คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

รวมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ

เรือของธรรมลอยลำสบายมา…ท่ามกลางห่าฝนไฟได้เยือกเย็น

ความเอ๋ย ความสุข
ใคร ๆ ทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา
แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ

ถ้าเราเผา ตัวตัณหา ก็น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็ “สุก” หรือเกรียมได้
เขาว่าสุข สุขเน้อ! อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย

*****************

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง

คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย

ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ
ขอให้จับหนูได้ก็พอ

ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น
ในโลกกลมๆ ใบนี้ ไม่มีคำว่า แน่นอน

คนเราเมื่อ ตัวตาย ก็ต้องลงดิน
ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย
อิจฉาได้ แต่อย่าริษยา
พักได้ แต่อย่าหยุด
เหตุผลของคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่ของคนอีกคนหนึ่ง
ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้ได้เลยว่า ข้างหน้าเป็นอย่างไร

หนทางอันยาวไกลนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นด้วยก้าวแรกก่อนเสมอ
ปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น
จะเห็นค่าของความอบอุ่น เมื่อผ่านความเหน็บหนาวมาแล้ว

อันตรายที่สุดคือ การคาดหวัง

เริมต้นดีแล้ว ลงท้ายก็ต้องดีด้วย
อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่
จงใช้สติ อย่าใช้อารมณ์

เบื้องหลังความเข้มแข็ง สมควรมีความอ่อนโยน

ไม่มีคำว่าบังเอิญ ในเรื่องของความรัก
มีแต่คำว่า ตั้งใจ

ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป
หลังพายุผ่นไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ
หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่าปัญหานั้นเล็กนิดเดียว

ไม่เป็นขุนนางนะได้ แต่ไม่เป็นคนไม่ได้
มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง
เมื่อวานก็สายเกินแล้ว พรุ่งนี้ก็สายเกินไป

อย่าหวังว่าจะได้รับความรัก จากคนที่คุณรัก
เพราะคนที่คุณรัก ไม่ได้รักคุณหมดทุกคน

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคมพ.ศ. 2449 – 8 กรกฎาคมพ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน

ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลาราม เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรมเทศนา และในรูปงานเขียน โดยท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็น พุทธะ ศาสนา อย่างแท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกมากมายจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ทั้งเรื่องพุทธพาณิชย์ เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลัทธิพราหมณ์ เรื่องความยึดมั่นถือมั่นในบุญบาป เรื่องความหลงใหลในยศลาภของพระสงฆ์ และเรื่องปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย ท่านพุทธทาสภิกขุมุ่งชี้ให้ชาวพุทธทั้งหลายเห็นถึงมิจฉาทิฐิและสีลัพพตปรามาสเหล่านี้เสมอมา ทำให้หลายคนขนานนามท่านพุทธทาสภิกขุว่าเป็น พระผู้ปฏิรูป แต่แท้จริงแล้ว คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่มีอะไรนอกเหนือไปกว่าความจริงอันสูงสุดที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเลย เพียงแต่ระยะเวลาอันยาวนานได้ทำให้ความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนแปรหรือถูกเบี่ยงเบนไป ท่านพุทธทาสภิกขุจึงทำหน้าที่เสมือนผู้กลั่นให้พระพุทธศาสนากลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง

http://www.atthaikorat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539170191

. . . . . . .