ประวัติสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ประวัติสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ชีวประวัติ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นามเดิมว่าโต ได้รับฉายา “พฺรหฺมรํงสี” ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ ในรัชกาลที่ ๑ เวลาพระบิณฑบาต ๐๖.๔๕ น. (ย่ำรุ่ง ๙ บาท ) มารดาชื่อ เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)บวชเป็น สามเณร เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้๑๘ ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทรพระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ บวช เป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ อายุ ๒๑ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่งบวชตลอดรัชกาลที่ ๓ ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นานพอถึง พ.ศ. ๒๓๙๗ ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “สมเด็จพระ พุฒาจารย์” ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง” เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต” ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ ๗๘ ปี อายุ พรรษาได้ ๕๖ พรรษาแล้วมรณภาพสมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จ.ศ. ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ เวลาประมาณ ๒๔.๐๐ น.เศษ บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหมสรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ ๘๕ ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ ๗ ปี เศษ ๖๕ พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํน ที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

อัจฉริยะและภูมิปัญญา

ท่าน สมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ ๕ รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๕ มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพระ ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มีเป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน

ประวัติสมเด็จๆ ท่านไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าพ่อแม่ท่านเป็นใคร ตำราแต่ละเล่มไม่ตรงกัน ผมได้ไปพบกับข้อความหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจและน่าจะเป็นจริงมากที่สุดว่า พ่อของท่านเป็นใคร ลองอ่านและใช้วิจารณญาณดูนะครับ

ผมเคยอ่านชีวประวัติหลวงปู่โตมาหลาย ครั้ง พอจำได้ว่า คุณแม่ของสมเด็จเป็นชาวไร่ชาวสวนอยู่แขวงเมืองกำแพงเพชร ปลูกกระท่อมอยู่หัวไร่ปลายนากับตาผลยายลา ผู้เป็นพ่อแม่ วันหนึ่งมีคนแปลกหน้า แต่งตัวนักรบภูมิฐาน ขี่ม้าผ่านมาที่กระท่อมนั้น ด้วยอากาศร้อนและกระหายน้ำเป็นกำลังจึงแวะที่กระท่อมน้อยขอน้ำดื่ม จึงพบสาวน้อยนามงุด นางจึงเอาขันไปตักน้ำแล้วเด็ดเอาดอกบัวคลี่เกสรโปรยลงในขันน้ำให้ดื่ม เจ้าของม้าจะดื่มเร็วก็ไม่ได้เพราะติดเกสรบัว เมื่อดื่มจนหมดขันแล้วจึงถามสาวน้อยว่า “หนู เราหิวน้ำแทบตายจึงมาขอน้ำดื่ม ทำไมหนูจึงแกล้งเราทำให้ดื่มน้ำลำบาก”

“หนูเห็นท่านเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย และหิวน้ำมาก ถ้าให้ดื่มสะดวกอาจสำลักน้ำก็ได้ จึงเด็ดดอกไม้ใส่เพื่อให้ท่านค่อย ๆ ดื่มจะได้ไม่มีอันตราย ไม่ได้ตั้งใจกลั่นแกล้งท่านหรอกค่ะ”
ชายนิรนามได้ฟังถ้อยคำของสาวน้อย เห็นหน้าตาหมดจด น้ำเสียงสดใส ทั้งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ก็นึกรัก จึงถามว่า พ่อแม่ของหนูอยู่ไหนหรือ” สาวน้อยบอกว่า “อยู่ในไร่จ้ะ” ชาย นิรนามกล่าวว่า “ไปเรียกท่านมาหาเราหน่อยสิ เรามีธุระจะคุยด้วย”
หลังจากตาผลและยายลามาถึงกระท่อมแล้ว นักรบนิรนามก็กราบไหว้ทั้ง ๒ ท่าน ๒ ตายายเห็นแขกแต่งตัวภูมิฐานมากราบไหว้ตนเองก็ตกใจจึงต่างฝ่ายต่างก้มลงกราบ กันดูเป็นเรื่องตลก ฝ่ายแขกจึงบอกว่า “ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องมาก้ม กราบฉันหรอก ฉันมาแวะขอน้ำดื่ม จึงมาพบลูกสาวของท่าน เห็นแล้วก็ชอบใจอยากได้เป็นภรรยา ไม่ทราบคุณพ่อคุณแม่จะขัดข้องหรือไม่ ตัวฉันเองอยู่บางกอก จะไปทัพทางเหนือ วันนี้ด้วยฉุกละหุกนักไม่มีอะไรติดมือมา มีแต่แหวนวงนี้ พอจะใช้เป็นสินสอดทองหมั้นได้ เมื่อกลับจากทัพแล้วจึงจะมาไถ่ถอน “ จึงวัน นั้น เมื่อได้พูดคุยถามไถ่กันจนมั่นใจแล้ว พ่อแม่ก็ถามสาวน้อย เธอก็ไม่ขัดข้อง จึงจัดงานวิวาห์ง่าย ๆ ในกระท่อมน้อยนั้นเอง นักรบนิรนามจึงอยู่พักค้างคืนที่กระท่อมน้อยหลังนั้น ๒-๓ คืน ต่อมาเมื่อมีทหารตามมาพบจึงอำลาตายายและภรรยาสาวน้อยเดินต่อไปภาคเหนือ ก่อนจากไป ท่านได้ฝากรัดประคดไว้เส้นหนึ่ง บอกว่าถ้าฉันมีลูก ขอฝากรัดประคดนี้ไว้ให้ลูกด้วย เผื่อไม่มีโอกาสได้กลับมา เมื่อลูกโตขึ้นไปบางกอกก็ให้เอารัดประคดนี้ให้คนดู ก็จะพบเจ้าของอยู่หรอก
ตั้งแต่วันที่นักรบนิรนามจากไป ก็ไม่หวนกลับมาหาอีกเลย จนนางตั้งครรภ์ ก็ปรึกษาพ่อแม่ว่า ถ้าจะอยู่หัวไร่ปลายนาเช่นนี้ต่อไปลูกเราจะลำบาก น่าจะย้ายไปอยู่ในบ้านในเมือง เผื่อลูกจะได้ศึกษาเล่าเรียนมีอนาคตในภายภาคหน้า

ตายายได้ฟังก็เห็นดีเห็นชอบด้วย จึงนำแหวนวงนั้นไปจำหน่าย ได้ทุนมาก้อนหนึ่งก็ซื้อเรือค้าขายตามแม่น้ำ แล้วพาครอบครัวย้ายมาอยู่พิจิตร จนนางงุดคลอดบุตรชายที่แพแม่น้ำในเมืองพิจิตร
เมื่อคลอดมานั้นเด็กน้อยมีปานติดกลาง หลัง ยายกลัวว่าเด็กมีบุญมาก ถ้าคนเลี้ยงบารมีไม่ถึงเด็กอาจไม่สามารถอยู่ด้วยได้ จึงนำเด็กน้อยไปฝากท่านเจ้าอาวาสที่คนเคารพนับถือ ท่านผูกข้อมือรับเป็นลูกแล้วก็มอบเงินค่านมให้ส่วนหนึ่ง แล้วฝากให้เลี้ยงไว้ ต่อเมื่อโตแล้วจึงจะรับมาอยู่ด้วย และตั้งชื่อว่า”โต”
แม่งุด และตายายก็ฟูมฟักเลี้ยงดูเด็กน้อยจนโตวันโตคืน เป็นที่รักใคร่ของผู้คนรอบข้าง ตั้งแต่มีลูกคนนี้จะทำมาค้าขายอะไรก็ล้วนสะดวกราบรื่นไปทุกอย่าง จึงทำให้แม่งุดมีฐานะดี สามารถซื้อเรือลำใหญ่ทำมาค้าขายต่างเมืองได้
เมื่อลูกน้อยโตพอร่ำเรียนได้ก็นำไป ถวายหลวงพ่อผู้เป็นพ่อบุญธรรม ท่านก็สั่งสอนอักขรวิธี การผสมอักษร จนเด็กน้อยอ่านออกเขียนได้คล่อง เมื่ออายุถึง ๑๒ ปี จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วให้เรียนธรรมวินัย และเรียนบาลีมูลกัจายน์ ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาบาลีสมัยโบราณ สามเณรน้อยก็ร่ำเรียนได้รวดเร็วจนจบ หลวงพ่อหมดภูมิรู้ที่จะสั่งสอนต่อไปได้ จึงเรียกตาผลยายลาและแม่งุด บอกว่าฉันหมดภูมิรู้ที่จะสอนสามเณรแล้ว ต้องไปเรียนในบางกอก เณรจึงจะมีอนาคตสดใส หลวงพ่อจึงเขียนหนังสือฝากฝังให้ฉบับหนึ่ง ให้นำสามเณรไปหาท่านเจ้าคุณวัดบางขุนพรหม ในเมืองบางกอก ตายายและแม่งุดจึงพาสามเณรไปบางกอก นำไปฝากท่านเจ้าคุณอรัญญิก(หลวงพ่อแก้ว) วัดบางลำพูใน (อินทรวิหาร)
ผมอาจจะจำคลาดเคลื่อนบ้างนะครับ อย่าได้ถือเป็นหลัก เพราะมันสับสนระหว่างพิจิตร ชัยนาท และบางกอก เพราะแม้คนที่เกิดก่อนผมตั้งร้อยปีท่านยังเล่าประวัติกันคนละทางเลย
ในประวัติที่ท่านพระมหาเฮง วัดกัลยาณมิตรเขียน บอกว่า “เดิมชื่อโต บุตรนางเกสร บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตาชื่อผล ยายชื่อลา ถือกำเนิดในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๓๑ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาประมาณ ๖.๕๔ น.
เดิมเป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (อำเภอเมืองปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาฝนแล้งติดต่อกันหลายปี การทำนาไม่ได้ผล จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ .อยุธยา
ต่อมา มารดาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ บางขุนพรหม และได้มอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษาอักขรสมัย เมื่ออายุครบ ๑๒ ปีบริบูรณ์ ตรง ปีวอก ๒๓๔๒ ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระบวรวิริยเณร (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังได้ย้ายไปอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก)
สามเณรโตเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะในการ ศึกษาเป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส จนปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พระราชทานเรือกาบกัญญาหลังคากระแซงให้ท่านได้ใช้สอยตามอัธยาศัย
เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ.๒๓๕๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า “พรหม รังสี) และเรียกว่า “มหาโต” ท่านอยู่วัดมหาธาตุตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แค่ผ่านไปร้อยปีกว่านิด ๆ เรื่องมันก็สับสนปนเปกันแล้วนะครับท่านผู้อ่าน แต่อย่าซีเรียสเลย จุดหมายไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ต้องนำมาเปรียบเทียบเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในบางสิ่งบางอย่าง
(โปรดอ่านประวัติของพระคุณท่าน ใน พระอริยสงฆ์)เมื่อสามเณรมาอยู่วัดบางขุนพรหมนั้นอายุราว ๑๘ ปี เมื่อเรียนหนังสือก็เรียนได้เร็ว และมีมารยาทเป็นที่ยอมรับของพระสงฆ์องค์เจ้าและขุนนางที่เข้าวัดตลอด จึงมีขุนนางที่มีชื่อเป็นอาจารย์สอนบางวิชา และเป็นที่รักของขุนนางมาก แต่สิ่งที่ขุนนางเห็นแล้วสะดุดตาเป็นพิเศษคือรัดประคตที่สามเณรใช้ เพราะคนสามัญหรือแม้แต่ขุนนางทั่ว ๆ ไปก็ไม่มีรัดประคดแบบนี้ใช้ จึงถามสามเณรว่ารัดประคดนี้ได้แต่ใดมา สามเณรว่า บิดาท่านมอบให้มารดาไว้ ขุนนางจึงถามว่า บิดาท่านคือใครเล่า สามเณรว่า ผู้เป็นเจ้าของรัดประคดจึงทราบ เพราะเณรเกิดมาก็ไม่เคยเห็นหน้าบิดา มีแต่รัดประคดนี้ไว้ดูต่างหน้า
ขุนนางที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือจึงนึก เอ็นดูเป็นอันมาก จึงปรึกษากันแล้วนำสามเณรโตไปเฝ้าเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งอาจดำรงตำแหน่งเจ้ากรมวังหน้าแล้ว (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคต ๒๓๔๖ พระเจ้าอยู่หัวจึงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรขึ้นเป็นเจ้ากรมวัง หน้า แต่ประทับอยู่วังเดิมของพระเจ้าตากสิน ติดวัดอรุณราชวาราม เพราะวังหน้าถูกท่านกรมพระราชวังบวรเดิมกล่าวคำสาปแช่งไว้ว่า “ของโต ๆ ดี ๆ กูสร้างไว้ ใครมิได้ลงทุนทรัพย์และแรงงาน มีแต่พวกข้าเจ้าบ่าวนายของกูช่วยกันลงแรงสร้างขึ้นมา มันผู้ใดมิได้เป็นลูกเป็นหลานของกูถ้ามาอยู่ให้เทพยดาผีสางทั้งหลายอย่าให้ อยู่อย่างปกติสุขเถิด” พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ จึงไม่ยอมให้ใครไปอยู่ รับสั่งว่า ของของเขา เขารักแต่ลูกแต่หลานของเขา เขาสาปแช่งไว้เสียนักหนามิให้ใครอื่นอยู่ อย่าไปอยู่บ้านเขาเลย เมื่อพ่อจากไปแล้วก็ให้มาอยู่วังหลวงเสียทีเดียวเถิด”
เมื่อเจ้าฟ้าได้ทอดพระเนตรเห็นสามเณร แต่แรกก็นึกรักเอ็นดู จึงถามว่า สามเณรเป็นบุตรของใคร สามเณรตอบว่า มารดาชื่องุด แต่บิดาไม่ทราบชื่อ แต่เป็นเจ้าของรัดประคดเส้นนี้ ท่านมอบไว้ตั้งแต่อาตมายังไม่เกิด” เจ้าฟ้าได้สดับดังนั้นก็ยิ่งนึกเอ็นดูเป็นอย่าง มาก จึงรับเป็นโยมอุปัฏฐากตั้งแต่นั้น และรับสั่งให้ย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุ ให้เป็นอันเตวาสิกของพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) ขณะเดียวกันก็มอบเรือกาบกัญญาไว้ให้ลำหนึ่ง เพื่อเณรจะได้พายเรือบิณฑบาตและไปนั่นมานี่ตามอัธยาศัย
ด้วยเหตุนี้เองคนสมัยหลังจึงเชื่อกัน ว่าท่านเป็นพระโอรสของเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๒ (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) บางคนว่าเป็นพระโอรสของรัชกาลที่ ๑ คราวไปปราบศึกพม่าแถวกำแพงเพชร ตัวผมเองก็สงสัย จึงได้ค้นคว้าเรื่องนี้
สิ่งที่ต้องค้นหาหลักฐานคือ เมื่อสมเด็จทรงมีประสูติกาล ๑๗ เมษายน ๒๔๓๑ ตรงกับปีวอก ต้องหาว่ามีใครได้ไปทางกำแพงเพชรราวปีมะแม ๒๓๓๐ บ้าง
สงครามไทยรบพม่า และอะแซหวุ่นกี้ขอสงบศึก ๑ วันเพื่อขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี ที่เมืองกำแพงเพชร ตรงกับปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๑๗ เมื่อไทยเผด็จศึกปีนั้น ก็พากันกลับบ้านกลับเมืองเพื่อพัฒนากองทัพ ต่อมาก็รบติดพันกับลาวและเขมร ไม่มีใครได้ขึ้นไปทางเหนืออีกเลย
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ปีมะแม สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จขึ้นไปเชียงใหม่เพื่อตั้งเมืองเชียงใหม่ หลังจากร้างเพราะสงครามมาหลายปี ขากลับจึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงห์ลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพ ฯ ตรงนี้ต่างหากที่น่าคิด
ส่วนเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรไม่มี โอกาสขึ้นไปเหนือเลย พระองค์มีโอกาสติดตามทัพเพื่อรบพม่าครั้งแรกเมื่อสงครามเก้าทัพ โดยติดตามสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทไปทุ่งลาดหญ้า เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ หลังตั้งกรุงแล้ว ๓ ปี จึงเป็นไปไม่ได้ท่านจะเป็นพระบิดาของสมเด็จ จึงเห็นได้ชัดว่าผู้ที่จะเป็นพระบิดาของสมเด็จ(โต)ได้คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหาท พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๑ คุณตาประถม อาจสาคร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระสมเด็จวังหน้า ก็ฟันธงเช่นเดียวกัน ว่า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทคือพระบิดาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
จึงมีคำถามว่า “ทำไมพวก ขุนทางจึงไม่พาสามเณรโตไปเฝ้าเจ้ากรมวังหน้า ตอบว่า ตอนนั้นเจ้ากรมวังหน้าคงสวรรคตแล้ว หรือถ้ายังไม่สวรรคต พระองค์ก็มีสุขภาพจิตไม่ปกติ เพราะทรงขัดเคืองพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ตลอดเวลา แม้คนรับใช้ใกล้ชิดก็เข้าหน้าไม่ติด เพราะสุขภาพส่วนตัวทรุดลงมาก จึงทำให้สุขภาพจิตเสื่อมลงด้วย วันดีคืนดีก็จะปลงพระชนม์พระองค์เอง คนดูแลใกล้ชิดจึงลำบากมาก ในที่สุดพระองค์สวรรคตด้วยพระโรคนิ่วในไต เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๖ ก่อนสวรรคตได้กล่าวคำสาปแช่งไว้ “ใครไม่ใช่ลูกหลานกูอยู่ใน วังหน้าไม่ได้” จนทำให้วังหน้าร้างผู้คนไประยะหนึ่ง
จนถึงรัชกาลที่ ๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอของรัชกาลที่ ๓ ได้เสด็จไปประทับอยู่เพราะถือว่าได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงดาราวดี ซึ่งเป็นพระธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คงไม่ต้องคำสาป แต่พระองค์ก็มีชีวิตครองวังหน้าได้เพียง ๘ ปีก็เสด็จสวรรคตด้วยโรคมานน้ำ วังหน้าจึงร้างมาอีกถึง ๑๘ ปี จนถึงพระปิ่นเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ารับสั่งให้ไปประทับอยู่วังหน้าซึ่งรกร้าง เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันเกี่ยว พระองค์ทรงบ่นว่า “อยู่ดี ๆ ก็ให้มาเป็นสมภารวัดร้าง”
เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมี พระอาการทางจิตแปรปรวน จึงไม่มีใครที่จะกล้าเสนออะไรให้พระองค์รับทราบได้ แต่สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ ทรงมีพระอัธยาศัยพระทัยงดงาม ทรงมีเมตตาปราณีต่อผู้คนทุกหมู่เหล่าเสมอกัน แม้อาลักษณ์ขี้เมาอย่างสุนทรภู่ พระองค์ท่านก็มิได้รังเกียจ ทั้งให้เข้าไปรับใช้ใกล้ชิดเพื่อจะได้รับสั่งถามเวลาแต่งบทโคลงกลอนใดที่ติด ขัด ขุนนางผู้อุปัฏฐากสามเณรจึงพาสามเณรไปเฝ้าฝากตัวให้สมเด็จเจ้าฟ้าทรง อุปถัมภ์ หาใช่ท่านอุปถัมภ์เพราะเป็นพระโอรสไม่
จึงสรุปได้ว่า “พระบิดา ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต คือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ซึ่งเป็นทหารเสือของพระเจ้าตากสิน และมีพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ในรัชกาลที่ ๑ ถ้าจะนับพระยศแล้ว สมเด็จโตต้องเป็นพระองค์เจ้า (แต่เป็นนอกกฎหมาย) สมเด็จเจ้าฟ้าจึงพระราชทานเรือกาบกัญญาให้ใช้ เพาะเรือนี้เป็นพาหนะของเจ้าชั้นพระองค์เจ้าเท่านั้น
สามเณรโตอยู่วัดมหาธาตุกับสมเด็จพระ สังฆราช ก็ตั้งใจเรียนบาลี จนสอบได้เป็นเปรียญตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่ออายุครบอุปสมบทจึงเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (อาจเป็นพระสังฆราชมี หรือพระสังฆราชสุก องค์ใดองค์หนึ่ง)เป็นอุปัชฌาย์ และอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดพระสังฆราช ท่านจึงมีโอกาสศึกษากัมมัฏฐาน เวทมนต์คาถา และการทำพระเครื่อง จากสมเด็จพระสังฆราช

ขอขอบคุณ : http://amulet_th.igetweb.com/

. . . . . . .