ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้าข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า

ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกน ที่ถูกต้องดีงาม สมดั่งพระพุทธประสงค์
ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า “พุทธทาส” โดยบริบูรณ์
ผู้เขียนได้เลือกLink ไปยังWeb พุทธทาส.คอม ที่เห็นว่าเกื้อหนุนให้เกิดความเข้าใจในธรรม อันเนื่องกับธรรมในWebนี้
นอกจากLinkเหล่านี้แล้ว ยังมีธรรมะต่างๆที่น่ารู้ น่าศึกษา เป็นแก่นเป็นแกนของท่านอีกเป็นจำนวนมาก
ใน พุทธทาส.คอม และที่ พุทธทาสศึกษา
การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้น ควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ
พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด
จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา
อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก
ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด

เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที ให้ความเข้าใจเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา
กล่าวถึงปราชญ์ ท่านพุทธทาสและพระธรรมปิฏก
นิพพานสำหรับทุกคน นิพพาน หมายถึงความเย็นเพราะไม่มีกิเลส
มรดกของพุทธทาส มรดกที่ท่านฝากไว้ให้พุทธบริษัท
นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ จิตถึงนิพพานได้ต้องละอุปาทาน
ตัณหา ๓ แสดงตัณหา๓ และ ความต้องการอันไม่เป็นโทษในขันธ์๕
บุญ กับ กุศล แสดงบุญความใจฟูอิ่มเอิบ และกุศลการแผ้วถางกิเลส
กิเลส สิ่งที่เศร้าหมอง หรือ เครื่องทำให้เกิดความเศร้าหมอง
กรรมในพระพุทธศาสนา แสดง กรรมดี กรรมชั่ว และกรรมที่เหนือดีเหนือชั่ว
หลักความเชื่อ ๑๐ (กาลามสูตร) หลักสำหรับทำความเชื่อ
อิทธิบาท ๔ บาทฐานแห่งความสำเร็จ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
เรื่อง สามัญญลักษณะ พระไตรลักษณ์
การเกิดขึ้นแห่งอัตตา สภาวะที่ปราศจากความรู้ที่ดับทุกข์ได้ นั่นแหละคือ อวิชชา
นิวรณ์ ๕ กิเลสชั้นกลางที่กั้นจิตมิให้บรรลุถึงธรรมที่สูงขึ้น และธรรมคู่ปรับ
การดับลงแห่งอัตตา แสดงการดับลงของอัตตาทั้ง ๓ แบบ
เทวดามีจริงหรือ? ในบาลี มีกล่าวเช่นนั้นจริง และมีในรูปพระพุทธภาษิตจริง; แต่…..
วิธีลดอัตตา หรือ”สังโยชน์” ๑๐ ประการ
ศรัทธาความเชื่ออย่างพุทธมามกะ แสดงศรัทธาที่ถูกต้องดีงามของชาวพุทธ
การเวียนว่ายตายเกิด แบ่งเป็น ชาติทางร่างกาย และ ชาติทางจิตทางวิญญาณ
พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ แสดงความจริงที่ว่า ธรรมะนั้นเป็นวิทยาศาสตร์
อานาปานสติ สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย
การจัดพุทธศาสนาให้เป็นวิทยาศาสตร์เป็นการดูหมิ่นพระพุทธเจ้า พุทธศาสนาตัวจริงแท้
เรื่องกลับชาติของพระพุทธเจ้า มุ่งจะสอนศีลธรรมให้เข้ากันกับความเชื่อ
ไม่มีนรก-สวรรค์ มีนรกสวรรค์ต่อตายแล้ว และ นรกสวรรค์ที่นี่และเดี๋ยวนี้
ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์ เป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก
ความเร้นลับของโอปปาติกะกำเนิด เป็นชื่อของกิริยาจิตที่เกิด ไม่ได้เป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่ง
ปมเดียวที่ควรแก้ แสดงมิจฉาทิฎฐิของผู้ไม่เข้าใจพุทธศาสนา
พระอรหันต์เป็นพราหมณ์ ความเข้าใจบางประการเพื่อความถูกต้อง
คำว่า ผู้รู้ ผู้เห็น สิ่งทั้งปวง มีความเข้าใจผิดพลาดไขว้เขวอยู่บ้าง
ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตนเอง เรื่องเกิด ตาย ที่พระพุทธเจ้าท่านไม่ยอมพูด(พยากรณ์-สอน)
ใครทุกข์ ? ใครสุข? ตัวทุกข์นั้นมีอยู่แท้ แต่บุคคลผู้เป็นทุกข์หามีไม่
ปรับความเข้าใจ ในพระพุทธศานา
สิ่งที่เรียกว่า”อุปาทาน” ยึดมั่นในวัตถุแห่งอุปาทานมี กาม ทิฎฐิ ศีลและพรต ความเห็นว่าตัวตน
มาเป็นพุทธทาสกันเถอะ มีการเป็นทาสชนิดหนึ่ง เป็นทาสที่ไม่ต้องเลิก ยิ่งมีมาก ยิ่งดี
ตัวกู-ของกู-อุปาทาน-การเกิดใหม่ แสดงความเกิดในภาษาคน และในภาษาธรรมหรือปฏิจจสมุปบาท
การแปลพระไตรปิฎก เมื่อแปลออกมาเรื่องเดียวกัน ข้อความไม่เหมือนกันเป็นปัญหาที่ควรนึกถึง แล้วมันก็ได้มีอยู่จริงด้วย
มีตน ทั้งที่ไม่มีตน สอนให้รู้จัก มีตัวตนชนิดที่ไม่ใช่ตน
ตกนรกทั้งเป็น นรกทั้งเป็นที่น่ากลัวกว่า เพราะมันทำอันตรายเรา
ปฏิจจสมุปบาทคร่อมภพชาติ อธิบายให้เห็นพระประสงค์ว่าไม่ได้คร่อมภพคร่อมชาติสามชาติ
นรกสวรรค์-การเวียนว่ายตายเกิด เป็นเรื่องไร้สาระ? กล่าวแสดงว่าเป็นจริงอย่างที่สุดแต่?
กระแสปฏิจจสมุปบาท-ชาติ-ภพแสดงชาติภพที่เกิดจากท้องแม่ และภพชาติที่เกิดแต่อุปาทาน
คติ ๘ ภาษาคน-ภาษาธรรม มีพูดอย่างภาษาสมมติของชาวบ้าน และ พูดภาษาธรรมของผู้รู้
ตัวอย่าง ปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน ๑ แสดงตัวอย่าง
ปุจฉา วิสัชนา ถามตอบข้อธรรมที่มีผู้สงสัยโจษท้วง โดยท่านพุทธทาส
ชาตินี้ ชาติหน้า ความเข้าใจผิด ในเรื่องนี้ มีอยู่มากทีเดียว
ฟ้าสางทางความลับสุดยอด รวมเกล็ดธรรม
พระพุทธเจ้า ประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน ตรงเป็นวันเดียวกัน

ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ

ไม่น่าจะบ้า

พุทธศาสนา คือวิชา ที่เปลื้องปลุก มิให้คน ทนทุกข์ เท่าเส้นขน
แต่คนรับ รับมา ท่าสัปดน มาทำตน ให้ทุกข์ รุกขึ้นไป
ให้ยึดมั่น ขลาดเขลา เมาศาสนา สอนเป็นบ้า เรียนเป็นบ้า คว้ากันใหญ่
สร้างเป็นบ้า จนเป็นฝ้า บังจิตใจ เกิดฝักฝ่าย พวกพรรค รักสู้กัน
ส่วนพระธรรม คำสอน สิ่งดับทุกข์ ไม่สนใจ ทำให้ถูก ตามหลักนั่น
หลงส่งเสริม เพิ่มทุกข์ ลุกเป็นควัน นี่แหละพันธุ์ พวกบ้า เจ้าข้าเอยฯ

พุทธทาสภิกขุ

เรียนธรรมะ

เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกิดคาดหวัง
อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย
เรียนธรรมะ ต้องเรียน อย่างธรรมะ เรียนเพื่อละ ทุกข์ใหญ่ ไม่ท้อถอย
เรียนที่ทุกข์ ที่มีจริง ยิ่งเข้ารอย ไม่เลื่อนลอย มองให้เห็น ตามเป็นจริง
ต้องตั้งตน การเรียน ที่หูตา ฯลฯ สัมผัสแล้ว เกิดเวทนา ตัณหาวิ่ง
ขึ้นมาอยาก เกิดผู้อยาก เป็นปากปลิง “เรียนรู้ยิง ตัณหาดับ นับว่าพอ” ฯ

พุทธทาสภิกขุ

http://www.nkgen.com/600.htm

. . . . . . .