เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล สำเร็จที่ดวงใจของเรา ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านวางไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เองนี่เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย ความที่พ้นทุกข์ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่าคือ ใจเราไม่ทุกข์ แปลว่า พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้นได้ยินแล้วให้พากันน้อมเข้าภายใจ ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว

เอกํ จิตฺตํ ให้จิตเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่ ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ถ้าเราไม่รวมแล้วมันก็ไม่สำเร็จ ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องรวมถึงจะเสร็จถ้าไม่รวมเมื่อไรก็ไม่สำเร็จ

เอกํ ธมฺมํ มีธรรมดวงเดียว เวลานี้เราทั้งหลายขยายออกไปแล้วก็กว้างขวางพิสดารมากมาย ถ้าวิตถาร นัยก็พรรณนาไป ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเข้ามาแล้ว สังเขปนัยแล้ว มีธรรมอันเดียวคือ เอกํ ธมฺมํ เป็นธรรมอันเดียว

เอกํ จิตฺตํ มีจิตดวงเดียว นี่เป็นของเดิมให้พากัน ให้พึงรู้พึงเข้าใจ ต่อไป นี่แหละต่อไป พากันให้รวมเข้า มาได้ ถ้าเราไม่รวมนี่ไม่ได้ เมื่อใดจิตเราไม่รวมได้เมื่อใด มันก็ไม่สำเร็จ

นี่แหละ ให้พากันพิจารณาอันนี้ จึงได้เห็นเป็นธรรม เมื่อเอาหนังออกแล้ว ก็เอาเนื้อออกดู เอาเนื้อออกดู แล้วก็เอากระดูก ออกดู เอาทั้งหมดออกดู ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ตับไตออกมาดู มันเป็นยังไง มันเป็นคนหรือเป็นยังไง ทำไมเราต้องไปหลง เออนี่แหละพิจารณาให้มันเห็นอย่างนี้แหละ มันจะละสักกายทิฐิแน่มันจะละ วิจิกิจฉาความสงสัยจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้มันเลยไม่มี สีลพัตฯ ความลูบคลำ มันก็ไม่ลูบคลำอ้อจริง อย่างนี้ เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว จิตมันก็ว่าง

http://jessiekubik123.wordpress.com/

อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

อริยประเพณี อริยปฏิปทา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

‘อริยประเพณี อริยปฏิปทา’

“..ผู้ใดตั้งใจและมีความปรารถนา
ความเพียรอย่างแรงกล้าเด็ดเดี่ยว
ให้เดินทางไปลำพังแต่เพียงผู้เดียว
เดินทางเที่ยววิเวก อย่าได้ใกล้ชิดคลุกคลีกับผู้ใด
หากแต่ให้มีความยินดีกับความสงบ
อย่าได้มีความอยากมักมาก
หากแต่ให้มีความยินดีกับของๆ เรา
มักน้อย ถือสันโดษ และยินดีในความสันโดษ

ให้มีความยินดีพอใจในปัจจัยสี่
เฉพาะแต่ของที่ตนเองมีอยู่แล้ว
และได้ครอบครองมาโดยชอบธรรม
นี่คือสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
และเป็น ‘อริยประเพณี อริยปฏิปทา’ ที่มีมาแต่กาลก่อน
และคงดำรงสืบต่อมาไม่ได้ขาดในหมู่วงศ์พระอริยะ
ตั้งแต่อดีต..ปัจจุบัน..และสืบต่อไปในอนาคตข้างหน้า..”

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=1680.0

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
“พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตเหนือฟ้าดิน”

พระเดชพระคุณหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมชั้นสูงสุด อุปนิสัยท่านเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน นิสัยสุขุมเยือกเย็นและกว้างขวาง ปรารภความเพียรแรงกล้าเด็ดเดี่ยว ไปตามภูผาป่าเขพียงลำพัง แสวงหาความสงบวิเวก ยินดีต่อความสงบ เป็นผู้มักน้อยสันโดษ พอใจในปัจจัยสี่ที่ตนมีอยู่แล้วได้มาโดยชอบธรรม เป็นนักต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส มีสหธรรมิกคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์กว่า สุมโน
ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านพระอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน จนจิตสว่างจ้า ที่จังหวัดเชียงใหม่ พอรุ่งเช้าท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดกับท่านว่า “ผมก็ไม่ได้หลับได้นอนเหมือนกัน ส่งจิตดูท่านตลอดทั้งคืน เห็นหรือยังละว่า ศาสนาเจริญที่ไหน ธรรมเจริญที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่ประเทศอินเดียตามที่คิดตื่นบ้าอะไรกัน”
ท่านมีพลังจิตสูง หาผู้เสมอเหมือนได้ยากเช่น
๑. สามารถเรียกฟ้าฝนได้เป็นที่อัศจรรย์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ชาวจังหวัดสกลนคร เกิดทุพภิกขภัยอย่างหนักฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงเข้าไปขอฝนกับท่าน ท่านนั่งสมาธิบนลานกลางแจ้งประมาณครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่มีแดดจ้าพลันมีเสียงฟ้าร้องคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆบดบังแสงอาทิตย์ มีฝนตกเทลงมาอย่างหนักนานถึง ๓ ชั่วโมง ในปีนั้นฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง
๒. ท่านสร้างวัดต้องมีการระเบิดหิน ท่านไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ ตรงจุดนั้นระเบิดจะแรงขนาดไหนหินนั้นก็ไม่แตกร้าว
๓. ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นกระบก ลูกกระบกตกลงกับพื้นเสียงดังน่ารำคาญ ท่านกำหนดจิตไม่ให้ลูกกระบกตก ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ลูกกระบกต้นนั้นไม่หลุดหล่นลงพื้นอีกเลย
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้เล่าเรื่องพลังจิตของหลวงปู่ฝั้นไว้ว่า “สมันหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ไปยังจังหวัดจันทบุรี ท่านได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมในงานศพ มีผู้มาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่นั้น มีคนกลุ่มหนึ่ง ไม่สนใจในธรรมที่ท่านแสดง เล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน ท่านส่งกระแสจิตไปปราบพวกขี้เหล้านั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ขี้เหล้าเหล่านั้นหยุดนิ่งไร้กานเคลื่อนไหว บางคนยืนอ้าปาก บางคนถือหมากรุกในมือ บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวติงได้ จนกระทั่งท่านแสดงธรรมให้พรจบลงเดินทางกลับ ขี้เหล้าเหล่านั้นจึงกลับมาสู่ภาวะความเป็นปกติได้”
อ่านเพิ่มเติม

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ฝั้น ด้านหลังมีกี่บล๊อค

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ฝั้น ด้านหลังมีกี่บล๊อค

>>> “เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2507 โดย น.อ.เกษม งามเอก เนื่องในงานยกเสาโบสถ์น้ำ วัดป่าอุดมสมพร ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก มี 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ อัลปาก้า และทองแดง แม่พิมพ์ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนพระอาจารย์ฝั้นหันข้างครึ่งตัว ด้านล่างมีอักษรไทยว่า “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร” ส่วน แม่พิมพ์ด้านหลัง ด้านบนจารึกชื่อ “วัดป่าถ้ำขาม สกลนคร” ช่วงกลางคือ พระคาถา “หัวใจพญานกยูงทอง” ส่วนด้านล่างระบุรุ่น “รุ่นแรก ศิษย์ ทอ.สร้างถวาย” เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร.

>>> รุ่นแรก. นี้จะมีเอกลักษณ์แม่พิมพ์ลักษณะเป็นเหรียญวงรีรูปไข่ มีหูห่วง เนื้อทองแดง 9 เหรียญ และเนื้ออัลปาก้า 219 เหรียญ<< ด้านหน้าเหรียญจะใช้บล็อกเหรียญพระอาจารย์ฝั้นรุ่นแรกเหมือนกันหมด

>>> ส่วนด้านหลังเหรียญ ทั้ง 7 รุ่นจะใช้บล็อกแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน คือ 7 รุ่น ก็มี 7 บล็อกที่ไม่เหมือนกัน . <<<

ข้อมูลจาก….Coins/Teacher-Juliette.Info.Org.

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=146f24c87498a44a

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (วัดป่าอุดมสมพร) และสถาที่ต่างๆของอำเภอพรรณานิคม

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (วัดป่าอุดมสมพร) และสถาที่ต่างๆของอำเภอพรรณานิคม

พระธาตุภูเพ็ก
ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร – อุดรธานี ห่างจากตัวเมืองสกลนครไปประมาณ 22 กม. มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กม. ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันได 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทราย อยู่บนฐานศิลาแลงมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มี หลังคาและยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่อง ประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือ ตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกันระหว่างกลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิง เพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุ ของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายสร้างพระธาตุภูเพ็ก ได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็น กลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุ ภูเพ็กตามชื่อดาว “เพ็ก”

วัดถ้ำขาม
ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทางใช้เส้นทางสายสกลนคร – อุดรธานี ไปประมาณ 22 กม. มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 7 กม. ถึงบ้านนาสาวนานมีทางลูกรังแยกไปอีก 13 กม.
วัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านอาจารย์ฝั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังมาเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เป็นประจำ
พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร
ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม ตามเส้นทางสกลนคร-อุดรธานี จากสกลนครถึงอำเภอพรรณานิคมประมาณ 37 กม. จะมีทางแยกเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพัฒนานิคมไปประมาณ 2 กม. ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2442 ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

วัดคำประมง
ตั้งอยู่ที่บ้านคำประมง ตำบลสว่าง เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 22 สายสกลนคร-พรรณานิคม 30 กม.และเลี้ยวขวาไปทางอำเภออากาศอำนวยอีกประมาณ 10 กม. บริเวณวัดประกอบด้วยสำนักสงฆ์และสิ่งปลูกสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่นั่งวิปัสสนาของพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาโร) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของไทย

http://www.sakonnakhon.go.th/tour/service7.html

รูปแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

รูปแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ลักษณะของเจดีย์พิพิธภัณฑ์ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นรูปดอกบัว ผสมกันระหว่างดอกบัวตูมทรงเหลี่ยมและดอกบัวบาน รูปแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ ฐาน ส่วนที่ ๒ เรือนเจดีย์ ส่วนที่ ๓ เรือนยอด

ส่วนฐานยกสูงจากพื้น มีซุ้มตั้งอยู่บนฐานล้อมรอบตัวเรือนเจดีย์ ทั้งหมด ๕๖ ซุ้ม แต่ละซุ้มจะเป็นเรื่องราวประวัติของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ในแต่ละซุ้ม จะเป็นงานประติมากรรมดินเผาแบบนูนต่ำ ด้านหน้าก่อนขึ้นไปตัวเรือนเจดีย์เริ่มตั้งแต่ซุ้มที่ ๑

ซุ้มที่ ๑

เกิดวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ณ บ้านม่วงไข่ อ. พรรณานิคม สกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เริ่มเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ชัย มี ท่านอาญาครูดี เป็นเจ้าอาวาส

ซุ้มที่ ๒

ระหว่างอยู่กับพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดขวา จ.ขอนแก่น พี่เขยให้นำปิ่นโตไปส่งนักโทษ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าเมืองทำให้ประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต

ซุ้มที่ ๓
มีศรัทธามั่นในการบวช ไปลาพี่เขยและพี่สาวที่ย้ายไปอยู่ จ.เลย แล้วกลับมาบรรชาเป็นสามเณร ณ วัดโพนทอง บ้านบะทอง อ.พรรณานิคม

ซุ้มที่ ๔

พ.ศ. ๒๔๖๒ อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ วัดสิทธิบังคม บ้านไฮ่ อ.พรรณานิคม พระครูป้อง เป็นอุปัชฌาย์

ซุ้มที่ ๕

ออกพรรษ กลับมาอยู่วัดโพนทอง ถึงฤดูแล้ง ท่านอาญาครูธรรม เจ้าอาวาส พาพระลูกวัดออกธุดงค์ฝึกภาวนาตามป่าเขา การภาวนาสมัยนั้นใช้วิธีภาวนา “พุทโธ” พร้อมนับลูกประคำ

ซุ้มที่ ๖
เดือน ๓ ข้างขึ้น พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นครั้งแรก ณ ป่าช้า ข้างบ้านม่วงไข่ (ปัจจุบัน-วัดป่าภูไทสามัคคี) ขอปวารณาเป็นศิษย์ พร้อมท่านอาญาครูดี และพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน

ซุ้มที่ ๗

ได้พบ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เรียนวิธีฝึกจิตภาวนาติดตาม พระอาจารย์ดูลย์ ธุดงค์ตามหา พระอาจารย์มั่น ไปทันที่บ้านตาลโกน ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน

ซุ้มที่ ๘

พร้อมด้วยพระอาจารย์ดูลย์ ท่านอาญาครูดี และพระอาจารย์กู่ ได้ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่น ณ บ้านตาลโกน เป็นเวลา ๓วัน อ่านเพิ่มเติม

กุฏิพระอาจารย์ฝัน อาจาโร

กุฏิพระอาจารย์ฝัน อาจาโร

กุฏีที่พักของพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับโบสถ์น้ำ ลักษณะกุฎีสร้างเป็นอาคารสมัยใหม่ ๒ ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่ง เมื่อสมัยพระอาจารย์ฝั้นมีชีวิต กุฎีหลังนี้ไม่เคยว่างเว้นผู้คนที่อยากจะเห็นและกราบไหว้ท่าน เพราะท่านเป็นพระใจดีต้อนรับผู้คนอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย จนถึงวาระสุดท้าย กุฏีหลังนี้จึงเป็นอนุสรณ์เตือนให้ระลึกถึงพระผู้ใจดี มีเมตตากับชาวบ้าน เด็ก ผู้ใหญ่ ข้าราชการ ไม่แบ่งว่าใครสำคัญ ไม่สำคัญ ต้อนรับเสมอเหมือนเท่าเทียมกันทุกคน

ศาลา

ศาลาที่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่น ในวัดป่าอุดมสมพรหลังนี้มีความสำคัญ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระอาจารย์ฝั้นได้มรณภาพ ทำให้วงการสงฆ์ต้องสูญเสียพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นที่รู้จักของชาวบ้านและลูกศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง ศาลาหลังนี้เป็นที่ตั้งศพของพระอาจารย์ฝั้น

โรงฉันน้ำปานะ

เป็นสถานที่ฉันน้ำของพระภิกษุ เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษของพระป่าที่อยู่วัดป่าจะมีโรงฉันน้ำปานะ เป็นส่วนรวมของพระภิกษุสงฆ์เวลาราว ๆ ๑๔.๐๐ น. ท่านจะมารวมกันฉันน้ำปานะ เป็นสถานที่ ๆ ควรจะดูแลอย่าให้รูปแบบนี้สูญหายไปในอนาคต น่าเสียดาย

http://www.pongrang.com/web/data/a4/04/revival.snru.ac.th/temple/22.htm

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ในคืนวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุได้ ๗๘ ปี และหลังจากพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นที่เรียบร้อยแล้วคณะศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสได้มีการประชุมปรึกษาจะสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นเครื่องระลึกถึงพระอาจารย์ฝั้น ผู้เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน

ความเป็นมาในการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรได้มีพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ภายหลังจากการสรงน้ำศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรว่าในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ ขอให้ทุกคนได้สามัคคีกัน อย่าให้เกิดความแตกแยกและขอให้ยึดมั่นในคำสอนของท่านไว้ให้มั่นคง ขอให้เก็บอัฐิของท่านพระอาจารย์ไว้แห่งเดียวกัน เครื่องอัฐบริขารของท่านอาจารย์ ถ้าสามารถเก็บรวมรักษาไว้เป็นที่เดียวกันก็จะดี

หลักการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

หลักการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์มี ๔ ประการ

๑. ให้พยายามใช้วัสดุที่ประหยัด แต่ต้องมีความทนทาน และต้องการดูแลบำรุงรักษาให้น้อยที่สุด เพื่อมิให้เป็นภาระแก่วัด

๒. ลักษณะและรูปแบบควรเน้นหลักในทางที่ให้เกิดความรู้สึกในความเป็นกรรมฐาน และเสริมสร้างศรัทธาปสาทะแก่ผู้ได้พบเห็นมากกว่าความงดงามในแง่ศิลปกรรม

๓. ให้มีการแสดงประวัติของพระอาจารย์ฝั้น รวมถึงพิพิธภัณฑ์แสดงอัฐิธาตุ และบริขารของท่านด้วย

๔. ให้มีอาณาบริเวณโดยรอบพอสมควร ที่จะได้สิ่งแวดล้อมและต้นไม้ตามนิสัยและปฏิปทาของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และให้จุดศูนย์กลางของเจดีย์พิพิธภัณฑ์อยู่ตรงจุดที่ได้มีการพระราชทานเพลิงศพของท่านพระอาจารย์

ที่มารูปแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ที่มาของรูปแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ต่อมาได้มีการประชุมของบรรดาศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสเพื่อดำเนินการก่อสร้างในลักษณะเจดีย์พิพิธภัณฑ์และได้เห็นสมควรนิมนต์ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี มาเป็นองค์ประธานในการดำเนินงานเรื่องนี้ทั้งหมด พระอาจารย์มหาบัวได้กำหนดองค์ประกอบของคณะดำเนินงานขึ้น โดยมีพระอาจารย์แปลง สุนทโร เจ้าอาวาสวัดป่าอุดมสมพรและผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร มาร่วมคณะดำเนินงานและคณะดำเนินงานนี้ได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ซึ่งมีจิตศรัทธาต่อพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งประกอบด้วยคณะทำงานก่อสร้างพิพิธภัณฑ์บริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นผู้ออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

http://www.pongrang.com/web/data/a4/04/revival.snru.ac.th/temple/24.htm

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล วรรณวงศ์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2442ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคมมารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์จะเห็นได้ว่าเชื้อสายของท่านเป็นขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน ที่เรียกว่า ผู้ไทยซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว ในสมัยราชการที่สาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระอาจารย์ฝั้นเคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่าน ได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นครอบครัวใหญ่ เรียกว่า ไทยวัง หรือ ไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง อยู่ในเขตมหาชัย ของ ประเทศลาว)บิดาของท่านพระอาจารย์ เป็นคนที่มีความเมตตาอารีใจคอกว้างขวาง เยือกเย็นเป็นที่นับหน้าถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัวไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ ที่มีลำห้วยอูน ผ่านทางทิศใต้และลำห้วยปลาหาง อยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และ เลี้ยงไหมตั้งชื่อว่า บ้านบะทอง โดยบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป
เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อยนิสัยใจคอเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี กว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดาและญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น
ด้านการศึกษา พระอาจารย์ฝั้น ได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย)สอนโดย ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับพระอาจารย์ เมื่อครั้งนั้น เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมากสามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากครู ให้สอนเด็กอื่นๆแทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น พระอาจารย์ฝั้น เคยคิดจะเข้ารับราชการ จึงได้ตามไปอยู่กับ นายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมื่องฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปในชั้นสูงในช่วงนี้ ท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิง ไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปรามผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิตครั้งนั้น พี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ ท่านได้เห็นนักโทษหลายคน แม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคน นายวีระพงศ์ ปลัดซ้าย ก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่านเมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวา อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฆ่าคนตายเช่นกัน
สภาพของนักโทษ ที่ท่านประสบมา มีทั้งหนักและโทษเบานับได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิตท่านได้สติ บังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงเลิกคิดที่จะรับราชการ และตัดสินใจบวชเพื่อสร้างสมบุญบารมีทางพระพุทธศาสนาต่อไป ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา ชีวิตสมณะของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2461 เมื่อท่านอายุได้ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคมและในปี พ.ศ. 2462 อ่านเพิ่มเติม

จิตตภาวนา พุทโธ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

จิตตภาวนา พุทโธ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
แสดง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘

เราทุกคนมาชุมนุมกันที่นี้ ประชุมทั้งในทั้งนอก เมื่อเข้ามาถึงวัดแล้วให้พากันวัดดูจิตใจของเราว่ามันอยู่นอกวัดหรือในวัด วัดดูเพื่อเหตุใด

นี่แหละเราอาศัยพระพุทธศาสนา ศาสนาเป็นเครื่องแก้ทุกข์ และเป็นเครื่องดับทุกข์
พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติศาสนาในพุทธบริษัททั้งสี่นี่แหละ ท่านไม่ได้บัญญัติที่อื่น บริษัททั้งสี่คืออะไร ภิกษุ ภิกษุณี แต่เวลานี้ภิกษุณีไม่มี มีแต่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
ในสี่เหล่านี้แหละ (ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ) พระพุทธศาสนา (คือเป็นศาสนทายาท) ศาสนาจะเจริญได้ก็อาศัยสี่เหล่านี้ ศาสนาจะเสื่อมก็อาศัยสี่เหล่านี้เหมือนกัน

ศาสนาจะเสื่อมเพราะเหตุใด
เพราะเราไม่ประพฤติเราไม่ปฏิบัติ เรื่องเป็นอย่างนี้ ในคุณพระพุทธเจ้าเราก็ไม่มีความเคารพในคุณพระธรรมก็ไม่มีความเคารพ ในคุณพระอริยสงฆ์เราก็ไม่มีความเคารพ นานก็ไม่มีความเคารพ ในศีลก็ไม่มีความเคารพ ในภาวนาก็ไม่มีความเคารพ ในปฏิสันถารการต้อนรับซึ่งกันและกันก็ไม่มีความเคารพ เมื่อเราไม่เคารพใน ๗ สถานนี้แหละ เป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อม ถ้าพวกเรายังมีความเคารพอยู่ในสิ่ง ๗ สถานนี้แล้ว ศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นไป

ท่านบัญญัติศาสนา ในพระไตรปิฎกท่านบอกว่า ในพระอภิธรรมท่านไม่ได้บัญญัติอย่างอื่นเราทั้งหลายบ้างก็ว่าบางคนไม่ได้เรียนบัญญัติ เอ้อ ให้รู้จักบัญญัติ ท่านบัญญัติธรรมวินัย ท่านบอกว่า ฉปญฺญตฺติโย ขนฺธปญฺญตฺติ อายตนปญฺญตฺติ ธาตุปญฺญตฺติ อินฺทฺริยปญฺญตฺติ ปุคฺคลปญฺญตฺติ นี่ ท่านบัญญัติศาสนาไว้ตรงนี้ อันนี้ท่านวางไว้ นี่บัญญัติศาสนา ให้พากันพึงรู้พึงเข้าใจนะ

ขนฺธปญฺญตฺติ คือท่านบัญญัติในเบญจขันธ์ เมื่อวานก็ได้อธิบายไปแล้ว คือบัญญัติในรูปบัญญัติในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ เราก็น้อมดูซี รูปอยู่ที่ไหนเล่า คือนั่งอยู่นี่แหละ เรียกว่ารูปขันธ์ขันธปัญญัตติ นี่ บัญญัติตรงนี้ เพื่อเหตุใด เพื่อให้รู้จักสิ่งเหล่านี้ว่า มันเป็นอยู่อย่างไร มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่ว มันเกิดขึ้นมาจากนี้ เอ้อ เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ล่ะ ความสุขทุกข์ ทุกขา เวทนา สุขา เวทนา อุเบกขา เวทนา เราก็ต้องดูเอาซี ตรงนั้นท่านบัญญัติไว้ สัญญาขันธ์ ความสำคัญมั่นหมาย ความจำโน่นจำนี่ นี่ – ท่านบัญญัติไว้ตรงนี้ สังขารขันธ์ ความปรุงความแต่ง ดูซี เวลาเราปรุงเป็นกุศลหรืออกุศล ให้พึงรู้พึงเห็น ไม่ใช่ฟ้าอากาศปรุงเป็นกุศลอกุศล กุศลเราจะรู้ได้อย่างไรเล่า รวมมาสั้นๆแล้ว คือใจเราดี มีความสุขความสบาย เย็นอกเย็นใจ นี้เรียกว่ากุศลธรรม นำความสุข ความให้ในปัจจุบันและเบื้องหน้าอกุศลธรรม จิตไม่ดีทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน ธรรมนี้นำสัตว์ทั้งหลายให้ตกทุกข์ได้ยาก ให้ฉิบหายในปัจจุบันและเบื้องหน้า เป็นอย่างนี้ วิญญาณขันธ์ล่ะ วิญญาณนี้เป็นผู้รู้และจะไปปฏิสนธิในสิ่งที่เราปรุงแต่งไว้ กรรมเหล่านี้แหละนำไปตบแต่ง ไม่มีใครตบแต่งให้เรา ธรรมนำมาเอง นี่ เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ธรรมมันอยู่ตรงนี้ จะเรียนธรรมจะรู้ธรรม ให้มาดูตรงนี้ มาดูรูป ดูเวทนา ดูสัญญา ดูสังขาร ดูวิญญาณ นี้ ให้พิจารณารูปนี้แหละเพ่งเพื่อเหตุใด ท่านยังว่ามันหลงรูป หลงรูป รูปอันนี้มันมีอะไรจึงพากันไปหลงอยู่นักหนา พระพุทธเจ้าจึงได้วางไว้ให้พิจารณารูป อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

นามเดิม ฝั้น สุวรรณรงค์

เกิด วันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๘ คน ถึงแก่กรรมแต่ยังเล็ก ๒ คน
โยมบิดา เจ้าไชยกุมาร (เม้า)
โยมมารดา นุ้ย (เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์)

บรรพชา ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๑ (อายุ ๑๙ ปี) ตรงกับปีมะเมีย ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง อุปนิสัยก่อนบรรพชา มีความประพฤติเรียบร้อย อ่อนโยน นิสัยสุขุมเยือกเย็นและกว้างขวางเช่นเดียวกับบิดา ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ส่วนในด้านการศึกษานั้น หลวงปู่ฟั่นได้เริ่มเรียนหนังสือมาตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่บ้านม่วงไข่ โดยเข้าศึกษาที่วัดโพธิ์ชัย แบบเรียนที่เขียนอ่านได้แก่มูลบทบรรพกิจเล่ม ๑-๒ ซึ่งเป็นแบบเรียนที่ดีที่สุดในสมัยนั้น ผู้ได้เรียนจบจะแตกฉานในด้านการอ่านเขียนไปทุกคน มีอาจารย์สอนหนังสือ คือ พระอาจารย์ต้น กับ นายหุ่น ขณะเป็นสามเณรท่านเอาใจใส่ศึกษาพระธรรมวินัย

อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๐ ปี ณ วัดสิทธิบังคม (บ้านไฮ่) ตำบลไร่ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูป้อง (ป้อง นนตะเสน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สัง กับ พระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างจำพรรษาที่วัดสิทธิบังคม ท่านได้ท่องบ่นเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จบบริบูรณ์ ขณะเดียวกันพระอุปัชฌาย์ก็ได้สอนวิธีเจริญกัมมัฏฐานตลอดพรรษา พ.ศ. ๒๔๖๓ เดือน ๓ ข้างขึ้น เป็นระยะเวลาที่หลวงปู่ฝั้นได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าภูไทสามัคคี บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา และได้ปวารณาตนเป็นศิษย์ท่าน รับเอาข้อวัตรปฏิบัติถือธุดงควัตรโดยเคร่งครัด
อ่านเพิ่มเติม

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ในตระกูล “สุวรรณรงค์” เจ้าเมืองพรรณานิคม

บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมมาร (เม้า) ผู้เป็นหลานปู่ของ พระเสนาณรงค์ (นวล) และหลานอาของ พระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ ๒ และที่ ๔ ตามลำดับ

มารดาของท่านชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์

พี่น้องร่วมบิดามารดา มีอยู่ทั้งหมด ๘ คน ถึงแก่กรรมแต่ยังเล็ก ๒ คน ส่วนอีก ๖ คน ได้แก่
๑. นางกองแก้ว อุปพงศ์
๒. ท้าวกุล
๓. นางเฟื้อง
๔. พระอาจารย์ฝั้น
๕. ท้าวคำพัน
๖. นางคำผัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทุกคนสู่สุคติภพไปสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่ลูกหลานที่สืบสกุลอยู่ทุกวันนี้เท่านั้น

บ้านบะทอง อ.พรรณานิคม
เมื่อ บุตรทุกคนเจริญวัยเป็นท้าวเป็นนางแล้ว เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ผู้บิดา ได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่น ๆ อีกหลายครอบครัว ออกจากบ้านม่วงไข่ ไปตั้งบ้านใหม่ขึ้นอีกหมู่หนึ่ง ให้ชื่อว่า บ้านบะทอง เพราะที่นั่นมีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้นทองหลางใหญ่ดังกล่าวได้ตายและผุพังไปสิ้นแล้ว สาเหตุที่อพยพออกจากบ้านม่วงไข่ก็เพราะเห็นว่า สถานที่ใหม่อุดมสมบูรณ์กว่า เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เช่นวัว ควาย และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงไหม เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีลำห้วยขนาบอยู่ถึงสองด้าน ด้านหนึ่งคือ ลำห้วยอูนอยู่ทางทิศใต้ ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือลำห้วยปลา อยู่ทางทิศเหนือ

ก่อนอพยพจากบ้านม่วงไข่ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) บิดาของพระอาจารย์ฝั้น ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านปกครองลูกบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขมาก่อนแล้ว ครั้นมาตั้งบ้านเรือนกันใหม่ที่บ้านบะทอง ท่านก็ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไปอีก เพราะลูกบ้านต่างให้ความเคารพนับถือในฐานะที่ท่านเป็นคนที่มีความเมตตาอารี ใจคอกว้างขวางและเยือกเย็นเป็นทีประจักษ์มาช้านาน
อ่านเพิ่มเติม

เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก ปี2507

เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก ปี2507

เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก ปี2507

เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นเหรียญรุ่นแรก ของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร พระเกจิอาจารย์ทางสายวิปัสสนากรรมฐาน หรือเรียกกันว่า “พระสายวัดป่า” รูปหนึ่งแห่งภาคอีสานผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นเหรียญคณาจารย์ที่ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ และหายากยิ่งในปัจจุบันครับผม

ประวัติพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เกิดที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อปี พ.ศ.2442 ในตระกูลของเจ้าเมืองพรรณานิคม เมื่ออายุครบ 20 ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสิทธิบังคม บ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม ศึกษาร่ำเรียนพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาญาครูธรรม เจ้าอาวาสวัดโพนทอง และติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วยความที่มีจิตมุ่งมั่นในการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานและธุดงควัตรอย่าง แรงกล้า
ในปี พ.ศ.2463 อาจารย์ฝั้นท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สุดยอดแห่งพระอริยสงฆ์ และขอปวารณาตนเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาความรู้และหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐาน ปี พ.ศ.2468 จึงขอญัตติแปรจากมหานิกายเป็นธรรมยุติกนิกาย ที่พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี หลังจากนั้นก็ร่วมออกธุดงค์กับพระอาจารย์มั่นไปตามสถานที่ต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ประวัติปฏิปทาหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร นามเดิมของท่านชื่อ ฝั้น สุวรรณรงค์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ที่บ้านม่วงไข่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โยมบิดาของท่านชื่อ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) มารดาของท่านชื่อนางนุ้ย หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๘ คน

อุปสมบท

ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านได้เข้าอุปสมบทที่วัดสิทธิบังคม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระครูป้องเป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดอยู่ในคณะมหานิกาย หลังอุปสมบทแล้ว พระภิกษุฝั้น อาจาโร ได้พักจำพรรษาอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดสิทธิบังคม พอออกพรรษาท่านได้ไปฝึกอบรมกรรมฐานกับท่านพระครูสกลสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดโพนทอง ซึ่งพระครูสกลสมณกิจจะพาพระลูกวัดออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ หลายๆตำบลในถิ่นนั้น

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครั้นถึงเดือน ๓ ข้างขึ้น ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พร้อมด้วยภิกษุสามเณรหลายรูป ออกเที่ยววิเวกเดินธุดงค์รุกขมูลผ่านมาถึงบ้านม่วงไข่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้เข้าไปพักปักกลดในป่า อันเป็นบริเวณป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ ฝ่ายญาติโยมทางบ้านม่วงไข่ เมื่อทราบข่าวว่ามีพระธุดงค์มาพักปักกลดก็พากันดีใจ จึงได้กระจายข่าวให้รู้ถึงกันอย่างรวดเร็ว แล้วพากันออกไปต้อนรับจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ถวาย และคอยรับฟังธรรมะจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ต่อไป ในคราวนั้น ได้มีพระภิกษุไปร่วมฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นด้วย คือ พระอาญาครูดี , พระภิกษุฝั้น อาจาโร , พระภิกษุกู่ ธัมมทินโน ท่านพระอาจารย์มั่นได้แสดงพระธรรมเทศนา เริ่มตั้งแต่การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา เมื่อแสดงจบลง พระอาญาครูดี , พระอาจารย์กู่ และ พระอาจารย์ฝั้น ต่างมีความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้พากันปวารณาตัวขอเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น รับเอาข้อวัตรปฏิบัติ ถือธุดงควัตรโดยเคร่งครัด และได้ขอติดสอยห้อยตามพระอาจารย์มั่นไปด้วย แต่พระอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์ล่วงหน้าไปก่อน ทำให้ท่านทั้งสามพลาดโอกาสในการออกเที่ยวธุดงค์และศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น
อ่านเพิ่มเติม

ผจญภัยกับหลวงปู่ฝั้น

ผจญภัยกับหลวงปู่ฝั้น

นอกจากนั้นท่านก็ได้ออกบำเพ็ญกรรมฐานตามป่าเพื่อแสวงหาความสงบวิเวกเป็นบางครั้ง บางโอกาส แต่โดยส่วนมากท่านชอบไปบำเพ็ญที่ภูวัวเพราะสถานที่แห่งนี้มีความเหมาะสมแก่ การเจริญสมณธรรมมาก จึงเป็นที่สนใจของนักปฏิบัติทั้งหลาย ผู้แสวงหาความพ้นทุกข์ สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใคร่ต่อการหลุดพ้น จึงได้บุกป่าฝ่าดง เผชิญกับสัตว์ร้ายนานาชนิด

เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม เพราะในอดีตเมืองไทย เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ การออกธุดงค์กรรมฐานในยุคนั้น จึงหนีไม่พ้นกับการผจญภัยกับสัตว์ร้ายต่างๆ บางครั้งท่านก็ได้ออกบำเพ็ญกรรมฐานองค์เดียว บางครั้งท่านก็ได้ไปกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในฐานะเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านให้ความเคารพนับ ถือมากองค์หนึ่ง และเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านอีกด้วย

หลวงปู่ฝั้น กับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้เคยเผชิญ กับอันตรายร่วมกันมาหลายครั้งในการออกบำเพ็ญกรรมฐาน โดยเฉพาะที่ภูวัว ได้เคยมีเหตุการณ์บางอย่างที่น่าสนใจ โดยส่วนมากรู้สึกว่าจะนำมาเล่ากันผิดๆ พลาดๆ ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริง ไหนๆ จะเล่าเรื่องจริง จึงตัดสินใจเอามาเขียนให้ ท่านผู้อ่านได้ทราบความจริงและพิจารณา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

วัดป่าอุดมสมพร
ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล วรรณวงศ์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคมมารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์ จะเห็นได้ว่าเชื้อสายของท่านเป็นขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน ที่เรียกว่า ผู้ไทยซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว

ในสมัยราชการที่สาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระอาจารย์ฝั้นเคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่าน ได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นครอบครัวใหญ่ เรียกว่า ไทยวัง หรือ ไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง อยู่ในเขตมหาชัย ของ ประเทศลาว) บิดาของท่านพระอาจารย์ เป็นคนที่มีความเมตตาอารีใจคอกว้างขวาง เยือกเย็นเป็นที่นับหน้าถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัวไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ ที่มีลำห้วยอูน ผ่านทางทิศใต้และลำห้วยปลาหาง อยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และ เลี้ยงไหมตั้งชื่อว่า บ้านบะทอง โดยบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป

เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อยนิสัยใจคอเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี กว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดาและญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น

ด้านการศึกษา พระอาจารย์ฝั้น ได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย) สอนโดย ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับพระอาจารย์ เมื่อครั้งนั้น เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมากสามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากครู ให้สอนเด็กอื่นๆ แทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น

พระอาจารย์ฝั้น เคยคิดจะเข้ารับราชการ จึงได้ตามไปอยู่กับ นายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมื่องฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปในชั้นสูงในช่วงนี้ ท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิง ไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปรามผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิตครั้งนั้น พี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ ท่านได้เห็นนักโทษหลายคน แม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคน นายวีระพงศ์ ปลัดซ้าย ก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่านเมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวา อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฆ่าคนตายเช่นกัน สภาพของนักโทษ ที่ท่านประสบมา มีทั้งหนักและโทษเบานับได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิตท่านได้สติ บังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงเลิกคิดที่จะรับราชการ และตัดสินใจบวชเพื่อสร้างสมบุญบารมีทางพระพุทธศาสนาต่อไป อ่านเพิ่มเติม

วั ด อ ยู่ ใ จ : พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

วั ด อ ยู่ ใ จ : พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

วั ด อ ยู่ ใ จ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว
ได้พบหนทางที่ประเสริฐที่สุดสำหรับชีวิตของเราแล้ว

ถ้าเราไม่เดินไปตามทางนั้น
เราจะไม่เสียดายหรือ

เมื่อชาตินี้ไม่ปฏิบัติแล้ว
อีกกี่ชาติจึงจะได้พบหนทางเช่นนี้อีก

วัดอยู่ที่ใจ….ทุกคนต้องเข้าวัดทุกวัน

(ที่มา : พระธุตังคเจดีย์แห่งพระอรหันต์ วัดอโศการาม ;
ทิพยมนต์ เกร็ดธรรมคำสอน ๒๘ พระอรหันต์
กรุงรัตนโกสินทร์, หน้า ๖๑)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=31175

ทางพ้นทุกข์ (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)

ทางพ้นทุกข์ (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)

การสำเร็จมรรคสำเร็จผล ไม่ได้สำเร็จที่อื่นที่ไกล
สำเร็จที่ดวงใจของเรา

ธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านวางไว้ถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
ท่านก็ไม่ได้วางไว้ที่อื่น วางที่กาย ที่ใจของเรานี้เอง
นี่เรียกว่า เป็นที่ตั้งแห่งธรรมวินัย

ความที่พ้นทุกข์ ก็จะพ้นจากที่ไหนเล่า คือ ใจเราไม่ทุกข์ แปลว่า พ้นทุกข์
เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้วให้พากันน้อมเข้าภายใน

ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมไว้ในจิตดวงเดียว
เอ กํ จิตฺตํ ให้จิตเป็นของเดิม จิตฺตํ ความเป็นอยู่
ถ้าเราน้อมเข้าถึงจิตแล้ว ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ถ้าเราไม่รวมแล้ว มันก็ไม่สำเร็จ
ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องรวมถึงจะสร็จ
ถ้าไม่รวมเมื่อไรก็ ไม่สำเร็จ
อ่านเพิ่มเติม

ของมันเห็นๆ กันอยู่ : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ของมันเห็นๆ กันอยู่ : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ข อ ง มั น เ ห็ น ๆ กั น อ ยู่
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

“ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์”

ผู้ที่เห็นทุกข์เหล่านั้นจึงขวนขวายหาหนทางพ้นทุกข์
เมื่อเห็นทุกข์แล้ว จงเร่งความเพียรภาวนาเรื่อยไป
เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง

ให้เชื่อเรื่องบุญ เรื่องบาป ว่าเป็นของมีจริง
โดยมากคนมักไม่เชื่อ

ศาสนา ศาสนาก็คือคำสอน
สอนให้คนละชั่ว ทำความดี เพื่อขจัดทุกข์ให้
ประสบความสุข…

ถ้าผลบุญผลบาปไม่มีจริงแล้ว
จะมีคนร่ำรวย มียศถาบรรดาศักดิ์
และมีคนทุกข์ยากกระจอกงอกง่อย ขี้ทูดกุดถังได้อย่างไร…

ของมันเห็นๆกันอยู่…
แต่ไม่รู้จักพิจารณาก็ย่อมไม่เข้าใจ

ให้เข้าใจว่าที่มีศาสนา ที่มีผู้สอนให้
ก็เพื่อประโยชน์ของผู้ศรัทธา..
ปฏิบัติตาม จะได้พ้นทุกข์พ้นยาก

แต่ถ้าไม่เชื่อก็แล้วแต่…

ให้รู้จักภาวนา พุทโธ ทำดวงจิตให้ผ่องใส
จะได้เป็นที่พึ่งของเราได้แน่นอน

ให้ทราบว่าในโลกนี้ไม่มีแก่นสารอันใด
เกิดมาแล้วก็ต้องตาย เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
ที่จะเอาได้ก็เป็นเรื่องของดวงจิตเท่านั้น…

ฉะนั้น…จึงให้รู้จักทำจิตคลายจากความชั่ว
ความเศร้าหมอง ทำจิตใจ
ให้เป็นบุญเป็นกุศล เป็นจิตที่สงบผ่องใส เป็นสมาธิ

ให้รู้จักใช้ปัญญา พิจารณารูปนาม
ให้เห็นตามความเป็นจริงของสังขาร
จนสามารถละวางตัณหาอุปทานทั้งหลายได้…

(ที่มา : อภิมหามงคลธรรม คำสอนโดยย่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
รวม ๗๕ โอวาทพระสุปฏิปันโนแห่งแผ่นดินสยาม, หน้า ๑๓๗)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20144

บาตรของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

• บาตรของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร •

ถ้าหากสังเกตจากภาพข้างต้น
หรือหากได้เยี่่ยมชมเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เราจะเห็นบาตรเหล็กใบจริงของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่ยิ่งกว่าบาตรพระทั่วๆ ไปที่พบเห็นกันในปัจจุบัน
บาตรเหล็กของหลวงปู่ฝั้นดังกล่าว
ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงบาตรของพระธุดงคกรรมฐาน

ดังที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้อรรถาธิบายไว้
เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ ดังนี้

“พระกรรมฐานไปไหน จึงไม่มีห่วงหน้าห่วงหลัง มีแต่บริขาร ๘ เท่านั้น
สิ่งที่เลยบริขาร ๘ ไปก็คือกาน้ำ พวกมุ้ง พวกกลด
ขนาดนั้นก็เอาไปได้สบายๆ ไม่เห็นมีอะไร ไปอยู่ที่ไหนก็สบาย
ถ้าว่าจะไปก็จับของเหล่านั้นมาใส่บาตร บรรจุในบาตรปั๊บเต็มบาตร
พอดีสะพายบาตร เพราะฉะนั้นพระกรรมฐานจึงมีบาตรใหญ่กว่าปกติอยู่บ้าง

บางคนเขาไม่เข้าใจว่า เอ๊ะ พระกรรมฐานนี่ว่าเป็นผู้มักน้อยสันโดษ
ทำไมจึงต้องมีบาตรใหญ่นักหนา เขาไม่เข้าใจความหมายของพระกรรมฐาน
ว่าทำบาตรใหญ่เพื่อที่จะได้อาหารมากๆ มาฉัน
ความจริงบาตรใหญ่นั้นใช้แทนกระเป๋าเดินทาง
ถ้าบาตรลูกเล็กๆ ใส่สังฆาฏิตัวเดียวมันก็หมดแล้ว
ทีนี้ของนั้นจะเอาใส่ที่ไหน ไม่มีที่ใส่ เมื่อบาตรใหญ่มุ้งก็ลงที่นั่น
สังฆาฏิก็ลงที่นั่น แน่ะ โคมไฟก็เอาลงที่นั่นพอดี
เทียนไข ไม้ขีดไฟที่มีติดตัวไปบ้างก็เอาลงที่นั่น สะพายพอดีเลย
หนักก็พอดี ไม่หนักมาก กลดก็แบกเสีย บาตรก็สะพายเสีย
ย่ามเล็กใส่ทางบ่าข้างหนึ่งแล้วไปธุดงคกรรมฐานได้อย่างคล่องตัว”

และที่สำคัญเวลาออกธุดงคกรรมฐาน แล้วเกิดฝนตก
ของที่เก็บรักษาไว้ในบาตรใบใหญ่ก็จะไม่เปียกด้วย

————————————–
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20144

. . . . . . .