การเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7ประการ โดย ท่านพุทธทาส

การเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7ประการ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – วิปัสสนาธรรมเทศนา
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา

อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาเป็นเป็นบุพพาละลำดับ สืบต่อธรรมเทศนาที่วิสัจจนาแล้วในครั้งก่อน การจำพรรษานี้ พุทธบริษัทมีความตั้งใจที่จะประพฤติปฎิบัติธรรมะวินัย ในพระศาสนาให้มากเป็นพิเศษ ได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ที่จะประพฤติปฎิบัติ สิ่งใดให้เคร่งครัดจนเรียกได้ว่าเป็น พรหมจรรย์ ของผู้นั้น

ในกรณีนั้นก็ย่อมจะกระทำได้ สร้างความประสงค์แห่งตนๆ เป็นเรื่องที่จะต้องคิดค้น พิจารณาและหาเอาเองแล้วก็ปฎิบัติ ส่วนสิ่งซึ่งเป็นหลักใหญ่ เป็นหลักปฎิบัติในอันดับที่เป็นประธานของการปฎิบัติทั้งหลายนั้น ได้แสดงแล้วโดยหัวข้อที่เรียกว่า พรหมจรรย์ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้อย่างไร เป็นหลักทั่วไปสำหรับคนทั่วๆไป ไม่ว่าบรรพชิตหรือฆราวาส จะต้องสนใจให้พอสมควรแก่วิสัย แก่เพศ แก่ระดับ แก่ของตนๆ ในวันที่แล้วมาได้กล่าวถึงแต่หัวข้อ ในวันนี้ก็จะได้วิสัจจนาโดยรายละเอียดตามสมควร ขอทบทวนความเข้าใจหรือความจำในชั้นต้นนี้ซักทีนึงก่อนว่า สิ่งที่เรียกว่า พรหมจารียะวาส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นั้น มีอยู่เป็น 2 หมวดด้วยกันคือสัตตะฐานะกุสะโล เป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการ สติวิทูสัจจริตะธรรม การใคร่ครวญอยู่โดยวิธี 3 อย่าง รวมกันแล้วก็เป็น 10 อย่างผู้ที่กำลังประพฤติปฎิบัติ พรหมจรรย์นี้เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งกิเลสนั้น ก็เรียกพรหมจรรย์นี้ว่า อาคะมณียะคติคะปะทา คือข้อปฎิบัติที่บุคคลจะพึ่งปฎิบัติ ให้บรรลุให้ถึงซึ่งจุดหมายปลายทาง กล่าวคือพระนิพพานนั้น

แต่ถ้าบุคคลผู้ใดได้ประพฤติปฎิบัติ จนถึงที่สุดแล้ว ยังคงปฎิบัติอย่างเดียวกันต่อไป นี้ก็เรียกว่า วิหาระธรรม ของบุคคลนั้น เราจะคิดพิจารณาเห็นได้ง่ายว่า สิ่งใดที่เรายังทำไม่ได้ ยังพยายามที่กำลังจะทำให้ได้ นั้นก็เรียกว่าข้อปฎิบัติ พอทำสำเร็จแล้วได้รับประโยชน์จากสิ่งนั้นอยู่ มันไม่ใช่เรื่องที่จะต้องปฎิบัติแล้ว แต่เป็นการเสวยผลของการปฎิบัติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า วิหาระธรรม คือธรรมสำหรับเรื่องความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น ยกตัวอย่างง่ายๆเหมือนอย่างว่า คนๆหนึ่งฝึกหัดไปขี่รถจักรยาน เมื่อเขากำลังหัดขี่รถจักรยานก็ต้องล้มลุกคลุกคลาน ไปตามธรรมดาของการฝึก อย่างนี้เรียกว่า ปฎิปทาหรือการปฎิบัติพระธรรม ที่จะต้องปฎิบัติให้สำเร็จ กล่าวว่าต่อมาเขาทำได้สำเร็จ เป็นผู้คล่องแคล่วในการใช้จักรยานนั้น เขาเรียกว่าการใช้ประโยชน์จากรถจักรยานนั้น อย่างนี้ไม่ใช่การปฎิบัติ หรือปฎิปทาแต่ก็สงเคราะห์เข้าใน วิหาระธรรม คือการเป็นอยู่ การมีชีวิตอยู่ด้วยจักรยานนั้น ข้อนี้มีอุปมาชั้นใด บุคคลผู้ปฎิบัติธรรมประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา ถ้ายังไม่ถึงกิเลสซึ่ง อาสะวะ อยู่เพียงใด การประพฤติกระทำนั้นก็ยังได้ชื่อว่า ปฎิปทา หรือว่าข้อปฎิบัติหยุดเพียงนั้น การปฎิบัติถึงที่สุดได้รับผลเป็นการหมดสิ้น กิเลสแห่ง อาสะวะ แล้ว ก็กลายเป็นเรียกว่า สัจจศัพมหาระธรรม คือธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างติดต่อกันไปของบุคคลนั้นๆ

ทีนี้ก็อาจจะมีคนสงสัยขึ้นมาว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์ไม่มีกิเลส ไม่มีทุกข์แล้ว ทำไมจะต้องทำอย่างนั้นอยู่อีกเหล่า มันก็เหมือนกับว่าเขาขี่จักรยานเป็นแล้ว เขาก็ใช้รถจักรยานนั้นแม้ที่สุดแบบว่าขี่เล่นสนุกๆ ก็ยังกระทำได้ ข้อนี้มีอุปมาชั้นใด ผู้สิ้น อาสะวะแล้วก็ยังประพฤติข้อปฎิบัติที่เรียกว่า พรหมจรรย์ 10 ประการนี้เหมือนกับว่ากระทำไปเพื่ออยู่กันผาสุก ให้มันติดต่อกันไปอย่างนั้นเอง อย่างว่าเห็น อนิจัง สุขัง อนัตตา อาจจะสิ้นกิเลสแล้ว ก็ยังชอบดูความเป็นอนิจัง สุขัง อนัตตาของสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงอยู่ เรื่อยๆไปอย่างนี้ก็ไม่เห็นจะขัดข้องอะไร เพราะว่ามันไม่มีอะไรที่น่าดู หรือใคร่ครวญยิ่งไปกว่านี้ จิตอื่นที่จะต้องทำก็ไม่มีแล้ว

สิ่งที่จะต้องทำมันก็เรียกเอาว่าจะทำอะไร ตามสะดวกใจอย่างน้อยที่สุดก็ให้ดู ให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น สำหรับจะไปสอนผู้อื่นต่อๆไปอย่างนี้ก็มีประโยชน์ ทีนี้จะได้กล่าวถึงพรหมจรรย์ โดยหัวข้อ 10 อย่างนั้นโดยรายละเอียด ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น พรหมจรรย์ 10 อย่างนั้นแบ่งเป็น 2 หมวด หมวดแรกเรียกว่า สัตตะฐานะกุสะโล ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการนี้หมวดแรก หมวดแรกที่มี 7 ประการนี้ก็ยังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1ก็คือ พิจารณาใคร่ครวญเห็นอยู่ซึ่งเบญจขันธ์ ในลักษณะ 4 ประการ ตามวิธีของการเห็นซึ่ง อริยะศัพท์ คือเห็นว่า เบญจขันธ์เป็นอย่างไร มีอย่างหนึ่งเห็นว่าเบญจขันธ์นี้เกิดขึ้นอย่างไร เห็นว่า เบญจขันธ์ นี้จะดับไปได้โดยวิธีใด แต่ว่าทำอย่างไรถึงจะดับ เบญจขันธ์นั้นได้ นี้เป็นลักษณะ 4 อย่างนี้ ต่อไปก็ดูความที่ เบญจขันธ์นั้นมี อัตสาคะคือรสอร่อย ยั่วยวน ล่อลวง ให้บุคคลนั้นหลงใหลในเบญจขันธ์นั้นอย่างหนึ่ง แล้วก็ดูความมี

อาคีราวะ คือโทษที่เลวทราม ที่ต่ำทรามที่มีอยู่ใน เบญจขันธ์ ที่ล่อลวงให้คนหลงใหลยึดมั่นนั้น นี้ก็อย่างหนึ่ง แล้วก็ดูซึ่งนิตสะระระ เป็นอุบายออกไปจากเครื่องเบญจขันธ์นั้น ไม่ถูกลวงให้หลงใหลอีกต่อไปนี้ก็อย่างหนึ่งรวมกัน 3 อย่าง รวมเข้ากับพวกแรกเป็น 4 อย่าง จึงเป็น 7 อย่าง ถ้าพิจารณาจนเข้าใจท่องแท้ในเรื่องนี้ ก็เรียกว่าเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการ ทีนี้จะได้พิจารณาถึงฐานะ 4 ประการขั้นต้นก่อน รู้จัก เบญจขันธ์ว่ามันเป็นอย่างไร ว่าเกิดมาได้อย่างไร ว่าจะดับไปอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรถึงจะดับอย่างนั้นได้

ขอให้คนที่ยังไม่เคยสนใจ สังเกตหรือไม่เคยได้ยิน ได้ฟังเสียเลยว่านี่เป็นวิธีการสำหรับ การพิจารณาในพระพุทธศาสนา ก็จะเรียกว่า กักตะวิธี หรือกักตะวิทยาในพระพุทธศาสนาก็ยังได้ โดยถือเอาหลัก 4 ประการนี้ใช้ได้ในทุกกรณี คือจะมีเป็นคำถามขึ้นมาว่า สิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนั้นจะเกิดจากอะไร สิ่งนั้นเพื่อประโยชน์อะไรและจะทำสำเร็จได้โดยวิธีใด เป็นคำจำง่ายๆสั้นๆว่า อะไร และก็จากเหตุอะไร เพื่อประโยชน์อะไรและก็โดยวิธีใด เรื่องอริยะศัพท์ก็มี พิจารณาอย่างนี้ แม้เรื่องที่มีวิธีคล้ายๆกัน ก็มีวิธีอย่างนี้ ในที่นี้พระพุทธเจ้าท่านตรัสและให้สิ่งพิจารณาสิ่งที่เรียกว่า เบญจฐาน ว่าอะไรคือ เบญจฐาน ว่า เบญจฐานเกิดมาจากอะไร

เบญจฐานเพื่ออะไรก็เพื่อดับไป แล้วก็จะทำด้วยวิธีใด เบญจฐานนั้นจึงจะดับไป เป็น 4อย่าง อย่างนี้ ว่าคืออะไร จากอะไร เพื่ออะไรและโดยวิธีใด เป็น 4 หัวข้อด้วยกัน ขอให้จำไว้ใช้ในกรณีทั้งหลายที่เกี่ยวกันกับคนเรา เพราะว่าเราจะมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็ต้องตั้งปัญหาขึ้นมาอย่างนี้ว่าสิ่งนี้มันเป็นอย่างไร มันมาจากอะไร มันมีประโยชน์อย่างไร มันสำเร็จประโยชน์ได้ด้วยวิธีใด พอจะรู้จักบุคคลสิ่งของหรืออะไรต่างๆแม้สิ่งที่เป็นศัพท์ว่ากิริยาอาการ ที่เกี่ยวข้องอยู่กับคนเราได้โดยหัวข้อทั้ง 4 นี้ เมื่อมีหลักเกณฑ์อย่างนี้แล้วก็อาจจะใช้หลักเกณฑ์ในการแก้ปัญหาต่างๆได้ ในที่นี้พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมาย ที่จะให้ศึกษาพิจารณา แก้ปัญหาอันสิ่งที่เรียกว่า เบญจฐาน ทีนี้สำหรับคำว่า เบญจฐานนั้น มีอยู่กัน 2 อย่าง แม้จะเรียกว่า เบญจฐาน 1 ก็ยังมีเป็น 2 อย่าง อย่างหนึ่งไม่มีกิเลสใดๆเข้าไปยึดถือ ยึดครอง เป็น

เบญจฐาน ที่ยังว่างจากอุปาทานอยู่อย่างหนึ่ง ส่วนอีกอย่างหนึ่งนั้นเป็น เบญจฐานที่ประกอบอยู่ในอุปาทาน คือการยึดมั่น ถือมั่นนี้อย่างหนึ่งเป็น 2อย่าง ทีนี้ เบญจฐานอย่างแรกที่ไม่มีอุปาทานเกิดขึ้นยึดครองนั้นไม่มีปัญหา ไม่มีเรื่องไม่มีราว ที่จะทำให้ใครเป็นทุกข์ได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึง ส่วนเบญจฐานที่มีอุปาทานเข้าไปยึดครองนั้นแหละ มันมีเรื่องมีราว คือเกิดกิเลสตัณหา และเกิดทุกข์ ดังนั้นในกรณีนี้ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า เบญจขันธ์ นี้มันหมายถึง ปัญจุปาคานะขันธ์ คือ เบญจขันธ์ที่มีความยึดมั่น ถือมั่น จะเป็นรูปหรือเวทนา สังขาร สัญญาหรือวิญญาณทั้งหมดนั้น

ในเวลานั้น ในกรณีนั้นล้วนแต่ถูกยึดมั่นด้วยอุปาทาน เห็นรูปโดยความเป็นตน หรือความเป็นของๆตน นั้นเวทนาโดยความเป็นตน หรือเป็นของตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตัวตน หรือเป็นของๆตน เห็นสังขารโดยความคิดนึกนั้น โดยความเป็นตัวตนหรือความเป็นของๆตน เห็นวิญญาณที่รู้แจ้งอะไรต่างๆนั้นไปตามเป็นตนหรือเป็นของตน ขันธ์ทั้ง 5อย่างที่กำลังถูกยึดถือ อยู่ด้วยอุปาทานอย่างนี้ ถ้าเรียกเต็มที่ก็เรียกว่า ปัญจุปาคานะขันธ์ เรียกตามธรรมดาสามัญก็เรียกว่า ปัญจขันธ์หรือเบญจขันธ์ ขันธ์ 5 เฉยๆก็ได้ เรียกว่าขันธ์ในที่นี้เป็นภาษาไทย หมายถึงขันธ์ 5 อุปาทานเข้าไปยึดครอง และจึงมีความทุกข์ และถ้าจะพูดให้เต็มที่ไม่ให้หลีกเลี่ยงได้ก็ใช้คำว่า ปัญจุปาคานะขันธ์ เสมอไปอย่างบทสวดที่สวดเวลาเช้าว่า สันติเตนะ ปัญจุปาคานะขันธ์ นะคา ทุกขา เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วเบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานแล้วเป็นตัวความทุกข์ดังนี้ เดี๋ยวเราไม่ชอบพูดยาวๆยืดยาดเสียเวลาเราก็เรียกว่า ขันธ์ 5 เฉยๆ

แม้ในบางกรณีพระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่าเป็น เบญจขันธ์เฉยๆแต่หมายความถึง ปัญจุปาคานะขันธ์ หมายถึง เบญจขันธ์ที่มันมีความทุกข์ เพราะถ้าไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นมันก็ไม่มีปัญหาอะไร ในตอนนี้อยากจะให้มีความเข้าใจชัดเจน สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจว่า เบญจขันธ์ที่ไม่มีความยึดมั่น ถือมั่นนั้น ยกตัวอย่างเหมือนกับว่าตาเราเห็นรูป หรือหูได้ฟังเสียงก็ตาม ก็รู้อยู่เห็นอยู่ว่านี่เป็นอะไร รู้อยู่เช่นว่ามันสวยหรือมันไม่สวย หรือเป็นรูปอะไร มีความหมายอย่างไรแล้วมันก็เลิกกัน ไม่สนใจที่ว่าจะทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างนี้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่มีความยึดมั่นด้วยอุปาทาน มันเป็นขันธ์ 5 ชนิดที่ไม่มีอุปาทาน ก็ไม่มีเรื่องอะไร เหมือนอย่างว่านั่งอยู่ที่นี่ เหลือบตาไปทางนั้นก็เห็นของนั่นนี่ เห็นธงแผ่นนั้นมีรูปกวาง แล้วก็มีอย่างนั้นแล้วมันก็สวยดี ความคิดนึกเกี่ยวกับรูปในแผ่นธงนั้นก็มี ตาก็เห็นแล้วมันอยากให้จำได้ว่ารูปอะไร นี่ก็เรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดขึ้นครบแล้วในแผ่นธงนั้น แต่ไม่มีอุปาทานใดๆที่จะไปยึดถือ จึงไม่มีความทุกข์ เราจึงเหลียวไปทางไหนก็ได้

เราจึงเห็นอะไรก็ได้ ได้ยินอะไรก็ได้แต่แล้วไม่มีความทุกข์ เพราะยังไม่มีอุปาทาน กรณีที่จะมีความทุกข์นั้นมันจะมีอุปาทาน เช่นตาเหลือบไปเห็นคนที่เกลียดน้ำหน้าเดินมา การเห็นนั้นมันก็ทำให้เกิดแก่ความคิด รู้สึกที่ลึกไปกว่าธรรมดา คือมันโกรธ มันเกลียดอยู่แล้ว สัญญามันก็จำได้ว่า คนนี้มันเป็นศัตรูของกู การได้เห็นมันก็เกิดเป็นเวทนา เจ็บปวดในใจขึ้นมา ความคิดเกี่ยวกับการเห็นนี้ ก็เป็นไปเพื่ออาฆาตมาตร้าย การเห็นก็เลยกลายเป็นที่ตั้งแห่งการยึดมั่น ถือมั่น แม้ว่ารูปที่เห็นคือรูปของศัตรูนั้นก็ถูกยึดมั่น ถือมั่น เวทนาที่เกิดมาจากการเห็นศัตรูนั้นก็ถูกยึดมั่น ถือมั่น สัญญาความจำได้ว่าเป็นศัตรูนี้ก็ถูกยึดมั่น ถือมั่น สังขารความคิด ความนึกอะไรต่างๆเกี่ยวกับศัตรูนั้นมันก็เป็นความยึดมั่น ถือมั่นแม้แต่ว่า จตุวิญญาณที่เห็นแล้วทำให้เกิดภาพศัตรูขึ้นมาในใจ รูปยึดมั่น

ถือมั่นในฐานะเป็นตัวกู ผู้ทำการเห็นมันก็ยึดมั่น ถือมั่นส่วนใดส่วนหนึ่งว่า เป็นตัวกูบ้าง เป็นของกูบ้าง ซึ่งกูผู้เห็นแล้วก็เห็นศัตรูของกู ก็มีความหมายมาตร้าย คิดทำลายชีวิตกู อะไรเหล่านี้ มันเต็มไปด้วยอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น คือความเป็น อัตตา อัตตะณีญา คือความเป็นไปหมด ขันธ์ 5 ชนิดนี้เรียกว่า ปัญจุปาคานะขันธ์ คือขันธ์ 5 ที่มีความยึดมั่นเต็มไปด้วยความยึดมั่น ขันธ์ 5ชนิดนี้เป็นความทุกข์ ทีนี้ขันธ์ 5 ชนิดที่มีความยึดมั่น ถือมั่นนี้ เราอาจจะเรียกสั้นได้ใหม่เลยว่าเป็นตัวกู หรือเป็นของกู เพราะในแต่ละขันธ์นั้นจะมีความหมาย เป็นตัวกู เป็นของกูไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งเสมอไป ดังนั้นในกรณีที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เบญจขันธ์ในที่นี้นั้นก็คือความรู้สึกที่เป็นตัวกู หรือเป็นของกูนั่นเอง ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ต้องรู้ว่ามาจากอะไร มันมาอย่างไร

มันมีประโยชน์อยางไร มันดับด้วยวิธีใด เราก็พูดได้เลยว่าตัวกูนี้กำลังเป็นอย่างไร ไอ้ตัวกูนี้มันเกิดมาจากอะไร ตัวกูตัวนี้มันเพื่ออะไรกัน แล้วมันจะทำอยางไรให้สำเร็จได้กัน 4 หัวข้อย่างนี้ ฉะนั้นจึงพิจารณาด้วยสติปัญญาว่า ตัวกูนี้ที่ถือกิเลสขึ้นมาจาก อุปาทาน ว่าตัวกู ว่าของกูมีมูลมาจากอวิชชา หรือไม่มีสติสัมปชัญะในขณะที่ตาจะเห็นรูป รูปที่ทำให้เกิดตัวกู ของกูนั่นเอง นี้รู้จักว่าตัวกูนั้นเป็นอะไร หรือคืออะไร ก็พิจารณาต่อไปว่าตัวกูนี้เกิดมาจากอะไร ในอันดับแรกก็จะเห็นว่าตัวกูนี้เกิดมาจากความยึดมั่น ถือมั่น แต่ว่าความยึดมั่น ถือมั่นนั้นมาจากอะไร มันก็มาจากอวิชชา อวิชชาที่ตรงไหนและเมื่อไหร่ อวิชชาที่จิตละจากภาวะที่เป็นปกติ มากำหนดที่อารมณ์มาตั้งที่ความยึดมั่นนี่แล้ว มันก็เกิดเป็นอวิชชา เฉเพาะในกรณีนี้สำหรับจะปรุงแต่ง

ความยึดมั่นถือมั่น ในตัวอย่างที่ว่าเราเหลือบตาไปเห็นคนที่เป็นศัตรูของเรานั้น ในขณะนั้นจิตละจากความเป็นปกติธรรมดาสามัญ มาให้อวิชชาเข้าครอบงำเกิดขึ้น ในการที่จะไปยึดมั่นว่า มันเป็นศัตรูของกู ขณะที่จิตละสภาพจากความปกติ หรือบางทีอาจจะพูดลึกไปถึงว่า จิตละจากภาวะแห่งภวังค์ จะมาสู่ความสวรรณาสารกิจนั้น ตอนนี้เองอวิชชาย่อมได้โอกาส คือมีความเผลอสติสัมปชัญะ ปราศจากสติสัมปชัญะ อวิชชาก็ได้โอกาสเกิดขึ้นในจิตนั้น แล้วก็ปรุงแต่งให้เป็นอุปาทานมันก็เกิดจิตอันใหม่ว่าอันนี้ศัตรูของกู เนี่ยคือข้อที่ว่าตัวกูมันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือพูดว่า ปัญจุปาคานะขันธ์ ในกรณีนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทีนี้ก็พิจารณาต่อไปว่าเพื่ออะไร ถ้าตั้งคำถามอย่างนี้ก็หมายความว่า ตั้งคำถามอย่าง ศรัทบุรุษ คือคนดี หรือเป็นพระอริยเจ้า ตั้งคำถามขึ้นมาว่ามันเพื่ออะไร ท่านก็ตอบว่าก็เพื่อดับมันเสียสิ การที่ตัวกูมันเกิดขึ้นมานี้ เกิดขึ้นมาเพื่อให้เราดับมันเสีย แต่ถ้าไปถามพวกอันตพาลสันดานหยาบ มันก็ตอบว่าก็เพื่อให้กูฆ่ามันเสียสิ กูจะฆ่าศัตรูของกูเสีย กูจะทำลายให้มันวินาฎไป มันก็เลยรี่เข้าไปทำร้ายศัตรู

แต่ถ้าสำหรับพระอริยเจ้าของ ศรัทบุรุษ เมื่อเกิดความชั่วร้ายอย่างนี้ขึ้นมาแล้วในใจ ท่านก็ถามตัวเองว่านี่คืออะไร ก็ว่านี่เพื่อดับมันเสีย ทีนี้ก็นึกถึงการดับไปถึงตัวกู ว่ามันจะไม่มีภาวะที่เลวทรามชนิดนั้น เพื่อให้เอา ความยึดมั่น ถือมั่นที่เอามาจากอวิชชานั้นออกไปเสียจากจิตใจ จิตใจก็ถึงภาวะที่ปกติ มีความสว่าง สงบได้ตามเดิมนี้คือการดับไปแห่งตัวกู ทีนี้ทำอย่างไรถึงจะดับมันได้ ตามหลัก ตามตัวหนังสือก็ว่าใช้
อัตถาจิปามรรค 8ประการเป็นเครื่องดับ อัตถาจิปามรรค 8 ประการนี้สรุปโดยใจความแล้วเหลืออยู่แต่เพียงความถูกต้อง ความรู้ ความเข้าใจถูกต้อง ว่าความต้องการที่ถูกต้องแล้วจะประพฤติจะทำไปถูกต้อง ถ้าเป็นอยู่อย่างถูกต้องแล้ว ความคิดอันชั่วร้ายนั้นก็ดับไป หรือไม่อาจจะเกิดขึ้นอีก นี้เป็นเรื่องการดับเสีย ซึ่งตัวกูและของกู

ทบทวนอีกครั้งนึงว่าเกิดความรู้สึกเป็นตัวกู ของกูขึ้นมาเพราะเผลอสติ จากการเห็นรูปก็ได้ จากการฟังเสียงก็ได้ จากการดมกลิ่นก็ได้ แต่ว่าเป็นชนิดที่มีความหมายที่ทำให้เกิดอวิชชา อุปาทาน เรียกว่าตัวกูคือสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว และก็เกิดมาจาก อุปาทานจากอวิชชา เราเกิดมานี้เพื่อสำหรับที่จะดับไป และเราจะต้องดับเสียไม่อย่างนั้นจะเป็นทุกข์ รีบปรับปรุงจิตใจให้ถูกต้อง ตามหลักของ อัตถาจิปามรรคแล้วมันก็ดับไป นี้เรียกว่าเป็นผู้มีความฉลาด 4 ประการเกี่ยวกับตัวกู ของกู หรือจะเรียกว่า เบญจขันธ์ที่ประกอบด้วย อุปาทานก็ได้มันเป็นอย่างเดียวกัน ถ้าเรียกอย่างภาษาพระคัมภีร์ก็เรียกว่า เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน ถ้าเรียกอย่างชาวบ้านตามความรู้สึกของชาวบ้านก็เรียกว่า ตัวกู ของกู งั้นเมื่อใดพูดตัวกู ของกู ขอให้เข้าใจเถิดว่ากำลังพูดถึง เบญจขันธ์ที่กำลังประกอบด้วยอุปาทาน เดี๋ยวนี้ผู้ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ ข้อนี้ก็มีหลัก 4 ประการ หรือจะพิจารณาให้เห็นชัด แจ้งอยู่เสมอ ว่าเบญจขันธ์หรือตัวกูนั้นเป็นอย่างไร ว่ามันเกิดมาจากอะไร และมันเพื่ออะไรต่อไปและมันจะได้โดยวิธีใดที่จะเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวนี้เราตั้งปนิพพานว่า ตลอดพรรษานี้เราจะประพฤติพรหมจรรย์ ที่เป็นชั้นสูงสุด ที่เป็นชั้น ที่เป็นหลัก เป็นประธานดังนี้แล้ว บทเรียนมันก็มีง่ายๆว่า เราจะคอยระวังให้มีความรู้สึกตัวทั่วถึงอยู่เสมอในการที่จะรู้ว่า ตัวกูเกิดขึ้นแล้วหรือว่าตัวกูมิได้เกิด

ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วมันเป็นอย่างไร มันมาจากอะไร มันเพื่อประโยชน์อะไร มันจะได้โดยวิธีใด ก็ดังในตัวอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ในกรณีที่เห็นหน้าคนเกลียดชังเป็นศัตรูคู่เวร มันก็เกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้ ก็มาจากความเผลอสติและเกิดมานี้เพื่อให้เราดับเสีย อย่าเอาไว้ ถ้าเอาไว้มันจะเผาให้เร่าร้อนอย่างกับตกนรกทั้งเป็น งั้นจะต้องดับมันเสีย ดับโดยวิธีใด โดยวิธีที่เรียกร้องสติสัมปชัญะกลับมาใหม่ ให้มีจิตใจอยู่ในร่องในรอยของธรรมะและมันก็ดับไป ตลอดพรรษา 3 เดือนนี้เวลาทั้ง 90 วัน วันหนึ่งๆมันอาจจะเกิดตัวกูได้ตั้งหลายตัวหรืออาจจะหลายสิบตัว หลายร้อยตัวก็ได้ ถ้าคนมันบ้าจัด หรือว่าคนมันไม่มีธรรมะเอาเสียเลย และไม่ตั้งใจที่จะระมัดระวังเสียเลย ตัวกูมันก็เกิดขึ้นได้วันละหลายๆสิบตัว วันละร้อยตัว มันก็เป็นการตกนรกทั้งเป็น เป็นพระเป็นเณรก็ตกนรกชนิดนี้ได้ เป็นอุบาสถ อุบาสิกกาก็ตกนรกนี้ได้ และเป็นนรกจริงที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่านรกนั้นมันอยู่ที่ตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ เช่นเดียวกับสวรรค์ก็อยู่ที่ ตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจ

เดี๋ยวเราทำผิดไปในเรื่องตา หรือตาเห็นคนที่เป็นศัตรูคู่อาฆาตแล้วก็ทำผิด มันก็เกิดนรกขึ้นทางตา อาจจะเกิดทางเสียงได้ยินเสียงของคนที่ไม่ชอบ ของคนที่เป็นศัตรู เป็นคู่เวร คู่อาฆาต เป็นคู่ทะเลาะ คู่หึงหวงอะไรก็ตามใจ พอศักดิ์ว่าได้ยินเสียงคนนั้นเท่านั้น มันก็เกิดนรกขึ้นในใจ แม้จะได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสมามันก็อย่างเดียวกันอีก ถ้าเป็นเรื่องของฝ่ายที่เราไม่ชอบแล้ว มันก็เกิดเป็นความทุกข์ เรียกว่าเป็นนรกขึ้นมาได้ทางตา ทางหู ทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ นี่ถ้ามันปกติอยู่ หรือว่าทำถูกวิธีจนมีพร้อม มีความพอใจ สบายใจ ก็เรียกว่าสวรรค์ได้ก็เรียกว่าสวรรค์ที่ตา หู ลิ้น จมูก กาย ใจด้วยเหมือนกัน นี่ถ้าจะขี้เกียจทั้งนรกและสวรรค์ ก็เลิกเสียให้หมด

ให้เหลือแต่ความเป็นปกติ คือมีจิตใจที่ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ถ้ายินร้ายก็เป็นนรก ถ้ายินดีก็เป็นสวรรค์ อย่าให้มันมีเรื่องยินดี ยินร้ายมันก็เป็นเรื่องนิพพาน แม้ว่าจะเป็นนิพพานชนิดชั่วคราว นิพพานชนิดชั่วขณะ นิพพานตัวอย่างอะไรก็ตามใจมันก็ยังดี เนี่ยแม้ในวันหนึ่งๆเพียงวันเดียวก็จะมีนรกหลายชนิดและอาจจะมีสวรรค์ได้หลายชนิด เพราะการที่ไม่รู้จักควบคุมสิ่งที่เรียกว่าตัวกู ของกูมันเกิดขึ้นมาทีไร ไม่เป็นนรกก็เป็นสวรรค์ ถ้ามาทำให้รักให้พอใจมันก็เป็นสวรรค์ได้ในขณะหนึ่ง แต่มาทำให้โกรธ ให้เกลียด ให้เร่าร้อนมันก็เป็นนรกได้ทีนึง ในวันหนึ่งๆ เดี๋ยวเราจะเอาอย่างที่เป็นไปเพื่อนิพพาน ก็ตั้งความปราถนาว่า ตลอดพรรษาหนึ่งนี้ ระวังจิตใจไม่ให้เกิดยินดี ยินร้ายด้วยอำนาจของอุปาทานในเบญจขันธ์ทั้ง 5นั้น นี้คือพรหมจรรย์ 4 ประการแรก เหลือ 3ประการก็คือว่ารู้จัก อัตสาทะ อาคีนาวะ และนิตสะระระของเบญจขันธ์ ก็พิจารณาต่อไปในเรื่อง อัตสาทะก่อน อัตสาทะแปลว่ารสอร่อย ก็พิจารณาว่าไอ้ตัวกู ของกูนี้

พอเกิดขึ้นในใจแล้วมันมีรสอร่อย ได้ด่าเขาก็อร่อย ได้ตีเขาก็อร่อยไป หรือแม้แต่คิดในใจมันก็อร่อย อร่อยทางเย็นก็ได้ อร่อยทางร้อนก็ได้ เมื่อมันได้ตามความต้องการของกิเลสแล้วมันจะรู้สึกอร่อย เนี่ยเราจึงพูดว่าแม้แต่กิเลสมันก็ยังมีรสอร่อย และตัวกู ของกูที่เป็นอุปาทานนี้ ส่วนนี้ก็เป็นรสอร่อย ก็ได้ตามความต้องการของกิเลส มันจึงยั่วให้คนเราชอบ รัก ชอบเกลียด ชอบยินดี ยินร้ายนี้เรียกว่าส่วนที่มันเป็น อัตสาทะ คือมันหลอกให้คนยินดีที่จะมีกิเลส กิเลสมีความยั่วยวน สำหรับให้คนยินดีที่จะมีกิเลส ส่วนนี้เขาเรียกว่า อัตสาทะ เราต้องรู้จักว่ากิเลสมันมี อัตสาทะ มีเหยื่อล่อให้คนจมติดอยู่ในกิเลส ส่วนที่ 2ตัดไปเรียกว่า อาคีนาวะแปลว่าโทษ ความเลวทรามในกิเลสที่มีความอร่อยนั้น มีความเลวทรามรวมอยู่ด้วย หรือส่วนที่จะเป็นทุกข์ ที่จะทำให้เร่าร้อนเหมือนกับตกนรกทั้งเป็น ความรักก็เร่าร้อนไปตามแบบของความรัก

ความเกลียดก็ร้อนไปตามแบบของความเกลียด ความโลภ ความโกรธ ความหลงอย่างใดอย่างหนึ่งก็มีความเร่าร้อนไปตามแบบของมันๆ เพราะฉะนั้นในรสอร่อยนั้น ย่อมมีโทษมีความเลวทรามปนอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง ถ้าจะเปรียบให้เห็นง่ายๆก็เปรียบเหมือนกับว่า เหยื่อที่หุ้มเบ็ดให้ปลานั้นกินเบ็ดเข้าไป มันก็อร่อยส่วนที่มันกินเหยื่อ แล้วมันก็เจ็บปวดสิ่งที่มันติดเบ็ด ส่วนที่เป็นความอร่อยของเหยื่อนั้นก็เรียกว่า สาทะของเหยื่อ ส่วนที่เป็นความเจ็บปวดของเบ็ดนั้นเรียกว่า อาคีนาวะ ที่รวมอยู่ในเหยื่อ เนี่ยในเบญจฐานที่ประกอบด้วย อุปาทานมันมีทั้งรสอร่อย มีทั้งความเจ็บปวด อย่างที่ 1เรียกว่า อัตสาทะ อย่างที่ 2เรียกว่า อาคีนาวะ ดูไปถึงอย่างที่ 3 เรียกว่า นิตสะระณะ คืออุบายหรือวิธีอันใดที่ปลาตัวนั้นจะหลุดไปจากเบ็ดได้ มันก็ได้แก่การมีสติสัมปชัญะ มีความรู้ถูกต้อง เกิดขึ้นมา มีวิธีที่จะหลุดไปจากเบ็ดนั้นได้อย่างนี้เรียกว่า นิตสะระณะ

นับตั้งแต่ว่าจะหลีกไปเสียจากอารมณ์เหล่านี้ เช่นออกบวช เป็นต้น หรือว่าเวลาเผชิญหน้าอยู่กับอารมณ์เหล่านี้ ก็มีอุบายเฉลียวฉลาดที่จะไม่ให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นในใจ ให้ตาเห็นรูปก็ศักดิ์ว่าเห็น ให้หูได้ยินเสียงก็ศักดิ์ว่าได้ยิน ถือว่าได้กลิ่นก็ศักดิ์ว่าได้ดมอย่างนี้ เป็นต้น ไม่เกิดอวิชชา อุปาทานซึ่งเป็นกิเลสนี้เป็นอุบาย เป็นเครื่องออกอย่างวิเศษที่สุด คือไม่ต้องวิ่งหนีไปไหน ก็พ้นได้ในที่ตรงนั้นเอง กิเลสเกิดขึ้นที่ตรงไหน ก็พ้นจากกิเลสนั้นได้จากที่ตรงนั้นเอง ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า นิตสะระณะ แปลว่า อุบายวิธี เป็นเครื่องออก เหมือนว่าปลาตัวที่ติดเบ็ดแล้ว

ถ้ามันมีปัญญา มีความสามารถสลัดให้หลุดไปจากเบ็ดได้ โดยวิธีใดมันก็หลุดออกไปโดยวิธีนั้นเอง ที่ตรงนั้นเองคือที่ตรงไหน ก็ตรงที่เบญจขันธ์อันประกอบด้วยอุปาทานนั้นเอง หรือว่าที่ตัวกู ของกูนั้นเอง อะไรๆด้วยดีเถิดมันรวมอยู่ที่ตัวกู ของกูทั้งนั้น อร่อยก็ที่ตรงนั้น เป็นโทษ เป็นเลวทรามก็ที่ตรงนั้น จะดับทุกข์ดับโทษเสียได้ก็ที่ตรงนั้น นั้นขอให้ตั้งหน้าตั้งตา สังเกตพิจารณาให้รู้สึกตัวทั่วถึงอยู่เสมอ ให้รู้จักตัวกู ของกู ว่ามันเป็นอย่างไร ว่ามันเกิดมาจากอะไร เกิดเมื่อใด เกิดแล้วเป็นอย่างไร

มันเพื่อประโยชน์อะไร จะดับเสียได้โดยวิธีใด ถ้ารู้อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการ เรียกว่า สัตตะฐานะกุสะโล ชุดแรก 7 อย่างทบทวนอีกครั้งนึงว่า จะเป็นผู้รู้จักใน เบญจขันธ์ซึ่งประกอบไปด้วยอุปาทานที่ด้วยตัวกู ของกูนั้นด้วย ที่มีลักษณะ 4 คือรู้ว่ามันคืออะไร รู้ว่ามันมาจากอะไร สามเพื่อจะรู้ว่ามันมีประโยชน์อะไร 4 รู้จักว่ามันจะสำเร็จโดยวิธีใด ตัวกูเกิดขึ้นอย่างนี้เกิดจาก ตัณหาอุปาทาน เพื่อให้เราดับเสีย แล้วก็ดับได้ด้วยสติสัมปชัญะ ปัญญาที่มาทันท่วงที มาทันควัน ช่วยดับมันไปเสียได้ 4 อย่าง พร้อมกันนั้นก็ฉลาดในการที่จะรู้ว่า มันมีเหยื่อล่ออย่างไร มันมีความเลวทรามอย่างไร มันมีวิธีที่จะหนีออกไปได้อย่างไร 3 อย่างรวมกันแล้วก็เป็น 7 อย่าง ขอให้เอาไปพินิจพิจารณา ศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและตั้งปรินิพพานว่า จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ตลอดพรรษานี้ ฝึกฝนให้มีความเชี่ยวชาญ ว่องไวในการที่จะป้องกันไม่ให้มันเกิด และมีความว่องไวในการที่จะสลัดออกไปเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว แปลว่าป้องกันก็ฉลาด แก้ไขก็ฉลาด ก็จะไม่ตกนรกทั้งเป็น ตลอดพรรษาหนึ่งนี้เป็นแน่นอน ส่วนที่เหลืออีก 3 อย่างนั้นจัดไว้พิจารณาในวันหลัง วันนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ เรื่องนึงแล้วเรียกว่า สัตตะฐานะกุสะโล ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7 ประการ มีนัยยะดังที่วิสัจจนามา พอสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35485

. . . . . . .