อังคุลิมาลปริตรบรรยาย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อังคุลิมาลปริตรบรรยาย

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๒ ฉบับที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑

จะเล่าตำนานที่ ๗ ประกอบด้วยอังคลิมาลปริตร และโพชฌังคปริตร ๒ พระปริตร และอันที่จริงก็ ๒ ตำนาน แต่ว่าเพราะบท

สวดเป็นบทสวดสั้นไม่ยาว จึงใช้สวดรวมกันคือต่อกันไป และก็นับเป็นตำนานเดียว เพื่อให้ตัวเลขเป็นเลข ๗ หรือ ๗ ตำนาน

สำหรับอังคุลิมาลปริตร คือพระปริตรชื่อว่าอังคุลิมาล หรือ องคุลิมาล ได้มาจากอังคุลิมาลสูตร พระสูตรเกี่ยวแก่เรื่องพระองคุลิ

มาล อันมีมาในพระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกมัชฌิมนิกาย คือเป็นพระสูตรขนาดปานกลาง มีความว่า

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอารามของอนาถปิณฑิกคหบดี อันชื่อว่าเชตวัน ในกรุงสาวัตถี สมัยนั้นได้มีโจรชื่อว่าองคุ

ลิมาล ในแว่นแคว้นโกศลของพระเจ้าโกศล เป็นโจรที่ดุร้าย มือเปื้อนเลือดฆ่าฟันประหัตประหารมนุษย์ทั้งหลาย โดยที่ไม่มีความ

เอ็นดูในหมูมนุษย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ชาวบ้าน ชาวอำเภอ ชาวชนบทต้องพากันอพยพทิ้งถิ่นที่อยู่ ไปอาศัยอยู่ในที่อื่น องคุลิมาล

โจรนั้นฆ่ามนุษย์ทั้งหลาย แล้วก็ตัดเอานิ้วมาร้อยเป็นพวง เรียกว่าพวงแห่งนิ้วมือ สวมคอ จึงเรียกว่าองคุลิมาล ผู้แปลว่ามีพวงของ

นิ้วมือ ยังไม่มีใครปราบได้

สมัยนั้น วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคทรงเข้าไปบิณฑบาตในเวลาเช้า กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต คือเสวยเสร็จแล้ว ก็ทรงเก็บ

เสนาสนะ เก็บบาตรจีวร เสด็จเดินทางออกไปพระองค์เดียว ยังถิ่นที่องคุลิมาลอาศัยอยู่ พวกคนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนาและ

คนที่ทำงานในทางที่เสด็จผ่านไป ได้เห็นพระองค์เสด็จผ่านไปสู่ทิศทางขององคุลิมาล ก็ได้กราบทูลห้าม ขอมิให้เสด็จไปในทางนั้น

เพราะองคุลิมาลนั้นจะฆ่ามนุษย์ทั้งหลายไม่เลือก ตัดเอานิ้วมาร้อยเป็นพวงมาลาดังกล่าว แม้ว่าจะชักชวนกันเดินทางไปสัก ๑๐ คน

๒๐ คน ๓๐ คน ก็ยังต้องตกอยู่ในเงื้อมมือขององคุลิมาลโจร พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่งแล้วก็เสด็จต่อไป ผู้คนทั้งหลายก็ได้กล่าวห้าม

พระองค์อีกเป็นครั้งที่สอง ทรงนิ่งแล้วก็เสด็จต่อไปอีก เป็นครั้งที่สาม พระองค์นิ่งแล้วก็เสด็จต่อไป

ครั้นเสด็จเข้าไปถึงถิ่นองคุลิมาลโจร องคุลิมาลโจรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงคิดว่า อัศจรรย์หนอที่สมณะนี้

เดินมาผู้เดียวไม่มีเพื่อน ชะรอยว่าจะมาข่มเรากระมัง คนทั้งหลายแม้ตั้งหลาย ๆ สิบคนชวนกันเดินทางมาทางนี้ ก็ยังตกอยู่ในเงื้อม

มือของเรา ไฉนเราจะต้องปลงชีวิตของสมณะนี้ องคุลิมาลโจรจึงได้ผูกสอดธนูศรถือเอาแผ่นหนังติดตามไปเบื้องหลังพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้เสด็จดำเนินไปตามปกติ

ส่วนองคุลิมาลโจรนั้นได้รีบเร่งไปด้วยกำลังทั้งสิ้น คือว่าวิ่งกวดเพื่อที่จะให้ทันพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ไม่อาจที่จะทันได้ องคุลิมาล

โจรจึงคิดว่า น่าอัศจรรย์ที่เมื่อก่อนนี้ เราติดตามช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้างที่วิ่งไป เราติดตามแม้เนื้อบ้าง ที่วิ่งไป เราก็ยังวิ่งตามทัน จับ

ช้าง จับม้า จับเนื้อ จับรถเหล่านั้นได้ แต่ว่าสมณะนี้ก็เดินไปโดยปกติ เราตามไปด้วยกำลังทั้งสิ้น คือวิ่งกวดจี๋ไปด้วยกำลังทั้งหมดก็ไม่

อาจที่จะทันได้ จึงได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุดสมณะ หยุดสมณะ

พระองค์ก็ตรัสตอบว่า เราหยุดแล้วองคุลิมาล ท่านจงหยุด

ฝ่ายองคุลิมาลโจร เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสนั้น จึงคิดว่า สมณะศากยบุตรเหล่านี้เป็นผู้มีสัจวาจา มีสัจปฏิญญาณ แต่ว่าสมณะนี้กำลัง

เดินไปอยู่กลับกล่าวว่า เราหยุดแล้วองคุลิมาล แต่ว่าท่านจงหยุด เราจะต้องถามสมณะนี้ องคุลิมาลโจรจึงได้ถามขึ้นว่า ท่านเดิน

ไปอยู่ กล่าวว่าเราหยุดแล้ว และกล่าวแก่เราซึ่งยังไม่หยุด ให้หยุด เราขอถามเนื้อความนี้กับท่าน ท่านหยุดแล้วอย่างไร เราไม่หยุด

แล้วอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสตอบว่า ดูก่อนองคุลิมาล เราหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ คือเราวางอาชญาท่อนไม้ ศาสตราวุธ ในสัตว์ทั้ง

หลายทั้งปวง ส่วนท่านยังไม่สำรวมแล้วในสัตว์ทั้งหลาย คือยังฆ่าสัตว์ ยังทำร้ายทำอันตรายหมู่สัตว์ หมู่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

เราจึงเป็นผู้หยุดแล้วแต่ว่าท่านยังไม่หยุด

องคุลิมาลโจรได้กล่าวว่า ท่านสมณะ ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ต้องการจะเกื้อกูลแก่เราตลอดกาลนานจึงได้มาปรากฏในป่า

ใหญ่ เรานั้นจะละบาป ประพฤติเพราะได้ฟังถ้อยคำของท่านอันประกอบด้วยธรรม องคุลิมาลโจรจึงได้ทิ้งแผ่นหนังอาวุธลงในเหว

และก็ได้เข้าไปกราบพระบาทพระสุคตพุทธเจ้าได้กราบทูลขอบรรพชากับพระองค์ในที่นั้นนั่นแหละ

พระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเป็นพระศาสดาของโลกพร้อมทั้งเทวโลกได้ตรัสในกาลนั้น

แก่องคุลิมาลว่า เอหิภิกขุ เธอจงเป็นภิกขุมาเถิด

องคุลิมาลโจรนั้นจึงได้เป็นภิกขุภาวะขึ้น ทรงภิกขุภาวะขึ้น คือเป็นภิกษุขึ้นแล้วด้วยพระวาจานั้น ในขณะนั้นทีเดียว พระผู้มีพระภาค

ได้ทรงมีท่านพระองคุลิมาลซึ่งได้มาเป็นภิกษุแล้ว เป็นปัจฉาสมณะ คือเป็นผู้ตามหลัง เสด็จกลับไปสู่กรุงสาวัตถี

ในครั้งนั้นหมู่แห่งมหาชนได้พากันมาประชุมที่บริเวณทวารพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล พากันส่งเสียงร้องอื้ออึงกราบทูลว่า

โจรชื่อองคุลิมาลได้บังเกิดขึ้นในแว่นแคว้นของพระองค์ เป็นโจรที่ดุร้ายฆ่าฟันมนุษย์ปราศจากความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย คนทั้ง

หลายต้องพากันทิ้งบ้านทิ้งนิคมชนบท ไปอยู่ในที่อันปลอดภัย องคุลิมาลโจรนั้นฆ่ามนุษย์แล้วก็ตัดนิ้วมาร้อยเป็นพวง ขอพระองค์จง

ทรงกำจัดองคุลิมาลนั้น

ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้เสด็จออกจากกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยพลม้าประมาณ ๕๐๐ แต่เวลายังวัน จึงได้เสด็จไปสู่พระอารามคือ

พระเชตวันอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า ได้เสด็จลงจากพระราชยานเสด็จด้วยพระบาทไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้า

พระบรมศาสดาพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า พระเจ้ากรุงมคธทรงทำให้พระองค์ขัดเคืองพระทัยหรือ เจ้า

ลิจฉวลี เมืองเวสาลีทั้งหลาย หรือว่าพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์องค์อื่นได้ทำให้พระองค์ทรงขัดเคืองจึงได้เสด็จยกพลม้าไปจำนวนมาก

ดั่งนี้

พระเจ้าปเสนทิโกศลก็กราบทูลให้ทรงทราบว่า พระราชาจอมทัพแห่งมคธคือพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น หาได้ทำให้ทรงขุ่นเคืองพระทัย

ไม่ แต่ว่าได้มีโจรบังเกิดขึ้นในแว่นแคว้น ชื่อว่าองคุลิมาล ประชาชนก็พากันมาร้องขอให้พระองค์เสด็จไปทรงปราบปราม พระองค์จึง

ได้ทรงยกพลม้าจำนวนมากเสด็จออกไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าหากว่าพระองค์พึงทอดพระเนตรเห็นองคุลิมาลปลงผมหนวด ครองผ้ากาสา

ยะ ออกบวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนจากเรือน เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากมุสาวาท ฉันภัตตาหารหนเดียว

เป็นพรหมจารี เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีกัลยาณธรรมคือธรรมอันงาม พระองค์จะพึงทำอย่างไร

พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ตรัสว่า ข้าพเจ้าก็จะพึงอภิวาท พึงต้อนรับ พึงเชื้อเชิญนิมนต์ พึงบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลาย และพึงจัดแจง

อารักขาคุ้มครองอันประกอบด้วยธรรม แต่ว่าความสำรวมด้วยศีลเห็นปานนั้นจะมีแก่คนทุศีลมีบาปเช่นนั้นได้จากไหน

ในขณะนั้นท่านพระองคุลิมาลได้นั่งอยู่ที่ไม่ไกลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกพระพาหาเบื้องขวาตรัสชี้ไปว่า

ดูก่อนมหาบพิตรนั่นแหละองคุลิมาล

ความกลัวความหวาดเสียว ความขนพองได้บังเกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลในขณะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่าขอพระองค์อย่าได้ทรงกลัว ไม่มีภัยจากบุคคลผู้นี้แล้ว ในขณะนั้นความกลัวของพระเจ้าปเสนทิโกศล

จึงได้สงบไป

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้เสด็จไปยังพระองคุลิมาลตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าคือองคุลิมาลหรือ

ท่านก็ทูลว่า ขอถวายพระพรจึงตรัสถามว่า ท่านบิดาของท่านมารดาของท่านมีโคตรว่าอย่างไร

ท่านก็ทูลว่าบิดาชื่อคัคคะ มารดาชื่อมันตานี

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตรจงอภิรมย์เบาใจเถิด พระองค์จะทรงเป็นโยมอุปัฏฐากถวายปัจจัยทั้ง

หลาย ?ในสมัยนั้นท่านพระองคุลิมาลได้ปฏิบัติในธุดงควัตรคืออยู่ป่า เที่ยวบิณฑบาต ทรงผ้าบังสุกุลและถือจีวร ๓ ผืน จึงได้ทูลว่า

ไตรจีวรของท่านบริบูรณ์แล้ว ?พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ได้ตรัสว่า เป็นอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าได้ทรงฝึกบุคคลที่มิได้ฝึกแล้ว ได้ทรงทำให้สงบซึ่งบุคคลที่ยังไม่สงบ ได้ทรงทำให้ดับกิเลสแก่บุคคลที่ยังมีกิเลสไม่ดับหรือ

ยังมิได้ดับกิเลส แต่ว่าข้าพเจ้านั้นไม่อาจแม้เพื่อจะฝึกด้วยท่อนไม้หรืออาชญาบ้าง ด้วยศาสตราบ้าง ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง

ฝึกแล้วโดยมิต้องใช้ท่อนไม้ มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตราวุธ แล้วก็ได้ทราบทูลลาพระพุทธเจ้าเสด็จกลับออกไป

ในสมัยนั้นพระองคุลิมาลได้เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งมีครรภ์แก่เดินไปอยู่ จึงคิดว่าสัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง

หนอ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองหนอ ครั้นท่านกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัตแล้ว จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้ทรง

ทราบ ?พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า ดูก่อนองคุลิมาล เธอจงเข้าไปส่งที่ ๆ หญิงนั้นอยู่ ดังกล่าวอย่างนี้แก่หญิงนั้นว่า ยโตหํ ภคินิ

ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ เป็นต้น ที่แปลความว่า ดูก่อนน้องหญิง เราเกิดแล้ว จำเดิมแต่เราเกิดแล้วเราย่อมไม่รู้จงใจปลงชีวิตสัตว์

ด้วยสัจจะนั้น ความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์คือแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์

ท่านพระองคุลิมาลจึงกราบทูลว่า ถ้าข้าพระองค์จะกล่าวอย่างนั้นว่าจำเดิมแต่ข้าพระองค์เกิดแล้ว ไม่รู้จงใจปลงชีวิตสัตว์มีชีวิต ก็จะ

เป็นการกล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะว่าข้าพระองค์ได้จงใจปลงชีวิตสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นก็จงกล่าวอย่างนี้ว่า ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่เราเกิด

แล้วในอริยชาติหรือโดยอริยชาติ เราไม่รู้จงใจปลงชีวิตสัตว์ ด้วยสัจจะนั้น ความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ความสวัสดีคงมีแก่ครรภ์คือแก่

สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ??ท่านพระองคุลิมาลได้กราบทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้าดั่งนี้ และก็ได้เข้าไปสู่ยังที่ ๆ หญิงนั้นอยู่

และก็ได้กล่าวพระพุทธพจน์ที่ทรงสอนให้กล่าวนั้นว่า ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปตา

เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส ดูก่อนน้องหญิงจำเดิมแต่เราเกิดแล้วโดยอริยชาติ เราไม่รู้จงใจปลงชีวิตสัตว์ ด้วยสัจจะนี้

ความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์คือสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ครั้งนั้นความสวัสดีก็ได้มีแล้วแก่หญิงนั้น ความสวัสดีก็ได้มี

แล้วแก่ครรภ์คือสัตว์ผู้เกิดในครรภ์

ท่านพระองคุลิมาก็ได้เป็นผู้หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว มีความไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งตนไปด้วยความปฏิบัติเพื่อสิ้น

กิเลสอยู่ในอิริยาบถทั้ง๔ ก็ได้บรรลุถึงที่สุดพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนพึงเข้าถึง โดยกระทำให้

แจ้ง ก็ได้รู้ว่าชาติพ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่พึงกระทำได้กระทำแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงกระทำเพื่อความเป็นดั่งนี้อีก

http://www.watpanonvivek.com/index.php/section-table/2012-07-14-12-23-28/2391-2010-06-06-18-46-19

. . . . . . .