ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ตน อันเป็นที่รักยิ่งของตน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

1. จิตของบัณฑิต ย่อมไม่หวั่นไหว บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญ

พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า “ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและ

สรรเสริญ ฉันนั้น” พระพุทธองค์ทรงเปรียบบัณฑิตดังภูเขาหินแท่งทึบ เหตุด้วยบัณฑิตไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ นั่นคือ

ทรงแสดงว่าบัณฑิตมีคุณลักษณะของภูเขา คือ มีความหนักแน่น ความแข็งแกร่ง ความผนึกติดกับพื้นฐานใหญ่มั่นคง คือ ความดี

ความมีสติปัญญา“บัณฑิต” ในพระพุทธศาสนา หายถึง คนดีมีปัญญา ผู้เป็นคนดี มีปัญญาเพียงพอย่อมรู้ธรรม ย่อมเชื่อมั่นใน

กรรม ย่อมไม่หวั่นไหว เมื่อมีผู้เจรจาส่งเสริมเพื่อให้สูงขึ้นย่อมรู้ว่า “กรรม” คือ “การกระทำ” ความประพฤติปฏิบัติของตนเองเท่า

นั้นที่จะเหยียบย่ำตนให้ต่ำลงได้ หรือส่งเสริมตนให้สูงขึ้นได้ ผู้ใดอื่นหาทำได้ไม่ นินทาก็ตาม สรรเสริญก็ตาม ไม่อาจทำได้ ทั้งเพื่อ

ให้คนต่ำลงหรือสูงขึ้น สำหรับบัณฑิต นินทาและสรรเสริญจึงย่อมทำให้เกิดเมตตาในผู้นินทา และกตัญญูรู้น้ำใจผู้สรรเสริญเพียงเท่า

นั้น มิได้ทำให้หวั่นไหวแต่อย่างใด บัณฑิตเป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จิตใดที่เป็นจิตของบัณฑิต คือ ผู้มีปัญญาในธรรม

ผู้ได้ศึกษาธรรมได้ปฏิบัติธรรม ได้รับผลแห่งธรรมปฏิบัติ มีสมบัติที่เป็นธรรม คือ “ธรรมสมบัติ” จิตนั้นมีคุณลักษณะเปรียบได้ดั่ง

ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมอันผู้อยู่ในโลกจะต้องพบเป็นธรรมดา เพราะเป็นสิ่งมีประจำโลกทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว คือ

ทั้งลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ผู้มีใจเป็นบัณฑิต เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งบัณฑิต

แม้ต้องเผชิญโลกธรรมทั้ง 8 นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว ย่อมมีใจตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ความหวั่นไหว เป็น

ความผิดปกติแห่งจิตทั้งสิ้น อันความหวั่นไหวแห่งจิตนั้น เกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะเพียงเมื่อประสบโลกธรรมฝ่ายชั่ว การประสบ

โลกธรรมฝ่ายดีก็ทำให้จิตหวั่นไหวได้ ความหวั่นไหวแห่งจิต หมายถึง ความที่จิตกระเพื่อมผิดจากปกติ กระเพื่อมด้วยความเสียใจ

หรือกระเพื่อมด้วยความดีใจ เป็นความหวั่นไหวแห่งจิตทั้งสิ้น เป็นความผิดปกติแห่งจิตทั้งสิ้น และความผิดปกติแห่งจิตนั้น แม้จะเป็น

ไปในทางรื่นเริงยินดี ผู้มีปัญญาในธรรม ก็ไม่ถือเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา ผู้เสียสติหัวเราะ หรือผู้เสียสติร้องไห้ ก็คือผู้เสียสตินั่นเอง

จิตของบัณฑิต หนักแน่นดั่งภูเขาหินแท่งทึบ ความดีใจเพราะได้ประสบโลกธรรมฝ่ายดี หรือความเสียใจเพราะได้ประสบ

โลกธรรมฝ่ายชั่ว บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมไม่เห็นว่า เป็นความปกติแห่งจิต ย่อมเห็นเป็นความผิดปกติแห่งจิตทั้งสิ้น บัณฑิตผู้มีปัญญา

ย่อมมีจิตสงบตั้งมั่นอยู่ในความเป็นปกติเสมอ ดั่งภูเขาหินแท่งทึบตั้งอยู่มั่นคงเป็นปกติ ไม่สั่นสะเทือน แม้ในความกระทบกระแทก

รุนแรงไม่ว่างเว้นแห่งลมพายุใหญ่ ปัญญาเป็นรากฐานของความสงบแห่งจิต ความสงบตั้งมั่นเป็นปกติแห่งจิต มิได้เกิดจากอะไร

อื่น แต่เกิดจากปัญญา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ปัญญาที่หยั่งรู้ความจริงโดยแท้เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อบรมปัญญา

เพื่อความสงบตั้งมั่นแห่งจิต การอบรมปัญญา คือ การใช้ปัญญาให้อย่างยิ่งเสมอ จึงเป็นความจำเป็นสำหรับผู้ต้องการความสงบ

ตั้งมั่นแห่งจิต การอบรมปัญญา ก็เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูต้นไม้เล็กต้นไม้น้อยที่ปลูกอยู่แล้ว มีอยู่แล้ว ให้เจริญเติบโต ต้นหมากราก

ไม้ต้องการปุ๋ยต้องการน้ำ ปัญญาต้องการสัญญา ความจำได้หมายรู้ ต้องการสติความระลึกได้ถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดของตนและของ

คนทั้งหลาย ที่ได้พูดได้ทำได้ยินได้ฟังมาแล้วแม้นานได้ และต้องการความสม่ำเสมอ สัญญาความจำที่ดีงาม นำไปสู่ความสงบ

แห่งใจ สัญญาความจำ ต้องเป็นความจำสิ่งที่เป็นปัญญา และเป็นเหตุแห่งปัญญา เช่น คำสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นสิ่งที่เป็น

พระปัญญาในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนล้วนแต่ความดีงามเป็นปัญญาที่จะนำไปสู่ความสุขสงบ บริสุทธิ์แห่งจิตใจ สัญญา

ความจำต้องประกอบพร้อมด้วยสติ สัญญา คือ ความจำ เป็นอนัตตา คือ ไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ ปรารถนาให้

จำไว้ก็ไม่จำ ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม และความจำที่เป็นสัญญา ก็เป็นความจำตรงไป

ตรงมาทั้งชิ้นทั้งเรื่อง ดังนั้นสัญญาจึงต้องประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบพร้อมด้วยเหตุและผล สติไม่

ได้เป็นความจำแบบสัญญา“สัญญา” กับ “สติ” ต่างกันอย่างยิ่ง ความจำ คือ สัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่

ได้ ต้องลืม แต่สติความระลึกได้นั้น เมื่อตั้งสติไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล ก็จะมีสติอยู่ได้ เหตุการณ์ทั้งหลายที่ประสบพบผ่านแม้

นาน เมื่อสติระลึกได้ ก็จะระลึกได้พร้อมทั้งเหตุทั้งผลทั้งปวง สัญญาความจำกับสติความระลึกได้ มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่าง

ยิ่ง ในเรื่องเดียวกัน สัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นคุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติระลึกรู้ จึงเป็นความถูก

ต้อง และเป็นไปได้ยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญา ความจำอันเป็นสัญญานั้นมีผิด เพราะมีลืม และมีโทษเพราะไม่ประกอบพร้อม

ด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญา คือ ความไม่สงบแห่งจิต แตกต่างกับความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบพร้อมด้วย

เหตุผล ความรู้ถูกรู้ผิดอันเป็นปัญญา และปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ ความสงบแห่งจิต และจิต

ยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงใด ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น คุณที่สำคัญของปัญญา คุณที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของ

ปัญญา คือ ความเข้าใจในโลกธรรม ความเข้าใจในชีวิต ว่าเมื่อเกิดอยู่ในโลกก็ต้องพบโลกธรรมทั้ง 8 และโลกธรรมนั้นก็เช่นเดียว

กับสิ่งทั้งปวง ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา สรรเสริญและนินทา ก็เป็นโลกธรรม ย่อมต้องพบด้วยกันทุกคน พระ

พุทธเจ้ายังทรงพบ และย่อมเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาเช่นกัน บัณฑิต คือ ผู้มีปัญญา เมื่อประสบนินทาและสรรเสริญ จึงมีจิตตั้ง

มั่น ไม่หวั่นไหว ความหวั่นไหวแห่งจิต ย่อมเป็นโทษอย่างยิ่ง เมื่อเกิดแก่ผู้ใด ในขอบเขตแคบ ๆ สรรเสริญ นินทา หมายถึง

เพียงที่เกี่ยวกับตนเอง แต่กว้างออกไป สรรเสริญ นินทา หมายถึง ที่เกี่ยวกับผู้อื่นทั้งปวง ที่ตนไปได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็นด้วย ไม่ว่า

นินทาสรรเสริญจะเกี่ยวกับใคร บัณฑิตได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ย่อมไม่หวั่นไหว จิตตั้งมั่นสงบเป็นปกติอยู่ อันความหวั่นไหวของจิต

ไม่เพียงเป็นโทษแก่จิต ทำให้จิตไม่ตั้งอยู่ในความสุขสงบเท่านั้น แต่ยังเป็นโทษส่งออกปรากฏ เป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา

อีกด้วย เพราะใจที่หวั่นไหวด้วยนินทาสรรเสริญ ย่อมทำให้คิดให้พูดให้ทำไปตามอำนาจความหวั่นไหว ปรากฏเป็นความลืมตัว

ความก้าวร้าว แข็งกระด้าง ความโศกเศร้า ขาดสติ ความอ่อนแอ ความขาดเหตุผล ความเชื่อง่ายหูเบา เป็นต้น อันลักษณะเช่นนี้

ปรากฏในผู้ใด ผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่สรรเสริญโดยควร ผู้มีปัญญา พึงตามรักษาจิตไม่ให้หวั่นไหว บัณฑิตผู้มีปัญญาเข้าใจในเรื่อง

ของโลกธรรม รู้คุณของจิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม รู้โทษของจิตที่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม จึงอบรมสติอบรมปัญญา ตามรักษา

จิตทุกเวลาให้ทัน ให้พ้น ให้ไกลจากความหวั่นไหวด้วยโลกธรรม ทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายชั่ว ตั้งมั่นเป็นสุขสงบอยู่ หลักธรรมสู่ความ

เป็นบัณฑิตทางพุทธศาสนา ทางไปสู่ความเป็นบัณฑิตในพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่แล้ว คือ ทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านไปแล้ว

และทรงพระมหากรุณาแสดงไว้ในพระธรรมคำสอนทั้งปวง ยากง่ายสูงต่ำตามอัธยาศัย หัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ ที่โปรด

ประทานเป็นหลักประกาศพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันต์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชานั้น เพียงพอสำหรับความเป็นบัณฑิตในพระ

พุทธศาสนา การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม และการชำระจิตให้ผ่องใส เป็นทางปฏิบัติที่เพียงพอสำหรับความเป็น

บัณฑิตในพระพุทธศาสนา บัณฑิต หมายถึง ผู้มีปัญญา ผู้เป็นปราชญ์ บัณฑิตในพระพุทธศาสนา หรือในทางธรรม มิได้มีความ

ตรงกับคำว่า บัณฑิตที่ใช้ในทางโลก ที่หมายถึงผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ขณะที่บัณฑิตทางโลกหมายถึงผู้

มีความรู้ในวิชาการทางโลก มีวิชาทางโลกเป็นสมบัติของตน บัณฑิตทางธรรม หมายถึง ผู้มีความรู้ในทางธรรมและปฏิบัติธรรม มี

ธรรมเป็นสมบัติของตนมิใช่สักแต่เพียงรู้ธรรมด้วยการศึกษาจดจำข้อธรรมทั้ง หลายไว้ขึ้นใจเท่านั้น พูดได้สอนได้เท่านั้น แต่ต้อง

ปฏิบัติธรรมด้วยให้มีธรรมเป็นสมบัติของตนด้วย สมบัติของบัณฑิต คือ ธรรมสมบัติ การศึกษาธรรม แม้จะรอบรู้กว้างขวางเพียง

ไร ท่องจำขึ้นใจไว้ได้มากมายเพียงไหน ถ้าไม่ปฏิบัติธรรมให้เกิดขึ้นในตน ธรรมนั้นก็ยังหาใช่เป็นสมบัติของตนไม่ เช่นเดียวกับ

ความรู้วิชาการทางโลก ที่ผู้อ่านหนังสือมากมายโดยไม่เข้าใจเรื่องราว ที่เปรียบว่าอ่านเหมือนนกแก้วนกขุนทอง หัดพูด ความรู้หรือ

วิชาการในหนังสือที่อ่านนั้น ก็หาใช่สมบัติของผู้อื่นนั้นไม่ อันสมบัติของบัณฑิต ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นสมบัติของผู้ใดแล้ว

ก็จะเป็นของผู้นั้นตลอดไป ไม่มีผู้อาจช่วงชิงไปได้ ผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจใช้ประโยชน์ได้จริงในวิชาการทางโลกแล้ว วิชาการนั้นก็

จะเป็นสมบัติของผู้นั้นตลอดไป ผู้มีสมบัติของบัณฑิต มีจิตใจสงบเย็นเป็นสุข ผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจความปฏิบัติได้จริงทางธรรม ธรรมนั้นก็จะเป็นสมบัติของผู้นั้นตลอดไปไม่มีผู้อื่นใดจะมาทำให้หมดสิ้นไป ได้ ผู้เป็นเจ้าของเองก็ไม่อาจทำให้หมดไปได้

กาลเวลาก็หาอาจทำให้หมดไปได้ แม้จะมีเวลาลืมเลือนไปบ้าง แต่การทบทวนก็จะทำให้กลับฟื้นคืนจำได้จนกระทั่งข้ามภพข้ามชาติ

แล้ว ความรู้อันเป็นสมบัติของผู้ใดก็จะยังเป็นสมบัติของผู้นั้นอยู่ พึงรู้ได้เชื่อได้จากความรู้ความสามารถและจิตใจของผู้คนทั้งหลาย

ในชาตินี้ภพ นี้ ที่มีแตกต่างกันอยู่ ธรรมข้อเดียวกัน วิชาการเดียวกัน เริ่มศึกษาพร้อมกัน คนหนึ่งเข้าใจง่าย เข้าใจได้เร็ว และเข้า

ใจได้ถูกต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ มีจิตใจสงบเย็นเป็นสุข แต่อีกคนหนึ่งเข้าใจได้ยาก เจ้าใจได้ช้าปฏิบัติได้ช้า หรือปฏิบัติไม่ได้ เข้าใจ

ไม่ได้เลย มีจิตใจเร่าร้อนนี้เป็นเพราะเหตุใด ก็เพราะในคนสองคนนั้น คนหนึ่งมีวิชาธรรมะเป็นสมบัติอยู่แล้ว ด้วยการศึกษาเรียนรู้

เข้าใจและปฏิบัติมาแล้ว อาจจะในอดีตที่ใกล้หรือไกลก็ตาม เมื่อมาได้รับการทบทวนใหม่ในวิชานั้น ในธรรมะนั้น ความรู้ความเข้าใจ

ที่ได้ศึกษาอบรมมีเป็นสมบัติอยู่ก่อนแล้ว ที่ถูกกาลเวลาทับปิดไว้ ก็จะถูกเปิดออก ปรากฏขึ้นแจ่มชัดเป็นลำดับ ความเป็นบัณฑิตใน

ธรรม ย่อมประจักษ์แก่ตนเอง แม้จะมีความรู้มีธรรมที่ปฏิบัติศึกษามาก่อนแล้วในอดีตกาล แต่ถ้าไม่ได้รับการรื้อฟื้นทบทวนทำใหม่

เลยในปัจจุบันชาติความรู้ความสามารถ ที่อบรมมาในกาลก่อน ก็จะถูกกาลเวลาปิดไว้ เฉกเช่นกับมีสมบัติแม้มากมาย แต่ปกปิดไว้

สมบัตินั้นก็ย่อมไม่ปรากฏ มีก็เหมือนไม่มี ต้องเพิกเครื่องปกปิดนั้นออกเพื่อจะรวมสมบัติใหม่เข้าไว้ด้วย เพิกเครื่องปกปิดออกสมบัติ

เก่าจึงจะปรากฏ สมบัติใหม่จึงจะรวมเข้าเป็นส่วนเพิ่มพูนสมบัติเก่านั้น วิทยาการทั้งหลายและธรรมปฏิบัติก็เช่นกัน ไม่มีผู้ใดล่วงรู้

สมบัติธรรม อันเป็นสมบัติเดิมของตน ที่สะสมไว้ว่ามีมากน้อยเพียงไร เพราะถูกกาลเวลาปกปิดไว้ ต้องศึกษาปฏิบัติในปัจจุบัน จึง

จะเป็นการเปิดสมบัติเก่าให้เห็นได้ เพื่อรวมสมบัติใหม่เข้าไว้ด้วยกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว แม้เป็นสมบัติของบัณฑิต คือ เป็นธรรม

สมบัติ ก็จะปรากฏความเป็นบัณฑิตในธรรม ที่แม้อาจไม่ประจักษ์แก่ผู้อื่นไป แต่ย่อมประจักษ์แก่ใจตนเองแน่นอน

2. ปัญญามีคุณ

ประดุจแสงสว่าง“ปัญญา” มีอยู่ทั่วทุกตัวคน ทุกคนมีปัญญา แม้จะมากน้อยไม่เสมอกัน ทุกคนไม่ควรลืมความจริงนี้ ไม่ควร

ประมาทในการคิดการพูดการทำที่เกี่ยวกับทุกคน นั่นคือไม่ควรเป็นคนเชื่อง่าย หูเบา ซึ่งจะตามมาด้วยการทำตามความเชื่อ ดังนี้

ไม่เป็นการคิดการพูดการทำด้วยปัญญา เป็นการประมาทปัญญา ทั้งปัญญาตน เพราะไม่นำปัญญาตน มาใช้ประกอบความคิดการพูด

การทำ เป็นการประมาททั้งปัญญาผู้อื่น เพราะไม่ใช้ปัญญาตนพิจารณาปัญญาผู้อื่นให้รอบคอบ ปัญญาที่สมบูรณ์ มีคุณเป็นความ

สว่าง ปัญญาเป็นคุณลักษณะ เป็นลักษณะที่ดี มีคุณเป็นความสว่างความสมบูรณ์ของปัญญาคือ สัมมาปัญญาเท่านั้น ไม่มีมิจฉา

ปัญญา สัมมาปัญญา คือ ปัญญาชอบ ปัญญาก็หมายถึงปัญญาชอบเช่นกัน ผู้มีเล่ห์เหลี่ยม ใช้เล่ห์เหลี่ยม ไม่ใช่ผู้มีปัญญา ใช้เล่ห์

เหลี่ยมไม่เรียกว่าใช้ปัญญา ผู้มีปัญญาน้อย เป็นผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมมาก ผู้มีปัญญาน้อย เป็นผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมมาก เพราะผู้มีปัญญา

น้อยเป็นผู้อยู่ในความมืดมากกว่าอยู่ในความสว่าง จึงไม่เห็นถูกต้องสมควร ว่าการใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่วิธีของคนดี

มีปัญญา“การใช้เล่ห์เหลี่ยม” เป็นการประมาทปัญญา เป็นหนทางแห่งความตาย อาจทั้งด้วยสิ้นชีวิตและด้วยสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ

ผู้มีปัญญามาก รังเกียจการใช้เล่ห์เหลี่ยม ผู้มีปัญญามาก เป็นผู้ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยม เพราะผู้ปัญญามากไม่จำเป็นต้องใช้เล่ห์เหลี่ยม

อันเป็นกลโกง เป็นความไม่สุจริต ผู้มีปัญญาสามารถใช้ปัญญาแก้ไขจัดการเรื่องราวทั้งหลายให้เป็นไปได้อย่างถูก ต้องด้วยดี ผู้มี

ปัญญารังเกียจเล่ห์เหลี่ยม ไม่ยินดีที่จะใช้เล่ห์เหลี่ยม แต่รู้จักเล่ห์เหลี่ยม เพราะปัญญาเป็นแสงสว่าง ย่อมนำให้รู้ ให้เห็นให้เข้าใจทุก

สิ่งทุกอย่างได้ชัดเจน มากน้อยตามความมากน้อยของปัญญา ผู้ไม่เห็นความสำคัญของปัญญา จึงไม่ปรารถนาปัญญา และไม่

อบรมปัญญา ผู้ใดชอบใช้เล่ห์เหลี่ยมอันเป็นความไม่ดี ไม่ชอบ ใช้ปัญญาอันเป็นความดี พึงรู้ได้ว่า ผู้นั้นเป็นผู้ประมาทปัญญา ไม่

เห็นความสำคัญของปัญญา จึงไม่ปรารถนาจะมีปัญญา ไม่อบรมปัญญาทั้งยังประมาทปัญญาตน ไม่เห็นความสำคัญของปัญญาที่ตน

มีอยู่ จึงไม่พยายามนำปัญญานั้นออกใช้ และประมาทปัญญาผู้อื่น ไม่คิดว่าผู้อื่นมีปัญญาพอจะรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ ของตน

ความประมาทนี้ ล้วนเป็นทางแห่งความตายทั้งสิ้น เพราะการใช้เล่ห์เหลี่ยมนั้นย่อมีผู้มีปัญญารู้ทัน ๆ ย่อมรังเกียจผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยม จึง

ย่อมต้องตายจากชื่อเสียงเกียรติยศนั้นแน่นอน ปัญญาในการเอาชนะกิเลส ปัญญาที่ไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง คือ ปัญญาในการ

เอาชนะกิเลส หนีไกลจากกิเลส ไม่ให้กิเลสชนะ การชนะกิเลสได้ครั้งหนึ่ง ก็คือ การก้าวไกลจากกิเลสได้ช่วงหนึ่ง ถ้าเอาชนะกิเลส

ได้หลายครั้งติดกัน ก็จะก้าวไกลจากกิเลสได้หลายช่วง จะไกลกิเลสได้เป็นอันมาก และแม้เอาชนะกิเลสได้ทุกครั้ง ก็จะก้าวไกลกิเลส

ได้ตลอดไป ถ้าไม่ใช่ปัญญาให้ดี เมื่อนั้นก็จะพ่ายแพ้แก่กิเลส กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นมีฤทธิ์ร้ายแรง

มาก ดังนั้นเมื่อใดประมาทปัญญา คือไม่ใช้ปัญญาให้ดี เมื่อนั้นก็จะพ่ายแพ้แก่กิเลส ไม่อาจเอาชนะกิเลสได้ ไม่อาจก้าวไกลจาก

กิเลสได้ ประมาทปัญญาเพียงไร พ่ายแพ้แก่กิเลสเพียงนั้น จะอยู่ใกล้กิเลสเพียงนั้น กิเลสจะให้โทษแก่จิตใจรุนแรงเพียงนั้น ความ

ประมาทปัญญาที่สำคัญยิ่ง คือ ความคิดว่าไม่อาจเอาชนะกิเลสได้ ไม่อาจก้าวไกลจากกิเลสได้ เมื่อจะโลภก็ต้องโลภ เมื่อจะโกรธก็

ต้องโกรธ เมื่อจะหลงก็ต้องหลง ผู้มีปัญญา ย่อมมีสติรู้ทันกิเลสทั้งปวง เมื่อความโลภเกิดขึ้น แม้มีสติรู้ว่าความโลภเกิดแล้ว ผู้

ประมาทปัญญาอย่างยิ่ง ย่อมไม่ใช้ปัญญาพยายามเอาชนะความโลภ ย่อมยอมโดยดีให้ความโลภเป็นฝ่ายชนะประชิดติดใจอยู่ ใจจึง

ไม่อาจไกลจากกิเลสได้ตามสมควร เมื่อความโลภเกิดขึ้น ผู้ไม่ประมาทปัญญาย่อมมีสติเกิดทัน ย่อมใช้ปัญญาเต็มที่ หนีไกลจาก

ความโลภอันเป็นเครื่องเศร้าหมอง ผู้มีปัญญารู้ว่ากิเลสทั้งปวงเป็นเครื่องเศร้าหมอง ผู้มีปัญญาทุกคนรู้ว่า ทั้งความโลภ ทั้ง

ความโกรธ ทั้งความหลง เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทุคนมีปัญญา ทุคนจึงรู้เช่นนี้ แต่เมื่อรู้แล้ว ผู้ไม่ประมาทปัญญาเท่านั้นที่

จะใช้ปัญญาคิดว่า สิ่งใดเป็นความเศร้าหมอง ไม่ควรเข้าใกล้สิ่งนั้น ไม่ควรให้สิ่งนั้นเข้าใกล้ ควรหลีกหนีให้สุดความสามารถเสมอ

ถือพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง ทรงหนีกิเลสได้ไกลแล้วจริง พระผู้ทรงห่างไกลจากกิเลสแล้วจริง พระพุทธเจ้าทรงได้รับถวายพระ

นามว่าอรหันต์ ซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นผู้ไกลกิเลสแล้วจริง พระพุทธสาวกทั้งหลายที่ได้รับ ถวายนามว่า พระอรหันต์ ก็เป็นผู้ไกล

กิเลสแล้วจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นที่เทิดทูนศรัทธาอย่างยิ่งจริงก็เพราะความทรงเป็นผู้ไกลกิเลสแล้ว จริง พระ

อรหันตสาวกเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา ก็เพราะความเป็นผู้ไกลกิเลสแล้วจริง ความไกลกิเลสจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผู้ไม่

ประมาทปัญญาพึงอบรมปัญญาเต็มความสามารถ เพื่อได้เป็นผู้ไกลกิเลสได้มากเป็นลำดับไป จนถึงได้เป็นผู้ไกลกิเลสจริงในวันหนึ่ง

ปัญญาที่ประกอบด้วยศรัทธาต่อพระพุทธองค์ ทำให้ไกลจากกิเลสได้จริง พ้นทุกข์ได้จริง กิเลสคือความโลภนั้น ผู้ไม่

ประมาทปัญญาย่อมบิดเบือนความรู้ความเข้าใจของตนให้ผิดจากความถูกต้อง คือ รู้แก่ใจว่า ความโลภเป็นความไม่ดี แต่บิดเบือน

ความรู้นั้นที่ว่า ความรู้สึกอยากได้ที่เกิดขึ้นในใจตนไม่ใช่ความโลภ จึงไม่ใช่เป็นความไม่ดี เมื่อบิดเบือนความจริงเสียเช่นนี้ ก็เท่ากับ

ประมาทปัญญา ไม่ใช้ปัญญาหลีกให้พ้นความโลภแม้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ย่อมตายเพราะความประมาทปัญญาเช่นนี้ ดังมีตัวอย่าง

ปรากฏอยู่ไม่ว่างเว้น การคดโกงปล้นจี้ลักขโมยล้วนเกิดแต่ความโลภ และความโลภนี้เกิดจากความประมาทปัญญา ที่ทำให้สิ้นชีวิต

ติดคุกติดตะรางบ้าง เป็นทั้งความตายอย่างสิ้นชีวิต ทั้งความตายอย่างสิ้นชื่อเสียงเกียรติยศ ผู้ประมาทปัญญาพยายามบิดเบือนความ

โลภ ว่าไม่เป็นความโลภ แต่มิใช่ว่าจะสามารถบิดเบือนโทษของความโลภให้เป็นคุณของความไม่โลภได้ไม่ ความโลภต้องให้โทษ

ความไม่โลภต้องให้คุณ แน่นอนเสมอไป ผู้มีปัญญา ยอมรับความโลภเป็นความโลภ ย่อมไม่ได้รับโทษของความโลภนั้น ผู้

ไม่ประมาทปัญญา ย่อมรับความโลภเป็นความโลภ ย่อมไม่ได้รับโทษของความโลภ เพราะเมื่อยอมรับว่าเป็นความโลภ ก็ย่อมรู้ว่ามี

โทษ จึงเป็นธรรมดาย่อมใช้ปัญญาหลีกไกลความโลภ เพื่อให้ไกลจากโทษของความโลภนั้น ไม่ต้องร้อน ไม่ต้องถูกเผาผลาญ

เพราะโทษนั้น

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/2222-2010-05-19-06-55-55

. . . . . . .