ประวัติการสร้างพระเครื่อง สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติการสร้างพระเครื่อง สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ที่ปรากฏองค์ของท่านขึ้นมาในยุคนี้ได้ เพราะความฝัน คือ

คืนวันหนึ่งในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลาใกล้รุ่ง ข้าพเจ้าฝันว่าได้พบกับท่าน ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดช้างให้มากนัก ท่านได้มอบยาชนิดหนึ่งให้ข้าพเจ้ากิน แล้วสวมมงคลรัดศีรษะให้อีก แสดงว่าท่านได้รับข้าพเจ้าไว้เป็นศิษย์ เพื่อจะให้ข้าพเจ้าได้รับใช้งานของท่านในโอกาสต่อไป เป็นการสนองคุณพระอาจารย์ เสร็จแล้วท่านเดินจากข้าพเจ้าไปทางทิศที่ตั้งของวัดช้างให้ รุ่งเช้าข้าพเจ้าคิดว่าสถูปศักดิ์สิทธิ์หน้าวัดช้างให้นี้ คงจะเป็นสถูปซึ่งได้บรรจุอัฐิของท่าน หรือสมเด็จเจ้าพะโคะ เมื่อสมัยหลายร้อยปีมาแล้วเป็นแน่ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปที่วัดเพื่อสืบถามดู แต่ในระยะนั้น ข้าพเจ้ามีธุระกิจจำเป็นบางประการไม่สามารถจะไปได้ตามความตั้งใจ โอกาสต่อมา เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสออกจากบ้านมาถึงตลาดนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จึงได้แวะชวนนายชาติ สิมศิริ กำนัน นายกวี จิตตกูล นายวิศิษฐ์ คณานุรักษ์ พากันไปวัดช้างให้

เมื่อพวกเราได้ทำความเคารพท่านอาจารย์ทิม ธมฺมธโร เจ้าอาวาสวัดช้างให้แล้ว ก็ได้สนทนาปราศรัยต่อกัน วันนี้เป็นวันแรกที่ข้าพเจ้าได้มาเยี่ยมวัดช้างให้ และได้รู้จักท่านอาจารย์ฯ เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ในการสนทนากันตอนหนึ่งข้าพเจ้าได้เรียนถามท่านอาจารย์ฯ ว่าโบสถ์ที่สร้างค้างอยู่นั้น ท่านไม่คิดจะสร้างพระเครื่องไว้แจกจ่ายแก่ผู้สละทรัพย์โมทนาสร้างโบสถ์บ้างหรือ ท่านอาจารย์ตอบว่า เคยคิดมา ๒ ปีแล้วแต่ไม่สำเร็จ ข้าพเจ้าจึงรับว่าถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าขอรับจัดสร้างขึ้นถวาย ท่านก็ยินดีที่ข้าพเจ้าจัดทำให้ อ่านเพิ่มเติม

รวมเรื่องราวอภินิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

รวมเรื่องราวอภินิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

รอดพ้นภัยโจร

เหตุเกิดที่บ้านหนองกรก อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ในคืนวันที่22เมษายน 2497 เวลา21.00 น.นายแดงและภรรยากลับจากทำงานมากินข้าวแล้วเตรียมเข้าห้องนอน พอใกล้จะหลับได้ยินเสียงกริ่งๆอยู่ในขวดโหลบนหิ้งพระ ซึ่งมีพระเครื่องของหลวงพ่อทวดฯขอมาจากวัดช้างไห้ใหม่ๆและได้เก็บไว้บนขวดโหลใบนั้นเขาคิดว่าหนูได้กลิ่นน้ำมันจึงลงไปคาบพระแล้วกระทบกับขวดจึงเกิดเสียงดังขึ้น
นายแดงจึงลุกขึ้นจุดตะเกียงส่องดูก็ไม่เห็นมีอะไรผิดปกติ จึงล้มตัวลงนอนต่อไปจนถึงเวลา 22.00 น. เขากับภรรยาก็ตกใจตื่นขึ้นทันทีเพราะเสียงปืนดังขึ้นที่ชานเรือน 3 นัด นายแดงจึงนึกขึ้นได้ทันทีว่าตนถูกผู้ร้ายปล้นบ้าน จึงตื่นขึ้นจับมีดตัดฟากพื้นเรือนขนาดเป็นช่องแล้วรอดหนีไปทางช่องใต้ถุนเรือน
ฝ่ายภรรยากำลังตกตลึงไม่ได้สติ จึงลุกขึ้นไปเปิดประตูให้พวกโจร ขณะที่พวกโจรกำลังกระแทกบานประตูอยู่พอเขายื่นมือจับกลอนประตู ก็มีมือประหลาดมาผลักหน้าอกเขาก้นกระแทกพื้น เขานึกถึงหลวงพ่อทวดทันที จึงลุกขึ้นไปหน้าหิ้งพระพนมมืออ้อนวอนขอให้หลวงพ่อทวดช่วยคุ้มครองรักษา ฝ่ายพวกโจรก็ออกกำลังพังประตูห้องอยู่โครมครามสั่นสะเทือน เขากลัวจนไม่สามารถทนอยู่ได้จึงพนมมือกล่าวขอให้หลวงพ่อทวดฯช่วยคุ้มครองบ้านให้ลูกหลานด้วยเถิด กล่าวจบแล้วลอดหนีทางช่องตามสามีไป ปรากฏว่าพวกโจรใช้ปืนยิงติดตามหลังแต่ไม่ถูก พวกโจรเมื่อโถมพังประตูไม่ออกจึงพากันหนีเข้าป่าไป
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ ว่าน รุ่นแรก พ.ศ. 2497 จ.ปัตตานี

ประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ ว่าน รุ่นแรก พ.ศ. 2497 จ.ปัตตานี.

โดย กู้หาดใหญ

เมื่อเอ่ย ถึงประวัติในการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดว่านรุ่นแรก พ.ศ.2497 จ.ปัตตานี. มีหลายๆท่านอาจจะได้รับทราบข้อมูลมามากมาย จากสื่อนิตยสาร รวมเล่ม จากประวัติที่ได้ฟังเขาเล่าขานกันมา และ ในสิ่งที่กระผม จะเขียนให้ได้อ่าน และได้รับทราบข้อมูลตามที่กระผมได้สอบถามประวัติมาให้อ่านนี้ มิได้คัดลอกบทความ จากผู้หนึ่งผู้ใด เป็นข้อมูล ดิบๆที่จะเขียนให้ทุกๆท่านได้อ่านรับทราบตามที่กระผมได้รับฟังมา ไม่ได้มีความคิดว่า สิ่งที่กระผมได้นำมาเขียนนี้มันเลอเลิศ แต่….ด้วยความสำนึกในบุญคุณบารมี องค์พระโพธิสัตว์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เหยียบน้ำทะเลจืดและพระอาจารย์ทิม อดีต เจ้าอาวาส วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี ซึ่งมีบุญสัมพันธ์ กับ หลวงปู่ทวด ตั้งแต่อดีตชาติ ถึงปัจจุบันชาติ อันที่จริงจะว่ากันแล้ว ด้วย พระบารมีองค์พระโพธิสัตว์ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด บวกกับวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์ทิม งดงามยิ่งนัก เป็นพลังรวมพลังอันมหาศาล ที่ใสสะอาดประดุจ แก้วใส สารพัดนึก เพราะการสร้างเมื่อครั้งอดีต เป็นการสร้างที่มีเจตนาบริสุทธิ์จริงๆไม่มีเจตนาในเรื่องการ ซื้อ-ขายแต่อย่างใด ฉะนั้นพระเครื่องเมื่อครั้งในอดีตจะคงความเข้มขลัง ใสสะอาดบริสุทธิ์ จึงเปี่ยมล้นไปด้วย พลังพุทธคุณ ครับไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมพระเครื่องหลวงปู่ทวด ว่านรุ่นแรก วัดช้างไห้จึงเป็นพระเครื่องที่ “อมตะ” ไม่มีวันดับหายไปจากความศรัทธาของเหล่านักพระเครื่องและประชาชนโดยทั่วไป อีกทั้ง เรื่อง พุทธคุณประสบการณ์ ที่มีมาตลอด ผมเข้าใจว่า พุทธคุณ บวก กับบารมีหลวงปู่ทวด ผมมั่นใจว่าจะมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย เรื่องราวการจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด ว่านรุ่นแรกนั้น ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบความเป็นจริงว่าพระเครื่องหลวงปู่ทวดว่าน 2497 นั้น ว่านที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น มีทั้งหมด 200 กว่าชนิด คำว่า 108 มิใช่ว่าน 108 ชนิด แต่เป็นเรื่องพุทธคุณที่มีถึง 108 คำว่า 108 ก็คือ “ได้ทุกสิ่งอะไรก็ได้ศักดิ์สิทธิ์”คำว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำพูดที่ครอบ จักรวาล นั่นเองคนเขามักจะนิยมเอามาพูดกัน. อ่านเพิ่มเติม

เหรียญหัวโตหลวงปู่ทวดค่านิยมมากกว่า๑ล้าน

เหรียญหัวโตหลวงปู่ทวดค่านิยมมากกว่า๑ล้าน

เหรียญหัวโตหลวงปู่ทวด พ.ศ. ๒๕๐๐ ราคา ๒๐ บาท พ.ศ. ๒๕๕๖ ราคามากว่า ๑ ล้านบาท : พระองค์ครู เรื่องและภาพ โดยไตรเทพ ไกรงู
“แขวนพระหลวงปู่ทวดแล้วไม่ตายโหง” เป็นความเชื่อของคนในวงการพระเครื่องและคนที่ห้อยพระหลวงปู่ทวดและคติความเชื่อนี้เองทำให้มีการสร้างหลวงปู่ทวดออกมาจำนวนมากจนมีคำพูดในวงการสร้างพระเครื่องว่าสร้างพระหลวงปู่ทวดอย่างไรก็ขายได้และไม่ขาดทุน

อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึง “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ใครๆ ต่างก็นึกถึงพระภิกษุชราร่างเล็กผิวคล้ำ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคงไม่มีใครทันได้เห็นว่า “หลวงปู่ทวด” ท่านมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร เพราะภาพความทรงจำเป็นการมองผ่านภาพพระเครื่อง ทั้งเนื้อว่าน พระบูชา และเหรียญ หรือรูปเหมือนเนื้อโลหะพิมพ์ต่างๆ ที่ท่านพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ได้ดำเนินการจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวจากนิมิต ซึ่งครั้งแรกสร้างขึ้นด้วยเนื้อว่าน ๑๐๘ ผสมด้วยดินกากยายักษ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ และถัดมาอีก ๓ ปีคือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีการจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “เหรียญหัวโต” และในการจัดสร้างคราวนั้นมีเพียงเนื้อทองแดงกะไหล่เงินเนื้อเดียว ไม่มีเนื้อเงินหรือเนื้อทองคำแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติม

ประวัติความเป็นมาของพระหลวงปู่ทวด รุ่นทะเลซุง ปี 2508

ประวัติความเป็นมาของพระหลวงปู่ทวด รุ่นทะเลซุง ปี 2508

เนื่องจากช่วงนี้ ความนิยม ของ หลวงปู่ทวด ทะเลซุง ปี 2508 ได้รับความนิยม มากขึ้นตามลำดับ ผมจึงขอโอกาสนี้ นำประวัติมาให้ทราบ เพื่อเป็นความรู้ สำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักสมที่สนใจ คับ
เป็นพระ หลวงปู่ทวด พ.ศ 2508 สร้างโดยพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธัมมธโร) แห่งวัดช้างให้(วัดราษฎร์บูรณะ) ตำบลบ้านไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยมีพระครูวิสัยโสภณเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นประธานในพิธีบริกรรม ได้อาราธนาอัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดมาให้ท่านประสิทธิ์ ประสาทความขลัง แก่พระเครื่อง เสร็จแล้วจึงได้แจกจ่ายให้ชาวบ้านนำไปสักการะบูชา

รุ่นนี้ได้ชื่อว่า “รุ่นทะเลซุง” เนื่องจากปีนั้น (พายุเกย์) เข้าทำให้เกิด อุทกภัยภาคใต้ เกิดดินถล่มทำให้ท่อนซุงไม้ได้ไหลมาตามดิน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเยอะมาก แต่มีผู้ที่รอดชีวิตได้ใช้พระรุ่นนี้ จึงเป็นที่เชื่อกันว่าเพราะบารมีของหลวงพ่อทวด จึงเรียกรุ่นนี้ว่า รุ่นทะเลซุง ครับ
ทะเลซุง 2508 จะมีทั้งพิมพ์บัว 5 และ พิมพ์บัว 6 แต่ที่นิยมหาเล่นกันจะเป็นบัว 6 ครับ

อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อทวดรุ่นแรกปี2497

หลวงพ่อทวดรุ่นแรกปี2497

จัดสร้างโดย พ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งร่วมสร้างพระเนื้อว่านหลวงพ่อ ทวดรุ่นแรกปี2497 เมื่อปีพ.ศ 2505 พระมหาฉิ้นได้นำเรื่องไปปรึกษากับพระอาจารย์ทิมว่า ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อองค์หลวงปู่ทวดนั้นมากมายเกินจะประมาณได้ เมื่อพระเครื่องของวัดช้างให้หมดไปแล้ว ทางวัดเมืองยะลาน่าจะขออนุญาตต่อองค์หลวงปู่ทวด สร้างพระเนื้อว่านสืบต่ออีกสักครั้งจะดีหรือไม่………. พระอาจารย์ทิมได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็เห็นด้วย แต่ต้องขออนุญาตต่อดวงวิญญาณหลวงปู่ทวดก่อน ซึ่งท่านได้นั่งสมาธิ ทำพิธีขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อย การดำเนินการขั้นตอนต่างๆจึงเริ่มต้นแต่บัดนั้น………. ส่วนพระมหาฉิ้น(ในสมัยนั้น) หลังจากได้รับอนุญาตแล้ว จึงรวบรวมดินและว่านที่เหลือจากวัดช้างให้มาเก็บไว้ที่วัดเมืองยะลา และเดินทาง(ตามรอยหลวงปู่ทวด) ไปทำพิธีพลีดินที่รัฐไทรบุรี ประเทศมาเลเซียเพื่อไปกราบนมัสการและนำพลีดินตามสถานที่พักศพต่างๆถึง 13 แห่ง (อดีตเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทย) ที่หลวงปู่ทวดเคยไปจำวัดพำนักอยู่ที่นั้น แล้วนำมาเป็นส่วนผสมและเที่ยวเก็บรวบรวมว่านต่างๆไว้ได้มากมาย ต่อมาในวันแรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล ตรงกับวันอังคารที่ 27มีนาคม 2505 เป็นวันฤกษ์ดี ท่านพระอาจารย์ทิมได้มาเป็นประธานในการสร้างและกดแม่พิมพ์พระด้วยตนเองที่ วัดเมืองยะลา ใช้เวลานาน อยู่เดือนกว่าๆถึงสำเร็จ รวมพระที่ทำได้ทั้งหมด 10,000 องค์ พระเครื่องรุ่นแรกที่จัดสร้างในปีนั้น ประกอบด้วยพิมพ์ต่างๆดั้งนี้ 1 . พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ (พิเศษ)….. 2. พระหลวงปู่ทวดพิมพ์ใหญ่….. และ 3. พระหลวงปู่ทวด พิมพ์เล็ก (พิมพ์พระรอด) หรือบางท่านเรียกว่า พิมพ์อิคิวซัง….. เมื่อพระเครื่องหลวงปู่ทวด สร้างสำเร็จเรียบร้อยแล้วพระอาจารย์ทิมนำพระทั้งหมดไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก ครั้งใหญ่ที่วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2505 ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ปีขาล นับเป็นพิธีครั้งที่ 2 ของวัดช้างให้ และครั้งนั้นได้มีผู้นำพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะมาเข้าพิธีปลุกเสกด้วย อีกจำนวนมาก………. พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ณ วัดช้างให้ถือว่าเป็นพิธีใหญ่ที่สุดในภาคใต้พิธีหนึ่งทีเดียว ครั้นเมื่อพิธีพุทธาภิเษก เสร็จสิ้นลง พระอาจารย์ทิมก็เก็บพระไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อมีผู้มาขอท่านก็แจก จนหมดเสร็จ ผู้ที่ได้รับแจกก็ดีใจ มักจะพูดกันว่า เป็นพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งก็อนุญาตให้พระมหาฉิ้นนำไปยังวัดเมืองยะลา เพื่อแจกจ่ายผู้ศรัทธาต่อไป………. พระมหาฉิ้นแจกไม่อั้นเช่นเดียวกัน พักเดียวเท่านั้นเอง พระหลวงปู่ทวด วัดเมืองยะลา ก็หมดสิ้น นักเลงพระที่รู้ประวัติต่างก็หมุนเวียนกันไปรับแจก คนละหลายสิบเที่ยว………ดังนั้นแล้ว หลวงพ่อทวด วัดเมืองยะลา ปี05 นับเป็นหลวงพ่อทวดต่างวัด (ทันอ.ทิม ปลุกเสก) ที่สามารถใช้แทน หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ได้อย่างอุ่นใจ

http://www.m-culture.in.th/moc_new/album

ประวัติ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด จังหวัดปัตตานี
เรื่องราวประวัติของ “หลวงพ่อทวด วัดช้างให้” นั้นเป็นเรื่องราวตามตำนาน กล่าวเล่าสืบต่อกันมาบางตำนานบางตอนของ ประวัติหลวงพ่อทวดผู้เล่าก็อาจเสริมเพิ่มเติมกันไปบ้างเกี่ยวกับเรื่องราวอภินิหารต่างๆ แต่ก็ถือว่ามีเค้าเรื่องจริงเป็นแก่นแท้อยู่ หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือ”ประวัติหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้”และเอกสารต่างๆ

พระเครื่องของ หลวงพ่อทวด ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้สร้างเองแต่ในความศักดิ์สิทธิ์นั้น คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ ความนิยมในวัตถุมงคลหรือ พระเครื่อง หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ นั้นถือว่าเป็นอมตะควบคู่ไปกับตำนานเล่าขานสืบต่อกันไป ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ซึ่งผู้สร้างตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ คือ พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร(พระครูวิสัยโสภณ) อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์พุทธสถานตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำจืด

พิพิธภัณฑ์พุทธสถานตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำจืด

ประวัติพิพิธภัณฑ์พุทธสถานตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำจืด อำเภอวังน้อย

ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙ หมู่ ๗ ถนนโรจนะ ตำบลลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายสนอง นางพรรณณี วรกุลปัญญาเลิศ เป็นผู้บริจาคที่ดิน จำนวน ๕ ไร่ ๙๐ ตารางวา ให้แก่ วัดชูจิตธรรมาราม อำเภอวังน้อย ให้ดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พุทธสถานตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำจืด เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์พุทธสถานตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำยืด ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปทราบดีถึงบุญญาบารมีของหลวงปู่ทวด และหวังให้ประชาชนทั้งใกล้ไกลได้ใช้เป็นสถานที่ปลดทุกข์ ขอพร

วัดชูจิตธรรมาราม จึงได้จัดทำป้ายวิธีการร้องทุกข์ต่อหลวงปู่ทวดไว้เพื่อประชาชนจะได้มาสักการะบูชา ขอพรท่าน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ทราบถึงบุญญาธิการของหลวงปู่ทวด

สิ่งสำคัญภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์พุทธสถานตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบทะเลน้ำจืด ประกอบด้วย

– รูปปั้นหลวงปู่ทวดพร้อมคำอธิษฐานขอพรของหลวงปู่

– ศาลาร้องทุกข์

– วิธีการขอพรร้องทุกข์ต่อหลวงปู่ทวด

– รูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม

– รูปปั้นพระสังกัดจาย

http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/

สักการะและเรียนรู้ประวัติหลวงปู่ทวด

สักการะและเรียนรู้ประวัติหลวงปู่ทวด

เชื่อว่าคนไทย หรือแม้แต่ชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ คงไม่มีใครไม่รู้จัก “หลวงปู่ทวด”ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้า สมญาที่ทุกคนรู้จักคือ “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”แต่น้อยคนที่จะทราบสมณศักดิ์ว่าท่านเป็น “สมเด็จเจ้าพะโคะ” ทำนุบำรุงวัดพะโคะ ที่เมืองสทิงพระ หรือ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา หลวงปู่ทวดไม่ได้เพิ่งจะมีอิทธิปาฏิหาริย์ หากแต่มีเรื่องเล่าปาฏิหาริย์ของท่านตั้งแต่ยังเป็นทารก หลวงปู่ทวดเกิดในสมัยปลายรัชกาลของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (สทิงพระ ในปัจจุบัน) ตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง ปี 2125 เดิมทีหลวงปู่มีนามว่า ปู่ เป็นบุตรของนายหูและนางจันทร์ มีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ก็ไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้ทารกเลย จนกระทั่งบิดามารดาสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมา จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวแล้วเลื้อยหายไป เมื่อพญางูไปแล้ว บิดามารดากลับว่าที่ทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงเป็นรัศมี บิดามารดาจึงเก็บรักษาไว้แล้วฐานะทางบ้านก็ดีขึ้นเป็นลำดับ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด

สมเด็จพระราชมุนี
สามีรามคุณูปจารย์
(ปู สามีราโม)
หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด,
สมเด็จเจ้าพะโคะ

เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
สงขลา สยาม
อุปสมบท พ.ศ. 2145
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225
ไทรบุรี มาเลเซีย
พรรษา 80
อายุ 100
วัด วัดช้างให้
จังหวัด ปัตตานี
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้
หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์) [1] เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง
ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือ กันมาว่าได้มีพระภิกษุสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ขั้นสมเด็จถึง ๔ องค์ ด้วยกัน คือ
๑ . สมเด็จเจ้าเกาะยอ
๒ . สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
๓ . สมเด็จเจ้าจอมทอง
๔ . สมเด็จเจ้าพะโคะ

ในที่นี้ ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนาน กล่าวไว้ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะองค์ นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชมุนี สามีรามคุณูปมาจารย์ จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ . ศ . ๒๑๒๕ บิดาชื่อหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้ว จึงคลอดบุตรเป็นชาย ชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ ( อ . จะทิ้งพระ จ . สงขลา เวลานี้ )

ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจน ได้อาศัยอยู่กับคฤหบดีผู้หนึ่งไม่ปรากฏ นาม สองสามีภริยาเป็นผู้มั่นอยู่ ในศีลธรรม เมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟ เนื่องในการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บเกี่ยวข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่ได้มาอาศัยอยู่ครั้นถึงทุ่งนาได้เอา ผ้าผูกกับต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กัน ทำเป็นเปลให้ลูกนอน แล้วพากันลงมาเก็บ เกี่ยวข้าวต่อไป ขณะสองสามีภรรยาเก็บเกี่ยวข้าวอยู่ชั่วครู่ นางจันทร์ เป็นห่วงลูก ได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฏว่ามีงูบองตัวโตผิดปกติ ได้ขดตัวรอบรัวเปลที่ เจ้าปู่นอน สองสามีภริยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้น เพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครสามารถจะช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็น คนเข้าใกล้ก็ชูศีรษะขึ้นส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัว จึงไม่มีใครกล้าเข้าไป ใกล้เปลนั้นเลย

ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้มั่นอยู่ ในบุญกุศล ยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ปรากฏว่างูใหญ่ ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่ บุตรน้อยของตนเลย จึงเกิดความสงสัย ว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหา ดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชา และกราบไหว้งูใหญ่พร้อม ด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐาน ขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปล อันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์ และเพื่อนพา กันเข้าไปดูทารกที่ในเปล ปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติ แต่มีแก้วดวงหนึ่ง วางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ ลูกกระเดือก แก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็น รัศมีหลากสี สองสามีภริยาจึงเก็บรักษาไว้คหบดีเจ้าของบ้านทราบความ จึงขอแก้วดวงนี้ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้น เมื่อได้แก้วพระยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้ว ก็รู้สึกพอใจ ต่อมาไม่นานได้เกิดการวิปริต ให้ความ เจ็บไข้ได้ทุกข์แก่ คหบดีและครอบครัวขึ้นอย่างรุนแรงผิดปกติ จนไม่มีทาง แก้ไขได้จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าของบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คงจะเป็นเพราะยึดเอาดวงแก้วพระยางูนั้นไว้จึงให้โทษ และเกรงเหตุร้าย จะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภริยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้น ปรากฏว่าเจ้าของบ้าน ก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหากินเลี้ยงชีพก็จำเริญรุ่งเรือง ขึ้นเป็นลำดับ อยู่สุขสบายตลอดมา อ่านเพิ่มเติม

เรื่องหลวงปู่ทวด

ประวัติหลวงพ่อทวด
ประวัติหลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด
“เรื่องหลวงพ่อทวด”

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน คือ
๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ
แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์”จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ บิดาชื่อตาหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ในเวลานี้)
ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟเนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูงขึ้น ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัยว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

ทารกอัศจรรย์

เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่ทวด ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

25551008-134134.jpg

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .