อาณาปาณะสติภาวนาสำหรับนักศึกษา โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

อาณาปาณะสติภาวนาสำหรับนักศึกษา โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ศีลสมาธิปัญญา

แล้วว่าท่านจะเป็นศีลสมาธิปัญญา ศีลคือการเตรียมกายวาจาหรือส่วนร่างกายไว้ให้พร้อมสำหรับการเกิดแห่งปัญญาอย่างที่เป็นเครื่องตัดกิเลสสมาธิก็เป็นเครื่องเตือนจิตไว้ให้พร้อมที่จะเกิดปัญญาหรือญาณเพื่อเป็นเครื่องตัดกิเลสเราก็ได้รับผลแห่งการไม่มีกิเลสคือพระนิพพานในระดับสูงสุดหรือว่าในระดับต้นๆชั่วขณะที่มันเป็นความสุขอย่างเดียวกันขึ้นชื่อว่าความหมายของนิพพานมันก็ต้องหมายความว่าเย็นหรือดับไฟแห่งความร้อนมันก็ได้ความเย็นทีนี้มาดูกันให้ชัดลงไปว่าสมาธินั้นเป็นอย่างไร

ที่มีศีลก็มีร่างกายเหมาะสมที่จิตจะเป็นสมาธิเท่าที่จะทำได้มันก็จึงทำสมาธิการฝึกสมาธิย่อมได้สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกสิ่งหนึ่งเรียกว่าสติเมื่อมีการฝึกสมาธิอยู่ก็มีการฝึกสติไปด้วยตลอดเวลาความสำคัญของสติเหนือที่จะประมาณได้ถ้าว่าไม่มีสติปัญญาก็เป็นหมันจะอาวุธที่คมที่สุดมีสมรรถนะมากแต่ถ้าไม่เอามาใช้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรถ้ามีสติคือการระลึกมันก็ระลึกถึงปัญญานั่นเองมันก็เท่ากับเอาอาวุธอันวิเศษนั่นมาใช้ฆ่าศัตรูได้มันก็ได้รับประโยชน์เดี๋ยวนี้เราโดยมากก็มีปัญญาแต่แล้วก็ไม่มีสติให้ปัญญาเกิดขึ้นเพราะมันมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าในแต่ละวันเราก็มีเหตุการณ์เฉพาะหน้าทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางผิวหนังบ้าง ทางจิตบ้างและเราก็พ่ายแพ้เหตุการณ์เหล่านั้นในบางกรณีก็ไปหลงรักบ้าง

ในบางกรณีก็ไปหลงเกียจบ้างเมื่อเอามาเป็นสิ่งที่วิตกกังวลตลอดเวลา ความทุกข์ถ้าเรามีสติเพียงพอมันก็เป็นการระลึกได้ถึงปัญญาศึกษาไว้มาเป็นความเฉลียวฉลาดในขณะที่มาสัมผัสทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ทางผิวหนัง ทางจิตนี้ นั่นแหละขอให้เข้าใจว่าปัญหาใหญ่ที่สุดที่เราดับความทุกข์กันไม่ได้ในชีวิตประจำวันเพราะว่าสติมันไม่พอมันก็เท่ากับว่าไม่เอาปัญญามาใช้ ไม่ได้เอาอาวุธมาใช้ปัญญาและอาวุธสติไม่เอามาใช้นั้นเราจึงไม่สามารถที่จะปกติอยู่ได้หรือไม่สามารถที่ฉลาดอยู่ได้แล้วมันก็โง่ในขณะที่มีการสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเรื่องของมันมีว่ายกตัวอย่างถ้าตาเห็นรูปก็เห็นทุกอย่างทางตา

รูปที่เห็นจากตาด้วย วิญญาณด้วยทำงานร่วมกันเรียกว่าผัสสะคือว่าตาเห็นรูปนั่นเองแต่ท่านระบุว่าเมื่อตาด้วย เมื่อรูปด้วย เมื่อจักสุวิญญาณการเห็นรูปด้วยทั้งสามอย่างนี้ทำงานร่วมกันเขาเรียกว่าผัสสะเมื่อหูกับเสียงถึงกันเข้าเกิดความได้ยินทางหูสามอย่างนี้ทำงานร่วมกันเรียกว่าผัสสะทางหู ทางจมูกทางกลิ่นถึงกันเข้าเกิดการได้กลิ่นรู้สึกกลิ่นเรียกว่าฐานะวิญญาณวิญญาณทางจมูกสามอย่างนี้เรียกว่าผัสสะ จำผัสสะนี้ไว้ให้ดีๆลิ้นถึงเข้ากับรสอร่อยไม่อร่อยก็สุดแท้เกิดความรู้สึกทางลิ้นที่เรียกว่าชิวหาวิญญาณสามอย่างนี้พบกันเข้าเรียกว่าผัสสะทางลิ้น ผิวหนังได้พบกันเข้ากับสิ่งที่มากระทบทางผิวหนังแห่งทุกส่วนส่วนใดก็ได้ของร่างกายมาพบกันเข้าเรียกว่าโหดตะพะและหูคนที่ไม่เคยไดยินเมื่อกายกระทบกันเข้ากับสิ่งที่มากระทบผิวกายมันก็เกิดการรู้สึกทางกายเรียกว่ากายะวิญญาณกายนี้ด้วย

สิ่งที่มากระทบด้วย กายะวิญญาณด้วยสามอย่างนี้พบกันเรียกว่าผัสสะทางกาย นี้จิตในความรู้สึกมากระทบก็เกิดมโนวิญญาณความรู้สึกทางมโนทางจิตทางใจเรียกว่าผัสสะทางจิตจำคำว่าผัสสะๆไว้ให้ดีๆเพราะว่าตัวปัญหาถ้าผัสสะโง่เรื่องก็จะเป็นทุกข์ไปตลอดถ้าผัสสะมันฉลาดมีความรู้ในเรื่องมันก็จะฉลาดไม่เป็นทุกข์นี้ผัสสะนั้นจะโง่หรือจะฉลาดนั้นก็แล้วแต่สติของคนและปัญญามาทันเวลาที่ผัสสะอาการผัสสะนั้นหรือไม่ที่บอกว่าเห็นรูปมีผัสสะทางตาสติเอาปัญญามาทันผัสสะจะเป็นผัสสะฉลาดผัสสะที่ฉลาดมันก็จะให้เกิดความรู้เพราะว่ามันมีความฉลาดเวทนาที่เกิดต่อไปจากผัสสะมันจะเป็นเวทนาที่มีความรู้คุมอยู่ก็ไม่เกิดปัญหาคือความอยากอย่างโง่ๆน่ารักก็รัก น่าโกรธก็โกรธ น่าเกียจก็เกียจถ้ากลัวก็กลัวอย่างโง่ๆเพราะมันโง่ที่ผัสสะ มันโง่ที่เวทนา

ปัญหาคือความอยากก็เกิดอุปาทานตัวกูของกูอยาก ก็เกิดภพความเป็นแห่งตัวกูขึ้นมาในกรณีนี้ภพก็เกิดชาติคือความรู้สึกคือตัวกูที่เป็นรูปแบบของกูเรียกว่าชาติมันมีชาติแล้วอะไรก็เป็นของกูมันเกิดทุกข์ทั้งนั้นความเกิดก็ของกู ความแก่ก็ของกู ความเจ็บก็ของกู ความตายก็ของกู เมียของกู ลูกก็ของกูตัวของกูสมบัติก็ของกูมารรวมอยู่ที่ตัวกูมันเป็นทุกข์ทั้งนั้นถ้าสติมีและก็เอาปัญญามาทำในเวลาผัสสะเรียกผัสสะฉลาดให้เกิดเวทนาขึ้นเป็นเวทนาที่ฉลาดควบคุมอยู่สำหรับตาหรือเห็นรูปทางตารู้ว่าสวยก็ได้ไม่สวยก็ได้ตี่นั่นมันไม่หลงรักเราเกียจที่ไม่สวยมันรู้สึกว่าเวทนาเท่านั้นคือความรู้สึกทางตาเท่านั้นซึ่งจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างที่เราเคยศึกษาและของมากระทบตาสวยก็ได้ ไม่สวยก็ได้ผู้หญิงก็ได้ผู้ชายก็ได้อะไรก็ได้การให้รู้สึกว่าเวทนานั้นมันขัดกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อตาเห็นรูป

เมื่อหูฟังเสียง เมื่อจมูกได้กลิ่น เมื่อลิ้นได้รส เมื่อผิวหนังได้สัมผัสทางผิวและจิตได้รับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมันไม่หลงรักไม่หลงเกียจด้วยเวทนาเมื่อเป็นอย่างนี้มันไม่เกิดปัญหาเกิดความอยากอย่างโง่เขลานี่คือปัญหาถ้าไม่มีปัญหาไม่มีอุปาทานไม่มีความรู้สึกว่าตัวกูเพรามันไม่มีความอยากไม่มีความอยากมันก็ไม่มีตัวกูอยากมันก็ไม่มีภพไม่มีชาติเป็นอันเดียวกับตาเห็นรูปหรือว่าหูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นความทุกข์มันต้องมีถ้าหลับตามองเห็นภาพมันมีว่าทุกจุดที่เรียกว่าผัสสะมันเป็นจุดตั้งต้นที่จะแยกทางไปฝ่ายที่เป็นทุกข์หรือฝ่ายที่ไม่เป็นทุกข์ถ้าสติมาทันขนเอาความรู้มาเท่าไรเป็นผัสสะฉลาดก็ไม่เกิดปัญหาเป็นทุกข์อุปาทาน ผัสสะ เวทนาสักว่าเวทนานั้นโว้ยมัวไปหลงอย่างนั้นว่าสวยหรือไม่สวยน่ารักหรือไม่น่ารักจนเกิดความรักเกิดความไม่รักเรียกว่าเวทนามันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้เรามีเรื่องที่จะต้องจัดการกับเวทนานี้ไหมถ้ามันมีเรื่องก็จัดการกับเวทนาอย่างไรตามที่สมควรไม่ให้เกิดเรื่องราวขึ้นจะหาความรู้ต้องเข้าใจเกี่ยวกับเวทนานั้นได้หรือรูปที่มาตกกระทบกลายเป็นวัตถุแห่งการศึกษาแล้วมันก็ไม่เกิดปัญหาอุปาทาน ภพ ชาติ เป็นทุกข์ถ้ามันไม่ต้องทำอะไรหมดก็ปล่อยให้มันเลิกไป

แต่ถ้ามันสมควรที่จะทำอะไรผัดได้เกี่ยวกับเวทนานั้นแล้วเราก็จะเห็นว่าสวยรองสวยดูบ้างและแล้วจิตก็ไม่หลงในความสวย ถ้าไม่สวยก็ไม่สวยก็ไม่หลงในความไม่สวยจนเกิดรำคาญเป็นทุกข์ในเรื่องที่หูได้ยินเสียงไพเราะหรือไม่ไพเราะก็มีหลักอย่างเดียวกัน จมูกได้กลิ่นหอมเหม็นก็หลักอย่างเดียวกันลิ้นได้รู้รสอร่อยหรือไม่อร่อยก็มีหลักอย่างเดียวกันมันเกิดเวทนาแล้วก็สติเอาปัญญามาทันในขณะผัสสะเวทนานั้นคือเวทนาฉลาดมีสติปัญญาคุมอยู่มันก็ไม่เกิดปัญหาภพชาติในชีวิตประจำวันเมื่อท่านมองให้เห็นความสำคัญที่ถูกต้องคือสติเมื่อไม่มีสติปัญญาก็ขัดข้องแล้วเป็นผัสสะโง่และเป็นเวทนาโง่มันเป็นความอยากที่โง่คือปัญหาและมีตัวกูผู้อยากขึ้นมา

จนกระทั่งมันต้องเป็นทุกข์ทุกชนิดเพราะมีตัวกูมองอยู่สำหับจะเป็นเจ้าของนั่นเจ้าของนี่มันก็ได้เป็นทุกข์สรุปความกันเสียทีว่าถ้าไม่มีสติคนเราจะต้องเป็นทุกข์ทุกคราวที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้รับอารมณ์ภายนอกเข้ามาสัมผัสนั้นเราจึงต้องการความมีสติขจัดปัญหาเหล่านี้เพื่อจะมีสตินั้นเราจะต้องฝึกสติคือที่เรียกว่าสติสัณฐานเวลาคิดให้มีสติมาทันแก่เวลานี่คือความจำเป็นที่จะต้องฝึกสตติก็คือฝึกสมาธิเพื่อจะเอามาใช้ให้ทันแก่เวลามีสติมากพอให้มีสติรวดเร็วทันแก่เวลาไม่ใช่เพราะว่าไอ้สติมันรวดเร็วเหมือนกับตอนแรกมันรวดเร็วตอนแรก

ถ้าสติไม่มากไม่พอไม่เร็วมันก็ไม่ทันยิ่งมีสติเมื่อตาได้เห็น เมื่อหูได้ยิน เมื่อลิ้นได้รสเมื่อกายสัมผัสทางผิวกายหรือจิตสัมผัสนั้นการฝึกสติให้มากพอรวดเร็วนั้นมันสำคัญอย่างยิ่งถ้ามองอีกทางหนึ่งเป็นประโยชน์ปีกย่อยมันก็มีความสุขมันหยุดสิ่งต่างๆไม่มารบกวนได้เมื่อจิตเป็นสมาธิไม่มีใครมารบกวนจิต แต่มันก็มีความสบายมีความสุขนั้นเราจึงฝึกสมาธิสำหรับจิตมีสมาธิแล้วไม่มีอะไรมารบกวนได้ถ้าพูดกับกันถ้ามีอะไรมารบกวนมันก็อยู่ในสมาธิไม่มีอะไรรบกวนได้แต่ทั้งหมดนี้มันเป็นไปด้วยสตินั้นเราก็ต้องฝึกสติด้วยวิธีที่เรียกว่าสมาธิภาวนาเรียกว่าสติสัณฐานก็ได้แต่เหตุที่เราคิดด้วยทางหายใจเราก็เรียกว่าอาณาปานสติภาวนาการฝึกสติโดยอาศัยลมหายใจเข้าออกเป็นการฝึกให้จิตมีคุณค่าถึงที่สุดเท่าที่มันจะมีได้จิตที่มาตามธรรมชาติอย่างมันก็มีของมันอยู่ระดับหนึ่งแต่ไม่มีคุณค่าไม่มีประโยชน์ที่สุดนั้นเราต้องการสิ่งนี้ให้มีประโยชน์ที่สุดเราก็พึ่งมันให้จิตนี่มีสติแล้วก็มีปัญญาถ้าเราศึกษาเรื่องธรรมะอยู่จิตก็สะสมปัญญาความรู้เอาไว้เมื่อเราฝึกสมาธิอยู่จิตมันก็มีสติคือเครื่องที่จะขนปัญญามาใช้ให้ทันเวลา

ถ้าจิตมีสติและมีปัญญารอบตัวดูเหอะความล้มเหลวต่างๆ ความทุกข์ร้อนในใจ ความวิตกกังวลมันเกิดมาจากไม่มีสติพอไม่มีปัญญาพอเมื่อเรามองเห็นข้อเท็จจริงอย่างนี้แล้วมันจะเจอฉันทะความพอใจที่จะฝึกสมาธิเกิดความพากเพียรที่จะฝึกสมาธิเอาใจใส่สอดส่องกับการฝึกสมาธิเราก็ต้องฝึกได้สักวันหนึ่งถ้ามีสมาธิแล้วก็ต้องมีสติด้วย มีปัญญาด้วยแยกออกให้เห็นว่าระบบของการฝึกนั้นมันทำให้เกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาด้วย

แต่ข้อนี้หมายถึงระบบอาณาปานสติด้วยที่ผมทำอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้การฝึกสมาธิมีหลาย 10 แบบทุกแบบเป็นสมาธิได้ด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าแบบไหนจะช่วยฝึกสมาธิไม่มากก็น้อยแต่ที่จะเกิดสติสมบูรณ์ให้เกิดปัญญาแบบสมบูรณ์เรามาพิจารณาสังเกตดูแล้วว่าระบบไหนที่แน่คือตรงตามที่เราบรรจงยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้เรียกอาณาปานสติภาวนาทรงชี้แจงแนะนำว่าฝึกอาณาปานสติภาวนจากความสำเร็จในการตรัสรู้ก็อาศัยอาณาปานสติภาวนาทรงเล่าให้เองไอ้เรื่องอย่างนี้หาอ่านได้จากเรื่องพระพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ว่าพระองค์ทรงประสบผลสำเร็จในการตรัสรู้ด้วยอาณาปานสติภาวนาทรงแนะนำสั่งสอนว่าให้ใช้ระบบนี้เพราะเราจึงรับเอาระบบนี้มาเป็นหลักปฏิบัติสำหรับสถานที่นี้นี่คืออาณาปานสติภาวนาเพื่อมีสติเพื่อมีสมาธิเพื่อมีปัญญาเรียกอาณาปานสติภาวนา

ทีนี้ก็อยากจะอธิบายส่วนที่มันเป็นความรับของธรรมชาติเกี่ยวกับเรื่องที่จะเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิทีนี้เรามาใช้คำว่าความรับของธรรมชาติแม้แต่ธรรมชาติมันมีอยู่แล้วมันมีกฎเกณฑ์ของมันอยู่แล้วว่าถ้าทำอย่างนี้ๆแล้วผลก็จะเกิดขึ้นอย่างนี้ๆมนอย่างนี้ๆผลก็จะเกิดขึ้นอย่างนี้ๆมันเป็นเกณฑ์ธรรมชาติทุกอย่างมันมีกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมันมีกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเราจึงจะได้รับผลตามที่เราต้องการนี้ในเรื่องเกี่ยวกับสมาธิเท่านั้นมันมีอยู่ว่าจิตตามปกตินั้นมันฟุ้งซ่านมันเบามันไหวไปตามสิ่งที่มากระทบเราต้องฝึกให้มันหนักแน่นมั่นคงมันเกลี้ยงเกลาในสิ่งที่มารบกวนจิตให้จิตเป็นอิสระไวในการทำหน้าที่ของมันตามหลักต้องทำจิตให้มันมั่นคงเข้มแข็ง บริสุทธิ์สะอาดมันไวต่อหน้าที่ของมันจะต้องทำหน้าที่อะไรบ้างนี่คือความหมายของสมาธิ

สมาธิมีอะไรบ้างแล้วก็ต้องประกอบไปตามอย่างนี้จิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์ของสมาธินิวรมารบกวนจิตทีนี้จิตก็ว่องไวเฉียบแหลมในการทำหน้าที่ของจิตนั้นจิตชนิดนี้ก็มีสมาธิปัญญามันตัดกิเลสตัณหาอุปาทานสำเร็จต่อจากนี้จะพูดให้แคบเข้ามาว่าสมาธิหรือตั้งมั่นได้นั้นมันเป็นอย่างไรถ้าเป็นหลักทั่วไปไม่ว่าสมาธิแบบไหนต้องจับให้จิตได้กำหนดที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างแนบแน่นคือธรรมดาอยู่ว่างไปในอารมณ์ต่างๆนั้นความเป็นสมาธิมันไม่มีจึงต้องจับมันมากำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กำหนดไว้ให้จิตมันกำหนดได้ก็แล้วกันนั้นมันจึงเป็นสมาธิหลาย 10 แบบ นับตั้งแต่กำหนดราศี ดวงหรือวงต่างๆกันนั้นมันง่ายวงกลมๆขนาดเหมาะสมตั้งอยู่ตรงหน้ากำหนดอยู่ที่สิ่งนั้นถ้าทำสำเร็จบางทีก็ไปเลือกเอาซากซบในป่าช้าต่างๆกันเป็นเครื่องกำหนดทีนี้มันมีความมุ่งหมายอย่างอื่นแขวงด้วยนอกจากเป็นสมาธิแล้วก็ยากจะเห็นสิ่งหลอกลวงความไม่งามเป็นต้นอย่างเช่นซากศพเป็นจิตเป็นสมาธิก็ได้เหมือนกันที่นี่ยังมีต้นไม้หลาย 10 แบบที่ตรงก็คือข้อที่ว่าต้องทำอย่างไม่มีกำหนดแล้วเราก็ได้บอกแล้วว่าที่พอใจที่สุดพุทธเจ้าท่านทรงแนะมาเองว่าลมหายใจเรามีการหายใจลมหายใจท่านสอนเอาลมหายใจนั้นเป็นวัตถุเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ เป็นวัตถุเป็นที่ตั้งเป็นอารมณ์จิตมันจะได้เปาะ

เป็นนิมิตคือจิตมันจะได้เพ่งที่นั่นยังเรียกชื่ออย่างอื่นได้อีกที่เรียกกันมากคือวัตถุที่จิตกำหนดอารมณ์สำหรับจิตเป็นนิมิตสำหรับจิตเพ่งดูเมื่อเขาใช้อย่างอื่นก็ได้แต่ว่าอาณาปานสตินี้ใช้ระบบหายใจคือหายใจอยู่ตลอดเวลาและระบบนี้มันดีปฏิบัติได้เรื่อยไม่ต้องเปลี่ยนระบบเป็นเรื่องไม่ต้องเปลี่ยนอารมณ์ปฏิบัติไปได้เรื่อยจนถึงขั้นสุดท้ายเรียกว่าหลุดพ้นแล้วและเหตุที่เกี่ยวกับลมหายใจตลอดสายเราจึงเรียกว่าอาณาปานสติภาวนาการทำจิตให้เจริญโดยอาศัยลมหายใจเข้าออกไอ้ 16 ขั้นนั้นระเอียดมากไม่เหมาะที่จะเอามาเจระนัยยุ่งหัวและเสียเวลามากจะบอกแต่ใจความสำคัญว่าเอาลมหายใจมาเป็นวัตถุสำหรับกำหนด เป็นอารมณ์สำหรับเกาะยึดนิมิตสำหรับเพ่งดูตรงนี้ยากอธิบายแจ้งสุกนิดหนึ่งว่าไอ้สิ่งที่จะเกาะได้ง่ายที่สุดนั้นมันเป็นเรื่องของภาพที่เห็นด้วยตา หรือธรรมดาก็ได้เช่นหินก้อนนี้เป็นภาพก้อนหินที่จิตกำหนดหรือเป็นภาพตาภายในที่ไม่ใช่ตาเนื้อเป็นตาภายในเรื่องของจิตมันเห็นได้โดยมโนภาพคุณลืมตาดูก้อนหินก้อนนี้ให้ชินตาแม้แต่หลับตาก็ยังเห็นก้อนหินก้อนนั้นอยู่มันก็เรียกว่าเรามีตาเห็นด้วยตา2 ชัดเห็นด้วยตาธรรมดาแล้วต่อมาก็จะเห็นด้วยตาภายในคือตาจิตตอนนี้เรียกว่าเห็นมโนภาพก้อนหินที่เห็นด้วยตาธรรมดาแต่ถ้าก้อนหินที่เห็นด้วยตาภายในหลับตาแล้วยังเห็นอย่างนี้เรียกมโนภาพการฝึกสมาธิต้องผ่านมาด้วยการเห็นทางมโนภาพทั้งนั้นเพราะมันง่ายจะไปตั้งต้นด้วยทุกแบบสุดท้ายมารวมด้วยการเห็นด้วยมโนภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ดูหลอดไฟฟ้าธรรมดาหลับตาก็ยังเห็นหลอดไฟฟ้าอย่างนี้เรียกมโนภาพนั้น

ถ้าเราสามารถบังคับจิตให้สามารถสร้างมโนภาพแปลว่าเรามีอำนาจทางจิตเข้าทาคือทำจิตให้มีมโนภาพได้จิตก็มีทั้งดีทั้งเลวมันก็ยิ่งๆขึ้นไปมันก็มโนภาพทั้งนั้นมโนภาพจะสร้างขึ้นมาจากอะไรต่างจากวัตถุที่เห็นๆก็ๆได้สร้างมาจากความคิดนึกก็ได้ถ้าสร้างสำเร็จแต่มันยากมากที่จะสร้างมโนภาพจากจิตสำนึกส่งที่มันเห็นได้ด้วยตาหรือรู้สึกได้ด้วยประสาทอย่าให้ใครเอามาเป็นอารมณ์ของสมาธิแต่เรียกว่าเป็นลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก

แต่สุดท้ายเราเปลี่ยนให้มันเป็นมโนภาพขึ้นมาเป็นดวงเป็นรูปร่างที่สุดของจมูกที่ลมกายใจจะกระทบทุกครั้งที่มันหายใจเข้าออกมันก็เรียกว่าสร้างมโนภาพจนมาที่ตรงนั้นนี่อธิบายล่วงหน้าไปแล้วนะว่ามันต้องฝึกจิตสามารถสร้างมโนภาพกำหนดขึ้นมาแล้วอย่างแน่วแน่มันจึงจะเกิดสมาธิเป็นรูปชานเป็นชานที่ 1 เป็นชานที่ 2 เป็นชานที่ 3 เป็นชานที่4 ทีนี้ไอ้เราก็พูดกันหน่อยตั้งแต่ต้นเรื่องอาณาปานสติกำหนดลมหายใจในขั้นแรกนั่งในที่สะดวกสบายพอสมควรไม่มีอะไรรบกวนแต่ถ้าเราหาที่อย่างนั้นไม่ได้เราก็ไม่รู้ไม่ชี้มันว่าจะมีอะไรมารบกวนอย่าไปสนใจถ้าเราหาที่ที่ดีกว่านั้นไม่ได้ก็อยู่ที่บ้านเราไปเห็นผู้ฝึกสมาธิในอินเดียต้องฝึกในพุทธญาณสาธารณะมันก็ยังฝึกของฝันได้คนมานั่งตรงนั้นตรงนี้มันก็หลับตาปิดหูปิดตาทำสมาธิของมันได้นี่คนไปเที่ยวเดินมั่วไปนี่มันไม่โง่มันหาได้ดีที่สุดอย่างไรมันก็ทำได้อย่างนี้พวกเรามันโง่มันต้องเงียบสงัดต้องไม่มีอะไรมันก็โง่แต่อย่าไปตัดมันอย่างนั้นหาที่เงียบสงัดไม่ได้ก็ที่บ้านอย่าไปดูไปฟังไปสนใจกับมันนี่หาที่ที่พอเหมาะร่างกายปกติดีไม่เจ็บไม่ไข้ไม่วิปริตในร่างกายก็นั่งลงทำสมาธิด้วยท่านั่งลงที่เขาเรียกว่าขัดสมาส

ขัดสมาสก็คือขัดสมาธิเป็นท่านั่งที่มันแน่นพอที่จะทรงตัวอยู่ไอ้ท่านั่งขัดสมาสอย่างที่ซ้อมๆกันอยู่มันเป็นท่านั่งที่เหมาะสำหรับการฝึกสมาธิคือพับเท้าซ้ายเข้ามาบนเข่าขวายกเท้าขวาขึ้นมาทับบนเท้าซ้ายมันก็แน่นและมือวางไว้บนเข่าอย่างนี้มันมีความแน่นเหมือนลูกพีระมิด ลูกพีระมิดสามเหลี่ยมมันล้มไม่ได้นั้นผู้ชายตามปกติแนะนำต้องให้นั่งเพื่อฝึกสมาธินั่งขัดสมาธิทั้งนั้นผู้หญิงก็นั่งอีกแบบนั่งพับขาลงไปตรงๆแต่ที่ประเทศพม่าที่สำนักใหญ่ประเทศพม่านั่งขัดสมาธิทั้งหญิงและชายนั่งแบบขัดสมาสแบบพระพุทธรูปบางคนก็นั่งไม่ได้ขามันแข็งก็นั่งไม่ได้มาหัดกันขานั่งเป็นสมาธิได้อยู่เป็นสัปดาห์ร้องห่มร้องไห้น้ำตาไหลว่านั่งขัดสมาธิมันไม่ได้กว่ามันจะได้กินเวลาเป็นสัปดาห์เดือนๆนี่คือว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว ไอ้ความรู้สึกมันไม่เป็นสำนึกมันขัดสำนึกอย่างนั้นอย่างนี้พอเริ่มวิธีขัดสมาธิขามันขัดกันอยู่แล้วมือมันก็อยู่บนเข่ายิ่งล้มไม่ได้ให้จุดศูนย์ถ่วงมันอยู่ตรงกลางของกระดูกข้างหลังตลอดลงไปมันก็ล้มไม่ได้เพราะเป็นสมาธิมันไม่มีสำนึกมันก็ล้มไม่ได้มันมีเหตุผลอย่างนั้นหรือมีความจำเป็นอย่างนั้นแต่ถ้าทำไม่ได้มันก็ผ่อนผันไปตามเรื่องแต่ถ้าว่าเราจะนั่งอิงที่เก้าอี้ให้สะดวกมันก็ได้เหมือนกันทำให้สมบูรณ์แบบแล้วก็นั่งให้ตัวเองล้มไม่ได้อย่างนี้เป็นวัตถุประสงค์เธอต้องนั่งตัวตรงเพื่อเกิดความปกติในการหายใจถ้าเรานั่งตัวงอมันหายใจไม่สะดวกมันให้เกิดความปกติในการหายใจที่ให้นั่งตัวตรงทีนี้ก็เริ่มกำหนดลมหายใจ ลมหายใจมันมีอยู่แล้วอย่างไรเราก็กำหนดให้มันรู้ก่อนว่ามันเป็นอยู่อย่างไร

เพื่อให้รู้ธรรมชาติกันเสียก่อนว่าตามธรรมดามันเป็นอย่างไรก็เริ่มสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจจะใช้คำว่าจิต จิตกำหนดลมหายใจ ภาษาไทยมันดิ้นได้ถามว่าอะไรกำหนดก็ตอบว่าจิตกำหนดลมแต่จิตที่กำหนดลมก็เรียกว่าสติเมื่อมันเข้าไปมันก็ตากำหนดเข้าไปเมื่อมันออกมาก็ตากำหนดออกมามันวิ่งตามลมมันก็ดูแย่ที่สุดมันวิ่งตามลมข้างในสุดที่สนะดือข้างนอกสุดที่สะดือในจมูกแล้วจะมีลมหายใจวิ่งไปวิ่งมาอยู่ระหว่าง 2 จิตนี้ไม่ขาดไม่มีระยะที่ว่างที่ไม่ได้กำหนดไม่มีเมื่อเข้าไปข้างในแล้วมันมีเวลาที่จะกลับออกมา

ไอ้ตรงนั้นมันอาจจะว่างหรือขาดตอนหรือว่าหายใจออกสุดแล้วตอนที่มันจะกลับไปมันมีระยะว่างนิหนึ่งไอ้ว่างนิดหนึ่งจิตมันอาจจะหนีไปไหนก็ได้แต่ว่าถ้าเราเป็นนักเลงสักหน่อยมันก็ไม่หนีได้วิ่งตามลมหายใจเข้า ออกๆให้สำเร็จสักขั้นในขั้นแรกมันก็มีอย่างนี้เดี๋ยวนี้ถ้าเรามีลมหายใจเป็นอารมณ์เป็นนิมิตสำหรับจิตกำหนดทั้งเข้าทั้งออกหรือตลอดเวลาพบกันก็เหมือนกับว่าพี่เลี้ยงระวังเด็กที่นอนอยู่ในเปลยังไม่หลับมันก็ต้องส่ายหน้าตามเปลไปมามันให้เด็กมันตกลงมาจากเปลจิตนี้มันกำลังกำหนดลมหายใจไม่ให้ขาดตอนได้เพียงขันแรกขั้นที่หนึ่งเท่านั้นกำหนดลมหายใจเข้าออกมันมีปัญหาแก่บางคนก็ทำไม่ได้แล้วคนนั้นมันโง่ทำไม่ได้ทำได้นิดเดียวมันก็ทำไม่ได้จิตเราบังคับไม่ได้หนีไปก็ทันเวลาไอ้คนนี้มันโง่เพราะมันไม่รู้ว่าไม่มีใครทำอะไรได้ด้วยการกระทำครั้งแรกมันมาชอบเรียนเปรียบข้อเท็จจริงอันนี้เปรียบกับรถจักรยานเข้าใจว่าทุกคนในนี้ขี่รถจักรยานเป็นก็อยากจะถามว่าใครบ้างขึ้นนั่งบนจักรยานแล้วไปได้เลยใครบ้างยกมือขึ้นตลอดทางมันล้มกี่ครั้ง 20ครั้ง 30ครั้ง 40ครั้งมันจึงค่อยๆเข้ารูปแล้วก็ขี่จักรยานได้

ถ้าคนโง่มันก็เลิกตั้งแต่ล้มครั้งแรกไม่เหมาะสำหรับกูมันไม่ได้พอดีตรงนี้มีเคล็ดที่คนโง่ไม่ค่อยรู้นี่คือไม่มีใครสอนได้อาจารย์บอกว่าสอนได้มันก็โกหกอวดดีคือใครสอนให้คุณขี่รถจักรยานได้คือขี่จักรยานได้ลองไปตรวจสอบว่าใครสอนคุณขี่จักรยานได้เพื่อนคนไหนมันสอนได้มันได้แต่บอกอยู่ตรงนั้นจับตรงนั้นขี่ตรงนั้นไอ้ที่มันขี่ได้ไอ้รถจักรยานมันสอนรถจักรยานเป็นผู้สอน

แต่ถ้าให้ชัดไปอีกคือการล้มเป็นผู้สอนคิดว่าอาจารย์ที่ไหนมันสอน ไอ้การล้มหัวเข่าถลอกปอกเปิกมันสอนไอ้ใครมันสอนให้เยี่ยมก็รถมันสอนขี่ได้เรียนสอนให้ขี่ปล่อยมือได้ไม่มีใครสอนรถมันสอนเมื่อตอนเป็นฆราวาสขี่จักรยานปล่อยมือได้อะไรได้มันสอนรถมันสอนเรียกว่าการกระทำมันสอนการฝึกสมาธิมันไม่ได้มันก็ล้มขอให้ทำไว้เอาให้ชัดหน่อยเอาให้ได้แล้วเราก็ขี่จักรยานล้มน้อยเข้าแล้วเราก็มีความสุขมันก็ขี่รถจักรยานมันก็ล้ม 30 ครั้งสมาธิมันก็เหมือนการล้ม 30 ครั้งต้องการล้มเหลวอย่าอ่อนแอ อย่าเลิก อย่าท้อถอยมันก็ไปทำให้มันล้มและก็เอาการล้มเหลวมากำหนดใหม่เอาวิธีไปให้แน่นให้ติดต่อระเอียดอ่อนอะไรมากขึ้นมันก็เป็นไปได้แล้วมันก็ล้มมากขึ้น ถ้าเปะปะไปแล้วค่อยๆเลียบเสมอ ถ้าทำนาต้องออกเข้าๆได้เสมอในขั้นแรกเอาแค่นี้ก่อนก็ได้เพียงแต่วิ่งตามลม เอามาวิ่งปลายจมูกมันกระทบที่ปลายจมูกสุดกังวลหรือว่ากระทบริมฝีปากไปทำอาการพิลึกโดยวิ่งตามแล้วจึงค่อยมาพูดกันใหม่แล้วควบคุมมันอย่างไรเป็นสมาธิที่อยู่ที่ตั้งเพราะว่าตัวกูจะเลิกนั้นเชื่อว่าสวยเราวิ่งตามและล่าสุดอย่าวิ่งตามให้คนแห่กันมาดูคนนั้นดูก็คงว่าหลับตาเสียรู้สึกแต่ลมหายใจที่มีเศร้าจะได้ทำได้อยู่มือที่ฝึกอยู่แล้วก็ฝึกดีวีดีมโนภาพหรือเปลี่ยนแปลงมโนภาพต่อไปเราจะมาพูดทุกคนฝึกสมาธิเพื่อเกิดกิเลสตามาทันเวลาในขณะที่ผัสสะ

ถ้าแก้ไขโลกนี้อยากฝึกสมาธิขึ้นมาบ้างไม่ได้อาตมาพูดต้องการให้ทุกคนฝึกสติเพื่อเป็นยานพหะนะนำทางอย่ามาทันเวลาในขณะผัสสะถ้าแก้ไขเรื่องนี้ได้คงอยากฝึกสมาธิขึ้นมาบ้างเพื่อสร้างความพอใจสนใจในเรื่องของการฝึกสมาธิได้พอสมควร และเรื่องอะไรก็ตามที่เราอยากได้มันไม่ยากนั้นก็คิดได้ว่าอยากจะฝึกสมาธิเราก็ขี่รถจักรยานได้เราก็อยากจะขี่เป็นอย่างมากไอ้สมาธิก็เหมือนกันเราก็ต้องฝึกสมาธิได้แน่นอนนั้นเราไปวิ่งตามดังคำสอนว่าหัวรุ่งค่อยพูดกันใหม่ให้มันต่อไปแล้ววันนี้ก็พอกันทีเพียงเท่านี้แล้วก็ปิดประชุมให้คุณไปทำตามที่กำหนดไว้

http://www.vcharkarn.com/varticle/34480

. . . . . . .