พุทธทาส อุดทคติแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาส กำเนิดแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–มรณภาพ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง

เมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–พรรษาที่สอง

แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า

ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด… แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–บรรพชิต

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า

เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–ด้านชีวิตวัยหนุ่ม

เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้

ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนชั้นประถมที่วัดโพธาราม จากนั้นก็ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ซึ่งอยู่ในตลาดไชยา ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุต้องจากบ้านที่พุมเรียงมาพักอยู่กับบิดา ซึ่งได้เปิดร้านค้าอีกแห่งเพื่อขายข้าวเปลือกที่ตลาดไชยานี้ บางครั้ง ท่านพุทธทาสภิกขุต้องรับหน้าที่ลำเลียงสินค้าจากบ้านที่ไชยาไปบ้านที่พุมเรียง เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ–ด้านชีวิตวัยเยาว์

เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า

ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์
การได้อยู่วัดทำให้ความรู้เรื่องยาโบราณและยาสมุนไพรของท่านพุทธทาสภิกขุกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถูกหัดให้ชกมวย เนื่องจากเมืองไชยาเป็นแหล่งมวยที่มีชื่อเสียง ส่วนการละเล่นของเด็กวัดก็เป็นการละเล่นทั่วไป มีการละเล่นหนึ่งที่เด็กวัดจะนั่งรวมกลุ่มแล้วผลัดกันเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเล่าให้ดี มิฉะนั้นจะถูกติถูกค้าน เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

190px-BuddhadasaAsiti60

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

พุทธทาสในบริบทของสังคมไทย / ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์

พุทธทาสในบริบทของสังคมไทย / ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์

เกริ่นนำ

พุทธศาสนากับรัฐของไทย

พุทธศาสนาของไทย :ทรรศนะทางสังคมการเมือง

๑. พุทธศาสนาของชนชั้นปกครอง
๒. พุทธศาสนาฝ่ายปฏิรูป
๓. ไสยศาสตร์ของไทย
ก) ไสยศาสตร์แห่งอภิปรัชญา
ข) ไสยศาสตร์แห่งความศักดิ์สิทธิ์และการทำนายทายทัก
ค) ไสยศาสตร์แห่งการทรงเจ้าเข้าผีและคุณไสย
ความเคลื่อนไหวของพุทธศาสนาฝ่ายปฏิรูป

พุทธทาสภิกขุ : นักปฏิรูปพุทธศาสนาของไทย

พุทธทาสภิกขุกับสำนักพุทธศาสนาของไทย

๑. สำนักแห่ง “ศีล” สันติอโศก
๒. สำนักแห่ง “สมาธิ” : พุทโธ, ยุบหนอ-พองหนอ, ธรรมกาย, และการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว
ก) “พุทโธ”
ข) “ยุบหนอ – พองหนอ”
ค) ธรรมกาย
ง) การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว อ่านเพิ่มเติม

มังสวิรัติ ในทัศนะท่านพุทธทาสภิกขุ

มังสวิรัติ ในทัศนะท่านพุทธทาสภิกขุ

คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์

ไต้ ตามทาง

ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น มังสวิรัติดูจะเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับปฏิบัติกันสำหรับนักบวชทั่วไป ดังที่มีสำนวนกล่าวกันว่า “ถือศีลกินเจ” อันหมายถึงการถือบวชนั่นเอง แต่ในฝ่ายเถรวาท เช่น ลังกา พม่า และไทยนั้นต่างออกไป ความเห็นเรื่องมังสวิรัติแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่เห็นด้วยและชักชวนสนับสนุนให้ผู้คนถือปฏิบัติขัดเกลา บางสำนักถึงกับเน้นชัดเจนว่า หากไม่ถือปฏิบัติข้อนี้ก็ชื่อว่าล่วงศีลปาณาติบาต และไม่อาจเป็นอริยบุคคลได้ก็มี ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเล่า ก็มีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงถึงกับประณามอีกฝ่ายว่าเป็นศิษย์เทวทัต เป็นต้นก็มีปัญหาเรื่องนี้มีการถกเถียงกันมาทุกยุคสมัย อาจกล่าวได้ว่า แทบจะไม่มีผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านใด ไม่ว่าในทางปฏิบัติหรือปริยัติก็ตาม ที่ไม่ถูกถามหรือขอร้องให้แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้
อ่านเพิ่มเติม

คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์ โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์ โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

อ่านหนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์” โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จบแล้ว จึงขอบันทึกบางประโยคจากหนังสือเล่มนี้ ประเด็นที่ตนเองสนใจ เก็บไว้กันลืมค่ะ
พุทธศาสนา คือวิชาหรือระเบียบปฏิบัติ ที่ให้รู้ว่า “อะไรเป็นอะไร“
“ศาสนา” มีความหมายกว้างและลึกกว่า “ศีลธรรม” … มีศีลธรรมดีแล้ว ปัญหาคือ ยังไม่พ้นทุกข์
พุทธศาสนา มุ่งหมายที่จะกำจัดกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นเชิง ดับความทุกข์ทั้งหลายให้สูญสิ้นไป
การปฏิบัติพุทธศาสนา เป็นการปฏิบัติเพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ถ้าเราปฏิบัติจนถึงกับรู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไรเสียแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติอะไรอีกต่อไป ความรู้นั้น เป็นตัวทำลายกิเลสไปในตัว
การรู้ตามวิธีของพุทธศาสนา คือ มองเห็นชัดเจนว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีอะไรน่าผูกพัน จนเกิดความหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งพระไตรปิฎก ล้วนแต่เป็นการบ่งให้รู้ว่า “อะไรเป็นอะไร”
อริยสัจจ์ข้อที่ 1 : ทุกข์ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อริยสัจจ์ข้อที่ 2 : สมุทัย ความอยากนั้นๆ เป็นเหตุแห่งทุกข์
อริยสัจจ์ข้อที่ 3 : นิโรธ หรือ พระนิพพาน คือ การดับตัณหาเสียให้สิ้น เป็นความไม่มีทุกข์
อริยสัจจ์ข้อที่ 4 : มรรค วิธีดับความอยากนั้นๆ
อ่านเพิ่มเติม

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์ ท่านพุทธทาส

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์ ท่านพุทธทาส

เรื่องของฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ นับว่าเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก ในบรรดา เรื่องที่ยังมัวอยู่ หลายเรื่อง ด้วยกัน และดูเหมือน จะเป็นเพราะ ความที่มันเป็น เรื่องมัว นี่เอง ที่เป็นเหตุ ให้มีผู้สนใจ ในเรื่องนี้ อยู่เรื่อยๆ มาเป็นลำดับ อย่างไม่ขาดสาย และมากกว่า ที่ถ้ามันจะเป็น เรื่องที่กระจ่าง เสียว่า มันเป็นเรื่อง อะไรกันแน่ หมายความว่า ถ้าเราทราบดีว่า ฤทธิ์ คืออะไร และเป็นเรื่อง เหมาะสำหรับใคร โดยเฉพาะแล้ว เชื่อว่า จะทำให้มีผู้สนใจ เรื่องนี้ น้อยเข้า เป็นอันมาก

ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่า ได้รับผล อัน”เด็ดขาดแท้จริง” อย่างไร จากฤทธิ์นั้น ทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ ฤทธิ์ เป็นเรื่องจริง สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ฤทธิ์ คืออะไร และ ตนเป็นผู้ที่ ตกอยู่ใน ภูมิแห่งใจที่ต่ำ จนผู้มีฤทธิ์ จะออกอำนาจฤทธิ์ บังคับ เมื่อไรก็ได้ แต่สำหรับ ผู้มีฤทธิ์ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องฤทธิ์ดี หรือมีกำลังใจ เข็มแข็ง เท่ากับ ผู้มีฤทธิ์ จะเห็นว่า ฤทธิ์นั้น เป็นเพียงเรื่อง “เล่นตลก” ชนิดหนึ่ง เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ แยบคายมาก ลึกซึ้งมาก
อ่านเพิ่มเติม

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ยาระงับสรรพทุกข์ – พุทธทาสภิกขุ

ต้น “ไม่รู้-ไม่ชี้” นี่เอาเปลือก
ต้น “ชั่งหัวมัน” นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
“อย่างนั้นเอง” เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
“ไม่มีกู-ของกู” แสวง เอาแต่ใบ

“ไม่น่าเอา-น่าเป็น” เฟ้นเอาดอก
“ตายก่อนตาย” เลือกออกลูกใหญ่ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
“ดับไม่เหลือ” สิ่งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาท้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
“สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย” อัน
เป็นธรรมชั้น หฤทัย ในพุทธนาม

จัดลงหม้อ ใส่น้ำ พอท่วมยา
เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้ หนึ่งในสาม
หนึ่งช้อนชา สามเวลา พยายาม
กินเพื่อความ หมดสรรพโรค เป็นโลกอุดรฯ

พุทธทาสภิกขุ

http://www.fasaiclub.com/read.php?tid-3551.html

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ของชีวิต – ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย

บัดนี้เป็นโอกาสแห่งการศึกษาฉากสุดท้ายสำหรับสิ่งที่มีชีวิต คือบัดนี้ได้มีการแสดง
ให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า ชีวิตนี้จะจบลงอย่างไร ปรากฏการณ์อันนี้ ควรจะได้รับความสนใจ
ศึกษาให้เป็นประโยชน์ จึงควรถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของการศึกษาจากสิ่งที่มีชีวิต

หน้าที่ของสังขาร

ความตายเป็นหน้าที่ของสังขาร สังขารคือสิ่งปรุงแต่งจากเหตุจากปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัย
บางส่วนหยุดปรุงแต่ง มันก็มีความตายบางส่วน ปรากฏออกมาสำหรับสังขารส่วนนั้น
จึงถือว่าการตายเป็นหน้าที่ของสังขาร หรือสังขารที่หน้าที่ที่จะต้องตายดังนั้นจึงไม่ควร
มีความประหลาดใจอะไรในส่วนนี้
อ่านเพิ่มเติม

ภาพปริศนาธรรม – ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว :พุทธทาสภิกขุ

ภาพปริศนาธรรม – ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว :พุทธทาสภิกขุ

ภาพปริศนาธรรม – ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว
รวมบทความ – พุทธทาส อินทปัญโญ

ภาพที่ปรากฎอยู่นี้เรียกว่า “ภาพของเสียงตบมือข้างเดียว” เสียงของมือที่ตบข้างเดียว. ฟังดูก็ชวนให้งงเต็มที ตบมือข้างเดียวจะตบได้อย่างไร จะดังได้อย่างไร ก็คอยดูต่อไป มือโง่ไม่มัวตบอยู่ข้างเดียว หรือจะเป็นมือฉลาดที่รู้จักตบได้โดยไม่ต้องมีมืออีกข้างหนึ่ง. ขอให้ดูรายละเอียดในภาพนี้ด้วยว่า มือข้างหนึ่งมีลักษณะตบ มืออีกข้างหนึ่งไปกำเอาธูปไว้ พระพุทธรูปอยู่ตรงกลาง มีเครื่องบูชาพระพุทธรูปครบถ้วน. ทำไมเรียกว่ามือตบข้างเดียว ? เพราะว่ามืออีกข้างหนึ่งมันไม่ยอมตบด้วย.

ภาพนี้เป็นภาพของความที่จิตไม่รับเอาอารมณ์มาปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราว อย่างนั้นอย่างนี้ ผู้ที่เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทมาแล้ว ก็จะรู้ได้เองว่า ใจความสำคัญมันมีอยู่ที่ว่า เมื่ออายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกซึ่งเป็นของคู่กัน มาถึงกันเข้า จนเกิดวิญญาณรู้แจ้งขึ้นที่นั่นอยู่อย่างนั้น เรียกว่าเป็นการสัมผัส คือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและอายตนะ
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ…บุญ กับ กุศล

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ…บุญ กับ กุศล

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

http://image.ohozaa.com/i/f40/j8m6kd.jpg

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า

ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกนที่ถูกต้องดีงามสมดั่งพระพุทธประสงค์

ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า “พุทธทาส” โดยบริบูรณ์

การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้นควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ

พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด

จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา

อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก

ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด
อ่านเพิ่มเติม

มารหรือซาตานที่แท้จริง…..ท่านพุทธทาสภิกขุ

มารหรือซาตานที่แท้จริง…..ท่านพุทธทาสภิกขุ

มารหรือซาตานที่แท้จริง

ฉะนั้นอย่าอวดดีว่า เรียนหนังสือมาก อ่านหนังสือมาก คิดมาก
อะไรมาก พูดก็เก่ง อะไรก็มีเครดิตดี ป่วยการเหลวไหล
ต้องสอบไล่กันที่นี่

ฉะนั้นซาตานนี่มีประโยชน์, ไม่ใช่เป็นผีมาหลอกคน
เหมือนที่เขาเขียนรูปภาพโง่ๆ ไปอย่างนั้น,

ซาตาน คือส่วนหนึ่งของธรรมะ เอาซาตาน ไปทิ้งไว้ที่ไหน
ถ้าไม่รวมอยู่ในคำว่า ธรรม ธรรมทั้งปวง ไม่มีดอก ไม่มีอะไร
นอกไปจากคำว่า ธรรมทั้งปวง.

ฉะนั้นส่วนที่มันจะมาทดสอบคนสอบไล่คน นั่นแหละคือซาตาน,
มันก็มาจากสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ แต่มาในฐานะผู้สอบ หรือ ผู้ยั่ว
ให้ทำผิด ทดสอบดูว่ามันเก่งหรือยัง? ถ้ามันเก่งจริง มันจะมายั่ว
อย่างไร มันก็ไม่ทำผิด ซาตานก็ดับไปเป็นธรรมตามธรรมดา.
อ่านเพิ่มเติม

เชิดชูเกียรติ”ท่านพุทธทาส” นำหลักธรรมล้ำค่าบรรจุซีดี

เชิดชูเกียรติ”ท่านพุทธทาส” นำหลักธรรมล้ำค่าบรรจุซีดี

จากการประชุมสมัยสามัญขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ซึ่งมีการบรรจุรายการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญหรือผู้มีผลงานดีเด่น

และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก ประจำปี 2549-2550 คือ “ท่านพุทธทาสภิกขุ” ซึ่งได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีต่อพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ผลงานด้านธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุที่เป็นปราชญ์ทางธรรมอันโดดเด่น ถ้าได้ฟังได้อ่านหลักธรรมคำสั่งสอนของท่านจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ นำมาใช้กับชีวิตในปัจจุบันจะสร้างความผาสุกให้กับผู้ปฏิบัติธรรม ที่เข้าถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยไม่มีปิดกั้นกับทุกศาสนา เพื่อนำเอาหลักธรรมแก่นแท้มาปฏิบัติย่อมพบกับความผาสุก เจริญงอกงามในหน้าที่และชีวิต
อ่านเพิ่มเติม

เสียงคำบรรยายธรรม ของท่านพุทธทาสภิกขุ”การพักผ่อน” โดย พุทธทาสภิกขุ

เสียงคำบรรยายธรรม ของท่านพุทธทาสภิกขุ”การพักผ่อน” โดย พุทธทาสภิกขุ

หน้าที่ 1 – หลักเกณฑ์ที่จะช่วยให้เข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น
วันนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่องการพักผ่อน บางคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนาก็ได้ แต่ขอให้สนใจฟัง แม้แต่เรื่องการพักผ่อนถ้าเข้าใจถึงที่สุด ก็จะเข้าใจถึงเรื่องนิพพาน ไม่มีอะไรที่จะเทียบเท่ากับการพักผ่อนมากเท่ากับนิพพาน

ในขั้นแรกนี่อยากจะให้เข้าใจหลักเกณฑ์อะไรบางอย่างที่จะช่วยให้เข้าใจธรรมะได้ง่ายขึ้น หลักเกณฑ์ที่จะกล่าวนี้ก็คือเรื่องที่เราเคยพูดกันอยู่เป็นประจำ ว่าเรื่องที่มีอยู่ในโลกนี้มันลึกซึ้งกว่ากันเป็นชั้นๆ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือเป็นเรื่องทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ เป็น 3 ชั้น ความจริงในบาลีจะมีพูดเพียง 2 ชั้น คือเรื่องกายกับเรื่องจิต แต่ใช้คำว่าเจตสิก คือเรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวกับจิต ก็เลยมี 2 เรื่อง เรื่องกายิกะ กับเจตะสิกะ

คือเรื่องทางกายหรือเรื่องทางจิตแต่นี่ก็ยังรู้สึกว่ายังเข้าใจยาก สู้เข้าใจอย่าง 3 ชั้นขั้นตอนไม่ได้ มันมองเห็นได้ง่ายกว่ากัน นี่ขอให้เข้าใจ กำหนดไว้สำหรับเป็นหลักเกณฑ์ศึกษา หรือเพื่อเข้าใจอะไรให้มันครบถ้วน เรื่องทางกายมันก็เกี่ยวกับร่างกาย เรื่องทางจิตก็เกี่ยวกับจิต แต่เรื่องทางวิญญาณนั้นขอยืมคำนี้มาใช้เพราะตัวหนังสือมันอำนวยให้ คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสติปัญญา ไอ้สติปัญญาน่ะเป็นเรื่องของจิต แต่มันก็แยกออกมาจากกันได้ นี่เป็นเหตุให้เรื่องการพักผ่อนเป็นเรื่องทางกาย เป็นเรื่องทางจิต เป็นเรื่องทางวิญญาณ คือถ้าเราจะเอาแค่เพียงสองเรื่องคือเรื่อง กายกับจิต มันจะอธิบายยาก คือต้องอธิบายจิตออกเป็นสองเรื่องอีกนั่นแหละ มันมีสามบริพท
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .