ทางแห่งความไม่ประมาท โดย ท่านพุทธทาส

ทางแห่งความไม่ประมาท โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – วิปัสสนาธรรมเทศนา
ทางแห่งความไม่ประมาท
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา นั่นเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาเนื่องในวันที่เข้าพรรษา เป็นไปเพื่อให้เกิดความไม่ประมาท ดังที่ท่านทั้งหลายเคยทราบกันอยู่ดีแล้ว ความประมาทนั้นท่านพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่งความตาย บุคคลผู้ประมาทแล้ว

เชื่อว่าเป็นผู้ตายแล้ว บุคคลผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวด้วยความไม่ประมาท การที่บุคคลใดมาตั้งอก ตั้งใจประพฤติปฎิบัติธรรมะข้อใดข้อนึงให้มากเป็นพิเศษตลอดการเข้าพรรษา โดยการอธิษฐานจิตอย่างเข้มแข็งแก่กล้า ให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี นี้ก็คือ สนองเกี่ยวกับพระโอวาทอันไม่เกี่ยวกับการประมาทนั้น ในครั้งที่แล้วๆมาก็ได้กล่าวถึง หลักปฎิบัติข้อใดข้อนึง เป็นลำดับมาในวันนี้จะได้กล่าวในหัวข้อเรื่องว่า จะมีความไม่ประมาท ระวังอย่าให้เกิดตัวกู ของกูขึ้นมาในจิตใจให้เป็นความทุกข์ขึ้นมาได้ แม้ว่าเรื่องนี้จะเคยได้อธิบายกันมาแล้ว และอธิบายกันอยู่บ่อยๆ ก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจได้ถึงขีดสุด เพราะว่าเป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง สุขุม และก็ยากที่จะปฎิบัติได้ด้วย จึงต้องพูดกันบ่อยๆให้พยายามกันเสมอๆอย่าให้ขาดได้ และในการเป็นที่เข้าพรรษานี้ ก็จะได้ถือเอาเป็นบทเรียนบทหนึ่ง

สำหรับประพฤติอย่าให้เกิด ถ้าพูดสั้นๆก็พูดได้ว่าระวังอย่าให้เกิดแห่งความรู้สึกที่เป็นตัวกู เป็นของกู ความรู้สึกที่เป็นตัวกู ทำให้ยอมไม่ได้ มีฐิติมานะ แข็งกระด้างอยู่เสมอ ความรู้สึกที่เป็นของกู ทำให้มีความโลภ ความตระหนี่ เป็นต้น รวมทั้ง 2อย่างก็เรียกว่า เป็นสิ่งที่ต้องระวังรักษาอย่าให้เกิด เรื่องสำคัญที่สุดก็คือ การที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจว่า มันจะเกิดอย่างไร และมันจะเกิดเมื่อใด คำตอบที่สั้นที่สุดก็มีว่า มันจะเกิดเมื่อ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัสทางผิวหนัง ใจได้รับความรู้สึกที่เป็นทางมารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่งขึ้นมา นั่นแหละคือเวลาที่จะเกิด มันจะเกิดอย่างไรนั้นก็เห็นได้ด้วยตนเอง เมื่อมีรูปกระทบตา เป็นต้น เรียกว่าเป็นสัมผัส คือการพบกันระหว่างสิ่งข้างนอก กับสิ่งข้างใน และเกิดความรู้แจ้งขึ้นว่าอะไรเป็นอะไร อายะทนะ ข้างนอกก็คือรูป อายะทนัย ก็คือตา มีการกระทบที่จตุทวาร เกิดจตุวิญญาณ รู้แจ้งว่าเป็นรูปอะไร อย่างนี้เรียกว่า ตัสสะ คือการกระทบระหว่างสิ่งทั้ง 3 นี้ เมื่อมี ตัสสะอย่างนี้แล้วก็เกิดความรู้สึกอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เวทนา คือเป็นความรู้สึกที่ถูกใจ พอใจ เป็นสุข อเวทนาก็มี ไม่ถูกใจ ไม่พอใจ เป็นทุกข์กับอเวทนาก็มี ยังรู้ไม่ได้ ไม่รู้ว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็มี 3 อย่างนี้เรียกว่า เวทนา เสมอกัน ในความรู้สึกที่เป็นเวทนาเกิดขึ้นแล้ว

ความรู้สึกต่อไปที่เกิดขึ้นคือ ตัณหา ที่เกิดความอยากอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสมควรแก่เวทนานั้น เช่นสุขเวทนาเป็นความอยากที่ อยากจะได้ จะเอา จะยึดถือ จะยึดครอง ถ้าเป็นทุกขเวทนา ก็เกิดความรู้สึกที่เกลียดชัง ไม่ชอบ ไม่อยากจะได้ ไม่อยากจะมีไว้หรืออยากจะทำลายเสีย ถ้าเป็นอสุขเวทนาก็จะได้ยึดถือสำหรับจะได้สงสัยต่อไป เป็นที่ตั้งแห่งความสนใจสุดสิ้นนี้ เวทนาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความอยากนี้ เรียกว่าเวทนาให้เกิด ตัณหา เมื่อเกิดตัณหาอย่างนี้แล้วความรู้สึกรุนแรงไปถึงกับว่า เราหรือตัวกู ผู้อยาก เป็นผู้ต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ขึ้นมาทีเดียว

กระทั่งมีความคิดเห็นอย่างนั้น อย่างนี้ ต้องการจะประพฤติ กระทำตามความต้องการนั้น อย่างนี้เรียกว่า อุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น มีรูปร่างเป็นตัวกู ของกูก็มี อยู่ที่ตรงอุปาทานนี้เอง อุปาทานมีอย่างนี้แล้ว ความรู้สึกก็จะปรุงต่อไปในทางที่จะเป็นภพ เป็นชาติ คือเป็นตัวกู ของกูที่ตั้งครรภ์แก่ขึ้นมาแล้วก็คลอดออกมาเป็นตัวกูเต็มที่ จะได้มีความทุกข์ไปตามสมควร แก่เรื่องนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่มีอวิชชา คือความไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มาตั้งแต่อ้อนแต่ออก การที่ไม่มีความรู้ถูกต้องในสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนี้ เป็นของธรรมดา ถ้าไม่ได้ยิน ไม่ได่ฟังธรรมะของพระอริยเจ้าในพระพุทธศาสนา ก็จะยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างถูกต้องหรือถึงที่สุดอยู่นั่นเอง ก็ได้แต่เดาไป สันนิษฐานไป ค่อยๆรู้ทีละเล็ก ทีละน้อย มีความหลาบจำเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่สมบูรณ์ การที่พระพุทธเจ้านั้นได้เสด็จอุบัติเกิดขึ้นมาในโลกนี้ เชื่อว่าเป็นความดี นำความสุขมายังสรรพสัตว์ หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า เป็นลาภที่ดีของสัมพะสัตว์ เพราะว่าพระพุทธเจ้าย่อมแสดงธรรม ให้สัตว์ได้มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่ควรจะรู้ คือเรื่องที่จะช่วยดับความทุกข์ได้ ก็ได้แต่เรื่องที่ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นอย่างไร และเราก็รู้ว่าควรประพฤติ ปฎิบัติอย่างไร ต่อสิ่งนั้นๆ นี่คือหนทางปฎิบัติ ประพฤติในพระศาสนา สิ่งที่พุทธบริษัทได้รับมาจากพระบรมศาสดาแล้วก็ปฎิบัติกันอยู่ คำสั่งสอนทั้งหมดนั้นก็มี นัยยะ ดังที่กล่าวมาแล้ว คือว่า ในตาเห็นรูป เป็นต้น ก็ให้มีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไร มีสติสัมปชัญะให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และจะมีความคิดไปในทางที่จะทำไม่ให้เกิดตัวกู ของกู เพราะเมื่อรู้อยู่ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นมายา เป็นของหลอกลวง เป็นทางให้เกิดกิเลส อาสะวะ อันจะนำมาซึ่งความทุกข์ดังนี้ ก็จะประพฤติ ปฎิบัติไปในทางที่จะไม่ให้เกิดกิเลสชนิดนั้น นี่แหละคือหลักคำสอนหรือหลักปฎิบัติ ที่สรุปไว้เป็นถ้อยคำสั้นๆ 2-3 คำว่าอย่าให้เกิด ระวังรักษาอย่าให้เกิด เป็นคำพูดที่มีมานมนาน ในหมู่ผู้ประพฤติปฎิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน คำพูดแต่เพียงว่าอย่าให้เกิดเพียงเท่านี้ เป็นคำที่มีความหมายเพียงพอครบถ้วน ถูกต้องตามพระบาลี ตามพระพุทธสุภาษิต ถ้าบุคคลใดได้รู้ ได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง ก็นับว่าเป็นการเพียงพอ

แต่เดี๋ยวนี้ดูจะไม่เป็นอย่างนั้น คือไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง ก็ได้แต่ว่ากันแต่ปาก ว่าสอนกันไปแต่ปาก ก็อย่าให้เกิดๆ อธิบายกันต่างๆนานาตามความคิด ความเห็นของตัว ก็ย่อมจะมีผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่สรุปความแล้วมันก็ไม่เพียงพอ ที่จะให้สำเร็จประโยชน์ เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นที่จะเอามาพูดกันอีก พูดกันอยู่บ่อยๆ อย่าให้เกิด นั้นมันมีความหมายอย่างไร เมื่อตาได้มองไปเห็นรูป ก็ระวังอย่าให้อะไรเกิด พูดเป็น อุปมา จำได้ง่ายกว่าคนโบราณจึงพูดว่า พูดแบบ อุปมาให้เป็นศัพท์อย่างนั้นอย่างนี้ ที่มีความหมายกิเลสตรงกับชื่อนั้นๆ

อาจารย์เคยพูดว่าเต่าคลานขึ้นมาจากสระอีกแล้ว ถ้าได้ยินคำพูดอย่งนี้ ขอให้รู้ว่ากิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งได้เกิดรบกวนท่าน ถ้าเกิดโมโหโทโสอะไรขึ้นนิดนึงในใจ ได้ยินอาจารย์พูดว่า เต่าขึ้นมาอีกแล้ว และก็ไม่อธิบาย คือใกล้ๆกับกุฎินั้นมันมีสระ ในสระมันมีเต่า ท่านก็พูดว่าเต่ามันขึ้นมาอีกแล้ว พูดอยู่คนเดียวอย่างนี้ นานๆเข้าเราก็รู้ว่ามันหมายความว่าอย่างไร หมายความว่ามันมีความเผลอ เกิดความโกรธหรือโมโหโทโสอะไรในใจของท่านก็ไม่รู้ ท่านก็พูดอย่างนี้ ทีนี้เราก็ลองมาคิดดูว่า ในสังขารร่างกายนี้ มันก็มีสระได้กับสิ่งที่เรียกว่า อุปนิสัยหรือสันดาน ในสันดานนั้นมันมีสิ่งที่เรียกว่า สังโยต หรืออนุสัย ก็คือกิเลส คือความชินหรือความสงสัยอยู่ในนั้น ในสันดานนั้นมีความพร้อม สะดวกที่จะเกิดกิเลส ถ้าตากระทบรูป เป็นต้นแล้ว เกิดความโง่ขึ้นมาก็เรียกว่า เต่ามันขึ้นมาแล้ว หมายความว่ามันขึ้นมาจากสันดาน ที่จิตมันไร้สำนึกมาอยู่ที่จิตเต็มสำนึก เป็นความโง่หรือเป็นโมโหโทโสอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ใครจะให้ความหมาย อุปมา แก่คำว่าเต่านั้นอย่างไร โดยทั่วไปเราจะให้ความหมายแก่สิ่งที่เรียกว่าเต่านั้นว่า ความโง่ ใครๆก็มักจะพูดว่าเต่าเป็นสัตว์ที่โง่ อย่างนี้อวิชชาโผล่ขึ้นมาจากสันดาน เรียกว่าเต่ามันโผล่ขึ้นมาแล้ว เป็นสัตว์น้ำโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ขึ้นมาบนกุฎิ คือขึ้นมาในความรู้สึกเต็มสำนึกในจิตใจของท่าน ท่านจึงได้พูดอย่างนั้น เรามีความเปรียบได้ตามความพอใจของเราเอง เพื่อให้เหมาะสมแก่การที่จะตักเตือนตนเอง ว่างูขึ้นมาแล้ว อย่างนี้ก็หมายความว่า อุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น เปรียบเหมือนกับงู ได้ปรุงรูปขึ้นมาในสันดาน โผล่มาเป็นความสำนึกเต็มสำนึกในจิต ยึดมั่นนั่นนี่ หรือบางทีก็จะพูดว่า เหี้ยขึ้นมาแล้วก็จะหมายถึงความตัณหา อย่างใดอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้นมา สำหรับจะทำให้เดือดร้อน หรือจะพูดว่าจระเข้ขึ้นมาแล้ว ก็หมายถึงความโลภที่มันมากเกินไป เป็นความโลภที่มีความเพ่งเล่งเกินไป เปรียบเหมือนกับจระเข้ อุปมาอย่างนี้พระพูดกันมาแต่โบราณ ในหมู่ครูบาอาจารย์ที่ไม่ได้เรียนรู้อะไรมากมายเหมือนทุกคน

เดี๋ยวนี้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังรู้จักสมมุติกิเลสที่นั้น ที่นี้ว่าเหมือนกับสัตว์อะไร แล้วก็เกิดขึ้นมาในใจ คือเกิดจากพื้นฐานของจิตใจลึกลงไปที่เต็มความรู้สึก ที่จริงมีความโลภ ความหลง ความอะไรต่างๆนี้ขึ้นมาได้ เดือดร้อนกระวนกระวายอยู่ที่นั่น มันเคยอยู่ในก้นสระไม่ปรากฎนี่มันโผล่ขึ้นมาในผิวน้ำ ก็ต้องคลานขึ้นมาบนกุฎิมารบกวน ความที่มันสงบอยู่ใต้ผิวน้ำใต้น้ำ นั่นน่ะคือยังไม่เกิด เรียกว่ายังไม่เกิด พอมันโผล่ขึ้นมาเรียกว่ามันเกิด เกิดเต็มขึ้นมาในความรู้สึกว่ารบกวน บางอาจารย์ก็เรียกว่ามันกลายจากที่อยู่นิ่งๆนั้นจากที่วุ่นวาย บางทีก็เปรียบเหมือนที่ชาวบ้านชอบพูดกันอยู่คำหนึ่งว่า ก้อนเถ้ามันกลายเป็นเสือ แต่แล้วสำนวนพวกนี้พวกหมอดูชอบใช้กันมาก คือจะบอกว่าใครมีโชคร้ายก็ร้ายที่สุดแล้ว จะพูดเชิงทำนองว่าโชคร้ายกลายเป็นเสือ ก็หมายความว่าโชคร้ายมาก ก้อนเถ้าในกองไฟที่นั่งอยู่ใกล้ๆอยู่ทุกวัน

เมื่อเข้าไปในครัวนั่งกินข้าว กินปลามันก็อยู่ใกล้ๆก้อนเถ้า ที่สำหรับติดไฟ หุงหาอาหาร และถ้าก้อนเถ้านี้มันเกินกลายเป็นเสือขึ้นมาจริงๆ มันจะเดือดร้อนซักเท่าไหร่ก็ลองคิดดู สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดและเป็นเพื่อนสนิทสนมกันมา กลายเป็นเสือมาอย่างนี้ เป็นเสือก็คลานเข้ามากัดด้วย นี่ถ้าว่ามันเกิดเป็นเสือขึ้นมา ก้อนเถ้ามันมีประโยชน์ พอกลายเป็นเสือขึ้นมามันกลายเป็นโทษ ร่างกายจิตใจนามรูป ร่างกายล้วนๆมันก็คล้ายกับก้อนเถ้า มันจะกระดุกกระดิกอะไรก็ไม่ได้ มันเหมือนกับก้อนหิน พอมีอะไรพอทำไปผิดวิธีมันกลายเป็นเสือ มันกระโดดได้ มันกัดได้ เจ้าของเดือดร้อนวุ่นวายยับเยินไปหมด นี่ก็หมายความว่าได้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นมาแล้วในนามรูป ร่างกายจิตใจปกติที่มันไม่เป็นอะไร มันกลายเป็นร่างกายจิตใจที่ เป็นที่ตั้งของกิเลส ที่ทำอันตรายเหมือนกับเสือ เหมือนสัตว์ร้ายที่อันตรายเหมือนกับเสือ นี่ก็เป็นใจความที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งเหมือนกัน

อย่างแรกพูดว่าอย่าให้มันเกิด อย่าให้มันคลานขึ้นมาจากส่วนก้นสระก็มีความหมาย เดี๋ยวนี้อย่าให้มันกลายเป็นนามรูปกลายเป็นกิเลส เป็นที่ตั้งของกิเลสมา ความหมายส่วนใหญ่มันก็หมายความว่า ถ้ามันไม่เกิดหรือไม่กลายเป็นอะไรขึ้นมาแล้วยังสบายดีอยู่ พมันเกิดหรือมันกลายเป็นอะไรก็แล้ว เป็นเรื่องที่เดือดร้อนเหลือประมาณ เดือดร้อนยังกับว่าถูกไฟไหม้ ไฟเผาเป็นนรกเป็นอะไรขึ้นมาโดยทีเดียวที่นี่และเดี๋ยวนี้ มันจึงมีคำพูดสั้นๆว่า อย่าให้มันเกิด ให้มันหยุดอยู่นั่นแหละ ให้มันหยุดระงับอยู่ตามธรรมชาติเดิมของมัน อย่าให้เกิดก็คือให้มันเหมือนกับดับอยู่เสมอ พูดให้ดีให้มันชัดกว่านั้นคือให้มันว่างอยู่ตามเดิม อย่าให้มันวุ่นขึ้นมา ระวังอย่าให้มันเกิด ต้องให้มันดับอยู่ตลอดเวลา คำว่าดับนี้มันก็ว่างจากการเกิด ไม่มีอะไรที่ปรุง เป็นเสือ เป็นเต่า เป็นจระเข้ เป็นก้อนเถ้าเป็นเสือขึ้นมาอย่างนี้ คือมันสงบเงียบมันว่างจากความวุ่นวาย นี้จะต้องจับใจความให้ได้ว่า เราจะระมัดระวังให้มันว่างอยู่เสมอ หรือให้มันดับอยู่เสมอ หรือจะเรียกว่าอย่าให้มันเกิดก็ได้เหมือนกัน

ความหมายมันอย่างเดียวกันทั้งนั้น มันไม่เกิด มันว่างยู่ มันดับอยู่ เราก็สบายดี ตลอดเวลาในพรรษานี้ให้มันเป็นอย่างนั้น ให้มากเข้าไว้ ให้ว่าง ให้ไม่ดับ ให้ไม่เกิด ทีนี้ก็นึกต่อไปถึงสิ่งที่จะช่วย ให้ไม่เกิด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่พูดกันแล้วพูดกันอีก คือสิ่งที่เรียกว่า สติ สติเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิด สติสัมปชัญะเป็นเครื่องที่ช่วยไม่ให้เกิดนั้นเอาไว้ตลอดเวลาที่ยาวนาน สติเป็นผู้ป้องกันไม่ให้เกิด สัมปชัญะนี้เป็นสิ่งที่ช่วยไม่ให้เกิดตลอดเวลาที่ยาวนานออกไป เรามีสติสัมปชัญะมันก็เกิดไม่ได้ เหมือนกับดับอยู่ หรือว่างอยู่ ถ้าใครกลัวการเกิดก็ต้องฝึกฝนการมีสติสัมปชัญะ ผู้มีปัญญาก็กลัวความเกิดอย่างยิ่ง ไม่ต้องพูดถึงความตายเพราะว่าเขาไม่กลัว ความตาย เขากลัวความเกิดซึ่งมันเป็นต้นเหตุของความตาย สิ่งที่น่ากลัวนั้นเรียกว่า ความเกิด แต่ถ้าไม่เข้าใจดูเป็นคำพูดที่ไร้สาระ หรือไม่มีความหมายอะไร มันเป็นคำพูดของบุคคลที่รู้ธรรมะ รู้จักธรรมชาติทั้งหลาย ทั้งปวงอย่างลึกซึ้งจึงจะชอบความไม่เกิด เพราะว่ากลัวความเกิดเป็นที่สุด ทุกคนควรจะมองเห็นข้อนี้ ว่าความเกิดนี้น่ากลัวจริงๆ ความตายนั้นไม่น่ากลัว เพราะถ้าว่าความเกิดไม่มี ความตายก็ไม่มี

ถ้ากลัวความเกิดก็หาเครื่องป้องกัน ความเกิดคือมีสติ ไอ้สิ่งที่เรียกว่าสตินี้ คนก็พูดถึงกันอยู่เป็นประจำว่า สติๆ แต่แล้วมันก็ยังไม่มีสติอยู่นั่นเอง ที่ไปด่าคนอื่นว่าไม่มีสติส่วนตัวเองนั้นยิ่งไม่มีสติไปมากกว่านั้น เพราะมันไปด่าเขา นี่คือความไม่มีสติยิ่งกว่าคนที่ไปด่า ที่ถูกด่า สติมันก็เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง ก็หมายความว่าความรู้ที่ทำหน้ารวดเร็ว ทันที ทันควัน เราต้องมีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ให้ถูกต้องอยู่อย่างเพียงพอ ความรู้อันนี้จะได้วิ่งมาทันท่วงทีว่ามันเกิดอะไรขึ้น การที่วิ่งมาทันท่วงทีอย่างนี้ เราเรียกความรู้นั้นว่า สติ คำว่ารู้คำนี้ก็มีความสำคัญขึ้นมา ถ้าจะมีสติมันต้องมีความรู้ ต้องใช้ความรู้นั้นให้ทันท่วงที มีคำพูดอีกคำหนึ่งซึ่งพูดกันมากที่สุด คือคำว่ารู้ อยู่ที่รู้ นี้เป็น สติที่สมบูรณ์ที่สุด ถ้าใครทำได้อย่างนี้จริงว่ารู้อยู่ที่รู้ ไม่ใช่ให้ไปรู้จนเกินความสุข ความทุกข์ ความยึดมั่น ถือมั่น จะเอาอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ ความรู้อยู่ที่รู้ ชนิดที่เป็นความรู้ที่ถูกต้องอยู่เสมอ อย่าให้ความรู้นั้นกลายเป็นกิเลสไป เมื่อตาเห็นรูปก็รู้ว่ารูปอะไร

เกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างนี้ ให้มันรู้อยู่อย่างนี้ ก็คือความรู้ไม่พ่ายแพ้ แก่สิ่งที่เกิดขึ้น มันก็รู้ต่อไปว่าจะต้องทำอย่างไรกับสิ่งๆนี้ กับสิ่งที่กำลังเห็นอยู่นี้ บรรลุถูกต้องและก็ทำไปด้วยความถูกต้อง จัดการกับสิ่งที่ได้เห็นนั้น กับควมรู้ที่มีอยู่ มันรู้อยู่เรื่อย มันรู้อย่างถูกต้อง มันรู้อยู่ที่รู้ คือรักษาความรู้ให้คงตัวอยู่ได้ พอเผลอนิดเดียวไอ้ความรู้นี้มันก็กลายเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกิเลส รู้เพื่อจะเอร็ดอร่อยอย่างนั้น อย่างนี้ รู้เพื่อจะได้อย่างนั้น อย่างนี้ นี้มันเป็นความรู้ที่ไม่รู้เสียแล้ว คือกลายไปเป็นกิเลสเสียแล้ว ไม่ใช่โพธิ ไม่ใช่ควมรู้ที่เป็นโพธิ แต่เป็นความรู้ชนิดที่เป็นกิเลส คือมันรู้จะกิน รู้จะเอา รู้จะใช้ รู้จะยึดถือ รู้อะไรไปตามอำนาจของกิเลส สูญเสียความรู้ที่ถูกต้อง แต่ถ้ายังรู้ที่ถูกต้อง ยังเป็นโพธิอยู่ มันก็รู้ว่าจะกินอย่างไร จะใช้อย่างไรหรือไม่ต้องกิน ไม่ต้องใช้อย่างไร ถ้าจะกิน จะใช้อย่างไรก็ให้มันมีสติอยู่เสมอ การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นก็ไม่มีความทุกข์ เป็นความรู้ที่ทนได้ต่อสิ่งที่เข้ามายั่วยวนไม่กลายเป็นความไม่รู้ ถ้าลึกไปกว่านั้นก็หมายความว่า ความหยุด ความดับ หรือความไม่เกิดเนี่ย มันอยู่ได้เพราะรู้ มันอยู่ที่รู้นั่นเอง รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วก็หยุดเฉยอยู่อย่างนั้น พอเป็นไปหนักเข้าๆมันก็รู้สึกแต่เพียงว่า จิตนั้นมีความรู้สึกอยู่ตามธรรมชาติของมัน คือจิตนี้มันเป็นธรรมชาติ มันมีหน้าที่ ที่ต้องรู้ มันก็รู้สิ่งต่างๆอยู่ตามหน้าที่ของมัน นี่คือรู้อยู่ที่รู้ นี่เป็นความพักผ่อน นี่เป็นการดับเย็น เป็นความสงบอย่างยิ่ง เรียกว่า สุญญะตาวิหาร การอยู่ด้วยความว่าง ว่างจากของกู ว่างจากตัวกู พระพุทธเจ้าท่านก็อยู่ด้วย สุญญะตาวิหาร คือถ้ามันมีเรื่องอะไรที่ต้องทำ เช่น บิณฑบาตร ไปสั่งสอนใคร ไปพูดจาอะไรกับใครที่ไหน ท่านว่าท่านอยู่ด้วย สุญญะตาวิหาร อยู่ด้วยที่ชาวบ้าน นักวิปัสสนาพูดได้ว่า รู้อยู่ที่รู้ ถ้าเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ดีมาก ถูกต้องพระบาลี ถูกต้องตามแบบอย่าง ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าท่านกระทำอยู่เอง

เดี๋ยวกลัวว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น กลัวจะเป็นเรื่องงมงาย พูดได้แต่ปากว่ามาสั่งสอนกันอยู่ ไปที่สำนักวิปัสสนาที่ไหนก็ได้ยินว่า รู้อยู่ที่รู้ พอถามเข้าก็ไม่ได้เรื่องว่ารู้อะไร รู้อย่างไร ได้แต่ตะโกนว่ารู้อยู่ที่รู้ๆเสมอไปแทบจะทุกหนทุกแห่ง แต่อย่าให้ต้องออกชื่อเลยว่าที่ไหน ก็ขอให้คิดถึงเรื่องนี้ถูกต้องและเพียงพอ

ถ้าหากว่าผู้ที่อยู่ที่นี่ต้องการจะพูดคำนี้กันบ้าง หรือใช้ข้อนี้เป็นหลักปฎิบัติกันบ้าง ก็ขอให้มันรู้จริงและรู้ให้มันถูกต้อง ว่ารู้อยู่ที่รู้นั้นมันเป็นอย่างไร อย่าไปรู้ที่อารมณ์ ที่มันยั่วยวนให้เกิดความรู้สึก ยินดี ยินร้าย อย่าให้มันรู้ไปเลยกว่านั้นไปอีก เป็นกิเลส ตัณหา เป็นความรู้ของกิเลส สำหรับจะแสวงหาเหยื่อให้แก่มันเอง อย่างนี้มันไม่ใช่รู้ หรือว่ารู้อยู่ที่รู้ ไอ้รู้อยู่ที่รู้ต้องรักษาคงสภาพเป็นความรู้ที่สะอาด บริสุทธิ์อยู่ได้ และเมื่อมีเวลาว่างจากการงานให้มันอยู่ที่รู้ให้มากกว่านั้น ก็ทำอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทำคืออย่างที่เรียกว่า สุญญะตาวิหาร นั่นเอง ไม่ได้หลับ ไม่ได้สลบ

แล้วก็ไม่ได้ตายคือความรู้สึกยังมีอยู่ แต่คือปิดกั้นกระแสที่มันจะวิ่งไปทางนั้น ทางนี้ ทางโน้น หรือว่าไปรู้อะไรที่ไหน เหลืออยู่แต่ว่าอะไรๆก็ ว่างไปๆ เหลืออยู่แต่ อายะทนะ คือใจที่รู้สึกอยู่ในสิ่งที่มันควรจะรู้สึกยู่ก็แล้วกัน หนักเข้าไปเรียกว่า เหลืออยู่แต่ อายะทนะ คือใจที่กำลังทำหน้าที่ของมันเท่านั้น ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู ไม่มีอะไร ไม่ยินดี ยินร้าย ความโกรธ ความโง่ ความกลัว ความหลง ยึดมั่น ถือมั่นล้วนแต่ไม่มี ที่ยังเป็นจิตที่สะอาด ทำหน้าที่เพียงแต่ว่ารู้อะไรตามหน้าที่ ถ้าไม่รู้อะไร อย่าให้มารู้ก็รู้แต่ว่ามันเป็น อายะทนะ อันหนึ่งซึ่งมีหน้าที่สำหรับจะรู้ อย่างนี้ก็พอจะเรียกว่า รู้อยู่ที่รู้ได้เหมือนกัน เรียกให้ไพเราะ เรียกให้น่าสนใจยิ่งๆขึ้นไปก็เรียกว่า สุญญะตาวิหาร คือการอยู่ด้วย สุญญะตา คืออยู่ด้วยความว่าง คือว่างจากตัวกู ว่างจากของกู จากกิเลส ตัณหา เหลืออยู่แก่จิตที่บริสุทธิ์ รู้สึกตัวเองว่ารู้อยู่เท่านั้น ถ้าจะฝึกอย่างนี้กันก็จะเป็นการดี ถือว่าทำอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทำ ท่านสอนนั่นก็เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาในข้อที่ว่า อย่าให้มันเกิด อย่าให้อะไรมันเกิดออกมาเป็นเต่า เป็นปลา เป็นเหี้ย เป็นงู เป็นเสือ เป็นช้าง ถ้ามันว่างอยู่ตามสภาพของมันนั่นเอง นี้เรียกว่าไม่ให้มันเกิด จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ เราจะรู้สึกว่าการเรียกอย่างนั้นมันมีประโยชน์แก่เรา

บางคนก็มีปัญหาว่าเมื่อไม่ให้มันเกิด ไม่ให้มันรู้สึกนึกอะไรอย่างนี้มันก้ทำไม่ได้ มันเป็นก้อนหินไปไม่ได้ มันไม่อยากเป็นก้อนหิน มันอยากจะรู้สึกอะไรอยู่บ้าง ก็เลยให้รู้อยู่ที่รู้นั่นเอง อย่าให้มีความหมายอะไร นี่ก็หมายความว่ามันยังตื่นอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่หลับ ไม่ใช่เป็นกิเลส ที่เปรียบเหมือนกับความหลับ แต่ว่าเป็นความรู้ที่เปรียบกับโพธิที่เป็นความตื่น เพราะตื่นอยู่แต่ไม่ได้ทำอะไร ชนิดที่จะให้เป็นความทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่าตื่นอยู่อย่างแท้จริง ตื่นอย่างที่กิเลสมันเกิดไม่ได้ ใจมันตื่นอยู่ มันรู้สึกอยู่ ใจมันรู้อยู่ที่รู้ ลักษณะอย่างนี้ก็ลองปฎิบัติดู อย่าให้เป็นเพียงว่าไม่รู้ แล้วก็ว่ากันแต่ปาก แล้วก็สอน ท่องจำคาถาอาคม ถ้าใครไม่ชอบคำว่า รู้อยู่ที่รู้ ก็ไปเอาคำที่ว่าอย่าให้มันเกิดๆ อย่าให้มันเกิดคือให้มันสงบอยู่ตามเดิม อย่าให้มันกระดุ๊กขึ้นมาเป็นนั่น เป็นนี่ เป็นโน้น ให้มันสงบอยู่ตามเดิม ตามธรรมชาติ ก็เรียกว่าถูกต้อง ดีเท่ากันเหมือนกัน ใช้คำพูดคนละอย่าง คนเรามันมีรสนิยมคนละอย่าง พูดอย่างไรเข้าใจดี ก็ใช้คำพูดอย่างนั้น แล้วก็รักษาความเป็นอย่างนั้นไว้ โดยเฉเพาะอย่างยิ่งการเข้าพรรษานี้ ทำให้ดีที่สุด อย่างที่เรียกว่า สุดฝีไม้ลายมือ ถ้าทำพลาดก็ลงโทษตัวเอง ถ้าทำถูก ทำดีก็ขอ อนุโมทนา มี นิติปราโมทย์ ชนิดที่ประกอบไปด้วยธรรมะ ไม่เจือด้วยกิเลส ก็เป็นความสลาย เป็นความสุข ที่เกิดแก่ธรรมะในพระพุทธศาสนา

ถ้ามันขี้เผลอเดี๋ยวเกิดๆนี้ ก็ต้องรู้จักลงโทษมันซะบ้าง หรืออธิษฐานว่าจะลงโทษมันอย่างไร คอยสังเกตไว้ ถ้ามันเกิดขึ้นมา ก็ใส่คะแนนว่ามันเคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง วันนี้ 2 ครั้ง 3 ครั้งก็ใส่เข้าไว้ จะได้รู้ว่าวันนี้มันเกิดกี่ครั้ง จะได้ลงโทษมันให้สาสมกัน ถ้ามันเกิด 10 ครั้ง ก็ขนทรายซัก 10 ถังขึ้นไปบนภูเขา พุทธทอง ก็ได้ถ้าจะลงโทษให้มันสาสมก็ ขนทรายซัก 10 ถังขึ้นไปบนภูเขานางเอซะเลย ถ้าทำได้มันจะได้รู้จักเข็ด จักหลาบเหมือนกัน จะแบกทราย 10 ถัง ขึ้นไปบนภูเขานางเอนี้ลองดูเถิดมันกี่มากน้อย มันคงจะช่วยให้เข็ดหลาบได้บ้าง ไม่มากก็น้อย นี้เป็นตัวอย่างของการลงโทษ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำอย่างนี้ไปเสียทั้งหมด ใครจะชอบแบบการลงโทษแบบวิธีอื่นก็ได้เหมือนกัน แต่ให้มันหนักๆขนาดนี้ มันจะได้มีผลที่ทำให้เกิดเข้ดหลาบ มันจะเกิดได้ยาก มันจะเกิดได้น้อย การปฎิบัติธรรมะตลอดพรรษามันก้นับว่าได้ผล

ทีนี้คิดดูให้ดีว่าสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น สิ่งนี้แม้จะเกิดกับ สุนัขและแมว ก็ทำให้เกิด มีทางที่ทำให้เกิด สุนัขไม่ได้ทำอะไร มันเห่ามันหอนอยู่ไกลๆ มันก็ยังทำให้เกิด ความโมโหโทโสขึ้นมา เกลียดสุนัขขึ้นมา หนวกหูขึ้นมา อย่างนี้มันก็เป็นการเกิดทั้งนั้น เนี่ยมันมีเรื่องให้เกิดมากอย่างนี้ มันก็ต้องเก่งให้พอกัน เกิดรำคาญขึ้นมาก็เรียกว่าเกิด เกิดกลัวขึ้นมาก็เรียกว่าเกิด มีมากมายหลายสิบอย่างที่เป็นชื่อของกิเลสที่เรียกว่า เกิด ไปสังเกตศึกษาเอาเองก็จะรู้ได้ จิตใจมันหวั่นไหวที่จะให้เกิดความทุกข์ มีความยึดมั่น ถือมั่นที่จะอย่างใด อย่างหนึ่งแล้วเรียกว่าเกิดทั้งนั้น ตาไปเห็นอะไรเข้า ความคิดนึกมันไหลไปในทางที่ให้เกิด ตัณหาอุปาทานเรียกว่า มันเกิดทั้งนั้น มันมีมากถึงอย่างนี้ จึงทำเล่นกับมันไม่ได้ จึงต้องใช้ความไม่ประมาทอย่างยิ่งสุดยอด สำรวมระวังให้เป็นอย่างดี มีอิริโอตปะให้มาก มีสติสัมปชัญะให้มาก

มันจึงจะช่วยคุ้มครองกันไว้ได้ อย่าให้มันเกิด หวังว่าท่านทั้งหลายจะได้เอาไปคิดดูอีกเรื่องนึง สำหรับที่จะได้ประพฤติปฎิบัติในพรรษา ก็ขอว่าอย่าให้มันเกิดได้มากน้อยเท่าไหร่ ก็เป็นการปฎิบัติธรรมะในพระพุทธศาสนานี้อย่างสูงสุด คือกีดกันกิเลสตัณหาออกไป โดยวิธีของบุคคลผู้ไม่ประมาทดังนี้ แล้วก็จะมีความเจริญงอกงาม ตามทางของพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธศาสดาทรงสั่งสอนไว้เป็นอย่างยิ่ง เรามีพระพุทธศาสนากันก็เพื่อสิ่งนี้ เรามีวัดวาอารามกันก็เพื่อสิ่งนี้ เรามารวมๆกันอยู่ที่นี่มันก็เพื่อสิ่งนี้ ไม่ใช่เพื่อสิ่งอื่นเลย จึงหวังว่าทุกคนจะได้พยายามกระทำ ให้ได้รับผล รับประโยชน์ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ตามสมควรแก่สติปัญญาความสามารถของคนทุกๆคน ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้

http://www.vcharkarn.com/varticle/35495

. . . . . . .