๑๐๐ คำคม วาทะธรรม อาจารย์พุทธทาส ภิกขุ

๑๐๐ คำคม วาทะธรรม อาจารย์พุทธทาส ภิกขุ

1. ปณิธาน 3 ประการของท่านพุทธทาส
1. การเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนๆ
2. การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
3. ออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม

2. คติพจน์ของสวนโมกข์ 1
• กินข้าวจานแมว (กินง่าย)
• อาบน้ำในคู (ใช้สอยคุ้มค่า)
• นอนกุฏิเล้าหมู (นอนง่าย)
• ฟังยุงร้องเพลง (จิตสงบเย็น)
• อยู่เหมือนตายแล้ว (ตายจากความยึดมั่นถือมั่น)

3. คติพจน์ของสวนโมกข์ 2
• กินข้าวจานแมว (กินง่าย)
• อาบน้ำในคู (ใช้สอยคุ้มค่า)
• เป็นอยู่อย่างทาส (อยู่ง่าย)
• มุ่งมาดความวาง (แบกหนักวางเบา)
• ทำอย่างตายแล้ว (ให้ตัวกูตายกิเลสตาย)
• กุมแก้วในมือ(อริยทรัพย์อันล้ำค่า)
• คือดวงจิตว่าง (นิพพาน)
• คืนหมดทุกอย่าง(คืนสู่ธรรมชาติ)
• แจกของส่องตะเกียง(พระโพธิสัตว์)

4. “กินดีอยู่ดี เป็นมิจฉาทิฐิ
กินอยู่แต่พอดี เป็นสัมมาทิฐิ”

5. “กินน้อย ใช้น้อย ทำงานมาก มีความ
สุข เหลือเจือจานเพื่อนมนุษย์ มีจิต
บริสุทธิ์ ยิ้มตายได้ สาธุ”

6. “ ไม่ใช่ว่ามีข้าวกินแล้วจะหมดปัญหา,
ถ้ายังไร้ศีลธรรมและเห็นแก่ตัวก็จะยัง
แย่งข้าวกินกันอยู่นั่นเอง, ความเห็น
แก่ตัวต่างหากที่เป็นปัญหาไปเสียหมด
ทุกด้าน; ดังนั้น รีบจัดการกำจัดความ
เห็นแก่ตัวเถิด ทั้งนักการเมืองเศรษฐกิจ
และสังคมศาสตร์”

7. “กินอยู่ แต่พอดี”
• ความเจริญทางวัตถุ, ทำให้คนเห็นแก่ตัว
• การกินดีอยู่ดี ทำให้คนบริโภคเกิน ไม่รู้จักพอ.

8. “กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”
• กินอยู่อย่างต่ำ (กินง่าย อยู่ง่าย ใช้จ่ายประหยัด เอื้อเฟื้อเสียสละ)
• มุ่งกระทำอย่างสูง (มุ่งนิพพาน สันติ)

9. “ผู้กินอยู่เกินพอดีจะเตรียมตัวเพื่อพบ
กับความไม่มีอะไรจะกิน ผู้กินอยู่แต่
พอดีมีโอกาสที่จะเกิดความอารีแก่ผู้ที่
ไม่มีอะไรจะกิน”

10. “ถ้าเรากินเอง พรุ่งนี้ก็ถ่ายแล้ว แต่
ให้เพื่อนที่ไม่มีกิน อิ่มจนถึงปัจจุบัน”

11. “ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ”
ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา
• ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ
มนุษยชาติจะเลวร้ายกว่าเดรัจฉาน
มัวหลงเรื่องกินกามเกียรติเกลียดนิพพาน
ล้วนดื้อด้านไม่เหนี่ยวรั้งบังคับใจ
• อาชญากรรมเกิดกระหน่ำลงในโลก
มีเลือดโชกแดงฉานแล้วซ่านไหล
เพราะบ้ากินบ้ากามทรามเกินไป
บ้าเกียรติก็พอไม่ได้ให้เมาตน
• อยากครองเมืองครองโลกโยกกันใหญ่
ไม่มีใครเมตตาใครให้สับสน
ขอศีลธรรมได้กลับมาพาหมู่คน
ให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทันเวลา.
(พุทธทาสภิกขุ)

12. “ศีลธรรมของยุวชน คือสันติภาพของโลก”
ศีล หากมีช่วยสังคมอุดมสุข
ธรรม อีกด้วยช่วยดับทุกข์เป็นสุขี
ของ ศาสดาเมตตาสอนวอนวจี
ยุว- ชนนี้พึงน้อมใจใฝ่กระทำ
ชน ใดไรศีลธรรมประจำจิต
คือ มิจฉาเห็นผิดจิตถลำ
สันติ สุขเกิดไม่ได้ชั่วครอบงำ
ภาพ ข่าวนั้นลงประจำทำอัปรีย์
ของ อะไรถ้าดีทำอย่าหนีหน่าย
โลก จะกลายเป็นสันติภาพปราชญ์ท่านชี้
ยุค ไหนที่มีศีลธรรมนำชีวี
นี้ วิถีโลกศรีอาริย์ศานติเอย.
(นิราลัย)
13. “โลกมีคนเพิ่มมากขึ้นเหลือประมาณ ยิ่งไม่มีศีลธรรม
หรือศีลธรรมยังเท่าเดิม ไม่พอจะควบคุมคน…ถึงที่สุด ก็คือ เมืองนรก”

14. “ไม่มีธรรมะ ไม่เป็นมนุษย์ เป็นคนตายทั้งเป็น”

15. “ประชาชนยังไม่รู้ธรรมแท้ จึงไม่เกิดกลุ่มนักการเมืองธรรม”

16. “การเมืองบริสุทธิ์ คือศีลธรรม การเมืองระยำ คือการต่อสู้แย่งชิง”
“เสียงประชาชน มิใช่เสียงสวรรค์เสมอไป เป็นเสียงนรกก็ได้ เมื่อไร้ศีลธรรม”

17. “ถ้าพุทธศาสนาครองใจคนทุกคนในโลก ก็กลายเป็นเรื่องมีธรรมิกสังคมนิยมโดยอัตโนมัติ”

18. “รัฐธรรมนูญลืมคุมอำนาจทุน ลืมคิดถึงอำนาจของทุน เอาทุนซื้อพรรค เพรรคซื้อรัฐ เอารัฐไปซื้อทุน”

19. “ธรรมะมีอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างขึ้น ไม่ต้องวิ่งหาเพียงแต่ทำให้ปรากฏแก่จิตที่อบรมแล้วอย่างถูกต้อง
เดี๋ยวนี้ มัวสร้าง มัวหา เลยไม่พบทั้งที่มีอยู่แล้ว”

20. “พุทธศาสตร์ เป็นศาสตร์แห่งคนตื่น คู่ปรับกับไสยศาสตร์ ศาสตร์แห่งคนหลับ”21. “ไสยศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ยังจำเป็นต้อง มีสำหรับคนปัญญาอ่อนในโลก แต่ต้องช่วยปรับปรงให้เป็นพุทธศาสตร์สืบไป”

22. “เราไม่สามารถตอบแทนพระคุณของพระพุทธเจ้าได้ด้วยการกราบไหว้บูชาด้วยวัตถุธูปเทียน”

23. “การศึกษาในปัจจุบัน กำลังทำให้เด็ก ๆ ทำอะไรได้ตามใจอิสระ
ไม่มีขอบเขต ไม่คำนึงถึงความดี งาม ไม่มีครูบาอาจารย์ ไม่มี บิดามารดา
นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ไม่ได้เรียกว่า ปัญญาชน แต่เรียกว่า เด็กอมมือน่าจะเหมาะกว่า”

24.“การศึกษาที่บูชากันในโลกปัจจุบัน อันเป็นกลียุค
ผลิตออกมาได้แต่สุนัขปากร้ายและสุนัขช่วยเห่า ไม่อาจผลิตสุนัขเลียแผลของโลก”

25.“ปัญหายิ่งเพิ่มขึ้น เพราะการศึกษาในโลกนี้มีลักษณะเป็นหมาหางด้วน”

26.“เรากำลังขาดแคลนมหาวิทาลัยต่อหางหมา”

27. “การศึกษาที่ช่วยยกจิตใจ เป็นการให้การศึกษาที่ถูกต้อง”
• ให้การศึกษาชนิดที่ทำให้จิตใจสูงให้วิญญาณสูงเป็นผู้นำในทางวิญญาณ
เรียกว่าเป็นการใหการศึกษาที่ถูกต้องคือว่าสมบูรณ์แบบ)

28. “ทั้งหมดที่เป็นปัญหา เพราะการศึกษา
ไม่ถูกต้อง”
• ศีลธรรมแฟบ
• การศึกษาเฟ็ด
• ประชาธิปไตยเฟ้อ
• ยุวชนฟุ้ง
• การปกครองเฟือน
• การเมืองฟุบ
• สังคมเฟ้อ
• เศรษฐกิจฟ่าม
• ศาสนาฟั่น
• วัฒนธรรมเฟี้ยว
• ประเทศชาติฟอน
• รัฐธรรมนูญฟาง
• ความเป็นไทยก็เฟื้อย
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะการศึกษาไม่ถูกต้องการศึกษาไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ตรงกับกฎของธรรมชาติ หรือที่พระเจ้าต้องการ

29. “การศึกษากับศีลธรรมสัมพันธ์กันตลอด”
• การศึกษาถูกต้อง ศีลธรรมก็ถูกต้อง
• การศึกษาสมบูรณ์ ศีลธรรมก็สมบูรณ์

30. “มาช่วยกันต่อหางหมา โดยจัดการศึกษาให้มีธรรมะ”
• เราช่วยกันต่อหางหมากันเถอะให้มีธรรมะและศาสนาอยู่ในระบบการศึกษา
• จะเรียกว่าต่อหางหมาก็ได้
• จะเรียกว่าปลูกหางหมากันใหม่ก็ได้
• ปลูกหางหมากันใหม่นี้ดูจะปลอดภัยกว่าต่อหางหมานี่
• ถ้าไปคว้าเอาหางลิงมาต่อเข้ากับหมาละก็คงจะร้ายไปกว่าเดิม

31. “ปริญญาการศึกษาพุทธะ คือ สิ้น ราคะ โทสะ โมหะ
• ในพุทธศาสนานั้น จะมีทั้งการศึกษาและการรับปริญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เอง การศึกษาก็คือ สิกขา 3
ส่วนปริญญานั้นคือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

32. “เมื่อศีลธรรมในโรงเรียนไม่มี ก็เป็น
เพื่อนที่ดีของกันและกันไม่ได้”

33.“ชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัวจำควายสองตัวไว้
ควายตัวที่หนึ่ง คือ เทคโนโลยีตามหน้าที่การงานนั้น
ควายตัวที่สอง คือ Spiritual Enlightenment
ความสว่างไสวในทางวิญญาณชีวิตจิตใจ
มีควายสองตัวเคียงคู่กันไป ชีวิตนี้ก็สะดวกสบายราบรื่นถึงที่สุด
อย่างไม่ต้องโกลาหลวุ่นวายนี่คือเคล็ด
ถ้าอย่างนี้ไม่ใช่เคล็ดแล้วก็หมดปัญญา
ไม่มีอะไรจะพูดอีก นี่เป็นเคล็ดที่ให้ได้ผลมากที่สุด โดยลงทุนน้อยที่สุด”

34. “งกเงิน เสียงาน แต่งกงาน ยิ่งได้เงิน”
• ไม่งกอะไร จะเป็นธรรมยิ่งขึ้นแล้วดับทุกข์
• นี่คือ ทำหน้าที่ เพื่อหน้าที่ ไม่คดโกงหน้าที่

35. “ทำงานเพื่องาน เงินไม่ไปไหน ยิ่งมีมาก”
“ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม นิพพานมาหาเอง”

36. “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม
• อันการงานคือคุณค่าของมนุษย์
ของมีเกียรติสูงสุดอย่าสงสัย
ถ้าสนุกด้วยการงานเบิกบานใจ
ไม่เท่าไรได้รู้ธรรมฉ่ำซึ้งจริง
• เพระการงานเป็นตัวการประพฤติธรรม
กุศลธรรมกล้ำปนมามีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบก็เปรียบคนฉลาดยิง
นัดเดียววิ่งเก็บนกหลายพกพา
• คือการงานนั้นต้องทำด้วยสติ
มีสมาธิขันตีมีอุตส่าห์
มีสัจจะมีทมะมีปัญญา
มีศรัทธาและกล้าหาญรักงานจริง.
(พุทธทาสภิกขุ)

37. “ทำงานด้วยจิตว่าง”
• จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง
ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น
กินอาหารเหมือนอย่างที่พระกิน
ตายเสร็จสิ้นในตัวแต่หัวที.
จิตว่าง = ไม่มีอุปาทาน ตัวกู-ของกู
ผลงานให้ความว่าง = ไม่มีอะไรเป็นของเรา เป็นของความว่าง
กินอาหารเหมือนอย่างพระกิน = คือกินสักแต่ว่าธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ว่างเปล่าจากตัวตน

38. “ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน”
• อันการงานนั้นประเสริฐตรงที่สนุก
ยิ่งทำงานยิ่งเป็นสุขทุกสถาน
ทำชีวิตให้สดใสใจเบิกบาน
ในการงานประจำวันนั่นเองนา
• เมื่ออย่างนี้มีแต่คนวิมลจิต
เย็นสนิทดวงใจไร้โทสา
เกิดสังคมที่อุดมด้วยเมตตา
อยากเรียกว่า “ธัมมิกะสังคมนิยม”
• ผลงานล้นเหลือเผื่อแผ่ทั่ว
สัตว์ทุกตัวใหญ่น้อยพลอยสุขสม
ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ได้ชื่นชม
โลกระดมสุขวางทางนิพพาน.
(พุทธทาสภิกขุ)

39. “ชีวิตที่ดีที่สุด คือสงบ เย็นและเป็นประโยชน์”

40. “ทำงานจะผิดพลาดได้ยาก เพราะไม่เห็นแก่ตัว”41. “ทำงานเพื่องาน ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่”

42. “งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน”
• ถ้าปฏิบัติธรรมมันสิ้นสุด ไม่ต้องมีการปฏิบัติแล้ว การงานก็คือชีวิต ชีวิตก็คืองาน
เพราะฉะนั้น การงานคือความสุข ซึ่งเป็นผลสุดท้ายของการปฏิบัติธรรม
ฉะนั้นจึงไม่มีที่ว่าต้องไปหางานที่ไหนหรือว่าไปอะไรที่ไหนมันเป็นอยู่ในชีวิต
นี่เรียกว่าการงาน ตามความหมายของคำว่า “การงาน”

43. “น้ำมนต์แท้คือน้ำเหงื่อ”
• เหงื่อนั่นแหละคือน้ำมนต์ให้ผลเลิศ
นำให้เกิดสุขสวัสดิ์พิพัฒน์ผล
น้ำมนต์รดรดเท่าใดไม่ช่วยคน
จนกว่าตนจะมีเหงื่อเมื่อทำจริง
• จงรักเหงื่อเชื่อมั่นบากบั่นเถิด
หน้าที่เกิดสมบูรณ์ดีมีผลยิ่ง
เป็นพระเจ้ามาช่วยเราอย่าประวิง
จะเป็นมิ่งขวัญแท้แก่ทุกคน
• พระพุทธองค์ทรงเคารพซึ่งหน้าที่
ดูให้ดีเหงื่อออกมามหาผล
ใช้บูชาพระพุทธองค์มิ่งมงคล
สาธุชนมีสุขเหลือเพราะเหงื่อเอย.
(พุทธทาสภิกขุ)

44. “การกีฬาที่แท้จริง เป็นการแข่งขันเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว รู้จักให้อภัย
รู้จักยอมเป็นฝ่ายเสียเปรียบแพ้เป็น ไม่ละเมิดกติกาทั้งผู้เล่นและผู้ชม”

45.“ความเห็นแก่ตัวนั้น กำลังเป็นวิกฤตการณ์อันใหญ่หลวงคุกคามโลกอยู่ทั่วทั้งโลก รวมทั้งเราด้วย
ขอให้เรามาศึกษาหารือกันใหม่ เพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวนี้เสีย เพื่อเกิดความสุขสวัสดีแก่เราทุกคน ตลอดไป”

46. “เรียกร้องความมีน้ำใจกลับคืนมา เพื่อแทนที่ความเห็นแก่ตัว”

47. “เราจะต้องมีลัทธิเห็นแก่เพื่อน เกิดแก่ เจ็บ ตายตามหลักของพระพุทธศาสนา มันจึงจะมีกัลยาณมิตรที่แท้จริง”

48. “พูดให้ฟัง เขียนให้อ่าน ชวนให้คิดทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัสและโน้มนำให้ทำตาม”

49. “การทำกุศลคือการสละทิ้ง แต่การทำบุญคือการสะสมเพิ่ม”

50. “อย่าบ้าบุญกันนักเลย เอาความรู้ไปดับทุกข์บ้าง”

51. “ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ
ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่ เมื่อผัสสะ
ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจ เรื่องผัสสะ”

52. “ความทุกข์สอนอะไร ๆ ให้เราได้ดีกว่าความสุข”

53. “อย่าเป็นทุกข์ให้โง่ ทุกคนไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นทุกข์”

54. “ดับทุกข์ที่ทุกข์ ดับไฟที่ไฟ อย่าไปไว้คนละแห่งคนละชาติ”

55. “สิ่งที่หลอกลวงเราที่สุด ก็คือสิ่งที่เราเรียกชื่อมันว่าความสุข”

56. “ความสุขแท้จึงมีเมื่อเราไม่ต้องการความสุข ! นะโว้ย !!”

57. “ความดับทุกข์ ต้องแลกเอาด้วยการไม่ต้องการความสุข”

58. “ความสุขทำให้เหลิง ความทุกข์ทำให้ฉลาด”

59. “งามอยู่ที่ซากผี ดีอยู่ที่ละ พระอยู่
ที่จริง นิพพานอยู่ตายเสียก่อนตาย”
61. “ตายก่อนตายคือปริญญาสวนโมกข์”
• ปริญญาตายก่อนตายใครได้รับ
เป็นอันนับว่าจบสิ้นการศึกษา
เป็นโลกุตตร์หลุดพ้นเหนือโลกา
ปริญญาแสนสงวนจากสวนโมกข์
คนเขาว่าเยกโยกไม่เห็นหน
ไม่เห็นดีที่ตรงไหนใครสัปรดน
รับเอามาด่าป่นกันทั้งเมือง
นี่แหละหนาปริญญา“ตายก่อนตาย”
คนทั้งหลายมองดูไม่รู้เรื่อง
เขาอยากอยู่ให้เด่นดังมลังเมลือง
เขาเลยเคืองว่าเราชวนให้ด่วนตายฯ”

62. “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ
ไส้เดือนไม่เห็นดิน หนอนไม่เห็นคูถ
คนไม่เห็นโลก แต่พุธบริษัทเห็นทุก
สิ่งตามที่เป็นจริงเสมอ”

63. “ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่อัปรีย์(ไม่น่ารัก)”
“ทั้งชั่วทั้งดี ล้วนแต่ไม่มีความสงบ”
“ทั้งลาภทั้งสูญ ล้วนอัปรีย์ทั้งชั่วทั้งดี อัปรีย์ทั้งเพ”
“ชั่วหรือดี ก็อัปรีย์ทั้งนั้น”

64. “เสียใจไปนรก ดีใจไปสวรรค์ เย็นใจไปนิพพาน”

65. “นิพพานอยู่ที่หน้าผาก ยุคพระศรีอาริย์อยู่แค่ปลายจมูก”

66. “พระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้า พระไตรปิฎกบังพระธรรม ลูกชาวบ้านบังพระสงฆ์”

67. “ถ้าแตงโมนี้ไม่หวานอยางที่ควรจะเป็น และขนมนี้ไม่อร่อยตามแบบฉบับของมัน
ก็ถือเสียว่ามันเป็นของใหม่หรือแบบใหม่ ที่ทำให้เราได้กินแปลกใหม่ออกไป
ควรจะนับว่าเป็นโชคดีหรือความเจริญ : ดีกว่าจะขัดเคืองให้เปลืองใจ”

68. “เวลาที่ไม่ดีใจ–เสียใจนั่นแหละสงบเย็นที่สุด, เพราะเป็นนิพพุติ,นิพพานน้อย ๆ ชั่วคราวเพื่อชิมลอง.”

69. “นิพพานนะเป็นเครื่องรางของขลัง ที่จะป้องกันปัญหาวิกฤตการณ์ใด ๆที่จะเกิดขึ้นมาในโลกมนุษย์เรา”

70.“สิ่งที่เรียกว่าความสงบนั้น มีอยู่หลายชั้น และยิ่งไปกว่านั้น มีทั้งที่แท้และที่ปลอมเทียม”

71. “ความเอ๋ยความสุข”
• ความเอ๋ยความสุข
ใครใครทุกคนชอบเจ้าเฝ้าวิ่งหา
แกก็สุขฉันก็สุขทุกเวลา
แต่ดูหน้าตาแห้งยังแคลงใจ
• ถ้าเราเผาตัวตัณหาก็น่าสุข
ถ้ามันเผาเราก็สุกหรือเกรียมไหม้
เขาว่าสุขสุขเน้อ ! อย่าเห่อไป
มันสุขเย็นหรือสุขไหม้กันแน่เอย.
(พุทธทาสภิกขุ)
72. “เราดี ดีกว่าดวงดี”
เราสร้างดวง-อย่าให้ดวงสร้างเรา
• เราดี ดีกว่าดวงดี เพราะดีนั้นมีที่เรา ดีกว่าที่ดวง
• ทำดีนั่นแหละเราหน่วง เอาดีทั้งปวง มาทำให้ดวง มันดี
• ดวงชั่วไม่ได้เลยนี้ ถ้าเราขยันมี ความดีทำไว้ เป็นคุณ
• อยู่ดี ตายดีเพราะบุญ ทำไว้เจือจุน ตลอดชีวิต ติดมา
• ดวงดี มีอยู่อัตรา ก็เพราะเหตุว่า เราทำดีเป็น เห็นมั้ย ?
• เหตุนั้น เราท่านใดใคร ทำดีเสมอไป ดวงดีจักมี สมบูรณ์ ฯ
(พุทธทาสภิกขุ)
73. “ทำดี ดีแล้ว เป็นพร”
• ทำดี ดีแล้ว เป็นพรไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
• พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
• พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
• อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ- เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
• ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
• ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพร
(พุทธทาสภิกขุ)

74. “กรรมดี ดีกว่า วัตถุมงคล”
• กรรมดี ดีกว่า มงคล สืบสร้างกุศล ดีกว่า นั่งเคล้า ของขลัง
• พระเครื่อง ตะกรุด อุทกัง ปลุกเสก แสนฉมัง คาดมั่ง แขวนมั่ง รังรุง
• ขี้ขลาด หวาดกลัว หัวยุ่ง กิเลสเต็มพุง มงคล อะไร ได้คุ้ม
• อันธพาล ซื้อหา มาคุม เป็นเรื่อง อุทลุม นอนตาย ก่ายเครื่อง รางกอง
• ธรรมะ ต่างหาก เป็นของ เป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะว่า เป็นพระ องค์จริง
• มีธรรม ฤามี ใครยิง ไร้ธรรม ผีสิง ไม่ยิง ก็ตาย เกินตาย
• เหตุนั้น เราท่าน หญิงชาย เร่งขวน เร่งขวาย หาธรรม มาเป็น มงคล
• กระทั่ง บรรลุ มรรคผล หมดตัว หมดตน พ้นจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย
• บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ใจกาย อุปัทวะ ทั้งหลาย ไม่พ้อง ไม่พาน สถานใด
• เหนือโลก เหนือกรรม อำไพ กิเลสา- สวะไหน ไม่อาจ ย่ำยี บีฑา ฯ
(พุทธทาสภิกขุ)

75. “วัตถุมงคลของอาตมา คือธรรมะที่เอาไว้ชำระให้กับญาติโยมที่มายังสวนโมกข์”

76. “เหตุและผล”
• เหตุดี ผลดี เหตุไม่ดี ผลไม่ดี
• เหตุมี ผลมี เหตุไม่มี ผลก็ไม่มี
• เหตุแรง ผลแรง เหตุเพลา ผลก็เพลา
• เหตุดับ ผลดับ เหตุไม่ดับ ผลไม่ดับ
• เหตุเกิด ผลก็เกิดด้วย

77. “อย่าทำเล่นกับเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันไม่ใช่เรื่องสำหรับคนแก่ หรือว่าเป็นเรื่องเอาไว้สวดศพคนตาย
แล้วมันเป็นเรื่องที่ต้องนำมาใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับคนเป็น ๆ”

78. “ชีวิตเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา ทั้งในแง่ของกาย ของจิต ของวิญญาณ”

79.“ธรรมเทศนาทั้งหลายย่อมเป็นอาหารแก่จิตใจ ทำให้ความเป็นมนุษย์ในภายใน
มีความเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ เหมือนต้นไม้ที่เต็มไปด้วยแก่นฉะนั้น”

80. “สถาบันผู้มีพระคุณ อันดับแรก คือ บิดามารดา นี้เป็นผู้ให้ชีวิต
อันดับสอง ครูบาอาจารย์ เป็นผู้ให้ความรอดในทางร่างกาย
อันดับสาม พระเจ้าพระสงฆ์เป็นผู้ให้ความรอดทางจิต ทางวิญญาณ”81.“พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องฤทธิ์ทางจิตใจ
แต่ทรงขยะแขยงที่จะแสดงฤทธิ์ในทางจิตใจชนิดนั้น เพราะเป็นมายาเท่านั้นเอง”

82. “เจริญเมตตาสูงกว่าบุญ”
“บุญที่ที่ประกอบด้วยความยึดมั่นถือมั่นนี้เป็นบุญเหมือนกัน
แต่มีค่าไม่ได้ส่วนที่ 16 สิบหกครั้งของการเจริญเมตตา
การเจริญเมตตานี้ คือมันไม่เห็นแก่ตัวตน มันเห็น แก่ผู้อื่น
มีความรักผู้อื่นเป็นสากลคือเจริญเมตตา บุญที่เกิดจากการเจริญเมตตานี้เป็นบุญที่มาก”

83. “บุญมากอยู่ที่ไหน?”
“บุญมากอยู่ที่ไหน?” มีพระบาลีอยู่ในอังคุตรนิกาย นวกนิบาต เล่ม 23หน้า 406 ว่า
เจริญอนิจจสัญญา ชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีเดียว เจริญสำเร็จชั่วเวลาดีดนิ้วทีเดียวนี้
มีผลคือมีบุญมากกว่าเลี้ยงพระสงฆ์ทั้งหมด และมีพระพุทธเจ้าเองเป็นประมุข
หมายความว่า ถ้าเราสามารถนิมนต์พระสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนามารวมกัน มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว
เลี้ยงอาหาร ก็ยังได้รับบุญไม่เท่ากับเจริญอนิจจสัญญาสำเร็จชั่วเวลาลัดนิ้วมือนี้”

84. “ที่ว่าทำบุญ ๆ แต่ไม่รู้ว่าทำอะไร อาตมาอยากจะบอกว่าทำบุญที่ดีเลิศ
ก็คือ การทำให้คนในโลกมีศีลธรรม ไม่มีบุญไหนดีกว่านี้ หรือจริงกว่านี้”

85. “จิตเป็นจิตว่าง เพราะว่างจากราคะ โทสะ โมหะ
ในขณะใด จิตว่างจากราคะ โทสะ โมหะ โดยวิธีประการใดก็เรียกว่าจิตว่างได้”

86. “นิพพานได้ในชาตินี้”
“อาจารย์ตามศาลาวัด สอนกันแต่เรื่องตายแล้วจึงจะนิพพาน แต่ในพระไตรปิฎกกลับหาไม่พบ
มีคำกล่าวเช่นว่าสันทิฏฐิกนิพพาน นิพพานอันบุคคลนั้นพึงเห็นเอง
และมีคำกล่าวว่า ทิฏฐธมฺมนิพพาน นิพพานในทิฏฐธรรมนี้ คือในชาตินี้”

87. “เราควรเลื่อนชั้นกันเสียบ้าง อย่าเป็นชาวบ้านตลอดกาล สมัครมาอยู่ในสังคมของพระพุทธเจ้า
คือมีความรู้สติปัญญาเพื่อว่า ความทุกข์จะได้น้อยลงจะต้องไม่ทำตัวเองให้ลำบากเปล่า ๆ เกินความจำเป็น”

88. “หลักใหญ่ของพุทธศาสนา คือการสอนให้ดับทุกข์ภายในใจ
ด้วยการศึกษาหาความจริงในกายตน และหยั่งรู้ไปถึงสิ่งและบุคคลที่แวดล้อมตนอยู่ตามที่เป็นจริง
ไม่ติดมั่นจนเกิดทุกข์เพราะเห็น กฎแห่งอนัตตาแล้วมีใจปลอดโปร่งสบาย”

89. “พุทธศาสนานี้มุ่งหมายให้รักผู้อื่น ให้เสียสละเพื่อผู้อื่นได้ก็แล้วกัน
ฉะนั้นถ้ายังมีความเห็นแก่ตัวแล้ว มันจะรักผู้อื่นไม่ได้หรอก”

90.“เราต้องไม่ดับทุกข์ที่วัด ที่ป่า ที่บ้านที่ภูเขา ต้องดับทุกข์ที่เหตุของความทุกข์นั่นเอง”

91. “การที่ไม่รู้ว่าเป็นมนุษย์นี้คืออะไร? หรือเกิดมาทำไม? หรืออะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์?
นี่แหละเป็นตัวปัญหาที่ทำให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆนานา”

92. “ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ ก็คือเรื่องไม่มีสันติภาพ มีแต่สิ่งตรงข้าม เราก็เรียกว่าวิกฤตการณ์”

93. “เศรษฐีใจบุญยังจำเป็น นายทุนกระดาษซับไม่ดี”

94. “การตาย เป็นหน้าที่ของสังขาร อย่าง ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงแก้ไข นอกจากการต้อนรับกันให้ถูกวิธี”

95. “เมื่อเห็นเช่นนั้นเองเสียแล้ว ก็ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีอะไรที่ไหน”

96. “สิ่งที่เรียกว่า เอกลักษณ์ไทย คือ วิถึการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
คือ การอยู่กันฉันเพื่อนมนุษย์ ผู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย
เอกลักษณ์ไทย ไม่ใช่ลายกนก ไม่ใช่เพลงไทย ไม่ใช่ดนตรีไทย
ไม่ใช่โขน รำวง หรืออะไรๆที่เรามักพูดถึงกัน แต่เป็นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้
ด้วยใจที่สะอาด มีความสว่างและมีความสงบประกอบด้วยธรรมะ”

97. “เห็นไตรลักษณ์ เห็นนิพพาน”

98. “เห็นแก่ตัว จะไม่เห็นตัวแก่”

99. “ที่พึ่งสูงสุด คือ ความถูกต้องของตน”

100. “ไม่ทำตามที่สอน อย่ามาอ้อนเรียกอาจารย์”

http://chaiwat201149.blogspot.com/2011/03/blog-post_4523.html

. . . . . . .