือนนี้ แต่ก็พะวักพะวนรอฟังข่าวคราวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่อยู่ทางวัดป่าบ้านหนองผือเพราะท่านทราบว่าองค์ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านชราภาพมากแล้ว อาการอาพาธของท่านมีแต่ทรงกับทรุดครูบาอาจารย์ที่อุปัฏฐากท่าน ก็พยายามช่วยเยียวยารักษาท่านอย่างเต็มที่ มีพระอาจารย์มหาบัวญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส และพระอาจารย์วัน อุตฺตโม พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ที่เป็นฆราวาสก็ช่วยติดตามหมอชาวบ้าน ที่เคยเป็นหมอ เสนารักษ์ประจำตำบลมาฉีดยารักษาให้หลายครั้งหลายคราว แต่อาการอาพาธของท่านมีแต่พอทุเลา แล้วก็ทรุดลง ไปอีกดังที่กล่าวมาแล้ว

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
พรอาจารย์ฝั้น อาจาโร
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
พระเถระบางรูปที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์

เมื่อออกพรรษาแล้วครูบาอาจารย์พระเถระผู้ใหญ่จึงเริ่มทยอยเดินทาง เข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ เช่น พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์เทสก์ เทสรํงสี พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นต้น หลายครั้งหลายหนจนพระทั่งปลายเดือนตุลาคมขึ้นต้นเดือนพฤศจิกายน ประมาณวันที่ ๑ หรือ ๒ พ.ศ. ๒๔๙๒ ข่าวทางวัดกระจายเข้ามาถึงหมู่บ้านและกระจายไปทั่วหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ว่า ทางคณะครูบาอาจารย์ท่านได้ตกลงกันว่า จะนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งกำลังอาพาธอยู่ ออกไปจาก บ้านหนองผือในวันพรุ่งนี้

เหตุการณ์นี้ทำให้ญาติโยมชาวบ้านหนองผือ มีความรู้สึกซึมเซาจนตั้งตัวไม่ติดคิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ถูกเลยทีเดียว ภาษาในสมัยใหม่เรียกว่า ” ช็อค ” เกือบจะทั้งหมู่บ้านจากนั้นความหม่นหมองก็เข้า มาแทนที่ในดวงจิตของประชาชนชาวบ้านหนองผือ ด้วยความว้าวุ่นขุ่นมัวตลอดมา จะพากันคิดพิจารณาทัดทาน ขอร้องไม่ให้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ออกไปจากบ้านหนองผือก็ทำไม่ได้ เพราะด้วยความเคารพศรัทธา เลื่อมใสในครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ด้วยจะนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ

บางท่านก็มีความเห็นว่า ที่อยากจะให้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากบ้านหนองผือเพื่อไปรักษา ตัวที่วัดป่าสุทธาวาส เพราะอยู่ในตัวจังหวัดการหมอการแพทย์ทันสมัยกว่า ความเจริญทางการแพทย์กำลังเข้าสู่ตัวจังหวัดสกลนคร การเยียวยารักษาคงจะแน่นอนขึ้น บางท่านก็มีเหตุผลว่า องค์ท่าน พระอาจารย์เคยปรารภถึงโยมแม่นุ่มในทำนองยกย่องอยู่เสมอ ๆ ในครั้งที่องค์ท่านเริ่มอาพาธใหม่ ๆ ตอนในพรรษา ชะรอยองค์ท่านคงจะต้องการให้นำท่านไปวัดป่าสุทธาวาสเพื่อจะได้โปรดโยมแม่นุ่ม ซึ่งเคยอุปการะต่อครูบาอาจารย์ สายวัดป่ากัมมัฏฐานเป็นครั้งสุดท้ายเลยถือเป็นเหตุอ้างในการตกลงนำองค์ท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส

บ้างก็มีเหตุผลที่มองการณ์ไกลออกไปอีกว่า การอาพาธของท่านพระอาจารย์ใหญ่ของเราในคราวนี้ คงเป็นครั้งสุดท้าย จะเอายาอะไรมาเยียวยารักษาก็คงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพราะองค์ท่านพระอาจารย์ ท่านพูดอยู่เสมอๆ ว่า ” เอาน้ำมารดไม้แก่นล่อน ให้มันป่งเป็นใบ สิมีหรือ ” ( เป็นคำถิ่นอีสาน หมายความว่า จะเอาน้ำมารดต้นไม้ที่ตายยืนต้นเหลือแต่แก่นให้ผลิดอกออกใบอีกนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ) เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่าองค์ท่านพระอาจารย์จะต้องจากพวกเราไปอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นหากท่านมรณภาพที่บ้านหนองผือ แล้ว จะมีเหตุขัดข้องหลายอย่างหลายประการ ผู้คนประชาชนก็จะมามาก หนทางไปมาก็ไม่สะดวก ตลาดก็ไม่มี เกรงว่าจะเป็นเหตุให้สัตว์ตายในงานนี้เป็นจำนวนมาก เขาจะฆ่าทำอาหารสำหรับเลี้ยงแขกที่มาในงานถ้ามรณภาพ ที่วัดป่าสุทธาวาส ก็มีตลาดเขาทำกันอยู่แล้ว

จากนั้นท่านพระอาจรย์มั่จึงพูดว่า “รอให้ผู้ใหญ่มาเกิ่น ผู้ใหญ่เพิ่นสิว่าจั่งใด” ผู้ใหญ่ในที่นี้คงจะ หมายถึงพระอาจารย์เทสก์ เทสรํงสี เพราะเมื่อท่านพระอาจารย์มั่นพูดได้ไม่นานก็พอดีเป็นจังหวะที่พระอาจารย์ เทสก์เข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือในวันนั้น

หลังจากนั้นข่าวการจะหามท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากบ้านหนองผือก็เป็นความจริงการดำเนิน การหามจึงเริ่มขึ้น คือการเตรียมอุปกรณ์ในการหาม โดยป่าวร้องให้ประชาชนชาวบ้านหนองผือช่วยกันจัดหาแคร่ไม้ โดยใช้ไม้ไผ่ทั้งลำ ตัดยาวประมาณ ๒ วา ๔ ลำ เชือกอีกประมาณ ๘ เส้น และผ้าขาวสำหรับมุงหลังคากันแดด ประกอบกันเข้าทำเหมือนประทุนเกวียนเมื่อทำแน่นหนามั่นคงเรียบร้อยจึงเก็บเตรียมไว้ พอเช้าวันรุ่นขึ้นฉันจังหันเสร็จ พระเณรก็ไปที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้อัฐบริขารที่จำเป็นต้องนำไปด้วย

เมื่อพระเณรจัดเก็บอัฐบริขารที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มีหน้าที่หามก็หามแคร่ไม้ที่ทำเสร็จแล้วนั้นไปตั้งที่หน้ากุฏิท่าน แล้วพระเณรจึงเข้าไปกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อจะได้นำองค์ท่านขึ้นแคร่หามที่เตรียมไว้ เมื่อท่านทราบท่านพระอาจารย์มั่นนิ่งไม่ว่าอะไรพระเณรทั้งหลายถือเอาอาการนั้นว่า ท่านรับอาราธนาหรืออนุญาตแล้ว ดังนั้นพระเถระและพระอุปัฏฐากจึงขอโอกาสเข้าไปประคองท่านพระอาจารย์ให้ลุกขึ้น แล้วประคองพาเดินลง จากกุฏิไปยังแคร่หาม

ในตอนนี้ผู้คนประชาชนกำลังทยอยกันมาเป็นจำนวนมาก ตลอดทั้งพระเณรและผู้ที่จะนำส่งท่าน ก็เตรียมพร้อมแล้ว สำหรับโยมผู้ชายที่แข็งแรงเป็นผู้หามก็เข้าประจำที่ เมื่อได้เวลาจึงให้สัญญาณว่าพร้อมแล้ว ทั้งหมดจึงพากันยกคานหามขึ้นบ่าแล้วออกเดินทางโดยบ่ายหน้าไปทางทิศจะวันตกของวัด และเดินตามถนนไปสู่ทางออก ประตูวัด ผู้คนประชาชนพร้อมทั้งพระเณรก็ขยับเขยื้อนเคลื่อนตามขบวนหามไป แต่ละท่านแต่ละคนเงียบกริบ ไม่มีเสียงพูดจากันบ้างก็ช่วยสะพายบาตรพระ บ้างก็ช่วยถืออัฐบริขาร บ้างก็เดินสะพายถุงและย่าม ตามไป เอาใจช่วยเป็นกำลัง บ้างก็ช่วยแบกกลดและร่ม บ้างก็ถือกระติกน้ำร้อนและน้ำเย็น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเดินทาง ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หามก็ขะมักเขม้น เดินไปอย่างขยันขันแข็ง จนกระทั่งผ่านประตูวัดออไป แล้วลงสู่ทุ่งนาอันกว้าง ไกลพอสมควร ซึ่งในระหว่างทุ่งนามีสะพานทำด้วยไม้กว้างประมาณ ๑.๘๐ เมตร ทอดยาวดิ่งจากฝั่งทุ่งนาด้านนี้ ไปจรดทุ่งนาด้านโน้นเป็นระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร กระดานพื้นสะพานทำด้วยไม้ตะเคียนเลื่อยผาเป็นแผ่น แต่ละแผ่นกว้างประมาณ ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร ปูเรียงคู่สองแผ่นต่อกันไปจนสุดสายทางข้ามทุ่งนา

การหามท่านพระอาจารย์มั่นก็หามไปตามสะพานนี้ จนผ่านพ้นสะพานแล้วมุ่งขึ้นสู่ถนนกลางหมู่บ้าน หนองผือ ในช่วงที่ผ่านหมู่บ้านนี้มีผู้คนประชาชนเด็กเล็กพากันชะเง้อชะแง้มองดูพอรู้ว่าเป็นขบวนหามท่าน พระอาจารย์ใหญ่ พวกเขาก็มุ่งเข้ามาดูใกล้ๆ ตามขอบข้างทางเป็นแถวบางคนนั่งพนมมือ และบางคนก็นั่งคุกเข่า พนมมือกราบเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยความอาลัยอาวรณ์สุดเสียดายจนขบวนหามผ่านเลยไปและผ่านพ้นหมู่บ้าน มุ่งเข้าสู่ทางเกวียนที่จะไปบ้านห้วยบุ่นซึ่งเป็นช่องทางเกวียน ลุลอดเลี้ยวไปมาตามใต้ดงหนา ป่าทึบอันเขียวครึ้มขจีเต็ม ไปด้วยแมกไม้ต่างๆ นานาพรรณ ทั้งเสียงนกตัวจบอยู่บนยอดกิ่งไม้สูงส่งเสียงร้อง โพระดก โกโต้ง โกโต้ง ก้องกังวาลไพรไปไกลทั่ว ตลอดทั้งตามรายทางก็มีเสียงแมลงป่าเรไรซึ่งจับอยู่บนต้นไม้ทั่วไปร้องกรีดกริ่งคล้าย เสียงกระดิ่งวัว เมื่อขบวนหามผ่านเข้าไปใกล้มันก็หยุดร้อง คอยสังเกตุดูจนขบวนหามนั้นผ่านเลยไป เห็นว่า ไม่เป็นภัยแล้วมันก็ร้องขึ้นมาใหม่ เป็นอย่างนี้จนทะลุเข้าสู่ละแวกบ้านห้วยบุ่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านของคนเผ่าข่าหรือ พวกโซ่

เมื่อขบวนหามผ่านบ้านห้วยบุ่นแล้ว เลยลุลงมาสู่ทุ่งนาอีกครั้ง ซึ่งเป็นร่องน้ำซับจนกระทั่งผ่านไปได้ จึงขึ้น สู่ทางเกวียนอันเป็นเนินและลุ่ม สุงๆ ต่ำๆ บางทีก็คดโค้งทอดยาวไปเลี้ยวซ้ายแลเลี้ยวขวาตามต้นไม้สูงใหญ่ เป็นเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงจึงถึงอีกหมู่บ้านหนึ่งคือบ้านนาเลา ขบวนไม่ได้หยุดพักในหมู่บ้านนี้ได้หามผ่านเลยออกไป จนถึงคลองน้ำซับซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้เท่าใดนัก ที่นั่นมีบ่อน้ำเล็กๆ อยู่ริมคลอง น้ำซับและมีน้ำบ่อไหลออกมาใสเย็น สะอาดบริเวณใกล้ๆ เป็นเนินร่มรื่นซึ่งใช้เป็นที่หยุดพักของคนเดินทางไปมา เมื่อขบวนหามท่านพระอาจารย์มาถึง ตรงนั้นจึงตกลง พากันหยุดพักเหนื่อยเสียก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป ผู้ที่หามแคร่ตลอดทั้งญาติโยม พระเณร เมื่อเห็นว่าวางแคร่หามท่านพระอาจารย์มั่นเรียบร้อยแล้ว ต่างก็นั่งพักเหนื่อย เอาแรงตามใต้ร่มไม้ต่างๆ ใกล้บริเวณนั้น บ้างก็ไปตักน้ำในบ่อด้วยครุหรือกระป๋องมาแจกจ่ายผู้ที่หามแคร่และญาติโยมที่ตามไปในขบวนให้ได้ดื่ม กินจนอิ่มหนำสำราญโดยทั่วกัน

คราวนี้ขบวนหามออกเดินทางเป็นระยะทางที่รู้สึกว่าไกลพอสมควร หามเดินไปตามทางล้อเกวียนของ ชาวไร่ชาวนา ที่สัญจรไปมาในหมู่บ้านรายทางละแวกนั้น บางช่วงก็เดินตัดลัดเลาะเลียบตามเชิงเขาภูพาน แล้วจึง โค้งไปทางหมู่บ้านโคกะโหล่ง หรือปัจจุบันเรียกบ้านคำแหว ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แต่ก็เลยผ่านออกจากหมู่บ้าน มุ่งสู่ทางเดินเท้าของชาวบ้านละแวกนั้นโดยไม่ได้หยุดพัก

ขบวนหามเดินไปเรื่อย ๆ ตามหนทางเหล่านั้น จนผ่านริมสวนไร่นาของหมู่บ้านโคกสะอาดเลาะเลียบ ไปทางใต้ของหมู่บ้าน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยไม่ได้แวะเข้าหมู่บ้านโคกสะอาดและหมู่บ้านใดอีกเลย เพียงแต่เฉียดผ่านเขตนอกหมู่บ้านเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่เขตป่าใหญ่ดงไม้ที่เรียกว่าเบญจพรรณ มี กะบาก ตะแบก เต็ง รัง ไม้แดง พะยอม พะยูง ยาง อันสูงใหญ่ลิบลิ่วจนยอดเฉียดฟ้าเทียมเมฆ ซึ่งยืนต้นเรียงราย อยู่ตามขอบสองข้างทางเดิน

พวกขบวนหามก็หามท่านพระอาจารย์มั่นไปตามหนทางอันคดเคี้ยว บ้างก็เลี้ยวหลบหลุมบ่อลึกที่แห้งขอด บ้างก็เดินตามทางที่ราบเรียบเตียนโล่งลอดใต้ต้นไม้ใหญ่พอได้อาศัยร่มเงาเย็นเป็นกำลังในการเดินทาง บางคราว ลมหนาวเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนสิบสองซึ่งพัดเอื่อยอยู่บนท้องฟ้าแผ่กระจายไปทั่วนภากาศ หอบต้อนเอา ก้อนเมฆขาวสะอาดเป็นกลุ่ม ๆ ค่อย ๆ เคลื่อนบ่ายลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลอยล่องผ่านไป ลูกแล้วลูกเล่าบาง ครั้งลมอ่อนๆ ก็พัดซู่โชยมา เบื้องล่างเป็นระลอกคลื่นสัมผัสกระทบปลายยอดกิ่งไม้ที่เรียงรายตามทางจรจนกิ่งก้าน พุ่มใบปลิวโนไปมา ส่วนใบที่เหลืองแก่แห้งขั้วก็หลุดร่วงกรูพรั่งพรูโปรบปรายลงมาเป็นสายสู่พื้นดิน คล้ายกับว่า มีใครยินดีโปรยดอกไม้เงินดอกไม้ทองลงมาจากสรวงสวรรค์ จนเวลานานเท่าไหร่ไม่ทราบจึงบรรลุเข้าสู่เขต แดนหมู่บ้านอุ่มไผ่ และต้องเลี้ยวตามทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย

การเดินในระยะทางช่วงนี้ใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ไม่ทราบ จึงบรรลุถึงทุ่งนาของชาวบ้านหนองโดก และหามเดินเลาะเลียบริมฝั่งหัวหนองโดกลงมาทางใต้ แล้วมุ่งหน้าเดินตามทางขึ้นสู่ป่าดงดิบอันเต็มไปด้วยไม้ นานาชนิด ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับป่าดงไม้ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นป่าดงในช่วงนี้รู้สึกว่ากว้างไกลพอสมควร จนกระทั่งทะลุถึงทุ่งนา ซึ่งเป็นของชาวบ้านกุดก้อมอยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านเล็กน้อย ขบวนหามก็หามผ่าน ทุ่งนา เดินตามคันนาจนถึงห้วยซึ่งมีสะพานที่ทำด้วยไม้อยู่กลางทุ่งนา โดยหามข้ามสะพานไปได้ด้วยดี แล้วจึง มุ่งไปสู่วัดป่ากลางโนนภู่อันเป็นวัดของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งของท่าน พระอาจารย์มั่นและเคยพำนักพักจำพรรษากับท่าน

แต่ก่อนจะไปถึงวัดป่ากลางโนนภู่นั้น จะต้องหามท่านพระอาจารย์มั่นเดินตามทางบนคันนาซึ่งย้อน ไปย้อนมาหักหน้าหักหลัง เพราะพื้นนานั้นเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กำลังสุกเหลืองอร่ามพอจะ เก็บเกี่ยวได้แล้ว ขบวนหามได้ไปถึงนาของโยมคนหนึ่งชื่อ คุณโยมเป้ะ ชาวบ้านกุดก้อมซึ่งได้ร่วมเดินมากับขบวนนี้ด้วย เขาเป็นอุบาสกที่มีความศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมากอยู่ เห็นความลำบากในการหามท่านย้อนไปย้อนมา บนคันนา และเวลานั้นใกล้จะค่ำอยู่แล้วจึงยอมเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ โดยยอมให้ขบวนหามเดินผ่านต้นข้าว ที่กำลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้นเพื่อตรงมุ่งหน้าสู่วัดป่ากลางโนนภู่ได้เลย เพราะที่นาของเขาอยู่ระหว่างกลาง ของทางเข้าวัด ท่านทั้งหลายลองคิดดู คนเกือบสองร้อยคนเดินผ่านนาข้าวที่กำลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้น สภาพจะเป็นอย่างไร แต่เจ้าของนารายนี้เขากลับดีใจและไม่คิดเสียดายเลย เป็นสิ่งที่แปลกนี่แหละท่านเรียก ว่าบุญ เกิดขึ้นในใจของเขาแล้ว

วัดป่ากลางโนนกู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ในที่สุดก็หามท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่วัดป่ากลางโนนกู่ บ้านกุดก้อม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้โดยสวัสดิภาพ เมื่อถึงวัดแล้วหามองค์ท่านขึ้นพำนัก พักบนกุฏิหลังหนึ่งที่กว้างขวาง และถาวรที่สุดในสมัยนั้น คราวนี้ผู้คนประชาชนพระเณรพร้อมทั้งผู้ที่ติดตามขบวนหามมา ต่างก็หลั่งไหล แห่เข้ามาภายในบริเวณวัด เพราะเป็นเวลาจะใกล้ค่ำมืดอยู่แล้วบางคนพึ่งทราบข่าวก็เข้ามาในบริเวณวัดเดี๋ยวนั้น ก็มี พระเณรที่ติดตามอุปัฏฐากซึ่งมากับพระเถระต่างก็ตระเตรียมหาที่พักชั่วคราวตามแต่จะหาได้ตรงไหน สำหรับอาจารย์ของใครๆ อย่างฉุกละหุกวุ่นวายพอสมควร สำหรับพระเถระผู้ใหญ่พร้อมกับพระอุปัฏฐากที่ ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่นก็เข้าไปชุมนุมที่กุฏิรับรองท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อย

สำหรับญาติโยมชาวบ้านหนองผือที่ติดตาม เมื่อหามส่งท่านพระอาจารย์มั่นถึงจุดหมายปลายทาง เรียบร้อยแล้วก็พากันเก็บแคร่คานหามและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้หามท่าน บางหมู่บางคณะก็กลับบ้านในคืนนั้น เพราะรีบเร่งในการที่จะลงเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังสุกแก่เต็มที่แล้วโดยเดินด้วยฝีเท้าลัดไปตามทางคนเดิน ผ่านหมู่บ้านเสาขวัญถึงวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า แล้วขึ้นสู่สันเขาภูพานข้ามตรงลงไปทางบ้านหนองผือเป็นระยะทาง ไม่ไกลนักประมาณ ๗-๘ กิโลเมตร

ศาลาพักอาพาธท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่ากลางโนนกู่

ส่วนอีกหมู่คณะหนึ่งซึ่งยังไม่กลับในคืนนั้นก็พักค้างคืนที่วัดป่ากลางโนนภู่ พอรุ่งเช้าเมื่อกินข้าว กินปลาเสร็จธุระเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางข้ามเขาภูพานกลับบ้านเช่นเดียวกัน โดยหมู่คณะหลังนี้ส่วนมากเป็นคนแก่ เมื่อเห็นว่าหมดธุระหน้าที่แล้วจึงเข้าไปขอโอกาสกราบลาท่านพระอาจารย์มั่นที่กุฏิรับรอง โดยเข้าไปกราบบอก ความประสงค์ให้พระอุปัฏฐากทราบ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ผู้ใกล้ชิดอุปัฏฐากในช่วงนั้นเข้าใจว่าคงเป็น พระอาจารย์วัน อุตฺตโม เมื่อพระอาจารย์วันเห็นญาติโยมชาวบ้านหนองผือเข้ามากราบลาท่านพระอาจารย์มั่น กลับบ้าน ท่านจึงพนมมือน้อมตัวไปทางท่านพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคำขอโอกาสรายงานท่านพระอาจารย์มั่นว่า ” พวกโยมบ้านหนองผือ มากราบลาท่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์กลับบ้านกระผม”

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้ยินเสียง จึงลืมตาขึ้นช้าๆ เห็นเป็นโยมชาวบ้านหนองผือท่านได้พูดตักเตือน เป็นสำเนียงอีสานครั้งสุดท้ายว่า ” เมือเสียเด้อ… หมดทอนี้ล่ะเน้อ… เอาน้ำไปรดไม้แก่นล่อนให้มันเป็นป่งเป็นใบ บ่มีดอกเด้อ… ให้พากันเฮ็ดพากันทำตามที่อาตมาเคยพาเฮ็ดพาทำนั้นเด้อ อย่าลืมเด้อ…ให้พากันรักษาศีลห้า ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิต ผู้นั้นเลิศที่สุด หมดทอนี้ล่ะ ” ( หมายความว่า ให้พวกโยมชาวบ้านหนองผือ พากันกลับบ้านซะ ชีวิตของท่านก็คงจะหมดเท่านี้แหละจะรักษาเยียวยาอย่างไรก็คงไม่หาย เปรียบเสมือนกับ เอาน้ำไปรดต้นไม้ที่ตายผุกร่อน เหลือแต่แก่นให้มันกลับงอกกิ่งใบได้อีก คงเป็นไปไม่ได้ นอกจากนั้นท่านให้ พากันปฏิบัติตามแนวทาง ที่ท่านเคยสั่งสอนและปฏิบัติมาแล้วนั้น ท่านว่า ไม่ให้ลืมโดยเฉพาะศีลห้าซึ่งเหมาะสำหรับ ฆราวาสที่สุด ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิตแล้วท่านว่า คนนั้นเป็นคนที่เลิศที่สุดในชีวิตของเพศฆราวาส ) จากนั้น ท่านก็หลับตาลงแล้วไม่ได้พูดอะไรต่ออีกเลย คำพูดเหล่านั้นเป็นการพูดครั้งสุดท้ายของท่าน

โยมแม่นุ่ม ชุวานนท์
เมื่อญาติโยมชาวบ้านหนองผือกลับบ้านแล้ว ก็ยังคอยฟังข่าวคราวของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ ตลอดเวลา ได้ทราบว่าท่านพักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ประมาณ ๙-๑๐ วัน จึงมีโยมแม่นุ่ม ชุวานนท์ ที่เป็นชาว เมืองสกลนคร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รู้จักและศรัทธาในพระกัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น มากในยุคแรก ได้ให้รถมารับท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส
ในการรับองค์ท่านพระอาจารย์มั่นไปในคราวนี้นั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมทางไปรับและมี หมอติดตามไปกับรถนี้ด้วย ชื่อคุณหมอประยูร ศรีมาดา ซึ่งเป็นหมอประจำสุขศาลา ในเมืองสกลนคร โดยนำรถออกวิ่งจากตัวเมืองสกลนคร ไปตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ( สมัยนั้นยังเป็นทางหินลูกรัง ) รถวิ่งไปตามทางหินลูกรังอย่างทุลักทุเล ใช้เวลากี่ชั่วโมงไม่ทราบได้ รถวิ่งมาได้โดยปลอดภัยจนกระทั่งมาหยุด จอดที่ปากทางแยกเข้าวัดป่ากลางโนนภู่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัด ประมาณ ๑ กิโลเมตร รถเข้าถึงวัดไม่ได้เพราะติดทุ่งนา ซึ่งมีแต่ทางเกวียนเล็กๆ ผ่านเข้าไปสู่หน้าวัดเท่านั้น

ดังนั้นจึงแก้ปัญหา โดยให้ญาติโยมชาวบ้านพากันหามท่านพระอาจารย์มั่นจากวัดป่ากลางโนนภู่ มาขึ้นรถที่จอดรออยู่ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ก่อนจะหามท่านออกจากวัด คุณหมอได้ฉีดยานอนหลับให้ท่านเข็มหนึ่ง จึงหามท่านมาขึ้นรถ เมื่อถึงรถก็นำองค์ท่านมาขึ้นรถ เมื่อถึงรถก็นำองค์ท่านขึ้นรถและจัดให้ท่านอยู่ในอาการที่สบาย จากนั้นขบวนรถจึงได้เคลื่อนตัวออก นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมุ่งสู่ตัวเมืองสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่นนอนหลับ ตลอดทาง จะด้วยฤทธิ์ของยานอนหลับก็ไม่อาจทราบได้ จนในที่สุดรถได้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น เข้าสู่วัด ป่าสุทธาวาสโดยปลอดภัย โดยมาถึงวัดเวลาประมาณบ่าย ๓ หรือ ๔ โมงเย็นของวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

เมื่อถึงวัดแล้วจึงหามองค์ท่านขึ้นไปพักบนกุฏิรับรองที่เตรียมไว้แล้ว และดูแลให้ท่านนอนพัก แต่อาการ ท่านอ่อนเพลียมาก ท่านไม่พูดจาอะไรเลย เป็นเพียงแต่นอนหลับตามีลมหายใจเชื่องช้าแผ่วเบา และเคลื่อนไหวกาย เล็กน้อยเท่านั้น ฝ่ายครูบาอาจารย์พระเณรในตอนนี้ต่างก็นั่งรายล้อมสงบอยู่ บางท่านก็คอยห้ามไม่ให้ส่งเสียง ดังเพื่อรักษาความสงบ และคอยเตือนผู้คนประชาชนที่ทราบข่าว และหลั่งไหลเข้ามาในบริเวณวัด ไม่ให้ส่งเสียง หรือเข้าไปใกล้รบกวนท่านที่พักผ่อนสงบอยู่นั้น

เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน มันเคลื่อนคล้อยค่ำมืดลงทุกทีจาก ๖ โมงเย็นเป็น ๑ ทุ่ม ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม และ ๔ ทุ่มผ่านไปจนถึง ๖ ทุ่ม ตี ๑ ครึ่งกว่า ๆ อาการขององค์ท่านพระอาจารย์มั่นที่นอนนิ่งอยู่บนที่นอน นั้น ก็เริ่มผิดปกติเป็นไปในทางที่ไม่น่าไว้ใจ มีความอ่อนเพลียมากขึ้น ลมหายใจแผ่วเบามากและเบาลง ๆ ตามลำดับอย่างน่าใจหาย ส่วนองค์กายของท่านนอนอยู่ในท่าครึ่งหงายตะแคงขวา ในที่สุดลมหายใจขององค์ ท่านก็สิ้นสุด ถึงแก่มรณภาพละสังขาร ไว้ให้แก่โลกไพิจารณาโดยสงบ ชีวิตขององค์ท่านจบสิ้นเพียงเท่านี้ ซึ่งตรงกับเวลาตี ๒ กว่าๆ ที่ถือว่าเป็นวันใหม่ คือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://luangpumun.org/real2.html

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด

เริ่มสวด นโม 3 จบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .