ท่านพุทธทาส–ประกาศธรรมทุกทิศ (พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๕)

ความสามารถของ “พุทธทาสภิกขุ” ใน
ด้านการเขียนอธิบายข้อธรรมะต่างๆ ใน
“พุทธสาสนา” โดยใช้ภาษาที่สละสลวย
เข้าใจง่าย แต่ให้ข้อคิดที่ลึกซึ้งได้ส่งผล
ให้ธรรมะจากสวนโมกข์ แผ่กระจายสู่
ผู้อ่านในที่ต่างๆ โดยง่าย จากฉบับแรก
เริ่ม ซึ่งต้องประกาศแจกให้เปล่าในหนัง
สือพิมพ์ “ไทยเขษม” รายสัปดาห์
ก้าวหน้าจนมีผู้สนใจบอกรับเป็นสมาชิก
เองนับร้อย จนถึงพันในเวลาต่อมา ความ
สำเร็จนี้แม้แต่คณะผู้จัดทำเองก็คาดไม่ถึง
ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจที่จะเผยแพร่และ
แจกจ่ายธรรมทานนี้แก่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น

พุทธทาสภิกขุ แสดงปาฐกถาธรรมที่หอประชุมใหญ่ จุฬาฯ ประมาณปี ๒๕๐๓ เรื่อง “ส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้จัก” มีผู้เข้าฟังประมาณ ๓,๐๐๐ คน

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–ตามรอยพระอรหันต์ (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๘๔)

เมื่อพระมหาเงื่อมตัดสินใจแน่วแน่แล้วที่จะกลับบ้าน ก็ได้มีจดหมายถึง
นายยี่เกยผู้น้องชาย ความตอนหนึ่งว่า

“เราตกลงใจกันแน่นอนแล้วว่า กรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นที่ที่จะค้นพบความบริสุทธิ์
การถลำเข้าเรียนปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ เป็นผลดีให้เรารู้สึกตัวว่า
เป็นการก้าวผิดไปก้าวหนึ่ง หากรู้ไม่ทันก็จะต้องก้าวไปอีกหลายก้าว และยาก
ที่จะถอนออกได้เหมือนบางคน จากการรู้สึกว่าก้าวผิดนั่นเอง ทำให้พบเงื่อนว่า
ทำอย่างไรเราจะก้าวถูกด้วย

เราเดินตามโลกตั้งแต่นาทีที่เกิดมา จนถึงนาทีที่มีความรู้สึกนี้ ต่อนี้ไป เราจะ
ไม่เดินตามโลก และลาโลกไปค้นหาสิ่งที่บริสุทธิ์ ตามรอยพระอริยะที่ค้นแล้ว
จนพบ…” และ “ฉันมืดแปดด้าน ไม่รู้ว่าจะไปขออาศัยสถานที่ที่ไหน เพื่อการ
ศึกษาของเราจึงจะเหมาะนอกจากบ้านเราเอง และไม่มีที่ไหนนอกจากบ้านเรา
คือที่พุมเรียง ก่อนที่อื่น จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือรบกวนในบางอย่าง
คือต้องมีผู้ช่วยให้ได้โอกาสเรียนมากที่สุด และใครๆ จงถือเสียว่า ฉันไม่ได้
กลับออกมาพักอยู่ที่พุมเรียงเลย การกินอยู่ขอรบกวนให้มีการเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมสักเล็กน้อย คือถ้าไม่อยากทำอย่างอื่น ข้าวที่ใส่บาตรจะคลุกน้ำปลา
เสียสักนิดก็จะดี ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าจะไม่รบกวนอย่างอื่นอีกเลย ฉันจะ
เป็นผู้พิสูจน์ให้เพื่อนกันเห็นว่า พระอรหันต์แทบทั้งหมด มีชีวิตอยู่ด้วยข้าว
สุกที่หุงด้วยปลายข้าวสารหัก และราดน้ำส้มหรือน้ำผักดองนิดหน่อยเท่านั้น
เราลองกินข้าวสุกของข้าวสารที่เป็นตัว และน้ำปลา ก็ยังดีกว่าน้ำส้ม และเรา
ลองกินอยู่เดี๋ยวนี้ รู้สึกว่าไม่มีการขัดข้องเลย ที่จะกินต่อไป..”

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–ก่อนกำเนิดสวนโมกข์ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๗๔)

ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หรือ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙
บุตรชายคนหัวปีของครอบครัว นายเซี้ยง และ นางเคลื่อน พานิช ได้ถือกำเนิดขึ้น
ณ บ้านตลาด พุมเรียง จ.ไชยา (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จ. สุราษฎร์ธานี) ไม่มีใคร
ในเวลานั้น จะคาดคิดไปถึงว่า เด็กชายที่เรียกชื่อในเวลาต่อมาว่า “เงื่อม” นั้น จะ
เติบโตกลายเป็นมหาเถระผู้สืบแสงเทียนธรรมแห่งพระศาสนา ที่กำลังอ่อนล้า
ให้มีพลังเจิดจ้าขึ้นอีกในยุคสมัยต่อมา ในนามของ “พุทธทาสภิกขุ”

ด.ช.เงื่อม กับ นายเซี้ยง บิดาและ ด.ช.ยี่เก้ย น้องชายเด็กชายเงื่อม มีน้องอีก ๒ คน คนรองเป็นชาย
ชื่อยี่เกย พานิช ซึ่งเติบใหญ่กลายเป็นคู่คิด ผู้ร่วม
อุดมคติแห่งการจรรโลงพระศาสนา ร่วมกับ
พี่ชายในนาม “ธรรมทาส” และน้องสุดท้อง
เป็นหญิงชื่อ กิมซ้อย พานิช (เหมะกุล) พี่น้อง
ทั้งสามคนใกล้ชิดสนิทสนม และเติบโตมาใน
ครอบครัวที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีวิถี
ชีวิตแบบชุมชนชนบททั่วไป ด.ช. เงื่อม เอง
ได้รับอิทธิพลชื่นชอบการแต่งบทกวีและงาน
ช่างไม้จากบิดา และได้รับการอบรมสั่งสอน
จากมารดาให้เป็นคนที่ทำอะไรจะต้องทำให้ดีที่สุด และประหยัดละเอียดรอบคอบ

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–ผลงานแห่งชีวิต

ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “ธรรมะ คือ หน้าที่”
เป็นการทำหน้าที่ เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์
และ ท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลม
หายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน
สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอ
นำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ

๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ

๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน ในการออกหนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา”
ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย
เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน
เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาว
ที่สุดของไทย

๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด “ธรรมโฆษณ์” ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์จาก
ปาฐกถาธรรม ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆ
ของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕ หมวด คือ

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส– ปณิธานแห่งชีวิต

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–อุดมคติแห่งชีวิต

BuddhadasaStudy

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ

อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส–กำเนิดแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ผลงาน

ท่านพุทธทาสมีผลงานที่เรียบเรียงเป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น (เรียงลำดับตามตัวอักษร)

แก่นพุทธศาสน์
คู่มือมนุษย์
ตัวกูของกู ฉบับย่อความ
ธรรมโฆษณ์ รายละเอียด
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
พระพุทธเจ้าสอนอะไร
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
ภาษาคน-ภาษาธรรม
หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
อิทัปปัจจยตา (100 หนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน)
สูตรของเว่ยหล่าง

ขอขอบคุณhttp://th.wikipedia.org

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) เกียรติคุณ

สมณศักดิ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

พ.ศ. 2469 พระเงื่อม
พ.ศ. 2473 พระมหาเงื่อม
พ.ศ. 2489 พระครูอินทปัญญาจารย์
พ.ศ. 2493 พระอริยนันทมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ
พ.ศ. 2500 พระราชชัยกวี พระราชาคณะชั้นราช
พ.ศ. 2514 พระเทพวิสุทธิเมธี พระราชาคณะชั้นเทพ
พ.ศ. 2530 พระธรรมโกศาจารย์ พระราชาคณะชั้นธรรม
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[แก้]
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ จากสถาบันต่างๆ ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) มรณภาพ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ

ขอขอบคุณhttp://th.wikipedia.org

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง

เมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ

เมื่อประกาศผลสอบปีแรก ปรากฏว่าท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และกลายเป็นพระมหาเงื่อม อินทปญฺโญ ในปีเดียวกันนี้เอง ท่านพุทธทาสภิกขุมีงานเขียนเป็นบทความขนาดสั้นชิ้นแรก ชื่อ ประโยชน์แห่งทาน ปรากฏอยู่ในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) พระอุปัชฌาย์ของท่านพุทธทาสภิกขุ และมีบทความขนาดยาวเรื่อง พระพุทธศาสนาสำหรับปุถุชน พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกครบรอบโรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา

ขอขอบคุณhttp://th.wikipedia.org

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) พรรษาที่สามและสี่

ในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบนักธรรมเอกได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยา และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า

สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณนายหง้วนจึงได้ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อเรมิงตันแบบกระเป๋าหิ้วให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นรางวัล และท่านพุทธทาสภิกขุได้ใช้เครื่องนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) พรรษาที่สอง

แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า

ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด… แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) บรรพชิต

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า

เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ประวัติชีวิตวัยหนุ่ม

เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้

ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนชั้นประถมที่วัดโพธาราม จากนั้นก็ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ซึ่งอยู่ในตลาดไชยา ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุต้องจากบ้านที่พุมเรียงมาพักอยู่กับบิดา ซึ่งได้เปิดร้านค้าอีกแห่งเพื่อขายข้าวเปลือกที่ตลาดไชยานี้ บางครั้ง ท่านพุทธทาสภิกขุต้องรับหน้าที่ลำเลียงสินค้าจากบ้านที่ไชยาไปบ้านที่พุมเรียง เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ประวัติชีวิตวัยเยาว์

เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า

ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์
การได้อยู่วัดทำให้ความรู้เรื่องยาโบราณและยาสมุนไพรของท่านพุทธทาสภิกขุกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถูกหัดให้ชกมวย เนื่องจากเมืองไชยาเป็นแหล่งมวยที่มีชื่อเสียง ส่วนการละเล่นของเด็กวัดก็เป็นการละเล่นทั่วไป มีการละเล่นหนึ่งที่เด็กวัดจะนั่งรวมกลุ่มแล้วผลัดกันเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเล่าให้ดี มิฉะนั้นจะถูกติถูกค้าน เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ประวัติครอบครัว

ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสภิกขุเกิดในช่วงเวลาปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน

บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฮกเกี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในสำเนียงแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย

อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ประวัติ พระราชสุทธิญาณมงคล ( จรัญ ฐิตธมฺโม ) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน

lp_jarun2_w

ชื่อเดิม จรัญ จรรยารักษ์
บิดาชื่อ แพ จรรยารักษ์
มารดาชื่อ เจิม สุขประเสริฐ

อุปสมบท พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
วิทยฐานะ พ.ศ. ๒๔๘๗

พ.ศ. ๒๔๙๒
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี
สอบไล่ได้นักธรรมโท ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

1259778778

ประวัติ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระราชทินนาม พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร
บวรสังฆารามคามวาส

หลวงพ่อจรัญ เกิดในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเกิดจาก โยมมารดา เจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์

ชื่อเดิม จรัญ จรรยารักษ์ เกิด วันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ปีมะโรง เวลา ๐๗.๑๐ น. ณ ๑๕ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี แล้วได้ทำการ อุปสมบท วัน พฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์ อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .