อาณาปานสติสำหรับนักศึกษา ตอนที่ 2 โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

อาณาปานสติสำหรับนักศึกษา ตอนที่ 2 โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – จิตละเอียด
รู้จักที่นี้เมื่อท่านที่ทำอย่างที่วิ่งตามลมหายใจอยู่ก็จะได้รู้เช่นว่าถ้าลมหายใจมันยาวหรือมันนานถ้าลมหายใจมันสั้นก็จะได้รู้ว่ามันสั้น ในระยะสั้นที่นี้ถ้าเมื่อรู้ว่าลมหายใจมันยาวก็รู้ว่ามันยาวถ้าลมหายระเอียดก็รู้ว่าลมหายใจละเอียดเมื่อกำหนดพิกัดความยาวความสั้นความหยาบความละเอียดอย่างดีที่สุดเมื่อวิ่งตามที่นี้ละเอียดไปกว่านั้นดูให้ละเอียดไปกว่านั้นอีกก็คือว่าเมื่อลมหายในมันยาวและมันนานเรารู้สึกอย่างไรเมื่อลมหายใจมันสั้นๆมันรู้สึกอย่างไร สติหรือจิตใจเป็นอย่างไรอารมณ์เป็นอย่างไร จนกระทั้งรู้ว่าเมื่อลมหายใจยาวและละเอียดด้วยร่างกายของเราสบายหรือสงบลงมากลงคงรู้จักความสงบนี้ด้วยเมื่อลมหายมันสั้นหยาบคงรู้สึกว่าร่างกายไม่สงบเรียกว่ามันเป็นโรคหรือไม่สบายก็เลยรู้ได้โดยไม่ต้องมีใครบอกไม่ใช่รู้โดยคนบอกหรืออ่านหนังสือมาก็รู้ได้ว่าลมหายใจมันเนื่องกันอยู่กับร่างกายบางครั้งใจหยาบกายหยาบบาครั้งใจละเอียดกายละเอียดบางครั้งใจกำเริบร่างกายกำเริบลมหายใจสงบระงับร่างกายสงบระงับยิ่งเราสามารถทำให้ร่างกายสงบระงับเยือกเย็นได้อีกด้วยการทำให้ลมหายใจนั่นแหละสงบระงับเราจึงมีวิธีทำด้วยใช้จิตมากำหนดสิ่งที่มันละเอียดยิ่งขึ้นไปก่อนนี้หรือเวลานี้กำหนดที่ลมหายใจโดยตรงตัวลมหายใจ

โดยตรงวิ่งเข้าวิ่งออกวิ่งเข้าวิ่งออกเรียกว่ามันยังเป็นของหยาบเพื่อจะให้ละเอียดขึ้นเราก็เลิกการวิ่งตามประคองสติหรือจิตให้กำหนดอยู่แต่ตรงจุดหนึ่งที่มันผ่านที่สะดวกที่สุดก็คือที่จะงอยจมูกด้านในหรือริมฝีปากบางคนที่มันเชิดขึ้นไปจนรู้สึกว่าลมหายใจมันตกกระทบริมฝีปากเอาตรงแถวๆนั้นแหละตรงจุดไหนก็ได้สำหรับให้เป็นเครื่องกำหนดให้ลมมันกระทบตลอดเวลาที่เข้าที่ออกที่นี้เราก็ไม่สนใจลมหายใจที่เข้าออกโดยตรงแต่ไปสนใจตรงที่จุดที่ลมหายใจมันกระทบทั้งเข้าและทั้งออกความรู้สึกต่อการที่ลมหายใจเข้าหรือลมหายใจออกยังมีอยู่แต่รู้สึกมากกว่านั้นจะเป็นที่ลมหายใจมันกระทบมันก็เลยเปลี่ยนชื่อเรียกว่าไม่วิ่งตามแล้ว เดี๋ยวนี้เอาแต่เฝ้าดูเท่านั้นเฝ้าดูอยู่จุดจุดหนึ่งที่ลมหายใจกระทบแต่การเฝ้านั้นต้องเป็นไปตลอดเวลาทั้งที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็มันก็ผ่านไปทำเสมือนว่าตรงที่ไปกระทบนั้นมีประสาทไวเบาที่สุดรู้สึกมากที่สุดรู้สึกมากที่สุดรู้สึกมากขึ้นมากขึ้นจนได้จุดที่แน่จนชัดเจนเพื่อกำหนดลงไปที่นั่นเรียกว่าเฝ้าดูนี้เป็นอุปมาเปรียบเทียบด้วยคำพูดว่าเฝ้าดูก็เปรียบเหมือนว่านายประตูเฝ้าดูอยู่แต่ประตูไม่ต้องสนใจคนที่จะมาออกประตูเข้าประตูว่ามาจากไหนเราเฝ้าอยู่ตรงทีประตูชัดเจน ละเอียด ครบถ้วนถึงได้เรียกว่าเหมือนว่าเฝ้าดูเดี๋ยวนี้ ขั้นที่2เรียกว่าเฝ้าดูขั้นที่1เรียกว่าวิ่งตามวิ่งตามอยู่ตลอดเวลาขั้นที่2เฝ้าดูเฝ้าดูอยู่ตลอดอยู่เฉยๆเพราะฉะนั้นที่โดนกระทบก็คือเนื้อที่นี้ในการเฝ้าดูกันไปหนักขึ้นหนักขึ้นก็รู้สึกจุดที่ตรงนั้นมันมากขึ้นและเต็มไปด้วยประสาทที่ไว้ต่อความรู้สึกที่ต้องทำด้วยความละเอียดประณีตลมหายใจก็ละเอียดประณีตมากขึ้นที่เฝ้าดูนี่มันเปลี่ยนเป็นดูด้วยจิตใจจนถึงกับว่าเห็นภาพที่เรียกว่ามโนภาพเกิดขึ้นที่จุดนั้นโดยที่ว่าจิตนี่มันดีมันฝึกและดีมันน้อมไปได้ตามที่ต้องการเพราะสามารถจะน้อมนำให้เห็นให้เกิดความเห็นเหมือนจะมีดวงมีแสงที่ตรงจุดที่เฝ้าดูขึ้นมาแทนที่ของเนื้อหนังตรงที่ลมกระทบโดยกำหนดเนื้อหนังที่ตรงนั้นเป็นจุดที่เฝ้าดูเป็นเพียงรายรูปเป็นมโนภาพเป็นสีหรือเป็นดวงเมื่อจิตมันต้องดีมากมันถึงจะมันถึงจะทำให้เห็นภาพไม่อยากเกินไปถ้าเราทำให้จิตมันจดอยู่ที่ตรงนั้นตลอดเวลา ฉะนั้นนึกไปว่าเป็นจุดเป็นดวงมันก็ทำได้ถ้าทำให้มันเห็นมโนภาพที่จุดนั้นเกิดขึ้นมาเป็นดวงเป็นกลมดวงขาวดวงแดงดวงเขียวดวงอะไรก็ได้แล้วแต่ที่มันจะเห็นขึ้นมาตามความเหมาะสมแก่คนคนนั้นบุคคลคนนั้นมันจะอาจจะเห็นกับว่ามีหยดน้ำค้างกลางแสงแดดอยู่ตรงนั้นบางคนก็เห็นเหมือนกับว่ามีใยแมงมุมส่วนหนึ่งวาวๆอยู่กลางแสงแดดปรากฏอยู่ที่ตรงนั้นหรือเหมือนกับปุยนุ่นก้อนหนึ่งอยู่ที่ตรงนั้นหรือเหมือนกับว่าขนแกะขาวก้อนหนึ่งอยู่ที่ตรงนั้นหรือว่าก้อนเมฆขาวมันอยู่ที่ตรงนั้นอะไรมันเกิดขึ้นก่อนก็ใช้ได้ทั้งนั้นอย่างนี้เราเรียกว่ามโนภาพคือภาพที่มโนหรือใจสร้างขึ้นมาแต่นี่เรียกว่าขั้นที่3คือสร้างมโนภาพขึ้นมา ที่จุดนั้นคือจุดที่เฝ้าดูขั้นที่1วิ่งตามขั้นที่2เฝ้าดูที่จุดหนึ่งขั้นที่3สร้างมโนภาพขึ้นมาได้ที่จุดที่เฝ้าดูซึ่งหมายความว่าการกำหนดจิตละเอียดเหมือนมีดมากจึงจะทำได้อย่างนั้นเพราะฉะนั้นการกำหนดจิตจนละเอียดเหมือนมีดที่สุดมันจึงกำหนดได้อย่างนั้นในร่างกายมันก็ละเอียดเหมือนมีดไปตามเพราะความระงับของจิตที่นี้ขั้นต่อไปเมื่อสามารถทำให้มโนภาพนั้นชัดเจนเป็นที่พอในและสมมุติว่าเป็นดวงขาวๆอยู่ที่ตรงนั้นเหมือนกับว่าเม็ดน้ำค้างกลางแสงแดดเด่นอยู่บนใบไม้จะประคองไว้แต่ภาพอันนั้นเพื่อจะจัดการที่จะน้อมจิตไปเปลี่ยนมันเปลี่ยนภาพที่เป็นมโนภาพไปตามความประสงค์ของเราก็จะได้ให้เรามีอำนาจเหนือจิตมากขึ้น แต่จิตก็ละเอียดเป็นมีดมากขึ้นยังสามารถจะสร้างมโนภาพที่เปลี่ยนแปลงได้เมื่อน้อมจิตไปให้กับภาพที่เห็นอยู่นั้นเปลี่ยนไปก็ต้องเปลี่ยนไปตามที่จิตมันน้อมไปน้อมไปในทางที่ให้มันใหญ่ขึ้นมันก็จะใหญ่ขึ้นน้อมไปในทางที่ให้มันเล็กลงมันก็เล็กลงน้อมไปในทางให้มันเคลื่อนที่มันก็เคลื่อนที่หรือมันลอยไปมันกลับมาหรือมันเปลี่ยนสีเปลี่ยนขนาดเปลี่ยนไปได้ตามต้องการได้อย่างคล่องแคล่วนี่เรียกว่าเราเปลี่ยนมโนภาพได้ตามที่ต้องการตามจุดที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกเดี๋ยวนี้เราก็มีถึง4แล้ว วิ่งตาม เฝ้าดู สร้างมโนภาพขึ้นมาและเปลี่ยนมโนภาพนั้นได้ตามที่ต้องการแสดงว่ามันอยู่ในอำนาจทำจนคล่องแคล่วมันจะกินแรงงานภายในก็ต้องบอกไปได้ต้องทำได้จนคล่องแคล่วว่ามันอยู่ในมืออยู่ในกำมือของเราอยู่ในอำนาจของเราทำอย่างไรก็ได้ทำจนชำนาญเมื่อมันมีวสี วสีแปลว่าความมีอำนาจหรือการมีอำนาจเหนือมันก็เป็นอันว่า ไอ้ความที่ละเอียดที่การฝึกนั่นมันมาถึงจุดนี้แล้วเมื่อจะทำให้เป็นสมาธิถึงที่สุดก็กำหนดมโนภาพนี้รูปแบบที่พอใจที่สุดจะไม่เปลี่ยนอีกแล้วจะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตายตัวมาเป็นเครื่องกำหนดเพ่งนิ่งอยู่แน่วอยู่ให้จิตเป็นสมาธิถึงที่สุดด้วยการเพ่งภาพนั้นอย่างละเอียดดีในความเป็นสมาธิของจิตมันก็ถึงที่สุดถึงที่สุดในแง่ของสมาธิในลำดับแรกก็แรกว่าสมาธิที่หนึ่งหรือฌานที่หนึ่งถัดไปก็เรียกสมาธิที่สองหรือฌานที่สองถัดไปก็เรียกสมาธิที่สามหรือฌานที่สามหรือแม้กระทั่งสี่โดยบุคคล นั้นจะรู้ได้เองถ้าเค้ากำหนดเห็นอยู่ว่าเดี๋ยวนี้จิตมีวิตกคือกำหนดอารมณ์เดี๋ยวนี้จิตมีวิจารณ์คือซึมทราบต่ออารมณ์และมีรู้สึกเป็นปีติที่ทำได้สำเร็จก็รู้สึกว่าสบายจริงคือเป็นสุขก็รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้จิตมีอารมณ์เดียวอยู่ที่ภาพที่เป็นนิมิตสำหรับกำหนดนั้น ก็เรียกว่ารู้สึกอยู่ถึงห้าองค์รู้สึกวิตก รู้สึกวิจารณ์ รู้สึกปีติ รู้สึกสุข รู้สึกเอตัคตา ความรู้สึกนี้รู้สึกถึงห้าอย่างนี้ก็เรียกว่าขั้นแรกเป็นปฐมฌานจึงเป็นยากหรือประณีตและเป็นลำบากอยากสำหรับคนทั่วไป

หน้าที่ 2 – จิตเป็นสมาหิโต
แต่ผู้ที่ต้องการสมาธิยิ่งๆขึ้นไปนั้นก็จะรู้สึกว่ามันอยากอยู่จะลดความรู้สึกการกำหนดหรือองค์แห่งการกำหนดหรือทั้งสองอย่างคือวิตกหรือวิจารณ์นั้นไม่เอาแล้วเลิกไม่ทำความรู้สึกที่เป็นวิตกหรือวิจารณ์เหลืออยู่แต่ความรู้สึกที่เป็นปีติและสุขและเอตัคตามันเหลือ3อย่างจาก5อย่างมันเหลือ3อย่างก็เรียกว่ามันประณีตละเอียดลึกซึ้งกันไปก็เรียกว่าสมาธิที่2หรือฌานที่2ที่นี้ก็เห็นว่ามันยังละเอียดกว่านั้นได้ก็ละความรู้สึกที่เป็นปีติเสียเหลือแต่สุขกับเอตัคตาก็เรียกว่าฌานที่3เมื่อเห็นว่าสุขนี่ก็ยังวุ่นวายนักละเลียให้กลายเป็นอุเบกขาที่นี้ก็เหลือแต่อุเบกขากับเอตัคตานี้ก็เป็นฌานที่4 เพราะฉะนั้นการทำสมาธิแล้วก็ยังสามารถทำให้ละเอียดลึกซึ้งประณีตยิ่งๆขึ้นไปโดยนัยที่ว่าครั้งแรกมีถึงห้าองค์ในความรู้สึกคือวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอตัคตา ถัดมาเหลือสามองค์คือปีติ สุข เอตัคตาถัดมาเหลือสององค์คือสุขกับเอตัคตา ถัดมาเหลือสององค์แต่ว่าเปลี่ยนสุขให้เป็นอุเบกขาอยู่กับเอตัคตาที่นี้ก็ถึงที่สุดของสมาธิประเภทที่ว่าอาศัยรูปธรรมเป็นอารมณ์ถ้าจะให้มากกว่านี้ไปมันก็อาจไปถึงประเภทที่เอารูปธรรมสิ่งที่ไม่เป็นรูปธรรมสิ่งที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์

เพราะฉะนั้นจะไม่พูดถึงเดี๋ยวมันจะไกลเกินไปไม่เกี่ยวข้องกับเรามันจะมากเกินไปสำหรับเราไอ้เพียงที่เป็นรูปธรรมเป็นอารมณ์4ชนิดนี้4ขั้นนี้มันก็มากเกินไปแล้วแล้วทุกคนทำไม่ได้แต่จะทำได้เป็นบางคนหรือว่าถ้าจะทำให้ถึงที่สุดทั้ง4มันก็ยาวนานลำบากมากยาวนานเกินไปจะทำเพียงขั้นที่1คือปฐมฌานแล้วก็วกไปหาเรื่องของการเห็นอนิจจังทุกขังอนัตตาที่เรียกว่าเป็นตัววิปัสสนาต่อไปจะดีกว่าไม่มามัวทำสมาธิให้มันละเอียดประณีตครบทุกขั้นทุกตอนแล้วมันก็ทำไม่ได้ด้วยและมันจะมันก็เสียเวลากินเวลามากเกินไปเสียเปล่าอย่างนี้เป็นต้นเมื่อสามารถทำสมาธิได้ก็เรียกว่ามีต้นทุนมีเงินรอนก็พอที่จะทำให้พัฒนาต่อไปจิตเป็นสมาธิได้ถึงขนาดที่จะอยู่ในฌานได้มันพิสูจน์ความพอแล้วสำหรับบุคคลนั้นที่จะทำวิปัสสนาเมื่อออกจากฌานคือไม่ได้อยู่ในสภาพฌานแล้วไอ้ความเป็นสมาธิหรือคุณสมบัติของสมาธิก็ยังอยู่แม้ว่าจิตออกจากฌานแล้วจิตที่เคยฝึกสมาธิสำเร็จจนถึงกับอยู่ในฌานได้นั้นเมื่อยู่ในฌานนั้นมันไม่พิจารณาอะไรได้มันเพียงแต่หยุดอยู่สงบอยู่อย่างละเอียดประณีตหรือว่าฝังในความเป็นสมาธิเข้าไปในจิตอย่างยิ่งเมื่อจิตออกจากฌานมันก็ยังมีคุณสมบัติของสมาธิอยู่คือยังเป็นจิตที่ตั้งมั่นดีอยู่เป็นจิตที่บริสุทธ์จากนิวรณ์ดีอยู่ เป็นจิตที่ว่องไวรวดเร็วในหน้าที่การงานทั้งจิตอยู่ดีอยู่เรียกในบาลี3คำว่าจิตเป็นสมาหิโตตั้งมั่น จิตเป็นปริตสุทโธบริสุทธิ์จากกิเลสและนิวรณ์อยู่ในเวลานั้นคือว่างจากกิเลสและนิวรณ์อยู่ในเวลานั้นแล้วเป็น กัมมันนิโยคือจิตที่ว่องไวในหน้าที่ของจิตคุณสมบัติอันนี้จะติตอยู่กับจิตตลอดเวลาแม้ว่าออกจากฌานแต่คุณสมบัติของความเป็นสมาธินั้นยังอยู่จึงควรใช้จิตชนิดนี้ทำวิปัสสนาต่อไปดีกว่า ถ้าจะทำสมบรูณ์แบบมันก็ต้องไปทำหรือใช้หมวดที่2เรียกว่าเวทนานุปัสสนาหมวดที่3ที่เรียกว่าจิตตานุปัสสนาเราเห็นว่ามากเกินไปเราไม่ต้องการกระโดดไปหมวดที่4คือธรรมมานุปัสสนาจิตชนิดนั้นมันมามองดูอนิจจังคือความไม่เที่ยงทำให้เกิดยามเกิดวิปัสสนาเห็นความไม่เที่ยงและจะได้เกิดมีราคะมีโลภบรรลุธรรมะเป็นผลของวิปัสสนาต่อไปในขั้นที่ว่าดูความไม่เที่ยง เนี่ยต้องดูทุกอย่างข้างในคือมากำหนดลมวิ่งตามดูใหม่และก็ดูเรื่องความไม่เที่ยงมันก็มีอยู่ในการวิ่งตามลมหายใจก็ไม่เที่ยง ลมหายใจยาวก็ไม่เที่ยง ลมหายใจสั้นก็ไม่เที่ยง ลมหายใจหยาบก็ไม่เที่ยง ลมหายใจละเอียดก็ไม่เที่ยงการที่ลมหายใจปรุงแต่งกายมันก็ไม่เที่ยงลมหายใจก็ไม่เที่ยงและกายมันจะเที่ยงได้อย่างไรที่นี้เมื่อมีเป็นสมาธิแล้วก็มองเห็นว่าวิตกก็ไม่เที่ยง วิจารณ์ก็ไม่เที่ยงปีติก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง เอตัคตาก็ไม่เที่ยงผลการไม่เที่ยงปีติและสุขเนี่ยสำคัญมากเพราะคนเรามันติดอยู่ในปีติและสุขอยู่ตลอดวันตลอดคืนหวังอยู่ตลอดวันตลอดคืน พอเห็นความไม่เที่ยงในปีติและสุขแล้วมันก็ถอยจากความยึดมั่นถือมั่นในความสุขทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งของกิเลสเสียมากกว่าเมื่อดูข้างในทุกอย่างทุกประการเป็นของไม่เที่ยงเมื่อดูข้างนอกมันก็เห็นความไม่เที่ยงเหมือนกันที่ว่าเห็นตายในตายก็คือเห็นความจริงเช่นความไม่เที่ยงเป็นต้นของร่างกายก็ต้องเห็นตายอยู่เนี่ยตายมันไม่เที่ยงที่ความไม่เที่ยงที่ตายก็เห็นตายในตายลมหายใจก็เป็นร่างกายก็เป็นตายปรุงแต่งกันอยู่เห็นพร้อมๆกันไปเนี่ยเป็นจุดสำคัญคือการเห็นความไม่เที่ยงเมื่อเห็นความไม่เที่ยงแล้วไม่ต้องสงสัยมันจะเห็นความเป็นทุกข์และความเป็นอนัตตาติดต่อกันไปในหัวข้อพระบาลีจึงพูดถึงแต่ว่าดูความไม่เที่ยงไม่พูดว่าดูความทุกข์ดูอนัตตาไม่มีพูดจะมีพูดแต่ว่าอนิจจานุปัสสีการดูความไม่เที่ยงหนักเข้าหนักเข้าอะไรที่มันเนื่องกันอยู่กับความไม่เที่ยงมันจะเป็นด้วยกันนั่นแหละ เช่นความเป็นทุกข์อยู่ในความไม่เที่ยงก็ต้องเห็นเพราะมันดูเห็นความไม่เที่ยงอะไรๆมันเนื่องอยู่กับความไม่เที่ยงเพราะพวกเราเห็นหมดการเป็นอนัตตายึดถือเป็นตัวตนเมื่อไหร่ก็เห็นอยู่แล้วในความไม่เที่ยงก็เท่ากับว่าดูความไม่เที่ยงจนถึงขีดสุดที่นี้มีว่าอยู่นิดหนึ่งว่าถ้าท่านใช้คำว่าดูอนุสักสีแปลว่าดูลงไปไม่ได้ใช้คำว่า พินิต หรือพิจารณาหรือใคร่ควรด้วยเหตุผลอันนั้นอย่าเอามาใช้เพียงแต่ดูลงไปอย่างนั้นดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิจิตที่มีคุณสมบัติของสมาธิและก็ดูๆอย่าไปคิดว่ามันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้อันนู้นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่การดูแล้วมันเป็นการศึกษาอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่วิปัสสนาถ้าเป็นวิปัสสนาก็ตรงให้ตรงตามตัวอักษรหนังสือที่ว่าวิปัสสนาวิแปลว่าแจ่มแจ้ง ปัสสนาแปลว่าเห็นต้องดูแล้วต้องเห็นอย่างแจ่มแจ้งถ้าไปคิดมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใช้เหตุผลการคิดต้องใช้เหตุผลเพราะนั้นเหตุผลมันผิดได้การใช้เหตุผลมันก็ผิดได้เพราะนั้นผลออกมามันก็ผิดได้ถ้าเป็นการใช้เหตุผลไม่ต้องการให้ใช้เหตุผลต้องการให้ดูลงไปจริงๆเท่านั้นเช่นลมหายใจไม่เที่ยงนี้ก็ดูที่ความไม่เที่ยงที่เห็นอยู่ไม่ต้องใช้เหตุผลว่าลมหายใจไม่เที่ยงทุกอย่างที่เกี่ยวกับร่างกายเกี่ยวกับลมหายใจดูลงไปก็จะเห็นความไม่เที่ยงอย่าไปใช้เหตุผลพิสูจน์ว่ามันเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุนั้นมันจึงไม่เที่ยงอย่างนี้ใช้ไม่ได้ไม่ใช่การดูมันเป็นการใช้เหตุผลมันผิดได้โดยเหตุผลผิดหรือวิธีใช้เหตุผลมันผิดและมันก็ไม่จริงเดี๋ยวนี้เราต้องการจริงจึงต้องดูจริงๆและเห็นจริงๆก็เรียกว่าวิปัสสนาแปลว่าเห็นอย่างแจ่มแจ้งซึ่งท่านก็เห็นเองแล้วว่าไอ้จิตที่เป็นสมาธิสามารถเอามาใช้เป็นผู้ดูหรือดูให้เห็นถ้าจิตไม่เป็นสมาธิมันไม่แหลมมันไม่คมมันจะดูไม่เห็นเมื่อปรับปรุงจิตให้เป็นสมาธิจะเป็นจิตที่แหลมและคมมีแรงมีอะไรดูเห็นนี่ก็เห็นอนิจจังความไม่เที่ยงของทุกสิ่งที่เราเคยโง่เคยหลงว่ามันเที่ยงและก็ยึดถือเอามันก็เริ่มคลายออกไอ้ความโง่ความยึดถือว่าเที่ยงว่าสุขว่าตัวตนมันก็เริ่มคลายออกๆ

หน้าที่ 3 – วิปัสสนา
แล้วก็มาดูที่ความคลายออกต่อไปถัดไปดูไม่เที่ยงก่อนเป็นอนิจจานุปัสสีเห็นไม่เที่ยงแล้วไอ้ความยึดถือหรือกิเลสมันคลายออกๆแล้วก็ดูที่ความคลายออกวิธีหนึ่งเรียกว่าวิราคานุปัสสีดูที่ความคลายออกดูไปให้มันคลายออกไปตามอำนาจความไม่เที่ยงไม่เห็นไม่เที่ยงเท่าไรก็เห็นความคลายออกเท่านั้นเห็นความไม่เที่ยงมากก็เห็นความคลายออกมากจนความคลายออกมันถึงขีดสุดก็กลายเป็นดับลงไปๆเรียกว่านิโรธานุปัสสี เห็นความที่มันดับลงไปสิ้นสุดกันไปของกิเลสหรือความยึดมั่นถือมั่นดูความไม่เที่ยงแล้วมันคลายออกแล้วดูความคลายออกจนท่านเห็นมันหมดมันดับหมดกิเลสหรือความยึดมั่นถือมั่นมันจะดับชั่วคราวหรือดับเด็ดขาดก็สุดแท้แต่เดี๋ยวนี้เห็นว่าเห็นความไม่เที่ยงเห็นความคลายออกของความหลงยึดถือแล้วก็เห็นดับความสิ้นสุดความยึดถือและขั้นสุดท้ายก็คือดูความที่มันออกหมดแล้วมันสิ้นสุดแล้วไอ้ความยึดถือมันหมดแล้วเราไม่ยึดถืออีกต่อก็เรียกว่าปัจฉิมนุปัสทานุปัสสี

ดูความที่จิตนี้ขว้างทิ้งหรือสลับคืนสิ่งที่เคยยึดถือดูจิตไม่มีความยึดถือดูการขว้างทิ้งความยึดถืออกไปแล้วสิ่งใดที่เคยยึดถือไว้เป็นตัวกูหรือของกูเดี๋ยวหนี้มันถูกขว้างกับไปให้ธรรมชาติหรือเจ้าของเดิมไม่ยึดถือกายนี้ทรัพย์สมบัตินี้หรืออะไรก็ตามที่เอามาเป็นของกูด้วยความโง่เขล่าเดี๋ยวนี้มันถูกซัดคืนกับไปให้ธรรมชาติด้วยความเฉลียวฉลาดของวิปัสสนาเรื่องมันก็จบพูดสั้นๆก็คือคุณวิ่งตามลมหายใจฝึกสมาธิในขั้นแรกและก็หยุดดูกำหนดออยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งเช่นที่จะงอยจมูกเพื่อจะมีจุดเดียวรวมให้แรงขึ้นและก็สร้างมโนภาพเห็นเป็นภาพด้วยใจที่จุดนั้นไม่ๆได้ของจริงอะไรเป็นของที่ใจมันสร้างขึ้นอย่าไปหลงเป็นของจริงวิเศษได้โน่นได้นี่เสียเวลาเปล่าสร้างมโนภาพได้ดีแล้วก็บังคับมโนภาพได้ตามที่ต้องการเรียกว่าเราคล่องแคล่วในการบังคับจิตดีแล้ว ที่นี้ก็หยุดเอามาอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่กำหนดพิจารณาให้แน่วแน่ลงไปจนเกิดเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้าคือวิตกวิจารณ์ปีติสุขเอตัคตามีความเป็นสมาธิเต็มที่แล้วถ้าให้ชำนาญในการเป็นสมาธินี่อยู่เสมอจิตตัวนั้น ก็เปลี่ยนไปเป็นจิตที่มีคุณสมบัติของสมาธิรวมอยู่ด้วยสิงอยู่ด้วยจิตตัวนี้ก็จะเหมาะที่จะทำวิปัสสนาเมื่อไปเพ่งวิปัสสนาเห็นความไม่เที่ยงเห็นทุกขังอนัตตาพร้อมกันไปหมดเมื่อการเห็นความไม่เที่ยงเพียงพอแล้วก็จะเห็นความคลายออกของกิเลสของความยึดมั่นถือมั่นคลายออกๆ จนถึงที่สุดหมดสิ้นจนเป็นความดับของความยึดมั่นถือมั่นก็เห็นว่าเดี๋ยวนี้ไม่ได้ยึดถือแล้วคือคืนเจ้าของหมดแล้วจิตก็เลยเรียกว่าหลุดพ้นหลุดพ้นจากความยึดถือไม่มีความทุกข์ทุกข์เกิดมาจากความยึดถือเมื่อไม่ยึดถือก็ไม่มีความทุกข์กลายเป็นคนที่ไม่ทุกข์ถ้ายังคงรักษาการเห็นนี้ไว้ได้มันก็ไม่ทุกข์ได้ถ้าเผลอไปมันกลับโง่อีกกลับไปยึดถือเอาอีกมันก็มีความทุกข์อีกมันก็สำคัญอยู่ที่ความรักษาการเห็นคือเห็นแล้วรักษาเอาไว้ได้ด้วยอำนาจของสติอีกเหมือนกันสตินี่เจ้ากี้เจ้าการไปหมดทุกขั้นทุกตอนแห่งการปฏิบัติจะรักษาความเห็นแจ้งนี้ไว้ได้นานเท่าใด มันก็ไม่อาจจะเกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ตลอดเวลาเท่านั้นเมื่อจิตทำงานมากก็มีสติมากสตินี้จะเร็วพอถึงขนาดจะป้องกันเราเป็นคนมีสติมีสติสมบรูณ์และรวดเร็วด้วยสตินี้จะมาช่วยในการป้องกันในชีวิตประจำวันเมื่อตาเห็นรูปสวยหรือไม่สวยสติมันก็จะมาช่วยว่าอย่าไปโง่กับมันคือไม่ไปหลงรักหรือไม่ไปหลงเกลียดรูปที่สวยหรือไม่สวยจะทำอะไรก็ทำไม่ต้องก็ไม่ต้องทำก็ไปหลงรักหลงเกลียดก็พอแล้วเมื่อได้ยินเสียงที่ไพเราะหรือไม่ไพเราะสติมันมาทันมันมาช่วยป้องกันไม่ให้หลงรักเสียงไพเราะไม่ให้หลงเกลียดเสียงไพเราะจะทำอะไรก็ทำไม่ทำอะไรก็ไม่ต้องทำจมูกว่ากลิ่นหอมกลิ่นเหม็นก็เหมือนกันสติจะบอกว่าไม่ต้องหลงควบคุมไม่ให้หลงรักหอมไม่ให้เกลียดเหม็นไม่มีเรื่องลิ้นอร่อยไม่อร่อยผิวหนังสัมผัสนิ่มนวลหรือกระด้างหรือจิตได้อารมณ์ร้ายอารมณ์ดีมาก็คงปกติอยู่ได้ไม่ยินดีไม่ยินร้ายความทุกข์ก็ไม่มีความทุกข์ไม่อาจจะเกิดก่อขึ้นมา โดยเฉพาะในผัสสะทางตาทางหูทางจมูกทางจิตนี่เป็นผัสสะที่ฉลาดผัสสะที่ประกอบอยู่ด้วยปัญญาความรู้ความที่เป็นจริงในสิ่งนั้นๆมันก็ไม่เกิดเวทนาโง่ตัณหาโง่อะไรขึ้นมาได้ก็ไม่มีทุกข์ถ้าว่าไม่มีสติไม่มีปัญญาอย่างที่ฝึกฝนไว้อย่างนี้ไปรับอารมณ์อะไรเข้าก็จะเกิดผัสสะโง่ทำให้เกิดเวทนาโง่เวทนาที่ชวนให้รักเวทนาที่ชวนให้เกลียดมันก็เกิดความอยากที่ตัณหาอย่างโง่มันก็อยากอย่างหนึ่งในกรณีที่น่ารักและก็อยากอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีที่น่าเกลียดมันก็มีแต่เรื่องยินดียินร้ายด้วยความอยากก็จะอุปทานว่าตัวกูอยากตัวกูจะได้ตัวกูจะยึดครองหรือยึดครองอยู่นี่คือตัวความทุกข์อะไรๆทุกอย่างจะมาสุมอยู่บนจิตของบุคคลนั้นเพราะโอกาสจะพูดคำหยาบสักคำหนึ่งมันมาสุมอยู่บนกะบาลของบุคคลนั้นโดยมากอุปาทานก็เป็นอย่างนั้นมันก็ต้องเป็นทุกข์เงินอยู่ในธนาคารเรียบร้อย แต่มาสุมอยู่บนกะบาลของบุคคลนั้นทรัพย์สมบัติอยู่กลางไร่กลางนาตามในที่ดินมันก็มาสุมอยู่บนกะบาลบุคคลนั้นมันก็ต้องเป็นทุกข์อะไรจะได้จะเสียจะเกิดอะไรขึ้นมันก็มาสุมอยู่บนกะบาลของบุคคลนั้นจนเดี๋ยวนี้มันไม่ได้มาสุมอยู่บนกะบาลของบุคคลนั้นอีกต่อไปเพราะมีความรู้ความเข้าใจแจ่มแจ้งในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีความไม่เที่ยงเห็นความคลายคืนกลางคืนเห็นความดับลงเห็นการขว้างทิ้งกลับออกไปแล้วจากความยึดถือในตัวตนมันก็จบเรื่องของวิปัสสนาสมาธิเรามาทำจิตให้ตั้งมั่นสมารถจะทำวิปัสสนาเรียกว่าทำวิปัสสนาหรือดูให้เห็นความเป็นจริงนั้นก็หลุดรอดออกมาได้คนสมถะนั่นคือสมาธิวิปัสสนาคือปัญญาแต่เมื่อทำทั้งชุดนี้เรียกว่าทำวิปัสสนาทั้งหมด

นั่นแหละและทำสมาธิก็เรียกว่าทำวิปัสสนาเพราะเป็นอุปกรณ์ของวิปัสสนาชนิดที่แยกกันไม่ได้เพราะนั้นภาษาพูดนั้นกำกลวมนะทำวิปัสสนาคือทำทั้งศีลทั้งสมาธิปัญญารวมหมดแต่ตัวหนังสือของวิปัสสนานั้นคือเห็นแจ้งเมื่อเห็นแจ้งแล้วเป็นวิปัสสนาถ้าได้ยินคำว่าวิปัสสนาก็เข้าใจได้ว่ามันทำทั้งสมาธิและทั้งวิปัสสนาอีกทั้งระบบนั้นมีทั้งศีลมีอะไรเตรียมตัวมาดีมาทำสมาธิมาทำปัญญาทั้งระบบทั้งหมดนั้นเรียกว่าระบบวิปัสสนาทำวิปัสสนาขอให้ได้รับประโยชน์จากความรู้ของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้สอนไว้เรียกว่าว่าอาณาปานสติภาวนา4หมวดหมวดละ4ขั้นเป็น16ขั้นหาดูได้จากการบรรยายที่ละเอียดที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้สำหรับนักศึกษาหนังสือเล่มนั้นจะเรียกว่าอาณาปานสติสำหรับนักศึกษาเป็นการอธิบายอย่างละเอียดตั้งสิบครั้งยี่สิบครั้งเมื่อนักศึกษาไหนมาก็ไม่ทราบลืมแล้วแต่พูดกับนักศึกษาโดยละเอียดวันนี้ก็มาพูดกันอย่างย่อๆโดยการบรรยายเพียงสองครั้งว่าทำสมาธิวิปัสสนาทำอย่างนี้ก็ได้ใช้เงินแล้วก็ทำเถอะ แล้วมันก็จะไม่ได้จึงต้องซ้ำยี่สิบสามสิบครั้งแล้วมันจะค่อยๆได้เหมือนกับการหัดขี่รถจักรยานไม่มีใครหยิบจักรยานมาขี่ครั้งแรกแล้วขี่ไปได้เลยมันต้องล้มยี่สิบสามสิบครั้งแล้วมันถึงจะได้การขี่รถจักรยานจิตก็เหมือนกันคุณจะต้องล้มยี่สิบสามสิบครั้งมันถึงจะได้แล้วเรื่องมันก็จบกันนี่ใจความย่อๆของการทำสมาธิทำวิปัสสนามันก็มีอยู่อย่างนี้เมื่อได้เค้าเงื่อนแล้วคุณก็ต้องไปทำเองไม่มีใครสอนได้ไม่มีอาจารย์ไหนมาสอนได้ให้มานั่งคุมก็เหอะก็เหมือนกับการขี่รถจักรยานใครมันสอนได้ ไอ้การหกล้มนั่นแหละมันสอนหรือรถจักรยานนั่นแหละมันสอนการกระทำนั่นแหละมันสอนนี่ก็ควรจะเข้าใจมองเห็นเป็นหลักว่าคนนั่นมันสอนไม่ได้มากนักหรอกถึงพระพุทธเจ้าก็เหมือนกันนั่นแหละท่านก็ไม่สามารถจะสอนหรือทำให้ได้เราะนั้นต้องทำเองท่านว่าทำเองทำเองการกระทำมันสอนเองมันก็รู้เองมันก็สำเร็จประโยชน์เองหรือให้การกระทำที่พลาดที่ผิดนั้นสอนสอนเรื่อยไปจนได้หรือทำถูกสำหรับล้มยี่สิบครั้งสามสิบครั้งร้อยครั้งมันก็เอาเพราะว่าได้แล้วมันมีผลดีมากเหลือเกิน

http://www.vcharkarn.com/varticle/32855

. . . . . . .