“ยูเนสโก”ยกย่อง”ท่านพุทธทาส” 1ใน63บุคคลสำคัญของโลก

“ยูเนสโก”ยกย่อง”ท่านพุทธทาส” 1ใน63บุคคลสำคัญของโลก

(หมายเหตุ) – การประชุมสมัยสามัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา พิจารณาการยกย่องเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2549-2550 รวม 63 คน/สถาบัน รวมถึงท่านพุทธทาสภิกขุ

บุคคลและสถาบันที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบปีต่างๆ ระหว่างปี 2549-2550 จำนวน 63 ท่าน/สถาบัน

1.ไฮน์ริช ไฮน์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
2.ดีทริช บอนฮอฟเฟอร์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
3.แบร์โธลต์ เบรชต์ (เยอรมนี) เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
4.ยีน คาร์ซู (การ์นิก ซูลูเมียน) (อาร์เมเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
5.โนราอีร์ ซีซาเกียน (อาร์เมเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
6.โวฟ์ลกัง อมาเดอุส โมซาร์ต (ออสเตรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 250
7.ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (ออสเตรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
8.เบอร์ธา ฟอน ซุตต์เนอร์ (ออสเตรเลีย) เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการรับรางวัลโนเบล

9.เลทิฟ เคริมอฟ (อาเซอร์ไบจาน) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
10.นโปเลียน ออร์ดา (เบลารุส) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 200
11.แลมเบิร์ต ลอมบาร์ด (เบลเยียม) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 500
12.พระราชาธิบดี จีเบฮันซิน แห่งอาบอร์นีย์ (เบนิน) เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการสิ้นชีพิตักสัย
13.มาริน ดรีนอฟ (บัลแกเรีย) เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
14.เอมิเลียน สตาเนฟ (บัลแกเรีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
15.นิโกลา เทสลา (โครเอเชีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
16.ดรากูติน กอราจ์โนวิช ครัมเบอร์เกอร์ (โครเอเชีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
17.วลาดิเมียร์ เปรล็อก (โครเอเชีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
18.อาเลฮันโดร การ์เซีย คาตูร์ลา (คิวบา) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
19.ฮอร์เก้ อิคาซา (เอกวาดอร์) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
20.วาระครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (สเปน)
21.วาระครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งรัสเซีย (รัสเซีย)
22.วาระครบรอบ 200 ปี แห่งการก่อตั้ง “เดอะ มอสโก เครมลิน” พิพิธภัณฑ์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แห่งรัฐ (รัสเซีย)
23.วาระครบรอบ 150 ปี ของการก่อตั้งเทรติยาคอฟ แกลเลอรี (รัสเซีย)
24.จอร์จ-หลุยส์ เลอแคลร์ หรือที่รู้จักกันในนาม “บุฟฟอน” (ฝรั่งเศส) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 300
25.ปอล เซซานน์ (ฝรั่งเศส) เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
26.ไอรีน โจลัวต์ คูรี (ฝรั่งเศส) เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
27.วาระครบรอบ 1,500 ปี ของการก่อสร้างคริสตจักร ยวารี แห่ง มิตสกีทา (จอร์เจีย)
28.วาระครบรอบ 900 ปี ของการก่อสร้างมหาวิหารเกลาติ (จอร์เจีย) ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม
29.เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการเริ่มงานวิจัยภาคสนามของบาร์ท็อก และ โคดาลีย์ เพื่อการจัดเก็บรวบรวมดนตรีพื้นเมืองเดิมอย่างเป็นระบบ (ฮังการี)
30 คลอดิโอ มอนติแวร์ดี้ (อิตาลี) เนื่องในวาระครบรอบ 400 ปี ของการเปิดการแสดงละครโอเปร่าเรื่อง ออร์ฟีโอ เป็นครั้งแรก
31.คาร์โล โกลโดนี่ (อิตาลี) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 300
32.ลูชิโน วิสคอนติ (อิตาลี) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
33.ฮิเดกิ ยูกาว่า (ญี่ปุ่น) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
34.อาอิชาห์ อัล-บาอูนิเยห์ (จอร์แดน) เนื่องในวาระครบรอบ 500 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
35.อัคห์เมต ซูบานอฟ (คาซักสถาน) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
36.อัคซาห์น ซักห์ซิบีคูลี มาชานี (คาซักสถาน) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
37.อับดีลัส มัลดีบาเยฟ (คีร์กิซสถาน) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
38.เนื่องในวาระครบรอบ 800 ปี ของการก่อตั้งเมืองเซซิส ซิตี้ (แลตเวีย)
39.เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการประชุม สมัชชานักเขียน และศิลปินนิโกรระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก (มาลี)
40.เบนิโต ฮัวเรซ (เม็กซิโก) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 200
41.ดานซันราฟยา ดัลดูอิทีน (มองโกเลีย) เนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
42.วาระครบรอบ 100 ปี ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีฟนิ่ง คลาสเซส ใน แอฟริกาตะวันตก (ไนจีเรีย)
43.อัล คาลิล บิน อาเหม็ด อัล ฟาราฮิดี (โอมาน) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 1,300
44.วาระครบรอบ 2,750 ปี ของการก่อตั้งเมืองซามาร์คันด์ (อุซเบกิสถาน)
45.วาระครบรอบ 2,000 ปี ของการก่อตั้งเมืองมาจิลัน (อุซเบกิสถาน)
46.โจเซฟ คอนราด คอร์ซิเนียฟสกี้ (โปแลนด์) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
47.เจอร์ซี กีโดรยิช (โปแลนด์) เรื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
48.วาระ 100 ปี ของการก่อตั้งเมื่อ เอ็มบานดากา และสวนสัตว์ “เดอะ ซู” และสวนพฤกษศาสตร์แห่งอีอาลา (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก)
49.ยีรี่ โจเซฟ คาเมล (สาธารณรัฐเช็ก) เนื่องในวาระครบรอบ 300 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
50.วาระครบรอบ 150 ปี ของการก่อตั้งโรงเรียนมัธยมแห่งกลาสส์เมกิ้ง ในเมือง คาเมนิซกี้ เซนอฟ (สาธารณรัฐเช็ก)
51.ยาโรสลาฟ เจเส็ก (สาธารณรัฐเช็ก) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
52.เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการก่อตั้ง คาเอนกีซา เซมินารี แห่งเซนต์โจเซฟ (แทนซาเนีย)
53.เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ของการบินครั้งแรกด้วยเครื่องบินที่หนักกว่าอากาศซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ที่ติดตั้งไว้บนเครื่องทั้งหมด ซึ่งผลิตและเคยบินโดย พี่น้องตระกูลไรท์ ในการบินทดสอบเมื่อปี 1903 ของทราลัน วูเอีย (โรมาเนีย)
54.คอนสแตนติน บรานคูซี (โรมาเนีย) เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
55.กริกอเร มัวซิล (โรมาเนีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
56.เลโอโปลด์ เซดาร์ ซินยอร์ (เซเนกัล) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
57.ลาดิสลาฟ ฮานุส (สโลวะเกีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
58.ลุดโดวิต ราจเทอร์ (สโลวะเกีย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
59.พุทธทาส ภิกขุ (ไทย) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100
60.อับดูร์ราห์มาน อิบน์ คัลห์ดุน (ตูนิเซีย, โมร็อกโก, อียิปต์, แอลจีเรีย และอัฟกานิสถาน) เนื่องในวาระครบรอบ 600 ปี ของการถึงแก่อสัญกรรม
61.เมฟลานา เซลาเลดดิน อี เบลฮี-รูมี่ (มัวลานา จาลัลอุดดิน บัลกีห์ รูมี) (ตุรกี,อียิปต์ และอัฟกานิสถาน) นื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 800
62.อีวาน แฟรงโก (ยูเครน) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 150
63.อีวาน บาหเรนี (ยูเครน) นื่องในวาระครบรอบวันเกิดปีที่ 100

17บุคคลสำคัญของไทยที่”ยูเนสโก”ยกย่องก่อนหน้านี้
1.การฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2505
2.ฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ในวันที่ 28 เมษายน 2506
3.ฉลองวันพระราชสมภพครบ 200 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511
4.ฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษา ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 มกราคม 2524
5.ฉลองวันเกิดครบ 200 ปี ของสุนทรภู่ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2529
6.ฉลองวันเกิดครบ 100 ปี ของพระยาอนุมานราชธน ในวันที่ 14 ธันวาคม 2531
7.ฉลองวันประสูติครบ 200 ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในวันที่ 11 ธันวาคม 2533
8.ฉลองวันประสูติครบ 100 ปี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2534
9.ฉลองครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ในวันที่ 1 มกราคม 2535
10.ฉลองครบรอบ 700 ปี ของการสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในวันที่ 12 เมษายน 2539
11.ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539
12.ฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษา ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2543
13. ฉลองครบชาตกาล 100 ปี ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในวันที่ 20 กันยายน 2543
14.ฉลองวันพระราชสมภพครบ 150 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 20 กันยายน 2546
15.ฉลองวันเกิดครบ 100 ปี ของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในวันที่ 24 ตุลาคม 2546
16.การฉลองวันพระราชสมภพครบ 200 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547
17.การฉลองครบชาตกาล 100 ปี ของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์(ศรีบูรพา) ในวันที่ 31 มีนาคม 2548

ประวัติท่านพุทธทาส

ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมพระธรรมโกศาจารย์ มีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดวันที่ 27 พฤษภาคม 2449 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดาชื่อเซี้ยง มารดาชื่อเคลื่อน เป็นคนเชื้อสายจีน มีพี่น้องสองคน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ออกมาค้าขายแทนบิดาที่เสียชีวิต อายุครบ 20 ปีอุปสมบทเป็นพระที่วัดโพธาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” แปลว่า “ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่”

เดิมท่านพุทธทาสตั้งใจจะบวชเพียง 3 เดือน แต่พอบวชแล้วมีความซาบซึ้ง และสนใจศึกษาธรรมะเรื่อยมาจนสอบได้นักธรรมเอกและเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ 3 ประโยค ระหว่างที่เรียนเปรียญธรรม 4 อยู่ได้ศึกษาค้นค้าพระไตรปิฎกและศึกษาค้นคว้าตำราเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในศรีลังกา อินเดีย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก ต่อมาท่านได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อฉายาว่า ” พุทธทาส”

ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการยอมรับจากวงการสงฆ์และวงการศึกษาไทยและวงการศึกษาธรรมะของโลก นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของไทย อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ท่านพุทธทาสภิกขุมรณภาพเมื่อเวลา 11.20 น. วันที่ 8 กรกฎาคม 2536

จากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 22 ตุลาคม 2548
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0104221048&day=2005/10/22

http://www.lanna.mbu.ac.th/news/news22.asp

. . . . . . .