รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 4(ต่อ) สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก 4(ต่อ)

สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

4. พรหมวิหาร ธรรม (อุเบกขาธรรม)

ทำความดีด้วยใจว่างจากกิเลสทำความดี อย่างสบาย ๆ อย่างมีอุเบกขา คือ ทำใจเป็นกลางวางเฉย ไม่หวังผลอะไรทั้งสิ้น

การตั้งความหวังในผลของการทำดีเป็นธรรมดาของสามัญชนทั่วไป ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็จะถูกต้องกว่าหากจะไม่ตั้งความหวังเลย เมื่อรู้

ว่าเป็นความดีก็ทำเต็มความสามารถของสติปัญญา ไม่เดือดร้อนให้เกินความสามารถ ไม่มุ่งหวังให้ฟุ้งซ่าน ไม่ผิดหวังให้เศร้า

เสียใจ การทำใจเช่นนี้ไม่ง่าย แต่ก็เป็นสิ่งทำได้ ถ้าทำไม่ได้พระพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงสั่งสอนไว้ ทำดีด้วยความโลภและหลง จัก

ไม่อาจให้ผลสูงสุด การทำดีหรือทำบุญกุศลที่จะส่งผลสูงสุด ต้องเป็นการทำด้วยใจว่างจากกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง

ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้งความโลภและความหลง ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้งความโลภและความหลง จึงไม่อาจ

ให้ผลสูงสุดได้ แม้จะให้ผลตามความจริงที่ว่า ทำดีจักได้ดี แต่เมื่อเป็นความดีที่ระคนด้วยโลภและหลง ก็ย่อมจะได้ผลไม่เท่าที่

ควร มีความโลภหลงมาบั่นทอนผลนั้นเสีย ทำดีแล้วต้องได้ดีแน่นอนเสมอไปทำดีไม่ ได้ดี ไม่มีอยู่ในความจริง มีอยู่แต่ใน

ความเข้าใจผิดของคนทั้งหลายเท่านั้น ทำดีแล้วต้องได้ดีแน่นอนเสมอไป ที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ นานาปรากฏขึ้น เหมือนทำดีไม่

ได้ดีนั้น เป็นเพียงการปรากฏของความสลับซับซ้อนแห่งการให้ผลของกรรมเท่านั้น เพราะกรรมนั้นไม่ได้ให้ผลทันตาทันใจเสมอไป

แต่ถ้าเป็นเรื่องภายในใจแล้ว กรรมให้ผลทันทีที่ทำแน่นอน เพียงแต่ว่า บางทีผู้ทำไม่สังเกตด้วยความประณีตเพียงพอจึงไม่รู้ไม่เห็น

ขอให้สังเกตใจตนให้ดี แล้วจะเห็นว่าทันทีที่ทำกรรมดี ผลจะปรากฏขึ้นในใจเป็นผลดีทันทีทีเดียว ทำกรรมดีแล้วจิตใจจักไม่ร้อน

เร่า ทำกรรมดีแล้วใจจักไม่ร้อน เพราะไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะได้รับผลไม่ดีต่าง ๆ ความไม่ต้องหวาดวิตกหรือกังวลไปต่าง ๆ นั้น

นั่นแหละเป็นความเย็น เป็นความสงบของใจ เรียกได้ว่าเป็นผลดีที่เกิดจากกรรมดี ซึ่งจะเกิดขึ้นทันตาทันใจทุกครั้งไป เป็นการทำดี

ที่ได้ดีอย่างบริสุทธิ์แท้จริง ส่วนผลปรากฏภายนอกเป็นลาภยศสรรเสริญต่าง ๆ นั้น มีช้า มีเร็ว มีทันตาทันใจ และไม่ทันตาทันใจ

จนเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดกันมากมาย ว่าทำดีไม่ได้ดีบ้าง ทำชั่วได้ดีบ้าง ควรทำดีโดยทำใจให้เป็นกลาง ไม่มุ่งหวังสิ่ง

ใด ทำดีได้ดีแน่นอนอยู่แล้ว บรรดาผู้ทำความดีทั้งหลายซาบซึ้งในสัจจะ คือ ความจริงนี้ ดังนี้ก็ไม่น่าจะลำบากนักที่จะเชื่อด้วยว่า

ควรทำดีดโดยทำใจเป็นกลางวางเฉลยไม่มุ่งหวังอะไร ๆ ทั้งนั้น การที่ยกมือไหว้พระด้วยใจที่เคารพศรัทธาในพระรัตนตรัยสูงสุด

เพียงเท่านี้ ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าจะยกมือไหว้พร้อมกับอธิษฐานปรารถนาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไปด้วยมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง หรือ

การจะบริจาคเงินสร้างวัดวาอาราม ด้วยใจที่มุ่งให้เป็นการบูชาคุณพระรัตนตรัยเพียงเท่านี้ ก็ได้ผลดีแก่จิตใจ ยิ่งกว่าจะปรารถนา

วิมานชั้นฟ้า หรือบ้างช่องโอ่อ่าทันตาเห็นในชาตินี้ หรือการจะสละเวลากำลังกาย กำลังทรัพย์เพื่อช่วยเหลืองานพระศาสนา โดย

มุ่งเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นจริง ๆ เพียงเท่านี้ก็ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าปรารถนาจะได้หน้าได้ตาว่าเป็นคนสำคัญ เป็นกำลังใจให้

เกิดความสำเร็จ หรือการคิดพูดทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยใจที่มุ่งเทิดทูนรักษาอย่างเดียว

เช่นนี้ ให้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าหวังได้ลาภยศหน้าตาตอบแทน ทำความดีอย่างบริสุทธิ์ สะอาดจริงเถิดทุกวัน เรามีโอกาสทำดี

ด้วยกันทุกคน ดังนั้นจึงขอให้พยายามตั้งสติให้ดี ใช้ปัญญาให้ควร อย่าโลภ อย่าหลง อย่าทำความดีอย่างมีโลภมีหลง ให้ทำ

ความดีอย่างบริสุทธิ์สะอาดจริงเถิด มีวิธีตรวจใจตนเองว่า ทำความดีด้วยใจปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ กิเลส โลก โกรธ

หลง หรือไม่ ก็คือให้ดูว่าเมื่อทำความดีนั้น ร้อนใจที่จะแย่งใครเขาทำหรือเปล่า กีดกัดใครเขาหรือไม่ ฟุ้งซ่านวุ่นวายกะเก็งผลเลิศ

ในการทำหรือเปล่า ต้องการจะทำทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถจะทำได้ แล้วก็น้อยเนื้อต่ำใจหรือโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทอุปสรรคหรือ

เปล่า ถ้าเป็นคำตอบปฏิเสธทั้งหมดก็นับว่าดี เป็นการทำดีอย่างมีกิเลสห่างไกลจิตใจพอสมควรแล้ว สบายใจ เย็นใจในการทำ

ความดีใด ๆ ก็นับว่ามีกิเลสห่างไกลใจในขณะนั้นอย่างน่ายินดียิ่ง จะเป็นเหตุให้ผลอันเกิดจากรรมดีนั้นบริสุทธิ์ สะอาด และสูงส่ง

จริง ทำให้ไม่มีตัวเราของเราได้…วิเศษสุด ไม่มีตัวเราของเราแล้วไม่มีความทุกข์ เพราะไม่ถูกกระทบ ไม่มีอะไรให้ถูกกระทบ

เหมือนคน ไม่มีมือ ก็ไม่เจ็บมือ, คนไม่มีขา ก็ไม่เจ็บขา ดังนั้น การทำให้ไม่มีตัวเราของเราได้จึงวิเศษสุด แต่ก็ยากยิ่งนัก

สำหรับบุถุชนคนสามัญทั้งหลาย ฉะนั้นขอให้มีเพียงเราเล็ก ๆ มีเราน้อย ๆ ก็ยังดี ดีกว่าจะมีเราใหญ่โตมโหฬาร มีของเราเต็ม

บ้านเต็มเมือง เมื่อบุถุชนไม่สามารถทำตัวเราให้หายไปได้ ยังหวงแหนห่วงใยตัวเราอยู่ ของเราจึงยังต้องมีอยู่ด้วย ของเราจะหมด

ไปก็ต่อเมื่อตัวเราหมดไปเสียก่อน นี้เป็นธรรมดา ถ้ายังมีตัวเราของเราอยู่ ยังต้องกระทบกระทั่งอยู่ ยังหวงแหนรักษาตัวเราของเรา

ไว้ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะหวงแหนรักษาให้ถูกต้อง จะได้ไม่ต้องรับโทษทุกข์ของการมีตัวเราของเรามากเกินไปอย่างเดียว แต่มีโอกาส

ที่จะได้รับคุณรับประโยชน์บ้างจากการมีตัวเราของเรา นั่นก็คือต้องระวังรักษาปฏิบัติต่อตัวเราของเราให้ดี ให้เป็นตัวเราของเราที่ดี

ตัว เราที่ดี ต้องมีใจที่อบรมด้วยธรรมอันงามตัวเรา ที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นตัวเราที่มีหน้าตาสวยงามอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นตัวเราที่

ได้รับการตกแต่งด้วยเครื่องสำอางหรือเสื้อผ้าแพรพรรณอัน วิจิตรเท่านั้น ตัวเราที่ดีต้องเป็นตัวเราที่ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตาม

ทำนองคลองธรรม มีจิตใจที่อบรมด้วยธรรมอันงาม ปรารถนาจะมีตัวเราก็ต้องปฏิบัติต่อตัวเราเช่นนี้จึงจะถูกต้อง จึงจะพอบรรเท่า

โทษของการยึดมั่นในตัวเราลงได้บ้างอุเบกขา ธรรม“อุเบกขา” เป็นธรรมในธรรมสำคัญหมวดหนึ่ง คือ “พรหมวิหาร ธรรม”

มนุษย์ก็ได้ชื่อว่าเป็นพรหม แม้มีธรรมหมวดนี้สมบูรณ์ คือมีพร้อมทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอุเบกขา หมายถึง การ

วางใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย จึงไม่หวั่นไหวด้วยความยินดีหรือความยินร้าย หวั่นไหวเพราะความยินดีแม้มากย่อมเป็น

เหตุให้ฟุ้ง หวั่นไหวเพราะความยินร้ายแม้มากย่อมเป็นเหตุให้เครียด อุเบกขาจึงเป็นธรรมโอสถเครื่องรักษาโรคทางจิตทั้งสอง คือ

โรคฟุ้งและโรคเครียด ท่านผู้มีปัญญาเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมโอสถนี้ จึงสนใจอบรมอุเบกขา เพื่อรักษาใจให้ปราศจากโรค

ให้เป็นใจที่สมบูรณ์สุขอย่างแท้จริง โรคทางจิตก็เหมือนโรคทางกาย โรคทางจิตก็เหมือนโรคทางกาย ยารักษาโรคทางจิตก็

เหมือนยารักษาโรคทางกาย ไม่ว่าจะใช้ยาวิเศษขนานใดก็ตาม ก็ต้องใช้ยานั้นให้ได้ขนาดเพียงพอกับอาการของโรค โรคทางกาย

บางโรคไม่ต้องใช้ยามากและไม่ต้องใช้นาน บางโรคต้องใช้มากและต้องใช้นาน จะใจร้อนใจเร็วให้โรคหายทันใจทุกโรคไม่ได้ แต่

โรคทางใจของคนทั่วไป ปกติต้องใช้ยามากและต้องใช้นานจึงจะใจร้อนใจเร็วให้เห็นผลเป็นความหายขาดจาก โรคหัวใจอย่างทัน

ตาทันใจไม่ได้ ต้องใช้ธรรมโอสถให้เพียงพอกับอาการของโรค เช่น โรคเครียดและโรคฟุ้งที่กล่าวแล้วว่า รักษาได้ด้วยธรรมโอสถ

คือ อุเบกขา ก็ต้องใช้ธรรมโอสถให้เพียงพอ คือ ใช้ให้มากพอและใช้ให้นานพอ จึงจะหายขาดได้จริง ยอดของพรหมวิหาร

ธรรมอุเบกขา เป็นยอดของพรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา เป็นฐาน มุทิตาเป็นตัว การจะสร้างยอดโดยไม่สร้างฐานไม่สร้างตัว

นั้นก็ก็ทำกันได้ แต่ยอดจะวางอยู่ต่ำเตี้ย ไม่มั่นคง ไม่สูงสง่า ถ้าสร้างฐานสร้างตัวเป็นลำดับขึ้นไปเรียบร้อยแล้วจึงสร้างยอด ยอด

ก็จะมั่นคง สูงเด่นเป็นสง่า ฐานของพรหมวิหารธรรม การอบรมอุเบกขาให้มั่นคง งามพร้อม จึงควรต้องอบรมพรหมวิหารธรรม

ให้สมบูรณ์เริ่มแต่ ฐาน คือ เมตตากรุณาเป็นเบื้องต้น มุทิตาเป็นลำดับไป แล้วจึงถึงอุเบกขา เช่นนี้ไม่หมายความว่าจะต้องใช้

เวลานานนักหนากว่าจะเริ่มจากฐานขึ้นไปถึงยอด เรื่องของจิตหรือเรื่องของใจเป็นเรื่องพิเศษสุด อำนาจของใจ ความเร็วของใจ

ก็เป็นความพิเศษสุดเช่นเดียวกันพรหมวิหาร ธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็เป็นเรื่องของใจ จึงมีความพิเศษสุด ผู้

มีบุญมีปัญญา มีใจเข้มแข็งมั่นคงด้วยสัจจะ สามารถอบรมพรหมวิหารธรรมตั้งแต่ฐานถึงยอดได้ในเวลารวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเนิ่น

ช้า สำคัญที่พึงต้องมีศรัทธาตั้งมั่น ว่าพรหมวิหารธรรมนี้มีคุณประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นแล้วสมเด็จพระบรมศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงแสดงไว้ว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม จึงพึงน้อมใจรับปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ใน

เรื่องการอบรมพรหมวิหารธรรมนี้ ความหมายที่แท้จริงของพรหมวิหารธรรมเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีความหมายที่แท้

จริงอย่างไร ศึกษาให้เข้าใจถูกต้องเสียก่อน อย่าให้รู้ผิด เพื่อการปฏิบัติจะได้ไม่ผิด ผลที่ตามมาจะได้ไม่ผิด เมื่อศึกษาเข้าใจ

พรหมวิหารธรรมถูกต้องพอสมควรแล้ว ให้ปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในตนให้ถูกต้อง และจะไม่ต้องใช้เวลานานเลย สำหรับการปฏิบัติ

อบรมธรรมหมวดนี้หรือหมวดใดก็ตาม แม้เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติพุ่งใจให้ตรงดิ่งลงไปในเมตตา ในกรุณา ในมุทิตา

ทุกเวลา ทุกโอกาสที่มีมา ไม่มีข้อแม้ข้อแย้งยกขึ้นเพื่อให้ใจคัดค้านไม่ยอมมีเมตตา ไม่ยอมมีกรุณา ไม่ยอมมีมุทิตา ไม่ว่าต่อผู้

ใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมิตร หรือเป็นศัตรู หรือเลือกคนดีคนชั่ว ทรงสอนให้มีพรหมวิหารเป็นที่อยู่ของใจตลอดเวลา นั่นก็คือไม่ว่า

จะพบคนดีหรือคนชั่ว พบมิตร หรือพบศัตรู พบที่ไหน เวลาใด ใจของเราต้องอยู่ในพรหมวิหารธรรมตลอดเวลาสม่ำเสมอ มี

ความเชื่ออย่างมั่นคง จะได้ผลรวดเร็ว การเชื่อพระพุทธเจ้าให้แน่วแน่มั่นคง ยอมเป็นยอมตายได้ เพื่อปฏิบัติตามที่ทรงสอนไว้

เป็นวิธีพิเศษที่จะช่วยให้การใช้ธรรมโอสถรักษาโรคทางใจได้ผลรวดเร็วทันที การเชื่อพระพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติตามที่ทรงสอนไว้

โดยไม่มีข้อคิดค้านอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ความงมงาย ไม่ใช่การแสดงความอ่อนแอไม่เป็นตัวของตัวเอง ตรงกันข้าม กลับเป็น

ความปรีชาฉลาดลึกซึ้งอย่างยากจะหาผู้ทัดเทียมได้ โทสะไม่ว่ามากหรือน้อย ดับด้วยอำนาจของเมตตา พระพุทธองค์ทรง

สอนให้เมตตา ให้กรุณา ก็ให้เมตตา ให้กรุณา อย่างเต็มเปี่ยมทั้งหัวใจ โทสะไม่ว่ามากไม่ว่าน้อยจะดับลงได้ด้วยอำนาจของ

เมตตาทันที ยิ่งทุ่มเทใจเชื่อพระพุทธเจ้า ทำตามพระองค์เต็มสติกำลัง ใจก็จะตั้งอยู่ในความไม่มีโทสะ มีแต่ความสุขสงบเย็น

สว่างไสวจนกระทั่งอาจรู้สึกเหมือนไม่มีเมตตา ไม่มีกรุณา ไม่มีมุทิตาในใจตน มีแต่อุเบกขาเท่านั้น แต่ความจริงอุเบกขานั้นพร้อม

ด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา เปรียบดังขึ้นรถด่วนที่วิ่งผ่านสถานีต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ไม่หยุดสถานีระหว่างทางเลย ไปหยุดต่อเมื่อ

ถึงสถานีปลายทาง ถึงที่หมายได้สมประสงค์ตรงสถานีปลายทางนั้น เช่นนี้ไม่หมายความว่ารถไฟไม่ได้วิ่งผ่านสถานีต่าง ๆ ใน

ระหว่างทาง รถผ่านแต่ละสถานีอย่างรวดเร็วจนยากจะสังเกตรู้ว่าเป็นสถานีใดบ้างเท่านั้นการอบรม เมตตา กรุณา มุทิตา ไปจนถึง

อุเบกขาด้วยวิธีพิเศษ คือ เชื่อพระพุทธเจ้าให้แน่วแน่มั่นคง ยอมเป็นยอมตาย เพื่อปฏิบัติตามที่ทรงสอนไว้จะได้ผลรวดเร็วดังนี้ผู้

มี เมตตา กรุณา และมุทิตา จะต้องใช้อุเบกขาแทรกไว้ทุกเวลา ผู้ยังไม่บรรลุผลสูงสุดของพรหมวิหารธรรม ยังพยายาม

ตั้งใจอบรมพรหมวิหารธรรมอยู่ ควรต้องรู้ว่า ผู้มีเมตตา กรุณา มุทิตานั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องใช้อุเบกขาแทรกไว้ทุกเวลา

เหมือนเป็นยาดำที่จำเป็นต้องแทรกอยู่ในยาดีแทบทุกขนานไม่เช่นนั้นแล้ว ยาดีที่ขาดยาดำก็จะไม่เป็นยาดีที่สมบูรณ์ และ

พรหมวิหารธรรมก็จะไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกัน เมตตาขาดอุเบกขา…ก็ผิด, กรุณาขาดอุเบกขา…ก็ผิด, มุทิตาขาด

อุเบกขา…ก็ผิดเมตตา กรุณาที่ผิด ก็เช่นปรารถนาเขาเป็นสุข พยายามช่วยให้เขาพ้นทุกข์เต็มกำลังความสามารถ เมื่อทำไม่ได้

ดังความปรารถนาก็เป็นทุกข์ เพราะไม่วางอุเบกขา เช่นนี้แหละผิด แต่ถ้าทำเต็มสติปัญญาความสามารถโดยควรแล้ว แม้ไม่เกิดผล

ดังปรารถนาก็วางอุเบกขาเสียได้ ไม่เร่าร้อนด้วยความปรารถนาต้องการจะให้สมมุ่งหมาย เช่นนี้ก็เป็นเมตตากรุณาที่ไม่ผิดมุทิตา

ความพลอยยินดีด้วยเช่นกัน มุทิตาที่ผิดก็เช่นไปพลอยยินดีด้วยกับการได้การถึงที่ไม่สมควรทั้งหลาย การได้การถึงที่ผิดที่ไม่ชอบ

เช่นนั้น ผู้มีมุทิตาที่แท้จริงในพรหมวิหารจะวางใจเป็นกลาง วางเฉยอยู่ได้ด้วยอุเบกขา ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแม้ด้วยมุทิตา ใจที่เป็น

อุเบกขา ไม่หวั่นไหวไปตามการแสดงออกภายนอก ผู้มีอุเบกขาในใจจริงนั้น การแสดงออกภายนอกเหมือนไม่มีอุเบกขาได้

เพราะผู้มีอุเบกขานั้นไม่หมายถึงว่า จะต้องไม่รับรู้ในคุณในโทษของสิ่งภายนอก ผู้มีอุเบกขาย่อมรู้ดีว่าปฏิบัติอย่างไรเป็นคุณ

ปฏิบัติอย่างไรเป็นโทษ บางทีการวางเฉยทางกายวาจา เหมือนกับใจที่วางเฉยอยู่ด้วยความสงบ ก็อาจเป็นคุณ แต่บางทีก็อาจเป็น

โทษ ฉะนั้นเมื่อการวางเฉยภายนอกจะเป็นโทษ ผู้มีพรหมวิหารธรรมข้ออุเบกขาพิจารณาเห็นแล้ว ก็ย่อมต้องแสดงออกตามความ

เหมาะความควร รักษาไว้อย่างหวงแหนที่สุดเพียงอย่างเดียว คือ ใจที่เป็นอุเบกขา ไม่หวั่นไหววูบวาบขึ้นลงไปตามการแสดงออก

ภายนอก อุเบกขาที่แท้จริง สร้างความสงบอย่างยิ่งแก่ใจ ความสงบอย่างยิ่งของใจ ย่อมมีอยู่ได้เป็นปกติ ด้วยอำนาจของ

อุเบกขาที่แท้จริงในพรหมวิหาร ผู้มีใจยังไม่เป็นอุเบกขา บางทีก็สามารถแสดงอุเบกขาให้ปรากฏภายนอกได้หลายคน เคยพูดว่า

“ฉันอุเบกขา” นั่นไม่หมายถึงว่า ผู้พูดมีใจเป็นอุเบกขาในพรหมวิหารธรรม แต่หมายเพียงการกระทำเท่านั้นที่ไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่องนั้น

เรื่องนี้เป็น เรื่อง ๆ ไป ความสงบเป็นปกติของใจด้วยอำนาจของอุเบกขาหามีไม่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ล้วนสำคัญ

อย่างยิ่ง ถ้าจะอบรมพรหมวิหารธรรม ก็อย่าเห็นว่าเมตตากรุณาเท่านั้นสำคัญ มุทิตาและอุเบกขาก็สำคัญอย่างยิ่งไม่มี เมตตา

กรุณา ก็จะมีใจโหดเหี้ยม ไม่มีมุทิตาก็จะมีความอิจฉาริษยา ไม่มีอุเบกขาก็จะไม่รู้จักวางเฉย ไม่รู้จักปล่อยวางยึดมั่นอยู่ความโหด

เหี้ยม ความอิจฉาริษยา ความยึดมั่นไม่ปล่อยวางย่อมเป็นความไม่สวยไม่งามของจิตใจ ย่อมไม่เป็นที่พึงปรารถนาฉะนั้น เมื่อ

ปรารถนาจะไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นคนโหดเหี้ยม ขี้อิจฉาริษยา หรือไม่ปล่อยวาง ก็ต้องอบรมพรหมวิหารธรรม เพื่อให้จิตพ้นจากสภาพ

ที่ไม่งดงาม ไม่เป็นที่พึงปรารถนาดังกล่าว ผู้ปรารถนาให้ตนเองมีจิตใจสูง มีจิตใจเย็น ต้องอบรมพรหมวิหารธรรมให้

สมบูรณ์ บริบูรณ์ ผู้ปรารถนาให้ตนเองมีจิตใจสูง มีจิตใจดี มีจิตใจเย็นสบาย ไม่มีโทสะ ไม่มีพยาบาท ไม่มีอิจฉาริษยา ควร

ต้องอบรมพรหมวิหารธรรมให้สมบูรณ์บริบูรณ์อย่าได้ว่างเว้น โอกาสที่จะแผ่เมตตามีอยู่ทุกเวลา มีสติระวังให้มีอุเบกขาไปพร้อมกัน

ด้วย ก็จะเป็นพรหมวิหารธรรมที่ถูกต้อง สมบูรณ์ บริบูรณ์ ที่จะให้คุณแก่เจ้าตัวเต็มที่ก่อนให้แก่ผู้อื่น

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/1971—4

. . . . . . .