จดหมายเหตุ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

จดหมายเหตุ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระฉายาว่า”สุวัฑฒโน” พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล “คชวัตร”
ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อกิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508

บรรพชน
บรรพชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ใต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาว เมืองไชยา 2 คน ชื่อทับ กับชื่อนุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้ม ต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรังเมืองสงขลาจึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูลคชวัตร นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน

1.นายน้อย คชวัตร
2.นายวร คชวัตร
3.นายบุญรอด คชวัตร
นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คนดังนี้

1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร )
2.นายจำเนียร คชวัตร
3.นายสมุทร คชวัตร

โยมบิดา และโยมมารดา
………..นายน้อย คชวัตรโยมบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนตรา อำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อ พ.ศ.2445จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.2451ต่อมาไปตรวจราชการเกิดอาการป่วยมากจึงต้องลาออกจากราชการเมื่อหายดีแล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการใหม่
………..จนปี พ.ศ.2456 จึงได้บุตรชายคนโตคือ สมเด็จพระญาณสังวรฯและได้ย้ายตำแหน่งเป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย( ท่าม่วง ) เมื่อปี พ.ศ.2458ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าได้มีโอกาสซ้อมรบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จฯ เมืองกาญจนบุรีนายน้อยได้นำสมเด็จพระญาณสังวรฯ ืขณะนั้นอายุเพียง 2 ขวบ เข้าเฝ้าด้วยต่อมาได้ไปรับราชการที่จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเจ็บป่วยจึงเดินทางกลับเมืองกาญจนบุรีเพื่อพักรักษาตัวและถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุได้เพียง 38 ปี สมเด็จพระญาณสังวรฯได้นางเฮงผู้เป็นป้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กเมื่อโยมบิดามารดาย้ายไปสมุทรสงครามก็ไม่ได้ตามไปด้วย อาศัยอยู่กับป้าที่เมืองกาญจนบุรี

การศึกษา
…………สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาเมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดไต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียนต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรงสวรรคตก่อน
………..ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้งเช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช
………..สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน

บรรชาเป็นสามเณร
………..เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวนให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสืออยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
…………เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ
ได้นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า ” สุวัฑฒโน” ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์
ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
– พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
– พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
– พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ

ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
……….เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
………..เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้

– พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
– พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
– พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
– พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
– พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค

………..สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตรีีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 – ป.ธ.9
…………นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ
การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ

………… สมณศักดิ์
– พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
– พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
– พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
– พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
– พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
– พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ
– พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19

………..นับเป็นความภูมิใจของชาวกาญจนบุรีอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้รับพระราชทานดำรงตำแหน่งเป็น
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ของประเทศไทย ขอให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน…………

ครั้งหนึ่ง มีพุทธศาสนิกชนชาวกรุงเทพมหานครได้เดินทางไปกราบ”พระป่า”สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระซึ่งได้ชื่อว่าเป็น”พระอริยสงฆ์”ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในหลายๆวัด
โดยเมื่อคณะศรัทธาได้กราบพระเถระสายกรรมฐานอาวุโสสูงองค์หนึ่ง เมื่อสนทนาพอสมควรแล้ว พระอริยสงฆ์องค์นั้นจึงกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า
“มาทำไมให้ไกลถึงที่นี่ หากอยากจะกราบพระสุปฏิปันโนแล้ว ก็ให้ไปกราบสมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหารซิ นั่นแหละ…พระสุปฏิปันโนของแท้ล่ะ..!!!!!”

แม้บุคคลทั้งหลายทั่วไป อาจจะรู้จักมักคุ้นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็น”ประธานาธิบดีสงฆ์” (อีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในคราวรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช)ที่ทรงสมณศักดิ์สูงสุดแห่งพุทธจักรสยามในยุคปัจจุบันเท่านั้น
แต่ความเป็นจริงแล้ว สมเด็จพระญาณสังวรฯ ท่านทรงพระคุณธรรมและพระคุณพิเศษยิ่งกว่าสามัญอีกมากมายนักหนา
อาศัยที่ว่า “พุทธวงศ์”มีบุญ ได้เคยกราบสมเด็จฯท่านในที่ต่างๆมาตั้งแต่สมัยก่อนที่จะได้รับการสถาปนาฯเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปีพ.ศ. 2532 แม้มิได้ใกล้ชิดเฉกเช่นท่านผู้อื่น แต่กาลเวลาที่เนิ่นนานพอสมควรเห็นปานนั้น ก็ทำให้พอมีข้อมูลเบื้องลึกในพระอัจฉริยคุณแห่งพระองค์ท่านอยู่พอสมควร
เห็นควรที่จะนำเสนอให้สาธารณชนทั้งหลายได้ล่วงรู้และอนุโมทนาสาธุการยิ่งๆขึ้นไปเป็นการพิเศษ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2552 สืบต่อไปเลยทีเดียว……….

ในวาระวันคล้ายวันประสูติในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศฯ ครบ 96 พรรษา ในวันที่ 3 ตุลาคม ศกนี้ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระอริยสงฆ์พระองค์นี้ ผู้ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐ และเป็นประจักษ์พยานหลักฐานแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังมีตัวตนอยู่ในปัจจุบันนี้

ในมงคลสมัยนี้ จักได้พรรณนาพระคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา และเพื่อน้อมนำรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐนั้นมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญในธรรม ของเพื่อนมนุษย์ทั้งผอง

พระนามของสมเด็จพระสังฆราชในยุครัตนโกสินทร์นี้ จะใช้คำนำหน้าสี่ลักษณะคือ

ลักษณะแรก ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระสังฆราช ดังเช่นพระนามสมเด็จพระสังฆราช (สี) วัดระฆังโฆสิตาราม ในยุคสมัยรัชกาลที่ 1

ลักษณะที่สอง ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ดังเช่นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ องค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ลักษณะที่สาม ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ดังเช่นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดราชบพิธ

ลักษณะที่สี่ ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ดังเช่น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) วัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

การใช้คำนำหน้าพระนามสมเด็จพระสังฆราชนั้น น่าจะมีการคำนึงถึงภูมิธรรมและพระคุณของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์ จึงเป็นที่มาของการพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้ แม้ว่ามีสมเด็จพระสังฆราชมาแล้วหลายพระองค์ แต่ที่ได้รับพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรว่า “ญาณสังวร” นั้นมีอยู่เพียง 2 พระองค์เท่านั้น

พระองค์แรกคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐยิ่งในพระพุทธศาสนา ทรงอภิญญา และอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่เลื่องชื่อลือชาแห่งยุครัตนโกสินทร์

พระองค์ที่สองคือสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ได้รับพระราชทานนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

และถ้าจะนับเนื่องในเรื่องทรงอภิญญา ทรงอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นที่ประจักษ์แล้ว ก็กล่าวได้ว่าในยุครัตนโกสินทร์นี้มีพระสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเพียง 3 รูปเท่านั้น

นั่นคือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) องค์ปัจจุบัน

พระคุณของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้นเป็นที่รู้ประจักษ์โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก และในโอกาสนี้ย่อมสมควรกล่าวถึงพระคุณประการนี้ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันเป็นสำคัญ

ที่มาของคำว่า “ญาณสังวร” นั้นมาจากความสำรวมหรือความสังวรใน 3 ระดับ ตามภูมิธรรมในพระพุทธศาสนา คือ ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร

ศีลสังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในศีล โดยศีลที่ว่านี้หมายถึงศีล 2 ชนิด คือ ศีลซึ่งมีลักษณะเป็นพระวินัย ตามพระปาติโมกข์ชนิดหนึ่ง และศีลจากพระโอษฐ์ ซึ่งเป็นศีลที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเพื่อการศึกษาและปฏิบัติในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยแห่งพระบรมศาสดาโดยตรง ได้แก่ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล เมื่อศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์แล้ว ย่อมเป็นบาทฐานแห่งสมาธิและปัญญา เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้นหรือนิพพานในที่สุด

อินทรีย์สังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในอินทรีย์ทั้งปวงโดยเฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีความเป็นปกติ ไม่วอกแวกหวั่นไหว เมื่อกระทบกับอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ต่างๆ ถึงซึ่งความเป็นอุเบกขา

ญาณสังวร ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในญาณ ซึ่งครอบคลุมถึงรูปฌาน และอรูปฌาน ขึ้นไปจนถึงญาณทั้งสาม อันเป็นสุดยอดสามวิชชาในพระพุทธศาสนา คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตถญาณ และอาสวัคขยญาณ
พระนามญาณสังวรของสมเด็จพระสังฆราช ทั้งสองพระองค์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีที่มาจากคำว่าญาณสังวรและความหมายของญาณสังวรอันเป็นภูมิธรรมขั้นสูงและสูงที่สุดในพระพุทธศาสนานั่นเอง

ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร เมื่อบริบูรณ์แล้วพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรับรองว่าสามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้นานาประการ

อันสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ปัจจุบันนี้ ทรงอิทธิปาฏิหาริย์หลายประการ ทั้งอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ และอิทธิปาฏิหาริย์
อนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ คือปาฏิหาริย์ในการเทศนาอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้ ให้เข้าใจ และสามารถน้อมนำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมได้

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันนี้ทรงพระคุณอันประเสริฐในด้านอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมาแต่ครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โปรดให้ทรงนิพนธ์คำสอนหลากหลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือการศึกษาและปฏิบัติของชาวพุทธ อันมีประจักษ์พยานหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน

อิทธิปาฏิหาริย์คือการกระทำความมหัศจรรย์เหนือกว่าความสามารถของมนุษย์ธรรมดา ซึ่งในประการนี้คนจำนวนมากอาจไม่รู้หรือไม่ทราบ กระทั่งเข้าใจว่าทรงเป็นแค่พระสงฆ์ธรรมดา ที่ปฏิบัติธรรมวินัยไปตามปกติ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันทรงอิทธิปาฏิหาริย์ตามภูมิธรรมอันประเสริฐสูงที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว และเคยมีผู้เห็นประจักษ์หลายครั้ง ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

เมื่อครั้งที่ยังมีสงครามระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้นิมนต์พระมหาเถระทางภาคอีสานหลายรูป ซึ่งเป็นพระป่า ไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง แต่มีภูมิธรรมขั้นสูง ด้วยการคมนาคมและการสื่อสารในสมัยนั้น ตลอดจนอุปสรรคในด้านความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อนิมนต์พระมหาเถระเหล่านั้นได้
พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ นายทหารราชองครักษ์ได้รับมอบหมายให้ไปทูลสมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งขณะนั้นยังคงมีสมณศักดิ์ที่พระศาสนโสภณ ขอให้ช่วยนิมนต์แทน หลังจากรออยู่ครู่หนึ่งก็ได้รับคำตอบว่าได้นิมนต์เรียบร้อยแล้ว ให้ทางสำนักพระราชวังจัดรถไปรับ ณ ที่นัดหมายตามวันเวลาที่กำหนด
ปรากฏว่าการติดต่อนิมนต์ครั้งนั้นไม่ได้ใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆ เลย แต่เป็นการติดต่อนิมนต์ด้วยโทรจิต ซึ่งเป็นการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา

เมื่อร่วม 20 ปีที่ผ่านมา ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร สมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะที่ทรงภูมิธรรมขั้นสูงรวม 4 รูป ได้เข้าไปเฝ้าและเจริญสมาธิจิต กระทำสัตยาธิษฐานให้ทรงหายประชวร ก็ทรงหายประชวรโดยพลัน เป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงประชวร มีพระอาการหนักมาก มีข่าวลือทั่วไปว่าทรงสิ้นพระชนม์แล้ว เป็นเหตุให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหารซึ่งกำลังเดินทางไปประชุมที่กัมพูชาต้องรีบเดินทางกลับ เมื่อถึงกรุงเทพฯแล้วจึงได้รู้ว่ากลุ่มคนปล่อยข่าวลือ เพราะพระอาการดีขึ้น
และเมื่อทรงฟื้นจากประชวรครั้งนั้น ก็ทรงเล่าให้ฟังว่า ความจริงครั้งนั้นประชวรหนักมาก เตรียมใจที่จะละสังขารอยู่แล้ว ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อไปทรงเยี่ยม ณ ที่ประทับรักษาพระองค์
คณะแพทย์ได้ถวายรายงานว่าทรงประชวรอาการมาก และสิ้นหวังแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปถึงเตียงที่บรรทม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระหัตถ์ทั้งสองจับพระพาหา (ต้นแขน) ของสมเด็จพระองค์ แล้วกราบทูลว่า พระอาจารย์ พระอาจารย์! พระอาจารย์ หม่อมฉันและสมเด็จพระราชินีมาเยี่ยม ทรงตรัสอย่างนี้อยู่ 2 – 3 ครั้ง สมเด็จพระสังฆราชก็ทรงฟื้นพระสติ และทรงพยักหน้า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า คราวนี้ทรงประชวรหนัก คณะแพทย์บอกว่าเกินกำลังแล้ว หม่อมฉันเองก็ได้ใช้ความพยายามเต็มที่ หมอที่ไหนดีก็หามารักษา ยาอย่างไหนดีก็หามาถวาย แต่พระอาการไม่มีใครจะช่วยได้แล้ว พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้วนะ พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้วนะ
สมเด็จพระสังฆราชทรงพยักหน้ารับคำอาราธนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จกลับ โดยมิได้ตรัสประการใดอีก
สมเด็จพระสังฆราชทรงประทานเล่าว่า เมื่อได้ยินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้ว ก็ทรงระลึกถึงคำสอนในพระบรมศาสดาเรื่องอิทธิบาท 4 ได้ว่า เป็นธรรมโอสถที่เมื่อเจริญแล้วสามารถดำรงพระชนม์ให้ยืนยาวได้ดังปรารถนาถึงกัลป์หรือเกินกว่ากัลป์
เมื่อทรงระลึกได้ดังนี้จึงทรงเข้าสมาธิดำรงพระจิตอยู่ในวิหารธรรมที่มีชื่อว่าอิทธิบาทตามคำสอนของพระบรมศาสดา และในไม่ช้าพระอาการก็ทุเลาอย่างน่าอัศจรรย์ และทรงดำรงขันธ์เป็นมิ่งมงคลสูงสุดแก่ประเทศชาติและบวรพระพุทธศาสนามาตราบเท่าถึงปรัตยุบันวารนี้ฯ
แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงมีภูมิธรรมขั้นสูงยิ่ง ที่สามารถเจริญอิทธิบาท 4 กำหนดอายุสังขารได้เสมอด้วยพระอริยเจ้าผู้ทรงวิสุทธาธิคุณอันประเสริฐสุดในอดีตกาลอย่างสิ้นสงสัย
เหมือนกับเมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสรับอาราธนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าอย่าเพิ่งดับขันธ์ แล้วใช้อำนาจแห่งสมาธิจิตเป็นธรรมโอสถรักษาอาการป่วยเจ็บจนหายเป็นปกติ
และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเจริญด้วยภูมิธรรมอันสูงในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นธรรมิกมหาราชา จึงทรงสามารถรู้ได้ว่าจะทรงใช้ธรรมโอสถใดในการรักษาเยียวยาพระอาการที่เข้าขั้นวิกฤตในคราวนั้นได้

ทราบข้อมูลเบื้องลึกจากวงใน แจ้งมาให้ทราบเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เหตุการณ์ตอนที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงพระประชวรหนัก ใกล้จะสิ้นพระชนม์เมื่อตอนที่ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา(พ.ศ. 2546)นั้น ทั้งพระและโยมที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อได้ทราบข่าวต่างพากันร่ำไห้อาลัยสมเด็จฯท่านกันไปตามๆกัน ไม่เว้นแม้แต่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ก็ไม่อาจห้ามน้ำตามิให้ไหลถึงเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านได้
แต่ในคราวที่วิกฤติอย่างจวนเจียนที่สุดนั้นเอง พระอุปัฏฐากที่เฝ้าดูแลอยู่ได้แลเห็นแสงสว่างพุ่งจากพระวรกายของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเรืองรองไปหมด เหมือนกับเป็นสัญญาณบอกให้ได้ทราบโดยทั่วกันว่า สมเด็จฯเตรียมจะถอดพระจิตทิ้งสังขารแล้ว ความนี้ได้ทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทของล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ จึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงอาราธนาให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเจริญอิทธิบาท 4 ต่อพระชนมายุสังขารของพระองค์เองอย่างทันท่วงที อันนับเป็นบุญแก่บวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวด หาที่เปรียบมิได้ดังที่ท่านทั้งหลายคงจะได้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาแก่ใจของมหาชนทั่วแผ่นดินอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดในปัจจุบันวารนี้แล้ว

เมื่อประมาณปี 2519 ครั้งยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีผู้ศรัทธาแถวมีนบุรีท่านหนึ่งได้กราบอาราธนานิมนต์เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรไปทำบุญที่บ้านซึ่งอยู่แถวเขตมีนบุรี ซึ่งห่างไกลจากวัดบวรนิเวศวิหารหลายสิบกิโลเมตร
ซึ่งตามปกติแล้ว หากรถไม่ติด ก็น่าจะใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 45 – 60 นาทีเป็นอย่างน้อย
โดยผู้ศรัทธาท่านนั้น กราบอาราธนานิมนต์สมเด็จฯท่านไว้ที่ 11 นาฬิกาตรง
พอถึงวัน สมเด็จพระญาณสังวรท่านติดภารกิจหลายประการ จนเวลาล่วงใกล้ 10 นาฬิกาแล้ว พระภาระก็ยังไม่เสร็จสิ้น จนผู้ที่ถวายงานและทราบหมายกำหนดการที่มีนบุรีดังกล่าวจึงกราบเรียนว่า เวลาจะไปไม่ทันที่นิมนต์แล้ว สมเด็จฯจะยังคงเสด็จไปอยู่อีกหรือไม่..??? ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรก็ทรงยืนยันว่า จะเสด็จไปตามนิมนต์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
จนเมื่อภารกิจที่วัดบวรนิเวศวิหารทั้งปวงลุล่วง และทรงขึ้นรถยนต์ที่มีผู้ใหญ่แห่งวงการฟุตบอลท่านหนึ่งขับถวายออกจากวัด เวลาก็กว่า “10.30 น.”แล้ว ซึ่งหากคำนวนตามเวลาเดินทางที่ต้องใช้เวลา 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก็นับได้ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะไปทันงานตามเวลาด้วยประการทั้งปวง
และสิ่งที่น่าอัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้นในทันใดนั่นเอง
หนึ่งในผู้ตามเสด็จในครั้งนั้นได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อรถได้เคลื่อนออกไปไม่เท่าไร ก็มีความรู้สึก”วูบๆๆๆ”ไปชั่วระยะหนึ่ง
และมิพลันช้า พริบตาเดียว รถยนต์ที่ประทับก็ได้ไปถึงสถานที่นิมนต์ที่มีนบุรีโดยฉับพลันทันใดอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด.!?!?
เข็มนาฬิกาบ่งบอกชัดเจนว่า เวลาที่รถยนต์ที่สมเด็จพระญาณสังวรทรงประทับไปถึงมีนบุรีนั้น เป็นเวลาประมาณ 10.50 น.
ก่อนเวลา 11 นาฬิกาที่อาราธนาไว้ถึง 10 นาทีเต็มๆ
ใช้เวลาเดินทางจากวัดบวรนิเวศวิหารถึงบ้านที่นิมนต์ที่มีนบุรีภายในเวลา “20 นาที”เท่านั้น..!!!!!!!
ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลย สำหรับ”กรณีปกติ” หากมิได้ทรงใช้”อิทธิวิธี”ในการ”ย่นระยะทาง”ทั้งคนทั้งรถให้ไปถึงที่หมายก่อนเวลาเห็นปานนั้นได้
ยอดเยี่ยมและประเสริฐเลิศในทุกๆทางอย่างที่สุดแล้ว สำหรับ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชแห่งสยามประเทศของพวกเราท่านทั้งหลายพระองค์นี้
ขอถวายอนุโมทนาสาธุการ………….

คงจำได้ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2530 ต้นๆ ได้เกิดเหตุไฟไหม้ที่ชุมชนแออัดบางลำพู หลังวัดบวรนิเวศ ซึ่งตรงนั้นชาวบ้านอาศัยกันอยู่อย่างเนืองแน่น ไฟได้เริ่มลุกขึ้นโหมแดง เสียงรถน้ำของตำรวจหลายสิบคันมุ่งหน้ามาที่ซอยนี้ แต่ทว่ายังเข้าไม่ได้เพราะซอยเล็กมาก
มีเรื่องเล่ากันว่า ในวันนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ไม่มีภารกิจเสด็จไปไหน เมื่อทรงทราบข่าวว่ามีไฟไหม้หลังวัด ทรงดำเนินลงจากพระตำหนักมาทอดพระเนตรไปยังจุดที่เกิดเหตุอย่างจิตใจที่ตั้งมั่น ไม่มีผู้ใดทราบได้ว่าพระองค์ทรงดำริอะไร แม้แต่พระผู้ที่ติดตามในวันนั้น นายตำรวจที่ติดตามในวันนั้นเองก็ไม่ทราบ
แต่ความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมได้ปรากฏ เมื่อพระองค์ละสายตาจากการทอดพระเนตรที่เพ่งมองด้วยจิตตั้งมั่นแล้วไม่ช้าไม่นาน ไฟที่ลุกโชตินั้นค่อยๆ สงบลงอย่างช้าๆ ทีละน้อยทีละน้อย ทั้งที่รถน้ำยังไม่ได้ทำการฉีดน้ำสักหยดอย่างน่าตื่นตะลึงเป็นที่สุด..!!!!!
ข่าวได้แพร่สะพัดไปอย่างกว้างขวางว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรทรงอธิษฐานจิตดับไฟหลังวัดบวรนิเวศเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนหลังวัดบวรนิเวศวิหารให้พ้นจากวิบัติภัย นี่ก็นับได้ว่าเป็นความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏและมีได้ต่อผู้ที่มีศีลและธรรมอันบริสุทธิ์
พระองค์เคยตรัสสอนเหล่าภิกษุนวกะบ้างพอสังเขปในเรื่องลักษณะเหตุแห่งธรรม ทรงตรัสว่า
“หากเรามีศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิที่สงบ จิตตั้งมั่นดีแล้ว อะไรๆ ก็ปรากฏเกิดขึ้นได้ สิ่งเหล่านั้นก็เป็นธรรมะชนิดหนึ่งเหมือนกัน…”

อีกเรื่องหนึ่ง ก็เกี่ยวกับ”ไฟ”เหมือนกัน
แต่เป็นเรื่องของไฟในพิธี”หล่อพระ”ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่ง”พุทธวงศ์”ไปร่วมชมอยู่ในพิธีที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานเททองด้วยพระองค์เองเป็นหลายคราว
ครั้งหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาประทับบนพระเก้าอี้ในปริมณฑลพิธีเรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงานก็ยกเอาเบ้าหลอมโลหะมงคลที่ร้อนจัดเข้ามาใกล้ๆ เพื่อให้ทรงหย่อนชนวนเททองตามปกติวิสัย
แต่เผอิญมีผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่รู้นึกอย่างไร เพราะแทนที่จะเอาแผ่นโลหะปกติธรรมดาๆใส่ลงไป กลับเอา”ทองคำเปลว”คลี่ออกจากกระดาษหุ้ม แล้วเคาะๆหมายจะให้แผ่นทองคำเปลวนั้นหล่นลงไปในเบ้าเททองให้จงได้
แต่เพราะตามสภาพของทองคำเปลวนั้น มีความแบบบางและอ่อนเบาอย่างยิ่ง ยิ่งเมื่อต้องลมต้องความร้อนที่มากระทบ ก็ลอยไปลอยมา ไม่ยอมหล่นลงในเบ้าหลอมอย่างใจนึกง่ายๆได้ ดูพิพักพิพ่วนทุลักทุเลเต็มที
ท้ายสุด ทองคำเปลวเจ้ากรรมแผ่นนั้นก็ลอยไปติดอยู่ตรงที่ข้างๆเบ้าเททอง ซึ่ง”พุทธวงศ์”ตอนนั้น นั่งเฝ้าอนุโมทนาบุญอยู่ข้างๆติดๆพอดี
จะทำอย่างไรดีละนี่..???
จะปล่อยให้ทองคำเปลวติดอยู่ข้างเบ้าต่อหน้าสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร ก็ใช่ที่
ครั้นจะเอื้อมไปหยิบให้ลงไปในเบ้าที่ร้อนจัดถึง”พันกว่าองศา”ด้วยมือเปล่า(ใครจะไปนึกว่าจะมีคนเอาทองคำเปลวมาหย่อนเบ้า.!?!) มือของข้าพเจ้านี้ก็น่าที่จะ”งานเข้า”เอาได้ง่ายๆ
แต่ท้ายสุด ก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่า
“เป็นไรก็เป็นกันซิน่า จะลองถวายมือเป็นพุทธบูชาดูสักครา จะสักขนาดไหนกันเชียว..!!!!”
อยู่ต่อหน้าเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชที่ทรงเคยเพ่งไฟไหม้ใหญ่จนมอดดับมาแล้ว พระคุณของท่านคงจะช่วยให้สวัสดีได้เป็นแน่
ว่าแล้ว ก็เอื้อมไปหยิบแผ่นทองคำเปลวที่ติดอยู่ข้างเบ้าหลอมที่ให้เลื่อนตกลงไปในเนื้อโลหะที่หลอมเหลวและร้อนจัดด้วย”มือเปล่าๆ”ในทันที
ทั้งๆที่เตรียมอกเตรียมใจไว้เรียบร้อยแล้วว่า อย่างไรก็”ร้อนจัด”อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงเป็นอื่นไปได้
แต่ในทุกขั้นตอนที่”พุทธวงศ์”เอามือไปคีบทองคำเปลวแล้วเลื่อนไปลงในเบ้าที่มีโลหะหลอมเหลว โดยปลายมือห่างจากโลหะหลอมเหลวพันกว่าองศาเพียง 1-2 นิ้ว เพื่อให้การทรงเททององค์พระลุล่วงไปด้วยดีในครั้งนั้น
แต่ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งๆที่ควรจะแสบจะร้อนเจียนจักไหม้หรือร้อนรนจนทนไม่ได้ แต่คราครั้งนั้น กลับรู้สึกเพียงแค่”อุ่นๆ”อย่างสามัญ ผิดปกติธรรมดาตามที่ควรและน่าจะเป็นอย่างมากๆถึงมากที่สุดเลยทีเดียว..!!!!!!
ในใจนึกรู้ได้ทันทีว่า งานนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชท่าน”ดับพิษไฟ”ให้ได้แจ้งตัวแจ้งใจแบบ”เห็นๆ”และ”จะๆ”แน่แท้แล้ว
ขอถวายอนุโมทนาสาธุการ…………..

“สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศนั้น ท่านได้บรรลุถึงคุณธรรมอันเที่ยงแท้ต่อมรรคผลนิพพานแล้ว..!!!!!!”

“คุณธรรมของสมเด็จวัดบวรนั้น พออยู่พอกินแล้วล่ะ..!!!!”

“ท่านไม่ได้ใช้วาจาเลยนะ ไม่พูดเลย มีแต่เราพูดเล็กน้อย พอให้ท่านทราบเท่านั้น แล้วก็ไม่อยู่นาน เวลาสำคัญๆท่านคุยธรรมะเรื่องภายในสำคัญๆ อยู่มาก เฉพาะสองต่อสอง เรื่องสำคัญท่านจะถาม คุยกันธรรมดา ว่าท่านพูดน้อยท่านก็ไม่ได้พูดน้อย เวลาคุยกันเฉพาะสองต่อสองคุยกันธรรมดาเลยนะ เวลาออกสังคมท่านพูดน้อยมาก เวลาคุยกันสองต่องสองนี้คุยกันธรรมดาเลย มีอะไรท่านก็รับสั่งถามมา เราก็ตอบไปๆ ท่านถามข้ออรรถข้อธรรมข้อใด พูดกันธรรมดา แต่เวลาสิ่งสำคัญๆ ท่านมักจะถามเฉพาะสองต่อสอง อยู่วัดบวรฯก็ดี อยู่วัดป่าบ้านตาดก็ดี ก็เราสนิทกับท่านมานาน เท่าไหร่แล้ว อยู่วัดบวรฯ มาด้วยกัน ท่านเคยไปเป็นพระภาวนาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาดหลายครั้ง ครั้งละเป็นอาทิตย์….”

“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชนั้น ท่านมีพระบารมีสูงมากๆ และบรรลุคุณธรรมขั้นสูงสุดมาโดยลำดับแล้ว ผมเคยเข้าสมาธิไปถามพระยายมราชว่า ทำไมคนบางคน(บิ๊ก ดีทูบี และอีกหลายๆคน) ผมตรวจดูพบว่าเขาหมดอายุแล้ว แต่ทำไมจึงยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ พระยายมราชก็ตอบว่า เป็นเพราะเขาได้พระบารมีของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชท่านค้ำเอาไว้ แม้จะชะตาขาดถึงฆาตแล้วก็ตาม ด้วยพระบารมีของสมเด็จท่าน ก็ยังอาจช่วยให้เขาเหล่านั้นมีอายุสืบต่อมาได้อีกช่วงหนึ่งนั่นเอง..!!!!!!”

“….เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 บิ๊ก ดีทูบี ก็ประสบอุบัติเหตุอย่างไม่คาดฝัน เมื่อรถยนต์ที่นั่งกลับบ้านโดยมีเพื่อนสนิทเป็นผู้ขับเสียหลัก พุ่งตกลงไปในคูน้ำข้างถนนศรีนครินทร์ขาออก ทำให้เชื้อโรคชนิดใหม่ที่ชื่อ สูดาเลสชีเลียบอยดิไอ ไปกัดกินสมอง ทำให้เนื้อสมองบางส่วนเสียหาย
อาการของบิ๊กในช่วงแรกเป็นไปด้วยดียังรู้สึกตัวดี แต่ไม่นานก็ต้องนอนไม่รู้สติ เพราะสมองถูกเชื้อโรคที่มาจากน้ำเน่าทำลาย แฟนเพลงที่ทราบข่าว โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้หญิงวัยรุ่น ต่างพากันไปเยี่ยมและร้องไห้เป็นกลุ่มจำนวนมาก ด้านการรักษาคณะแพทย์พยายามช่วยชีวิตบิ๊กด้วยการให้ยาและผ่าตัดอยู่หลายครั้ง ซึ่งก็ทำได้เพียงช่วยไม่ให้เสียชีวิตเท่านั้น ในขณะที่สมองยังไม่รับรู้ใดๆ
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ บิ๊ก ล้มป่วยนอนไม่รู้สึกตัวอยู่ที่โรงพยาบาล พ่อและแม่ของบิ๊กได้เปลี่ยนชื่อจริงของนักร้องหนุ่มจาก นายอภิเชษฐ์ มาเป็น นายปารณวัฐ เป็นชื่อที่ขอพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อเป็นการแก้เคล็ดให้ โดยมีความหมายว่า “ผู้ที่มีชีวิตอยู่ตามคำขอ” และหลังจากนั้น นายปารณวัฐหรือบิ๊ก ดีทูบีก็มีชีวิตสืบมาได้นานถึง 4 ปี ก่อนที่จะเสียชีวิตลงในวัยเพียง 25 ปี”

“ตราบเท่าที่โยมยังใช้ชื่อที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงประทานไว้ ก็จักมีเทวดาคอยรักษาให้อยู่ตราบนั้น..!!!!!”

พระคณาจารย์ จังหวัดนครปฐมท่านหนึ่งได้กล่าวทักบุคคลหนึ่งที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเปลี่ยนชื่อใหม่ให้

“มาทำไมไกลๆให้ลำบากลำบนถึงที่นี่ อยู่กรุงเทพ ถ้าอยากกราบพระดีแล้ว ก็สมเด็จวัดบวรนั่นแหละ..!!!!”
“สังฆราชเรียกฝนดับไฟ”
เมื่อประมาณปลายปีพ.ศ. 2534 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ใหญ่ที่ชุมชนตรอกบวรรังษี หลังวัดบวรนิเวศวิหารในตอนกลางดึกประมาณตี 1 ต้นเหตุเกิดจากบ้านของแขกขายถั่วซึ่งติดอยู่กับตึกสว.ธรรมนิเวศที่เตรียมทอดถั่วสำหรับขายในวันต่อไป ไฟได้ลุกลามแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆอย่างใหญ่โตมโหฬารไม่อาจยับยั้งได้ อีกทั้งถนนเข้าชุมชนนั้นก็คับแคบมาก และมีสิ่งกีดขวางมากมาย ยากที่รถดับเพลิงจะเข้าไปทำการสกัดไฟใดๆได้
ศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชบางท่านได้ทุบประตูพระตำหนักชั้นบนอันเป็นที่ประทับอย่างแรง เพื่อปลุกเจ้าพระคุณสมเด็จฯให้หนีไฟ ซึ่งตอนนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชกำลังทรงนั่งสมาธิอยู่ จึงทรงมีรับสั่งสั้นๆอย่างพระทัยเย็นแต่เพียงว่า
“ไฟไหม้รึ..??”

ครั้นแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯก็ทรงครองจีวรเสด็จลงจากพระตำหนัก ตอนนั้น พระสัทธิวิหาริกต้องการนำเสด็จไปที่ศาลา 150 ปีอันตั้งอยู่กลางวัด ซึ่งน่าจะเป็นที่น่าจะปลอดภัยกว่า แต่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชมิโปรดที่จะกระทำเช่นนั้น แต่กลับเสด็จเข้าไปที่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่เพลิงกำลังโหมไหม้อย่างหนักหน่วงอยู่ โดยเสด็จขึ้นไปยังบนชั้น 5 ของตึกสว. ธรรมนิเวศซึ่งอยู่ติดๆกับเขตเพลิงไหม้อย่างน่ากลัวที่สุดโดยมิทรงหวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ

เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเสด็จขึ้นถึงชั้นที่ 5 ของตึกสว.ธรรมนิเวศ ก็มีรับสั่งให้ศิษย์เปิดหน้าต่างออก ทำให้แลเห็นพระเพลิงกำลังโชนไหม้ชุมชนแออัดอย่างรุนแรง เสียงไฟที่กำลังโหมกระหน่ำ เสียงผู้คนที่ขนของหนีไฟเอาชีวิตรอดดังอึงคะนึงสับสนอลหม่านระงมไปหมด เป็นที่น่าหวาดหวั่นปนน่าสังเวชเวทนาเป็นที่ยิ่ง

เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น ก็ทรงมองตรงไปยังเบื้องหน้า แล้วก็ทรงมองขึ้นไปยังฟ้าเบื้องบน ก่อนที่จะยกพระหัตถ์ขึ้นโบก 3 ครั้ง

และแล้ว สิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่สุด ก็พลันบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาของทุกผู้คนในฉับพลัน

พริบตาเดียว ก็ปรากฏมหาเมฆก้อนใหญ่ลอยเหนือบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ในทันใด ลมที่กำลังกรรโชกแรงที่ทำให้ไฟไหม้แผ่ขยายรุนแรงยิ่งขึ้นก็หยุดกึกราวกับปิดสวิทซ์ แม้กระทั่งใบไม้ก็ไม่ไหวกระดิก

และในบัดดลนั้น ก็เกิดฝนตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก หนักเสียจนไม่มีทีท่าวี่แววว่าจะหยุดได้ง่ายๆ ทำให้เพลิงไหม้มหาวินาศนั้นค่อยๆบรรเทาความร้อนแรงลงจนมอดดับไปต่อหน้าต่อตาอย่างน่าตื่นตะลึงเป็นที่สุด..!!!!!!!!

เหตุการณ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นตอนปลายเดือนธันวาคม ซึ่งเป็น”ฤดูหนาว” ซึ่งตามธรรมดา ฝนได้ขาดช่วงไปตามธรรมชาตินานมากแล้ว….

เมื่อทอดพระเนตรเห็นฝนตกลงมาดับไฟ บรรเทาทุกขเวทนาแก่สัตว์ผู้ยากได้สมพระประสงค์แล้ว สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชก็เสด็จกลับเข้ามากราบพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ชั้น 5 อยู่พักใหญ่ จากนั้นก็เสด็จลงมายังชั้นล่างของตึกสว.ธรรมนิเวศ
เพียงย่างพระบาทแรกที่เสด็จออกมา ฝนที่กำลังตกอยู่ก็หยุด ฟ้าที่กำลังฉ่ำด้วยเม็ดฝนก็เปิดโล่งขึ้นมาในทันที บรรดาชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็มาคุกเข่ารับเสด็จ พลางส่งเสียงสาธุการแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชที่ได้ทรงพระเมตตา”เรียกฝนดับไฟ”ให้มอดดับไป หลายๆคนต่างร่ำไห้น้ำตาไหลอาบหน้าด้วยความตื้นตันและซาบซึ้งในพระกรุณาปาฏิหาริย์ซึ่งทรงสำแดงให้ปรากฏต่อหน้าต่อตาของทุกๆคนอย่างที่ไม่มีใครอายใครฯ”

หมายเหตุ , หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น “พุทธวงศ์” ซึ่งเคยมีวาสนาได้สดับพระธรรมเทศนาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงเสด็จมาอบรมพระกรรมฐานแก่พระเณรและอุบาสกอุบาสิกา ณ ที่แห่งนี้มาแต่ก่อน จึงเกิดความสนใจเข้าไปสำรวจดูที่ตึกสว.ธรรมนิเวศ ซึ่งตั้งอยู่ติดๆกับที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ด้วยตนเอง พบว่า มีความเสียหายน้อยมากอย่างน่าอัศจรรย์ โดยที่มีกระจกอาคารชั้นล่างแตกเพราะความร้อนของไฟมหากาฬเพียงไม่กี่บานเท่านั้น.!!!???!!!
นี่ถ้าหากมิได้พระบารมีของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชแล้ว เชื่อแน่ได้ว่า ตึกอบรมพระกรรมฐาน สว. ธรรมนิเวศแห่งนี้ และวัดบวรนิเวศในหลายๆส่วน ก็ยากจะรอดพ้นอุบัติภัยอันร้ายแรงที่สุดในคราครั้งนั้นมาได้เป็นมั่นคงเลยทีเดียว..!!!!!!

“หลวงพ่อช่วย”
ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านประทับเฮลิคอปเตอร์เพื่อทอดพระเนตรโครงการต่างๆในเขตวัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมีนายตำรวจยศนายพล เป็นผู้ถวายการขับเครื่องบิน ด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ในขณะที่กำลังนำเครื่องลงลานจอดเฮลิคอบเตอร์ที่ติดกับอ่างเก็บน้ำของวัดญาณฯ นักบินนำเครื่องลงไม่ตรงลานจอด แต่กลับนำเฮลิคอปเตอร์ที่ประทับนั้นลงไปในอ่างเก็บน้ำจนน้ำท่วมเอ่อเข้าพื้นเฮลิคอปเตอร์ที่ประทับน้ำท่วมถึงฝ่าพระบาทท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นักบินเมื่อรู้ตัวว่านำเครื่องลงผิดเป้าหมายจนประสพเหตุร้ายแรงถึงเพียงนั้น ก็รีบดึงเครื่องขึ้นเต็มกำลังจนเครื่องเกือบที่จะตีกลับพลิกคว่ำ แต่น่าเหลือเชื่อยิ่งที่นักบินกลับสามารถประคองเครื่องนำจอดได้สำเร็จโดยสวัสดิภาพ เมื่อผ่านเหตุการณ์อันน่าตกตะลึงไป นักบินกล่าวว่าต้องถือว่ามหัศจรรย์ที่นำเครื่องขึ้นได้น่าจะเป็นเพราะบารมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพราะน้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นเครื่องแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปไม่น่าจะสามารถกู้เครื่องกลับให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงตบที่อังสะที่ท่านเหน็บพระเครื่องของพระองค์ท่าน พร้อมตรัสว่า “หลวงพ่อช่วยๆ” พร้อมกับแย้มพระสรวล โดยที่มิได้ทรงตกพระทัยใดๆเลย
งานนี้ ผู้ที่มิได้ทรงญาณอันแก่กล้า ก็ยากที่จะสรุปให้ถ่องแท้ลงไปได้ว่า”หลวงพ่อ”ที่ช่วยให้ทุกคนปลอดภัยในครั้งนี้ จะเป็นพระเครื่องดีที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จทรงพกไว้ หรืออำนาจของพลังจิตบุญฤทธิ์บารมีของ”หลวงพ่อสังฆราช”(พระองค์ท่านเอง)บัดดลให้เป็นไป
หรือทั้งสองอย่างผนวกกัน..?????

“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชท่านภาวนาเก่งมากนะ หาใครจับไม่ได้เลย เก่งจริงๆ พร้อมทุกอย่าง ธรรมะบางตอนของท่าน บอกเป็นนัยถึงผลแห่งการภาวนาของพระองค์ท่านที่เลยเข้าไปถึงธาตุรู้ชั้นลึกสุด ธาตุรู้นี้ไม่ใช่ผู้รู้ ไม่ใช่จิตผู้รู้ แต่เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้นี่แหละที่ไม่มีขอบไม่มีเขต ไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง เต็มโลกเต็มจักรวาลไปหมด ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีข้างนอก ไม่มีข้างใน เป็นอันเดียวรวด อันเป็นลักษณะจิตและภูมิธรรมระดับพระอรหันต์เลยทีเดียว..!!!!!!”

ยกย่องสมเด็จพระสังฆราชต้นแบบพระนักเผยแผ่
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ร่วมกับสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทในศตวรรษที่ 21” เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในวโรกาสเจริญพระชันษา 97 ปี วันที่ 3 ตุลาคม 2553 โดยมีสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะอุปนายกสภา มมร. เป็นประธาน ในการนี้ มหาสังฆราชาแห่งประเทศกัมพูชา และรองประมุขสงฆ์แห่งสหภาพเมียนมาร์ พร้อมด้วยพระเถรานุเถระนิกายเถรวาทและฆราวาสจาก 15 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมประชุมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชในครั้งนี้ด้วย

สมเด็จพระวันรัต กล่าวสัมโมทนียกถาเปิดการประชุมว่า การประชุมเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทในศตวรรษที่ 21 ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะปัจจุบันชาวโลกให้ความสนใจพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างกว้างขวาง พระสงฆ์เถรวาทในประเทศต่าง ๆ ได้ทำหน้าที่พระธรรมทูต นำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่ในทุกส่วนของโลก เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชาวโลก ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่พระธรรมทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ จึงต้องเป็นผู้ที่เสียสละอย่างมาก เนื่องจากงานพระธรรมทูตเป็นงานยากและหนัก ต้องใช้พลังกาย ใจ ปัญญา เพื่อให้การเผยแผ่เกิดผลสัมฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้จะทำให้นานาชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับงานพระธรรมทูต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งจะได้ช่วยกันจรรโลงสันติภาพ สันติสุขของโลกไว้ โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ

พระอนิล ธมฺมสากิโย รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ มีพระสงฆ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจาก 15 ประเทศ อาทิ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย กัมพูชา อินโดนีเซีย เนปาล เวียดนาม เข้าร่วมการประชุม เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท เนื่องจากพบว่า การเผยแผ่ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เมื่อเทียบกับนิกายวัชรยานและมหายาน ยังล้าหลังอยู่ แม้ในต่างประเทศมีวัดไทยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าสังเกตจะพบว่า ส่วนใหญ่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับเฉพาะคนไทยในประเทศนั้น ๆ แต่ไม่ได้เข้าถึงคนท้องถิ่น จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

“สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นต้นแบบการสร้างพระธรรมทูตในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก โดยพระองค์ได้ก่อตั้งสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2509 ซึ่งถือเป็นพระองค์แรกที่ทรงคิดเผยแผ่หลักธรรมไปสู่นานาชาติ ขณะนี้พระพุทธศาสนาได้ไปเติบโตอย่างมั่นคงในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เป็นต้น การประชุมในครั้งนี้ เราได้สืบทอดความตั้งใจของพระองค์ด้านการเผยแผ่ เพื่อเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชด้วย” รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ กล่าว

ศ.ดร.ริชาร์ด กอมบริดช์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาออกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และประธานสมาคมเพื่อพุทธศาสน์ศึกษาแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทยังยึดติดทางด้านพิธีกรรมมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งถือเป็นอุปสรรคในการนำพระพุทธศาสนามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขณะเดียวกัน แนวทางในการเผยแผ่ส่วนใหญ่เน้นไปที่การให้กำลังใจอย่างเดียว การเผยแผ่ในต่างประเทศจึงมักจะเป็นที่พักใจ มากกว่าจะเป็นการเผยแผ่คำสอนตามพระพุทธศาสนา.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชโปรดสวดชินบัญชรคาถา
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหารนั้น ทรงสนพระทัยพระคาถาชินบัญชรเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดทรงเคยศึกษาและไต่ถามข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับประวัติที่มาของพระคาถานี้กับพระเถระผู้ทรงคุณและเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นอันเอนกปริยาย ทำให้ทรงสามารถเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชรได้ลึกซึ้งอย่างยิ่ง
ได้ยินข่าวจากศิษย์ใกล้ชิดเล่าให้ฟังว่า ในทุกคราวที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงอธิษฐานจิตนั่งปรกพุทธาภิเษกนั้น หนึ่งในพระคาถาที่จะทรงบริกรรมลงสู่วัตถุมงคลทั้งปวงอันจะขาดมิได้เลย นั่นก็คือชินบัญชรคาถานั่นเอง โดยครั้งหนึ่ง ทรงมีรับสั่งกับศิษย์ใกล้ชิดทีเดียวว่า
“อานุภาพของพระคาถาชินบัญชรนี้ สามารถคุ้มได้ทั้งตัวของเราและคนรอบข้างทีเดียวน๊ะ..!!!!!!!!”
ขอถวายอนุโมทนาสาธุการ……….

งานมหามงคล 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเห็นชอบโครงการสังฆราชบูชา พระชันษา 100 ปี ตามที่สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะผู้อำนวยการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เสนอต่อที่ประชุม โดยมีสาระสำคัญเนื่องในมงคลสมัยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จะทรงเจริญพระชันษา 100 ปี ในเดือนตุลาคม 2556 นับเป็นอุดมมงคลที่คณะสงฆ์ทั่วประเทศและประชาชนทั้งหลาย ได้ร่วมกันถวายเป็นสักการบูชา ในการนี้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิจารณาเห็นว่าโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี อันเป็นพระชาติภูมิของสมเด็จพระสังฆราช ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อก่อสร้างตึกคนไข้ขนาด 298 เตียง สูง 8 ชั้น แต่ยังขาดทุนทรัพย์ในการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตรียมบุคลากรคิดเป็นเงินจำนวน 250 ล้านบาท มูลนิธิมหามกุฏฯ จึงสนับสนุนด้วยการจัดทำโครงการ”ตึก 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช อีกทั้งเพื่อสาธารณ ประโยชน์แก่มหาชนสืบไป

นายนพรัตน์ กล่าวต่อว่า เมื่อความทราบถึงฝ่าละอองพระบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณารับเป็นประธานจัดหาทุน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มูลนิธิมหามกุฏฯ ดำเนินการ ทั้งนี้ ทรงมีพระราชปรารภและพระราชทานแนวทางการจัดหาทุนให้เป็นความเอื้อเฟื้อจากทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม โดยไม่มีการบังคับใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น คณะสงฆ์จึงเห็นสมควรร่วมฉลองพระราชศรัทธา ด้วยการจัดโครงการสังฆราชบูชา พระชันษา 100 ปี เป็นอนุโครงการที่ฝ่ายบรรพชิตจะได้ร่วมกัน ด้วยการให้แต่ละวัด หรือแต่ละกลุ่มคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมระดมทุนด้วยวิธีต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อนำเงินสมทบทุนโครงการดังกล่าวให้เสร็จสมบูรณ์ เริ่มระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.2554-วันที่ 3 ต.ค. 2555

“การดำเนินโครงการนี้ จะตั้งตู้รับบริจาคที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี ตามวัดทั่วไปหรือองค์กรทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้แต่ละวัดจัดตั้งกองผ้าป่า และจัดพิธีพร้อมกันทั่วประเทศ อย่างน้อยจำนวน 2 ครั้ง คือ ในวันคล้ายวันประสูติ ในวันที่ 3 ต.ค.2554 ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์โครงการ และวันที่ 3 ต.ค. 2555 ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองปิดโครงการ เมื่อรวบรวมเงินทุนพร้อมบัญชีรายนามผู้บริจาคแล้ว ให้นำส่งเจ้าคณะจังหวัด เพื่อรวบรวมส่งเจ้าคณะภาค ก่อนนำส่งเจ้าคณะใหญ่ จากนั้น มหาเถรฯ จะได้นำส่งมูลนิธิมหามกุฏฯ เพื่อนำความกราบบังคมทูลรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงทราบต่อไป” ผอ.สำนักพุทธฯกล่าว

“หลวงตาอาจจะมีบารมีทางด้านคุ้มครองรักษาประเทศชาติไทยเราได้ แต่หากเป็นด้านค้ำจุนพระศาสนาแล้ว สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศจะมีบารมีมากกว่าเสียอีกน๊ะ..!!!!!!!!!!!”

มีรายงานข่าวพิเศษจากวงในแจ้งมาให้”พุทธวงศ์”ได้ทราบเป็นการลับอย่างยิ่งว่า มีศิษย์ใกล้ชิด เคยกราบเรียนถามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเป็นการส่วนตัวที่สุดครั้งหนึ่งว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชประชวรมานานหลายปีแล้ว ทำไมจึงยังคงดำรงสังขารอยู่ได้ถึงปัจจุบันนี้..??? (ไปๆมาๆ หลวงตาที่ดูแข็งแรงกว่ามาก กลับนิพพานไปก่อนเสียอีก) ซึ่งหลวงตามหาบัวก็วิสัชนามาในทันทีเช่นกันว่า
“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชนั้น ท่านมีภาระต้องค้ำพระศาสนาไว้อยู่ ภาระธุระทางพระศาสนาของพระองค์ท่านยังไม่สุดสิ้นเมื่อใด ท่านก็คงต้องอยู่ต่อไปเรื่อยๆ(เจริญอิทธิบาทภาวนาต่ออายุขัย) จะยังตายไม่ได้อยู่ตราบนั้น..!!!!!!!!”

พระอรหันต์อาวุโสต่อพระชนมายุถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ บังเกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2546 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหารในพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่งคชวัตร เมื่อครั้งที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจริญพระชนมายุได้ 90 พรรษา ภายหลังจากที่ทรงหายจากทรงพระประชวรหนักจนจวนเจียนจะสิ้นพระชนม์ แต่ทรงเจริญ”อิทธิบาท 4″ จนสามารถเจริญพระชนมายุต่อมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ไม่นาน….

ในฐานที่”พุทธวงศ์”ได้เคยไปกราบไหว้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระพระสังฆราชมานาน ตั้งแต่ก่อนทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปีพ.ศ. 2532 หลายปี ก็อดที่จะปลื้มปีติยินดีในการที่ทรงหายจากอาการพระประชวรหนักมาโดยสวัสดิภาพได้ จึงมารอกราบนมัสการพระองค์ท่านในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้นด้วยใจจดจ่ออย่างยิ่ง และได้บันทึกภาพสำคัญๆไว้หลายภาพด้วยกัน

และเมื่อพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้น “พุทธวงศ์”ก็แลเห็น หลวงปู่บุญมี พระอริยเจ้าผู้เข้มงวดเข้มขลังยิ่งแห่งวัดสระประสานสุข อุบลราชธานี ลุกจากอาสนะสงฆ์แล้วเดินฉับๆไปยังพระเก้าอี้ที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชในทันที
อาศัยที่มีประสพการณ์ในการทำข่าวมานาน ทำให้คาดเดาได้ไม่ยากว่า จะต้องมีภาพเหตุการณ์ที่”ไม่ธรรมดา”บังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน “พุทธวงศ์”จึงรีบก้าวเท้าไปนั่งใกล้ๆกับองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชโดยฉับพลัน พร้อมกับคำนวณให้ไปอยู่ ณ ตำแหน่งที่จะยิงกล้องให้องค์ประกอบของภาพที่ถ่ายออกมาดูสวยและสมบูรณ์แบบที่สุดภายในชั่วเสี้ยววินาที
และการณ์ ก็ได้เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ทุกประการ……

แม้จะมีพรรษายุกาลมากกว่า แต่หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข ก็ก้มลงกราบแทบองค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชอย่างนอบน้อมในพระคุณธรรมอันประเสริฐสุด เป็นที่ประทับตาประทับใจแก่ทุกผู้คนที่มีบุญได้อยู่ร่วมให้เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่ยิ่ง

และทันใดนั้นเอง หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุขก็ได้ยกเอาผ้าเช็ดหน้าของท่านขึ้นมาลูบไล้ตามพระวรกายของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชจนทั่วทั้งพระองค์ อย่างที่ไม่มีใครนึกฝันหรือคาดคิดมาก่อน สร้างความตกตะลึงพรึงเพริดให้บังเกิดขึ้นแก่ศิษย์อุปัฏฐากของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชและทุกๆคนที่ไม่ทราบความนัยเป็นอย่างยิ่ง
แต่แม้จะตกตะลึงเช่นเดียวกับคนอื่นๆ แต่”พุทธวงศ์”ก็กดชัตเตอร์รัวภาพแห่งประวัติศาสตร์นี้ไว้อย่างไม่มีการยั้งมือใดๆทั้งสิ้น ตามคำที่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยสั่งสอนเอาไว้ว่า
“ภาพเหตุการณ์บางภาพ ในชั่วชีวิตนี้ อาจจะมีให้ได้พบได้เห็นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็หากเราไม่บันทึกภาพแห่งความทรงจำนั้นๆไว้ เมื่อหวนระลึกถึง แล้วจะไม่นึกเสียดายในภายหลังจนวันตายล่ะหรือ..????”

และเมื่อเห็นทุกๆคน(ยกเว้นแต่องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)บังเกิดความสงสัยแปลกใจอย่างเต็มที่ ศิษย์ติดตามหลวงปู่บุญมีจึงกราบทูลชี้แจงในอริยาการดังนั้นมาทีเดียวว่า
“หลวงปู่กำลังทำพิธีต่ออายุถวายฝ่าพระบาทอยู่ขอรับกระหม่อม..!!!!!!!”

และเมื่อถึงที่สุดแห่งการพิธี หลวงปู่บุญมีก็ได้กุมพระหัตถ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชขึ้นอธิษฐานเหมือนหนึ่งจะถวายพระพร ให้ทรงพระเจริญชนมายุยิ่งยืนนานกว่า 100 พระวัสสา ค้ำชูบูชาคุณบวรพระพุทธศาสนาให้สถาพรสืบต่อไปตราบชั่วจิรกาลเป็นปัจฉิมวาระ

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 46 เมื่อครั้งมีงานมหาพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งคชวัตรและรูปเหมือน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 90 พรรษา ณ. พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยครั้งนั้น หลวงปู่บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี ได้รับอาราธนานิมนต์ มานั่งปรกพุทธาภิเษกด้วย เมื่อพิธีเสร็จสิ้น หลวงปู่บุญมี โชติปาโล ได้ลุกจากอาสนะที่นั่งอยู่เดินตรงเข้ามาหา ยืนต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยได้ทรุดกายลงกราบพร้อมกับเอาผ้าขนหนูผืนน้อยที่ไว้สำหรับเช็ดหน้าเช็ดปาก ลูบไล้เช็ดตั้งแต่พระเศียร พระพักตร์ วนไปวนมาอยู่หลายรอบ เสร็จแล้ว ลงมาที่พระพาหา(ไหล่) พระกร และพระอุระ(อก) จากนั้น หลวงปู่บุญมี ก็ก้มลงกราบสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ โดยมิได้พูดอะไรออกมาแม้แต่คำเดียว ขณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ เองก็มิได้ออกพระวาจาหรือแสดงอาการหลบเลี่ยงอย่างไม่สบพระทัย แต่อย่างใดทั้งสิ้น โดยเหตุการดังกล่าวที่เกิดขึ้น ลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญมี ระบุว่า เป็นการทำพิธีต่ออายุถวายแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ ก่อนที่หลวงปู่บุญมีจะละสังขาร เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2547 หลังจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ดังกล่าวเพียง 8 เดือนเท่านั้น

สมเด็จญาณฯ…พยานที่มีตัวตนแห่งการตรัสรู้
ในวาระวันคล้ายวันประสูติ
ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศฯ
ครบ 96 พรรษา ในวันที่ 3 ตุลาคม ศกนี้

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระอริยสงฆ์พระองค์นี้
ผู้ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐ
และเป็นประจักษ์พยานหลักฐานแห่งการตรัสรู้
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ยังมีตัวตนอยู่ในปัจจุบันนี้

ในมงคลสมัยนี้
จักได้พรรณนาพระคุณอันประเสริฐ
แห่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา
และเพื่อน้อมนำรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐนั้นมาประพฤติปฏิบัติ
เพื่อความสุข ความเจริญในธรรม ของเพื่อนมนุษย์ทั้งผอง

พระนามของสมเด็จพระสังฆราชในยุครัตนโกสินทร์นี้
จะใช้คำนำหน้าสี่ลักษณะคือ

ลักษณะแรกใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระสังฆราช
ดังเช่นพระนามสมเด็จพระสังฆราช (สี) วัดระฆังโฆสิตาราม
ในยุคสมัยรัชกาลที่ 1

ลักษณะที่สอง
ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ดังเช่นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์
องค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ลักษณะที่สาม
ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
ดังเช่นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปลด)
วัดราชบพิธ

ลักษณะที่สี่
ใช้คำนำหน้าว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ดังเช่น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) วัดบวรนิเวศฯ
ซึ่งเป็นที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน

การใช้คำนำหน้าพระนามสมเด็จพระสังฆราชนั้น
น่าจะมีการคำนึงถึงภูมิธรรมและพระคุณ
ของสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์
จึงเป็นที่มาของการพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตร
ในการสถาปนาสมเด็จพระ สังฆราชแต่ละพระองค์
ใน ยุครัตนโกสินทร์นี้
แม้ว่ามีสมเด็จพระสังฆราชมาแล้วหลายพระองค์
แต่ที่ได้รับพระราชทานนามตามพระสุพรรณบัตรว่า “ญาณสังวร” นั้น
มีอยู่เพียง 2 พระองค์เท่านั้น
พระองค์แรกคือ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า
ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมอันประเสริฐ ยิ่งในพระพุทธศาสนา
ทรงอภิญญา และอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่เลื่องชื่อลือชาแห่งยุครัตนโกสินทร์

พระองค์ที่สองคือ
สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน
ได้รับพระราชทานนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัตรว่า
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
และถ้าจะนับเนื่องในเรื่องทรงอภิญญา ทรงอิทธิปาฏิหาริย์
อันเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ก็กล่าวได้ว่าในยุครัตนโกสินทร์นี้
มีพระสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชา คณะเพียง 3 รูปเท่านั้น
นั่น คือ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
และ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ) องค์ปัจจุบัน

รพระคุณของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น
เป็นที่รู้ประจักษ์โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก
และในโอกาสนี้
ย่อมสมควรกล่าวถึงพระคุณประการนี้
ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันเป็นสำคัญ
ที่ มาของคำว่า “ญาณสังวร” นั้น
มาจากความสำรวมหรือความสังวรใน 3 ระดับ
ตามภูมิธรรมในพระพุทธศาสนา
คือ ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร

ศีลสังวร
ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในศีล
โดยศีลที่ว่านี้หมายถึงศีล 2 ชนิด
คือ
ศีลซึ่งมีลักษณะเป็นพระวินัย ตามพระปาติโมกข์ชนิดหนึ่ง
และ
ศีลจากพระโอษฐ์ ซึ่งเป็นศีลที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน
เพื่อการศึกษาและปฏิบัติในการประพฤติ พรหมจรรย์
ในพระธรรมวินัยแห่งพระบรมศาสดาโดยตรง
ได้แก่ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล
เมื่อศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์แล้ว
ย่อมเป็นบาทฐานแห่งสมาธิและปัญญา
เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้นหรือนิพพานในที่สุด

อินทรีย์สังวร
ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในอินทรีย์ทั้งปวง
โดยเฉพาะ ในที่นี้หมายถึง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มีความเป็นปกติ ไม่วอกแวกหวั่นไหว
เมื่อกระทบกับอายตนะภายนอก
ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ต่างๆ
ถึงซึ่งความเป็นอุเบกขา

ญาณสังวร
ได้แก่การสำรวมหรือสังวรในญาณ
ซึ่งครอบคลุมถึงรูปฌาน และอรูปฌาน ขึ้นไป
จนถึงญาณทั้งสาม อันเป็นสุดยอดสามวิชชาในพระพุทธศาสนา
คือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตถญาณ และอาสวัคขยญาณ
พระนามญาณสังวร
ของสมเด็จพระสังฆราช ทั้งสองพระองค์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จึงมีที่มาจากคำว่าญาณสังวร
และความหมาย ของญาณสังวรอันเป็นภูมิธรรมขั้นสูงและสูงที่สุด
ในพระพุทธศาสนานั่นเอง
ศีลสังวร อินทรีย์สังวร และญาณสังวร
เมื่อบริบูรณ์แล้วพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรับรองว่า
สามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้นานาประการ

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ปัจจุบันนี้
ทรงอิทธิปาฏิหาริย์หลายประการ
ทั้งอนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ และอิทธิปาฏิหาริย์

อนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์
คือปาฏิหาริย์ในการเทศนาอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้ ให้เข้าใจ
และสามารถน้อมนำพระธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ ท่านให้ถึงพร้อมได้

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบันนี้
ทรงพระคุณอันประเสริฐในด้าน อนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์
เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
มาแต่ครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ที่โปรดให้ทรงนิพนธ์คำสอนหลากหลายเรื่อง
เพื่อเป็นคู่มือการศึกษาและปฏิบัติของชาวพุทธ
อันมีประจักษ์พยานหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน

อิทธิปาฏิหาริย์
คือการกระทำความมหัศจรรย์
เหนือกว่าความสามารถของ มนุษย์ธรรมดา
ซึ่งในประการนี้คนจำนวนมากอาจไม่รู้หรือไม่ทราบ
กระทั่งเข้าใจว่าทรงเป็นแค่พระสงฆ์ธรรมดา
ที่ปฏิบัติธรรมวินัยไปตามปกติ
แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน
ทรงอิทธิปาฏิหาริย์ตามภูมิธรรมอันประเสริฐสูงที่ พระองค์ทรงบรรลุแล้ว
และเคยมีผู้เห็นประจักษ์หลายครั้ง
ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่าง
ดังต่อไปนี้

เรื่องที่หนึ่ง
เมื่อครั้งที่ยังมีสงคราม
ระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รับสั่งให้นิมนต์พระมหาเถระทางภาคอีสานหลายรูป
ซึ่งเป็นพระป่า ไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง แต่มีภูมิธรรมขั้นสูง
ด้วยการคมนาคมและการสื่อสารในสมัยนั้น
ตลอดจนอุปสรรคในด้านความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อนิมนต์พระมหาเถระเหล่านั้นได้
พลตรีอมรรัตน์ จินตกานนท์ นายทหารราชองครักษ์
ได้รับมอบหมายให้ไปทูลสมเด็จพระญาณสังวร
ซึ่งขณะนั้นยังคงมีสมณศักดิ์ที่พระศาสนโสภณ
ขอให้ช่วยนิมนต์แทน
หลังจากรออยู่ครู่หนึ่งก็ได้รับคำตอบว่าได้นิมนต์เรียบร้อยแล้ว
ให้ทางสำนักพระราชวังจัดรถไปรับ ณ ที่นัดหมายตามวันเวลาที่กำหนด
ปรากฏว่าการติดต่อนิมนต์ครั้งนั้น
ไม่ได้ใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆ เลย
แต่เป็นการติดต่อนิมนต์ด้วยโทรจิต
ซึ่งเป็นการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา

เรื่องที่สอง
เมื่อร่วม 20 ปีที่ผ่านมา
ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร
สมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยสมเด็จพระราชาคณะ
ที่ทรงภูมิธรรมขั้นสูงรวม 4 รูป
ได้เข้าไปเฝ้าและเจริญสมาธิจิต กระทำสัตยาธิษฐาน
ให้ทรงหายประชวร ก็ทรงหายประชวรในพลัน
เป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง

เรื่องที่สาม
เมื่อ 3 ปีก่อน
สมเด็จพระสังฆราชทรงประชวร มีพระอาการมาก
จนเป็นที่คาดหมายว่าอาจถึงสิ้นพระชนม์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ครั้งนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชว่า
อย่าเพิ่งดับขันธ์
ขอให้ทรงพระชนม์ต่อไปเพื่อช่วยพระองค์ท่าน
ขณะนั้นสมเด็จพระสังฆราชแม้ทรงประชวรหนัก
แต่ยังทรงมีพระสติมั่น
ได้ยินกระแสพระราชดำรัสแล้ว
ทรงพยักหน้ารับอาราธนา
หลังจากนั้นทรงเจริญอิทธิบาท
ตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอน
พระอาการประชวรหนักก็คลายลง จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
เป็นที่อัศจรรย์
เป็นเหตุการณ์อย่างเดียวกันกับ
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงให้แพทย์หลวงไปอาราธนาเจ้าคุณพุทธทาสเมื่อครั้งที่ป่วยหนัก
มีอาการหัวใจวาย เส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันสูงถึง 300 และน้ำท่วมปอด
ท่านเจ้าคุณพุทธทาสรับอาราธนาแล้วก็เจริญอิทธิบาท
กำจัดอาการป่วยจนหายเป็นปกติมาหลายปี
กระทั่งประกาศปลงอายุสังขาร
และดับขันธ์ในวันที่ 27 พฤษภาคม ปีถัดมา
(ดับขันธ์ในวันที่ 27 พฤษภาคม
แต่ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์
จึงยังทำให้หัวใจเต้นได้ต่อมาอีกหลาย วัน)

ขอสาธุชนทั้งหลาย
ที่ได้ทราบพระคุณอันประเสริฐของพระองค์ท่าน
จงพร้อมเพรียงกันน้อมนำเอาพระคุณนั้นมาประพฤติปฏิบัติ
ดังที่เห็นประจักษ์ชัด
ในพยานหลักฐานที่มีตัวตนแห่งการตรัสรู้ของพระบรม ศาสดา
เพื่อความสุข ความเจริญ ถ้วนทั่วกันเทอญ.

แม้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์จะได้ทรงจากพวกเราทั้งหลายไปแล้ว ก็แต่เพียงพระสรีรกาย…
แต่”พระวิญญาณธาตุ”หรือ”พระธรรมธาตุ”อันได้แก่ดวงจิตที่บรรลุพระอรหันต์และเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานแล้วของพระองค์ท่าน ยังคงอยู่ตลอดกาล
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรง มิได้ดับสูญหายไปไหน เพียงแต่เสด็จไปอยู่ในอีกสภาวะอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือโลก เหนือสงสาร เหนือกฏเกณฑ์แห่งวัฏฏะ อันมิใช่ต่างภพ ต่างมิติอันใด สุดวิสัยที่สมมุติภาษาของโลก จะหาคำใดมาอธิบายให้ใกล้เคียงได้
ขอเพียง”เปิดใจ”น้อมรำลึกถึงพระสังฆคุณแห่งพระองค์ท่าน พระวิญญาณธาตุ(สำนวนของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชที่หมายถึงจิตที่บรรลุอรหัตแล้ว) หรือ”ธรรมธาตุ”(สำนวนของหลวงตามหาบัวในความหมายในนัยเดียวกัน) ที่มีธรรมดาแผ่ซ่านความเป็นอมตะวิสุทธิ์ครอบคลุมเต็มเปี่ยมไปทั้งสกลจักรวาลของพระองค์ย่อมเสมือนหนึ่งมาปรากฏซึ่งๆหน้า ไม่ผิดเลย
เฉกเช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายแต่ในอดีตกาล ซึ่งบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ที่เคารพรักและศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ท่านยังคงสามารถระลึกและเข้าถึงพระผู้บริสุทธิ์เหล่านั้นได้อย่างไม่จำกัดกาล สถานที่ และทันทีฯ
นะมัตถุ พุทธานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นะมัตถุ โพธิยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระโพธิญาณ
นะโม วิมุตตานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
นะโม วิมุตติยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่วิมุตติธรรม

ที่มา “สิริอัญญา” (ผู้จัดการ)
http://www.youtube.com
http://somdechsuk.com
http://www.dhammajak.net
http://www.dhammathai.org
http://www.fungdham.com
http://www.khaosod.co.th
เรียบเรียงจาก “สมเด็จพระสังฆราช”โดย “กันตสีโลภิกขุ”(Karyl Bilbrey) จากนิตยสาร “น่านฟ้า”และ “เจ้าประคุณ” โดย”บรรณศาลา”จากหนังสือ”รวมเรื่องเล่า สิ่งที่เห็น”)

http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-091001130943464&PageNo=3&Other=#LoopStart

. . . . . . .