อริยเจ้าแห่งด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

koon1

“คนเรา เมื่อมีเมตตาให้กับผู้อื่น ผู้อื่นเขาก็จะ ให้ความเมตตาตอบสนองต่อเรา ถ้าเราโกรธเขา เขาก็จะโกรธเราตอบเช่นกัน ความเมตตานี่แหละ คืออาวุธ ที่จะปกป้องตัวเราเอง ให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง เป็นอาวุธที่ใคร ๆ จะนำเอาไปใช้ก็ได้ จัดว่าเป็นของดีนักแล”
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิดัง เทพเจ้าแห่งแห่งที่ราบสูง นครราชสีมา ทั่วฟ้าเมืองไทยจนกระทั่งชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ ต่างรู้จักและศรัทธาหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก หลังจากหลวงพ่อคูณอุปสมบทได้เพียง 7 พรรษา ท่านได้สร้างพระเครื่องขึ้นมาเป็นยุคแรก ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ ใช้ฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ประมาณปี พ.ศ.2493 การปลุกเสกพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กี่บท หัวใจพระคาถาคือ มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ พุทโธ และยานะ “ใครขอกูก็ให้ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อคูณ เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หลายคนถามท่านว่า หลวงพ่อคูณแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ หลวงพ่อคูณท่านตอบไปว่า กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เมื่อครั้งเสด็จพร้อมสมเด็จพระราชินีนาถ บรรจุพระธาตุที่บุษบก วัดบ้านไร่ ตามคำเชิญของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ พระองค์ท่านทรงนับถือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพราะท่านเป็นพระที่มากล้นด้วยทานบารมี บริจาคมาไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านแล้ว เงินทุกบาททุกสตางค์ที่หลวงพ่อคูณได้รับมาท่านได้ทำทานบารมีหมด อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เกจิที่มาแรงแห่งยุค

spd_20090502152747_b

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ มาแรงจริงๆครับ เกจิแห่งที่ราบสูง โคราช ทั่วฟ้าเมืองไทยจนกระทั่ง ชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศ ต่างรู้จักและศรัทธาหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก หลังจากหลวงพ่อคูณอุปสมบทได้เพียง 7 พรรษา ท่านได้สร้างเครื่องราง,ของขลังขึ้นมาเป็นยุคแรก เป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ประมาณปี พศ..2493 การปลุกเสก พระเครื่อง ของขลังของหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณจะใช้คาถาไม่กี่บท หัวใจพระคาถาคือ มะอะอุ นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ พุทโธ และยานะ

“ใครขอกูก็ให้ไม่เลือกยากดีมีจน” เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ หลายคนถามว่า หลวงพ่อคูณแจกให้กับคนไม่ดีเป็นโจรผู้ร้ายอย่างนี้หลวงพ่อไม่บาปหรือ
หลวงพ่อคูณท่านตอบไปว่า กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร ถ้ามันเป็นโจร เมื่อมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก มันคงคิดได้ว่า เป็นเพราะพระศาสนา มันจะได้เข้ามาสนใจปฏิบัติธรรม “ถ้ามีใจอยู่กับ “พุทโธ” ให้เป็นกลางๆ ไม่สอดส่ายไปไหน นั่นหมายความว่า ใจเป็นสมาธิ จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราได้ดียิ่ง ยิ่งกว่ามีวัตถุมงคลใดๆ ในโลก” อ่านเพิ่มเติม

เบื้องหลังพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ ทำไมไม่ให้เก็บศพไว้บูชาเหมือนเกจิรูปอื่นๆ

808346

เบื้องหลังพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ

ทำไมไม่ให้เก็บศพไว้บูชาเหมือนเกจิรูปอื่นๆ
——————-
เปิดพินัยกรรมหลวงพ่อคูณ บริจาคศพให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนนำมาฌาปนกิจแบบเรียบจ่าย ห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ อัฐิ อังคารลอยแม่น้ำโขง
พินัยกรรมก่อนตายของหลวงพ่อคูณเขียนเอาไว้เมื่อประมาณ ๔ ปีที่ผ่านมา โดยพินัยกรรมดังกล่าวมีพยานรับรอง ๔ คน คือ ๑.ร.ศ.สุขชาติ เกิดผล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒.นายประทีป วงษ์กาญจนรัตน์ ๓.นายธวัช เรืองหร่าย ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ และ ๔.นายเนาวรัตน์ สังการกำแหง นิติกร ๘ (ชำนาญการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำหรับเนื้อหาพินัยกรรมดังกล่าวมีข้อความว่า อาตมาหลวงพ่อคูณ อายุ ๗๗ ปี ถิ่นพำนักวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓ ขอทำพินัยกรรมกำหนดการ เผื่อถึงการมรณภาพ เกี่ยวกับเรื่องการจัดงานศพของอาตมา ภายหลังที่อาตมาถึงมรณภาพลง อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา

pkun

ประวัติหลวงพ่อคูณ นับว่าเป็นที่น่าสนใจมากด้วยเอกลักษณ์ส่วนตัวของ หลวงพ่อคูณ ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งยอง พูดภาษามึงกู ปัจจุบันอาจจะคิดว่าไม่สุภาพแต่สมัยก่อน คนไทยเราก็พูดกันแบบนี้มานาน พูดถึง”หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่” หลายคนจะคิดถึงพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วท่านได้พูดให้ข้อคิดต่างๆในการดำเนินชีวิตมากมายถ้าเราทุกคนนำมาใช้จะมีประโยชน์มากมาย

ชีวประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา แทบไม่มีใครไม่รู้จัก หลวงพ่อคูณ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน ประวัติพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) ท่านเกิดในครอบครัวชาวนา ท่านเกิดที่ บ้านไร่ หมู่ที่6 ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งในขณะนั้น พูดได้ว่าห่างไกลความเจริญ บิดาท่านชื่อนายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อนางทองขาว ฉัตรพลกรังประวัติหลวงพ่อคูณ บิดาท่านชื่อนายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อนางทองขาว ฉัตรพลกรัง หลวงพ่อคูณ ท่านเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม 2466 (แต่บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน หลวงพ่อคูณ ท่านเป็นบุตรชายคนหัวปี ซึ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

K

เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ
1. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
2. นางคำมั่น แจ้งแสงใส
3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์
มารดาของหลวงพ่อคูณ เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อ คูณ ปริสุทฺโธ วัดบ้านไร่ ตำบล กุดพิมาน อำเภอ ด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

lp-koon

ประวัติ
หลวงพ่อคูณ ถือกำเนิดที่บ้านไร่ ม.6 ต.กุดพิมาน อ.อ่านขุนทด จ.นครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (บางตำราว่าวันที่ ๔ ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ
๑ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
๒ นายคำมั่ง แจ้งแสงใส
๓ นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์

มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี ๓ นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า…
เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป
และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย
“ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง”

อ่านเพิ่มเติม

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ และเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ เมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมีราชทินนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า พระเทพวิทยาคม วิ. อุดมธรรมสุนทร ปสาทกรวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

ชาติภูมิ
หลวงพ่อคูณ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ 1.พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) 2. นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ 3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์ มารดาคือ นางทองขาว เล่าให้เพื่อนบ้านฟังว่า ก่อนตั้งครรภ์ กลางดึกของคืนวันหนึ่งเวลาประมาณตี 3 นางได้ฝันเห็นเทพองค์หนึ่ง มีกายเรืองแสงงดงาม ลอยลงมาจากสวรรค์ มาที่บ้านของนางและกล่าวว่า “เจ้าและสามีเป็นผู้มีศีลธรรม เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ประกอบการงานอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งยังสร้างคุณงาม ความดีมาตลอดหลายชาติ เราขออำนวยพรให้เจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุขสวัสดิ์ตลอดไป” และเทพองค์นั้นยังได้มอบดวงแก้วใสสะอาดสุกว่างให้แก่นางด้วย “ดวงมณีนี้ เจ้าจงรับไปและรักษาให้ดีต่อไปภายหน้า จะได้เป็นพระพุทธสาวกหน่อเนื้อพระชินวร เพื่อสืบพระพุทธศาสนา เป็นเนื้อนาบุญ ที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง” อ่านเพิ่มเติม

พระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ตนบุญแห่งล้านนา : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

9k86bbeib96ah6bg99b5c

“ครูบาคิดว่าความสวยงามในวัตถุทำให้เกิดกุศลขึ้นในจิตใจ เรามาวัดอย่างน้อยได้เห็นความร่มรื่น ได้เห็นความสงบ ได้เห็นสิ่งสวยงาม ได้เห็นพระพุทธรูป ได้เห็นความเป็นไทย จิตเราจะเกิดความเบิกบาน นี่คือคำว่า บุญ”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปณิธานในการสร้างวัดของพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยท่านได้สร้างมีรูปหล่อเหมือนพระครูเจ้าศรีวิชัยหน้าตัก ๙ เมตร เนื้อโลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งเด่นตระการตา เป็นที่เคารพสักการะของผู้ที่มาเยือน มีเทพทันใจให้ผู้คนได้เสี่ยงทายขอโชคลาภ มีแม่นางกวักตุ้ยนุ้ยให้ได้บูชาเป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์

ครูบาอริยชาติ ถือวัตรปฏิบัติเช่นเดียวกับครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ลูกศิษย์จึงตั้งสมญานามว่า “ครูบาอริยชาติ ตนบุญแห่งล้านนา” โดยในแต่ละวันจะมีลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางไปกราบไหว้ขอพรเป็นจำนวนมาก

ครูบาอริยชาติ บอกว่า คำถามยอดฮิตที่มาหาครูบา คือ “เมื่อไรจะรวย เมื่อไรจะดี เมื่อไรจะขายที่ได้” เท่าที่มีคนมาหายังไม่เคยเห็นคนรวยเลย เจ้าของโรงงานมีคนงานเป็นพัน ก็มาถามครูบาว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของโรงแรมขนาด ๕๐ ห้อง ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” เจ้าของที่เป็นพันไร่ก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” นั่งรถเบนซ์มาก็ถามว่า “เมื่อไรจะรวย?” ใครต่อใครที่ก้าวเข้ามาในวัด แต่งตัวดีใส่นาฬิกาโรเล็กซ์ ใส่เพชรใส่พลอยเต็มตัวสุดท้ายก็มาถามว่า “เมื่อไรจะรวย?”

ตั้งแต่บวชเป็นพระมาครูบายังไม่เคยเห็นคนรวยเข้ามาที่นี่เลย คนเราเวลาขอพร มักบอกขอให้รวยมีเงินมีทอง ครูบาว่า คนเราถึงจะมีเงินมากก็ตาม แต่เงินก็ไม่สามารถให้ความสุขแก่เราได้ มีเงินก็ต้องมีความสามารถ ในการบริหารเงิน มีเงินแล้วบริหารไม่ดีก็หมด ติดเหล้า ติดยา ติดเพื่อน ติดการพนัน นำความเดือดร้อนมาให้ครอบครัว มีเงินเป็นร้อยล้านพันล้านก็ไม่มีความสุขถ้าไม่รู้จักพอ คนเราถ้ารูจักพอมันก็รวยแล้ว

พร้อมกันนี้ ครูบาอริยชาติ ยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ให้สนใจศึกษาเรื่องภายใน เรื่องของตนเอง ไม่ต้องไปไกลถึงนอกโลก บางคนมาคุยกับครูบา รู้ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องภายนอก รู้เหตุการณ์บ้านเมือง รู้ความเป็นไปของโลก คนไปโลกพระจันทร์ชื่ออะไร นิลอาร์มสตรอง รู้ถึงนอกโลกโน้นแน่ะ พอถามว่า “แล้ววันนี้กินข้ากี่คำ?” กลับตอบว่า “ไม่รู้” ไม่รู้เพราะอะไร เพราะไม่สนใจศึกษาเรื่องของตนเอง รู้จักคนอื่น รู้จักโลกอื่น แต่ไม่รู้จักตนเองก็ไม่มีประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม

เกณฑ์วินิจฉัย กรรมดี-กรรมชั่ว พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว
ก) ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว

กรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความดีและความชั่วโดยตรง เมื่อพูดถึงกรรม จึงควรพูดถึงเรื่องความดีและความชั่วไว้ด้วย เพื่อช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

เรื่องความดีและความชั่ว มักมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัย เช่นว่า อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่าดี อะไรและอย่างไร จึงจะเรียกว่าชั่ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเช่นนี้มีมากเฉพาะในภาษาไทยเท่านั้น ส่วนในทางธรรม ที่ใช้คำบัญญัติจากภาษาบาลี ความหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้นับได้ว่าชัดเจน ดังจะได้กล่าวต่อไป

คำว่า “ดี” และ “ชั่ว” ในภาษาไทย มีความหมายกว้างขวางมาก โดยเฉพาะคำว่าดี มีความหมายกว้างยิ่งกว่าคำว่าชั่ว คนประพฤติดีมีศีลธรรม ก็เรียกว่าคนดี อาหารอร่อยถูกใจผู้ที่กิน ก็อาจพูดว่า อาหารมื้อนี้ดี หรืออาหารร้านนี้ดี เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพหรือทำงานเรียบร้อย คนก็เรียกว่าเครื่องยนต์ดี ไม้ค้อนที่ใช้ได้สำเร็จประโยชน์สมประสงค์ คนก็ว่าค้อนนี้ดี ภาพยนตร์ที่สนุกสนานถูกใจ คนที่ชอบก็ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ดี ภาพเขียนสวยงาม คนก็ว่าภาพนี้ดี หรือถ้าภาพนั้นอาจขายได้ราคาสูง คนก็ว่าภาพนั้นดีเช่นเดียวกัน โรงเรียนที่บริหารงานและมีการสอนได้ผล นักเรียนเก่ง ก็เรียกกันว่าโรงเรียนดี โต๊ะตัวเดียวกัน คนสามคนบอกว่าดี แต่ความหมายที่ว่าดีนั้นอาจไม่เหมือนกันเลย คนหนึ่งว่าดีเพราะสวยงามถูกใจเขา อีกคนหนึ่งว่าดีเพราะเหมาะแก่การใช้งานของเขา อีกคนหนึ่งว่าดีเพราะเขาจะขายได้กำไรมาก

ในทำนองเดียวกัน ของที่คนหนึ่งว่าดี อีกหลายคนอาจบอกว่าไม่ดี ของบางอย่างมองในแง่หนึ่งว่าดี มองในแง่อื่นอาจว่าไม่ดี ความประพฤติหรือการแสดงออกบางอย่าง ในถิ่นหนึ่งหรือสังคมหนึ่งว่าดี อีกถิ่นหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งว่าไม่ดี ดังนี้เป็นต้น หาที่ยุติไม่ได้ หรืออย่างน้อยไม่ชัดเจน อาจต้องจำแนกเป็นดีทางจริยธรรม ดีในแง่สุนทรียภาพ ดีในแง่เศรษฐกิจ เป็นต้น
เหตุที่มีความยุ่งยากสับสนเช่นนี้ ก็เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า และคำว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” ในภาษาไทย ใช้กับเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าได้ทั่วไปหมด ความหมายจึงกว้างขวางและผันแปรได้มากเกินไป
เพื่อตัดปัญหาเกี่ยวกับความยุ่งยากสับสนนี้ จึงจะไม่ใช้คำว่าดี ไม่ดี หรือชั่ว ในภาษาไทย และเป็นอันไม่ต้องพิจารณาปัญหา เกี่ยวกับคุณค่าด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด
ในการศึกษาเรื่องความดีความชั่วที่เกี่ยวกับกรรมนี้ มีข้อควรทราบดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ – ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
——————–
ชาตะ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ
พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

ประมวลภาพพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ประมวลภาพพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

พิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 9 มี.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ)

พิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 9 มี.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ โดยเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้เสด็จขึ้นพลับพลาอิศริยาภรณ์ และประทับพระเก้าอี้ที่หน้าอาสนสงฆ์ เจ้าพนักงานลาดผ้าภูษาโยง จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 10 รูปบังสุกุล ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วเสด็จลงจากพลับพลา
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) หรือสมเด็จเกี่ยว

หากเอ่ยนามพระสงฆ์ “ผู้เป็นต้นแบบแห่งสงฆ์ ” ที่พุทธบริษัทปรารถนาจะได้พบเห็น อันเป็นหนึ่งในทัสนานุตริยะ ที่เป็นมงคลยิ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นพระมหาเถระที่ได้รับการกล่าวนามถึงมากที่สุดรูปหนึ่ง ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา บนผืนแผ่นดินไทย ด้วยใบหน้าที่เปิดยิ้ม ฉายแววแห่งความเมตตา ทักทายผู้คนทุกชนชั้นที่พบเห็น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานแนวคิดนำพระพุทธศาสนาก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และนำพระพุทธศาสนาขจรขจายไปก้องโลก

ชีวิตของพระสงฆ์รูปหนึ่ง เมื่อแรกตั้งใจบรรพชาเป็นสามเณรเพียง 7 วัน แต่กลับดำรงตนอยู่ในสมณเพศตลอดมาตราบเข้าสู่วัยชรา และสามารถสร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาได้อย่างอัศจรรย์
อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์
ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)
อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพมหานคร โดยมีกำหนดการดังนี้
อ่านเพิ่มเติม

คาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร

ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา
จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง
อัตถิกาเยกายะ ญายะ
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต
ธะนะกาโมละเภธะนัง
เทวานังปิยะตังสุตตะวา
ท้าวเวสสุวัณโณ
นะโมพุทธายะ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์
(เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จเกี่ยว

เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2471
มรณภาพ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อายุ 85
อุปสมบท 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
พรรษา 64
วัด วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ท้องที่ กรุงเทพมหานคร
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.9 น.ธ.เอก
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
อดีตประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) (นามเดิม: เกี่ยว โชคชัย) (11 มกราคม พ.ศ. 2471 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นพระสงฆ์มหานิกาย และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยเป็นผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม[1][2][3][4]ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ… ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร

ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

อ่านเพิ่มเติม

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

“บุญ” ถ้าเจ้าไม่เคยสร้างไว้ ใครที่ไหนเล่าจะมาช่วยได้ลูกเอ๋ย ก่อนที่เจ้าจะเที่ยวไปอ้อนวอนขอพึ่งบารมีหลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่ง เจ้าจะต้องมีทุน (บุญ) ของตัวเอง เป็นทุนเดิมติดตัวไปบ้างก่อน ต่อเมื่อบารมีของตัวเจ้าเองยังไม่พอ จึงขอร้อง ยืมบารมีของผู้อื่นมาช่วยเหลือ ถ้ามิฉะนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะเจ้าจะต้องเป็นหนี้บุญบารมีที่เจ้าร้องขอ หรือยืมคนเขามาจนล้นพ้นตัว

ครั้นเวลาใดที่เจ้ามีโอกาสทำบุญทำกุศลบ้าง เรียกว่า พอจะมีบุญบารมีเป็นของตัวเองบ้าง เจ้าก็จะต้องไปผ่อนใช้หนี้ที่เจ้าเคยขอร้องยืมเขามาจนหมดสิ้นแทบไม่เหลือสำหรับตัวเอง แล้วเจ้าจะมีบุญกุศลใดติดตัวไว้จุนเจือตัวเองในภพหน้าที่ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นวัฏฏทุกข์ที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องรับรู้ รับทราบ ถ้าเรามั่นใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น เจ้าจงหมั่นสะสมบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างสม่ำเสมอ เทพยดา ฟ้าดินจะเอ็นดูช่วยเหลือเจ้าเอง
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโณ

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโณ

10 สิงหาคม 2556 ทั่วทั้งสังฆมณฑลได้รับทราบข่าวมรณภาพของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือ “สมเด็จเกี่ยว” อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 85 ปี 6 เดือน
สมเด็จเกี่ยว มีนามและสกุลเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เป็นบุตรคนที่ 5 ของ นายอุ้ย เลี้ยน แซ่โหย่ หรือ เลื่อน โชคชัย และนางยี โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2471 ณ บ้านเฉวง อ.เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เริ่มศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนจบ ป.4 /// เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง อ.เกาะสมุย และโยมมารดานำไปฝากไว้กับ หลวงพ่อพริ้ง พระครูอรุณกิจโกศล วัดแจ้ง ใน อ.เกาะสมุย ก่อนที่ หลวงพ่อพริ้ง จะนำไปฝากไว้กับสมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทยมหาเถร วัดสระเกศ และได้อุปสมบท ในปี 2492 มีนามฉายาว่า “อุปเสโณ”
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธรรมะมีทั้งกลางวันและกลางคืน

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมะมีทั้งกลางวันและกลางคืน

ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการสำเหนียก กำหนดพิจารณาธรรมอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีอยู่ปรากฏอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัส) ก็มีอยู่ปรากฏอยู่ได้เห็นอยู่ได้ยินอยู่ได้สูดดมลิ้มเลีย และ สัมผัสอยู่ จิตใจเล่า ก็มีอยู่ ความคิด นึกรู้สึกในอารมณ์ต่างๆทั้งดีและร้ายก็มีอันมีอยู่โดยธรรมดาเขาแสดงความจริง คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ให้ปรากฏอยู่ทุกเมื่อ เช่น ใบไม้เหลืองหล่นร่วงจากต้น ก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็นได้ดังนี้ เป็นต้น เมื่อผู้ปฏิบัติมาพินิจพิจารณาด้วยสติปัญญา โดยอุบายนี้อยู่เสมอแล้วชื่อว่าได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ธรรมโอวาทของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

. . . . . . .