การเก็บความโกธรใส่ยุ้งฉาง โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ

การเก็บความโกธรใส่ยุ้งฉาง โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ฆราวาสผู้บรรลุมรรคผล
กระทั่งเป็นฆราวาสผู้บรรลุมรรคผลในระดับของฆราวาสด้วย และขอให้สนใจที่จะจับเอาใจความว่าลักษณะอย่างนี้ให้ได้ให้มากที่สุด ก็อย่างที่เรื่องสตุลชีวีเขาก็เห็นกันว่าเป็นเรื่องของเปรตของพระในวัดที่อยู่อย่างแคบๆแล้วแสดงให้เห็นว่า แม้อยู่ที่บ้านเป็นครอบครัว เป็นหมู่บ้าน เป็นบ้านเมือง เป็นประเทศมีหลักอันนั้นไปใช้ในโลกนี้ เป็นโลกที่มีสันติภาพได้ง่าย ในความรักพื้นฐานที่ว่าทุกคนนั้นเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ว่าเราอยุ่ตัวคนเดียวในโลกไม่ได้ซึ่งเป็นตัวอย่างนี้วิญญาณของสังคมโยมอย่างแท้จริงอย่างสูงสุด เพื่อไม่ให้มันสะเพราะที่จะลงทุนน้อยหรืออย่างต่ำโดยยึดหลักได้ผลมากและสูง เดี๋ยวนี้มันอยู่ในลักษณะตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ฆ่าช้างเอางากันทั้งหมดทั้งโลก ทำลายโลก ทำลายวัตถุและจิตใจ เมื่อมีอย่างนี้มีได้ในประเภทฆราวาส ที่ว่าครองเรือน โดยมีความหมายว่ามันเป็นผู้รู้ พูดน้อยและผูกจิตอยู่กับสันติ เป็นการกลมกลืนธรรมชาติ คือให้มันตามธรรมชาติ ให้มันมากสุดเท่าที่จะมากได้ แต่เรารู้สึกว่ามันเป็นกิเลสของคนสมัยนี้มากเกินว่าที่จะทำให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่มีใครเชื่อคำพูดชนิดนี้ ผมก็ทราบอย่างที่ว่าอาตมธรรมธีก็พูดว่าอยู่กันอย่างหมู่บ้าน อย่าอยู่กันอย่างนคร หรือมหานครจะมีสันติภาพที่ว่า เราท้อผ้ากันใช้เองทุกคนดีกว่าท้อผ้าขึ้นมาโดยผลิตในเครื่องจักร ไม่มีใครเข้าใจเพราะว่ามันละโมปในเรื่องรวย ในเรื่องสวย ในเรื่องอร่อย ในเรื่องอันมากเกินและปัญหามันก็มีมากพอๆกัน ก็อยู่กันอย่างธรรมชาติเป็นหมู่บ้านเล็กๆกระจัดกระจายทั่วกันหมดอย่าไปอยู่กานอย่างในกรุงเทพฯ มันก็มีสันติภาพมากกว่าเพียงแต่ว่ามันไม่เจริญ

อย่างท้อผ้าด้วยมือใช้เมื่อร้อยปีมาแล้ว มันก็หาว่าไม่เจริญ แต่มันก็ทำให้คนอยู่อย่างสันติภาพสันติสุข คือมันมีงานกันทำทั่วกัน ไม่มีความทะเยอทะยานมาก อยู่อย่างประเทศทิเบศ สมัยก่อนนี้มีสันติสุขสันติภาพมาก เขาก็หาว่าล้าหลังที่สุดเลย มันพูดกันไม่รู้เรื่องเลย แต่ว่าเรายังพอมองเห็นในบ้างแง่บางมุม ขอให้อยู่กินอยู่นุ่งห่มอาคี ให้มันยังเคารพต่อธรรมชาติให้มากเข้าไว้ มันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าเราอยู่ห่างไกลจากธรรมชาติ ก็อยู่ห่างไกลจากหลักพระพุทธศาสนา ให้ชิมสิ่งเหล่านี้ เมื่อบวชก็มีโอกาสที่จะชิมได้ง่าย คงจะเกิดความเข้าใจได้บ้าง เอาไปสานต่อและปรับปรุงให้เข้ากับเรื่องของมนุษย์แบบฆราวาส และก็เป็นสังคมที่กว่างทั้งโลกด้วยและวันนี้จะพูดถึงเรื่องการสร้างยุงฉางใสความโกธรหรือเก็บความโกธรใสยุงฉาง ไว้ให้มากเท่าทีจะมากได้ ระหว่างเวลาบวชก็เป็นพระเณรที่ดีก็โลปไม่ได้ ก็ถือเป็นหลักตายตัวทั่วกันหมด ไม่ว่าจะนักบวชลัทธิไหน ศาสนาไหน ในเรื่องความโกธรเป็นความเลวชั้นต่ำสุดสำหรับบรรพชิต อย่างในประเทศอินเดียก็มีหลักทั่วไปอย่างนี้สำหรับบรรพชิต และเมื่อเรามาอยู่อย่างที่ไม่มีความโกธรมารบกวน ให้รบกวนน้อยมันก็ได้ความเย็น ความโกธรมันก็เหมือนกับไฟ ความไม่โกธรก็เหมือนกับน้ำที่พูดมาเป็นอุปมา ความโกธรมันก็ผิดธรรมชาติทั้งร่างกายและจิตใจ ทางร่างกายนั้นเป็นอะไรได้บ้าง ผู้ที่เป็นหมอ เป็นนักคณิตศาสตร์ก็ย่อมรู้ดี ในขณะที่มีความโกธร จิตในร่างกายมันเป็นอย่างไร พอที่จะคำนวณได้ว่ามันผิดจากธรรมชาติหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ และการที่ไม่โกธรคือธรรมชาติ เช่นเดียวกับทะเล เมื่อไม่มีคลื่นเป็นธรรมชาติปกติ พอมันมีคลื่นพายุ ดูมันต่างกันหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นควรจะศึกษาเรื่องความโกธรให้ดีให้มากขึ้น ที่พูดว่าเอาความโกธรใส่ยุงฉางหรือสร้างยุงฉางใส่ความโกธร นี้ไม่ใช่หมายความว่า เราจะเก็บไว้ให้ร่ำรวยด้วยความโกธรและกักตุนไว้ใช้ตามลำบากบ้าง ที่เราเก็บใส่ยุงฉางไว้ก็เพื่อไม่ให้มันออกมาอารวาส ด้วยเหตุที่มันง่ายมันมากจึงต้องทำเก็บใส่ยุงฉางไว้เลยทีเดียว แต่เดี๋ยวนี้มันยังละไม่ได้ มันยังมีกิเลส ก็อย่าไปใช้กิเลส เก็บไว้เสีย ถ้ามันหมดกิเลสแล้ว ก็ไม่เป็นไรไม่มีปัญหา ถ้ามันยังมีกิเลส ก็อย่าไปใช้กิเลสเลยดีกว่า ทุกคนมันมีนิสัยสันดานตามใจตัวไม่ว่าจะเรื่องอะไร มันก็ปล่อยไปตามความเคยชิน โกธรนี้มันก็อร่อยเหมือนกัน ก็เลยชอบโกธรกันเป็นนิสัย โกธรเก่ง ก็ต้องทำเหมือนกับว่าใส่ยุงฉาง เก็บไว้ข้างในอย่าออกมา

หน้าที่ 2 – คนพลัดถิ่น
โดยเฉพาะคนพลัดถิ่น โบราณเขาสอนมามากในบาลีในพระไตรปิฎกมันก็มี คนพลัดถิ่นไปเมืองนอกเมืองนา สร้างยุงฉางใหญ่ๆแล้วก็เก็บความโกธรไว้ ในการบันดาลโทสะ ในที่อย่างนั้น มันก็ยิ่งทำลายตนเอง แต่ถึงอยู่กับที่ ไม่ได้พลัดถิ่นไม่ได้เป็นฝ่ายแปลกถิ่น ก็ควรจะเก็บความโกธรไว้อยู่ในอำนาจจิตใจ มันไม่ได้มีประโยชน์อะไร มันมีโทษมหาศาล มันไม่มีความสงบสุข ที่จะพูดถึงลักษณะของความโกธร พอเป็นเครื่องกำหนดจดจำ โกธรในอัตราน้อยๆ เราก็เรียกว่าคับใจ หงุดหงิด กระทับกระทังแห่งจิต มันเป็นความโกธรในอันดับน้อยอันดับต่ำ เรียกในบาลีว่า’ประติฆะ’ ที่อันดับสองขึ้นมาก็เป็นความโกธร โกธรในความหมายในบันดาลโทสะ งุ้มง่าม ตามบาลีเรียกว่า’โกฑะ’ อันดับต่อไปอีกก็คือผูกโกธร ผูกโกธรไว้ ความอาฆาต พยาบาท จองเวร อย่างนี้เรียกว่า’อุปนาหะ’ อุป เก็บไว้ เวละ จองเวร ทั้งสามอย่างนี้คือความโกธรในลักษณะที่มันต่างๆกัน โกธรไม่สูงมากแล้วโกธรสมบูรณ์ การที่โกธรไปผูกไว้ รักษาไว้ คำว่า’ปะติฆะ’ หมายถึงหงุดหงิด คับใจ คำว่า’โกทะ’ คือ โกธรโดยสมบูรณ์ คำว่า’โทสะ’ คือ โกธรและปะทุสะร้าย แต่เมื่อโกธรและไม่ทุสะร้ายอย่างนี้ คือเอาแต่ความโกธร ไม่ประทุสะร้ายผู้อื่น อุปนาหะ อุป อาฆาตไว้ คิดดูในชีวิตประจำวัน ยิ่งอยู่ที่บ้านและออฟฟิต ที่ทำงาน นั้นก็อยู่กันหลายคน สิ่งเหล่านี้ทำให้หงุดหงิด กระทับกระทังกันได้มากที่สุด ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมในทางธรรมะหรือศาสนามาก่อน

ถ้ามีการศึกษาที่เลวๆอย่างปัจจุบันนี้ ทั่วโลกมันไม่มีระบบไหน ที่สอนให้กำจัดความโกธรไว้ ความโกธรในการศึกษาในพวกลูกๆ สมัยก่อนก็ค่อยยับยัง ชนิดความโกธรเต็มทีนานๆจะมี ไม่อย่างนั้นก็ฆ่ากันตายหมด ที่ผูกโกธรไว้ก็ไม่ใช่อะไรหรอก มันก็มีอย่างที่เขาพูดกันว่า สวมเขาตัวเอง โดยที่ผู้อื่นหรือคู่เวรกำไม่รู้สึกอะไรก็ได้ ผู้ที่อาฆาตและจองเวรมันเหมือนกับทำลายตัวเองอยู่เรื่อยไป ดังนั้นเราไปสอบดูว่าเรามีโลป โกธร มากน้อยอย่างไรบ้าง นี้คือสิ่งที่เรียกว่าความโกธร โดยทางมี 3 ระดับอย่างนี้ ที่นี้จะดูถึงเหตุให้เกิดความโกธร ถ้ากล่าวตามกลักบาลี พระพุทธจานะ โดยที่สั้นๆกล่าวไว้ว่า มันมากจากต้นทำความโกธร ความโกธรมาจากตัณหา ตัณหาคือความอยาก แต่ในภาษาบาลี เขามีความหมายเฉพาะ หมายถึงมันอยากด้วยอำนาจของความโง่ ถ้ามัยอยากด้วยความต้องการของสติปัญญานี้ มันไม่ใช่ตัณหา ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องการที่จะทำอะไร ว่ามันควรจะทำตามความต้องการอันนั้น มิใช่ตัณหา ตัณหานี้มันคือความอยากของการปฏิบัติตามอำนาจของความโง่ คือ อวิชา ดังนั้นมันตอบได้เลยว่า ความโกธรนั้นจะเกิดด้วยเหตุของตัณหา ต้องดูให้ดีว่ามันเป็นอย่างไรเรื่องตัณหานั้นมี3ขึ้นไปเป็นหลัก ถ้ากามตัณหา คืออยากโดยทางกาม โดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม มีความต้องการกามตัณหา มีความรักกามตัณหา มีการหึงหวงด้วยกามตัณหา งี้มันไม่ได้ตามความต้องการกามตัณหา ความโกธรมันก็เกิดขึ้น ถ้าเราไม่มีความอยากอย่างโง่ๆแล้ว ความโกธรมันก็จะไม่เกิดได้ ภาวะตัณหา อยากเป็นอย่างนั้นอยากเป็นอย่างงี้ อยากดีอยากเด่น เมื่อมันถูกเหยียบหยาม ถูกดูถูกดูหมิ่น ไม่ได้ดีไม่ได้เด่น มันก็เกิดความโกธรขึ้นมา เมื่อใครมาดูถูกเรา เราก็โกธร นั้นคือโกธรโดยภาวะตัณหา ต้องการจะเป็นผู้ที่อยู่เหนือใคร ใครจะดูถูกไม่ได้ เราต้องการแสดงอะไรให้มันเด่นให้มันมีชื่อเสียง แต่แสดงไม่ได้ ภาวะตัณหาก็เป็นเหตุให้โกธร ถ้าเกิดถูกขัดใจขัดคอ เช่น ไม่อยากดูไม่อยากเป็น ไม่อยากเห็น มันก็คือภาวะตัณหา โกธรได้กระทั่งสัตว์เดรฉาจและวัตถุสิ่งของ ทุบตีวัตถุสิ่งของที่ไม่ได้มีความผิดใดๆ ไม่ได้ตามทีตัณหาต้องการ มันก็เกิดความโกธร มีเรื่องโกธรที่ไหนๆก็แยกแยะดูว่ามันมีมูลมาจากที่ไม่ได้ตามความต้องการซึ่งขึ้นกับความโลภหรือความอยาก ที่พูดว่าราคะ.โทสะ.โมหะ. วิโลคะ. โกทะ. โฆคะ. โกทะ. โทสะ มันเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากราคะ. วิโลคะ เมื่อมันมีอาการโลภ มันก็เป็นอาการหนึ่ง เมื่อมันไม่ได้อยากทีโลภอย่างที่มัยต้องการ มันก็โกธรขึ้นมา มันก็อีกอาการหนึ่ง และมันมัวเมา หลงใหล สงสัย นี้ก็อีกอาการหนึ่ง โทษของมัน พอจะมองเห็นได้เป็นพวกๆพบในบาลีที่แสดงไว้มากมาย เอามาพิจารณากันดูความโกธรนั้นเป็นสนิทของศาสตร์ประ โกโฑสะกะมะลังโลเก ในแบบเรียนเขาแปลไว้ว่า ความโกธรเป็นสนิทของศาสตร์ เป็นดังสนิทของศาสตร์ นักเรียนเข้าใจกันว่า ศาสตราอาวุธนั้นมันขึ้นสนิท มันก็ใช้อะไรมิได้ดี ร่วมพิจารณากันดูว่า คำนี้มันเล่งถึงในศาสตร์

หน้าที่ 3 – ศาสตราอาวุธเป็นวัตถุ
ศาสตร์ประนี้มีความหมายที่ 2 ศาสตราอาวุธเป็นวัตถุสำหรับตัด ศาสตร์อย่างวิชาทั้งหลายนี้เรียกว่าศาสตร์ประ เป็นศาสตราอาวุธทางจิตวิญญาณ ความโกธรนี้มันเป็นสนิทของศาสตรา ซึ่งว่าถ้าโกธรขึ้นมาสิ่งที่เรียกว่าศาสตร์จะเสียหายหมดไปใช้ไม่ได้ ในขณะที่เราจะต้องใช้ศาสตร์อะไรสักอย่างหนึ่ง วิทยาศาสตร์อะไรศาสตร์ต่างๆ แต่ถ้าโกธรขึ้นมาจะใช้ไม่ได้ เป็นสนิทของศาสตร์ ศาสตร์คือวิชา ความโกธรเป็นสนิทของศาสตราอาวุธนี้ก็อีกความหมายหนึ่ง วิชาความรุ้ทั้งหลายที่เรามีอยู่ กำลังเล่าเรียนอยู่ กำลังนำไปใช้อยู่ ถ้าโกธรขึ้นมา ทำให้เสียหมดไม่เป็นศาสตร์ ดังนั้นผู้ที่มีวิชาความรู้อย่าอวดดีว่ามัพอแล้ว ดังนั้นต้องระวังความโกธรที่จะเป็นสนิท นำไปใช้อะไรมิได้ คิดอีกแง่หนึ่งท่านกล่าวไว้ ไอ้ความโกธรนี่เป็นเคราะร้ายหรือเป็นกรีที่สุด อิวารีวนัฎฎิ โทสะ สโมฆโข นัฎฎิ โทสะ สะโมกลิ ไม่มีฑหะ หมายถึงเคราะร้าย ทำให้คนวินาจฉิบหายไม่มีเคราะไหนเท่าโทสะ ไม่มีกรีคือความเลวร้ายชนิดไหนเท่ากับโทสะ รวมความว่าไม่มีโทสะก็คือ เอาเคาะร้ายมา เอากรีเป็นภาษาบาลี ภาษาอินเดีย แต่โบรานมาช้าอยู่มากถึงจะมาเป็นคำว่าการี

แต่การีมีความหมายอยู่อย่างหนึ่ง กริ ในภาษาบาลีคือกรีในภาษาบ้านที่เรียกกันอยู่เป็นการี ปาศจากความดีความงาม เป็นสเนียดจันไรเป็นโชคร้ายอะไรอยู่ที่สิ่งเรียกว่าการี ดังนั้นใครมีโทสะคนนั้นเป็นประเภทการี เต็มไปด้วยเคราะร้าย อย่างไปมองอย่างอื่นไปว่าคนนั้นเคราะร้ายคนนี่เคราะร้าย มองดูตัวเองที่กำลังโกธร อย่างเคราะร้ายที่สุดเป็นการี ที่เลวที่สุด ภาษาประพันธ์เรียกว่ากระรีบอล เป็นผีเป็นชื่อของผีที่ชั่วร้าย ซึ่งมองอีกแง่หนึ่งความโกธรนี่เป็นเหตุให้สลัดความดี พระพุทธภาสิษหรือธรรมภาสิษ โกธาพิพูโตกุดชลังชหาติ ผู้ที่ถูกความโกธรครอบงำแล้ว ย่อมละ กุศลเสีย ถ้าถูกความโกธรครอบงำจิตแล้ว คนเราจะไม่คำนึกถึงความดี ถ้ามันต้องการจะทำไปตามความโกธร ทั้งที่รู้ว่านี้ดี มันก็ปัดทิ้งไป มันจะเอาตามที่มันโกธร พวกเรามักใจว่าจะเอาข้างโกธรไม่เอาข้างดี หรือถูกแล้วเพราะมันโกธรซะแล้ว ถ้าเรามีใจคอปกติ เราก็ยึดอยู่ในทางดีไม่กลัวความชั่ว แต่ถ้ากลัวขึ้นมามันย่อมจะสลัดความดีสลัดสิ่งที่เป็นกุศล นี่ก็น่าอันตรายมาก มันก็คือยอมเลว ยอมตาย ยอมวินาจฉิบหาย เพราะเห็นแก่ความโกธรไม่ยึดหลักที่ถูกต้อง ไม่ให้อภัยไม่หยุดหรือไม่ยอม นี่ก็เป็นอันตรายหนึ่งของความโกธร จึงกระทั้งท่านแสดงไว้ว่าคนโกธรย่อมฆ่ามารดาของตนเองได้ ที่เอามารดามาเป็นเครื่องเปรียบ เพราะว่าเด็กๆเกิดมานี่ไม่มีอาไรที่จะใกล้ชิด จึงทำความอบอุ่นให้กับตนเท่ากับมารดาในโลกนี้ ถ้าโกธรขึ้นมามันยังฆ่ามารดาได้ ขันติกุดโท สมาตะรัง คนโกธรย่อมฆ่ามารดาของตน ข่าวที่พิมพ์หรือข่าววิทยุก็พบบ่อยมากเลย ที่ฆ่ามารดาของตน เมื่อคืนวานนี้ก็มีข่าวทางวิทยุอีกที่ฆ่ามารดาของตน เพราะว่าคนสมัยนี้มันมีเหยื่อที่มันทำให้หลงให้อะไรมาก เหยื่อของความโกธรมันรุนแรง ไม่ได้ตามที่เขาต้องการก็ฆ่ามารดาของเขาได้ และอีกอันหนึ่งแสดงไว้ว่า คนโกธรไม่เห็นอัฎไม่เห็นธรรม ไม่เห็นอัฎฑะไม่เห็นธรรมะ ผู้ที่โกธรซะแล้วย่อมไม่เห็นอัฎฑะไม่เห็นธรรมะ คือไม่เห็นเหตุและผล คำว่าอัฎฑะธรรมะ 2 คำนี่ในกรณีธรรมดาก็เล่งถึงเหตุผล ธรรมะหมายถึงเหตุ อัฎฑะหมายถึงผล แต่อย่างมีความหมายในแบบอื่นก็ได้ ซึ่งไม่รู้ทั้งโดยความหมาย ไม่รู้ทั้งโดยคำพูด อัฎฑะแปลว่าเนื้อความหรือความหมายซึ่งหมายถึงมันลึกซึ่งออกไป ธรรมะหมายถึงหัวข้อสรุป รวมกันว่าโกธรจะไม่มองเห็นเหตุและผล ไม่มีการใช้เหตุผลจึงไม่รู้ทั้งอัฎฑะและไม่รู้ทั้งธรรมะ เมื่อสังเกตเอาเองว่าเมื่อเราโกธรแล้วใจมันเป็นยังไง มันใช้เหตุผลไม่ได้ไม่มีช่องที่จะให้เห็นแจ่มแจ้งในเหตุผลหรือความหมายหรือความลึกซึ่งของเรื่องนั้นๆ คนโกธรมันก็ไม่รู้อัฎฑะ ไม่เห็นธรรมะ ใช้คำว่ารู้และเห็น ไม่รู้อัฎฑะไม่รู้เนื้อความ ไม่เห็นธรรมะไม่เห็นหัวข้อ ไม่เห็นเหตุก็ไม่รู้ผล นี่ไม่สำคัญ เพียงแต่ว่ากลายเป็นคนไม่มีเหตุผลไปทันที อีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดจะทำให้ความชั่วกลายเป็นของทำง่ายขึ้น ในตามปกติธรรมดา เราก็รู้ว่าอะไรเป็นความชั่วและก็กลัวความชั่วและไม่อยากจะทำความชั่วนั้น ความชั่วนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทำยาก ยกตัวอย่างที่มันจะฆ่าพ่อแม่ของตัวเอง มันทำได้แสนยากแล้วมันกลัวขึ้นมาแล้วไอความยากของมันจะกลายเป็นความง่าย

หน้าที่ 4 – กุฎโฑ กุปโรเทติ สุขรังวิญทุขก์กรัง
มันก็มีบาลี ยังกุฎโฑ กุปโรเทติ สุขรังวิญทุขก์กรัง ที่ทำยากจะกลายเป็นทำง่าย เมื่อคนโกธร ต้องการประทุษร้าย จะทำชั่ว สิ่งที่ทำยากก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทำง่าย นี่อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย ถ้าความจริงข้อนี่มันกระจ่างแจ้งอยู่ในใจ คนเราจะไม่อาจเกิดความโกธร หรือทำอะไรด้วยความโกธร นั้นควรจะมองเห็นอันตรายอยู่เสมอ นี่เป็นตัวอย่างที่เพียงพอแล้วหรือว่าจะมีโทษอีกอย่างอื่นมาสรุปในหัวข้อที่กล่าวมานี่ได้ทั้งนั้นเลย ทบทวนพอโกธรขึ้นมา ไอศาสตร์ทั้งหลายก็กลายเป็นมิใช่ศาสตร์ จะนำมาซึ่งเคราะร้ายและกรี เป็นกฎและควรสลับความดีเอาความโกธรไว้ ไม่เห็นแก่ความดีกระทั่งฆ่ามารดาก็ได้ ไม่เห็นอัฎไม่เห็นธรรม ความเลวที่ทำยากจะกลายเป็นสิ่งที่ทำง่าย มีอันตรายที่น่ากลัว 2 สิ่งเรียกว่าความโกธร เอาที่นี้มาดูต่อไป ทุกข์เสน่ห์ เสน่ห์ถึงความโกธร ผมพูดคำอย่างนี้

ด้วยความมุ่งหมาย 2 อย่างเพื่อให้รู้จักคำที่ท่านใช้ในภาษาธรรมะหรือภาษาบาลีว่าท่านใช้กันอย่างไร เพื่อให้รู้จักจำเอาไปใช้ เพิ่มคำที่เรารู้ให้มันมากขึ้น ให้รู้ว่าท่านใช้คำที่มีความหมายลึกหรือรวบเอาความหมายไว้ได้ลึก ถึงเรียกว่าเสน่ห์ อัฎสาฑะ บาลีเรียกว่าอัฎสาฑะ ทุกสิ่งมันมีอัฎสาฑะไม่มากก็น้อย นั้นคือเสน่ห์ที่จะดึงเราไปเป็นทาส เป็นบ่าวหรือเป็นผู้กระทำ นี่ความโกธรมีเสน่ห์ ก็เพราะมันเป็นความอร่อยของคนโง่ เป็นของอร่อยชอบอกชอบใจของคนด้อยปัญญา มีบาลีว่า โกโฑทุปเมฑะโคจโร ความโกธรเป็นโคจรของคนด้อยปัญญา ทุปเมฑะ แปลว่ามีปัญญาชั่ว ปัญญาทราม ด้อยปัญญา โคจรเป็นที่อร่อยที่พอใจ ที่ไม่อยากจะไปหา อยากไปกิน อยากไปอยู่อย่างนั้นเรียกว่าโคจร เหมือนกับทุ่งนา อันเป็นที่พอใจของวัว ของควาย เมื่อไปทุ่งนามันได้กินหญ้าแล้วมันอร่อย นี่คำว่าโคจรมีความหมายอย่างนั้น ใช้ได้ในกรณีทั้งหลายที่มันชอบไปหา ชอบไปกิน ชอบไปเสษคบ นี่ความโกธรเป็นโคจรของคนด้อยปัญญา ก็พูดได้เพียงว่าคนโง่เท่านั้นที่ชอบโกธร ถ้าคนที่มีปัญญามันไม่ชอบโกธร ไอ้ชอบโกธรเพราะว่ามันอร่อย เมื่อมันกำลังโกธรอยู่มันรู้สึกรสอร่อย ยังงี่เรียกว่า อัฎสาฑะของความโกธร คนอื่นเขาโกธรบ่อยๆ เขาก็รู้สึกอร่อยแล้วก็ติดในรสอร่อยของการได้โกธร ได้ด่า ได้ตี งั้นคนจึงชอบด่าคน ชอบตีคน ในสมัยที่มันมีทาส มันกระทำแก่คนที่เป็นทาสได้ตามต้องการ มันตีมันด่ากับพวกทาส มันอร่อยแก่จิตใจของนาย อัฎสาฑะคือความโกธร เสน่ห์ของความโกธร ที่นี้โกธรเสร็จแล้วมันจึงจะแผดเผาเหมือนว่ามันโกธรอยู่ น้ำตาลมันหวานอร่อยพอโกธรเสร็จแล้วมันกลายเป็นยาพิษ มันจึงมีอาการอร่อยเบื้องต้นข่มขื่นที่หลัง ก็มีบาลีว่า ปัจฉาโสตวิปะเตโคเท ภายหลังเมื่อความโกธรหมดไปแล้วอัคคิคัฒโทวกัปติ ย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ เมื่อโกธรนั้น ถ้าว่าให้สนุก อร่อย พอความโกธรไปหมดแล้วนึกขึ้นมาได้ที่นี้เหมือนกับถูกไฟไหม้ไฟเผาที่เดียวมีความร้อนใจ นี่ก็แสดงว่าความโกธรมีรสอร่อยถ้าในตอนต้น เป็นอัฎสาฑะ นั้นเองจำคำว่าเสน่ห์หรือคำว่าอัฎสาฑะไว้เมื่อศึกษาตลอดเวลา ระวังทุกอย่างมันมีอัฎสาฑะแม้แต่ความชั่ว ความเลว แม้แต่อะไรก็ตาม มันมีอัฎสาฑะที่จะดึงคนไปหา ดึงคนไปทำ จึงเรียกว่าเหมือนกับเหยื่อล่ออัฎสาฑะ ทำหน้าที่เหมือนกับเหยื่อล่อ แต่ตัวมันแปลว่าความอร่อย นั้นจึงต้องระวังเพราะว่าความโกธรมันก็มีเสน่ห์และเราหลงเสน่ห์มันเข้า ก็กลายเป็นคนชอบโกธร แล้วพอไปโกธรเข้าบ่อยๆ กลายเป็นนิสัยโกธรง่ายและโกธรเร็วแก้ยาก ที่นี้จะดูความไอความเร้นลับหรือข้อเร้นลับของความโกธรอีกแง่หนึ่ง คือว่าถ้าพอโกธรเข้าแล้วมันก็มืด ธรรมดามันก็สว่าง เมื่อเราใจคอเราปกติอยู่อย่างนี้ มันก็เหมือนอยู่ในโลกที่สว่าง พอโกธรขึ้นมาก็เหมือนกับอยู่ในโลกที่มันมืดแล้วมันมืดยิ่งกว่าความมืดมืดไม่มีแสงแดดแสงไฟ นี่ก็เป็นข้อเร้นลับของสิ่งที่เรียกว่าความโกธรที่เราไม่ค่อยจะสังเกตหรือไม่ดูให้ดี ถ้ามองเห็นเราก็จะสะดุ้งพอกลัวความโกธรเพราะมันทำให้มืดมืด แล้วมันทำอะไรได้ในทางผิดไม่ยกเว้น มีบาลีว่า อัณฑะตะมังกธาคะหุติ ยังโกโฑสหเตณกรัง พุทธภาษิตยังงี่ไปหาดูได้ในแบบเรียนในโรงเรียน ณ ธรรม ความโกธรย่อมครอบงำซึ่งบุคคลใด ความมืดเหมือนความบอด ย่อมมีแก่บุคคลนั้นในเวลานั้น ให้ใช้คำว่าอัณฑะตะรัง มืดเหมือนกับตาบอดจึงมืดเหมือนกับกลางคืน คนตาบอดจะไม่เห็นอะไรเลยแม้กลางวันและกลางคืน ถ้าความมืดในกลางคืน ถ้าคนตาดียังพอมองเห็นก็ดูกลางคืนมันมืดยังพอมีดาวมีอะไรบ้าง ก็ยังจะพอไปมองเห็นหรือไม่ได้มืดสนิทเพราะมันมีแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์ ของอะไรต่างๆในเวลามืด มืดยังพอไปได้ โดยเฉพาะสัตว์บางชนิดก็ยังพอไปได้ แต่ตาบอดมันยิ่งกว่านั้น มันมืดยิ่งกว่านั้น มันมืดเหมือนกับตาบอดนำไปใช้สำหรับคนโกธร ที่นี่อีกประโยคหนึ่งก็พูดกลับกันว่า ไม่มีแสงสว่างสำหรับคนโกธร โกเฑ ณ อภิภูตัป ณ ทีปัง โฑตทิอิงจนัง ทีปัง ประทีป ดวงประทีป แม้แต่สักนิดหนึ่งก็ไม่มีสำหรับคนที่โกธรแล้ว ถูกความโกธรครอบงำ แต่ถ้าแบบเรียน ณ ธรรมใหม่ ทีปังแปลว่าที่พึ่ง ผมแปลตามที่ผมเห็นชอบ ที่พึ่งไม่มีสำหรับคนโกธรคำว่า ทีปะ แปลว่าที่พึ่งก็ได้และแปลว่า แสงสว่างก็ได้ แสงสว่างไม่มีแม้แต่นิดเดียวสำหรับคนโกธร

หน้าที่ 5 – ข้อเร้นลับ
นี่ถือว่าเป็นข้อเร้นลับของสิ่งที่เรียกว่าความโกธร ที่ไม่ทำให้มันดีๆ เขาจะไม่รู้ความลับอันนี้ของสิ่งที่เรียกว่าความโกธร ก็เลยตกเป็นทาสของความโกธรได้โดยง่าย ที่นี้จะพูดถึงฉางสำหรับเก็บความโกธร ยุงสำหรับใส่ความโกธร สร้างฉางสร้างยุงให้มันใหญ่ๆสำหรับเก็บความโกธร สิ่งแรกที่จะต้องนึกถึงในเรื่องนี้ก็คือ ธรรมะที่ชื่อว่า ขันติ แปลว่าความอดกลั่น อดได้คอยได้ ถ้าดูอย่างชั้นผิวเพ้ย ก็เห็นได้เหมือนกันว่า เขาอดกลั่นไม่ได้เขาจึงโกธร เขาอดกลั่นได้ว่าจะไม่ได้ นั้นความโกธรเกินจากไม่อดกลั่น เกิดจากความไม่มีขันตี นั้นสิ่งที่จะมาลบสู้กับความโกธรนี่ ข้อแรกทีนึกถึงคืนขันตี ความอดกลั่น มีบาลี ว่า ขันตี สาหกวารนา ขันตีเป็นเครื่องห้ามความขึงขัน ในที่นี้ก็หมายถึงความโกธร ให้ฝึกอดกลั่นให้เป็นนิสัยมากขึ้นๆ มันก็จะทำให้โกธรยากขึ้น นี่เราไม่ชอบอดกลั่นเพราะเห็นว่ามันเป็นเรื่องเสียเกรียติ ขี้แพ้ เราก็ยิ่งไม่อดกลั่น ก็ให้โอกาสแก่ความโกธร ดังนั้นไปฝึกหัดการอดกลั่นอดทนให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยังบวชอยู่นี้ ถ้าเป็นนักบวชที่แท้จริง จะมีสิ่งที่เรียกว่าขันตีเป็นแกนกลางของการประพฤติพรหมจันของผู้บำเพ็ญพจน์ทั้งหลาย ที่นี้ไม่มีใครชอบอดกลั่น สอนเท่าไหร่ก็ไม่อดกลั่น มันก็ชอบจะโกธร ชอบจะโกธรตอบ โกธรเฉยๆหมายถึงโกธรที่แรก ที่นี้โกธรตอบนั้นคือเมื่อมีผู้อื่นโกธรมาแล้ว แล้วเราก็โกธรตอบให้หนักยิ่งไปอีก เมื่อไม่มีขันตี ไม่มีทั้งโกธร ไม่มีทั้งโกธรตอบ ทีนี้นิสัยความโกธรมันเคยชิน แล้วมันก็ไม่นึกถึงขันตี มีอะไรแปลกหูมันก็โกธรแล้ว มีอะไรให้โกธรล่วงหน้าด้วยซ้ำไป แล้วอย่างบุคคลนี้เมื่อเห็นหน้าแล้วก็ที่จะโกธร ถ้าในระหว่างบวชฝึกหัดในเรื่องขันตี ให้มีความสามารถจะเป็นประโยชน์มาก มันจะเปลี่ยนนิสัยและจะติดไปได้ที่บ้านได้เป็นคารวาสได้

ที่นี้ก็นึกต่อไปถึง ทม การบังคับตัวเองก็นึกถึงปัญญา คือความรู้อย่างพอตัวในกรณีนั้นๆ ยังมีบาลีที่กล่าวไว้ว่า ตัดความโกธรด้วยธรรมะ ตัดความโกธรด้วยปัญญา ฟังไม่ดีจะฟังออกว่าธรรมะกับปัญญาเหมือนกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เพราะมีบาลีเหมือนกันมีรูปประโยคเดียวกัน โกทังธรรมเม ยอุตฉิจเพ จงตัดความโกธรด้วยธรรมมะ โกทังปัญญา ยอุตฉิจเพ จงตัดความโกธรด้วยปัญญา อันไหนมันถูกกันแน่ อาจจะใช้แล้วใช้อีก แล้วตามความจริงพอจะเข้าใจได้ ว่าทมมันตัดกันระยะต้น แต่ปัญญามันตัดกันในระยะถัดมาหรือระยะตลอดกาล ทม นี้คือบังคับตัวเอง ซึ่งเห็นได้มันตรงกับคำที่เขาพูดกันทั่วโลก ซึ่งคนชอบ ซึ่งควบคุมตัวเองไว้ได้บังคับตัวเองไว้ได้ ในภาษาบาลีเรียก ทม เฉยๆ คือการบังคับตัวเอง นี้จะตัดความโกธรในระยะต้นบังคับจิตไว้ได้ ไม่ให้ความโกธรพุ่งออกมานั้นเป็นตัดระยะต้น ที่นี้ตัดด้วยปัญญา ตัดในระยะยาว ในลักษณะที่เรียกว่าขุดลากเง้าไปทำลาย นั้นปัญญาจึงตัดได้ลึกซึ่งกว่าไว้ตลอดกาลไปเลยแต่มันยังต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นๆที่จะนำเอาปัญญามาให้ทันแก่เวลานั้น มันเลยเนื่องกันอยู่กับสติ มันเลยเนื่องไปถึงสติด้วยสติระลึกได้ทันท่วงที ทำให้เกิดการบังคับตัวเองในวิชาความรู้ในการตัดความโกธรนั้นก็ทำงานของมันเต็มที นั้นให้มันสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งทั้ง3นี้ คือ ธรรมะ ปัญญา และสติ แต่ไอตัวที่มันมีค่ามากหรือน่าดูที่สุดก็คือ ตัวปัญญา คือ ตัวรู้ รอบรู้ไปในสิ่งที่ควรจะรู้ นั้นปัญญาในกรณีของความโกธรนี้ คือรู้เรื่องความโกธรนั้น อย่างครบถ้วน ปัญญา พอมีเรื่องให้กระทบกระทั่งหรือสะดุดและสติก็มาละลึกได้ว่านี้มันจะโกธร นี้มันเรื่องโกธร ทมก็ตามมาและควบคุมตัวเองไว้ และก็ปัญญาใช้ความรู้ที่จะตัดเรื่องราวนั้นเสีย ตัดแต่ความโกธรได้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ตัดในระยะเริ่มแรกด้วยธรรมมะ ใช้สติเป็นสื่อ นั้นต่อไปสติมันก็ทำหน้าที่คุ้มกันอย่างอื่นอีกนั้น จำคำว่าสติไว้ เพราะเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในความหมายที่ว่าเป็นเครื่องคุ้มกัน ไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องคุ้มกันมากไปกว่าสติ นั้นจะคุ้มกันความโกธร ป้องกันความโกธร ก็คือคือสติ จะคุ้มกันอะไรก็ตามใจกระแสกิเลสตัวไหนชื่อไหนก็ตามจะป้องกันด้วยสติทั้งนั้น เดียวนี่ความโกธรก็เป็นกิเลศตัวหนึ่ง กระแสแห่งกิเลศนี้จะกันไว้ได้ด้วยสติ แต่กันไม่ให้มาหรือมาแล้วก็จะกันไม่ให้ไปต่อไปเนี่ย มันก็เป็นเรื่องที่กันด้วยสติทั้งนั้น ใช้ให้มันสัมธ์พันกันให้ดีเพราะธรรมมะต้องการการสัมธ์พันกันอย่างเพียงพอ ธรรมมะ ปัญญา สติ สติระลึกได้ ธรรมมะบังคับตัวเองให้หยุดไว้ก่อนแล้วปัญญาก็ทำหน้าที่ นี่พูดถึงปัญญาคือความรู้ ในทางพุทธศาสนา คือหลักธรรมะในพระพุทธศาสนาเราตามพระพุทธภาษิตที่แสดงปรากฏอยู่ ถ้าจะรู้อะไรที่ลักษณะเรียกว่าปัญญา ท่านจำกัดความหมายไว้อย่างเพียงพอ มีเหตุผลที่สุดเท่าที่ผมสังเกตมา ถ้าพูดทางลับอีกก็มีเหตุผลที่สุด ถ้าพูดทางหลักวิชาอะไรก็เป็นเหตุผลที่สุด

หน้าที่ 6 – อัฎสาฑะ
ถ้าจะรู้อะไรก็ต้องให้รู้โดยหัวข้อเหล่านี้ คือ 1.รู้ลักษณะของมัน 2.รู้อัฎสาฑะคือเสน่ห์ของมัน 3.รู้อาทีณวะคือความเลวร้ายของมัน ก็รู้สมุทัยคือที่เกิดที่มาของมัน แล้วก็รู้อัฎทังขมะ คือสิ่งที่มันตั้งอยู่ไม่ได้คือความดับไฟ และก็รู้นิศาสรณะคือผลแห่งทางออกหรืออุบายเป็นเครื่องออกไปพ้นจากสิ่งนั้น ในกรณีความโกธรดูกันอีกทีก็ได้ ว่าความโกธรมีลักษณะอย่างไร ก็พูดกันมามากแล้วซึ่งเราจะแบ่งความโกธรออกเป็นกี่ชนิด ประกอบด้วยอุปมา อุดทาหอน อะไรมันก็อยู่ในข้อนี่ทั้งนั้น ใครจะไปเทศน์ไปพูดไปบรรยายเรื่องความโกธร ว่ามันมีลักษณะอย่างไรมีกี่อย่าง มีกี่ชนิด มันควรจะอุปมาด้วยอะไร มันก็เป็นเรื่องลักษณะของความโกธร นี้อัฎสาฑะคือเสน่ห์ของความโกธรคือมันอร่อยแก่ผู้โกธร ที่นี้ อาทีณวะโทษความเลวร้ายของมันก็คืออันตรายอย่างที่ว่ามาแล้ว ที่นี้สมุทัยที่เกิดของมันก็คือความอยาก เรียกง่ายๆความโง่ ถ้าจะรวมไปถึงตัวความโง่มันไกลเกินไป ไปถึงอาวิชามันเป็นต้นเหตุที่ไกลเกินไปเอาที่ใกล้ๆก็คือความอยาก และไม่ได้ตามที่อยาก ที่นี้ อัฎทังขมะภาษาไทยเราเรียกว่า อัฎสดงคด คือรับลมดับลม อัฎทังขมะก็คือ ที่เรากำลังพูดก็ตัดความอยากนั้นเสียถูกต้องที่สุด ดับความอยากด้วยความโง่นั้นเสีย ถึงนิศาสรณะ อุบาย วิธี หนทาง ออกไปจากเรื่องนี้ที่เรากำลังพูดถึง มีขันติ มีธรรมมะ มีปัญญา มีสติ หรือจะสรุปรวมไปยังหมวดธรรมมะ สารพัดนึก คือมรรคมีองค์แปด ใช้แก้ปัญหาทุกอย่าง ถ้านึกอะไรไม่ออกในส่วนธรรมะที่จะดับทุกข์หรือแก้ปัญหาและนึกถึงอัฎทังทีรมรรค ก่อน มรรคมีองค์8 นั้นก็เขาจะกำหนดไว้เป็น นิศาสรณะทั่วไปในทุกกรณี

ถ้าเราจะมาทำเฉพาะเรื่อง เช่นเรื่องความโกธรเป็นต้นนี้ เราเรียกธรรมะชื่ออื่นๆมาก็ได้ให้มันตรงกับโลก โดยตรงแต่ละธรรมะเหล่านี้จะไปรวมอยู่ได้ในอัฎทังทีรมรรค จะพูดว่าขันติ ธรรมมะ ปัญญา สติ อะไรก็ตาม มันจะไปรวมอยู่ได้ในอัฎทังทีรมรรคเท่านั้น นั้นนิศาสรณะอุบายเพื่อออกไปเสียจากความโกธรจะมีสติก่อนและก็ธรรมมะ บังคับตนให้ได้และก็มีปัญญามาฟาดฟันลงไปให้สิ้นไป ให้สูญไป ที่นี้คำว่านิศาสรณะ กว้างมากมันจะกินความไปถึงป้องกันปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรก็ได้และก็มีธรรมะที่อื่นๆโผล่ขึ้นมา เราก็ได้พูดมาถึงคำว่าสติแล้ว สติมีความหมายกว้างและความหมายใหญ่ของสติคือป้องกัน และก็มีคำที่คล้ายๆกันและก็มาช่วยสนับสนุนกัน เช่น คำว่า สังวอน สังวรระ สังวอน สังวอนมีหลายชนิด สติ สังวอนสำคัญที่สุด ให้ทุกคนด้วยสติ มีสติเป็นเครื่องสังวอน คำว่า สังวอนนี้ก็มีความหมายคล้ายๆกันอีกหละ ก็คือป้องกันนี้ละ สังวรระ ป้องกันแวดล้อมไว้อย่างดี สังวอนไว้ด้วยสติ เอาสติมาเป็นเครื่องแวดล้อมไว้ให้ดี ตลอดเวลาก็ให้มีการสังวอนด้วยสติ มีสติรู้สึกตัวอยู่ทุกกิริยาบท ทีนี้ถ้าให้มันเข้มข้นก็มีธรรมะที่ชื่อว่าสัจจะ หรือ อธิฏฐานะ เรารวมเรียกในภาษาไทยว่า สัจจานพิษฐาน คือ อธิฏฐานจิตที่มีสัจจะที่จะทำอย่างนั้น เป็นสัจจะตัวเดียวกับในคารวาสสถาน สัจจะ ธรรมะ ขันติ จาคะ สัจจะ คือความจริงในสิ่งที่จะกระทำ อธิษฐาน คือตั้งมั่น มีสัจจานพิษฐาน ก็คือตั้งจิตด้วยสัจจะมั่นลงไปที่จะทำ ในการที่จะประพฤติ การละ ต่อไปอีกก็จะนึกถึงธรรมะที่มีประโยชน์มากเรียกว่าจาคะ จาคะนี้แปลว่าสละ แต่เรารู้จักจาคะแต่ในเรื่องการให้ทาน ที่จริงในชั้นสูงนี้จาคะหมายถึงการที่จะสละกิเลสออกไป กิเลสนี้เอาไปให้ใครหรอและใครมันจะเอา ไม่ใช่เหมือนเงินทองที่สละออกไปแล้วมีแต่คนจะเอา ดังนั้นจาคะที่นี้หมายถึงสละกิเลสตามโอกาสที่ต้องสละ ถ้าปล่อยไว้มันก็กดดัน กดดันหนักเข้ามันก็ระเบิด นั้นจาคะนี้เหมือนกับรู้รั่ว วาวที่เขาทำไว้สำหรับรั่วได้โดยอัตโนมัติ อย่าให้มันถึงขนาดกดดัน ก็ฝึกหัดสละอยู่เสมอๆ ให้อภัยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะสละด้วยวิธีใดก็ตามทำอยู่เสมอ ที่มีสติ ปัญญาอยู่ ให้เปิดรู้รั่วให้สิ่งเลวร้ายไหลออกไปอยู่เสมอ สร้างขึ้นไม่ปิดในสันดานของบุคคลนั้น ดังนั้นเราทุกคนจะตกมีจาคะในความหมายนี้ ให้ทำอยู่ทุกเวลา รู้รั่วนี้ให้ระบายกิเลสออก ถ้าฉลาดจริงจะทำได้ทุกเวลาจริง จะอ่านหนังสือพิมพ์ก็มีรู้รั่ว อ่านหนังสือเล่นก็มีรู้รั่ว คือมันทำให้เกิดความรู้ทีทำลายกิเลสนั้นนิดหนึ่งเสมอ แล้วยิ่งไปนั่งภาวนากำหนดจิตอธิษฐานก็ยิ่งเป็นรู้รั่วใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก ให้มีชีวิตอยู่ด้วยการเปิดความชั่วให้ไหลออกไปจากสันดานอยู่ทั้งวันทั้งคืน สำหรับความโกธรนี้ เมื่อโกธรเขาก็เรียกว่าความโกธร แต่พอโกธรทีหนึ่งมันก็สร้างอะไรอีกขึ้นมาหลายชนิด ที่เรียกว่า ปติภานิสัย โกธรทีหนึ่งก็จะเพิ่งปติภานิสัยให้ครั้งหนึ่ง พอมันโกธรบ่อยเข้ามันก็คือชินความโกธรมาก ความชินนั้นเรียกว่าอนุสัย และพร้อมที่จะหลั่งออกมาเรียกว่าอาสวะ

หน้าที่ 7 – เรื่องความรัก
อย่าเข้าใจว่าโกธรทีหนึ่งแล้วจะแล้วไปนะ ถ้าอย่างนั้นจะโง่มากนะ โกธรทุกทีจะเพิ่งอนุสัยแห่งความโกธรให้มากขึ้น ดังนั้นเราจะโกธรง่ายขึ้นทุกทีดังนั้นระวังอย่าให้โกธรดีทีสุด เหมือนกับว่าอย่าให้อาหารแก่กิเลสตัวนี้ ให้มันอดสักดีกว่า ถ้าชอบโกธรก็ปล่อยให้โกธรอย่างโง่ๆไม่มีเหตุผล มันก็แน่นหนาอย่างที่ไถ่ถอนไม่ได้ ความโกธรมันจะสร้ายความเคยชินให้ยุ่งยากลำบากแก่เรา ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องความรัก และเรื่องอื่นๆ พอไปทำมันเข้าครั้งหนึ่ง มันจะสร้างอนุสัยในเรื่องของอันนั้นมันก็เพิ่มขึ้นๆ เรียนว่า ราคาอนุสัย พอโง่เข้าทีหนึ่งมันก็เพิ่มความโง่ให้ทีหนึ่งเรียกว่า อวิชชาอนุสัย ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า อนุสัย มันทำความลำบากให้แก่เรา เราไม่อยากทีจะโกธรมันก็โกธรสักแล้วเป็นสายฟ้าแลบ ไม่อยากจะรักมันก็รักเข้าแล้วเป็นสายฟ้าแลบ นี้คือสิ่งที่เรียกว่าอนุสัยนั้นเองดังนั้นจะต้องนึกถึงข้อนี้ด้วย ว่าจาคะจะช่วยสละเป็นรู้รั่วให้รั่วออกไป ไม่สะสมให้เป็นอนุสัยเข้ามา เราก็ฝึกที่จะไม่โกธรเป็นประจำ

ทีนี้เมื่อพูดแล้วก็พูดให้หมดเลยก็มีอุปกรณ์อันอื่นอีก ถ้ามีสติปัญญาก็ดึงธรรมะออกมาใช้ได้หมด ทีนี่เราจะเอาเท่าที่ว่ามันเนื่องๆกันอยู่ ธรรมะเหล่านี้ก็เช่น หิริโอตปะ หิริก็ละอายแก่ใจด้วยตัวเอง โอตปะคือความผิดชอบด้วยตัวเอง ถ้าหิริโอตปะมีในเรื่องนี้แล้วมันจะโกธรไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้พระเณรของเรามันหน้าดานเกินไป มันโกธรใครแล้วมันไม่ละอาย แล้วมันไม่กลัวไอโทษของความโกธร ดังนั้นของอย่าให้เป็นพระเณรที่หน้าดานโดยเฉพาะไอพวกที่บวชใหม่ช่วงหนึ่งพรรษา ถ้าโกธรเข้าไปทีจงเสียใจให้มาก จงละอายใจให้มาก จะเอาอย่างพระแก พระแก่โกธรก็ช่างหัวมันพระใหม่อย่าเอาอย่าง และเสียใจให้มากละอาจใจให้มาก ถ้าโกธรเมื่อไรมันก็สูญเสียการเป็นพระนะซึ่งไม่มีหิริและโอตปะ ถ้ามีหิริและโอตปะมันโกธรไม่ได้ ดังนั้นจงสร้างฐานมั่งคงคือหิริและโอตปะ จะมีประโยชน์ทั่วไปทุกกรณีเรื่องมีศีลและอะไรอีกมากมายจะมีรากฐานอยู่ที่หิริและโอตปะ ละอายแก่ความชั่วด้วยตัวเองกลัวแก่ความชั่วด้วยเหตุผลของตัวเอง นึกถึงหิริและโอตปะเป็นรากฐานตลอดเวลาก็จะป้องกันความโกธรอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อโกธรขึ้นมามันก็สะดุดและก็สละออกไปทันทีได้ ทีนี้จะนึกถึงธรรมะต่อไปอีกเช่น กรรมสัตตา การที่สัตว์พ้นกรรมเป็นของตน ทำกรรมใดไว้จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น ทั้งหมดเป็นหัชเวชที่พวกคุณนั้นสวดอยู่ทุกเย็นนั้นแหละกรรมสัตตา ความจริงที่ว่าสัตว์จะต้องมีผลกรรมเป็นของตน พอเรานึกถึงไอข้อนี้เราก็จะนึกต่อไปว่าไปความโกธรเป็นกรรมชนิดหนึ่ง ดังนั้นเราจะต้องได้รับผลแห่งกรรมนี้เป็นแน่นอน อาจจะทำให้กลัวดันนั้นช่วยหิริโอตปะได้ ทีนี่จะต้องไปนึกถึงความตาย เรียกว่ามรณะสติมนุษย์ มรณาสติมนุษย์ แล้วแต่จะเรียก ทีนี้คนทั้งโลกมันลืมตาย มันจึงทำอะไรเลวๆกันทั้งโลก ถ้ามันนึกถึงข้อที่ว่าจะต้องตายมันก็จะไม่ทำอะไรที่เลวๆที่มันทำอยู่ การที่นึกถึงข้อที่ว่าตายนี้มันช่วยให้นึกถึงการเสียสละอะไรบ้างอย่าง การยินยอมอะไรบ้างอย่างได้ง่าย คนโง่เท่านั้นละทีนึกถึงความตายแล้วมันก็ท้อแท้ มันทำอะไรไม่ได้ ผมเคยทดสอบตัวเองอยู่เสมอว่าเวลานึกถึงความตายที่มันใกล้เข้ามานี้มันเป็นอย่างไร มันก็ไม่ได้ทำให้ท้อแท้แต่มันกลับทำให้อยากจะทำอะไรให้เสร็จซักเร็วๆ หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะปรับปรุงงานที่มันเหลืออยู่มากให้เหลืออยู่น้อยที่สุดให้เหมาะสมกับความตายไม่ได้ท้อแท้ว่าอีกไม่กี่ปีมันจะตาย นอนสบายดีกว่า ดังนั้นอาจจะบังคับให้เราทำให้เป็นประโยชน์ไปจนถึงวินาทีสุดท้าย เมื่อมันมีความรู้สึกอย่างนี้มันก็จะแสวงหาโอกาสหาลู่ทางที่เป็นประโยชน์แก่โลกหรือแก่ส่วนรวมจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายหรือคำพูดคำสุดท้าย และกิริยาที่ดีที่สุดคือตายในท่าที่ดีที่สุดให้คนเหล่านั้นได้เห็นนี่ก็เรียกว่าทำประโยชน์จนวินาทีสุดท้ายละ ดังนั้นการระลึกถึงความตายมันต้องเป็นอย่างนี้มันจะถูกต้องตามหลัก ถ้าระลึกถึงความถูกต้องอย่างนี้จะป้องกันความโกธรได้อย่างมหาศาล อันสุท้ายที่ควรจะพูดถึงก็คือธรรมะที่เรียกว่า อัปปะมันยาเมตตา เมตตาก็แปลว่าความเป็นมิตร ความหวังดี อัปปะมันยาคือไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต ความรักความเมตตาที่ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ คำนี้เป็นคำเก่าก่อนพระพุทธเจ้า ก่อนพระพุทธกาล เป็นใจความสำคัญของนักบวชทั้งหลายที่ออกจากบ้านเรือนไปบวช จะมีธรรมะข้อนี้เป็นทั้งหมดแม้พวกเขาจะไม่รู้เรื่องมรรคผล นิพานกันก่อน ก็คือตายแล้วจะไปยมโลก ออกจากบ้านเรือนไปอยู่ในป่า ในดง พิจารณาอยู่แต่ความที่สัตว์ทั้งหลายควรจะเมตตาต่อกันและก็ตั้งจิตเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายและกระทำด้วย จึงไม่เบียดเบี่ยงสิ่งที่มีชีวิต ตั้งจิตเมตตาอยู่ตลอดเวลา ตายไปแล้วไปยมโลกซึ่งถือว่าที่นั้นเป็นนิพานสำหรับคนที่ถือลัทธิอย่างนั้น

หน้าที่ 8 – การอยู่อย่างลดหัวลดหาง
จนถึงบัดนี้เราก็ศึกษาทุกๆอย่างมามากพอแล้ว จึงสรุปได้ว่าไม่มีอะไรที่จะดีกว่าการที่เราจะรักกัน เป็นวิธีที่ดีกว่าที่จะเกียดกัน ที่ไม่รักกันหรือเฉยๆต่อกัน ในโลกนี้กำลังขาดเมตตาอย่างยิ่ง การศึกษาแผนใหม่ที่พูดกันเรื่องวัตถุก็หลงวัตถุ ยากที่จะเกิดความรู้สึกเมตตาตามหลักโบราณดึกดำบรรพ์ซึ่งเมตตาไม่มีขอบเขต มีบทเรียนที่จะฝึกเมตตาตั้งแต่ไม่ตบยุง ไม่ฆ่ามด นี้เป็นรากฐานของเมตตาเรื่อยๆมา ถ้ามันฆ่ายุงไม่ได้มันก็ฆ่าคนไม่ได้ เดี๋ยวนี้มันฆ่ามด ฆ่ายุง ฆ่าปลา ฆ่าปลวกได้อย่างไม่มีความหมายมัยก็ฆ่าคนได้เหมือนกันได้โดยง่ายขึ้นไปตามลำดับ ที่มันทิ้งลูกระเบิดชนิดที่ลงมาลูกเดี๋ยวก็สามารถฆ่าคนได้เป็นแสนๆโดยที่ไม่มีความหลาย ก็หวังพึ่งสิ่งเหล่านี้เพื่อสร้างคนกำจัดสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เรียกว่าเมตตามันก็ไม่มีอยุ่ในโลกปัจจุบันนี้ ที่นี่เราจะพูดถึงเมตตาเขาก็หัวเราะ ถ้ายิ่งพูดถึงไม่มีขอบเขตเขาก็ยิ่งหัวเราะ แต่ถ้าพูดถึงธรรมะแล้วก็พูดอย่างอื่นไม่ได้ ธรรมะที่จะช่วยให้รอดได้ก็คือเมตตาไม่ใช่เห็นแก่ตัวและทำลายผู้อื่นโดยที่ไม่รับผิดชอบอะไร ธรรมะที่ผมกล่าวมานี้ผมเรียงขึ้นเองเพื่อให้มันมองเห็นได้ง่ายขึ้นสำหรับเก็บความโกธรไม่ให้ออกมาอารวาส ไม่ให้ทำลายตนเองและผู้อื่น ไม่ให้อาหารมันกิน เรียกว่าการเก็บความโกธรใส่ยุงฉางเพราะว่าความโกธรมันยังมีเก็บไม่ให้ออกมาจนกว่ามันจะหมดสิ้นไป หมดเหตุ หมดปัจจัยของมัน ขอให้พยายามชิมชีวิตที่เย็นในขณะที่บวชเพราะว่าไม่มีความโกธร มันจะชอบความเย็นเพราะว่าไม่มีไฟให้โกธรจนเป็นนิสัย

พอออกไปเป็น ฆราวาสมันก็จะมีความโกธรน้อย หรือโกธรได้ยากยิ่งกว่าที่เป็นมาแล้ว และถ้าบวชจริงก็คือการเก็บความโกธรไว้ในยุงฉางพร้อมทั้งได้ชิมรสธรรมะของการเก็บความโกธรใสยุงให้หมด พาติดตัวไปทุหนทุกแห่งมันเป็นพรหมโลกอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่โกธรอยู่เวลาใดเราก็เป็นพรหมอยู่ตลอดเวลานั้น นี้ไปเป็นพ่อบ้านที่ดีสมตามคำที่กล่าวไว้ในภาษาบาลีว่า พรหมมาติธารมาตาปิตาโร บิดามารดาเป็นพรหมในบ้านเรือน จะสำเร็จได้โดยการที่ไม่โกธร ดังนั้นจะทำให้ครอบครัวไม่โกธร โกธรน้อยลง ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบังชาก็โกธรน้อยลง ก็มีประโยชน์สุขแก่กันและกันโดยตรงบ้างโดยอ้อมบ้าง ทุกคนที่เป็นมนุษย์และยังมีประโยชน์ไปถึงสัตว์เดรฉาจหรือสิ่งของ ถ้ามันมีความโกธรมันก็ทำได้ทุกอย่าง แต่ถ้าไม่มีความโกธรมันก็ร่มเย็นได้ พูดเป็นอุปมา ถ้ามันไม่มีความโกธรจริงตามหลักของธรรมะมันก็จะส่งผลมีกิเลสอย่างอื่นน้อยลงตามหลักตามส่วนเพราะมันเชื่อมโยงกันมันเป็นเพราะพระอนาคามี มีได้แม้ในบ้านเรือนในเพศคารวาส เขาบรรณยัดในชั้นบุคคล แต่ไม่มีความมักมากทางกามหรือความโกธรอะไร หรือมันตัดเรื่อง โกธรเรื่องกามได้แต่ยังอยู่ในคารวาสในบ้านเรือนเลี้ยงบิดามารดาได้ ดังนั้นมีผลทำให้เป็นอนาคามีได้ในบ้านเรือนความไม่โกธรมันดีอย่างนี้ เป็นบ้านก็จะร่มเย็น ดังนั้นขอให้สนใจในเรื่องควบคุมเรื่องความโกธร เก็บความโกธร ทำลายความโกธรในระหว่างที่บวชนี้ให้มาก และสึกออกไปขอให้ได้ประโยชน์เท่าทีจะมากได้ ผมจะได้กล่าวโดยหัวข้อ ว่า การอยู่อย่างลดหัวลดหาง ทั้งหมดนี้ก็จะเห็นได้ว่า เป็นการกล่าวไปตามลำดับหัวข้อย่อๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วในการบรรยายครั้งที่หนึ่ง เราจะทำแบบนี้กันไปก่อน จนกว่าจะเปลี่ยน เป็นแนวอื่น เมื่อถึงเวลาอันสมควร ข้อหัวสำหรับบรรยากาศทุกครั้งจะเน้นถึงการที่ เวลาบวชเป็น บรรพชิต หรือ อนาธาลิตร แล้วจะได้ชินลองรสของ ธรรมะ ในแง่ต่างๆกัน เพื่อให้รู้จักสิ่งนั้นๆดี เพื่อให้รู้จักธรรมะนั่นๆดี ที่ว่าดีถึงขนาดที่ จะติดตัวเอาไปใช้ แม้ในเมื่อละจาก กิจสุ แล้ว ไปอยู่ในครอบครัว หรือ อย่างเช่น ฆราวาส ก็ยัง เป็นประโยชน์ได้ อย่างยิ่งอยู่นั่นเอง ที่จริง มันอาจจะเป็นเรื่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่อาจจะ ยังไม่เข้มงวดพอ ไม่ชัดเจนพอ หรือ ยิ่งกว่านั่น มันอาจจะอยู่ในแบบเรียน บทเรียนที่เราเคยเรียนกันมาแล้ว ในฐานะที่เป็นนักเรียน เล็กๆๆด้วยย้ำไป แต่ก็ยังไม่ชัดเจนพอ แต่นี้เราเรียนอย่างผู้ใหญ่ เรียนเคล้ากันไปทางด้านร่างกาย และจิตใจ ตามแนวของพุทธศาสนา ที่มีอยู่อย่างละเอียดลึกซึ้ง แต่ขอให้รู้ไว้ว่า ไม่ได้มีอยู่แต่ใน ฐานะจิตวิทยา หรือแม้แต่ปรัชญา เป็นต้น แต่มันมีอยู่ในอย่างหลักของศีลธรรม ในศาสนา มนุษย์ปฏิบัติโดยสูงขึ้นไปก็เป็นตัวศาสนาเสียเอง ที่นี้เราควรจะประหลาดใจ ในข้อที่ว่าหลักธรรมะ ในข้อศาสนา ทั่วไป บรรลุมรรคผล นิพาน นั่น มันก็มาเป็นหลักธรรมอันเดี่ยวกับที่ ฆราวาส จะมีในบ้านเรือน นี้อยากจะมองในแง่ที่ว่า แม้การเป็น ฆราวาสครองอยู่ มันก็จะเป็นการ ขยับเขยื้อนไปตามแนวทาง ของ ประทิพาน ด้วยเหมือนกัน แต่มันเนืองจากคนเขาไม่รู้ บางคนเขาไม่อยากจะรู้ เพราะเขาเห็นว่ามันเป็น ข้าศึก แก่กันจะต้องเรียกว่าเป็นคนที่ โง่มากไปซักหน่อย ละทิ้งที่ควรจะได้ โดยไม่ต้องลงทุนอะไร

หน้าที่ 9 – รากฐานที่แท้จริง
สิ่งที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุดกว่าที่ตัวปรารถนา ก็หารู้ไม่ แล้วมันก็ไม่ต้องลงทุนอะไร ลำบากยากเย็นอะไร ให้มากไปกว่า กระทำในสิ่งที่กำลังทำอยู่นั่นให้ดีๆๆ แล้วก็ไล่ดูกัน ตามหัวข้อ ทบทวนความจำอีกเล็กน้อย ข้อที่ว่า ปริญตูปะชีวี ทำไมไม่นึกถึง เมื่อเป็นลุกอ่อนนอนเบาะเล่า พ่อแม่เลี้ยงให้รอดมาเลี้ยงมา อยู่กับการเลี้ยงของพ่อแม่ทั้งนั้น จึงรอดชีวิตมาได้ แต่เดี่ยวนี้เรามาเล็งถึงเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น อย่างที่มี ความรู้สึก และ ความยึดถือ หลักธรรมะในข้อนี้ ทำให้ท่านเป็นประโยชน์ต่อสังคม สืบกว้างออกไป เราทุกคนยอมรับว่า พวกเราจะต้องอาศัยกันและกัน อันนี้ผมถือเป็นรากฐานที่แท้จริง ของอุดมคติ ที่เรียกว่า สังคมนิยม พวกเราเป็นสังคมนิยมที่ถูกต้องของธรรมชาติ หรือตามหลักของศาสนาจริงๆๆถึงมั่นคง เป็นไปเผื่อสันติภาพได้จริง ที่ว่าทำต่ำๆๆแล้วอยู่สูงๆๆ เป็นเรื่องเศรษฐกิจทางวิญญาณ ซึ่งในเศรษฐกิจสามัญ จะมีหลักอย่างนี้ ลงทุนน้อยจะได้กำไรมาก ถ้าเราถือว่าเป็นเศรษฐกิจของธรรมชาติ มันจะยิ่งดี ถ้ามันจริงเหมือนกัน ข้าวเปลือกเมล็ดหนึ่งเพาะลงไป งอกเป็นต้นข้าวออกมาได้อีก กี่สิบเมล็ด กี่ร้อยเมล็ด มันเหมือนกับว่า ธรรมชาติ มันทำการค้า ทำกำไร ลงทุนน้อยได้ผลมาก การที่กินอยู่ต่ำๆๆลงทุนน้อย มันก็ได้ผลมาก หรือสูง จะไปกินอยู่สูงมันก็บ้าเสียก่อน หรือ มันเป็นว่า มันเอาการกินอยู่ มาเป็นผลที่พึ่งปรารถนาเสีย โดยไม่ได้คิดว่า ว่าที่เราอยู่เพื่อทำอะไรซักอย่างหนึ่ง คนพวกนั่นก็เกิดมาเพื่อกิน ก็ได้กิน บนยอดสุดของความ ปรารถนา

อีกคนที่กินแต่เพียงเพื่ออยู่ มันจะทำอะไร ขยันอีกตั้งหาก จึงดีกว่า หรือสูงกว่า อีกข้อถัดไปที่ว่าเป็น มูรดี ผู้ที่มีความเป็นมูรดีในความเป็นมนุษย์ มูรดีกับมนุษย์ มันเป็นรากศัพท์อย่างเดี่ยวกันก็คือ รู้จนแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา การครองเรือนนั่นมีปัญหามาก นับไม่ไหว โดยปีกย่อย มันกระจายกันออกไป ควรจะเป็นผู้มีความรู้ที่เรียกว่า พอตัว ในทุกแง่ทุกมุม ในทุกระดับ หรือ ทุกๆๆขนาดของปัญหา มันก็จะเป็น ฆราวาส ที่น่าดู แม้ในทางธรรมะ ด้านจิตใจ ก็ยังเป็น ฆราวาส ที่น่าดู มีคนรู้สึกและพูดกันอยู่บ่อยๆว่า พระฆราวาส บางคนที่อยู่ที่บ้านเรือน ที่ดูมีลักษณะของ อารยะเจ้า มากกว่า พระที่วัดบางองค์เสียอีก ผมก็ได้ยินมาเอง สังเกตเห็นเอง เพราะความรอบรู้ และความดำรงชีวิตอยู่ ถูกต้องตามหลักของ มูรดี ที่มีความรู้ มีความงดงาม อยู่ในบุคคลแบบนั้น ทางด้านวัตถุสิ่งของ ร่างกาย จิตใจ วิญญาณต่างๆ เมื่อมันเจอกับธรรมชาติ ต้องไปคิดดูให้ดี ถ้าเข้าใจคำว่าธรรมชาติผิด หรือแคบ ละก็ มันจะไม่เข้าใจข้อนี้ ให้รู้ไว้เป็นหลักคราวๆว่า ถ้าทิ้งธรรมชาติไกลเท่าไรก็ ยุ่งยากขึ้นเท่านั้น แล้ว ไม่ตรงตามความจริงของธรรมชาติ และ ไม่มีไรที่เป็นธรรมชาติ เราจึงต้องรู้จักทำดี เกิดคบกันอย่างใกล้ชิด สนิทสนมเรียกว่าเป็น เกลอ กับธรรมชาติ นี้ก็มาถึง ข้อสร้างยุ้งใส่ความโกธร ความขัดใจ ใช้คำว่ายุ้งเป็นเป็นคำเรื่องมากเรื่องใหญ่ การมีชีวิตอยู่ มันสิ่งที่ทำให้ขัดใจ คือ ไม่ได้อย่างใจมันมาก เพราะสังเกตดู ตนเองก็แล้วกัน การมีชีวิตอยู่มันจะพบกับความไม่ได้อย่างใจ มากกว่าที่จะได้อย่างใจ ก็มันเป็นอย่างนั่นเอง ที่มันมากกว่านั่นก็คือ คนนั่นมันโง่เกินไปอีก คือจะเอาให้ได้อย่างใจไปซะหมดทุกอย่างเกินกว่าที่ควรจะเอา ถ้าอย่างนี้ มันก็จะมีแต่ความไม่ได้อย่างใจเพิ่มขึ้นอีก เช่นอาจจำนวน ปริมาณขึ้นอีก นั่นจึงเป็นไปด้วย ความไม่ได้อย่างใจแล้วก็โกธร มันเป็นการสร้างยุ้งฉาง เก็บความโกธร ใส่ความโกธร เพราะว่า ความโกธรแสดงตัวออกมา มันเป็นอันตราย ที่นี้ก็มาถึงวันนี้ ที่ว่า ว่าอยู่อย่างลดหัวลดหางในการเป็นนักบวชนี้ เป็นนักบวชที่แท้จริงมันก็อย่างนั้น จริงเหมือนกัน ไปศึกษาเรื่องของพระ อรหันต์ ดู ท่านจะอยู่อย่าง ไม่มีการยกหัวยกหาง ผมก็พยายามสังเกตดู อยู่แง่หนึ่งเหมือนกันว่า เมื่อเราเป็นฝ่ายถูก แล้วเขาก็มาหาว่าเป็นฝ่ายผิด จะจะยอมไหม สังเกตในเรื่องพระอรหันต์ ทั้งหลายมันไม่มีที่จะไม่ยอม ไม่ยอมกระทั้งเสียชีวิตไปก็ได้ เพื่อไม่ให้มันเกิดเรื่องขึ้นมา และการที่ยอมมันมีขอบเขตกว้างขวางที่ยอม ว่าช่วยเหลือผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่งอีก เพียงแต่ไม่ให้เกิดเรื่องขึ้นมานี้ก็ไม่เท่าไร ในภาษาไทยเรามันก็มีคำพูดในหลักธรรมะข้อนี้อยู่แล้วว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตัว ทุกคนก็เคยได้ยินได้ฟัง และ สรรเสริญ ทั่วไปหมด ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกสาขาแห่งวัฒนธรรม ทุกยุคทุกสมัย สรรเสริญ ความอ่อนน้อมถ่อมตัว ก็คือไม่ยกหัวชูหาง นี้มันอยู่ในรูปของศรีธรรม ก็มีโดยเฉพาะที่เรากล่าวเนี้ย กะมัง มานในรูปของศรีธรรม ถ้ามันถึงขนาดของ ปรมัตธรรม อำนาจของความสิ้นกิเลสแล้ว มานเกือบจะไม่ต้องพูด คือมันไม่ยกเอง คือมันไม่ยกหัวยกหางเสียเองมันก็ยังต้องพูด มันก็ยังต้องมีปัญหาสำหรับพวกที่มันมีกิเลส ยกหัวยกหาง คำที่เรียกว่า อ่อนน้อมถ่อมตัวนี้ มีสองชั้นมีความหมาย สองชั้นอย่างที่ว่า เป็นเรื่องของศรีธรรมที่ต้องประพฤติ หรือ ต้องบังคบให้ประพฤติ เป็นเรื่องของ ปรมัตธรรม ทำลายกิเลสแล้วก็หมดไปเอง เราไปเจอ มาดู ไอ้สิ่งที่เรียกว่า ยกหัวชูหางก่อน ในบาลีก็มีเรียกว่ามานะ โดยทั่วไปเรียกว่ามานะในความหมายที่กว้างที่สุด ถึงในภาษาไทยก็ใช้คำว่า มานะทิฐิ นั่นเอง แต่สุดท้ายก็คือ มานะ มันมีมานะ จริงๆยกหัวยกหาง แต่คำว่ามานะนี้ ต้องพิจารณากันต่อไปอีก เพราะว่ามันมีบางแง่ที่จะใช้เป็นประโยชน์ได้ บางแง่ก็เป็นโทษเป็นอันตรายในส่วยเดี่ยว คำในภาษาธรรมะชั้นสูง ในภาษา ประรัชญา ของชาวอินเดีย เรียกตรงกัน เรียบกว่า อหังการ อมังการ อหังการ แปลว่า ทำความรู้สึกว่าตัวเรา อมังการแปลว่า คำความรู้สึกของของเรา โดยปกติสองอย่างนี้แสดงออกมาในรูปของมานะ มันเป็นนามประธรรมมองไม่เห็น มันจะมองเห็นเมื่อแสดงออกมา ทางกายทางวาจา ทางรูปธรรม เป็น อหังการ อมังการ ที่เห็นชัดเป็นตัวกู เป็นของกู ตอนนั่นมันจึงจะมี กิเลสเกี่ยวเนื่องเกี่ยวเนืองกัน จึงไม่ยอม หรือ อะไรต่างๆๆ กระทั่งว่า เมื่อได้อย่างใจ ก็ยกหัวชูหาง คำต่อไปอีกก็มีว่า มานานุสัย มนุสัย คือมานะ นี้คือความเคยชินแห่งมานะ เราแสดงมานะ ยกหัวชูหางออกมาทีหนึ่งเราก็เรียกมานะ นี้ความเคยชินของความเป็นอย่างนั่นเราเรียกว่า มานะอนุสัย เรียกต่อให้สนิทกันเรียกมานานุสัย ในส่วนลึกที่สุดนิยมเรียกว่า อสมิมานะ อย่างพุทธสุภาษิตที่ว่า ละ อสมิมานะ จะได้เป็นสุขอย่างยิ่ง ในบทสวดมนต์แปลก็มี ก็มีสวดอยู่ มานะ อหังการ อมังการ มานานุสัย อสมิมานะ กิเลสที่มักได้ยินกันบ่อยๆๆได้ยินกันสามเวลา ราคะ โทสะโมหะ แต่ว่าในบาลีบางแห่งเอา มานะเข้ามาใส่อีกอย่างหนึ่งในชุดสามเนี้ย กลายเป็นสี่ ราโค โทโส มาโน โมโห มันอาจจะแยกออกมาได้จริง ลองพิจารณาดู ราคะ มันรักมันจะเอา ไอ้โทสะ มันเปียกมันโกธร มันไม่เอา โมโห มันสงสัยมันหลงมันไม่รู้จะเอาหรือ ไม่เอา ไอ้ตัวมานะ เนี้ยมันไม่เหมือนมีอาการเหมือน ราคะ โทสะ โมหะ ก็เอามาใส่ได้ ก็เอามาใส่ในฐานะ รากฐานของสามอย่างนั้น มีมานะก็มีความสำคัญว่าตัวเรา ความโลภ ความโกธร ความหลง สังเกตได้ง่าย นี้จึงเป็นคำใหม่ ที่ไม่ค่อยได้ยิน ได้ยินแต่ ราคะ โทสะ โมหะ ขอฝากคำว่ามานะเอาไว้ด้วย ในบาลีพรมนี้ รวมเอามานะในสามอย่างนี้ มีความสำคัญ ด้วยอำนาจของอวิชา เรียกร้องให้จำคำว่าสำคัญไว้ด้วย คือสำคัญนั่นหมาย เมื่อใช้คำว่า สำคัญนั่นหมาย ไม่มีทางที่จะถูกต้อง คือมันทำไปด้วยอำนาจของอวิชา หรือ ถ้าเรารู้สึก หรือ จับ หรือ จับมันไว้ในลักษณะอย่างไรอย่างนั่นเขาไม่ได้เรียกว่าความสำคัญ เขาเรียกว่าความรู้ ที่มาจากวิชา

หน้าที่ 10 – ยกหัวชูหาง
อันที่สำคัญด้วยมานะ นั่นผิดทั้งนั่น ว่าตัว ว่าตน ว่าดี ว่าสุข ว่าทุกข์ ว่าซวยนั่น สำคัญที่ผิดทั้งหมดเป็นความรู้ที่ผิดอย่างรุนแรง แต่ถ้าเรารู้ด้วยวิชา มันก็รู้เหมือนกันว่า อะไรเป็นอะไร ซึ่งสวยก็ว่าสวย บัญญัติ ว่า สวยไม่สวย สุขว่าสุข ทุกข์ว่าทุกข์ นี้มันก็รู้ออกมาในรูปที่มีความหมาย ที่เหมือนๆๆกัน แต่โดยอาการที่ต่างกัน ถ้ารู้ด้วยความมั่นหมาย ความสำคัญในสิ่งนี้ มานะก็ต้องเป็นตามสำคัญ รู้ด้วยความสำคัญ ผิดเพราะ อวิชชา งั้นจึงเกิดเป็นผลต่างกัน คือถ้ารู้ด้วยอวิชชาไม่มีการยกหัวยกหาง ถ้ามันรู้ด้วยอวิชชา มันก็จะมีส่วนที่ยกหัวยกหาง แล้วมันครอบอย่างอื่นตามมาเป็นอันมาก เช่นคำ โอ้อวด การพูดพล่าม อย่างนี้เป็นต้น ตามมา

อย่างนี้เราสมมุติเรียกกันง่ายๆๆที่นี้ว่า ยกหัวชูหาง จะยกด้วยวาจา จะยกด้วยจิตวิญญาณ จะยกด้วยการแสดงอย่างอื่น มันก็จะเป็นผลของ ไอ้มานะนี้ ทั้งนั่น ทีนี้อยากจะพิจารณาต่อไป ในทางที่มันเกี่ยวกับ สัญชาตญาณ ตรงนี้ขอแทรกเป็นพิเศษ ว่า ไอ้ธรรมะเนี้ยมันมีหลักพราดพิงไปถึงเรื่องสันชาติญาณทั้งนั่นแหละ ความรัก ความโกธร ความเกียจ ความกลัว ความโลภ ความหลง เป็นการของ สัญชาติญาณที่แสดงออกมา สัญชาติญาณนั่นมันก็มีปัญหาตรงที่ว่ามันเป็นของผิดหรือของถูก ควรจะละเสีย ควรจะเอาไว้ ควรจะส่งเสริม เมื่อเราสังเกตดู ศึกษาดู ตามหลักพุทธศาสนา บางอย่างมันละไปเด็ดขาด บางอย่างมันก็ส่งเสริม โดยการปรับเปลี่ยนกระแสมันในทางที่ถูกต้อง หรือควบคุมให้เป็นในทางที่ถูกต้อง แต่ว่าส่วนใหญ่ทั้งหมดนั่นจะต้องละ เพราะสัญชาติญาณมันเป็นมา สภาพที่ขาดความรู้ที่แท้จริง ซึ้งจะเรียกว่าอวิชชา ก็ได้แต่เป็นอวิชชาในอีกความหมายหนึ่ง คือการ ขาดความรู้ตามปกติธรรมดาตามธรรมชาติปราศจากความรู้ แบบนี้เขาเรียกว่าอวิชชา จนเราอาจจะพูดได้ว่า ในสิ่งที่ไม่มีความรู้สึก ก้อนหิน ก้อนดิน ท่อนไม้ ก็มันไม่มีความรู้ จะเรียกว่ามันมี อวิชชา ได้เหมือนกันเมื่อเอาความหมายของอวิชชา อย่างนี้ ในทางพุทธศาสนา หรือในทางพระบาลีนั่น ความไม่รู้นี้ ไม่รู้อันถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องนั่นๆโดยเฉพาะเรื่องความดับทุกข์ นี้โดยสัญชาตญาณ มันก็เกิดความรู้สึกที่เป็นตัวเราอยู่เป็นพื้นฐาน ความรู้สึกที่เรา ต้องเป็นเรานี้ เป็นสัญชาตญาณพื้นฐาน จึงมีสัญชาตญาณที่อยากมีชีวิตอยู่ ทีนี้เมื่ออยากมีชีวิตอยู่มันก็ต้องมีสัญชาตญาณที่จะหาอาหาร หรือจะสืบพันธุ์ หรือจะต่อสู้ จึงเกิดมีสัญชาตญาณอีกมากมาย เนื่องจากเป็นความจำเป็นที่จะให้ชีวิตรอดอยู่ได้ ทั้งนั่น ทีนี้ก็ มีปัญหาอยู่ที่ว่ามัน มันจะเกินไป หรือ ยังขาดอยู่ ทีนี้เรามักจะส่งเสริมไปในทางผิดๆ อย่างจะมีชีวิตอยู่ทั้งๆที่เห็นแก่ตัวกู ไม่เห็นแก่ผู้อื่นเลยแบบนี้ อย่างนี้ก็ผิดนะ สัญชาติญาณแห่งการกินอาหาร เลยกว่าไปกินอาหารเสียอีก เลยไปกินเหยือก กินอะไรไป สัญชาติญาณแห่งการต่อสู้ ต่อสู้เพื่อชีวิตรอด เดี่ยวนี้ไม่ได้ต่อสู้เพื่อชีวิตรอด เดี่ยวนี้มันทำร้ายผู้อื่น จะเอาของผู้อื่นมาเป็นของตัว ตามลักษณะของ ผู้กอบโกยส่วนเกิน ส่วนเกินมา และได้ตามสัญชาติญาณไม่ใช่หลอ ดังนั่นสรุปความแล้วมันก็ต้องควบคุม เพื่อมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ หรือบางอย่างในทางที่จะทำให้สูงขึ้นไปในที่สุด สำหรับสิ่งที่เรียกว่าตัวตน สำคัญว่าตัวตนเป็นสัญชาติญาณหลัก สัญชาติญาณพื้นฐาน มันก็มีมาแล้ว เราอย่าคิดอะไรมากเลย มันมีมาแล้ว มีอยู่แล้ว ของธรรมชาติ ตามธรรมชาติ อยากจะแนะให้พิจารณาว่า ไอ้สัญชาติญาณพื้นฐาน รู้สึกว่า ตัวตนนี้ มันต้องมีสิ่งที่คู้กันอยู่ ที่เรียกว่า ชีวิต ในระดับ มนุษย์ มีชีวิต มีรู้สึกตัวตน เมื่อถึงคราวที่มันมีความรู้สึกโง่เขล่าอย่างไอย่างหนึ่ง หรือ ประสบความสำเร็จ มันก็ ยกหัวชูหาง แต่ไม่มากเท่ามนุษย์ เป็นแค่เพียงทาง แมคคานิดซึม ธรรมดาๆๆของสิ่งที่มีชีวิต วัว ควาย ช้าง ม้า เป็ด ไก่ บางทีมันก็ ยกหัวชูหาง ร่าเริงสบาย แต่ของมนุษย์มันเกินนั่น มันเป็นอำนาจของกิเลสที่หนาแน่มากขึ้น เพราะฉะนั้นจึง ยกหัวชูหางมากขึ้น ผมจึงคิดว่า ไอ้สมัยคนป่า ไอ้ ape ไม่เป็นมนุษย์ครึ่งๆมนุษย์ มันคงไม่ยกหัวชูหางมากเหมือนมนุษย์ เดี่ยวนี้ แน่นอน เนื่องจากมันก็ลดน้องลงไป แต่มันก็ต้องมีการรู้สึกว่าตัวตน จะเห็นว่าไก่ที่มันชนะมันก็ตีปีก บินขึ้นที่สูง แล้วก็ขัน มันจะทำให้เหนื่อยมันทำไมก็ไม่รู้ ก็ล้วนเป็นเรื่องของสัญชาติญาณเท่านั่นเอง มันเนื่องโดยสัญชาติญาณตัวกู ของกู อย่างอื่นๆอีกด้วย ถ้าดูไปถึงต้นไม้จะกล่าวได้ว่ามันก็มีสัญชาติญาณตัวนี้ มันก็อ่อนลงไปอีก เพราะฉะนั้นการ ยกหัวชูหางของต้นไม้นี้ มันก็อ่อนลงไปอีก จนเรามองไม่เห็นจนเราดูไม่ออก โดยการเทียบเคียงว่ามันก็มีเจตนา ที่เกี่ยวกับตัวกู ของกู เราก็เห็นด้วยกับนักชีวิตวิทยาฝ่ายต้นไม้ที่เขาอธิบายว่า การที่มันมีสีสวย มันมีกลีบสวย มันมีดอก มีเกสร มีอะไรต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งซึ่งช่วยให้เกิดการสืบพันธุ์ เป้นความประสงค์ อย่างยิ่งที่ต้องการจะสืบพันธุ์ สัญชาติญาณแห่งตัวกู มันก็มี ได้อย่างที่มันถูกใจ มันคงแสดงความร่าเริงอยู่ในนั้น เป็นตัวกูของกูมันละเอียดอ่อน ในการเบิกบานของดอกไม้ หรือการเป็น โดยได้อย่างที่มีความสุข โดยได้อย่างใจ นี้ลงไปถึงหญ้า บอน หรือ ตะไคร้น้ำ มันก็ต้องมีอีกเยอะแยะ ลดส่วนมันลงไป สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เราก็ พูดไม่ได้ คำว่า ญาณ หรือ สัญชาติญาณหมายถึง ความรู้ของสิ่งที่มีความรู้สึก มันต้องมีความรู้สึกถึงเกิด ญาณ ทั้งหลายเหล่านี้ได้ ก็เป็นอันว่าการ ยกหัวชูหางนี้เป็น สัญชาติญาณดังเดิมของสิ่งที่มีชีวิต และสัญชาติญาณอันนี้วิวัฒนาการ โดยสมสัดสมส่วนโดยวิวัฒนาการอื่นๆ เท่าที่ได้เห็นการยกหัวชูหาง ของสัตว์สูงสุดคือมนุษย์ ทั้งยังดูให้เห็นว่า สัญชาติญาณบางอย่างนี้ต้องควบคุมให้มาก แต่ในบางกรณีจะส่งเสริมให้ดีขึ้นให้มากขึ้น และในบางกรณีทำล้ายหมดไป ยกตัวอย่างเช่น สัญชาติญาณในการอยากรู้ก็ควรส่งเสริมให้มันได้รู้ และก็รู้ในทางที่ควรรู้ ในปริมาณที่ควรรู้ และถ้า สัญชาติญาณที่จะอยากจะทำล้ายผู้อื่น หรือการต่อสู้ จะเปลี่ยนเป็นการต่อสู้กับสิ่งที่ควรต่อสู้ จะได้คำมาใหม่เป็นการต่อสู้กับกิเลส ดีกว่าต่อสู้กับ ข้าศึก ศัตรู อย่างอื่น ไปคิดเอาเองไปศึกษาเอาเอง

ในที่นี้จะพูดแต่เฉพาะสัญชาติญาณ แห่งการยกหัวชูหางที่มาจากสัญชาติญาณแห่งตัวตน เป็นสิ่งที่ต้องควบคุม ถ้าไม่อยากจะให้ไม่ดีกว่า ดีกว่าคนอื่นขึ้นเลย มันก็คงไม่อยากทำอะไรดี เพราะฉะนั้นคนที่อยากอะไรให้ดี ก็ควรกังวลเอาไว้ และอย่างจะให้ดีกว่าผู้อื่น ต้องควบคุมในทางที่ถูกต้อง อย่าปล่อยให้ไม่มีขอบเขต หรือ ไม่ให้มีความถูกต้อง ที่นี้เราจะดูประเภท ของความรู้สึกที่เป็นมานะ ยกหัวชูหาง ถ้าดูแล้วก็จะพบว่ามันก็ใช้หลักเกณฑ์อย่างเดี่ยวกันได้ หลายๆอย่าง หลายหมวด อย่าง เรื่องปัญหา สามประการ ที่เราเอามาเป็น ที่มาของความโกธร นี้ก็ มาเป็นที่มาของความ ถือตัวได้ ซึ่งปัญหา สามประการ กามะตัฒหา ภาวะตัฒหา วิทวัตตัฒหา ของให้นักศึกใหม่ๆๆจำไส้แม่นยำ เพราะมันแจกรูปเป็นอะไร ได้อีกมากมาย ทีนี้มีหลักที่ต้องยึดไว้เป็นหลัก สำหรับศึกษาธรรมะ อีกมากมายได้อีกว่า ปัญหาย่อมทำให้เกิด อุปทาน อย่างที่ท่อง ประจุติยบาตร ดังที่ท่องกันอยู่ทุกวันนี้ เดี่ยวจะลืมเสีย มันจะเก็บไว้ใน สมุด

http://www.vcharkarn.com/varticle/32665

. . . . . . .