เรื่องจิต นี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เรื่องจิต นี้

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุก ๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล

ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรมจะแสดงพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องจิต ตามที่ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ โดยชื่อว่าจิต

บ้าง วิญญาณบ้าง เพราะว่าการปฏิบัติอบรมจิตอันเรียกว่าจิตภาวนานั้น พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาก็ได้ตรัสสอนไว้ ซึ่งมีคำแปลว่า

ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนี้นี่แหละเศร้าหมองไป เพราะอุปกิเลสคือเครื่องที่เข้าไป หรือเข้ามา ทำให้จิตเศร้า

หมองทั้งหลาย ที่เป็นอาคันตุกะคือที่จรมา บุถุชนผู้มิได้สดับแล้วย่อมไม่รู้จักจิตนั้น พระองค์จึงตรัสว่าจิตภาวนา

การอบรมจิตย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว และได้ตรัสไว้อีกว่าภิกษุทั้งหลายจิตนี้ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนั้นนั่นแหละ

พ้นแล้วได้ จากอุปกิเลสคือเครื่องที่เข้าไปหรือเข้ามาทำให้จิตเศร้าหมองทั้งหลายที่จร เข้ามา อริยสาวกคือศิษย์ของพระอริยะผู้

ประเสริฐผู้เจริญ ได้สดับแล้ว ย่อมรู้จักจิตนั้น พระองค์ตรัสว่าจิตภาวนา การอบรมจิตย่อมมีแก่อริยสาวกผู้สดับแล้ว ดั่งนี้ และได้มีพระ

พุทธภาษิตตรัสถึงจิตไว้อีกเป็นอันมาก เป็นต้นว่า จิตที่มิได้อบรมแล้ว มิได้รักษาคุ้มครองแล้ว เป็นจิตที่ไม่ควรแก่การงาน ย่อมเป็นไป

เพื่อโทษ มิใช่ประโยชน์ใหญ่ ส่วนจิตที่อบรมแล้ว รักษาคุ้มครองแล้ว เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ ดั่งนี้เป็น

ต้น การอบรมจิตต้องรู้จักจิตฉะนั้น การอบรมจิต รักษาคุ้มครองจิต ฝึกจิต จึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะเว้นจาก

การอบรมจิตเสียมิได้ และเมื่อได้ปฏิบัติฝึกอบรมจิตแล้ว ก็ย่อมจะได้ประสบประโยชน์ใหญ่ที่ตรัสไว้ ประโยชน์ใหญ่นั้นก็หมายคลุมถึง

ประโยชน์ที่ได้จำแนกเอาไว้ เป็นประโยชน์ปัจจุบันบ้าง ประโยชน์ภายหน้าบ้าง ประโยชน์อย่างยิ่งบ้าง แต่ในการที่จะปฏิบัติอบรมจิต

นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักจิต จะรู้จักจิตได้ก็จะต้องเป็นผู้ที่สดับ คือสดับตรับฟังคำสั่งสอนของพระอริยะ ดังที่เรียกว่าอริยสาวก ที่แปล

ว่าผู้ฟังแห่งพระอริยะ ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดานั้นเองทรงเป็นพระอริยะขึ้นพระองค์แรก และเมื่อได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอน ผู้

ฟังคำสั่งสอนของพระองค์ ได้รู้ธรรมะเห็นธรรมะตามพระองค์ จึงได้เป็นอริยะตามพระองค์ขึ้นมา คำว่าอริยสาวกแปลได้อีกว่าสาวกผู้

เป็นอริยะ ซึ่งจะต้องสดับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ?ที่ตรัสชี้แจงแสดงไว้โดยเฉพาะ ตรัสชี้แจงแสดงไว้ว่าจิตนี้

ปภัสสร คือผุดผ่อง จิตนี้นั้นเศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา จิตนี้นั้นพ้นแล้วได้จากอุปกิเลสที่จรมาทั้งหลาย ก็โดยที่

ปฏิบัติอบรมจิต อันเรียกว่าจิตตภาวนา ตามที่ทรงสั่งสอนไว้ และผู้ที่ได้สดับตรับฟังได้ปฏิบัติอบรมจิต จนจิตพ้นจากอุปกิเลสเครื่อง

เศร้าหมองทั้งหลายที่จรเข้ามาได้ แม้บางส่วน จึงได้ชื่อว่าอริยสาวกผู้สดับแล้ว เป็นผู้ที่รู้จักจิต และพระองค์ก็ตรัสว่ามีจิตตภาวนาคือ

การอบรมจิต ฉะนั้น ในเบื้องต้นจึงต้องตั้งใจสดับตรับฟังคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาที่แสดงเรื่องจิตไว้ดั่งนี้ ให้รู้จัก

จิตไว้เป็นเบื้องต้นก่อน ว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ปภัสสร คือผุดผ่อง ความผุดผ่องเป็นธรรมชาติของจิต จิตผุดผ่องโดยธรรมชาติอยู่

ตลอดเวลา เมื่อไร ๆ ก็เป็นธรรมชาติที่ปภัสสร คือผุดผ่องอยู่ แต่ก็เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสทั้งหลายที่จรเข้ามา วิญญาณธาตุ จิต

นี้มีธรรมชาติที่ผุดผ่องดังกล่าว และยังมีธรรมชาติอย่างไรอีก ก็ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสเอาไว้อีก ว่าบุรุษบุคคลทุกคนนี้มีธาตุ ๖ ได้แก่

ปฐวีธาตุ ธาตุดิน อาโปธาตุ ธาตุน้ำ เตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตุ ธาตุลม อากาสธาตุ ธาตุอากาศคือช่องว่าง และวิญญาณธาตุ คือ

ธาตุรู้ ซึ่งวิญญาณธาตุคือธาตุรู้นี้ ตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสสอนไว้ให้พิจารณาธาตุ ๕ ข้างต้น ว่าเป็นอนัตตามิใช่ตัวตน ไม่พึงยึดถือ

ว่าเป็นของเรา หรือว่าเราเป็น หรือว่าเป็นอัตตาตัวตนของเรา และเมื่อได้ปฏิบัติพิจารณาธาตุ ๕ ข้างต้นดั่งนี้ วิญญาณธาตุก็ย่อม

บริสุทธิ์ผ่องใส อาจที่จะน้อมวิญญาณธาตุที่บริสุทธิ์ผ่องใสอันควรแก่การงาน อ่อนควรแก่การงาน ?ไปเพื่อสมาธิอย่าสูงได้ แต่ว่าเมื่อ

น้อมไปเพื่อสมาธิอย่างสูงนี้ก็ไม่ตรัสสอนให้ติด ถ้าไปติดเข้าก็ย่อมจะ .. ( เทปหมดหน้า ) และอุเบกขานี้ก็ไม่พึงติด เพราะถ้าติดเข้าก็

จะอยู่แค่อุเบกขาทีเป็นขั้นสมาธิอย่างสูงดังกล่าว เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสสอนไม่ให้ยึดถือ เมื่อไม่ยึดถือเสียได้จึงจะก้าวขึ้นสู่มรรคผล

นิพพานต่อไป ตัวรู้อยู่ที่ไหนจิตก็อยู่ที่นั่น ตามแนวที่ตรัสสอนไว้นี้จึงทำให้เป็นที่เข้าใจว่า วิญญาณธาตุนั้นก็หมายถึงจิตนี้เอง ซึ่ง

เป็นธาตุรู้ จิตจึงเป็นธาตุรู้ รู้อะไร ๆ ได้ และเป็นธรรมชาติที่ผุดผ่องดังกล่าวมาข้างต้น จิตเป็นธาตุรู้ที่รู้อะไร ๆ ได้นี้ จึงกำหนดจิตได้ที่

ตัวรู้หรือที่ความรู้ รู้อยู่ที่ไหนจิตก็อยู่ที่นั่น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตั้งสติกำหนดธรรมะที่กำลังอบรมอยู่นี้ จิตตั้งอยู่ที่ถ้อยคำที่กำลังกล่าว

อยู่นี้ ก็ย่อมรู้ถ้อยคำที่กล่าวอยู่นี้ ซึ่งเป็นภาษา และก็รู้ความของภาษาที่กำลังกล่าวอยู่นี้ ฉะนั้น ในขณะที่ทำสติกำหนดฟังอยู่ จึงรู้ รู้

ถ้อยคำที่ฟัง รู้ความของถ้อยคำที่ฟัง จิตจึงอยู่ที่ถ้อยคำที่แสดง ที่ฟังอยู่นี้ แต่ถ้าจิตออกไปเสียจากถ้อยคำที่ฟังอยู่นี้ จิตก็จะไปรู้ใน

เรื่องอื่นที่จิตไปตั้งอยู่ สุดแต่ว่าจิตจะไปตั้งอยู่ในเรื่องอะไรก็ย่อมรู้เรื่องนั้น และเมื่อจิตออกไปตั้งอยู่ในเรื่องอื่น หูก็ดับไม่ได้ยินเสียงที่

กำลังอบรมอยู่นี้ เพราะว่าหูนั้นจะไม่ดับได้ก็ต้องมีจิตเข้าตั้งอยู่ด้วย หูก็ฟังได้ยิน และก็รู้ ถ้าจิตออกไปเสียแล้ว ก็ไปรู้เรื่องอื่นที่จิตตั้งอยู่

ดังกล่าว หูก็ดับจากเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นจิตนี้จึงสำคัญมาก แม้หูเองที่ฟังได้ยินนั้น ตามลำพังหูหาได้ยินไม่ ต้องมีจิตตั้งอยู่ด้วย แม้

อายตนะอื่นก็เช่นเดียวกัน ตา จมูก ลิ้น กาย ก็เช่นเดียวกัน จะรับรู้อะไร ๆ ได้ ตาจะมองเห็นได้ ลิ้นจะทราบรส จมูกจะทราบกลิ่นได้ ลิ้น

จะทราบรสได้ กายจะรู้สิ่งถูกต้องได้ ก็ต้องมีจิตตั้งอยู่ด้วย ถ้าจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ดับหมด ตาก็ไม่เห็น จมูกก็ไม่ทราบกลิ่น

ลิ้นก็ไม่ทราบรส กายก็ไม่ทราบสิ่งถูกต้อง ให้สังเกตดูให้ดีจะรู้สึกได้ดั่งนี้ จิตจึงเป็นธาตุรู้อันเรียกว่าวิญญาณธาตุดั่งนี้ ความรู้ของจิต

อาศัยทวารทั้ง ๖ และความรู้ของจิตดังกล่าวโดยปรกติก็ต้องอาศัยทวารทั้ง ๖ คือทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ หรือว่า

อายตนะภายในทั้ง ๖ นั้นเอง ซึ่งทวารทั้ง ๖ นี้ก็เป็นทวารสำหรับที่รับอายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมะคือ

เรื่องราว แต่ว่าก็มารับกันแค่ประตูทั้ง ๖ นี้เท่านั้น จิตนี้เองก็ออกรู้ทางทวารทั้ง ๖ นี้ รับเอาเข้าไปสู่จิตโดยเป็นอารมณ์คือเป็นเรื่องเข้า

ไป เพราะว่า อายตนะภายนอกทั้งปวงที่เป็นวัตถุนั้น คือเป็นรูปที่ตาเห็น เสียงที่หูได้ยิน กลิ่นที่จมูกทราบ รสที่ลิ้นทราบ สิ่งถูกต้องที่กาย

ทราบ เป็นวัตถุจะเข้าไปสู่จิตไม่ได้ จิตรับสิ่งเหล่านี้โดยเป็นอารมณ์คือเป็นเรื่องเข้าไปทางทวารทั้ง ๖ นี้ ก็คือรับเอาเป็นเรื่องรูป เรื่อง

เสียง เรื่องกลิ่น เรื่องรส เรื่องโผฏฐัพพะ เข้าไปนั้นเอง และจิตนี้เองเมื่อรับเป็นอารมณ์เข้าไปสู่จิต ก็ย่อมมีสังโยชน์ คือความผูก ซึ่ง

สังโยชน์ คือตัวความผูกนี้เอง เป็นความผูกพันทางจิตใจ และนำให้เกิดความยินดีบ้าง ความยินร้ายบ้าง ความรู้สึกเป็นกลาง ๆ บ้าง ใน

อารมณ์คือเรื่องเหล่านั้น และก็สุดแต่ว่าเรื่องเหล่านั้นจะเป็นที่ตั้งของอะไร ถ้าเป็นเรื่องที่เป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ ก็เกิดความยินดี

พอใจ เป็นที่ตั้งของความยินร้าย ก็บังเกิดความกระทบกระทั่ง โกรธแค้นขัดเคือง ๖ ถ้าเป็นที่ตั้งของความหลง ก็เกิดความหลง และที่

เป็นกลาง ๆ นั้นเองก็เป็นที่ตั้งของความหลงด้วย อุปกิเลส ความ ยินดี ความยินร้าย ความหลงนี้ก็เป็นกิเลสขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงเรียก

ว่าอุปกิเลส เพราะเป็นสิ่งที่จรเข้ามากับอารมณ์ ไม่ใช่เป็นเนื้อแท้ของจิต เป็นสิ่งที่จรเข้ามากับอารมณ์ ที่เข้ามาทางทวารทั้ง ๖ ดัง

กล่าวมานั้น และเมื่อเป็นอุปกิเลสขึ้นดั่งนี้ จิตที่ปภัสสรคือผุดผ่องอยู่โดยธรรมชาติ จึงต้องเศร้าหมองไป มัวไป ไม่แจ่มใส เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่ากิเลสที่แปลว่าเศร้าหมองไม่ผ่องใสไม่บริสุทธิ์ หลักปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้

ตรัสสอนให้ทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งสติกำหนดดูจิต จิตเป็นอย่างไรก็ให้รู้อย่างนั้น จิตมีราคะหรือปราศจากราคะก็ให้รู้ จิตมี

โทสะหรือปราศจากโทสะก็ให้รู้ จิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะก็ให้รู้ จิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่านก็ให้รู้ จิตแผ่ไปใหญ่หรือจิตที่ไม่แผ่ไปใหญ่

คือคับแคบก็ให้รู้ จิตที่ยิ่งหรือไม่ยิ่งก็ให้รู้ จิตที่มีสมาธิตั้งมั่นหรือไม่มีสมาธิคือไม่ตั้งมั่นก็ให้รู้ จิตที่พ้นหรือไม่พ้นก็ให้รู้ ให้ตั้งสติกำหนด

ทำความรู้เข้ามา และเมื่อตั้งสติกำหนดทำความรู้เข้ามาดั่งนี้ ความกำหนดดูจิตก็คือดูที่ความรู้ของจิต อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าความคิด

ของจิต ดูที่ความรู้ความคิดของจิต เพราะว่าคิดก็คือรู้ รู้ก็คือคิดนั้นเอง ดูที่ความรู้ความคิด และเมื่อดูที่ความรู้ความคิด ก็ย่อมจะรู้ว่า

จิตเป็นอย่างไร และย่อมจะรู้ว่าจิตมีอารมณ์คือเรื่องที่คิดที่รู้อยู่อย่างไรด้วย ยกตัวอย่างเช่น จิตมีราคะความติดใจยินดี ก็ให้รู้ว่าจิตมี

ราคะคือความติดใจยินดี เมื่อตั้งสติกำหนดดูก็ย่อมจะรู้ ว่าจิตคิดหรือรู้เรื่องอะไร ราคะคือความติดใจยินดีนั้น จิตติดใจยินดีอยู่ซึ่งอะไร

ในอะไร เช่นในรูป ในเสียงที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ที่กำลังคิดถึงอยู่ ที่กำลังรู้อยู่ และเมื่อจิตมีอารมณ์อยู่ดั่งนี้ ก็ติดใจยินดีเป็นตัว

ราคะขึ้นมา โทสะก็เหมือนกัน จิตโกรธก็ให้รู้ว่าจิตโกรธ แล้วเมื่อดูเข้ามาที่จิตโกรธก็ย่อมจะรู้ว่าโกรธอะไร โกรธใคร เรื่องอะไร ย่อมจะ

รู้อารมณ์อันเป็นที่ตั้งของความโกรธนั้นด้วย และนอกจากนี้ย่อมจะรู้พลังด้วย เช่นราคะติดใจยินดีมากหรือน้อย โทสะโกรธแค้นขัด

เคืองมากหรือน้อย รู้พลังด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อกำหนดดูอย่างนี้ จิตกับอารมณ์ที่ผูกกันอยู่กับกิเลสที่บังเกิดขึ้นอยู่ ก็ย่อมปรากฏอยู่ใน

ความรู้ ซึ่งเป็นตัวสติที่กำหนดดู ตัวสติที่กำหนดดูนี้จึงเป็นผู้ดู ส่วนจิตกับอารมณ์และกิเลสที่กำลังประกอบกันอยู่ ปรุงกันอยู่

เป็นฝ่ายถูกดู เพราะฉะนั้นฝ่ายที่ถูกดูนี้จึงเป็นเหมือนอย่างการละเล่น สติที่เป็นผู้ดูก็เหมือนอย่างเป็นผู้ดูการละเล่น การปฏิบัติแยก

จิตออกเป็น ๒ ส่วน การปฏิบัติดั่งนี้จึงเท่ากับเป็นการปฏิบัติแยกจิตนี้เองออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่เป็นผู้ดู กับส่วนที่ถูกดู และเมื่อ

แยกกันออกมาได้ดั่งนี้แล้ว ก็เป็นผลของการปฏิบัติขั้นหนึ่ง และเมื่อได้การปฏิบัติขั้นหนึ่ง คือแยกออกมาเป็นผู้ดู และเป็นผู้ถูกดูดั่งนี้ ก็

จะได้ผลของการปฏิบัติขั้น ๒ ต่อไป คือฝ่ายที่ถูกดูนั้นจะอ่อนกำลังลงจนสงบไปหายไป ผู้ดูนั้นก็จะเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็นในสิ่งที่ดู ตั้งต้นแต่

จะมองเห็นจิตของตัวเองที่เป็นฝ่ายถูกดู เช่นกำลังรัก กำลังโกรธ จะเห็นอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของความรักความโกรธ จะเห็นจิตผูกอยู่

ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของความรักความโกรธนั้นไม่หลุดไปจาก จิต สังโยชน์ แล้วก็จะรู้จักว่า ตัวที่ผูกอยู่นั้นคือตัวสังโยชน์ ที่แปลว่า

ผูกก็ตรงนี้เอง คืออารมณ์อันเป็นที่ตั้งของรักของชังนั้นผูกอยู่กับจิต จิตผูกอยู่กับอารมณ์นั้น จึงรักจึงชัง ก็เป็นความที่ปรุงแต่งกันไป

เมื่ออารมณ์อันเป็นที่ตั้งของความรักมาผูกอยู่ที่จิต จิตผูกอยู่ที่อารมณ์ อันเป็นที่ตั้งของความรักนั้น ก็ปรุงแต่งไป ว่าน่ารักอย่างนั้น น่า

รักอย่างนี้ เป็นยังโง้นเป็นยังงี้ ถ้าเป็นอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของโทสะผูกอยู่ จิตก็จะปรุงแต่งว่าน่าชังน่าโกรธยังงั้น ๆ ?จะมองเห็น จะมอง

เห็นว่านั่นเป็นตัวผูก เพราะผูกนี้เองจึงทำให้ปรุง ปรุงรักปรุงโกรธขึ้นมา และเมื่อเป็นผู้รู้ผู้เห็นดั่งนี้ชัดขึ้น ความผูกนั้นก็จะหย่อนคลาย

ไป กำลังของความปรุงแต่งของจิตก็จะหย่อนคลายไป จนเมื่อจิตกับอารมณ์ที่ผูกกันอยู่นั้น ตัวผูกหลุดไป จิตกับอารมณ์ก็แยกออกจาก

กัน เมื่อจิตกับอารมณ์แยกออกจากกันความปรุงแต่งก็หยุด หยุดปรุงแต่งรัก หยุดปรุงแต่งชัง หยุดปรุงแต่งเสียเมื่อใดแล้วความรักความ

ชังก็สงบ หลุดกันแค่นั้น สติซึ่งเป็นผู้กำหนด กำหนดดู กำหนดรู้ กำหนดเห็นอยู่นั้น ก็รู้ก็เห็น และก็เป็นรู้เห็นตั้งแต่ยังปรุงแต่งอยู่ จนถึง

ความผูกหลุดออกจากกัน หยุดปรุงแต่ง สงบ ก็รู้อยู่กับความสงบ ดั่งนีเป็นการปฏิบัติทางจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต่อไปนี้ก็ขอให้

ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/1846-2010-03-25-23-39-04

. . . . . . .