จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – จิต
จะใช้ประโยชน์มันได้สักเท่าไหร่มันก็เป็นจิตวิทยา จะใช้มันอย่างไรก็เรียกว่าจิตวิทยา จะอบรมมันอย่างไรก็เรียกว่าจิตวิทยา ลึกที่สุดจะมีจิตอยู่ในสภาพเช่นไรก็จิตวิทยา มันกว้าง นี่จะเอาจิตวิทยานี่ไปรับใช้อะไร ไปรับใช้อะไร เอาความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้เพื่อประโยชน์อะไร ไปรับใช้อะไรก็เรื่องจิตวิทยา เราเอาไปรับใช้การบ้านการเมืองหรือว่าจะทำดับทุกข์ของตนโดยเฉพาะ พุทธศาสนานี้มันก็มีจิตวิทยาแต่ในแง่ที่จะดับทุกข์เท่านั้นแหละว่าจริงๆ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าพูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์เท่านั้น เดี๋ยวนี้ก็ตาม แต่ก่อนโน้นก็ตาม เดี๋ยวนี้ก็ตาม พูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์ ก็หมายความว่า การจะพูด จะรู้ จะใช้จิตวิทยา รู้ทุกข์กับดับทุกข์ จะไปใช้ประโยชน์อะไรนอกเหนือออกไปเป็นเรื่องอาชีพ เป็นเรื่องการงาน เป็นเรื่องอะไรอีกไม่มี รู้เรื่องจิตวิทยา รู้เรื่องของจิตในทุกแง่ทุกมุม ที่จะเป็นประโยชน์แก่การดับทุกข์ แล้วก็ดับทุกข์ได้ในที่สุด เนี่ยแหละจิตวิทยา

เดี๋ยวนี้จิตวิทยาเอาไปใช้กันต่ำมา เอาไปใช้หลอกลวง จิตวิทยามีความหมายก็ใช้ต้มคน หลอกลวงคน กลางถนนเรื่องเป็นอย่างนี้จิตวิทยา มันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตจริงๆ ด้วยเหมือนกันนั่นแหละ ทายใจเขาถูก พูดจาดักคอเขาถูก หลอกลวงเค้าเอาไปได้ ไอ้เนี่ยก็เป็นจิตวิทยาอย่างนี้ ไม่ดับทุกข์ แล้วเพิ่มความทุกข์ จิตวิทยาสร้างปัญหา จิตวิทยาที่จะดับปัญหาก็ต้องมีอยู่ส่วนหนึ่ง หรือฝ่ายหนึ่ง พูดกันเฉพาะจิตวิทยาในพุทธศาสนา มันก็มีเฉพาะว่าจะใช้จะทำจิตอย่างไรให้อยู่เหนือความทุกข์ จะทำจิตอย่างไรให้อยู่เหนือความทุกข์ จะไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างในทางอื่นนั้นก็ไม่ได้สนใจ สนใจแต่ว่าจะให้มันอยู่เหนือความทุกข์

จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เรียกได้ว่ามีในสิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตก็มีสิ่งที่เรียกว่าจิตติดมาแต่เดิมๆ แล้วก็ยังไม่มีกิเลส ยังไม่มีความทุกข์ ถือว่าเด็กในท้องมารดาไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ ไม่มีการคิดปรุงแต่งอะไร ก็เรียกว่ายังสะอา�

หน้าที่ 2 – ไม่มีโง่ไม่มีฉลาด

แล้วมันก็หลอกอย่างสนิท ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนเกิดขึ้นอย่างสนิทสนมที่สุด อย่างมีดบาดนิ้วมันว่ามีดบาดกู คุณเป็นไหม มีดบาดนิ้วก็มีดบาดกู เพราะฉะนั้นต้องคิดได้ว่ามีดบาดนิ้ว ไม่ใช่มีดบาดกู จะเข้าใจเรื่องที่ว่า เด็กตัวเล็ก ๆ พอเดินได้ เดินไปชนเก้าอี้ มันก็โกรธคิดว่าเก้าอี้เป็นตัวตน นั้นมาทำอันตรายตัวตนนี้ มันก็เตะเก้าอี้ ให้ความหมายเก้าอี้เป็นมีตัวตน แม้กระทั่งพี่เลี้ยงบรมโง่ ก็ช่วยตี ช่วยตีๆ ให้เด็ก เด็กมันก็มีตัวตนมากขึ้นๆๆ เก้าอี้จะเป็นตัวตนได้ยังไง ทำไมเด็กมันรู้สึกเป็นตัวตนในใจนี้เป็นตัวตนมันก็ยังคิดไม่ได้ เก้าอี้ตัวนั้นเสาแท้ๆ มันเป็นตัวตนก็เตะ ผู้เลี้ยงเด็กก็ไปช่วยสนับสนุน ช่วยตี ช่วยอะไรให้เด็ก ให้เด็กมันหายโกรธ หายโมโห มันก็มีตัวตนๆ มากขึ้น ถูกสอนให้มีตัวตนอย่างไม่รู้สึกตัว ขึ้นมาเรื่อยๆ

แค่นี้ก็ตัวตน นี่ก็ของหนู นั่นก็ของหนู นี่ก็ของหนู อะไรๆ ก็ของหนู บอกลูกว่าอย่างนั้น ตัวตนก็หนาขึ้นๆ เราถูกสอนกันมาอย่างนั้นทั้งนั้น รวมทั้งอาตมาด้วย แวดล้อมสิ่งเหล่านี้มาอย่างนี้ มันก็หลงลึกเข้าไปในตัวตน ของตน มารู้สึกของธรรมชาติโดย อิจถะปัจจตา มันก็คิดอย่างนั้นรู้สึกอย่างนั้น ก็โง่อย่างนั้น รักโกรธเกลียดกลัวอย่างนั้น หาใช่ตัวตนไม่ มันเหมือนกับกลไกอะไรอย่างหนึ่งเหมือนกับ mechanism พิเศษของธรรมชาติ ระบบประสาทมีอยู่อย่างนี้ จิตมีอยู่อย่างนี้ ถ้าอะไรเข้ามาทางตาทางหูทางจมูก รุมกันอยู่อย่างนี้ มันก็เกิดรู้สึกได้เอง เช่นรู้สึกเจ็บปวด รู้สึกชอบ รู้สึกไม่ชอบ รู้สึกอยาก รู้สึกเกลียด พอความรู้สึกเหล่านี้เข้มข้นๆ ขึ้นก็คลอดความรู้สึกอันโง่ที่สุดคือ ตัวกูๆ ผู้รัก ผู้โกรธ ผู้เกลียด ผู้อยาก ผู้ชนะ ผู้แพ้ ผู้อะไร ผู้ๆๆๆ ผู้อยากเกิดทีหลังความอยาก ที่คุณเรียนในโรงเรียนนี่ผิดแล้วหยิกใช่ไหม ผู้อยากเกิดทีหลังความอยาก คุณจะถามว่าอ้าว แล้วไม่มีผู้อยากแล้วจะเกิดความอยากได้อย่างไร นี่มันสวนกลับมันเกิดความรู้สึกมันอยากตามระบบของธรรมชาติ แล้วไอ้ความรู้สึกอยากมันคลอดความรู้สึกของผู้อยาก ผู้อยากเป็นมายาลมๆ แล้งๆ ไม่ใช่ตัวจริง ฉะนั้นมันเกิดทีหลังความอยาก ความอยากก็ไม่ใช่ความจริง มันเกิดมาจากการกระทบของสิ่งปรุงแต่งต่างๆ ตามกฎของธรรมชาติ มันเกิดความรู้สึกขึ้นในจิตเป็นความอยากๆๆ ต้องการๆๆ ทีนี้ไอ้ความรู้สึกกูต้องการกูอยากเกิดขึ้นมา เป็นความโง่หลายชั้นมันซับซ้อน ควบคุมความอยากไม่ให้เกิดได้มันก็ควบคุมผู้อยากไว้ได้ ถ้าเกิดความอยากขึ้นมา ถ้ารู้สติขึ้นมาก็งั้นแหละ ไม่ใช่ตัวตน นี่เรียกสติปัญญาตามทางพุทธศาสนา ช่วยไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าผู้อยากผู้ได้ผู้อร่อยผู้ไม่อร่อย หรือว่าทุกๆ ผู้จะไม่เกิด มีบาดนิ้วก็ว่ามีดบาดนิ้ว อย่าว่ามีดบาดกู เดี๋ยวจะเห็นมีดเป็นตัวตนก็ฟัดขว้างมีด หักมีดเสียเลยเป็นอย่างนั้น มีดบาดนิ้วก็ว่ามีดบาดกู ไม่มองดูว่าเป็นเรื่องธรรมชาติแท้ๆ มีดก็เป็นธาตุอย่างนึง มีเหตุอะไรกระทำให้มันผ่านเข้าไปทางเนื้อ เนื้อมันก็ขาด เลือดมันก็ออก ระบบประสาทก็รู้สึกเจ็บปวด ก็มีเท่านั้น ไม่ต้องมีตัวกู ไม่ต้องมีของกู ไม่ต้องมีความรู่สึกว่ากูจะตาย อะไรนิดนึงก็รู้สึกว่ากูจะตาย ยุงกัดก็คิดว่ากูจะตาย มันมีตัวกูมากเกินไป ยิ่งหลงในอย่างนี้มากเท่าไหร่ยิ่งมีความทุกข์มากเท่านั้น ยิ่งมีปัญหามากเท่านั้น เต็มไปด้วยความกลัว วิตกกังวลอาลัยอาวรณ์ เสียทุกสิ่งทุกอย่าง พูดเท่านี้มันจบพุทธศาสนาโดยหัวใจโดยจิตใจโดยหัวใจของพุทธศาสนา

เกิดมาโง่อยู่ในท้องมันไม่โง่ไม่มีโง่ไม่มีฉลาด เพราะไม่มีอะไร พอคลอดออกมาจากท้องแม่ก็เริ่มโง่ๆๆ เป็นทุกข์ๆๆ จนเบื่อๆๆ แล้วก็หาทางออก จนพบว่าหมดๆๆ หมดโง่ๆๆ ก็เลยไม่ต้องเป็นทุกข์ เรื่องมีเท่านี้ เกิดมาโง่ เป็นทุกข์ ทุกข์จนเบื่อ เบื่อก็พบกับความไม่โง่ ไม่เป็นทุกข์ เรื่องจบ คือนิพพาน ไม่เป็นทุกข์โดยประการทั้งปวงคือนิพพาน พุทธศาสนาพูดว่าทีเดียวจบ อยู่ในท้องไม่โง่ เกิดออกมาโง่ๆๆ เป็นทุกข์ๆๆ แล้วก็เบื่อๆๆ แล้วก็หาวิธีไม่ต้องโง่ไม่ต้องเป็นทุกข์แล้วก็จบก็คือนิพพาน ที่นี้เดี๋ยวนี้ว่ายังมีชีวิต นิพพานถ้าตายแล้วไม่มีประโยชน์อะไร แต่ก็มีคนเชื่ออย่างนั้นว่านิพพานถ้าตายอีกหลายชาติ ก็แล้วตามใจเขา

ถาม ได้รับความรู้มาว่าสิ่งที่มีชีวิตพวกพืชไม่มีวิญญาณครอง แต่พวกสัตว์มีวิญญาณครอง วิญญาญตัวนี้ใช่ไหมคะที่พูดกัน
ตอบ นั่นแหละวิญญาณตัวตน วิญญาณที่ไม่ใช่ ไม่มีจริง คนว่าต้นไม้ไม่มีวิญญาณครอง ไม่จริง จะเป็นคนบ้าคนแรก คนโง่คนแรก มันสอนกันมาอย่างนั้นแล้วก็เชื่อถือกันมาอย่างนั้น ว่าต้นไม้ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณ บางทีมันมีชีวิตด้วยซ้ำ มันมีวิญญาณ แต่ต้นไม้รู้สึกได้ รู้สึกต้องการก็ได้ รู้สึกเกลียด กลัวก็ได้ รู้สึกไม่อยากตายก็ได้ ต่อสู้เพื่อไม่อยากตายเนี่ย เห็นได้ชัดเลยนะ
นิทานเด็กๆ นี่จะเล่าเรื่องน่าหัวให้ฟัง ไอ้ต้นแตง ปลูกแตงเลื้อยไปตามดินแล้วมันออกยอด เดินไปเป็นยอดพุ่งไป ทีนี้เด็กๆ ก็ทำบ่วงไปดักข้างหน้าให้ยอดแตงเข้าไปในบ่วง ไม่ ไม่เข้าหรอก ด้วยเหตุอะไรก็ไม่รู้ มันไม่เข้าไปหรอก ลองดูสิ ไม่เชื่อลองดูสิ ยอดอะไรก็ได้ที่เป็นของอ่อนๆ ยอดตำลึง ยอดแตง มันไม่เข้าบ่วง ต้นไม้นี่ต่อสู้ที่สุดเพื่อจะไม่ต้องตาย เพื่อจะไม่ต้องตาย พอจะทำให้มันตาย มันกลัวจะตายมันสูญพันธุ์ มันออกลูกมา มีต้นขนุนอยู่ลูกนึงข้างนอกโน่น ตั้งสิบกว่าปีแล้วไม่เคยออกลูกเลย ไม่เคยออกลูก ทีนี้คนโบราณที่เขามีคติตามแบบเขลาๆ ก็บอกว่าเอาไฟสุมเข้าสิ จริงสิ พอเอาไฟสุมก็ออกลูกเต็มเลย แล้วตายเลย ก่อนจะตายเขาจะฝากพืชพันธุ์เอาไว้ มีความรู้สึกอย่างนี้ แจ้งชัดแล้วไปอ่านรายงานเค้าเรื่องต้นไม้มีความรู้สึกชอบไม่ชอบ ทดลองกันทุกอย่างทุกทางจนปรากฏว่าต้นไม้มีความรู้สึกกลัวตายเหมือนกัน ชอบความประคบประหงม ลองให้เด็กๆ แช่งต้นไม้ชุดนี้ทุกทีเข้าๆ ออกๆ แล้วก็ให้พร สรรเสริญ ต้นไม้ชุดนี้ ต้นไม้ชุดนี้ตาย ต้นไม้ชุดนี้งอกงาม
ที่พวกอินเดียเขาร้องเพลงให้ต้นข้าวฟัง ต้นข้าวออกรวงดี หมายถึงมีจิตใจที่หวังดี ทำไมพอเอามือไปถูกหญ้าระงับมันหุบหมด มันต้องมีความรู้สึก รู้สึกอันตรายมาแล้ว ต้นไม้หลายๆ อย่างที่มีใบเป็นพืชตระกูลทั่ว ที่มีใบคู่หลายๆ ชนิดน่ะกลางคืนหุบใบทั้งนั้น มีชีวิตด้วยและมีความรู้สึกด้วย พอถึงฤดูที่หิมะจะตกมันก็เตรียมเพื่อต้อนรับหิมะ จะได้ไม่ต้องตาย ต้องเตรียมผลัดใบหรืออะไรต่างๆ ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็จะตายเพราะหิมะ อภิธรรมศาลาวัตรที่สอนว่าต้นไม่ไม่มีวิญญาณ การสอนความรู้ที่ถูกต้อง มันมีวิญญาณระดับน้อย ระดับต่ำที่สุด จนไม่รู้ว่ามีวิญญาณ ชีวิตน่ะมันต้องมี มันตายได้นี่ เห็นกันอยู่ วิญญาณความรู้สึกมันก็มี ทางนี้มีแสงแดดมันก็ทอดกิ่งทอดยอดไปทางนี้ ทางนี้ไม่มีแสงแดดมันก็ไม่ไป ชีวิตก็ต้องมีความรู้สึกเป็นอย่างนี้ ชีวิตต่ำมากก็รู้สึกต่ำมาก ชีวิตระดับสูงก็รู้สึกสูง กระทั่งชีวิตคนก็รู้สึกสูง มีสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณ ความรู้ ความรู้สึก เจตนามันสูงมาก เนี่ยวิญญาณธรรมดา แต่วิญญาณตัวตน วิญญาณเจตภูต วิญญาณเข้าออก ที่มันเข้าสิง อันนั้นอีกวิญญาณนึงคำนั้น อีกคำนึงวิญญาณคำนี้พุทธศาสนาถือว่าไม่มีๆ วิญญาณที่เข้าร่างนี้ไปเข้าร่างอื่น วิญญาณที่ลอยล่องไม่มี มีแต่วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้สึกอารมณ์วิญญาณอย่างนี้มี จิต มี

ความยากลำบากมันอยู่ที่ว่าจิตต้องช่วยตัวจิตเอง จิตโง่จะช่วยตัวเองได้อย่างไร ไม่มีใครมาช่วยได้นอกจากต้องช่วยตัวเองคือจิตต้องช่วยตัวเอง จิตที่เป็นทุกข์ นี่ก็ต้องช่วยตัวเอง มันก็เป็นทุกข์ยากลำบากอยู่ตรงนี้ จิตที่เป็นทุกข์จะต้องช่วยตัวเองให้หายทุกข์มันยาก คือความเข็ดหลาบความทุกข์ที่มากพอจะทำให้เข็ดหลาบ มันก็เปลี่ยนเองได้ ต่อต้านต่อสู้ไปตามเรื่อง แล้วก็รู้ๆๆถึงที่สุด ก็ไม่อยากจะคิดชนิดนั้นมันเป็นทุกข์ ไม่คิดชนิดนั้นไม่เป็นทุกข์ดีกว่า ไม่มีตัณหาอุปทาน ไม่เป็นทุกข์ดีกว่า มันรู้สึกเจ็บปวดเข็ดหลาบต่อความทุกข์ แล้วก็เบื่อต่อความทุกข์แล้วก็หันไปหาความคิดอื่นที่ไม่เป็นทุกข์ ที่เรากำลังมาศึกษากันเนี่ย ศึกษาธรรมะสูงสุดก็คือเรื่องนี้ ก็ต้องทำเองด้วยตัวจิตนั้นเอง ตัวตนมันไม่มี จิตไหนเป็นทุกข์ได้ จิตนั้นช่วยตัวเอง

พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ แต่รับเอาความรู้ของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติเพื่อช่วยตัวเองได้ เราพูดอย่างนี้ถูกด่า พระพุทธเจ้าช่วยไม่ได้ต้องช่วยตัวเอง แล้วก็ถูกด่า คนที่เค้าจะพึ่งพระพุทธเจ้าเค้าด่าเอา แต่ตามพระบาลีแท้ๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พึ่งตัวเองคือพึ่งธรรมะ พึ่งธรรมะคือพึ่งตัวเอง ไม่มีตรงไหนที่สอนให้พึ่งพระพุทธเจ้า มีแต่สอนให้พึ่งตัวเอง อัตตทีปา อัตตสรณา มีตัวเองเป็นที่พึ่ง มีตัวเองเป็นสรณะ นั่นคือธรรมะทีปา ธรรมะสรณา มีธรรมะเป็นที่พึ่ง มีธรรมะเป็นสรณะ อนันยทีปา อนันยสรณา อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง อย่ามีอย่างอื่นเป็นสรณะเลย มันสอนไปอย่างนี้ อัตตาหิอัตตาโนนาโถ ตัวตนไหนเป็นทุกข์ตัวตนนั้นก็ต้องช่วยตัวเอง แต่เดี๋ยวนี้เราจะให้ครอบครูเอราวัณช่วย แม้แต่อย่างดีเราจะให้พระพุทธเจ้าช่วยมันก็ผิด ผิดคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า มันบอกว่าหน้าที่ต้องทำเอง พระพุทธเจ้าเป็นแต่ผู้แนะหนทาง เธอทำเอง เธอเดินเอง เธอต้องพึ่งตัวเอง พูดอย่างนี้แม้ที่กรุงเทพก็ถูกด่า เพราะคนที่คิดพึ่งพระพุทธเจ้ายังมีมากนัก ยังไม่คิดพึ่งตัวเอง จะไปเปิดดูในพระไตรปิฏกไม่ว่าจะบทไหนก็ไม่มีที่ว่าให้พึ่งพระพุทธเจ้า มันสอนให้พึ่งตัวเอง ให้พึ่งธรรมะ ปฏิบัติธรรมะนั่นแหละพึ่งตัวเอง ปฏิบัติธรรมะแล้วธรรมะมันช่วยนั่นแหละพึ่งตัวเอง ให้พระเจ้าช่วยน่ะไม่มีทาง ไม่มีหวังในพุทธศาสนาน่ะมันไม่มี จะให้พระพุทธเจ้าช่วยก็ต้องทำด้วยตัวเองจนพระเจ้าต้องช่วย เช่นเราเป็นไข้เจ็บไข้ช่วยตัวเองไม่ได้ต้องไปหาหมอเราต้องมีอะไรดีพอจนหมอมันช่วยนะ ไม่มีสตังค์ไปให้หมอมันไม่ช่วยนะ คิดดูสิ มันต้องมีส่วนที่ช่วยตัวเอง ถึงพระเจ้าก็เหมือนกันแหละ ต้องเอาของไปบวงสรวง เอาช้างไปให้พระครูเอราวัณมันช่วย ธรรมดามันก็ไม่ช่วย นี่เรียกว่ามีส่วนที่เราช่วยตัวเองเอาช้างไปจ้างมันให้ช่วย ถ้าเป็นพุทธบริษัทก็จำไว้เถอะว่าพึ่งตัวเองช่วยตัวเอง ถ้าไม่รู้จะทำอย่างไร ไปศึกษามาเค้าแนะให้ แนะวิธีช่วยตัวเองให้

วิธีอาณาปานสติทำให้รู้วิธีที่จะช่วยตัวเองไม่ให้เกิดกิเลสไม่ให้เกิดความทุกข์ เป็นกรรมฐานที่ถูกต้องที่สุดที่สมบูรณ์ที่สุดที่จะช่วยตัวเองได้ ตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเองก็เคยช่วยตัวเองด้วยอาณาปาณสติท่านตรัสไว้ ตถาคตอยู่ด้วยอาณาปานสติวิหาร แล้วก็ได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า ระบบอาณาปานก็เคยช่วยไว้แม้แต่พระพุทธเจ้า แล้วท่านก็มอบให้เราเอามาใช้ช่วยตัวเอง

ถาม แล้วที่ท่านบอกว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขในที่นี่ก็คือหมายความว่าเป็นความสุขที่ไม่มีความทุกข์ใช่ไหมคะ
ตอบ ที่ถูกต้องต้องพูดว่าไม่มีทุกข์ สุดแห่งความทุกข์ คนกลางถนนไม่ชอบใจ ต้องบอกว่าเป็นสุขที่สุดเพราะเขารู้จักความสุข พอใจอยู่ในความสุข ที่จริงก็เข้าใจไขว้กันอยู่นะ สุขเอร็ดอร่อย สุขสนุกสนาน แต่นิพพานไม่ใช่สุขอย่างนั้น มันสุขอย่างที่ไม่ต้องสุข ไม่ต้องเป็นสุข ไม่ต้องเป็นทุกข์ มีคนนึงอยู่ที่นี่ ยังมีชีวิตอยู่ ถามเขาว่าอยากไปนิพพานไหม เอาไหม เอาๆๆ นิพพานไม่มีรำวงนะ งั้นไม่เอาๆๆๆ บอกคืนทันที นี่คิดว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง จะไปรำวงกันได้ดีกว่าที่นี่ พอบอกไม่มีก็บอกคืนทันที ไม่เอาๆ เพียงเท่านี้ลองคิดดูนะ แล้วก็ไม่ต้องการ พอบอกว่านิพพานไม่มีดิสโก้เทค เด็กๆ ก็ไม่อยากไปแล้ว

ถาม ที่ท่านกล่าวถึงว่าไม่ให้พูดคำว่าของกูกับเด็กเล็กๆ ถ้าสมมติว่าในกรณีที่ว่าอายุห้าถึงหกขวบ ถ้าให้ของไปแล้วเด็กๆ จะรู้สึกไหมคะว่าทำไมพ่อแม่ให้ของไปแล้วถึงไม่ใช่ของเค้า (ไม่ชัด)
ตอบ อันนั้นมันเป็นเรื่องของเด็กๆ ที่ไม่รู้จึงต้องใช้ภาษาอย่างนั้น พูดอย่างนั้นกันไปก่อน
ถาม แล้วการโยงเข้าไปกับคำที่ว่าการที่จะมีจิตประภัสสรได้จะต้องมีปัญญาใช่ไหมคะ
ตอบ เด็กไม่มีทางจะรู้
ถาม คำว่าปัญญานี่หมายถึงวุฒิภาวะหรือเปล่า
ตอบ ปัญญานี่ก็หมายถึงความรู้ที่ถูกต้อง มันถูกต้อง กว่าจะรู้เรื่องนี้ กว่าจะรู้ธรรมะมันต้องผ่านอะไรมามากแหละ เรื่องสุขเรื่องทุกข์ เรื่องอะไรผ่านมามากถึงจะฟังถูก ทีนี้เขาบอกคนที่ฉลาดพอสมควรแล้ว ให้รู้ว่าจิตนี้ธรรมชาติเป็นประภัสสร เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสเข้ามา หรือบริสุทธิ์ผ่องใสเพราะอุปกิเลสไม่เข้ามา ผู้ใดมีความรู้ความเข้าใจมีความรู้เหล่านี้ ผู้นั้นเหมาะสมควรจะทำสมาธิ วิปัสสนา ถ้ายังไม่มองเห็นหลักอันนี้ หรือไม่ยอมรับหลักอันนี้ ผู้นั้นยังไม่ควรจะทำสมาธิภาวนา หรือวิปัสสนา จึงใช้คำว่าจิตภาวนาย่อมมีแด่ผู้นั้น ผู้ใดเข้าใจความจริงข้อนี้ว่าจิตประภัสสรอย่างไร ไม่ประภัสสรอย่างไร พอเห็นอย่างนี้แล้ว ผู้นี้ควร จิตภาวนาย่อมมีแด่ผู้นี้ ผู้นี้ย่อมมีจิตภาวนา
ถาม แล้วคนที่ทำสมาธิแล้วไม่เคยเห็นอะไรเลย แสดงว่าทำไม่ถูกต้องใช่หรือเปล่าคะ ทำได้หรือเปล่าคะ
ตอบ นั่นก็ไม่ได้ ก็เห็นชัดอยู่แล้วว่าไม่มีนิมิต สมาธิทุกชนิดต้องมีนิมิตให้จิตกำหนด
ถาม แต่ถ้ามันมีความรู้สึกว่ามันเย็นสบายล่ะคะ
ตอบ ไอ้เย็นสบายเนี่ยเป็นนิมิต
(หัวเราะ)
ถาม ท่านคะ เมื่อไหร่ที่เค้าควรจะทำสมาธิ ตามขั้นตอนต่างๆ (ไม่ชัด)
ตอบ เมื่อเขาไม่อยากจะมีความทุกข์
ถาม ท่านพอจะกำหนดได้ไหมคะว่าอายุขนาดนี้ควรจะทำสมาธิ
ตอบ ไม่ได้กำหนดด้วยอายุ ด้วยสถานที่ไม่ได้ กำหนดด้วยจิตใจที่อยากจะดับทุกข์ หรือเขาเกลียดกลัวจิตที่ไม่เป็นสมาธิ ยุ่งยากลำบาก เขาอยากจะมีจิตเป็นสมาธิแล้วพร้อมจะทำสมาธิ เดี๋ยวก่อนคำว่าสมาธิ สมาธิ ตามธรรมชาติมันก็มีแต่ไม่พอ มันไม่พอ ต้องทำเพิ่มๆๆ สมาธิก็ดี สติก็ดี ปัญญาก็ดี มันมีตามธรรมชาติตามสมควรมีชีวิตอยู่ได้ ติดมาโดยธรรมชาติ โดยสัญชาตญาณ สมาธิโดยสัญชาตญาณมันก็ทำอะไรได้ เช่นว่ามันจะขว้างให้มันถูก หรือมันจะยิงปืนให้มันถูก หรือจะหยอดหลุมทอยกองให้มันถูก มันต้องมีสมาธิตามธรรมชาติ สมาธิเพียงเท่านี้มันไม่พอที่จะดับทุกข์ได้ มันต้องเพิ่ม แม้แต่ปลาเสือมันยังมีสมาธิ เข้าใจไหม เคยเห็นปลาเสือไหม ปลาเสือจริงๆ นี่เห็นไหม รุ่นนี้ไม่เคยเรียนหนังสือแบบเรียนเร็วโบราณ ถ้าเคยเรียนแบบเรียนเร็วโบราณจะเรียนเรื่องปลาเสือพ่นน้ำตกลงมากินได้ เนี่ยสมาธิของปลาเสือ ปลาเสือยังมีสมาธิ แล้วคนไม่มีสมาธิ ขายหน้าปลาเสือ (หัวเราะ)
ถาม (ไม่ชัด)
ตอบ อย่างนั้นก็ได้
ถาม ถ้าเกิดว่าคนใดยังไม่สามารถเข้าใจเรื่องจิตประภัสสรได้ แล้วต้องมีการฝึกจิตภาวนานี่ตรงส่วนนี้จะทำอย่างไร
ตอบ มันก็ได้ตามๆ เขาก็ได้ เดี๋ยวนี้โดยมากมาฝึกตามๆ กันทั้งนั้นแหละ หรืออย่างน้อยก็มีความเชื่อว่าจิตนี้ฝึกได้ ถ้ามีความรู้ขนาดนี้เป็นทุน ฝึกแล้วก็ฝึกได้ ถ้าเห็นว่าจิตประภัสสรก็ยิ่งดี เดี๋ยวนี้เรามันอยากดี อยากมีความสุข เขาแห่ไปทำวิปัสสนากันก็ไปกับเขาด้วย ก็ได้เหมือนกัน มันก็ได้ทำเหมือนกัน ค่อยรู้ทีหลังว่าจิตประภัสสรเป็นอย่างไร
ถาม หลวงพ่อคะ ไอ้ที่เห็นนิมิตเป็นหน้าตาเป็นตัวนี่ (ไม่ชัด)
ตอบ หลายอย่างไอ้นิมิตเป็นอารมณ์ของสมาธินี่มันอย่างนึง ไอ้นิมิตที่มันเห็นนรกสวรรค์อะไรต่างๆ นั่นน่ะไม่จริง นั่นมันไม่จริง นิมิตนี้สำหรับสมาธินี่อะไรก็ได้ที่ให้จิตมันเกาะที่นั่น กรรมฐานมีหลายสิบแบบ เอาสิ่งของภายนอกเช่นดวงเทียน เช่นวงสี หรือเอาพระพุทธรูป หรือเอาดวงแก้วเป็นนิมิตก็ได้ แต่เราไม่ชอบแบบนั้น เราชอบลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นนิมิตกำหนด เรียกว่าอาณาปานสติ แบบอื่นเขาก็เอาอย่างอื่นเป็นนิมิต บางแบบเอาโครงกระดูกเป็นนิมิต เอาศพเป็นนิมิต
ถาม หลวงพ่อคะแล้วถ้าเห็นนิมิตเป็นพระพุทธรูปน่ะค่ะ เราเห็นอยู่ภายนอกแล้วกำหนดนิมิตเข้ามาในร่างกายเราหรือเปล่าคะ
ตอบ มันก็เห็นด้วยการรู้สึกประสาทหลอนก็เห็น ความจริงก็เห็น
ถาม หลวงพ่อคะ ทุกครั้งที่นั่งสมาธิจะรู้สึกว่ามีแสงจ้ามากระทบที่ตาอยู่ตลอดเวลา แล้วก็บอกตัวเองว่าไม่ต้องเพ่ง แต่ว่ายังไปเพ่งกับมันทุกครั้งเลย
ตอบ อย่าไปเพ่งมัน ระบบประสาทมันต่อสู้ พอเราบังคับจิตให้เป็นสมาธิ ระบบประสาทมันก็ต่อสู้ พอเห็นนั่นเห็นนี่เราก็วุ่นวายไปหมด อย่าไปสนใจกับมัน จงพุ่งมุ่งแต่ให้มันสงบๆๆ จะเห็นอะไรก็ช่างหัวมัน มันเป็นการต่อสู้ของระบบประสาท ถ้าจิตอ่อนแล้วล่ะก็ประสาทหลอนจิตหลอนเห็นเยอะแยะไปหมด ทำสมาธิเพื่อจะเห็นเลขสามตัวล่ะก็เห็นแน่ๆ
ถาม หลวงพ่อครับ อยากจะขอความกรุณาหลวงพ่อเล่าถึงสภาวะที่เรียกว่าตรัสรู้
ตอบ ตรัสรู้ก็คือรู้ คำว่าตรัสรู้เนี่ยภาษาไทย จะใช้กับพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง ไอ้เราก็มีตรัสรู้อย่างเดียวกันแหละ แต่ไม่ได้รู้เอง จึงไม่ใช้ว่าตรัสรู้ แต่ความรู้รู้อย่างเดียวกัน รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้ทุกข์ รู้นิโรธ รู้เมตตา รู้อาสวะ สมุทัย รู้อาสวะ นิโรธ อาสวะ นิโรธกาล รู้เหมือนกันแหละกับพระอรหันต์รู้ พระอรหันต์ทุกองค์ก็รู้เหมือนกับที่พระพุทธเจ้ารู้ แต่ไม่เรียกว่าตรัสรู้ เพราะไม่ได้รู้เอง เมื่อความถูกต้องของสมาธิของปัญญาของอะไรเหมาะสม มันก็รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้ขึ้นมา ก็รู้จนดับทุกข์ได้ก็นั่นแหละตรัสรู้ ความรู้อันสูงสุด รู้จนทำลายความเคยชินกิเลส อนุสัยต่างๆ ในสันดานได้ ความเคยชินที่จะรักก็ทำลาย ความเคยชินที่จะโกรธก็ทำลาย ความเคยชินที่จะโง่ก็ทำลาย มันก็เลยไม่รัก ไม่โกรธ ไม่โง่อีกต่อไป ความรู้ขนาดนั้นแหละคือความรู้ที่เรียกว่าตรัสรู้ จะต้องรู้เองถึงเรียกว่าตรัสรู้

ถาม (ไม่ชัด)
ตอบ ไอ้เซนน่ะเค้าเรียกว่าวิธีลัด รู้โดยวิธีลัด ต้องมีอาจารย์ที่ฉลาดเหนือลูกศิษย์มากจึงจะต้องลูกศิษย์ให้รู้อย่างนั้นได้ อาจารย์ที่จะเป็นอาจารย์เซน ที่จะทำให้ลูกศิษย์รู้ฉับพลัน ต้องสามารถมากต้องเก่งมากมีอายุมากพอ แทงรู้จิตใจของลูกศิษย์ว่าจะต้อนมาอย่างนี้ๆ เรียกว่ารู้โลก เรียกว่าวิธีลัด เป้าหมายอย่างเดียวกัน ดับทุกข์ได้เหมือนกัน แต่ว่าเป็นวิธีลัดที่ออกจะยากสำหรับผู้ที่มีปัญญาแล้วยังมีผู้ที่มีปัญญาเหนือกว่าต้อนไปได้ ใช้กับคนโง่ๆ นี่คงทำไม่ได้ แต่ว่าถ้าทำไปๆๆ ก็อาจจะมีขึ้นมาได้เหมือนกัน มีผลขึ้นมาได้เหมือนกัน จะไม่มีครูจะพูดได้ว่าในเมืองไทยไม่มีครูที่จะเป็นครูสอนเซนที่แท้จริงได้ อยากจะพูดว่าในเมืองจีน เมืองญี่ปุ่นเดี๋ยวนี้ก็ไม่มี มันมีชนิดประเภทนี้

ถาม แสดงว่าภาวะของการหยั่งรู้จิตใจของผู้อื่นมีใช่ไหมคะ
ตอบ มีสำหรับผู้ที่เป็นครูจำเป็น ผู้ที่เป็นครูที่จะจูงผู้อื่น ที่จะสอนผู้อื่น ต้องรู้จิตใจของผู้อื่นถึงเป็นวิชาของครูเป็นองค์ประกอบของครู เป็นครู เป็นภาษาไทยทำยุ่งยากเรียกว่าตรัสรู้ เลยมันหมายถึงรู้ด้วยตนเอง ที่รู้ตามไม่ได้รู้ด้วยตัวเองรู้อย่างเดียวกัน มันต้องเกิดอะไรขึ้นมาอย่างเดียวกัน

ความรู้โดยสัญชาตญาณได้รับการปรับปรุงให้เป็นความรู้ มากกว่าสัญชาตญาณ เป็นภาวิตยาคืออบรมแล้ว ในที่สุดมันจะรู้ถึงที่สุด คือการตรัสรู้ ตามธรรมชาติจิตใจก็มีความรู้ มีสมรรถภาพตามความรู้ แต่ไม่พอ ไม่ถูกบ้าง ที่มันถูกแล้วก็มันพอก็ดับทุกข์ได้ ถึงจุดสูงสุดเรียกว่าพระอรหันต์หรืออะไรก็แล้วแต่แล้วแต่จะเรียก ที่แยบคายที่สุดเรียกว่าตถาคต ตถาคโต ถึงแล้วซึ่งความเป็นอย่างนั้น ความเป็นอย่างนั้น ความไม่เป็นทุกข์ความไม่เปลี่ยนแปลง ความเป็นอย่างนั้น นั่นแหละคือพระอรหันต์

อรหันต์ก็คือผู้ไม่ทุกข์ ผู้ไม่รู้จักกันกับความทุกข์อีกต่อไป สรุปสั้นๆ ก็คืออยู่เหนืออำนาจอิทธิพลของความเป็นบวกเป็นลบ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้าย ไม่เกิดเป็นบวก ไม่เกิดเป็นลบ ถ้ายังหัวเราะยังร้องไห้อยู่ มีความเป็นบวกมีความเป็นลบ

ถาม ก็ยังมีความไม่เข้าอยู่กับอีกคำนึงที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถจะสะสมบารมีได้ คำว่าบารมีในที่นี้หมายความว่า มนุษย์สามารถที่จะทำจิตให้เป็นประภัสสรได้ไม่ทราบว่า (ไม่ชัด)
ตอบ ประภัสสรตลอดกาเป็นจุดประสงค์มุ่งหมายสุดท้าย รักษาจิตเป็นประภัสสรไว้ได้เป็นการสร้างสมบารมี บารมีพอสร้างความเคยชินในทางฝ่ายดี พอถึงจุดดีก็พ้นเป็นเหนือดี ถ้าไปสะสมทางฝ่ายชั่วไม่เรียกบารมี ถ้าสะสมทางฝ่ายดีเรียกบารมี อะไรก็ตามที่สะสมในทางฝ่ายดีสะสมให้มากเข้าไว้ๆ เรียกว่าบารมี คำว่าบารมีดูเหมือนจะแปลว่าทำให้มันเต็มขึ้นมา เติมให้มันเต็มขึ้นมาๆๆ ความเคยชินในฝ่ายดี เดี๋ยวนี้เรายังไม่ชนะดี เราก็ดีๆๆๆ สุดดีก็หลุดว่างไป ว่างจากบ่วงแห่งความชั่วความดี อิทธิพลแห่งความชั่วความดีผูกพันไม่ได้อีกต่อไปนี่เรียกว่าความหลุดพ้น ฉะนั้นจึงต้องรู้จักความชั่วรู้จักความดี แล้วไม่เอากับมันทั้งสองอย่าง เดี๋ยวนี้ยังมีคนไปเอากับความชั่วอย่าว่าแต่ความดีเลย ที่รู้อยู่เรื่องความชั่วน่ะ มันจะถูกไปเอร็ดอร่อยกระนั้นก็ยังเอาอีก เอาความชั่ว จึงมีคนทำความชั่ว บังคับตัวไม่ให้ทำความชั่ว ทำแต่ความดี สูงขึ้นไปๆ จนเต็มไปด้วยความดี ก็โอ้ ยังยุ่งๆ ขอลาก่อนนะ ก็ไปเหนือความดี จากชั่วมาถึงดี จากดีมาถึงว่าง เรื่องมันเป็นอย่างนั้น ว่างชั่วว่างดี
ตอบ ไม่ได้ยิน เขาถามออะไร

ถาม ถามว่ากฎแห่งกรรม ความหมายที่แท้จริงของกฎแห่งกรรมหมายความว่าอะไร
ตอบ กฎแห่งกรรมเหรอ ก็สิ่งที่กระทำจะต้องมีปฏิกิริยาสนองตอบ คือผลกรรม ถ้าการกระทำนั้นทำด้วยมีเจตนาความรู้สึกก็เรียกว่ากรรม ผลที่ออกมาก็เรียกว่าวิบาก คือผลกรรม ถ้าการกระทำนั้นไม่ได้ทำด้วยเจตนาไม่ได้เรียกว่ากรรม เรียกว่ากิริยา ผลสนองตอบออกมาเรียกว่าปฏิกิริยา เนี่ยคือกฎแห่งกรรม ทีนี้มีผลอะไรออกมา ถูกใจคนทำมันก็ว่าดี ไม่ถูกใจคนทำมันก็ว่าไม่ดี มันก็ถูกติดอยู่กับดีหรือไม่ดี พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องกรรมอีกข้อหนึ่งไว้คือเหนือชั่วเหนือดี กรรมเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมชั่วกรรมดี อย่างนี้มีแต่ในพุทธศาสนา นอกพุทธศาสนาก่อนพระพุทธเจ้าเขาก็สอนอยู่แล้วเรื่องกรรมชั่วกรรมดี กรรมดีๆ กรรมชั่วๆ ไม่ใช่เพิ่งสอนเมื่อพระพุทธเจ้าเกิด ก็สอนอยู่ก่อน พระพุทธเจ้าก็ไม่ปฏิเสธ ก็จริง ทำดีๆ ทำชั่วๆ แต่ฉันจะสอนเรื่องกรรมที่เหนือดีเหนือชั่ว ไม่แยแสกับดีกับชั่วนี่ นี่กรรมของพระพุทธเจ้า

เค้ามีกฎแห่งกรรมอีกชนิดหนึ่งที่สูงขึ้นไปกว่าทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว เค้าสอนกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า เมื่อมายึดถือเป็นตัวกูของกูมันก็ไม่มีกรรม คือมันก็ไม่มีความหมายว่าดีว่าชั่วแก่ใคร จะดีชั่วก็ยกเลิกไปเพราะไม่มีใครรับ การที่จะอยู่เหนือกรรมดีกรรมชั่วต้องหมดตัวกู ของก็ เนี่ยจะอยู่เป็นกรรมที่สาม กรรมที่หนึ่งคือกรรมชั่ว กรรมที่สองคือกรรมดี กรรมที่สามคือเหนือชั่วเหนือดี อย่างนี้ก็เป็นพระอรหันต์ ทำกรรมที่ทำให้อยู่เหนือชั่วเหนือดีก็เป็นพระอรหันต์ เรื่องเดียวกันแหละ หมดตัวตนหมดกิเลส เหนือชั่วเหนือดี เรื่องชั่วเรื่องดีก็เป็นของเด็กเล่นมีอยู่แต่ในโลกนี้ เหนือชั่วเหนือดีก็เหนือโลก

ถาม หลวงพ่อครับ พวกเรารู้สึกว่าก็ได้ข้อคิดจากหลวงพ่อที่กะทัดรัดนะครับ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะไปปฏิบัติต่อ
ตอบ คือว่าพยายามใช้ประโยชน์จากวิชาความรู้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้สอนไว้ อาตมาก็ศึกษาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการลองฝึกดู เข้าใจรู้มากขึ้นก็มาบอก มาสอน มาแจกต่อๆ กันไป ผู้คนช่วยตัวเองปฏิบัติจนมีจิตใจอยู่เหนือความชั่วและความดีหลุดพ้นเป็นโลกุตระ ถ้าอยู่ใต้อิทธิพลของความชั่วความดีก็อยู่ในโลกียะ อยู่ในโลกจมอยู่ในโลก ติดอยู่ในโลก เหนืออิทธิพลชั่วดีก็พ้นโลกเป็นโลกุตระ ถ้าอยู่ในโลกียะ ก็ต้องเป็นทุกข์ อยู่ในโลกุตระก็ไม่มีความทุกข์เลยจบสิ้นสุดแห่งความทุกข์ อย่าไปเรียกมันว่าความสุข มันจะกลายเป็นดีขึ้นมาอีก แต่ถ้าพูดชักชวนแต่ทีแรกก็ต้องพูดว่าดีถึงจะพากันดีเป็นสุดยอดแห่งความดี ไม่ได้สนใจว่าหมดดีหมดชั่ว เหนือดีเหนือชั่ว สอนลูกเด็กๆ ชั้นอนุบาลก็ต้องสอนว่าดี ถ้าสอนสูงกว่านั้นก็ไม่เข้าใจ เนี่ยก็ดี ดี ดี เค้าก็รู้เอง มันไม่สิ้นสุด มันยังยุ่ง อยู่เหนือดี ดีกว่า มันพูดได้ว่าเกิดมาสำหรับโง่ไปก่อน ทนทุกข์ไปก่อน แล้วความทุกข์นั้นจะสอนให้ จะบีบคั้น มันจะกัดเอาแล้วก็อยากจะพ้นทุกข์ นั่นแหละมันจึงจะดับทุกข์ได้ ถ้าไม่มีความทุกข์มันก็ไม่รู้จักความทุกข์ ก็ไม่มีปัญหาเรื่องจะดับทุกข์ มันก็ต้องมีความทุกข์เป็นปัญหาที่ต้องดับ มันจึงจะศึกษาเรื่องที่ต้องดับ ฉะนั้นลูกเด็กๆ ก็ต้องสอนไปตามแบบสมมติก่อน ให้ดีเข้าไว้เถิดๆ แกจะได้อะไรตามที่แกต้องการ สบายดี สุขดี เป็นคำสอนจึงมีเป็นชั้นๆๆ ตามวัยแห่งอายุ อยากได้อะไรตามที่ต้องการเป็นสัญชาตญาณ เขาก็ต้องการที่เขาชอบแต่เค้าไม่รู้ว่าอะไรควรชอบ อะไรไม่ควรชอบ เขาชอบไปตามกิเลสมันชอบไปก่อน ชอบไปตามที่กิเลสมันชอบก็กัดเอาๆๆๆ ทีนี้ก็เกลียดจนเลิกชอบแบบนั้น จะไปเอาที่ดีกว่านั้น ดีๆๆ จนพ้นดี จนเหนือดี บางคนเห็นว่าเป็นทุกข์ก็สนุกดี ร้องไห้ก็สนุกดี ร้องไห้ให้อร่อย ถ้าอย่างนี้ก็ช่วยไม่ได้

ถาม ถึงเวลาอันสมควรแล้วครับหลวงพ่อ กราบขอบพระคุณหลวงพ่อครับ
ตอบ นี่เรียกว่าคุยกันไม่ใช่บรรยาย

http://www.vcharkarn.com/varticle/35253

. . . . . . .