การปฎิบัติที่ไม่ผิด โดย ท่านพุทธทาส

การปฎิบัติที่ไม่ผิด โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมะสวรรณะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
หิเมหิธัมเมหิ สัมนาธัมโม อธัมอะปะหิปะธัม ปะหิปันโน โหนติ โยหิกะสานา โหนติ อากะยานัง ยาติธัมโม ถะกะชัง โสกะโหนติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญก้าวหน้าในทางแห่งพระพุทธศาสนา ของพระสมเด็จพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา

ธรรมเทศนาในวันนี้ เป็นธรรมเทศนา เนื่องในการจำพรรษา อย่างวันนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นวันธรรมะสวรรณะ คือวันเป็นที่ฟังธรรมคือตามปกติ และชื่อว่าเป็นวันอุโบสถ เพราะมีบุคคลผู้สมาทานอุโบสถ ชื่อว่าวันละโดยทั่วๆ ไปเป็นวันที่จะต้องทำให้เป็นอย่างพระ หรือว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับพระ หรืออะไรทำนองนั้น จึงได้ชื่อว่าเป็นวันพระ ความหมายทั้ง 3 คำนี้แม้จะต่างกันแต่ก็มีการกระทำที่ต่างกัน ที่มุ่งหมายเหมือนๆกัน คือวันที่ทำให้ดีเป็นพิเศษ ยิ่งกว่าวันธรรมดา ที่จะฟังธรรมให้ดีเป็นพิเศษ หรือว่าจะรักษาศีล อุโบสถเป็นต้น ให้ดีเป็นพิเศษ หรือจะทำ กาย วาจา ใจของตนให้ดีเป็นพิเศษ สมกับวันที่เรียกว่าวันพระ ในพรรษาเป็นเวลาที่ควรจะรักษา ความเป็นวันพระ ความเป็นวันธรรมะสวรรณะ อุโบสถนี้ให้ครบถ้วนให้เป็นไปอย่างดี ที่เรียกว่าสุดความสามารถของตน

โอกาสนี้เป็นโอกาสแสดงธรรม สำหรับที่จะให้สมกับธรรมที่เรียกว่า นี้เป็นวันธรรมะสวรรณะ ธรรมเทศนาในวันนี้จะแสดงโดย หัวข้อในวรรณะปสูติ แปลว่าการปฎิบัติที่ไม่ผิด และการปฎิบัติไม่ผิดนี้ มีอานิสงฆ์อย่างสูงสุด คือทำให้เป็นไปเพื่อให้สิ้น อาสะวะ และข้อความในปะสูตินี้เป็นคำตอบได้อย่างดีทีเดียว ต่อปัญหาที่ถามว่า เกิดมาทำไมกัน ปัญหาที่ว่าเกิดมาทำไมกันนี้เป็นปัญหาสำคัญ อย่างยิ่ง ดังที่เคยได้ปรารภแล้วปรารภอีก มาตลอดเวลา ว่าปัญหานี้มีความสำคัญ จนไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร เดี๋ยวนี้ทุกคนไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาทำไม จึงได้ทำสิ่งต่างๆเป็นไปในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ก็มี ถึงกับเป็นไปในทางที่มีโทษ ทำความเสียหายก็มี ถ้าทุกคนรู้ดีว่า เราเกิดมาทำไมจริงๆแล้ว ย่อมทำสิ่งต่างๆชนิดนั้นเช่นนั้นไม่ได้ ก็จะทำแต่สิ่งที่เหมาะสม กับความมุ่งหมาย ที่ว่าตนนี้เกิดมาทำไมกัน ขอให้ทุกคนนี้สังเกตให้มากเป็นพิเศษ

เพื่อให้รู้ความจริงข้อนี้ เป็นความจริงที่จำเป็นแก่คนทุกคน นับตั้งแต่เด็กๆเล็กๆมากไปจนถึงผู้ใหญ่ คนแก่ คนเฒ่า ทั้งบรรพชิต ทั้งฆราวาส เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดมาทำไม เอาอะไรแล้วก็มันก็ทำไปในสิ่งที่ไม่ตรง กับว่าเราจะได้อะไร หรือเราควรจะได้อะไร ไปทำในสิ่งที่ไม่ต้องทำอยู่ตลอดเวลา การจะไปทำในสิ่งที่ไม่ควรทำตลอดเวลานั้น มันไม่ใช่เพียงแต่ไม่ได้ประโยชน์ กลายเป็นโทษ เพราะว่ากลายเป็นสิ่งที่ไม่ต้องทำแล้ว มันก็ล้วนแต่เป็นการพอกพูน ซึ่งกิเลสทั้งนั้น หมายความว่าทำไปตามอำนาจของกิเลสนั้นเอง

รู้สึกตามความรู้สึกของกิเลส ว่าอยากจะได้อะไร อยากจะมีอะไร อยากจะเป็นอะไร อยากจะทำอะไร ก็ทำไปอย่างนั้น ที่มันไม่ถูก ไม่ตรงกันกับที่สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่กิเลสต้องการ สิ่งที่กิเลสต้องการก็ย่อมเป็นไปเพื่อ อาสะวะ สิ่งที่ธรรมะต้องการก็ย่อมเป็นไปเพื่อจบสิ้น อาสะวะ ถ้าเรารู้ว่าเกิดมาเพื่อทำ อาสะวะ จริงๆ เราก็จะไม่ทำในสิ่งที่จะเพิ่มพูน อาสะวะ ตั้งแต่เด็กๆมาทีเดียว ให้รู้ว่าเราเกิดมาเพื่อทำ อาสะวะ ก็เลยทำทุกที่เป็นเพิ่ม อาสะวะ จนกระทั่งโตขึ้นมาตามลำดับ มันก็มี อาสะวะที่หนาแน่น อยู่ในสันดานจึงละได้ยาก ด้วยเหตุนี้เลยรู้จักทำให้เพื่อป้องกันการเกิดแห่ง

อาสะวะ หรือทำอาสะวะกันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ แต่นี้เราจะอยู่ในสภาพอย่างอื่น คือไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหา ที่ยุ่งยากลำบากเหมือนเดี๋ยวนี้ คือมีความทุกข์ชนิดว่ามันเกิดขึ้นมาอย่างไร มันเกิดมาจากอะไร จะดับมันอย่างไร สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่ไม่รู้ จึงมีจิตใจที่หม่นหมอง กระสับกระส่าย ไม่รู้ว่าจะต้องการอะไรดี และก็มีความไม่พอใจอยู่นั่นเอง นี่ก็เพราะว่า กามาสะวะ ชักจูงไปแต่ในเรื่องของกามารมณ์ ภาวาสะวะ ก็ชักจูงไปแต่ในเรื่องของที่จะเป็นนั่นเป็นนี่ การอำนาจของความไม่รู้ อวิชชาสะวะก็เป็นเหตุให้ ปฎิบัติต่อสิ่งต่างไม่ถูก ก็ชักจูงไปแต่ในทางที่ให้ทำผิด

นี้เรียกว่า อาสะวะ เจริญงอกงามแล้วก็ทำให้คน มีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทน หม่นหมอง ด้วยเหตุนี้แหละพระพุทธเจ้าท่านจึงได้ตรัสพรหมจรรย์นี้ไว้ ในความที่เป็นไปเพื่อ อาสะวะ ท่านผู้ใดปฎิบัติธรรมะข้อใด ในพระพุทธศาสนานี้ ก็มันจะเป็นไปเพื่อสิ้น อาสะวะ ทั้งนั้นไม่มีข้อไหนที่เป็นไปเพื่อ การเกิดหรือการรักษาไว้ซึ่ง อาสะวะ เลยเรียกว่าพรหมจรรย์นี้ ธรรมวินัยนี้ ศาสนานี้หรือธรรมะนี้ ก็ตามเป็นไปเพื่อสิ้น อาสะวะ

ทีนี้ข้อความในบาลีปะสูตินั้น หิเมหิธัมเมหิ สัมนาสัตโตภิกษุ ภิกษุเป็นผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายด้วย 3 ประการเหล่านี้ อตังปะติปะธัง ปะติปันโน โหนติจะ เชื่อว่าเป็นผู้ปฎิบัติซึ่งข้อปฎิบัติ อันไม่ผิดด้วย โยนิอะรัตตา โหนติ อาชะวานัง สะวานะ โยนิของภิกษุนั้น เชื่อว่าอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว

เพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสะวะด้วย ธรรมทั้งหลายเป็นอย่างไรบ้าง วิริยะสัง อินทะหิเยสุ หิตะวาคะโต เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย โตชินเนวะตัญญู เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค ทากรียะมะคุตะโน เป็นผู้ระกอบแล้วในชา คริยะธรรม คือธรรมเป็นเครื่องตื่น เมื่อภิกษุก็ตอบอยู่ในคำ 3 ประการนี้ที่ว่าเป็นผู้ปฎิบัติไม่ผิดด้วย ประโยคนี้ของภิกษุนั้นเป็นอันภิกษุนั้นปรารภดีแล้ว เพื่อความเป็นไปแห่ง อาสะวะด้วย ข้อแรกที่ว่ามีอินทรีย์ มีทวารในคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายนั้น

อธิบายว่าจะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คุ้มครองดีแล้ว คุ้มครองอย่างไรคิดว่าคุ้มครองดีแล้ว ก็คือคุ้มครองโดยประการที่ บาปอกุศลกรรม กล่าวคือ อติชาและโทมนัส จะไม่ไหลไปตามบุคคลนั้นนั่นเอง มีพระบาลีในข้อนี้ว่า หิตะบาสุ ตะคุณา ธังสุ สะหวา ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว นะนิมิตสัตตาฮี ไม่ถือเอาโดยนิมิต นานุสะพยัญชนะทาหิ ไม่ถือเอาวรรณชนะ สัตวา หิสะระนะ เมทาสะวะ เหนัง จะสุงวิริยะอุตธัง อะรันตัง เมื่อบุคคลคุ้มครองอินทรีย์ใด อยู่อย่างไร หิมิตชาโตะสา อะลาธรรมา ปะสุวะยุง อาสะวะ บาปอกุศลธรรม อมิตชา อโทมนัส ย่อมไม่ไหลไปตามจิตของภิกษุนั้น กะสะสัมวะรายะ ติปัสสติ ย่อมปฎิบัติเพื่อสำรวมด้วยอินทรีย์นั้น รัตสติจะคุนินัง คือย่อมรักษา

ซึ่งจักสุอินทรีย์ จะคุนิเย สัมวะรัง ปัสสติ ย่อมถึงความสังวรระวัง ในจักสุอินทรีย์ดังนี้ แล้วก็ได้ตรัสถึงเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจจนครบทั้ง 6ทวารโดยข้อความอย่างเดียวกัน ก็จะปิดกั้นรักษาคุ้มครอง ทั้ง 6 ทวารคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้ด้วยดีในลักษณะที่ อติชาและโทมนัส จะไม่ไหลไปตามจิตของบุคคลนั้น

หมายความว่าเมื่อไม่คุ้มครอง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเหล่านี้ให้ดี อติชาและโทมนัส ย่อมไหลไปตามซึ่งจิต ของบุคคลนั้น ข้อความนี้มันแปลว่า ถ้าระวังการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจให้ดีแล้ว ด้วยมีการปรุงแต่งในทางจิต จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า อติชาและโทมนัส ซึ่งมาครอบงำจิตนั่นเอง คำว่าอติชาและโทมนัส ในที่นี้หมายถึง ความยินดีและยินร้าย ถ้าสิ่งใดถูกใจเป็นที่พอใจก็ยินดี คือมีความเพ่งเล่งเฉเพาะสิ่งนั้น ที่เรียกว่าอติชา

ถ้าสิ่งนั้นไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่ยินดีก็คือโทมนัส คือมีจิตใจที่ประกอบไปด้วยโทษ เช่นความขัดเคืองเป็นต้น อกุศลธรรมที่จะไหลไปตามจิต ของบุคคลผู้ไม่สำรวมระวังในอินทรีย์ทั้งหลาย มีอยู่กัน 2ประการนี้เท่านั้น คือยินดีอย่างหนึ่ง ยินร้ายอย่างหนึ่ง

ถ้ายินดีก็เกิดความยึดมั่น ถือมั่น ไปตามแบบของความยินดี ถ้ายินร้ายก็เกิดความยึดมั่น ถือมั่นไปตามแบบของความยินร้าย เมื่อมีความยึดมั่น ถือมั่นแล้วย่อมมีความทุกข์นั้นเสมอกัน เป็นการยินดีหรือยินร้ายก็ตาม เป็นทางเกิดแห่งความทุกข์ มีความยึดมั่น ถือมั่นนั้นเองนี้เรียกว่า อติชาและโทมนัส เ

พื่อความยินดี ยินร้ายนั้นได้ไหลไปตามจิต ของบุคคลอันมีอินทรีย์ที่คุ้มครองแล้วนี้ ตรัสไว้เป็นข้อแรกว่า บุคคลข้อแรกที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ ปฎิบัติถูกต้อง ปฎิบัติไม่ผิด คือปฎิบัติอย่างนี้เป็นข้อที่หนึ่ง มีชื่อเรียกโดย
เฉเพาะว่า อะกัณนะกะ อะปะติปะทา แลว่าข้อปฎิบัติที่ไม่ผิด คัมภีร์อะตะขะฐาอธิบายคำนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปว่า ปฎิบัติไม่ผิดนั้นคือ อะวีรุษถะปะติปะทา คือปฎิบัติไม่พิรุษ ปฎิบัติไม่พิรุษคือปฎิบัติไม่ประทุษร้าย ทำให้มีความทุกข์ได้ แล้วยังเรียกว่า นียะนิปะถะครัทธา คือข้อปฎิบัตินี้จะนำสัตว์ไปจากทุกข์ได้ ยังเรียกว่าสาระปฎิปทา คือข้อปฎิบัตินี้มีแก่นมีสาร ให้เรียกว่า มันดะปฎิปะทา แปลว่าข้อปฎิบัตินี้ มีรสสูงสุดเพราะว่ามันดะ แปลว่าสิ่งที่มีรสอร่อยสูงสุด เช่นสปิมันดะ คือรสอันเกิดจากโค ซึ่งมาทำกันถึงในระดับที่มีรสสูงสุด เรียกว่าสปิมันดะ และทีนี้เป็นชื่อของข้อปฎิบัติ เรียกว่ามันดะปฎิปทา มีความหมายว่าเป็นระเบียบปฎิบัติ ที่มีรสอร่อยสูงสุด แต่ยังเรียกว่า อะปชนิปะติทา คือข้อปฎิบัติที่ไม่เป็นฆ่าศึก ไม่เป็นปัจจะนึกคือไม่เป็นฆ่าศึก แก่บุคคลผู้ปฎิบัติ เหมือนแต่ว่าเป็นมิตร เป็นผู้หวังดี เป็นผู้ช่วยเหลือ และในที่สุดก็เรียกว่า ธรรมาธรรมะสติปทา คือปฎิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมนั่นเอง ทั้งหมดนี้ย่อมแสดงให้เห็นประโยชน์ เห็นอานิสงฆ์ อย่างชัดเจนของข้อปฎิบัตินี้ อยู่ในตัวคำพูดนั้นๆ นั้นจึงควรจะสนใจกันให้ดีๆ ว่าข้อปฎิบัติที่ไม่ผิดนี้ มันมีความหมายอย่างนี้

ข้อแรกเรียกว่าสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในลักษณะที่บาปอกุศลธรรมอันลามกไม่ไหลไปตามจิตของบุคคลนั้น ทีนี้ข้อปฎิบัติข้อที่ 2 เรียกว่า โพเชเนวะตัญญู คือเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค พระบาลีนี้จัดไว้สำหรับภิกษุโดยตรง แต่ก็มีความหมายที่แท้ได้ทั่วไป แม้แต่พวกฆราวาส พระบาลีนี้มีว่า พิกะเวภิกษุ ปฎิสังฆาโยวิโส อะหารัง อะหาเรติ เนวะตะราวะ นำมาทายะ นะวิปูชณายะ ณาวะเตยะ นำมาทายะสะ ปฎิติณา ยาปันนายะ มินังปะละ ธัมจริยา ยานุสะหายะ ฐิติกุรานังจะ เวทานังปริขามิ ปเวจะทันนัง เนขามิ เนจะรัง อะเนขามิ สติ นะมัสกา สะหวามิ สุวิหาโรจะติ ทุกคนเคยได้ยินแล้ว ก็สวดอยู่ทุกวัน แต่ในที่นี้มุ่งหมายกล่าวเฉเพาะเรื่องอาหารอย่างเดียว

เมื่อได้พูดถึงจีวร วรรณาสะนะ กะเศษษัท ภิกษุปฎิบัติโภเชเนนะตรัสตา คือเป็นผู้พิจารณาโดยแยกคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร เนวะธัมมาสะทายะ ไม่ใช่เพื่อเล่นสนุก เอร็ดอร่อย อะนะมรรคะทายะ ไม่ใช่พวกมัวเมา นะมันมานายะ ไม่ใช่เพื่อประดับ นะวิปูชะนายะ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ไม่ใช่ความว่าเพื่อเอร็ดอร่อย สนุกสนานโอ้อวดแก่กันและกัน แต่ว่า นามะเทวะ นาหิมรรคสะ กายสะติถิยา เพียงเพื่อให้กายนี้มันตั้งอยู่ได้ ยาพะยานะ ให้กายนี้มันพอเป็นไปได้ ปะหิสุปะยะติยา จะกำจัดความทุกข์ความลำบากจะได้ ธรรมะจริยาสะหายะ เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ โดยตรงนี้หมายความว่าคนเราไม่กินอาหารไม่ได้ แต่ว่าเราจะกินอาหารเพื่อให้ร่างกายนี้ ตั้งอยู่ได้ที่ไม่ตาย ให้เป็นไปได้ตามวัตถุที่ประสงค์ กำจัดความยากลำบากคือความหิว เป็นต้น เพราะควมสำคัญอยู่ที่ความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์โดยตรง พอพรหมจรรย์ได้อธิบายมาหลายครั้ง หลายหน แล้วว่าเป็นการปฎิบัติ ที่จะต้องทำให้ดีที่สุด

ให้สมกับคำว่า พรหม คำว่า พรหมแปลว่าประเสริฐที่สุด ดีที่สุดหรือสูงสุด พรหมจรรย์ คือ พรหมจริยา แปลว่าประพฤติปฎิบัติให้ดีที่สุด ตามสมควรแห่งฐานะแห่งตน ใครมีเรื่องที่จะปฎิบัติอย่างไรจะต้องปฎิบัติให้ดีที่สุด คือการกินอาหารนี้กินเพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์นั้น ก็คือช่วยให้มันช่วย ให้การปฎิบัตินั้นเป็นไปได้โดยสะดวก ก็ดีที่สุด อย่าไปกินอาหารชนิดที่มันเป็นฆ่าศึกของพรหมจรรย์ เช่นกินเพื่อเอร็ดอร่อย เพื่อความมัวเมา เป็นต้น ถ้าทำอย่างนั้นมันจะเป็นเครื่องขัดขวาง นั่นก็เป็นอุปสรรคต่อการประพฤติพรหมจรรย์ อย่าว่าในการประพฤติในทางจิตใจ เพราะว่าแม้แต่การที่ บุคคลใดจะเรียนหนังสือหนังหา แม้แต่จะอ่านหนังสือให้รู้เรื่อง การกินอาหารผิดวิธีกันมากเกินไป เป็นต้น มันก็อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องเพราะว่ามันง่วงนอน หรือมันมีโทษมีทุกข์อย่างอื่นเกิดขึ้น นี้ก็เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น ระวังให้ดี กินอาหารมากไปหรือไม่ถูกวิธีมันก็ทำให้ท้องไส้เสีย เมื่อท้องไส้เสียมันก็อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง อย่าว่าแต่จะประพฤติในทางจิต ทางใจ ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า จะต้องกินอาหารนี้ให้เป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์แก่

พรหมจรรย์นี้เป็นข้อใหญ่ ในรูปประมาณที่พอเหมาะ พอดีที่บริโภคแล้วจะเป็นการ
อนุเคราะห์ เกื้อกูลแห่งการอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ที่ยังตรัสขยายความออกไปว่า หิติปุรานังปะจะเวนัง ปริสังสานิ กำจัดเวทนาเก่าซึ่งความหิวได้ ภะวาจะนัง ปะเวสานิ จะไม่ทำเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น เวทนาเก่าซึ่งความหิว หรือว่าอาหารไม่มี ไม่พอ ไม่สุก จะกำจัดไปซะได้ด้วยการกินอาหารให้ถูกต้อง คือพอดี แล้วก็ทำเวทนาใหม่ที่มีความอึดอัด มีความง่วงซึมเป็นต้น ให้เกิดขึ้นนั่นแหละ การบริโภคอาหารที่เป็นการอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ แล้วก็สรุปอานิสงฆ์ไว้ว่า ราชะราปะเวชะนิปติ ด้วยการทำอย่างนี้ ความที่อัตภาพเป็นไปได้ด้วยดีนั้นจักมีแต่เรา นะวัตจะทากะ ความเป็นผู้หาโทษไม่ได้

จักมีแต่เรา ปสุมิหาโรจะ อยู่บนผาสุกด้วยจักมีแต่เรา หมายความว่าผู้นั้นจะได้รับประโยชน์ที่พึ่งปราถนา คือว่าอัตภาพร่างกายนั้นจะเป็นไปด้วยดี แล้วก็ไม่ประกอบไปด้วยโทษ ความอันตรายและความเสียหาย และจะติดอยู่เป็นผาสุกตลอดไป ในตอนต้นๆจงแสดงวิธีปฎิบัติ ในตอนท้ายแสดงอานิสงฆ์เหมือนกันปฎิบัติ รวมกันหมดแล้วก็เพื่อให้ให้เข้าใจคำว่า เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอย่างนี้ นี้เป็น ปะนะคติปสิปะทา คือข้อปฎิบัติที่ไม่ผิด ไม่พิรุษหรือว่าเป็นไปเพื่อออกจาทุกข์ เป็นสาระ เป็นมันดะ ปัจจนิกะ เป็นธรรมาสติธรรมะสถานศรัทธา อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง สำหรับการปฎิบัติข้อที่ 3 เรียกว่า กาเตยานิโยก นี่ก็ตรัสไว้สำหรับภิกษุโดยเพาะ อีกเช่นเดียวกัน ผู้เป็นฆราวาสก็พึ่งรู้จักปรับปรุงคือว่า เลือกกระทำให้พอเหมาะแก่ฐานะของตนได้ สำหรับภิกษุนั้นได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ที่ว่า สังจังกะเมนะนิพกะชายะ อาวะหิธรรเมหิ จิตตังปริโสเตติก แปลว่าเวลาตลอดวันย่อมชำระซึ่งจิต ให้หมดจดจาก อาวะระนียะธรรม คือสิ่งเศร้าหมองจิต ด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง หรือแม้แต่วันตลอดทั้งวัน ไม่นอนอยู่ด้วยอิริยาบถ จะเดินบ้าง นั่งบ้าง ตลอดเวลานั้นกระทำ ประพฤติปฎิบัติไปในทางที่จะชำระจิต ให้หมดจดจากนิวรณ์หรือบ้างทีก็เรียกว่า อาวรณ์ นิวรณ์ 5ประการมีอยู่ในตำรับตำราที่เรียนกันอยู่แล้ว

โดยหัวข้อก็คือ กามฉันฑะ พยาบาท ผีนะวิชชตะ อุสุจะอุถัตสะ สุวิชตะ วิติปิฉา กามฉันฑะ คือจิตใจแผ่ไปในทางกาม พยายาท คือจิตใจแผ่ไปในทางขัดเคือง หงุดหงิด โกรธแค้น ผีนะวิชชตะ คือความอดหู่ ซึมเซา อุสุจะอุถัตสะ นั้นตรงกันข้าม คือ ฟูขึ้น ฟุ้งซ่าน วิติปิฉา นั้น คือการมีจิต มืดมัวไม่โปร่งใส ลังเล ไม่พอใจว่าสิ่งที่กำลังกระทำอยู่นั้น ถูกต้องแล้วทุกประการ ถ้าคนเรามีความรู้สึกไม่พอใจ ในการกระทำ ที่กำลังกระทำอยู่ หรือกะลังเป็นอยู่ นี้ก็เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วย นิวรณ์ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ที่จะต้องกำจัดความเศร้าหมองทั้งหมดนี้ ให้ออกไปจากจิต ไม่ให้มีในจิต ตลอดทั้งวัน ด้วยการยืนบ้าง ด้วยการนั่งบ้าง นี้เรียกว่าเป็นการปฎิบัติ ในตอนกลางวัน

ทีนี้ก็มาถึงในการปฎิบัติในตอนกลางคืน รัตติยารามัง ตังสะเมนะวิสายะ อาวานิเย ธรรเมอิมิตัง เปโสเตติ คือตลอดยามต้นแห่งราตรี ก็ชำระจิตให้หมดจากนิวรณ์ การเดินบ้าง นั่งบ้าง ยืนบ้าง นี้เหมือนกันกลางวัน คืนหนึ่งแบ่งเป็น 3 ยาม ยามนึงก็ตก 4 ชั่วโมง 4 ชั่วโมงตอนต้นของกลางคืนนั้นเรียกว่า ปฐมยาม ชำระจิตให้หมดจากนิวรณ์ เช่นเดียวกับเวลากลางวัน ด้วยการเดินบ้าง นั่งบ้าง ไม่นอน รัตติยารามัง ครั้งถึง รัตติยามราตรี ตัสสะเมนะวิสานะ สะนังสับเปหิ ก็ย่อมสำเร็จศีลอาไสยยา คือการนอนท่าทางของราชสีห์ โดยตะแคงข้างขวา ปาเตนะปาตัง ปัจชาทายะ ให้เท้าเลื่อมเท้า สะโทสัมปะชาโน อุตถามาสันยัง มนัสติมนัสสะวา มีสติสัมปชัญะกระทำในใจ ซึ่งสัญญาในการที่จะลุกขึ้น นี้ขอให้ตั้งใจฟังกันให้ดีๆ สำหรับผู้อวดใหม่โดยเฉเพาะ ว่าการนอนตามแบบตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแนะนำด้วยประสงค์ ให้ปฎิบัติกันนั้น ให้นอน 4 ชั่วโมงแห่ง ปัจฉิมยาม การนอนนั้นก็ให้นอนในท่านอน ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับบุคคลผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ใช่ให้นอนตามที่กิเลสมันต้องการ เหมือนที่ครูบาอาจรรย์ หรือศาสตราจรรย์ สมัยนี้เขาสอนว่า ให้นอนตามสบาย มันจะอยู่ในท่าอะไรก็ได้ให้มันนอนท่าสบาย นั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องของคนพวกนั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า หรือพุทธบริษัท ที่ประพฤติปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็คือไม่นอนมากเกินไป แล้วก็นอนในท่าที่มีประโยชน์ที่สุด นอนตะแคงข้างขวา คงจะเป็นเรื่องที่ค้นพบมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์โน้น ว่าเป็นท่านอนที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย นี้มันหมายความว่ามันนอนท่าเดียว

โดยไม่ผลิก 4 ชั่วโมง เท้าซ้อนกันอย่างที่เลื่อมกันอยู่ หมายความว่าให้มันไม่ต้องระวัง ที่ว่าเท้ามันจะตกจากกัน แปลว่าเท้ามันจะอยู่ในสภาพที่ชวดกันให้ได้รับความสะดวก สบาย แต่ข้อสำคัญที่สุดนั้น ก่อนแต่ที่จะหลับ จะต้องมีสติสัมปชัญะ ทำสัญญาในการที่จะลุกขึ้น ให้ตรงตามเวลา คือเมื่อหมด มัจฉิมยาม เกี่ยวกับการทำสัญญา ในการลุกขึ้นนี้ เป็นสิ่งที่ฉลาดหรือน่าอัศจรรย์อยู่มาก คือว่าให้ฝึกฝนกันจริงๆในเวลาไม่เท่าไหร่ ก็จะเป็นผู้ตื่นนอน ตรงตามเวลามาก ไม่ผิดแม้แต่ว่านาทีเดียว พูดแล้วก็จะไม่เชื่อ คนที่ไม่เคยปฎิบัติย่อมไม่เชื่อ ว่าคนเราจะตื่นนอนได้ตรงตามมเวลา ที่กำหนดไว้ไม่ผิดไป แม้แต่นาทีเดียว ขอให้พยายามดูเถิดแล้วก็จะพบข้อเท็จจริงอันนี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่วิสสัยเลย ทีนี้ต่อไปถึง ปัจฉิมยาม ปัจฉิยามะยามัง ปะติถายะ ต้องลุกขึ้นเมื่อถึงปัจฉิมยาม คือตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ จังกะเมนิสายะ อาวะระกะเนอิ คือทำการชำระจิตให้หมดจดจากนิวรณ์ ด้วยการเดินและการนั่งต่อไปอีก เช่นเดียวกันกับเวลากลางวัน และปฐมยาม เอวังปะสุ กากรียะ มานะยุติโตโหนติ โดยภิกษุทั้งหลายการทำอย่างนี้นั้น คือว่าเป็นผู้ประกอบในธรรม ที่เป็นเรื่องอื่นอยู่ สรุปควมว่าข้อที่ 3 นี้ คือการประพฤติปฎิบัติที่เรียกได้ว่า เป็นผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความหลับ ทั้งที่หลับไป 4 ชั่วโมง ก็ยังเรียกว่าไม่มีการหลับ คือเป็นการประพฤติของบุคคลผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา นี้มีความหมายพิเศษที่ต้องอธิบาย ความหมายมันอยู่ที่ไม่ปราศจาก

สติสัมปชัญะ เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ตลอดเวลา เมื่อตื่นอยู่คือไม่หลับ ก็พยายามชำระจิต อยู่ตลอดเวลานี้มันก็หลับไม่ได้ มันก็ประมาทไม่ได้ เรียกว่าตื่นอยู่สุดแท้ พอถึงมัจฉิมยาม มีการหลับอย่างศีลอาไสยยา 4 ชั่วโมง นี้ก็หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านได้ บัญญัติว่าการนอนอย่างศีลอาไสยยานั้น ไม่ใช่การหลับ คำว่าการหลับ หมายถึงการหลับอย่างชาวบ้าน นอนตามสบาย นอนตามที่กิเลสมันต้องการจะนอน นอนด้วยหวังความสุขจากการนอน หวังความเอร็ดอร่อยจากการนอน ไม่ได้ตั้งสติสัมปชัญะ หรือไม่มีสติสัมปชัญะอย่างบุคคลผู้สำเร็จศีลอาไสยยา จากที่ว่าต้องนอนตะแคงข้างขวา แล้วก็วางเท้าไว้อย่างนั้น มีสติสัมปชัญะแห่การลุกขึ้น ตรงตามเวลา ธรรมนี้ก็เป็นธรรมที่น่าสนใจ คือเรียกว่านอนอย่าง ศีลอาไสยยา คือนอนอย่างราชสีห์ ไม่เคยเห็นราชสีห์นอน ก็รู้ได้โดยคำอธิบายนี้ ว่ามันนอนตะแคงแล้วก็นอนตะแคงข้างขวา เท้ามันวางซ้อนกันก็จริงแต่มันเลื่อมกันอยู่ ไม่ใช่ว่าวางซ้อนชนิดที่

มันอาจจะต้องระวัง ไม่ให้ผลัดตกลงมา เท้าข้างบนนั้นจะมีส่วนหนึ่ง ตกลงมาก่อนแล้ว เป็นเครื่องพยุงไว้ ไม่ให้การผลิกตัวนั้น ผลิกไปมาได้ มีสติสัมปชัญะนอน มันจึงไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ ในการนอนคือไม่ผลิกตัว ไม่เปลี่ยนอากัปกิริยาเท้าที่วางไว้อย่างไร นี้เรียกว่า ศีลอาไสยยา ในถะกะฐาอธิบายไว้อย่างไร ชัดเจนว่าราชสีห์ นอนในลักษณะนั้น ถ้ามันลุกขึ้นมาเห็นมีอะไรผิดแปลก ซึ่งเป็นเครื่องให้รู้ได้ว่า เมื่อนอนนั้นมีการดิ้น มีการเคลื่อนไหวเท้าแล้วมันก็โกรธตัวเอง มันก็นอนอีกไม่ไปหาอาหารกิน จนกว่าจะพอใจว่าการนอนนั้น นอนอย่างราชสีฤษ์ ไม่ได้นอนอย่างหมา มันจึงจะพอใจในการที่จะลุกขึ้น แล้วออกไปหากิน ถ้าภิกษุเราปฎิบัติอย่างนี้ ก็จะเรียกว่า ศีลอาไสยยา นอนอย่างราชสีห์ เมื่อนอนกำหนดไว้อย่างนี้

พอตื่นขึ้นมาเห็นเท้าเป็นต้น มันเคลื่อนไปจากที่แล้ว ก็ด่าตัวเองว่านอนอย่างไอ้ชาติหมา แล้วก็ลองไม่ไปบิณฑบาตรดูบ้าง นี้ก็คงจะมีประโยชน์ คือจะช่วยให้มีการนอนชนิดที่ไม่มีการหลับ ตรงตามมุ่งหมายของข้อนี้ ที่เรียกว่าไม่มีการหลับ เพราะว่าถ้าหลับ การนอนอย่าง ศีลอาไสยยานี้ไม่ถือว่าเป็นการหลับ เพราะนอนด้วยสติสัมปชัญะ เมื่อหลับลงไปก็หลับไปเลยไม่มี กิเลส นิวรณ์อะไรเกิดขึ้นได้ พอตื่นขึ้นมาก็ทำต่อไปในที่จะชำระนิวรณ์ ไม่ให้ว่าง ไม่ให้ช่องโหว่ สำหรับกิเลสจะเกิดขึ้น มันจึงมีค่าเท่ากับไม่หรับ เพราะคำว่าหลับในที่นี้หมายถึงโอกาสให้กิเลสเกิดขึ้น แต่นี่ไม่มีให้กิเลสเกิดขึ้นแม้แต่เวลานอน 4 ชั่วโมงนั้น จึงเรียกว่าไม่ได้นอน หรือไม่ได้หลับ ระเบียบปฎิบัติอย่างนี้เรียกว่า คาชะนิยานิโยชน์ ตรัสไว้สำหรับภิกษุโดยเฉเพาะ ทีนี้ก็อยากจะพูดถึงเรื่องของชาวบ้านบ้าง

ถ้าชาวบ้านมุ่งหมายจะปฎิบัติในชาตรียานิโยชน์ ก็ลองพิจารณาดูว่าจะปฎิบัติได้อย่างไร หรือว่าจะไปปฎิบัติในโอกาสเช่นไร ฆราวาสที่เป็นผู้อิสระแก่ตัว ก็ย่อมจะปฎิบัติ ชาตรียานิโยชน์ได้พอๆกันกับภิกษุ แต่ถ้ามีสิ่งอื่นผูกพัน มันก็ลดลงไปตามส่วนแห่งความผูกพันนั้น แต่ให้คงมีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน ว่าไม่เผลอสติ ไม่สูญเสีย สติสัมปชัญะไม่เกิดความประมาท ตลอดเวลาที่รู้สึกอยู่ แม้ตลอดเวลาที่นอนอยู่ก็ไม่เสียสติสัมปชัญะ เพราะว่าแม้แต่มือ แต่เท้าก็ไม่ได้เคลื่อนไหวไปแม้แต่ซักนิดเดียว

ดังนั้นมันคงจะไม่ละเมอ ไม่ฝันร้าย หรือจะไม่ทำอะไรๆในลักษณะที่เรียกว่า ไม่มีสติสัมปชัญะ เรียกว่าชาตรียานิโยกนี้ แม้ฆราวาสก็สามารถปฎิบัติได้ตามสมควร ถึงแม่ธรรมะข้อที่ 2 ที่เรียกว่าโภเชเนวะตัญญู บริโภคอาหารแต่ศักดิ์ว่าให้อาหารนี้เป็นไป พวกฆราวาสก็ปฎิบัติได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะไม่เหมือนกับภิกษุ โดยทุกอย่างทุกประการ แต่ความหมายก็จะเหมือนกัน ในข้อที่ว่าจะกินอาหาร จะแสดงในลักษณะ ปริมาณ เป็นต้น ที่เป็นการอนุเคราะห์แก่การงาน ในหน้าที่ของตน การงานที่ตนจะต้องทำให้ดีสุดนั่นแหละ เรียกว่าพรหมจรรย์ของตน แล้วแต่ว่าจะทำการงานอะไร ก็ต้องกินอาหารที่เป็นการอนุเคราะห์แก่การงาน ให้การงานนั้นมีผลดีที่สุด อย่ากินอาหารที่ว่าอย่าตามใจปาก ตามใจท้อง กินพร่ำพรื่อแต่ก็ยังหิวอยู่เหมือนกับเปรต ต้องขึ้นรถไปกินที่นั่นไปกินที่นี่ เหมือนที่คนเดี๋ยวนี้เขาปฎิบัติกันอยู่ อย่างนี้เรียกว่า ไม่รู้ประมาณในการบริโภค

โดยการบริโภคนั้นไม่เป็นการอนุเคราะห์ แก่พรหมจรรย์เลย ส่วนการปฎิบัติข้อที่ 1 ที่ว่าให้คุ้มครองอินทรีย์ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย นั้นก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นก็เหมือนกันอีก พวกฆราวาสก้ปฎิบัติได้ ตามสมควรแก่กรณีของตน เพราะมันคุ้มครองตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นแหละ มันจึงมีกิเลส มาลากจมูกจูงจมูกไป หรือว่าลากคอเอาไป ให้ไปทำในสิ่งที่กิเลสมันต้องการ จนตัวเองเดือดร้อน

แม้จะเป็นชาวบ้านก็ต้องควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจในความรู้สึกที่ ความรู้สึกนึก คิดที่เลว ทราม จะไม่เกิดขึ้นตามจิตของตน นี้เป็นความหมายเดียวกันแท้ กับความมุ่งหมายสำหรับภิกษุ มันจะพึงปฎิบัติ ข้อปฎิบัติทั้ง 3 ข้อนี้ เรียกว่า อะกันปะกะปติปทา เสมอกันหมด ปฎิบัติแล้วย่อมทำให้ได้รับประโยชน์ อานิสงฆ์อย่างที่ได้ตรัสไว้ว่า อะตังปติมะกะปติปันโน โหนติ บุคคลนั้น ภิกษุนั้นผู้ที่เป็นผู้ปฎิบัติไม่ผิดด้วย โยนิอารัตทา โหนติ อาสะวานังสะวายะ โยนีของภิกษุนั้น ปรารภแล้วด้วยดี เพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสะวะ คำว่าโยนิ หรือว่าโยนีในที่นี้หมายความว่า การเกิดมาชาติหนึ่ง ไม่ได้แปลว่าอวัยวะเครื่องเกิด หรือที่เกิด แต่แปลว่าการเกิดมาชาติหนึ่ง อารัตทา แปลว่า ภิกษุนั้นปรารภดีแล้ว อาสะวานังสะวายะ เพื่อความสิ้นไปในอาสะวะ

นี้ย่อมเป็นการระบุชัดอยู่ในตัวว่า การเกิดมาชาติหนึ่งนั้น มุ่งหมายเพื่อความสิ้นไปในอาสะวะ และจะเป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะประพฤติปฎิบัติ 3 อย่างนี้ ผู้ใดประพฤติปฎิบัติ 3อย่างนี้ ย่อมทำให้การเกิดของผู้นั้นเป็นสิ่งที่บุคคลนั้นจัดแจงดีแล้ว เพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสะวะ ดังนั้นจึงหวังว่า คนทุกคนคงจะยอมรับคติอันนี้ที่ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า คนเราเกิดมาเพื่อความเปลี่ยนไปแห่ง อาสะวะ มันมีถ้อยคำชัดเจนอยู่ แต่ว่า โยนิ หรือ โยนีนี้ในที่นี้แปลว่า การรเกิด อารัตทาของทารกคือจัดแจงดีแล้ว อาสะนะ อะกะรังสะวะยะ เพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสะวะ หมดจากนี้ก็ไม่มีอะไร คือเรื่องมันจบกัน จึงเป็นอันว่าการที่จะถือเป็นหลักนั้น เราเกิดมาเพื่อการสิ้น อาสะวะ นี้เป็นความคิดที่ถูกต้อง เป็นอันว่าพระพุทธสุภาษิตนี้ ตอบคำถามของปัญหา สำคัญที่สุดได้ดี คือปัญหาที่ถามว่าเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อพบกับความสิ้นไปแห่ง อาสะวะนั้นเอง แม้ว่าจะไม่สิ้น อาสะวะ โดยสิ้นเชิง ก็ต้องพยายามกระทำไปเพื่อให้ อาสะวะนั้นสิ้นไปๆตามลำดับๆจนกว่าจะหมดจดสิ้นเชิง นี่คือความมุ่งหมายของการที่เกิดมา

หวังว่าท่านทั้งหลาย ทั้งที่เป็นบรรพชิต และคฤหัส หรือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในระดับใดระดับหนึ่ง ที่พึงถือเอาพระพุทธโอวาสข้อนี้ เป็นหลักปฎิบัติประจำตัวจนตลอดชีวิตว่าเรา เกิดมาเพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสะวะ อย่างนี้ จงทุกๆคนเถิด ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35486

. . . . . . .