ทุกข์และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ทุกข์และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ทุกข์
จะให้พูดเรื่องอะไรเป็นเรื่องแรก ถ้าเรื่องศีล ป่วยการไม่ใช่ตัวปัญหา การศึกษาพุทธศาสนาจะต้องพูดเรื่องทุกข์เป็นคำแรก เพราะปัญหามันอยู่ที่นั้น คำนวณใคร่ครวญ ดูสังเกตดูปัญหาทั้งหมดทั้งสิ้นทั้งโลก ปัญหามันอยู่ที่ปัญหานั้นแหละ และปัญหาก็คือความทุกข์ ที่เราทนไม่ได้ ถ้าเราทนได้ก็ไม่เป็นปัญหา

เดี๋ยวนี้สิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องจัดการนั้นคือปัญหา ถ้าเราไม่มีความทุกข์ก็ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องขนฝายเกี่ยวกับธรรมะหรือศาสนานี้เลย เรื่องทางโลกก็เหมือนกัน ถ้ามันไม่เกี่ยวกับปัญหาความทุกข์มันก็ไม่ต้องทำอะไร เดี๋ยวนี้มันก็ไม่มีจะกิน ไม่มีจะใช้มันจะตายเป็นต้น เป็นปัญหาและก็ต้องจัดการกับปัญหาแบบโลก ๆ ไม่มีกินไม่มีใช้ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องสูงขึ้นไปปัญหาก็คือว่าไม่ต้องเป็นทุกข์ แม้ว่าจะมีกินมีใช้หมดทุกข์ไปในส่วนหนึ่ง แล้วยังมีอีกส่วนหนึ่ง ที่มันยังเป็นความทุกข์ ทางจิตใจนี้ก็เป็นปัญหาที่ ๒ ปัญหาที่ ๑ คือจะทำอย่างไรให้มีกินมีใช้ ให้รอดตายนี้เราไม่พูดกันหรอก
ทางวัดวาทางศาสนา นั้นไม่ต้องพูดว่าจะมีอะไรกินอะไรใช้ไม่ต้องพูด พูดแต่ปัญหาที่ 2 มีกินมีใช้แล้วมีความทุกข์อะไรบ้าง ที่นี้มันก็จะไปถึงเรื่องที่จะดับทุกข์ ไปถึงเรื่องที่จะดับทุกข์ มันก็คือไปธรรมะปฏิบัติต่าง ๆ ตั้งแต่ศีลขึ้นไป สมาธิขึ้นไป ปัญหาขึ้นไป บุคคลที่เกี่ยวข้องคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เดี๋ยวนี้เราชอบพูดกันในเรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กันในเรื่องแรก ที่จริงจะต้องพูดเรื่องศีลสมาธิปัญญาก่อน เพราะมันดับทุกข์โดยตรง พูดเรื่องทุกข์และสิ่งที่จะดับทุกข์ และจะพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน นี้ก็ควรจะรู้ไว้ว่าเราทำแต่เป็นพิธี เป็นประเพณีเป็นพิธี เรื่องแรกสิ่งแรกที่จะพูดถึงก็คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ถ้าเป็นพระพุทธกาลนั้นก็ไม่มีโอกาสพูดเรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก่อนเรื่องอื่น ถ้าจะพูดเรื่องปัญหามีปัญหามาเฝ้าพระพุทธเจ้าจะถามปัญหา และก็ชี้แจ้งปัญหาต่าง ๆ จนเข้าใจจนเข้าใจทั่วถึงจนพอใจแล้วคนนั้นก็จะประกาศมาว่าขอนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาทีหลัง ถ้าบางคนได้ฟังธรรมะเต็มที่สุดได้เป็นพระอรหันต์ เหตุที่ตรงนั้น วันนี้ก็เลยไม่ได้พูดเรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ฟังคำนี้ เรื่องอะไรก่อนเรื่องอะไรหลัง นั้นไม่สำคัญ แต่ที่นี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันเองว่าเราพูดแต่เรื่องทุกข์เรื่องดับทุกข์ แต่ก่อนก็ดีเดี๋ยวนี้ก็ดีที่จะพูดต่อไปนี้ก็ดี เราพูดแต่เรื่องทุกข์ กับความดับไม่เหลือทุกข์ นั้นจึงต้องพูดเรื่องทุกข์กันให้เป็นที่แน่นอน พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นที่รู้กันว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องดับทุกข์ พระธรรมคือคำสอนเรื่องดับทุกข์ พระสงฆ์คือผู้ปฏิบัติ และดับทุกข์ เป็นเรื่องที่ประกาศทีหลัง ก็ขอนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่วันนี้เป็นต้นไปและตลอดชีวิต ที่นี้จะมาดูที่ว่าจะดับทุกข์นั้น ธรรมะที่จะดับทุกข์ก็จากไว้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา แต่คำนี้ไม่เคยจะใช้ เพราะว่าอะไรจะเป็นเรื่องดับทุกข์นั้นคำแรกที่พระองค์ จะตรัสก็คือ อทัณกีกะมรรค คือดับทุกข์ มรรคมีองค์ 8 ก็มีศีลร่วมอยู่ในนั้นด้วย ส่วนหนึ่งดับทุกข์และถ้าไม่ตรัสคำว่า อทัณกีกะมรรค ก็มีคำอื่นตรัสแทนกัน สมถะวิปัสสนา คือเครื่องดับทุกข์ ไม่เอยถึงศีลเลย เพราะศีลมันร่วมอยู่ในสมถะนั่นเอง สมถะคือความสงบใจ วิปัสสนาคือการเห็นแจ้ง ของจิตที่มันสงบแล้ว ถ้าพูดอย่างนี้ก็ให้ร่วมศีลอยู่ในสมถะ ถ้าพูดกันอย่างอทัณกีกะก็ขอให้รู้ว่าศีลนั้นร่วมอยู่ในองค์มรรค ทั้งใน 3 พระองค์ ใน 8 องค์ นี้ขอให้เป็นที่ยุติว่า เรื่องที่จะพูดกันเรื่องแรกคำแรกนั้นคือเรื่องทุกข์เรื่องความทุกข์ แล้วจึงพูดเรื่องความดับทุกข์ ที่นี้ความทุกข์มันแบ่งแยกเป็น 2 ตอน ด้วยเหตุที่เกิดทุกข์ตอนหนึ่งด้วย เมื่อพูดถึงความทุกข์ต้องพูดถึงเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ที่นี้มาพูดถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ต้องพูดถึงเหตุนั้นแหละ เหตุที่ทำให้ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้นแหละคืออริยมรรค มีองค์ 8 ความดับทุกข์ คือความไม่มีทุกข์ นี้เขาเรียกว่า ทุกข์นิโรจ

หน้าที่ 2 – ทุกข์สมุทัย
เหตุที่เกิดทุกข์ เรียกว่าทุกข์สมุทัย ถ้าพูดถึงเรื่องดับทุกข์ ต้องร่วมเรื่องเหตุ ที่ทำให้ดับทุกข์ได้ คือ อทัณกีกะมรรคไว้ด้วย ถ้าพูดถึงความทุกข์ก็ต้องพูดถึงเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ไว้ด้วยกิเลสตัณหา ทั้งหลาย คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ไปหาพระพุทธเจ้าล้วนแต่มีปัญหากันทั้งนั้นแหละ จึงไปหา

โดยทั่วไปโดยปกติคนทั่วไปชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าไปหาพระพุทธเจ้า เพราะมีปัญหามีความทุกข์ ไม่รู้จะดับอย่างไร ถ้านอกจากนั้นไปอีกคือ พวกที่ไม่ได้มีปัญหา พวกที่ท้าทายไปลองภูมิพวกปรปักษ์นี้ก็มีเหมือนกัน ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า คือคนที่จะไปถามไปดับทุกข์ของตนโดยเฉพาะ ก็เพราะความทุกข์มันมีหลายรูปแบบ ของแต่ละคนแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกันก็ไปถามโดยตรงของเรื่องความทุกข์ ตามแบบของเขาที่จะดับทุกข์ได้อย่างไร นี้มีจิตผู้ไปเฝ้าไปหา เท่าที่พระองค์ไปหาเอง เช่น ท่องเที่ยวไปเพื่อโปรดสัตว์ ไปหาเองมันก็จะมีการสนทนาปราศรัยให้รู้จักคุ้นเคยแก่กัน และก็พูดถึงสิ่งที่มีประโยชน์ ในที่สุดมันก็จะไปหาถึงเรื่องดับทุกข์อีกนั้นแหละ จนไปหาเรื่องทุกข์ และเรื่องดับทุกข์ มันจริง ๆ ที่พูดแต่เรื่องทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรื่องอื่นไม่ต้องพูด นี้เป็นข้อความเบื้องต้นที่จะกำหนดไว้อีกที่หนึ่งก่อน ที่นี้ก็จะพูดถึงความทุกข์ โดยสรุปความทั้งหมดของพระพุทธศาสนานั้นที่ตรัสไว้เป็นหลักสำคัญที่สุด ความทุกข์เกิดมาจากการยึดมั่นถือมั่นโดยอุปทาน จำคำนี้ไว้ให้ดี สำคัญกว่าที่จะพูดว่าความทุกข์มาจากปัญหาในเรื่องอริยสัจ ก็เชื่อว่าท่านทั้งหลายเคยได้ยินมาแล้ว ว่าปัญหาเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แต่ความหมายที่รวมใจความทั้งหมดไว้ได้ก็จะพูดว่าอุปทาน ก็เพราะว่าปัญหามันทำให้เกิดทุกข์ ไม่ได้ ถ้าไม่ทำ ไม่เกิดอุปทาน ปัญหามันทำให้เกิดอุปทาน อุปทานก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คำพูดที่ใกล้ชิด คำตอบที่ใกล้ชิดมากที่สุดคือทุกข์เกิดจากอุปทาน ซึ่งมาจากตัณหา ถ้าถามว่าตัณหาเกิดมาจากอะไร เริ่มต้นแท้ก็มาจากวิชา ต้องมีวิชาเลยมีตัณหาได้ ความทุกข์มาจากอวิชา ก็ถูกเหมือนกันแต่มันถูกไกล ถ้าตอบความทุกข์เกิดมาจากอุปทานนี้ นั้นมันใกล้ที่สุด มันต่อกันเลย ปัญหามันยังทิ้งระยะอีกระยะหนึ่งของอุปทาน บทสวดมนต์ ทำวัดเช้าเป็นหลัก เป็นหลักที่ยืนยันอยู่ และก็ควรจะจำไว้เป็นหลักแหละ ถ้าจะพูดกันให้มีหลักนั้นก็คือหลักว่า สังขิเตนะ ปัจุปะภานัตเตนุขา โดยสรุปย่อความเป็นความทุกข์เป็นประโยครวบรัด ประโยคแลความว่า การเกิดเป็นทุกข์ การแก่เป็นทุกข์ การตายเป็นทุกข์ ความโทสะเทวะ แต่ละอย่างเป็นทุกข์ เบญจขันเป็นส่วนประกอบของชีวิตเรา เรื่องขัน 5 ควรจะเข้าใจ เข้าใจศึกษาพระพุทธศาสนาก็ควรเข้าใจเรื่องขัน 5 เบญจขันเป็นส่วนประกอบของชีวิตเรา เรื่องขัน 5 ควรจะเข้าใจ เพราะว่าเรื่องไปรวมอยู่ที่นั้นทั้งหมด ยึดถือที่นั้นแหละขัน 5 ต้องเข้าใจเรื่องขัน 5 อย่างแจ่มแจ้ง ที่สุดแล้วจะสะดวก ยึดถือที่นั้นทั้งหมด ยึดถือนั้นก็เป็นทุกข์ ปล่อยวางที่นั้นก็จะดับทุกข์ ที่ว่าความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ นั้นก็เพราะว่ายึดถือ ตัวอุบาลีไม่มีคำว่ายึดถือ แต่โดยแท้จริงแต่โดยธรรมชาติมันมียึดถือว่า การเกิดของฉัน การเกิดไม่เป็นทุกข์ ถ้ายึดถือว่าความแก่ของฉัน ความแก่นั้นก็ไม่เป็นทุกข์ ยึดว่าความตายของฉันก็ไม่เป็นในทุกข์ ที่ไม่ยึดถือว่าของฉันมันก็ไม่เป็นทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดความทุกข์ขึ้นมา ก็เพราะมันยึดถือเอามาว่าเป็นของฉัน พระอรหันต์ก็ยังมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทำไมไม่เป็นทุกข์ ก็เพราะไม่ได้ยึดว่าเป็นของฉัน ส่วนคนทั่วไปจะยึดถือว่าเป็นของฉัน เอาคนทั่วไปเป็นหลักก็พูดได้เลยว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ทุกรายการเป็นทุกข์ เพราะยึดว่าเป็นของฉัน ถ้าไม่เอามาเป็นของฉันความเกิดแก่ เจ็บตาย ก็เป็นของธรรมชาติ ฉันก็จะไม่เป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้มันยึดเอามาเป็นของฉัน มันก็เป็นทุกข์ นั้นให้พูดให้ชัดเจนตรวจสอบอุปทานนั้นแหละเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

หน้าที่ 3 – อุปทาน
ก็เข้าใจ คำว่าอุปทานให้ดีที่สุดอีกคำหนึ่งด้วยว่ามันคืออะไร มันน่าสงสาร ว่ามันคือ ตัวเราตลอดเวลานั้นแหละ อุปทานคือตัวเราตลอดกาล แต่เราก็ไม่รู้จัก และก็ไม่เอามาพูด คนมีอุปทานตลอดเวลา และก็เป็นทุกข์ก็เพราะอุปทาน คนจะรู้จักอย่างไรว่าเป็นอุปทาน อะไรไม่เป็นอุปทาน ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ เรื่องต่ำ ๆ เรื่องง่าย ๆ พอเงินหายก็เป็นทุกข์ ทำไมถึงเป็นทุกข์ ก็เพราะมีอุปทานว่าเป็นเงินของฉัน ถ้าเงินของคนอื่นจะหายสักกี่ล้าน ๆ ฉันก็ไม่เป็นทุกข์ เงินของฉันหายไปบาทเดียวก็เป็นทุกข์

และก็มีอุปทานว่าเงินของฉัน นี้เห็นได้ว่าเรื่องอุปทานเป็นเรื่องชีวิตประจำวันสามัญของทุกคน ถ้าเข้าใจอย่างนี้จะดีมาก รู้จักความทุกข์ได้ดีมาก ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ล้วนแต่จะสร้างอุปทานทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราควรรู้จัก สิ่งที่มีอยู่ทั่วจนตลอดเวลาเลยก็ได้ ก็จะรู้ธรรมะดีขึ้น ความวิตกกังวนความห่วงใย ก็มีอุปทานทั้งนั้น เป็นห่วงใครนี้แหละก็เป็นทุกข์ ก็เพราะความห่วงนั้น แม้ที่สุดว่ามีข้าวของอะไร ไม่อยากให้ใครมาจับต้อง ถ้าใครมาจับต้องก็ไม่สบายใจ นี้ก็เพราะว่ามีอุปทานว่า ของเหล่านี้เป็นของฉัน เป็นที่รักยิ่งของฉัน มันร้อยอย่างพันอย่าง เลยที่มนุษย์มีอุปทาน มากบ้างน้อยบ้าง ใหญ่บ้างทุกครั้งทุกทีก็เป็นทุกข์เพราะหนักใจ คำว่าเป็นทุกข์ เพราะความหมายอย่างนี้ มันหนักอกหนักใจมันทรมานใจ เรื่องต่อหน้าก็มีเยอะแยะแล้วเรื่องลับหลังก็มีอีก สำหรับที่จะเป็นทุกข์ ถ้ามีอุปทาน ตัวเดียวนั้นและก็ทำให้เป็นทุกข์ได้ แต่การที่จะไม่มีอุปทานนั้นได้ ก็ต้องไม่มีตัณหาและก็ไม่มี วิชา และก็ไม่มีอะไรเป็นลำดับ นั้น ขอให้เรียนธรรมะเรียนพระพุทธศาสนา จากเรื่องของตัวและในตัว เมื่อเราไปพูดที่กรุงเทพ ว่ายิ่งเราไปเรียนพระไตรปิฎก ยิ่งไม่รู้พระพุทธศาสนา คุณศึกฤทธิ์เขาว่า แต่เดี๋ยวนี้เราก็ยังยืนยันอยู่ ว่ายังไม่รู้พระพุทธศาสนา มันเรียน ภาษา มันเรียนวรรณคดี มันเรียนในเรื่องบันทึก ถ้าจะรู้ศาสนา จะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนทุกสิ่งที่มีอยู่ด้วยตนเอง ดีเถอะ อะไรก็ได้ที่มันจะทำให้เกิดความยึดถือ ความคิดนึกในจิตใจ เป็นความทุกข์ก็เรียนที่นั้น แหละ เรามีอะไรเป็นวิตกวังวนอยู่ไปเรียนที่นั้นแหละ เรียนทุกเรื่องที่ตัวหรือเนื้อที่ตัว ถ้าเรียนพระไตรปิฎกก็ไปเรียนบันทึกเก่า ๆ ไม่ใช่ของตน ไม่อาจจะเอามาเป็นของตน มันก็ยังไม่รู้พระพุทธศาสนา แต่มันก็ยังเรียนวรรณคดีมาก หรือจะเรียนอื่น ๆ อีกมาก แต่มันยังไม่เป็นตัวพระพุทธศาสนา เพราะไม่ได้เรียนที่ตัวความทุกข์นี้ ช่วยจำประโยคนี้ ถ้าไม่ได้เรียนลงไปในตัวความทุกข์ แล้วมันไม่มีวันที่จะรู้ศาสนา ต่อให้เรียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ไม่รู้พุทธศาสนาหรอก ถ้าไม่ได้เรียนลงไปที่ตัวความทุกข์ เรื่องขัน 5 นั้นแหละคือเรื่องของตนเอง จะต้องเข้าใจชัดเจนยิ่งกว่าอะไร ร่างกายที่ทำหน้าที่ของร่างกายนี้เรียกว่ารูป รูปขัน รูปประขัน ขันคือรูปหรือส่วนรูป ที่นี้ไอ้ความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่รู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ ไอ้ตัวนั้นแหละเรียกว่าเวทนาขัน คือส่วยที่เป็นเวทนา และที่ให้ความหมายว่าอะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น เกี่ยวกับเวทนาก็ได้ ว่าเป็นสุขว่าเป็นทุกข์ ว่าดีว่าไม่ดี ว่าต่ำว่าสูงอะไรก็ตาม นี้แหละสัญญาขัน ที่นี้มีสัญญามีคำมีความหมายขึ้นมาแล้ว มันก็เกิดความคิด เกี่ยวกับเรื่องนั้น ที่จะเดินไปในความคิด ว่าอย่างนี้ ความคิดทั้งหมดนี้เรียกว่า สังขารขัน ส่วนความรู้สึกทางตา จมูก ลิ้น กายใจ ต่อสิ่งภายนอก เขาเรียกว่าสัญญาขัน เบญจขันสำคัญ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่จะเป็นรากฐานของการศึกษาพระพุทธศาสนา รู้เรื่องทุกข์ รู้เรื่องเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ รู้เรื่องอะไรต่าง ๆ ขัน 5 คือส่วนทั้ง 5 ที่มันมีประกอบอยู่ในคนแต่ละคน คนละทีไม่ใช่พร้อมกัน ทั้ง 5 ที่นี้จะพูดให้ รู้จักขันทั้ง 5 ให้มากขึ้น ฟังให้ดี ๆ มันมีความสำคัญ ที่จะรู้จักคือเรามีตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อยู่ที่ในตัว มีตาก็จะเห็นรูป มีหูสำหรับฟังเสียง มีจมูกสำหรับที่จะเกิดขึ้นกับใจ ที่เรียกว่าข้างในมีอยู่ 6 และข้างนอกก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส ที่จะมาจับคู่กับ 6 ข้างในนั้น อยู่ข้างนอกก็ 6 ข้างในก็ 6 เป็นคู่ ๆ กัน

หน้าที่ 4 – อริยะตะนะ
อันนั้นเรียกว่าอริยะตะนะข้างในมี ข้างในมี 6 เรียกว่าอริยะตะนะ แปลว่า สิ่งสำหรับทำการติดต่อหรือควรติดต่อ ในกรณีแรกในคู่แรกเลย มีตาอยู่แล้ว และก็รู้ข้างนอกที่มีตาจะเห็นก็มีอยู่แล้ว พอตากับรูปถึงกันเข้า ก็จะรู้แจ้งทางตา คือวิญญาณทางตา พอตากับรูปถึงกันเข้าก็จะเป็นวิญญาณทางตาเพียงเท่านี้เกิด 2 ขัน แล้วคือ รูปขัน รูปขันก็คือลูกตา ที่เป็นภายใน และรูปธรรมที่เป็นภายนอก ถ้าร่างกายและระบบประสาทของร่างกายทั้งหมดทางร่างกายได้ทำหน้าที่คือการเห็น นี้คือความแปลกของธรรมะ หลักธรรมะตาพึ่งเกิดเพราะเห็นรูป เมื่อไม่มีรูปมากระทบตา อย่างเช่น ตาหลับอยู่หรือสลับอยู่โดยไม่มีความหมาย

เกิดเมื่อตากระทบรูป รูปข้างในคือตา มีทั้งรูปข้างใน และข้างนอก เกิดกระทบกัน คำว่าเกิดหมายถึงการทำหน้าที่ เดี๋ยวจะไม่เข้าใจว่าภาษาธรรมะพูดอะไรบ้า ๆ บอ ๆ เกิด ตา เกิดหู เกิดจมูกนี้ ก็ฟังไม่ถูก ถ้าเอาความหมายธรรมดา ถ้าคนธรรมดาก็รู้ว่าตาหู จมูกมันเกิดได้ตลอดเวลา ทางภาษาธรรมะมันยังไม่ถือว่าเกิดจนกว่ามันจะทำหน้าที่ พอมันทำหน้าที่ ตาทำหน้าที่ หูทำหน้าที่ ตาเข้ากับรูป มันก็ทำหน้าที่แล้วคือตาเกิดรูปข้างในก็เกิด รูปข้างนอกก็เกิด เกิดวิญญาณทางตา เกิด 2 ขัน แล้วเห็นไหม รูปขันนั้นเกิดแล้ว วิญญาณขันก็เกิดแล้ว นับได้กี่อย่าง ตาอย่างหนึ่ง รูปที่มากระทบตานั้นอีกอย่างหนึ่ง วิญญาณขันทางตาอีกอย่างหนึ่ง ร่วมกันเป็น 3 อย่าง เข้าใจให้ดี ตาอย่างหนึ่ง รูปที่ตากระทบตานั้นอย่างหนึ่ง และเกิดวิญญาณทางตาขึ้นมา 3 อย่างนี้ 3 อย่างนี้กำลังทำงานร่วมกันอยู่ คือตาเห็นรูป โดยวิญญาณ 3 อย่างทำงานร่วมกัน ตาดูสิ่งที่อยู่ข้างนอก 3 อย่างนี้มันรวมกันอยู่ นี้ก็เรียกว่า อัตสะ จำให้ดีเลยเป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งปวง เมื่อตาเห็นรูปทั้งปวง แล้วจะเกิดเวทนา คือถูกใจหรือไม่ถูกใจ สวยหรือไม่สวย จะสบายแก่ตา หรือไม่สบายแก่ตา นี้คือเวทนา เวทนาขันเกิดแล้ว ก็เกิดความคิดต่อไป สำคัญมั่นหมายในเวทนานั้น ที่สำคัญว่าสุขว่าทุกข์ ว่าดี ว่าเลว ว่าสูง ว่าต่ำ ว่าในความหมายทุกอย่าง ว่าของผู้หญิง ว่าของผู้ชาย นี้คือสัญญาให้ความหมาย แก่เวทนานั้นมาก่อน ที่แน่นอนที่สุดเมื่อได้เวทนาแล้วมันจะเกิดสัญญากับเวทนานั้น เรียกว่าสัญญาขัน ที่นี้สัญญาขันเกิดให้ความหมายให้คุณค่า ให้อะไรต่าง ๆ แก่สิ่งนั้นแล้วมันก็มีความคิด ว่าจะทำอะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น ถ้าถูกใจก็คิดจะเอา คิดจะยึดครอง คิดจะหาอีก ไม่ถูกใจก็คิดจะหลีก คิดจะทำลาย เป็นความคิดเป็นเรื่อง เป็นราว นี้เรียกว่า สังขาระขัน ครบแล้ว วิญญาณขันเกิดแล้ว ที่นี้สัญญาขัน เวทนาขันก็ครบ ๕ ในกรณีในอีกกรณีหนึ่ง ของให้การสัมผัสที่จะให้ครบ 5 อย่างนี้ ศึกษาจากลำดับของมันให้ดี แล้วภาษาที่เขาแปลมาเป็นภาษานั้น ภาษาอังกฤษนั้นมันก็มี แล้วมันก็จะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น ตาคืออะไร รูปที่คู่กับตาคืออะไร ยกตัวอย่างคู่แรกคือตากับรูป ที่นี้คู่ต่อไปก็เหมือนกันเลย หูกับเสียงก็เหมือนกันอีก หูกับเสียงถึงกันเข้าก็เกิดวิญญาณทางหู 3 อย่างทำงานกันอยู่นี้เรียกว่าสัมผัส ออกมาเป็นเวทนาทางหู เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางหู ก็มีสัญญาในเสียงที่เข้ามาทางหู แล้วก็มีความคิด ต่อไป เกี่ยวกับเสียงที่เข้ามาทางหู ที่นี้กลิ่นที่เข้ามาทางจมูกก็เหมือนกันอีก จนครบทั้ง 6 จำให้เรียนรู้ แม่นยำไว้เป็นหลัก สำหรับไว้รู้ทั้ง 6 เลย ที่นี้ใจความสำคัญของมันก็คือว่า มันมีวิชาเข้ามาเกี่ยวข้อง มันจึงเกิดการยึดมั่นถือมัน มันจะยึดมั่นถือมั่นว่าตาเป็นของตนเป็นสิ่งที่เห็นนี้ คนโง่ก็ว่าตาเป็นของกู เห็นว่ารูปข้างนอกเป็นของกู ตัวกูได้เห็นทางตา ตัวกูได้ยินทางหู คำสอนเก่า ๆ ที่สอนมาผิด ๆ ที่ได้มาจากฝ่ายอื่น สอนว่ามีจิตมีตัวตนออกมาจากทาง ตา ทางหู ทางจมูก ทางปาก อย่างนี้ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ถ้าเป็นพระพุทธศาสนามันพึ่งเกิด ถ้ามันกระทบกันแล้วมันก็พึ่งเกิด มันไม่มีตัวตนอย่างที่พวกนั้นว่า การยึดถือเอากายมาเป็นตัวตนนั้นมันง่าย ตาเห็นรูปทางตา วิญญาณเห็นรูปทางตา จิตที่ทำหน้าที่เวทนา รู้สึกว่าทุกข์ว่าสุข ตัวตนมันอยู่ที่นี้ อีกมีโอกาสที่จะถูกยึดถือว่าเห็นอย่างนี้ก็ได้ อย่ายึดถือว่ารูปเป็นของตน แต่ถ้าความคิดเป็นอย่างอื่น เอาตาเป็นของใจ เอาตาเป็นของตน สิ่งเดียวที่ยึดถือเป็นตัวตนก็ได้ เป็นของตนก็ได้ มีความคิดว่าเป็นตัวตนที่อันอื่น มีเวทนาเป็นของตน เวทนาถูกยึดถือว่าเป็นของตน มันสับเปลี่ยนกันได้ ถ้าเอาตัวตนเป็นชีวิต ชีวิตก็เป็นตัวตน ชีวิตเป็นตัวตนชีวิตก็เป็นตัวตน เมื่อมีเวทนาแล้ว มีสัญญาและก็มี สังขาร ก็จะเกิดความคิดทุกอย่างทุกประการ จนกระทำเป็นกรรมไป จนเกิดความอยาก ความคิดที่เป็นความยาก สังขารที่เป็นความอยาก ที่เรียกว่าสังขารคือความอยาก อยากได้ อยากสุดเหวี่ยง อยากเต็มที่ ตัวตนอนัตตาเป็นอย่างนี้ คือมันไม่มีตัวจริง มันก็ทำให้เป็นทุกข์ เป็นร้อน ที่ทำให้คนต้องฆ่าตัวตายเพราะความดีของตน เพราะมันไม่รู้เรื่องนี้กันเลย ตัณหาคือความอยากอยู่ในสังขารขัน และเกิดต่อไปเป็นอุปทาน เท่านี้ก็จบหัวใจพระพุทธศาสนาเรื่องความทุกข์ ที่นี้เราจะทำอย่างไร ที่จะไม่ทำให้มันเป็นอย่างนั้น คือทำให้มันเกิดความฉลาด มีสติ มีปัญญา เมื่อมีอะไรมากระทบตาเราก็มีสติปัญญาตามธรรมชาติเท่านั้นเอง จะเห็นรูปก็จัดว่ารูป เวทนาก็จัดว่าเป็นเวทนาคือไม่มีตัวตนไม่ใช่ตัวตน เราควรมีสติให้มาก ศึกษาให้มาก จะได้ไม่หลงในเวทนาไม่หลงในสัญญา การที่ทำวิปัสสนา ทำกรรมฐานนั้น ก็เพื่อฝึกสติ มีสติให้เร็ว มีสติให้พอ ควบคุมจิตให้ถูกต้อง นี้คือข้อที่ว่าพระพุทธศาสนาสอนว่าอะไร มีความรู้เท่านี้ ทบทวนมีสติเร็วพอ มีความรูมาทันเวลาที่มีสิ่งมากระทบเท่านี้ชีวิตก็จะดำเนินอยู่ได้เป็นสุข

http://www.vcharkarn.com/varticle/32374

. . . . . . .