เรื่องพระเจ้าตาก จากหลวงพ่อจรัญ

ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ที่ว่า พระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับไทยนั้นพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ที่เก่งกาจกล้าหา­ญ และเสียสละอย่างมากอย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้อีกมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่าเกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เรา เคยเรียนกัน
พระเจ้าตากมิใช่เป็นลูกของคนจีนสามั­ญชนตามประวัติ ศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อ ไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตราย จึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อ ไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)

อ่านเพิ่มเติม

ชีวประวัติหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ในอดีตเมื่อครั้งเยาว์วัย
ซึ่งได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้มากมาย ทำไปด้วยความไร้เดียงสา รักสนุก
คึกคะนองไม่รู้บาปบุญคุณโทษ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หารู้ไม่ว่ากรรมที่ท่านได้ก่อไว้นั้น จะส่งผลกลับมาสนองไม่วันใดก็วันหนึ่ง
และเมื่อถึงวันนั้น ท่านต้องชดใช้กรรมที่ตนเองก่อขึ้นมานั้น
อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
แม้ท่านจะอยู่ในเพศบรรพชิต ที่สร้างสมแต่ความดีมาตลอด
เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจเราท่านทุกคนเชื่อว่า
“เวรกรรมนั้นมีจริง เราทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่ว
เราจะต้องรับผลกรรมนั้น”

พระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑
เวลา ๐๗.๑๐ น. (๔ฯ ๘ ปีมะโรง) ณ ตำบลม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน
ซึ่งเกิดจากโยมมารดาเจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์ อ่านเพิ่มเติม

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เรื่องนรกของหญิงที่ชอบขโมย

เรื่องราวที่จะนำมาถ่ายทอดนี้เป็นเรื่องที่หลวงพ่อจรัญได้บันทึกไว้ในหนังสือ “เล่าเรื่องกรรม” โดยที่มีโยมมาเล่าถวายไว้ให้รับทราบถึงรายละเอียดของกรรมที่ทำไม่ดีอันเป็นเหตุให้ตกนรก

“ภรรยาตกนรกกลับมาเกิดใหม่อยู่กับสามีคนเดิม”

เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ประหลาดที่มีหญิงสาววัย 16 ปีเดินทางมาพบกับหลวงพ่อจรัญพร้อมด้วยสามีวัย 78 ปี ซึ่งไม่น่าจะเป็นสามีภรรยากันได้เลย การเดินทางมาพบหลวงพ่อจรัญก็เพราะโยมทั้งสองนั้นมีความต้องการจะสร้างสำนักวิปัสสนากรรมฐานให้ที่วัดอัมพวัน เมื่อหลวงพ่อถามถึงเหตุผลที่ต้องการจะสร้างสำนักวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้ทราบความดังนี้ว่า

ย้อนหลังกลับไปเมื่อในอดีต ชายแก่ที่เป็นสามีชื่อ นายปุ่น ส่วนตัวภรรยาชื่อ นางสะอิ้ง เมื่อสมัยที่ยังเป็นนายปุ่นยังเป็นหนุ่มนั้นค่อนข้างเป็นคนที่มีฐานะ เมื่ออายุครบบวชพ่อแม่จึงจัดงานบวชให้ ซึ่งตัวของนายปุ่นเป็นคนดีมีศีลธรรมมาก เมื่อบวชก็ตั้งใจปฏิบัติศึกษาในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ถึงขนาดสวดปาฏิโมกข์ได้ครบถ้วนเลยทีเดียว อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมของหลวงพ่อจรัญ

เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า “สติปัญญา”

เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง

แต่สตินั้น แท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยมาก

ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าต่อชีวิต และจำเป็นแก่ชีวิต

มีคุณค่าเหลือที่จะประมาณได้

อึ้งกิมกี่ นี่หรือคือคำพูดของพระสุปฏิปันโน พระพุทธองค์ทรงสอนให้เชื่อเรื่องกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ไม่มีใครดีหรือชั่วมาแต่กำเนิด และไม่เกี่ยวกับเพศพรรณวรรณะ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ถ้าทำดีก็เป็นคนดี ถ้าทำชั่วก็เป็นคนชั่ว แม้แต่การทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ถ้าทำหน้าที่ดีๆ ก็ย่อมเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดี แต่ถ้าทำเสียหาย ประเทศชาติก็เสียหาย มิใช่ว่าต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นจึงทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ถ้าเป็นผู้ชายแล้วดีทุกอย่าง พูดแบบนั้นมันตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ตรงไหน พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ) เคยเป็นถึงเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันก็เป็นพระเกจิอาจารย์ออกวัตถุมงคลเป็นร้อยๆ รุ่น แต่พูดแบบไม่มีเหตุไม่มีผล น่าสับสนในความเป็นพระเถระของพระธรรมสิงหบุราจารย์เหลือเกิน หรือจะเป็นดังโบราณว่า “แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน” เสียดายนะ ไม่น่ามาเสียคนตอนแก่เลย

ขอขอบคุณ http://www.alittlebuddha.com

มิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

1557

เราเป็นนักบวชและเป็นผู้งดเว้นทุกอย่าง บรรดาที่เป็นข้าศึกต่อตนเองและส่วนรวม ท่านจึงให้นามว่า นักบวช แปลว่า ผู้งดเว้น คำว่า เว้น ในที่นี้หมายความว่า เว้นสิ่งที่เป็นข้าศึกที่จะทำให้เราเสีย จงสังเกตคำว่า นัก ถ้าขึ้นหน้าด้วยคำว่า นัก แล้วต้องเลื่องลือ เช่นคำว่านักเลง นักปล้นจี้ เป็นต้น ต้องเป็นคนเสียหายอย่างลือนาม ถ้าเป็นทางดี เช่น นักปราชญ์ นักบวช นักปฏิบัติ ย่อมเป็นไปเพื่อความดีเด่นเป็นส่วนมาก เฉพาะที่นี่จะอธิบายเกี่ยวกับนักบวช ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่งดเว้นสิ่งที่เป็นอกุศล และบำเพ็ญสิ่งที่เป็นกุศล คือความฉลาดเข้าให้มากเท่าที่จะมากได้ จนพอตัวแล้วก็ข้ามอุปสรรคคือกองทุกข์เสียได้ เพราะฉะนั้น เราทุกท่านบัดนี้ได้ทราบแล้วว่าเราเป็นนักบวช โลกก็ให้นามว่าเป็นนักบวช จงทำความรู้สึกในเพศของตนตลอดเวลาและทุกๆ อาการที่เคลื่อนไหวทางกาย วาจา ใจ

อ่านเพิ่มเติม

สมถธรรม-วิปัสสนาธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

lt_buwa4

ปฏิปทาเครื่องดำเนินที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่นพาดำเนินมา ไม่ว่าทางด้านธรรมด้านวินัย เป็นความถูกต้องดีงามทุกสิ่งทุกอย่าง เท่าที่ได้ไปอยู่กับท่านและสังเกตเต็มสติกำลังความสามารถของตนเรื่อยมา จนกระทั่งวาระสุดท้ายที่ท่านจากไป เป็นสิ่งที่ให้ดูดดื่มทั้งหลักธรรมหลักวินัยที่ท่านพาดำเนินไม่ให้ผิดเพี้ยนไปได้เลย

เฉพาะอย่างยิ่งพระวินัยท่านรักษาอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่ปรากฏว่าท่านได้ล่วงเกินพระวินัยข้อใดเลย นับแต่อาบัติทุกกฏขึ้นไปจนกระทั่งถึงสุดของพระวินัย ท่านเก็บหอมรอมริบเอาไว้หมด สมกับท่านเคารพพระพุทธเจ้าศาสดาองค์เอกอย่างแท้จริง ส่วนธรรมท่านก็ดำเนินด้วยความถูกต้องดีงาม อ่านเพิ่มเติม

สติปัฏฐาน ๔ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

lt_buwa3

การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือ ความจงใจ ใคร่ต่อการประพฤติดีจริงๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะความจงใจ เป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้นๆ ให้สำเร็จได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงาน จึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว
ทั้งกิจนอกการใน ถ้าขาดความจงใจ เป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้น ความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

อ่านเพิ่มเติม

วิธีปฏิบัติธรรมเบื้องต้น พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

lt_buwa

มนุษย์เราต้องมีเพื่อนมีฝูง มีพวกมีคณะ ไม่ว่าแต่ฆราวาสหญิงชาย แม้มาบวชเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังไม่พ้นจากความอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ผิดกับสัตว์บางประเภทซึ่งเขาอยู่ตัวเดียว สัตว์ป่าบางประเภทอยู่ตัวเดียว บางประเภทก็เป็นหมู่เป็นคณะ เป็นฝูงๆ แต่มนุษย์เรานี้ไม่ว่าที่ใดๆ ทั่วโลก ไม่ปรากฏว่าอยู่คนเดียว ไม่ว่าประเทศไหนทวีปใด ก็ต้องมีหมู่มีคณะ เป็นครอบครัว เป็นสังคม เป็นหมู่ๆ พวกๆ ทั่วดินแดน จะว่ามนุษย์ขี้ขลาดก็ถูก เป็นนิสัยของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาที่ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ร่วมกันเรื่อยมาแต่ดึกดำบรรพ์

นี่เราเป็นพระ เป็นเพศที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ตามหลักธรรมและนิสัยของนักบวชควรจะอยู่ลำพังองค์เดียว แต่หลักใหญ่ก็ต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนเพศเดียวกันอยู่โดยดี แม้จะออกไปบำเพ็ญในสถานที่ต่างๆ ด้วยความเป็นผู้มีตนคนเดียว แต่โอกาสหรือความจำเป็นที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะ กับครูบาอาจารย์ เพื่อการศึกษาปรารภข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ ย่อมมีอยู่เป็นวรรคเป็นตอน สุดท้ายก็ไม่พ้นจากความเป็นสัตว์หมู่สัตว์คณะอีกเหมือนกัน เป็นแต่เพียง ลัทธิ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมวินัย ที่แสดงออกของพระกับฆราวาสนั้นต่างกันเท่านั้น พระมีกฎมีระเบียบตามหลักธรรมวินัยเป็นเครื่องประพฤติดำเนิน การแสดงออกทุกแง่ทุกมุม จึงเป็นไปตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ว่าจะแสดงทางจิต คิดออกมาด้วยเหตุผลกลไกอันใด ต้องระวังสำรวมในความคิดผิดหรือถูกอยู่โดยดี ความผิดนั้นถ้าไม่ผิดธรรมก็ต้องผิดวินัย ไม่ผิดวินัยก็ต้องผิดธรรม การผิดวินัยเป็นความหยาบ ผิดธรรมเป็นความละเอียด เป็นเรื่องของกิเลสประเภทหยาบ จำต้องได้ระมัดระวังเพราะเรามาแก้กิเลส จึงไม่ควรนอนใจในความคิด การพูด การกระทำ ทุกอาการที่แสดงออก

อ่านเพิ่มเติม

ขันธ์ ๕ ต่างหากจากจิต หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ

lt_buwa5

สิ่งภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ มีอยู่ทั่วไปตลอดเวลาเมื่อมีสิ่งรับทราบกัน สิ่งเหล่านั้นจะสัมผัสสัมพันธ์ไม่ขาดวรรคขาดตอนกับสิ่งภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความมีสติ มีปัญญาเครื่องพิสูจน์กลั่นกรองกับสิ่งที่มาสัมผัสย่อมได้อุบายขึ้นมาเรื่อยๆ ท่านเรียกว่าฟังเทศน์ เมื่อสิ่งเหล่านั้นมาสัมผัสสัมพันธ์กับตัวเราย่อมเป็นการปลุกความรู้สึกขึ้นมา เมื่อจิตใจมีความตั้งมั่นต่อเหตุผลหรืออรรถธรรมอยู่แล้ว ก็ทราบได้ทั้งสิ่งดีและชั่วที่มาสัมผัส การพิจารณาตามนั้นเรียกว่าเรียนธรรม ปฏิบัติธรรม การเกิดข้อข้องใจขึ้นมาก็เกิดจากสิ่งเหล่านั้น
การพิจารณาแก้ไขข้อข้องใจจนปลดเปลื้องตนไปได้ ก็อาศัยปัญญาพิจารณาให้ถูกทางตามหลักธรรมที่ท่านสอนไว้ จนผ่านพ้นไปได้เป็นพักๆ เป็นตอนๆ เรื่อยไปเรียกว่า เรียนความจริง ไม่ใช่เรียนให้เป็นความจำ เรียนเป็นความจำก็อย่างเราเรียนเราท่องตำรับตำราต่างๆ เรียกว่าเรียนเพื่อจำ นี้เรียนเพื่อความจริง คือ ความรู้จริงเห็นจริงตามหลักธรรมชาติที่เป็นจริงซึ่งมีอยู่ทั้งภายนอกภายใน อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเสือ) เถระวาจา หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

pic_22

(เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด; ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑)
แถวนี้มีป่าดีจริงๆ แล้วก็มีวัดกรรมฐานตั้งอยู่เป็นย่านๆ ไป เริ่มตั้งแต่วัดเสือนี้ไป เลยกลายเป็นวัดเสือไปเลย ท่านจันทร์นี้เป็นพระวัดป่าบ้านตาด เป็นคนคลองด่าน สมุทรปราการ อยู่นี่(วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี)หลายปี ออกจากนี้ไปก็ไปอยู่ทองผาภูมิ(วัดเดิมของท่าน -วัดป่าถ้ำภูเตย กาญจนบุรี พ.ศ.2528) เราก็คอยฟังเสียง จากนั้นเขาก็มาถวายที่(พ.ศ 2537) ที่เป็นวัดเสืออยู่ทุกวันนี้เนื้อที่ก็กว้างอยู่ เราก็พิจารณาดูย่านกรรมฐานภาวนา เห็นว่าที่นั่นว่างมากไม่ค่อยมีพระกรรมฐานไปอยู่ เลยให้ท่านจันทร์ วัดเสือ มาปรึกษาหารือท่านก็พอใจรับ คือท่านอยู่ทางทองผาภูมิ พระวัดท่านก็มีผู้ดูแลรักษาดีอยู่ ว่าอย่างนั้น เราก็เลยปรึกษาหารือพร้อมกับการนิมนต์ท่านมาอยู่ที่นั่น จึงได้เป็นวัดเสือขึ้นมา เรื่องราวเป็นอย่างนั้น

คือใครจะถวายที่ที่ไหนก็ตามเราไม่ได้รับสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะรับเพื่อประโยชน์แก่ชาติศาสนาจริงๆ รับที่ไหนแล้วต้องเป็นภาระหนัก ไม่ได้รับทิ้งๆ ขว้างๆ อะไร ก็เลยรับ พอตั้งสมภารเลยกลายเป็นสมภารสัตว์สมภารเสือไปหมดท่านจันทร์ ท่านจันทร์เป็นเจ้าอาวาสเสือ จังหวัดกาญจนบุรี สัตว์ทุกประเภทเต็มอยู่ในวัดนั่นนะ อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับนิสัยวาสนาเหมือนกัน ท่านจันทร์ท่านบวชมาท่านก็ไม่ได้บวชมาหาสัตว์หาเสืออย่างนี้นะ ท่านบวชมาหาอรรถหาธรรม เข้าเสาะแสวงหาครูอาจารย์หาแต่อาจารย์สำคัญๆ เช่นอย่างมาอยู่วัดป่าบ้านตาด ส่วนวัดป่าบ้านตาดจะสำคัญหรือไม่สำคัญอะไรบ้างก็แล้วแต่เถอะ ท่านมาอยู่นี้หลายปี ห้าหกปีหรือไง ทุกอย่างไม่มีที่ต้องติ การประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมหลักวินัยเรียบเลย จึงได้ไปอยู่ทางนู้น เขาถวายที่ก็เห็นว่าที่นั่นว่าง พระกรรมฐานไม่ค่อยมีก็พอดีได้โอกาสที่ท่านจันทร์อยู่แถวนั้น ท่านจันทร์มาหาก็เลยปรึกษาหารือพร้อมกับมอบวัดให้ ท่านก็พอใจรับ ตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นวัดเสือ- วัดป่าหลวงตาบัว เขาเขียนไว้ข้างทาง วัดป่าหลวงตามหาบัวฯ อ่านเพิ่มเติม

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน สร้างเรือนสามชั้นให้จิต

lt4501

การฝึกหัดอบรมในเบื้องต้น ก็ไม่ผิดอะไรกับเราไปดูต้นไม้ที่จะนำมาทำบ้านปลูกเรือน ไม้ทั้งต้นเมื่อไปดูแล้วมันอ่อนใจพิกลบอกไม่ถูก อะไรที่จะสามารถนำไปทำเป็นบ้านเรือนได้ มองดูเห็นแต่ไม้ทั้งต้น เต็มไปด้วยเปลือกกระพี้ กิ่งก้านสาขา ดอกใบ เต็มไปหมด ซึ่งล้วนแต่สิ่งที่ไม่ต้องการทั้งนั้น ที่มองไปเห็นนั้น สิ่งที่ต้องการมองไม่เห็นเลย คือแก่นที่เป็นเนื้อแท้ ซึ่งสมควรจะมาทำเป็นบ้านเป็นเรือนได้ มันอยู่ภายในลึก ๆ โน้น มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อนี้เลย มันมีตั้งแต่เปลือกแต่ลำต้น มองขึ้นไปข้างบนก็มีแต่กิ่งก้านสาขาใบดอกเต็มไปหมด แล้วทำไมจะไม่อ่อนใจ และไม้ที่จะปลูกบ้านปลูกเรือนให้สำเร็จโดยสมบูรณ์นั้น ต้องมีจำนวนมากด้วย ไม้ต้นเล็ก ๆ จะมาทำบ้านทำเรือน นำมาเลื่อยมาแปรรูปเป็นต่าง ๆ ให้ได้หลาย ๆ แผ่น หลาย ๆ ชิ้น ก็เป็นบ้านเป็นเรือนที่เหมาะสมไปไม่ได้ จะต้องหาไม้ต้นใหญ่ ๆ เนื้อแข็ง ซึ่งลำบากแก่การทำไม่ย่อยเลย ไปมองเห็นต้นไม้แล้วมันทำให้อ่อนใจอย่างบอกไม่ถูก มือเท้าก็อ่อนปวกเปียกไปตาม ๆ กัน
แต่เมื่อรู้วิธีที่จะทำแล้ว แม้อ่อนใจก็พอพยายามถูไถกันไปได้ ไม่หดมือทื่อใจอยู่ท่าเดียว เมื่อตัดโค่นลงมาแล้วก็ต้องเลื่อย ต้องมีแบบมีฉบับ การตัดการโค่นการเลื่อยอะไร ต้องมีแบบมีฉบับมีหลักเกณฑ์ ต้องมีวิชาเกี่ยวกับงานนั้น ๆ จึงจะทำได้ มิฉะนั้นไม้ก็เสียหมด ผลจะพึงได้ก็ไม่ปรากฏเท่าที่ควรจะมี
นี่การประพฤติปฏิบัติธรรมทางด้านจิตใจ ในเบื้องต้นที่เรายังไม่เคยทำเลย มันก็ต้องมีอ่อนใจด้วยกัน ดีไม่ดีจะนั่งภาวนาแค่ ๕ นาที ๑๐ นาที ใจนั้นราวกับจะถูกเขานำไปฆ่า ทำให้อ่อนเปียกไปหมด พอทราบได้จากท่านสั่งสอนเรื่องการภาวนาเป็นงานยากเท่านั้น ใจเริ่มจะช็อกไปเสียแล้วเพราะกลัวมาก ดีไม่ดีหาเรื่องปวดหนักปวดเบามาช่วยชีวิตไว้ ไม่งั้นจะไปเสียให้ได้ก่อนความเจ็บไข้ได้ป่วยจะมาถึงตัวเสียอีก อ่านเพิ่มเติม

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อ นายบัว โลหิตดี มีอายุได้ 21 ปี บิดามารดาได้ขอร้องให้เขาได้บวชเรียน เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณตามประเพณี ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจบวช เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระราชเทวี (จูม พนฺธุโล ต่อมาเป็นพระธรรมเจดีย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณสมฺปนฺโน” ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบวชพอเป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชนานเท่านี้

ครั้นบวชแล้ว พระภิกษุบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็ได้ศึกษาพุทธประวัติและประวัติพระอรหันตสาวก จนเกิดความเลื่อมในศรัทธาในพระศาสนาอย่างจริงจัง ท่านจึงตั้งใจว่าจะศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมเสียก่อน เพราะถ้าไม่ศึกษาแล้วจะไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี สำหรับแผนกบาลีนั้น ท่านตั้งใจว่าจะสอบให้ได้เพียงแค่เปรียญธรรม 3 ประโยคก็พอ ทั้งนี้เพื่อเป็นกุญแจเปิดตู้พระไตรปิฎก และเป็นอุบายเข้าถึงการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง แต่จะไม่ให้เกินเลยเปรียญธรรม 3 ประโยคไป เพราะจะทำให้เหลิงและลืมตัว อ่านเพิ่มเติม

หลวงตามหาบัว ตอน แม้เรียนปริยัติ ก็ไม่ทิ้งเรื่องภาวนา

ท่านได้ไปถามคำภาวนาจากท่านพระครู “กระผมอยากภาวนา จะให้ภาวนายังไง?” “เออ! ให้ภาวนา พุทโธ นะ เราก็ภาวนา พุทโธ เหมือนกัน ท่านได้ฝึกหัดภาวนาอย่างไม่ลดละ แรกๆจิตใจก็ไม่สงบเท่าใดนัก แต่เมื่อทำอยู่หลายครั้งหลายหน จิตก็เริ่มสงบตัวลงไปโดยลำดับ จนกระทั่งเห็นความอัศจรรย์ของจิต

“เมื่อเรียนธรรมะไปตรงไหน มันสะดุดใจเข้าไปเรื่อยๆ นับตั้งแต่ นวโกวาท ที่เป็นพื้นฐานแห่งการศึกษาเบื้องต้น ยิ่งได้อ่านพุทธประวัติ ทำให้เกิดความสลดสังเวช สงสารพระพุทธองค์ ในเวลาที่ทรงลำบาก เพราะทรมานพระองค์เองก่อนตรัสรู้ธรรม จนถึงกับน้ำตาร่วงไปเรื่อยๆ พออ่านจบ เกิดความสลดใจอย่างยิ่ง ในความพากเพียรของพระองค์ซึ่งเป็นกษัตริย์ทั้งองค์ ทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวช เป็นคนขอทานล้วนๆ ซึ่งสมัยนั้นไม่มีศาสนา คำว่าการให้ทานได้บุญอย่างนั้น การรักษาศีลได้บุญอย่างนี้ ไม่เคยมี พระองค์ก็ต้องเป็นคนอนาถา และขอทานเขามาโดยตรง และฝึกอบรมพระองค์เต็มพระสติกำลังทุกวิถีทาง เป็นเวลา ๖ ปี ถึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา อ่านเพิ่มเติม

ประโยชน์สมบูรณ์แล้วยังประโยชน์ผู้อื่นต่อไป(หลวงตามหาบัว)

image9

สงเคราะห์…พระเณร กิจสูงสุดในพระพุทธศาสนา ท่านสมบูรณ์แล้วเหมือนพระในครั้งพุทธกาลที่ออกบวชมุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น หลังจากนั้นท่านก็เมตตาสงเคราะห์โลก

เนื่องจากพระเณรหมู่เพื่อนเคยได้ยินท่านพระอาจารย์มั่นปรารภถึงท่านอยู่เนือง ๆ ว่า “ท่านมหาฯฉลาดทั้งภายนอกภายใน ต่อไปจะเป็นที่พึ่งแก่หมู่คณะได้มาก” ดังนั้น หลังพิธีศพท่านพระอาจารย์มั่นเสร็จสิ้นลง พระเณรหมู่คณะหลายสิบรูป จึงต่างพากันติดตามท่าน เพื่อหวังพึ่งพิงและขอรับคำแนะนำข้ออรรถธรรม และข้อวัตรปฏิบัติจากท่าน ท่านก็ให้การเมตตาอนุเคราะห์แต่นั้นมา จนทุกวันนี้

การเทศนาพระเณร-ฆราวาส ปรากฏออกมาเป็นเทป-หนังสือจำนวนมากโดยแจกเป็นธรรมทานตลอดมา ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด เฉพาะหนังสือธรรมะภาษาไทยมีจำนวนกว่า ๑๐๒ เล่ม ภาษาอังกฤษกว่า ๘ เล่ม เทปเฉพาะที่มีการบันทึกการเทศนามีหลายพันกัณฑ์ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะจากหลวงพ่อชา (คำสอนที่ง่ายๆ…เเต่ลึกซึ้ง)

112

โยม ไม้อันที่อาตมาถืออยู่นี่นะ มันสั้น หรือว่า มันยาว?

โยม ไม้อันนี้ธรรมชาติแท้ ๆ ของมันมีแค่นี้ เท่านี้ … มันไม่สั้น และก็ไม่ยาว

โยม ความต้องการที่จะให้ไม้นี้มันสั้นเข้า หรือยาวออก นั่นแหละ “ทุกข์”
ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรายอมตามธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ ยอมที่ไหน ทุกข์ก็ไม่เกิดที่นั่น

สมมุติว่าวันนี้ โยมหาเงินได้ ๑๐๐ บาท ธรรมชาติของมันแค่ ๑๐๐ บาท
จะอยากให้ได้มากกว่านั้น…ก็ไม่ได้
จะอยากให้ได้น้อยกว่านั้น…ก็ไม่ได้
หาได้ ๕๐ บาท ธรรมชาติของเขาก็แค่นั้น
หาไม่ได้เลย ธรรมชาติของมันก็เท่ากับหาไม่ได้เลย
ยอมตามธรรมชาติที่มันเป็นทุกอย่าง ทุกแห่ง ทุกข์ก็ไม่เกิด

ธรรมะอย่างนี้ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้
ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติเมื่อไหร่ ที่ไหน…ทุกข์ก็ไม่เกิดเมื่อนั้น ที่นั่น

โยม อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าถ้าเราจะปลูกต้นไม้
อันดับแรก เราต้องเตรียมดินให้ดี ขุดหลุมกว้างเมตร ลึกเมตร
คลุกดินด้วยปุ๋ยคอกอย่างดี แล้วจึงปลูกต้นไม้ลงไป
เมื่อปลูกแล้ว เราต้องคอยดูแล โดยหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ดายหญ้า และล้อมรั้วกันอันตรายให้

หน้าที่ของเรามีเพียงแค่นี้ ทำให้ครบ ทำให้ดีที่สุด
ส่วนผลที่ต้นไม้จะให้นั้น บางชนิด ๑ ปีให้ผล
บางชนิด ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี
นั่นเป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของต้นไม้เขาเอง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนการเดินจงกรม

การเดินจงกรมนั้น คือการฝึกสมาธิในอิริยาบถเดินนั่นเอง เป็นอิริยาบถที่เหมาะเมื่อนั่งสมาธิพอสมควรแล้ว แต่ต้องการภาวนาต่อ ส่วนมากนักปฏิบัติมักจะสลับการนั่งสมาธิกับการเดินจงกรม อนึ่ง การเดินเป็นอุบายแก้ความง่วงเหงาหาวนอนที่ดี และเหมาะในเวลาฉันอาหารเสร็จใหม่ๆ หรือยามดึกดื่น พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงค์ของการเดินจงกรมว่ามี ๕ อย่าง คือ

๑. อดทนต่อการเดินทางไกล

๒. อดทนต่อความเพียร

๓. มีอาพาธน้อย

๔. อาหารที่ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรสแล้ว ย่อมย่อยไปด้วยดี

๕ สมาธิที่ได้ในขณะเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน

วิธีการเดินจงกรม หลวงพ่อให้กำหนดเส้นทางเดินจากระยะต้นไม้ ๒ ต้น หรือเครื่องหมายอะไรสักอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน ห่างกันราว ๗-๘ วา (๒๐-๓๐ ก้าว) แล้วตั้งใจเดินกลับไปกลับมา โดยมีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถแห่งการเดินนั้น สำหรับการทำความรู้สึกในขณะเดินจงกรม หลวงพ่ออธิบายไว้ดังนี้

“ก้าวเท้าขวาออกก่อน ให้พอดีๆ ให้นึกพุทโธ พุทโธ ตามก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้สึกในอารมณ์นั้นไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดฟุ้งซ่านหรือเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบายเมื่อสบายพอสมควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็ให้รู้จัก รู้จักหมด ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ทำความรู้สึกให้ติดต่อกันเรื่อยๆ ขณะที่เราเดินจงกรม บางทีความหวาดความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมา เราก็ทวนมันอีก มันเป็นของไม่แน่ ความกล้าหาญเกิดขึ้นมา อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละ ไม่รู้จักจับอะไร นี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียว ทำปัญญาให้เกิด ไม่ใช่รู้ตามสัญญา(ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้ มันคิดนึกทั้งหมด เกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละ…”

เหนื่อยพอสมควรก็หยุด แล้วออกจากทางจงกรม ให้ระวังต้องมีสติให้ติดต่อ ไม่ว่าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ให้มีสติอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน

ขอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com

ประวัติพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)–ตอนการฝึกสมาธิ

หลวงพ่อให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการฝึกสมาธิภาวนาว่า“เป็นการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบ เพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรนกวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำทำนบ ทำชลประทาน เหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงสู่ที่ลุ่มเสียหมด จิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดี ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า จิตที่ฝึกดีแล้วความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดี ย่อมสำเร็จประโยชน์ดังนี้เป็นต้น”

หลวงพ่อไม่ได้จำกัดวิธีการเจริญภาวนา ผูกขาดลงไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง แต่ท่านเน้นว่า “แนวทางการทำสมาธิใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง ไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง” แต่ท่านก็สอนให้ภาวนา “พุทโธ” หรืออานาปานสติ โดยท่านให้เหตุผลว่า “เป็นสิ่งที่ง่ายและสบายแก่นักปฏิบัติ เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ตลอดเวลา ทุกอิริยาบถ ไม่ต้องสร้างหรือปรุงขึ้นมา”

“อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่าปัญญา

การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน และเมื่อทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทางสายเอก ประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด”

สำหรับอิริยาบถนั่งสมาธินั้น หลวงพ่อไม่พิถีพิถันมากนัก แต่ให้คำแนะนำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า นั่งตัวตรง ดำรงสติมั่น เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ไม่นั่งหลังงอหรือหลังโกง ไม่เคร่งจนเกินไป ไม่เอียงไม่เอนไปทางซ้ายทางขวา ทำตัวให้สบายๆ นั่งเหมือนพระพุทธรูป

“เอาสติที่มันมีอยู่นี้ ตามลมเข้า ตามลมออก ตามลมเข้าไป ต้นลม กลางลม ปลายลม ให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ที่ลมเท่านั้น เมื่อเราฝึกเช่นนี้พอสมควรแล้ว สติก็มีอยู่ เข้าก็มีสติ ออกก็มีสติ กลางลมก็มีสติ ต้นลมก็มีสติ จิตใจหรือความรู้สึกของเรา มันไม่มีเวลาหลีกไปเก็บเอาอารมณ์อื่น เพราะมันรู้อยู่ที่ตรงนี้ ทั้งลมเข้าลมออก ถ้าหากว่าจิตใจหรือความรู้สึกของเรา มันแส่ส่ายไปหาอารมณ์อื่น ก็แสดงว่าสติมันเผลอไปแล้ว ให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้รู้จักว่ามันผ่านตรงนี้ๆ ดูไปเรื่อยๆ บางทีมันหนีไปที่ไหนตั้งนานแล้วก็ยังไม่รู้ อ้าวเผลอสติอีกแล้วก็ยกขึ้นมาใหม่ ถ้าเราทำอย่างนี้จะรู้จักต้นลม กลางลม ปลายลม ได้พอสมควร…”

ขอบอขอบคุณ http://www.watkhaophaengma.com

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

หลวงปู่ชา_สุภัทโท

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) (17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 – 16 มกราคม พ.ศ. 2535) ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน

หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่

การศึกษา
หลวงปู่ชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้น เอก อ่านเพิ่มเติม

คำสอน หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

koon2

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ท่านเป็นพระเถระที่มีพุทธศาสนิกชนเคารพเลื่อมใสศรัทธามากที่สุดอีกองค์หนึ่ง มโนสำนึกที่ท่านแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความเมตตาของท่านอย่างแท้จริงที่ท่านพยายามจะช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้พ้นจากความทุกข์ ผู้คนเป็นจำนวนมากมายที่ได้รับความเมตตาจากท่าน นับถือท่านประดุจดังเทพเจ้า และทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กระทำลงไป ท่านทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ด้วยเมตตาธรรมอันสูงยิ่ง ทำให้คนที่เป็นทุกข์อยู่ได้มีความสุขใจได้ ระดับหนึ่ง จนท่านได้รับการกล่าวขานด้วยความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปว่า เป็นนักบุญแห่งที่ราบสูง
หลวงพ่อมีคำสอนที่ลึกซึ้ง กินใจ แม้ว่าบางครั้งคำพูดของท่านอาจจะฟังไม่ระรื่นหูนักสำหรับบางคน แต่ความหมายแห่งคำสอนของท่าน สามารถช่วยให้ผู้ที่ได้รับฟังและนำมาคิด ได้รับประโยชน์สุขในการดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

• หลักการทำบุญ

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม โดยส่วนหนึ่งได้แก่การบริจาคปัจจัย หรือมอบเงินให้กับการกุศลจำนวนมากมหาศาล ซึ่งล้วนก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สาธารณชนทั่วไป ดังเช่นคราวมอบเงินเพื่อสร้างโรงพยาบาล อำเภอสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมาจำนวนเงิน ๑๕ ล้านบาท หลวงพ่อให้จารึกที่ป้ายหน้าโรงพยาบาลว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ สร้างอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอนุวงศ์ อดีตเจ้าเมืองเวียงจันทน์ (ประเทศลาว)” อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

• วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา

เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน อ.ด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้ปลูกสร้างขึ้นเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2496 โดยเริ่มสร้างอุโบสถ มีชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จ ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก อาศัยโคเทียมเกวียนหรือใช้แรงงานคนลากจูงบนทางที่แสนทุรกันดาร แต่หลวงพ่อคูณก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย ปัจจุบันวัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนาและมีผู้ใฝ่บุญจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาแสวงบุญ
วัดบ้านไร่ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เป็นสถานที่จำพรรษาของพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณเป็นจำนวนมาก ตรงหน้าปากทางเข้าวัดบ้านไร่ มีการตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นระเบียบสวยงาม พร้อมทั้งทำความสะอาดป้ายวัดบ้านไร่ด้วย ส่วนถนนหน้าโรง เรียนวัดบ้านไร่ เข้าไปในวัดบ้านไร่ ยังมีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อในบ้างช่วง ครั้นมาถึงบริเวณหน้าวัดบ้านไร่ เข้าไปจะพบเห็นหน้าพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณที่สวยงาม และเพิ่งเปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชม ด้านหลังพิพิธภัณฑ์ติดกับสระจระเข้ มีการตั้งร้านค้าขายของ ที่ได้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบไม่วุ่นวาย ท้ายวัดเป็นป่าละเมาะเล็กๆ มีต้นไม้ใหญ่ปลูกให้ร่มรื่น ส่วนข้างอุโบสถวัดบ้านไร่ และบริเวณโดยรอบอุโบสถ ถูกจัดแต่งเป็นสวนหย่อมเล็กๆ มีไม้ประดับงดงาม อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .