ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พระภิกษุปู่ เรียนวิชาหลายอย่างในสำนักพระครูกาเดิม 3 พรรษาอาจารย์ก็ไม่มีอะไรจะสอนให้อีกจึงปรึกษากับพระครูกาเดิม ท่านก็บอกถ้าจะศึกษาอีกคงต้องเข้าเมืองหลวงคือกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่รวมของสรรพวิชาต่างๆ ก้เลยนำนำให้ไปขอโดยสารเรือสำเภาของนายอิน ที่จะนำสินค้าไปขายในเมืองหลวง เรือสำเภาของนายอินบรรทุกสินค้าหลายอย่างเคยไปมาค้าขายแบบนี้หลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เรือสำเภาแล่นไปได้ 3 วัน 3คืน เป็นปกติอยู่ดีๆวันหนึ่ง ไม่ใช่ฤดูมรสุม แต่เกิดพายุพัดจัดลมแรงมากท้องทำเลปั่นป่วน จึงจำเป็นต้องลดใบเรือลงรอคลื่นลมสงบ เลยทำให้อาหารไม่พอ น้ำดื่มไม่มีจะกินกัน โดยเฉพาะน้ำจืดสำคัญที่สุด บรรดาลูกเรือไม่เคยพบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนและอารมณ์เสียทุกคนลงความเห็นว่า เกิดจาอาเพศที่มีพระภิกษุโดยสารมาด้วย จึงตกลงใจให้ไปส่งพระภิกษุปู่(หลวงปู่ทวด)ขึ้นฝั่ง โดยลงเรือเล็กซึ่งมีพระภิกษุปู่และลูกน้องนายอิน 2 คนลงมาด้วยเพื่อพายไปส่งฝั่งขณะที่นั่งอยู่ในเรือนั้น พระภิกษุปู่จึงบริกรรมคาถาและอธิษฐานจิต แล้วยื่นเท้าออกไปข้างกาบเรือลำเล็ก แล้วแกว่งน้ำให้เป็นวง ขณะนั้นเอง ท่านจึงบอกให้ลูกเรือทั้ง 2คนเอามือกวักชิมน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลกลับกลายเป็นน้ำจืด ทุกคนต่างดีใจรีบตักน้ำใส่โอ่งใส่ไห ลูกเรือทุกคนหายโกรธพระภิกษุปู่ โดยเฉพาะนายอิน จึงนิมนต์ให้ท่านร่วมเดินทางต่อจนถึงกรุงศรีอยุธยา
เมื่อถึงเมืองหลวงสมัยนั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของไทยเจริญรุ่งเรืองมากมีวัดวาอารามใหญ่ๆโตๆ นายอินได้นิมนต์ พระภิกษุปู่ให้เข้าจำวัดในเมืองหลวงแต่ท่านถือสันโดษ ท่านจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแค เขตทุ่งลุมพลีทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเก่าแก่ กล่าวไว้ว่า หลวงพ่อทวด ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 9ปี คือระหว่าง พ.ศ.2148 -2157 ตอนนั้นพระภิกษุปู่หรือ หลวงพ่อทวด มีอายุแค่ 32 ปี

เจ้าเมืองลังกาท้าพนันแปลพระไตรปิฎก
เมื่อถึงเวลาที่ผู้คนจะได้รู้จักท่าน ในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ต้องการจะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ในอำนาจ แต่ไม่ต้องการที่จะรบราฆ่าฟันกันด้วยอาวุธ จึงคิดกลอุบาลด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้ช่างหลวง นำทองคำจากท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าในราชสำนัก จำนวน 7 ท่านคุมเรือสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์ เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า…
พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและ เรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนด 7วันนับแต่วันที่ได้รับ พระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่ กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย

เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ ขุนศรีธนนชัย สังฆการี เขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่ว พระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาล เวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้ อื้ออึงไปหมด

ครั้นในคืนที่ 6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระ แท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่น จากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวาย บังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาล ไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที

ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “พระภิกษุปู่” (หลวงพ่อทวด) ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้ พระภิกษุปู่ ฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร หนังสือตำนานบางเล่นกล่าวว่า…ตอนนี้พระภิกษุปู่ แสดงอาการประหลาด คือเอนกายลงนอนท่าตะแคงสีหไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งตัวตรง ต่อมาก็กระเถิบไปข้างหน้า 5 ครั้งจากนั้นก็นั่งยังที่เดิม ทำให้พราหมณ์ทั้ง 7 คนหัวเราะพระภิกษุปู่ และดูหมิ่นหาว่าท่าแสดงเหมือนเด็กไร้เดียงสา จากนั้นพราหมณ์ จึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่ พระภิกษุปู่ เมื่อท่านได้รับแล้วก็ค่ำบาตรเทอักษรทองคำออกมาแล้วเริ่มต้นเรียงอักษรตามลำดับ ตามพระคัมภีร์โดยไม่รอช้า สักพักเดียวก็เสร็จ แต่อักษรขาดหายไป 7 ตัวคือคำ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ดว่าเอาอักษรมาไม่ครบ หรือว่าแอบซุกแอบใว้ที่จุกมวยผมแต่ละคนก็จงนำมาให้เถิด พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง 7 คนต่างตกใจหน้าซีดคิดไม่ถึงว่ากรุงศรีอยุธยาจะมีพระภิกษุเก่งกล้าเช่นนี้ จนพราหมณ์ผู้เฒ่า ทั้ง 7 สยบยอมแพ้อย่างราบคาบ
พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระสรวลยินดีเป็นอย่างยิ่ง จะถวายทรัพย์สมบัติแก่ท่านแต่ท่านไม่ยอมรับเนื่องจากท่านเป็นสมณะ พระองค์จึงจนพระทัย จึงประกาศ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระราชมุนีสวามีรามคุณูปมาจารย์” ตั้งแต่บัดนั้น

หลังจากนั้นกรุงศรีอยุธยา เกิดโรคห่าระบาดขึ้นอย่างร้ายแรงไปทั่วเมือง ผู้คนล้มตายราวใบไม้ร่วงเพราะไม่มียารักษา ประชาชนเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงรำลึกถึง ราชมุนีสวามีรามคุณูปมาจารย์ หรือพระภิกษุปู่ ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแค จึงมีรับสั่งให้สังฆการีไปนิมนต์ท่านเข้าวัง พระภิกษุปู่ได้นำเอาลูกแก้วคู่บุญบารมีของท่านแช่น้ำแล้วปลุกเสกน้ำพุทธมนต์ นำไปประพรมทั่วกรุงศรีอยุธยาใครเจ็บป่วยก็มาขอน้ำไปดื่มกิน ปรากฏว่าโรคห่าที่กำลังระบาดไปซบเซาลงและก็เหือดหายไปในเวลาต่อมา บ้านเมืองกลับสู่ปกติสุข ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีรับสั่งว่า ถ้าท่านประสงค์สิ่งใดก็ให้ขอแจ้งให้พระองค์ทราบจะจัดถวายอุปถัมภ์ทุกอย่าง

กาลเวลาล่วงเลยต่อมา พระภิกษุปู่ (หลวงพ่อทวด)คิดถึงบ้านเกิด เลยถวายพระพรทูลลา ต่อสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ทรงอาลัยมาก แต่มิอาจทรงขัดได้ จึงตรัสให้ตระเตรียมเรือสำเภาพร้อมข้าทาสบริวารและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าพระภิกษุปู่ทรงปฏิเสธท่านต้องการ เมื่อท่านเดินทางถึงบ้านเกิดที่สทิ้งพระ ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ห่างจากตำบลชุมพลบ้านเกิดท่านไม่มากนัก เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็ต่างชื่นชมยินดีเลยพร้อมใจกันตั้งฉายานามให้ท่านใหม่ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัด เมื่อท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะก็เห็นว่าวัดเสื่อมโทรมมากจึงคิดที่จะบูรณะซ่อมแซม แต่เนื่องด้วยชาวบ้านแถวนั้นส่วนใหญ่ฐานะยากจน เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบยินดีและทรงให้ช่างและเงินตราจำนวนมากเพื่อให้พอที่จะบูรณะวัดและจัดเรือสำเภา 7 ลำบรรทุกบรรทุกสิ่งของและอุปกรณ์ก่อสร้าง ตามตำนานกล่าวว่าใช้เวลาหลายปีกว่าจะบูรณะเสร็จ
วันหนึ่งขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะกำลังเดินริมชายฝั่งทะเลหลวง โดยถือไม้ท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัว มีลักษณะแปลกคือ คดไปคดมา และมีรูปร่างคล้ายงู โจรสลัดจีนซึ่งแล่นเรือเลียบชาบฝั่งมาทางนั้นได้เห็นท่านเข้า คิดว่าท่านเป็นคนเผ่าประหลาดเพราะโกนศรีษะและนุ่งห่มไม่เหมือนชาวบ้าน โจรสลัดจีนจึงจับตัวท่านขึ้นเรือ เมื่อเรืออกจากฝั่งไม่นานก็ต้องหยุดนิ่งกลางทะเลเฉยๆเหมือนมีอะไรมาตรึงใว้แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ผล เรือจอดนิ่งอยู่เป็นเวลาหลายวันเสบียงน้ำดื่มก็หมดไม่มีจะกิน สมเด็จเจ้าพะโคะท่านเห็นดังนั้นจึงนึกสงสารท่านจึงเหยียบกราบเรือใหญ่ให้ตะแคงต่ำเรี่ยน้ำลงไปข้างหนึ่ง แล้วยื่นฝ่าเท้าข้างหนึ่งเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล สักครู่หนึ่งน้ำทะเลที่เคยใสแจ๋ว กลับขุ่นเหมือนน้ำคลองขึ้นมาทันที ท่านยกเท้าขึ้นแล้วบอกให้พวกโจรลองกินน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลบริเวณนั้นจืดสนิท พวกโจรสลัดจีนเห็นดังนั้นจึงรีบก้มกราบเท้าขอขมาโทษฟังไม่ได้ศัพท์กันเลยทีเดียว แล้วนำท่านล่องเรือเล็กกลับขึ้นมาส่งที่ฝั่งในทันที
ส่วนสาเหตุที่สมเด็จเจ้าพะโคะหายไป(หลวงพ่อทวด)โดยมิได้บอกกล่าวใคร ไม่มีใครรับรู้มาก่อนว่าท่านไปไหนมีความจำเป็นอะไรที่ละทิ้งวัดไปไม่มีใครรู้ทั้งนั้นนอกจากตัวท่านเอง หนังสือบางเล่มที่เขียนกันมาตอนหลังๆ ตามบันทึกของท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีสโมสร ปัตตานี ซึ่งเขียนจากคำบอกเล่าของพระอุปัชฌาย์ดำ ดิษโร วัดศิลาลอย อำเภอสทิ้งพระ จังหวัดสงขลาว่า ก่อนที่สมเด็จท่านพะโคะจะหายตัวไปจากวัดพะโคะได้มีสามเณรรูปหนึ่งมาหาท่านที่กุฏิ ไม่ทราบเรื่องอะไรแล้วก็ล่องหนหายตัวไปทั้ง2องค์ คือมีสามเณรผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยรูปหนึ่งอุทิศถวายชีวิตตนใว้ในพระพุทธศาสนาได้อธิฐานจิตว่าก่อนจากโลกนี้ไปขอได้เฝ้าเบื้องพระพักตร์ของพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ ด้วยกุศลที่สะสมมาแต่ชาติปางก่อนและด้วยกุศลจิตอันแรงกล้า
กล่าวคือในคืนวันหนึ่งได้มีชายนุ่งขาวหม่ขาวมาหาพร้อมทั้งประเคนดอกไม้ดอกหนึ่ง แล้วบอกว่านี่ คือดอกไม้ทิพย์จากสรวงสวรรค์ไม่รู้จักร่วงโรย พระโพธิสัตว์ได้มาจุติชั่วคราวบนโลกมนุษย์นี้แล้ว สามเณรจงถือดอกไม้นี้ออกตามหาเอาเองเถิด ถ้าพระภิกษุรูปใดรู้จักดอกไม้ทิพย์ พระภิกษุรูปนั้นแหละคือพระโพธิสัตว์ซึ่งจะเป็นผู้โปรดเวไนยสัตว์ในโลกหน้า เมื่อชายแก่ให้ดอกไม้ทิพย์แก่สามเณรแล้วก็จากไป สามเณรได้ออกตามหามุ่งหน้าสู่วัดต่างๆ แต่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์รูปใดสนใจไต่ถามเลย ด้วยความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นก็ตระเวนหาไปเรื่อย
วันหนึ่งสามเณรได้เดินทางมาถึงวัดพะโคะ สามเณรได้พบท่านสมเด็จพะโคะที่กุฏิของท่าน เมื่อท่านหลวงพ่อทวดได้เหลือบไปเห็นดอกไม้ทิพย์ในมือสามเณร จึงถามว่า “นั่นดอกมณฑาทิพย์บนสรวงสวรรค์ ผู้ใดให้เจ้ามา !!”
สามเณรขนลุกซู่ไปทั้งตัวแน่ใจแล้วว่าตนได้พบ พระโพธิสัตว์แล้วสามเณรจึงนำดอกไม้ไปประเคนแก่ท่าน เมื่อสมเด็จพะโคะรับดอกไม้ทิพย์แล้ว ท่านนั่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงกวักมือเรียกสามเณรเข้าไปในกุฏิชั้นใน ปิดประตูหน้าต่างลงกลอน และปาฏิหาริย์เมื่อหายตัวไปทั้ง สามเณรและสมเด็จเจ้าพะโคะตั้งแต่เพลานั้น โดยไม่เหลือร่องรอยไว้ให้เห็นอีกเลย…

ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ คนทางใต้เชื่อว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวด เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งลงมาโปรดบนโลกมนุษย์ชั่วคราวแล้วท่านก็นำดอกไม้ทิพย์พร้อมสามเณรขึ้นสวรรค์ไปพร้อมกัน
สมเด็จท่านพะโคะก่อนที่ท่านจะจากวัดพะโคะไปโดยไม่มีร่องรอย ท่านได้ทิ้งสิ่งสำคัญไว้ที่วัดพะโคะ 2 อย่างคือ
– ลูกแก้ววิเศษ ที่พญางูใหญ่ได้คายใว้ให้ท่านตอนท่านเป็นทารก
– อีกสิ่งหนึ่งที่ท่านทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดพะโคะคือ รอยเท้าของท่าน ที่ท่านเหยียบประทับใว้บนแท่นหินบนหน้าผา ที่วัดพะโคะนั่นเอง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีผู้คนกราบไหว้เป็นประจำตราบเท่าทุกวัน
ประวัติหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แขวนหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ เช่าบูชาพระหลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด ประวัติ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

http://www.tumsrivichai.com/index.php

. . . . . . .