ประวัติและความเป็นมาของพระพิมพ์สมเด็จกรุวังหน้า และกรุวัดพระแก้ว

ประวัติและความเป็นมาของพระพิมพ์สมเด็จกรุวังหน้า และกรุวัดพระแก้ว

ตามประวัติของหลวงปู่สมเด็จโตนั้นท่านชอบธุดงค์เป็นเนืองนิจ การท่องเที่ยวของพระนั้นก็คือการออกธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ และมักจะเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธบาท พระฉาย และพระแท่นเป็นต้นกับเพื่อจาริกแสวงบุญหาความสงบ และฝึกฝนทดสอบสมรรถภาพวิชาของท่านไปเรื่อย โดยเฉพาะหลวงปู่สมเด็จโตท่านนั้นนับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระกับมีนิสัยชอบสันโดษ ไม่ปรารถนาใคร่แสวงหายศสมาณศักดิ์แต่อย่างใด กับเมื่อในแผ่นดินของรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว (ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗ ) ได้มีพระราชประสงค์แต่งตั้งหลวงพ่อท่านให้มีฐานุกรมสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะเพราะเห็นว่าหลวงพ่อท่านเป็นผู้มีความรอบรู้ และวิชาเชี่ยวชาญทั้งอักษรศาสตร์ และทางวิปัสสนาธุระยิ่งนัก แต่หลวงพ่อท่านได้ทูลขอตัวเสียมิได้ยอมรับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ในครั้งนั้น จึงได้ออกธุดงค์ท่องเที่ยวเพื่อจาริกแสวงบุญตามหัวเมืองต่างๆ และในการไปธุดงค์ของท่านนั้น เมื่อไปพำนักพักยังท้องที่เมืองใด ในแถบนั้นมีพระชนิดใดที่ผู้คนนิยมกันมาก ท่านก็ได้ให้ลูกศิษย์ลูกหาท่านสร้างล้อแบบพระพิมพ์ชนิดนั้นๆ ในแบบฉบับของท่านโดยเป็น เนื้อผง ,เนื้อกระเบื้อง (ดินเผา) ,เนื้อชิน ,เนื้อเงิน ,เนื้อตะกั่วถ่ำชา ตลอดจนพิมพ์บูชาขนาดใหญ่ด้วยเนื้อผงซึ่งบางพิมพ์มียันต์จารึก หรืออักขระขอมประเภทหัวใจพระคาถาต่างๆซึ่งอยู่ด้านหลังขององค์พระพิมพ์ กับทั้งได้สร้างในแบบพิมพ์ของท่าน.ด้วยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของท่านแล้วนำไปแจกจ่ายญาติโยม ส่วนที่เหลือก็บรรจุกรุเพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อไป โดยเพื่อจะได้เป็นทุนเพื่อทำนุบำรุงถาวรวัตถุในวัดนั้นๆ
ในยุคหลังต่อไป ก็ด้วยประการนี้เองจึงมีกรุพระสมเด็จตามวัดนอกกรุงต่างๆซึ่งมีมากมายหลายจังหวัด อย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน เกี่ยวกับการธุดงค์ ของท่านนั้นได้มีการกล่าวไว้ว่าท่านสมารถย่นระยะทางได้และเป็นที่ยอมรับของผู้คนในยุคนั้น หลวงพ่อท่านได้ออกธุดงค์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีระยะยาวนานถึง ๒๗ ปี ก็เนื่องจากในการที่ท่านได้ไปเที่ยวสร้างพระเครื่องของท่านในที่ต่างๆ เหล่านี้เอง จึงเป็นสาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้ ไม่มีผู้ใดทราบผลงานวัตถุมงคลพระเครื่องของท่าน ได้อย่างแท้จริง กับอีกประการหนึ่ง คนในยุคหลังนี้ได้ศึกษาเรื่องราวของท่านแต่ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะที่วัดระฆังเท่านั้นซึ่งเป็นบั้นปลายชีวิตของท่านแล้ว กับทั้งฟังคำบอกเล่าถ่ายทอดกันมาจากผู้ซึ่งไม่เคยรู้ข้อเท็จจริงอะไร หรือรู้เพียงแค่ผลงานของท่านที่วัดระฆังในกรุงเท่านั้น หารู้ไม่ว่าผลงานของท่านส่วนใหญ่ของท่านนั้นอยู่ตามวัดต่างๆในหัวเมืองทั้งสิ้นโดยได้ฝังเป็นกรุพระไว้ตามโบสถ์วิหาร หรือเจดีย์ตลอดจนใต้ฐานพระประธานฯลฯ ซึ่งมีอยู่หลายจังหวัดอาทิเช่น อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ,ชัยนาท ,นครสวรรค์ ,กำแพงเพชร ,เชียงราย และราชบุรี เป็นต้น เมื่อความจริงปรากฏเด่นชัดอย่างนี้แล้วเราจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคิดหรือเลือกว่าเป็นพระพิมพ์สมเด็จที่พบนั้นเป็นวัดใดวัดหนึ่งแต่อย่างใด เพียงระลึกในใจว่าเป็นผลงานของหลวงปู่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี ) ก็เป็นใช้ได้ สร้างรุ่นเดียวกันแล้วได้ย้ายไปบรรจุวัดอื่น จนมีผู้ที่พบภายหลังแล้วบอกว่าเป็นพระพิมพ์ของวัดนั้นวัดนี้ซึ่งมันเป็นเรื่องแค่ปลายเหตุ จำไว้นะครับเรามีพระพิมพ์สมเด็จเพื่อคุ้มครองตนเอง ไม่ได้นำมาโอ้วอวดกันเล่น หรือมีไว้ประดับบารมีอย่างบางท่านนิยมกัน ถ้าจะกล่าวคำว่า “พระสมเด็จ” แล้วก็เป็นอันที่เข้าใจ และรู้กันดีว่าเป็นพระพิมพ์ที่เป็นผลงานของหลวงปู่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี ) ซึ่งท่านได้เป็นผู้ปลุกเสกสำหรับผมแล้วคำว่าพระพิมพ์สมเด็จนั้นอายุต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าพระพิมพ์สมเด็จได้

วัดพระแก้ววังหน้า วัดนี้ดูเหมือนจะถูกลืมไปแล้วเพราะไม่ใคร่จะมีใครสนใจ ผู้ที่รู้จักวัดแห่งนี้เห็นจะมีไม่มากนัก คนทั่วไปคิดว่าวัดที่อยู่ในกรุงเทพฯนั้น เห็นมีแต่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน ( วัดพระแก้ววังหลวง ) เท่านั้น ส่วนวังหน้า และวัดในวังหน้าไม่ใคร่จะมีใครสนใจ เพราะ สภาพของวังหน้าเองก็เกือบจะไม่มีร่องรอยของความเป็นวังเหลืออยู่ มีแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถานที่ราชการ วัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส มีประวัติความเป็นมาและ มีศิลปกรรม ที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ศิลปกรรมปัจจุบันนี้มีอยู่เพียงพระอุโบสถเท่านั้น ซึ่งมิได้ใช้ ประโยชน์ทางศาสนพิธีแต่อย่างใด ส่วนบริเวณวัดหรือรอบๆโบสถ์ ก็มีแต่ตึกของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ถึงแม้พระอุโบสถจะใหญ่โตสูงเด่นอย่างไร ก็ไม่ใคร่จะโดดเด่นให้เป็น จุดสนใจได้เท่าใดนัก

ประวัติความเป็นมาของวังหน้า

ก่อนที่จะกล่าวถึงวัดพระแก้ววังหน้า หรือวัดบวรสถานสุทธาวาส ขอย้อนไปถึงวังหน้าเสียก่อน เพื่อเป็น การปูพื้นฐานไปสู่วัดพระแก้ววังหน้า โดยจะตัดทอนเรียบเรียงจากพระราชนิพนธ์เรื่อง “ตำนานวังหน้า” ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ วังหน้านี้แต่เดิมเรียกกัน อย่างเป็นทางการว่า “พระราชวังบวรสถานมงคล” แต่ชาวบ้านหรือคนทั่วไป มักเรียกกันว่า “วังหน้า” เพราะเป็นวังที่ประทับ ของ พระมหาอุปราชซึ่งเรียกกันว่า “ฝ่ายหน้า” เลยเรียกที่ประทับของพระมหาอุปราชว่า วังฝ่ายหน้าและวังหน้า วังหน้า หรือพระราชวัง บวรสถานมงคล ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เริ่มสร้างขึ้นพร้อมกับพระราชวังหลวง หรือพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีขาล พ.ศ.๒๓๒๕ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือกเอาที่สองแปลง ของ กรุงเทพฯคือแปลงหนึ่งอยู่ระหว่างวัดโพธิ์กับวัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) เป็นที่สร้างวังหลวง ส่วนที่อีกแปลงหนึ่งอยู่เหนือวัดสลักขึ้นไป จนถึงปากคลองคูเมืองด้านเหนือ (บริเวณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป และโรงละครแห่งชาติ) เป็นที่สร้างพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อให้เป็น ที่ประทับของพระอนุชาธิราชคือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นพระมหาอุปราช พระราชวังหน้านี้เมื่อแรกสร้างก็เป็นเพียงเครื่องไม้มุงหลังคาจาก เพื่อให้ทันพิธี ปราบดาภิเษก ต่อมาภายหลังจึงได้ปลูกสร้างอาคารต่างๆเป็นการถาวร โดยเริ่มจากการ สร้างปราสาทกลางสระ เหมือนอย่างพระที่นั่ง บรรยงก์รัตนาสน์ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เกิดเหตุขบภอ้ายบัณฑิตสองคนเสียก่อนเลยไม่ได้สร้าง แต่ต่อมา ก็ได้สร้างพระราช มณเทียรเป็นที่ประทับ สร้างพระวิมานสามหลังเรียงกันตามแบบอย่างของ กรุงศรีอยุธยา ร.ศ.๒๓๓๐ ได้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (หรือพระที่นั่งพุทไธศวรรย์) ขึ้นเพื่อ ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ ฝาผนังเขียนรูปเทพชุมนุม และเรื่องปฐมสมโพธิเป็นพุทธบูชา สถานที่ต่างๆในพระราชวังบวรหรือวังหน้า นอกจาก จะมีพระราชมณเฑียรแล้ว คงมีสิ่งอื่นเช่นเดียวกับวังหลวง คือ โรงช้าง โรงม้า ศาลาลูกขุน คลังเป็นต้น เพราะแต่เดิมนั้นบริเวณวังหน้ากว้างขวางมาก เฉพาะด้านทิศตะวันออกไปจดถนน ราชดำเนิน ด้านเหนือจดคลองคูเมือง ด้านตะวันตกจดแม่น้ำ เจ้าพระยา ด้านใต้จดวัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์กล่าวกันว่าสิ่งก่อสร้างต่างๆในวังหน้าในอดีตทำอย่าง ปราณีตบรรจง เพราะกรมพระราชวังบวรฯตั้งพระราชหฤทัยว่าถ้าได้ครอบครองราชสมบัติ จะประทับอยู่ที่วังหน้าตามแบบพระเจ้าบรมโกศไม่ไปประทับวังหลวง อย่างไรก็ตามสิ่งก่อสร้างที่สร้างในครั้งรัชกาลที่ ๑ หรือ สมัยกรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาทนั้น สร้างด้วยไม้จึงหักพังและรื้อถอนสร้างใหม่เสียเป็นส่วนมาก จนไม่ เห็นเค้าโครงในปัจจุบัน นอกจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์หรือพระที่นั่งพุทไธศวรรย์เท่านั้น ที่ยังคงฝีมือสมัยรัชกาลที่ ๑ อยู่จนทุกวันนี้ เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดฯให้สถาปนา สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบัณฑูรย์น้อยเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เป็น พระมหา อุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปประทับที่วังหน้า หลังจากวังหน้าว่างอยู่ ๗ ปี นับแต่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาทสวรรคต เมื่อกรมพระราชวัง บวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จไปประทับวังหน้า ก็มิได้สร้างอะไรเพิ่มเติมมากนัก เพียงแต่ แก้ไขซ่อมแซมของเก่าบางอย่าง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัดพระแก้ววังหน้า ในเวลาต่อมา สิ่งหนึ่งคือที่บริเวณวังหน้าชั้นนอกด้านทิศเหนือตรงที่ตั้ง “วัดบวรสถาน สุทธาวาส” หรือ”วัดพระแก้ววังหน้า” นี้ มีวัดเก่าอยู่วัดหนึ่งชื่อวัดหลวงชีแต่คงไม่มีหลวงชีอยู่กุฏิชำรุดทรุดโทรมจึงโปรดฯให้รื้อกุฏิหลวงชีเสียหมดทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย กรมพระราชวังบวร มหาเสนานุรักษ์ดำรงพระยศพระมหาอุปราชอยู่ ๘ ปี ก็เสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ ในวังหน้า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๐ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ วังหน้าว่างมาอีก ๗ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์เป็นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ได้ทรงปรับปรุงซ่อมแซม สิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นใหม่หลายอย่าง ที่สำคัญคือทรงซ่อม พระที่นั่งสุทธาสวรรย์แลัวเปลี่ยนนามเรียก “พระที่นั่งพุทไธศวรรย์” มาจนทุกวันนี้

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ววังหลวง) วัดสำคัญที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕แล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๓๒๗ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป

สมเด็จกรุวังหน้านี้ แรกเริ่มเดิมทีนั้นได้มีการจัดทำวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า ) ที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า” ผู้ริเริ่มในการสร้างคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (กรมท่าในรัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี ( เจ้าคุณกรมท่าในรัชกาลที่ ๕) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระอุตรเถระ ( หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ) หลวงพ่อทัด ( สมเด็จพระพุฒาจารย์ ) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทราราม หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบทั้งย่านฝั่งธนบุรี และวัดต่างๆในระแวกนั้นอีกหลายรูป โดยได้รวบรวมช่างสิบหมู่ที่สุดยอดในทางฝีมือ การช่างอันวิจิตร (ประณีตศิลป์) โดยรูปแบบต่างๆนั้นในฝีมือของช่างแต่ละคนได้ ทำเป็นพิมพ์พุทธปฏิมา ( องค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ) ในรูปแบบปรางค์ต่าง ทั้งพิมพ์พระประจำวัน และอริยาบทของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และอีกมากมายตามจินตนาการของช่างนั้นๆ

โดยพระสมเด็จกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า)และกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)นั้นตามประวัติการสืบค้นนั้นแบ่งการสร้างออกเป็นหลายช่วงระยะเวลาคร่าวๆดังนี้๑.สำหรับในปีพ.ศ.๒๔๐๘ นี้แรกเริ่มเดิมทีก็ไม่ศัทธาเท่าใดนักเกรงว่าจะเป็นเจตนาสร้างความเชื่อถือขึ้น ต่อมาได้วิเคราะห์ทางนามโดยผู้เชี่ยวชาญปรากฎว่าเป็นพระพิมพ์ซึ่งแกะแม่แบบโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวปลุกเสกที่พระราชวังหน้าโดยเจ้าพระคุณสมเด็จฯในการนี้ได้อาราธนาบรมครูโลกอุดรปรมาจารย์แห่งพระราชวังหน้าซึ่งเป็นอทิสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็นถ้าไม่แสดงอภินิหารมาเป็นองค์ประธาน

๒.ในปี ๒๔๑๑ นั้นจัดว่าเป็นพระพิมพ์ไม่เป็นทางการ บางส่วนที่ปะปนอยู่มีการจารึกปี พ.ศ. ที่สร้าง เช่น พ.ศ.๒๔๐๘ ย่อมเป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ พ.ศ ๒๔๑๑ เป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เพราะแม่แบบที่เตรียมไว้ แต่สร้างพระพิมพ์ไม่ทันพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรค์คต ในปีพ.ศ.๒๔๑๑ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเสวยราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ซึ่งเป็นปีเดียวกันนี้เองไม่มีประวัติว่าสร้างพระพิมพ์ปัญจสิริแจก

พระวังหน้าโดยแรกเริ่มมีการจัดสร้างจากพระบัณฑูรย์ของ(ท่านเป็นพระราชโอรสองค์ต้นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า)โดยเริ่มมีการสร้างและออกแบบขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ รวมทั้งแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในคราวนั้นได้มอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และประชาชนโดยทั่วไปไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการบรรจุกรุที่ใด เจ้าพระคุณสมเด็จฯพุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษกโดยอทิสสมานกายภายในวัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า)

๓. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๒ – ๒๔๑๕ ( ยังไม่มีการใช้ตราสัญลักษณ์ใดๆ ขณะนั้นยังมีพิธีพุทธาภิเษกพระพิมพ์ที่วังหน้า ) จวบจนเจ้าพระคุณสมเด็จฯได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล จึงได้ร่วมกันสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นและบางพิมพ์ได้ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและช่างสิบหมู่ได้แกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่บางส่วนได้ผสมผสานกับพิมพ์นิยมของวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในคราวนั้นได้มอบถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่เหลือได้บรรจุในสุวรรณเจดีย์ ฐานชุกชีองค์พระประธานและพระพิมพ์อีกส่วนหนึ่งซึ่งได้เก็บไว้เก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า ) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมนั่งปรกด้วย ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า )

๖. ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา ได้ทรงมีพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทางพระราชวังหลวงได้จัดสร้างพระพิมพ์ขึ้นที่เป็นพระพิมพ์บุทองใบใหญ่ก็มี ที่ประดับอัญมณีก็มีด้านหลังจะปรากฏพระสาทิสลักษณ์พระมัสสุ (หนวด) งามจงเข้าใจเถิดว่า ปีพ.ศ. ก็ยืนยันแล้วว่าทรงมีพระชนมมายุ ซึ่งได้บ่งบอกว่าพิมพ์พระที่มีลักษณะนั้นว่าไม่ทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ สำหรับเหรียญที่สร้างในครั้งนั้นได้มีการสั่งสร้างที่ประเทศอิตาลี และยังมีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมเพื่อแจกเป็นที่ละลึกสำหรับชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกด้วย ได้แก่ชาวจีนย่านสำเพ็งเป็นส่วนใหญ่

๗. ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มีการเสด็จพระราชกุศลโปรดเกล้าให้หล่อพระพุทธชินราชจำลองให้เป็นประธาน ณวัดเบญจมบพิตร และได้มีการจัดสร้างพระพิมพ์พุทธชินราชขึ้นซึ่งเป็นวรรณะปัญจสิริ และวรรณะอื่นๆเป็นที่ระลึกอีกด้วย

๘. ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงเปิดพระบรมรูปทรงม้าได้มีการจัดสร้างพระพิมพ์พระบรมรูปทรงม้า และพิมพ์อื่นอีกมากมาย โดยแจกเป็นที่ระลึก ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างพระพิมพ์รุ่นสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ ๕

๙. เข้าสู่รัชสมัยในรัชกาลที่ ๖ ได้มีการจัดสร้างพระพิมพ์สืบทอดมาจากพระคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิ เช่นพระพิมพ์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ที่เป็นเนื้ออิฐก็มี เป็นเนื้อปัญจสิริก็มี พระหลวงพ่อเงินวัดบางคลานก็มีล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือช่างหลวงทั้งสิ้นโดยหลวงพ่อเงินสร้างที่กรุงเทพแล้วนำไปแจกที่พิจิตร ไม่ใช่สร้างที่พิจิตรแล้วมาแจกที่กรุงเทพฯ โปรดจงเข้าใจมา ณที่นี้

๑๐. ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยฝ่ายพันธมิตร พระคณาจารย์ต่างๆได้จัดสร้างพระพิมพ์ถวายหลายวัด เช่นวัดจันทร์สโมสร วัดประชาระบือธรรม วัดอินทรวิหาร ส่วนที่เป็นพิมพ์พระนาคปรกมีคำว่า “สุโขวิเวโก” และทางวัดเทพศิรินทราวาส นำมาเป็นแม่แบให้เจ้าคุณนรฯอธิษฐานจิตก็เป็นยุคสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั่นแหละ พระที่เหลือจาการแจกทหารอาสาสมัครในครั้งนี้ได้นำเข้าไปบรรจุในสุวรรณเจดีย์ คือพระเจดีย์ทององค์ใหญ่ปิดเปิดได้ ก็หลอยมีส่วนทะลักออกมาด้วย

จะขอกล่าวให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่าการพุทธาภิเษกพระพุทธรูป หรือพระเครื่องซึ่งเป็นวัตถุมงคลนั้น มงคลที่ถูกบรรจุในวัตถุมงคลเรียกว่า “อิทธิคุณ” อิทธิคุณ คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ ส่วนคำว่าพุทธคุณ คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า ส่วนในเรื่องของแบบพิมพ์นั้น มีมากมายหลายพิมพ์ทั้งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมหรือพิมพ์นิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง และที่แกะแบบพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และฝีมือช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีความวิจิตรบรรจง มีความลงตัวทั้งรูปแบบและรูปทรงสวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยแกะจากไม้มะเกลือ หินลับมีด หินอ่อน ปูน และโลหะ (สันนิษฐานว่ามีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์) สมเด็จวัดพระแก้ว หรือพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าปัญจสิรินี้มีมากมายหลายสิบพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ 3 ชั้น แบบสมเด็จฯ, พิมพ์ ทรงเจดีย์, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์ฐานแซม, พิมพ์ฐานคู่, พิมพ์ปรกโพ, พิมพ์ไชโย, พิมพ์พระพรหมรังสี, พิมพ์พระแก้วมรกต, พิมพ์นาคปรก, พิมพ์สมาธิเรือนแก้วซุ้มรัศมี, พิมพ์ซุ้มกอ ,พิมพ์ชฏาพรม พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร, พิมพ์อกร่องหูยาน, พิมพ์อรหัง, พิมพ์โบราณ เช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ และพิมพ์พิเศษอื่นๆ อีกมากมาย ฯลฯ มีทั้งแตกลายงาและไม่แตกลายงา

ส่วนมวลสารก็คัดสรรจากหลายประเทศ เช่น จีน พม่า และประเทศในแถบยุโรป ถือเป็นสุดยอดแห่งมวลสาร ในด้านการย่อยสลายมวลสารต่างๆนั้นค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยมากกว่ายุคแรกๆ แต่การบดมวลสารนั้นยังใส่ครกตำตามเดิมแต่ก่อนกาล จึงได้มวลสารที่มีความละเอียดสม่ำเสมอ และได้จำนวนมาก ระยะเวลาในการตำนั้น ใช้เวลา 4 ชั่วโมง ส่วนจำนวนการสร้างที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงอันเนื่องด้วยไม่ได้มีการจดบันทึก ไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นการสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลมากกว่าซึ่งประมาณว่าจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นประถม (เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ อันเป็นที่ยึดถือแห่งจำนวนการสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ฯ และเป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธราแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน)

มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมหลักของพระพิมพ์สกุลนี้
๑. ปูนที่เกิดจากการย่อยสลายหินด้วยวิธีการบดจากเขาในเมืองอันฮุย มณฑลเสฉวน ประเทศจีน (ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย)
๒. เศษหินอ่อนนำมาสลายลงในเนื้อพระ หินอ่อนนี้จารึกด้วยคาถาพญาธรรมิกราชอานิสงส์ในทางป้องกันรักษา อหิวาตกโรค จารึกทิ้งไว้ในสระน้ำวัดระฆังฯ วัดหงษ์รัตนารามและวัดอินทร์วิหาร
๓. พระธาตุพระอรหันต์
๔. ผงวิเศษนั้นได้ขอร้องทางวัดระฆัง ระยะเวลา ๑๗ เดือนส่วนใหญ่เป็นพระเณรในวัดเป็นผู้ลงทั้งสิ้นและระดมผงตามวัดต่างๆในเขตกรุงเทพฯ และธนบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียง เช่นผงมูลกัจจายน์ ผงสนธิ ผงวิภัท ผงอาขยาด ซึ่งหาได้ง่ายในสมัยนั้นรวบรวมให้ได้มากที่สุด
๕. ข้าวสุก
๖. ผงทองนพคุณ บางสะพานใหญ่
๗. กล้วยน้ำไทย
๘. น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำผึ้ง
๙. น้ำมันทังส์ ( มีเฉพาะบางกลุ่ม )
๑๐. เกศรดอกไม้ ๑๐๘
๑๑. เปลือกเมล็ดนุ่น
๑๒. น้ำมันงาเสก

ยางรัก

รักนั้นเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่เกิดจากยางในตัวของมัน ไม่ใช่รักที่ใช้ดอก และปลูกตามบ้านทั่วไป จึงมีชื่อเรียกว่า “ต้นรักน้ำเกลี้ยง” คำว่ารักน้ำเกลี้ยงจึงมีความหมายว่า เป็นรักที่ใช้ยางไม่ใช่รักสีแดงอย่างที่เข้าใจกัน การกรีดยางรักนั้นใช้กรรมวิธีกรีดเช่นเดียวกับการกรีดยางพาราเมื่ออายุได้ ๕ ปี จนถึง ๒๕ปี หมดยางและต้องทำการโค่นทิ้ง ยางรักต้นน้ำเกลี้ยงนี้มีลักษณะสีขาว และมีพิษ เมื่อได้ยางจากต้นรักมาได้พอควรแล้วนำมาเคี่ยวโดยผสมใบตองแห้งเผาไฟบดละเอียดจนสุด ยางรักจะเกิดสีดำเรียกว่า “รักสมุก” สำหรับผู้ที่แพ้นั้นจะมีอาการคันเป็นผื่นปวมคล้ายลมพิษ ฉนั้นคนที่แพ้รักนั้นจะไม่สามรถทำในอาชีพนี้ได้ และเมื่อได้รักสีดำแล้วนำไปบรรจุลงปี๊บปิดฝาให้สนิทถ้ากระทบอากาศผิวหน้าชั้นบนของยางรักจะแห้งตัวเร็วจับตัวแข็ง ชั้นบนของยางรักนั้นค่อนข้างที่จะใสและมันยางรักจัดเป็นเกรดต่างๆ เกรดเลวที่สุดสีของยางรักจะออกด้านค่อนข้างมีเขียวกลิ่นไม่หอมแต่เหม็น เรียกกันว่า รักขี้ลิง ส่วนที่ตกตะกอนนั้นจะมีลักษณะค่อนข้างหยาบส่วนใหญ่ใช้ทางรองพื้นหากนำมาทาองค์พระพิมพ์แล้วนั้นสีของรักจะแลไม่เป็นมันและก็อาจจะถูกผู้เชี่ยวชาญนอกตำราตะโกนว่าพระปลอมก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วกล่าวกันว่าเมื่อสมัยโบราณนั้น บานประตูพระอุโบสถได้มีการลงรักถึง ๑๐๐ ครั้งเลยทีเดียว เมื่อลงรักหนาจนยางรัดจับตัวกันสนิทแน่นการกะเทาะของรักจะไม่ปรากฏ ประเทศจีนนั้นได้มีการทำรักสมุก และรักชาด รักชาด คือรักสีแดง โดยการนำยางรักมาเคี่ยวกับชาดจอแส และส่งมาขายยังประเทศไทย ทางเรามีรักสมุกสีดำเป็นพื้อนเดิมอยู่ ก็นำรักแดง หรือรักชาดมาผสมกับรักสมุกตามส่วนที่ต้องการ คือจะเห็นเป็นสีดำอมแดงคล้ายผลลูกว้าสุก สีตากุ้งสีแดงเข้มโดยกะปริมาณสูตรในการผสมผสานตามความชำนาญก็ว่าด้วยประการฉะนี้ หากมีใครถามว่ารักน้ำเกลี้ยงคืออะไร ก็ตอบเค้าไปว่ามันก็คือ ดับเบิ้ลรักซิครับ คือคำซ้อนคำนั่นเองเพียงแต่รียกให้ถูกต้องก็เพียงเท่านั้น

กล่าวกันว่าในสมัยสมเด็จเจ้าคุณกรมท่านั้นได้มีการใช้รักสีน้ำเงินด้วยซึ่งเป็นรักที่พบแถบพม่า และรักสีเหลือง รักสีเขียว ซึ่งเกิดจากการนำรักสีน้ำเงิน มาผสมกับรักสีเหลืองก็มักพบแต่มีเพียงน้อยเต็มที รักที่สั่งจากประเทศจีน เรียกกันว่ารักไอ้มุ่ย ยิ่งเป็นพระพิมพ์ที่แตกลายงาด้วยแล้วนั้น เมื่อยางรักได้แทรกซึมเข้าลงไปบนผิวองค์พระ และใช้แว่นส่องดูก็เจริญตาดีมิใช่น้อย แต่ปัญจุบันนิยมใช้สีน้ำมันแทนการลงรัก ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเริ่มจางหายไปในที่สุด การลงรักที่แย่ที่สุด ได้แก่การลงรักในพระพิมพ์ของสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าสมารถบ่งชี้ได้ว่า มิใช่ฝีมือช่างสิบหมู่แห่งพระราชวังหน้าจะมีอยู่บ้างก็เป็นส่วนน้อย คือมีการลงรักพิสดารเป็นเอกเทศส่วนใหญ่จะเป็นรักชาด และรักสมุกแต่ไม่ผสมเข้ากัน ใช้ลงด้วยชาดสีแดงก่อนแล้วทาทับด้วยรักสมุกเป็นรักสองชั้น คือถือว่ารักชาด หรือรักแดงต้องโฉลกในทางโชคลาภ ส่วนรักสมุกนั้นคุณปู่ประถมท่านก็หมายความไม่ออก สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า มีการลงรักด้านหน้า ด้านหลัง และขอบข้างทั้งสี่ด้านเป็นการลงรักชาดทับด้วยรักดำเป็นส่วนใหญ่ เป็นการลงรักอย่างรวบรัดที่สุด ป้ายเอาพอสังเขปก็มี ส่วนสมเด็จวัดระฆังนั้นไม่มีการลงรักด้านหลังนั่นอาจเป็นเพราะคนละสกุลช่างกันก็เป็นได้

“การลงรักเช่นนี้คงเกี่ยวกับอาถรรพ์ที่ว่า ต่อหน้าก็รัก ลับหลังก็รัก คนข้างเคียงต่างพากันรักเรา นั่นเอง”

หลักการพิจารณาพระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้
๑. ทรงพิมพ์มีทั้งที่เป็นพิมพ์นิยม (พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) วัดไชโยวรวิหาร พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ) และทรงพิมพ์อื่นๆ พิมพ์รูปเหมือนต่างๆ ล้วนมีความหมายสื่อให้ทราบถึงพุทธศิลป์ ความดี ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ศาสนา และความศักดิ์สิทธิ์ พิมพ์คมชัดสมส่วน สวยงาม (ส่วนใหญ่เป็นพิมพ์แบบถอดยกสองชิ้นประกบกัน)

๒. เนื้อขององค์พระทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ละเอียด แห้งแต่หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ไม่ละลายในน้ำ ส้มสายชู และแกร่งคงทน วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นมงคลต่างๆ และโดยรวมเรียกขานกันในนาม “พระพิมพ์ปัญจสิริ”

๓. การพิจารณา รัก ชาด ผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีทั้งลงชาดรักและไม่ลงชาดรัก การลงชาดรักสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ หรือรักสีน้ำเงินจากประเทศพม่า ชาดรักพบว่ามีความเก่ามากให้สังเกตว่าสีของรักเหมือนสีของตากุ้ง น้ำเงินจางๆแต่คล้ำ ส่วนใหญ่จะร่อนและลอกออกไป การลอกจะเป็นหย่อมๆไม่ทั่วทั้งองค์พระ มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ

๔. การพิจารณา “สีสิริมงคล” ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระเป็นสีต่างๆ อันประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง และพระเบญจสิริ อันประกอบด้วย สีขาว เหลือง ดำ เขียว แดง และใสดังแก้วผลึก สีแต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวเอง กล่าวคือมันเป็นเงางาม สีสดใส ไม่ละลายน้ำ น้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่างๆจะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี (ให้พิจารณาจากพระสมเด็จเบญจสิริในองค์พระจะประกอบไปด้วยสีห้าสีเป็นอย่าง น้อยและแต่ละสีถึงแม้จะปะปนกันแต่จะไม่ผสมกรมกลืนกัน มีลักษณะของการเรียงตัวตามธรรมชาติอย่างเป็นเอกเทศ)

๕. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ ( แบบสังคโลก เหมือนชามสังคโลก ) สองการแตกลายงาแบบละเอียด ( เหมือนไข่นกปรอท ) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก

๖. ผงทองนพคุณ จะโรยไว้ทั้งด้านหน้า หลัง ไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่าเป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ และพบได้ในทุกพิมพ์

๗. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว ลักษณะจะเป็นมันวาวแลดูแกร่ง เก่า สัญฐานจะกลมหรือเหลี่ยม ให้สังเกตจะมนไม่มีคม ถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดโดยประมาณ ๕ – ๓ มิลลิเมตร เป็นลักษณะของการผสมลงในเนื้อมวลสาร ถ้าหักองค์พระดูจะเห็นผงแร่รัตนชาติผสมอยู่เนื้อใน

๘. ด้านหลังขององค์พระมีทั้งเรียบ และไม่เรียบ พิจารณาให้ดีจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ และรอยหนอนด้น เปรียบประดุจดั่งธรรมชาติปั้นแต่ง

๙. ลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น

๑๐. พิมพ์พระประธานมีลักษณะถูกต้องตามศิลปะโบราณ กล่าวคือ มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด พิมพ์ที่พบที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพิมพ์พระประธานได้แก่ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ เช่น พิมพ์ประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงปรกโพ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงฐานคู่ พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร (พระเจ้าไกเซอร์) พิมพ์ทรงฐานเส้นด้าย จะมีพุทธลักษณะ ขนาดเท่ากัน และใกล้เคียงกันกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดไชโย (พระพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)

๑๑. การตัดขอบองค์พระ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบว่ามีการตัดขอบข้าง พบเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ลักษณะขอบด้านข้างจะเรียบ สวยงามตามแบบพิมพ์ (พิมพ์ต้นแบบเป็นลักษณะถอดยกเป็นบล็อกสองชิ้นประกบเข้าหากันเป็นส่วนใหญ่)

๑๒. คราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)

๑๓. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จเจ้ากรมท่า” วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม และเข้มคล้ายกับเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหมแต่จะมีความละเอียดกว่า

๑๔. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จกรมท่าและวังหน้า” พ.ศ. ๒๔๑๒ และ พ.ศ.๒๔๒๕ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นสิริมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่า “ ปัญจสิริ ” ดังที่กล่าวมาแล้ว

ซึ่งคำว่า “ เบญจรงค์ ” นั้นใช้เรียกกับถ้วยชาม โดยความหมายที่แท้จริงนั้นคำว่า ปัญจ หรือ เบญจะ หมายถึง ห้าประการ สิริ หมายถึง ศรีหรือความดี รวมความแล้วหมายถึง ความดีห้าประการ นั่นเอง ส่วนลักษณะของเบญจรงค์นั้นทางจีน เรียกว่า “ อูไช่ ” โดยมีหลักการว่าธาตุสำคัญมีอยู่ 5 ธาตุ ด้วยกันคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุทองหรือธาตุไม้ เมื่อนำมารวมกันเข้าถือว่าเป็นสิริมงคลล

การจำแนกวรรณะพระพิมพ์สมเด็จท่านเจ้าคุณกรมท่า

พระพิมพ์สมเด็จวังหน้าที่สร้างขึ้นในสมัยแรกๆและทันเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้นมีอยู่มากมายหลายวรรณด้วยกัน ต่อมาสมัยหลังก็มีการสืบทอดต่อกันมาก็ควรจะแยกได้ตามความเข้าใจและความชำนาญก็ขอที่จะอธิบายพอเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งจะลำดับให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจดีแล้วก็จะเห็นได้ว่าวัตถุวิเศษอันทรงคุณค่ายิ่งนี้มิใช่ “ พระลิเก ” ดังคนถ่อยถวายนามให้แก่ท่านโดยขาดความกตัญญูต่อผู้ที่มีพระคุณที่ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้วนั้นอย่างสิ้นเชิง เป็นผู้ไม่สร้าง แล้วยังกับมาทำลายเสียย่อยยับ ถ้าพูดกันแบบนี้ชาตินี้ก็ไม่ต้องเจอกันอีกเลย

๑.วรรณะสีแดงเข้ม จูชาอั้ง (คือชาดก้อนหรืชาดจอแส) เป็นสีประจำวันอาทิตย์ จัดเป็นธาตุไฟในกระบวนธาตุทั้งห้า คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลมหรือธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุทองของจีน และมีความหมายของคำว่า “ ฮก ” ทรงบารมีเกริกไกร

๒.วรรณสีเหลืองหรดาร เป็นสีประจำวันจันทร์จัดแป็นธาตุดินในกระบวนธาตุทั้งห้า และมีความหมายของคำว่า “ ซิ่ว ” อายุวัฒนยืนนาน

๓.วรรณสีชมพู เป็นสีซึ่งประเทศจีนสั่งตรงจากประเทศยุโรป แล้วส่งมาประเทศไทยเป็นสีประจำวันอังคารไม่มีความหมายในกระบวนการธาตุทั้งห้า แต่อาจใช้เป็นสีของทับทิมส่งเสริมราศีของบุคคลก็อาจเป็นได้

๔.วรรณสีเขียวใบไม้ เป็นสีประจำวันพุธจัดเป็นธาตุไม้ในกระบวนการธาตุทั้งห้า ธาตุไม้ใช้แทนธาตุลมในเรื่องของสีธาตุเพราะลมไม่มีสี

๕.วรรณสีน้ำตาลไหม้ หรือสีช็อคโกเลต เกิดจากผงยาหลากหลาย คือผงยาวาสนา เป็นสีประจำวันพฤหัสบดีไม่มีความหมายในกระบวนการธาตุทั้งห้า แต่พิเศษก็คือเป็นหลังทิพย์ของบรมครูพระเทพโลกอุดรจากการตรวจสอบทางในที่นำมาเสริมก็เพื่อครบสีประจำวัน

๖.วรรณสีฟ้า เป็นสีประจำวันศุกร์ไม่มีความหมายในกระบวนการธาตุทั้งห้า

๗.วรรณสีดำ เป็นสีประจำวันเสาร์จัดเป็นธาตุน้ำในกระบวนการธาตุทั้งห้า ( กัวเซ็ก )

๘.วรรณสีขาวโรยผงทอง และผงขี้เหล็กไหล จัดเป็นธาตุทองในกระบวนการธาตุทั้งห้า และมีความหมายของคำว่า “ ลก ” บริบูรณ์ด้วยบริวาร และโภคทรัพย์ และเป็นเป็นวรรณชนิดเดียวที่จัดเป็นพระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า เป็นพิมพ์นิยมที่วิจิตรบรรจง บางพิมพ์บรรจงแกะโดยฝีมือพระหัตถ์ของ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่แห่งพระราชวังหน้า จะปรากฏ พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระกรรณ น่ารักชัดเจน ประณีตซาบซึ้งตรึงใจ และอนุภาพอันสูงส่งจากพระราชพิธีหลวง

๙.วรรณสีเขียวครีม หรือสีเปลือกแตงโมเป็นสีเขียวเข้ม เป็นสีประจำวันพุธจัดเป็นธาตุสีของธาตุไม้ ในกระบวนการ ธาตุทั้งห้า เช่นเดียวกันกับวรรณที่ ๔

๑๐.วรรณสีเขียวเปลือกแตงโมเป็นสีเขียวเข้ม เป็นสีประจำวันพุธจัดเป็นสีของธาตุไม้ ในกระบวนการธาตุทั้งห้า เช่นเดียวกับวรรณที่สี่

๑๑.วรรณสีน้ำเงินอ่อน แต่ไม่ใช่สีฟ้า

๑๒..วรรณสีฟ้าอมเขียว ( สีน้ำทะเลแลไกล )

๑๓.วรรณสีน้ำเงินเข้ม หรือสีขาบ ( สีกรมท่า )

๑๔.วรรณสีแดงหมากสุก เป็นสีของชาดหรคุณ จีนเรียกว่า “ กัวเซ็ก ” จัดเป็นธาตุไฟ ในกระบวนการธาตุทั้งห้า และมีความหมายของ คำว่า “ ฮก ” บารมีเกริกไกรใช้เป็นสีประจำวันพฤหัสบดีเป็นสีของวันอาทิตย์ และเป็นธาตุเดียวกัน

๑๕.วรรณสีแดงเลือดหมู ( ซิ่งซา ) คุ่กันกับจูซา เป็นสีของสนธยาฟ้าค่ำ

๑๖.วรรณสีเปลือกมังคุด พบน้อยเป็นสีแดงอมม่วง

๑๗.วรรณสีดอกบานเย็น หรือสีบัวโรยเป็นสีอ่อนเล็กน้อย

๑๘.วรรณสีโอโรส ใช้แทนสีชมพู เพราะสีชมพูนั้นพบน้อย

๑๙.วรรณสีเทา เป็นสีสำหรับผสมปั้นกาน้ำชา ทางจีนไม่นิยม สีนี้นิยมปั้นชาสีขาวกังไสลายครามตามใบสั่งของประเทศยุโรป

๒๐.วรรณปัญจสิริ ส่วนมากมักเรียกกันว่า สีเบญจรงค์ หมายถึงเครื่องห้าสี จีนเรียก “ อู่ไช้ ” คำว่า เบญจรงค์ ใช้เรียกกับถ้วยชาม คำว่า ปัญจ หรือเบญจะ หมายถึง ห้าประการ สิริ หมายถึง ศรี หรือความดี และความดีห้าประการ ได้แก่ความวิเศษของธาตุทั้งห้า พระพิมพ์วรรณนี้มิใช่ “พระลิเก ” แต่เป็น ฮก ลก ซิ่ว สุด ยอดความสิริมงคลก็ควรจะถวายนามว่า “ พระปัญจสิริ ”

พระพิมพ์สมเด็จสกุลนี้เป็นของจริง ซึ่งกว้างขวางและพิสดารล้ำลึกมาก นับว่าเป็นโบราณวัตถุและมรดกไทยที่อายุกว่าร้อยปี และพระชุดนี้แทบทุกพิมพ์ส่วนใหญ่จะโรยผงตะไบทองคำการสร้างพระเครื่องในยุคโบราณนั้น ผู้สร้างต้องการสร้างเพื่อสืบศาสนาและเผยแพร่ศาสนาพุทธซึ่งการ สร้างพระนั้นถือว่าเป็นบุญกุศลแก่ผู้สร้างใหญ่หลวงนักยิ่งเจ้าคุณกรมท่าท่าน เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก และรับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างเพื่อ “สืบศาสนาพุทธ” พระอาจารย์ทั่วประเทศและคนไทย ที่รู้ข่าวพากันมาช่วย ทั้งจัดหาวัตถุและกำลังแรงมาช่วยกันมืด ฟ้ามัวดิน ผงตะไบทองนั้นร้านทำทองต่างๆ ในย่านเยาวราช เจริญกรุงสะพานหัน บ้านหม้อ ฯลฯ จะนำผง ตะไบทองนั่งรถเจ๊ก (รถลาก) ใส่กระป๋องใส่ถังมาให้เป็นส่วน ผสมทุกเย็นและโดยเฉพาะท่านเจ้าคุณกรมท่าหรือเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี ท่านได้นำอิฐหินสี ที่ใช้เป็นส่วนผสมทำถ้วย-ชาม “กังไส” บรรทุก ใส่ “เรือสำเภา” มาจากประเทศจีนนำมาเป็นส่วนผสมสร้าง

พระเครื่องชุดสมเด็จปัญจสิริ จึงเป็นพระเครื่องที่สีสันสดใสและเนื้อแกร่งแปลกไปจากพระเครื่อง ทั่วๆ ไปในสมัยรัชกาลที่๕ เมื่อนำมาขัดเช็ดคราบกรุออกจะใสเหมือนใหม่เช่นถ้วยชามกระเบื้องต้องใช้แว่นส่องดูจึงจะเห็นได้ชัดว่าเป็น ของเก่าโบราณ ซึ่งมีทั้งคราบผงตะไบทองคำคราบกรุฝังอยู่ ในผิวเนื้อขององค์พระเห็นเด่นชัดแม่พิมพ์และจำนวนพระพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า มีประมาณ ๑๐๐ กว่าพิมพ์ เป็นพิมพ์ต่างๆ จาก ฝีมือของช่างสิบหมู่ (ช่างหลวง) และช่างราษฏร์อีกนับ สิบๆ ช่วยกันแกะและกดแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้พระเป็นจำนวนมากที่สุดไว้สืบศาสนาต่างฝ่ายต่างรับไปกลุ่มละหนึ่งธรรมขันธ์ (๘๔,๐๐๐องค์) เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงได้พระเป็นจำนวนมากนับเป็นล้านๆองค์ ชีวิตบั้นปลายของเจ้าคุณกรมท่า ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีฯ เมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๒๘ เนื่องจากตรากตรำงานมามากสุขภาพทรุดโทรม ครั้งได้พักผ่อนบำรุงรักษาร่างกายเพียง ไม่นานร่างกายก็แข็งแรงและเนื่องจากท่านเป็นคนอยู่ว่างไม่ได้ร่างกายและสมอง เคยชินกับการทำงานท่านจึงได้ไปมาหาสู่กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งโบราณคดี ท่านมีวัยวุฒิสูงกว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ มีประสบการณ์และรอบรู้เกี่ยวกับเรื่องโบราณคดีไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เกี่ยวกับโบราณสถาน เครื่องกังไส ลายคราม เบญจรงค์ ประกอบ ด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นสกุลเก่าด้วยกัน ได้สนทนาติดต่อกันก่อนอายุ ๖๐ ปี ถึงอายุ ๘๐ ปี นับเป็นเวลายาวนานพอสมควรคล้าย กับเป็นยาอายุวัฒนะหล่อเลี้ยงจิตใจเป็นอย่างดีได้เล่าเรื่องโบราณคดีและ เรื่องราวเหตุการณ์บ้านเมืองให้ชนชั้นหลังได้ทราบ ความ เป็นมาซึ่งท่านมีความจดจำแม่นยำเป็นพิเศษ ในหนังสือเรื่องโบราณคดีของ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้อาศัยความรู้ของเจ้าคุณ กรมท่าส่วนหนึ่ง สมเด็จกรมพระยา-ดำรงฯ ทรงตรัสว่า “ ในขณะที่ท่านเจ้าคุณกรมที่อายุ ๘๐ ปี นั้น ท่านยังความทรงจำแม่นยำฉันได้รับความรู้จากท่านเจ้าคุณหลายอย่าง ” ท่านเจ้าคุณกรมท่าถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๕๐ ศิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี

จากประสบการณ์ที่เก็บสะสมพระพิมพ์สกุลนี้

พระพิมพ์วังหน้า (วัดบวรสถานสุทธาวาส) ส่วนมากที่พบนั้นหลังพระพิมพ์นั้นมักจะ เรียบ ซึ่งบางองค์ก็พบเป็นรอยปาดแบบขั้นบันได ไม่พบตราสัญลักษณ์ใดๆ องค์พระพิมพ์ มีความหนา และส่วนที่องค์พระพิมพ์ที่มีความบางก็มักพบในพระพิมพ์สกุลเจ้าคุณกรมท่า ซึ่งพบมากที่สุดมีทั้ง ลงรัก ,ลงชาด ,ไม่ลงรักก็มี ,โรยผงทองนพคุณ ,ผงเงิน และเศษชิ้นทองเหลืองที่ได้จากการตกแต่งองค์พระก็มีมาก การเรียนรู้ศึกษาสะสมพระพิมพ์สมเด็จวัดพระแก้ว ( วังหน้า และวังหลวง ) พระพิมพ์สกุลนี้ไม่มีสิ่งใดที่ตายตัว คือไม่มีอะไรที่เจาะจง ไม่มีจุดโค๊ตที่แน่นอน ไม่มีพิมพ์ทรงที่แน่นอน
สิ่งที่ผมจัดทำขึ้นมานี้นั้นส่วนตัวผมเองถนัดทางกายภาพ ส่วนกายในก็ยังไหวซึ่งผมคิดว่าคงให้ความรู้ได้ไม่เต็มที่ฉะนั้นก็ไปหาอ่านเพิ่มเติมกันนะครับ เพราะว่าความรู้คือสิ่งที่ดี ส่วนเรื่องรูปที่ลงผมก็เต็มที่เหมือนกันคือบูชามาได้ ก็ถ่ายเภาพเก็บไปเรื่อยๆจนถึงวันนี้พิมพ์ที่สะสมนั้นก็ยังไม่ครบสมดั่งเจตนา โดยการวิเคราะห์ครั้งนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าพระสมเด็จสกุลนี้ซึ่งคนจนๆแบบผมนั้นสามารถบูชาได้ในราคาที่ถูกมาก ซึ่งควรค่าแก่การเก็บรักษา และนำมาซึ่งการบูชา ส่วนอิทธิคุณในองค์พระพิมพ์นั้นท่วมหลังช้างมากมายเหลือคณานับ ชาตินี้มีไว้ซึ่งการบูชาแล้วผมก็ไม่เสียดายชาติกำเนิดแล้วครับ พระพิมพ์วังหลวงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ส่วนมากเท่าที่พบ มีทั้งลงรัก ,ลงชาด ไม่ลงรักไม่ลงชาด ,โรยผงทองนพคุณ ,ผงเงิน และเศษตะไบทองเหลือง ที่ได้จากการแต่งองค์พระก็มีมาก โดยส่วนมาก มักพบตราสัญลักษณ์ประทับอยู่ตรงด้านหลัง ซึ่งตราสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นตราต้องห้าม และใช้ได้เพียงในวังหลวง (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) เพียงเท่านั้นโดยถือว่าเป็นของต้องห้าม บางคราวได้จัดสร้างที่วัดพระแก้วแล้วนำเข้าพุทธาภิเศก ที่วังหน้า (วัดบวรสถานสุทธาวาส) ก็ยังมีเป็นครั้งคราว ผู้ใดกำลังคิดที่จะทำเลียนแบบตราสัญลักษณ์ก็พึงระวังไว้ให้มาก และก็ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของพระพิมพ์ในแบบต่างผมแนะนำไปหาอ่านบทความของคุณปู่ประถม อาจสาคร ที่ท่านได้เขียนและรวบรวมไว้ศึกษาเพิ่มเติมได้ ณ หอสมุดแห่งชาติ หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า วิเตราะห์พระพิมพ์สมเด็จฯ และพระสมเด็จท่านเจ้าคุณกรมท่า ซึ่งมีรายละเอียดย่อยอีกมากมายครับ

พระพิมพ์สมเด็จที่มีการแตกลายงาแบบละเอียด แบบลายไข่นกปรอด หายากพบน้อยซึ่งละเอียดกว่าลายสังคโลกมากนักซึ่งเกิดจาการนำพระพิมพ์ชนิดเนื้อน้ำมันซึ่งมีการแห้งเฉพาะผิวด้านหน้าภายในองค์พระนั้นยังไม่มีการแห้งตัวสนิท โดยนำออกมาผึ่งแดดอ่อนๆอย่าให้สายนักพอเนื้อพระเริ่มรู้สึกตัวความเปียกชื้นในองค์พระจะระเหยออกทีละน้อย เมื่อแสงอาทิตย์แรงกล้ำขึ้นจะเกิดการเร่งส่วนที่เปียกชื้นให้ระเหยตัวจนถึงจุดที่ไม่มีการระเหยตัวอีก ลายงานั้นจะคงที่ไม่มีการแตกกว้างออก และการแตกลายงานี้จะไม่ลึกจนเกินไปพระสมเด็จที่ไม่มีการแตกลายงาแบบสังคโลกเกิดจากเนื้อพระมีความชื้นเมื่อพิมพ์พระเสร็จทิ้งไว้ไม่นานก็นำออกไปผึ่งแสงอาทิตย์ในขณะที่แสงอาทิตย์มีความร้อนสูงกว่าแบบแรกมักจะอยู่ในช่วงสายไปจนเที่ยงโดยแสงอาทิตย์ช่วงนี้จะเร่งความชื้นในเนื้อพระให้ระเหยค่อนข้างรุนแรงจนทำให้ผิวพระนั้นเกิดการแยกตัวเรียกได้ว่า แตกลายงาพระสมเด็จที่ไม่มีการแตกลายงา มักเกิดขึ้นเมื่อบ่ายคล้อย เมื่อยามพระอาทิตย์ตกดินซึ่งเป็นเวลาที่พระอาทิตย์หยุดส่องแล้ว พระพิมพ์ที่ทำเสร็จแล้วจะวางเรียงผึ่งลมถึงตอนเช้าเนื้อพระจะแห้ง แทบจะไม่หลงเหลือความชื้นในองค์พระ ความแห้งตัวของปูนนี้ค่อนข้างเร็วพอสมควร เพียงแต่ยังไม่แห้งสนิท และเมื่อนพระมาตากแดดตอนเช้าจะไม่เกิดการแตกลาและการทำชามสังคโลกที่ไม่แตกลายงานั้นก็เช่นเดียวกันซึ่งล้วนแล้วแต่เทคนิคของช่างแต่ละคนอีกเช่นเดียวกั

พระพิมพ์ปิดทองล่องชาด

ได้กล่าวกันว่าเป็นฝีมือที่ประณีตมาก รัก ชาดแดง ทองคำเปลวสีดอกบวบ หลุดยากนักแล พระพิมพ์ชุดนี้คำนวณจากอายุแล้วอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ซึ่งทันเจ้าประคุณสมเด็จท่านปลุกเสกด้วย โดยกล่าวกันว่า ณ เพดานโบสถ์วัดระฆังซึ่งก็เคยมีผู้พบเห็นครั้งสมเด็จโต สิ้นชีพิตักสัย (ตาย) ครบรอบ 100 ปี แต่ไม่มีใครสนใจเพราะว่าไม่จัดอยู่ในวงจรพุทธพาณิชย์ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์พิเศษมีมาก มีทั้งขนาดพระบูชาไปจนถึงพิมพ์ชิ้นชิ้นฟัก ตามจินตนาการช่างหลวง และช่างวังหลัง แต่ละคน พิมพ์ที่พิเศษนั้นส่วนมากเป็นเหตุการณ์ และเรื่องราวในสมัยนั้นๆ รูปแบบพุทธประวัติ ,รูปนูนต่ำเป็นองค์พระปฏิมา ,รูปนูนต่ำเป็นองค์สมเด็จโตฯลฯ มักพบคราบกรุฝุ่นสีแดงเกาะอยู่ตามซอกลึกขององค์พระโดยประปรายเสมอ (ถ้ายังไม่ผ่านการล้างองค์พระ) ซึ่งปัจจุบันก็ยังพบเจออยู่เสมอซึ่งไม่มากมายนักถ้ำผ่านการชำระล้างองค์พระมาแล้วนั้น มักไม่ปรากฏเศษตะไบทอง แต่เท่าที่พบนั้นมีเศษไม้มงคลชิ้นเล็กๆ ,เกศรดอกไม้ ,เมล็ดนุ่น ซึ่งผสมรวมอยู่ในมวลสาร มีหลายเนื้อ มีทั้งเนื้ออมเหลือง ,เนื้อขาว มักมีการแตกลายแบบลายไข่นกปรอด มีทั้งแบบลายสังคโลก และแบบไม่แตกลาย พระพิมพ์ลงรัก ลงชาด ส่วนมากเป็นพระยุคต้นๆราว พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นต้นมา มีมากพิมพ์เหลือคณานับ ผงทองนพคุณบางสะพานพบมาก มีทุกพิมพ์มีทั้ง พิมพ์วัดระฆัง ,วัดบางขุนพรม และไปจนถึงพิมพ์พิเศษ แต่ที่ไม่โรยผงทองก็มี พิมพ์เหล่านี้แหละครับ ที่เป็นต้นแบบอย่างแท้จริง จนคราวต่อๆไปก็ยังคงพบว่าใช้พิมพ์ซ้ำ และซ้ำไปหลายๆยุคด้วย ยุคแรกส่วนมากไม่พบการประทับตราสัญลักษณ์ เพราะได้มีการจัดสร้างขึ้นที่วังหน้า (วัดบวรสถานสุทธาวาส) พอจะเข้าใจรึยังครับ ว่าพระพิมพ์วังหน้านั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรบอกแล้วว่าง่ายนิดเดียว

พระพิมพ์ปัญจสิริ (พระพิมพ์ที่สีหลายๆสีอยู่ในองค์เดียวกัน )

ซึ่งมีหลายสีด้วยกันโดยแลเห็นเป็นเส้นสายอย่างชัดเจนพิมพ์ทรงเนื้อมวลสารแข็งแกร่งส่วนมากมักพบตะไบทองซึ่งมีมาก ไปจนถึงพบเศษตะไบพระ ( ชิ้นทองเหลืองที่พบมักมีลักษณะชิ้นยาวเล็ก สีออกเหลืองหม่น ) สีสันที่บ่งบอกว่าถึงยุคก่อน พ.ศ ๒๔๑๒ สีสันจะดูซีดไม่สดใส สันนิษฐานได้ว่าสร้างที่วังหน้า (วัดบวรสถานสุทธาวาส) พลิกด้านหลังไม่พบสัญลักษณ์ใดประทับอยู่ ก็มีความเป็นไปได้เช่นเดียวกันจัดว่าสร้างขึ้นที่วังหน้า

สีสันที่บ่งบอกว่าพระพิมพ์ปัญจสิรินี้หลังราว พ.ศ ๒๔๒๘ ไปจนถึงปลายรัชกาลที่ ๕ สีสันดูสดใสสวยงามไม่ซีด สันนิษฐานได้ว่าสร้างที่วัดพระแก้ว (วังหลวง) พลิกด้านหลังพบตราประทับยืนยันได้เลยว่าจัดสร้างที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)โดยมิต้องสงสัย

หมายเหตุ : เมื่อเราพลิกองค์พระพิมพ์มองดูด้านหลัง ในบางองค์นั้นไม่พบตราขององค์ครุฑ ก็มีความเป็นไปได้ว่ามีโอกาสจัดสร้างที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ได้เช่นเดียวกัน ฉนั้นในพระพิมพ์ปัญจสิรินั้น เราจึงควรดูสีสันเป็นหลัก อย่าไปยึดติดบางสิ่งบางอย่างจนเกินไปนัก พระพิมพ์เหล่านี้มีเป็นแสนๆ จะให้ไม่เกิดความผิดพลาดบ้างได้อย่างไร แต่ที่ไม่แปลกเลยนั้นส่วนมากมักพบเศษตะไบทองบนองค์พระพิมพ์ปัญจสิริเสมอส่วนตราสัญลักษณ์ที่พบด้านหลังองค์พระพิมพ์เริ่มด้วยตราสัญลักษณ์ต่างๆ

พระพิมพ์ที่ด้านหลังมีองค์ครุฑประทับด้านหลังองค์พระพิมพ์

นั้นได้เริ่มมีการจัดสร้างขึ้นตั้งแต่ หลังปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ไปจนถึง พ.ศ. ๒๔๒๘ ในช่วงนี้เองได้มีการพุทธาภิเศกที่วังหน้า (วัดบวรสถานสุทธาวาส) ส่วนหลังจาก พ.ศ ๒๔๒๘ เป็นต้นมา นั้น จะสร้างขึ้นที่วังหลวงเพียงอย่างเดียว (ตราครุฑและสัญลักษณืแบบอื่นเริ่มมีมาก ) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ จัดสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งเนื่องในวาระโอกาส พระราชพิธีพุทธาภิเศก (พระราชพิธีฉลองการขึ้นครองราชย์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครบรอบ ๔๐ ปี ) และพระราชพิธีฉลองพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งมีการจัดสร้างเป็นจำนวนมาก ตราสัญลักษณ์ต่างๆจะพบมากเช่นเดียวกัน ในกาลนี้เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าพระพิมพ์แต่ละรุ่นนั้นได้จัดสร้างขึ้นที่ใด เพื่อมิให้ปะปนกันระหว่างวังหน้า กับวังหลวง

ตรวจอิทธิคุณแล้วดีเยี่ยมไม่แพ้พระพิมพ์วังหน้าเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ทุกองค์ทั้งนี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับฤกษ์ยามในการกดพิมพ์และผู้ร่วมปลุกเสกด้วย ส่วนตราสัญลักษณ์ที่ได้กล่าวมานี้จะชัดไม่ชัดก็ขึ้นอยู่กับการผสมของเนื้อมวลสารถ้า ผสมมวลสารเหลวไปตราขององค์ครุฑมักจะไม่คมชัด ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่าได้ตกใจไป สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นนั่นก็คือ อิทธิคุณที่อยู่ในองค์พระพิมพ์ต่างหาก พระพิมพ์ของวังหน้านั้นอิทธิคุณแรงจริง แรงอย่าไรหรือครับ ก็เพราะมีหลวงปู่โลกเทพอุดรท่านได้ร่วมพิธีด้วยซึ่งด้วยญาณอันบริสุทธิ์ของท่าน นี่คือเรื่องจริงพระพิมพ์ในส่วนที่จัดสร้างที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) นั้นก็จัดว่าดีเช่นเดียวกันซึ่งอิทธิคุณนั้นแรงไม่แพ้พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นที่วังหน้า โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้มขลังในยุคสมัยนั้นซึ่งมีมาก เมื่อเทียบกับพระสงฆ์ยุคสมัยนี้แลมีน้อยนัก

ชาด รัก โดยรอบองค์พระพิมพ์

มีทั้งชาดแดงล้วน ,รักสมุกล้วน (ดำ) ,ชาดแดงผสมรักสมุก(สีตำกุ้ง) ,รักพม่า (สีน้ำเงิน)โรยอัญมณี และแบบผนึกบนองค์พระพิมพ์ มีทั้งเศษหยก,มรกต ,แร่ ,เหล็กไหล ,ลูกปัดทาราวดี ,พลอยต่างประเทศและอัญมณีต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อซับพลังจิตแทบทั้งสิ้นมีรูปแบบแตกต่างๆกัน (พระพิมพ์ที่ประดับด้วยเพชรพลอยส่วนมากมีการจัดทำในช่วง พ.ศ ๒๔๕๑ เนื่องในพระราชพิธีฉลองพระบรมรูปทรงม้า) ซึ่งมีพระพิมพ์มากมายเป็นจำนวนมหาศาลรายละเอียดในมุมต่างๆของพระพิมพ์สกุลนี้มีด้วยกันหลายมุมและแต่ละมุมก็แทบจะไม่เหมือนกัน ตาราที่ว่า ตรงนั้นไม่มี ตรงนี้ไม่ใช่ แล้วอะไรล่ะที่บอกว่าใช่ ก็คนทำคนเดียวเมื่อไหร่กันเล่า พระพิมพ์วังหน้าก็คงผิดพิมพ์ ตั้งแต่คนที่สองกดพิมพ์แล้วกระมัง ไม่มีอะไรตายตัวหรอก คนที่จัดทำนั้นก็ล้วนมีแต่จิตใจที่ดีงาม และเพื่อต้องการสืบทอดพระพุทธศาสนา ก็ล้วนแล้วแต่ได้บุญกันทั้งสิ้น ณ ปัจจุบันนี้พวกเราได้มีพระพิมพ์สกุลวังหน้าไว้ชื่นชมก็ถือว่าบุญโขแล้ว คนขายพระ กับคนบูชาพระนั้นมันคนละเรื่องจริงๆ พระพิมพ์สมเด็จวังหน้า และพระพิมพ์สมเด็จวัดพระแก้ว เราจะหามาบูชากันได้ที่ไหน จะบอกว่าท่าพระจันทร์อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าที่ไหนก็มี ตลาดพระสะพานควาย ,ตลาดพระตลาดไชยณรงค์ ฯลฯ ก็ผมไปมาหมดแล้ว ใครบอกมีตลาดพระที่ไหน ก็ไปหาบูชามามากมาย ก็ไม่ได้แพงอะไร แล้วที่บอกว่าท่าพระจันทร์เก๊ทั้งนั้น ผมก็เห็นว่ามีของดีๆก็มาก และไม่เห็นว่าพระพิมพ์ที่ผมไปพบมาว่าจะเก๊ตรงไหน บางพิมพ์ที่ได้มาได้ทันสมเด็จโตปลุกเสกก็ยังมี ไหนไยยังบอกว่าเก๊เล่า คณาจารย์ดีๆปลุกเสกเยี่ยมๆทั้งนั้น(ผมนำไปให้คุณปู่ประถม ตรวจแล้วท่านก็ไม่ได้บอกว่าเก๊ตรงไหน และอิทธิคุณก็ยังแรงดีกว่าพระพิมพ์สมเด็จราคาหลักล้านเสียด้วยซ้ำ) ไม่ได้พูดไปเรื่อยตามที่ปู่กล่าวไว้ว่าของจริงแท้ คนที่มีตำในเท่านั้นถึงจะพิสูจน์ได้ เค้าเรียกว่า “ตรวจดูกันทางนาม” เรื่องกล้องส่องพระสำหรับปู่ประถมแล้วนั้นเก็บเข้ากระเป๋าไปได้เลย ตามตู้พระราคาหลักหมื่น หลักล้านเค้า ไม่นำมาวางกันหรอก พระพิมพ์สกุลนี้ ต้องนี่เลยกองๆแลเห็นแล้วน่าเวทนำ สิ่งที่เคยสูงค่ำกลับอยู่ในสถานที่อย่างนี้หรือ ส่วนมากมักจะมีตำหนิเล็กๆน้อยๆแลไม่สวย จะสวยไปได้อย่างไรเล่าอยู่บนกองนะครับ เช้าเทขาย บ่ายรวบเก็บเป็นอย่างนี้ทุกวัน แล้วจะให้พระพิมพ์ไม่ชำรุดได้อย่างไรนี่เห็นมากับตา ไม่ได้อยู่บนผ้ากำมะหยี่ที่สวยหรูในตู้แบบพระราคาเรือนหมื่นเรือนล้าน ผมได้นำไปให้คุณปู่ประถมตรวจอิทธิคุณ บางองค์อิทธิคุณแรงกว่าองค์อื่นที่เสียด้วยซ้ำ ชอบยึดติดกับความสวยงาม มันก็เป็นช่องว่างที่ให้เค้าหลอกเราได้ เห็นในกระบะพระแล้วก็แวะเข้าไปกันซะหน่อยนะชำรุดหน่อยนั่นแหละของดี เผื่อหลวงพ่อท่านอยากจะอยู่ในที่ ที่ดีกว่านี้

“ นิมนต์หลวงพ่อท่านออกมาจากที่ไม่ควร เพื่อมาบูชากันเถิดเพื่อความเป็นศิริมงคลต่อตัวท่านเอง ”

โดยส่วนตัวแล้วก็แทบจะทุกองค์ครับเท่าที่สะสมมาก็มากพิมพ์ซึ่งก็ไม่ได้ยึดหลักอะไรมากมายนักโดยดูจากพุทธลักษณะซึ่งเป็นศิลปะสมัยต่างๆสำหรับผมแล้วต้องแปลก ถึงจะเข้าตาครับ!!! ต่อจากความสวยงามก็คงจะเป็นอิทธิคุณในองค์พระพิมพ์ครับ เพียงแค่รู้ว่าใครเป็นผู้ปลุกเสกเป็นใช้การได้ ในเมืองไทยนี้มีผู้ตรวจอิทธิคุณพระพิมพ์เป็นนั้นมากมาย ก็ลองไปหาพูดคุยกันดูนะครับส่วนมากเป็นคนดีๆทั้งนั้น หลวงปู่สมเด็จโตที่ผมเคารพรัก ท่านชอบที่จะอยู่กับคนที่เคยเกี่ยวข้องกับท่านมาก่อน และคนเหล่านั้นส่วนมากมักจะเป็นคนดีและอยู่ในศีลในธรรมเสมอ

บทสรุปวิเคราะห์

– ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ได้สร้างพระพิมพ์ เป็นเรื่องของผู้อื่นสร้างให้เสก

– การเสกพระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นการเสกชนิดนั่งปรกในพิธีพุทธาภิเษกทุกครั้งไม่มีการเสกวันละ 3 เวลา

– พระพิมพ์สมด็จมิได้มีส่วนผสมของผงวิเศษทางด้านเมตตาคงกระพัน แคล้วคลาด ล่องหน แปลงกาย ดำผุด ซึ่งค้านกับข้อเท็จจริงจนต้องมาตั้งทฤษีใหม่ว่า พระสมเด็จมีเพียงแต่ เมตตากับแคล้วคลาด

– ปูนที่ใช้สร้างพระพิมพ์สมเด็จ เป็นปูนที่ทำมาจากหิน เรียกว่า “ ปูนเพชร” ขณะที่ยังไม่ทันแห้งตัว ถูกความร้อนของแสงอาทิตย์จะเกิดการแตกลายงา ปูนหอยเป็นซากเดรัจฉานบริสุทธิ์ไม่มีเทพสิง และไม่เกิดการแตกลายงาแบบดินหินที่ใช้ปั้นถ้วยชามสังคโลก กังใส

– ปูนที่ตายแล้วไม่มีการกาะตัว นำมาใช้สร้างพระพิมพ์ไม่ได้ นอกจากคลุกรัก

– ปูนที่แห้งตัวสนิทจะไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี การหดตัวของเนื้อพระจะเป็นแต่ตอนแรก ไม่ใช่ความนานของอายุพระ

– การฉาบหน้าพระพิมพ์สมเด็จทำไม่ได้เป็นอันขาดนอกจากการทำคราบกรุปลอม

– การแตกลายงาขององค์พระมิใช่เกิดจากรัก พระที่ลงรักแล้วไม่เกิดการแตกลายงาก็มีมาก

– เนื้อในพระสมเด้จเมื่อแตกหักออกมาใหม่ๆ จะมีคล้ายสีชอลค์ หรือปูนพลาสเตอร์ ถ้าเนื้อข้างใน กับเนื้อข้างนอกเหมือนกันว่ากันเป็นของปลอม เปรียบดั่งโค่นต้นไม้นึ่งต้นอายุราวร้อยปีภายนอกคร่ำครึ เพียงตัดผ่าครึ่งแล้วแลดูเนื้อใน ตรงข้ามกันสิ้นเชิง

– การแตกลายงาด้านหลังขององค์พระ ไม่ได้หมายความว่าเป็นของปลอมเพียงแต่พบน้อยทั้งนี้เนื่องจากพลิกหลังตาก

– สมเด็จไม่จำเป็นจะต้องมีการแตกลายงาทุกองค์ พระที่ไม่มีการแตกลายงามักแห้งด้วยการผึ่งลมก่อนที่จะนำไปผึ่งแดด

– ที่แลเห็นคล้ายมีคราบแป้งส่วนมากจะเป็นพระที่แก่ปูนนั่นคือ ปฏิกิริยาระหว่างปูนกับน้ำมันทาพิมพ์พระ เนื้อน้ำมันจะไม่พบรอยคราบแป้ง ส่วนที่โรยแป้งในพิมพ์จริงๆก็มีล้างคราบแป้งออกเนื้อพระมักจะชำรุดเสียหายทุกองค์พยายามหลีกเลี่ยงพระพิมพ์ที่มีคราบแป้ง

– พระพิมพ์ซึ่งผ่านการปลุกเสกจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ มิได้มีแต่เฉพาะ ๓วัด คือ วัดระฆังฯ วัดใหม่อมตรส และวัดไชโยวิหาร ( มิใช่วัดเกศไชโยดังที่กล่าวกัน ) พระสมเด็จปลอมส่วนมากมักจะมีเกิดขึ้นเฉพาะ ๓ วัด ที่กล่าวนามนอกนั้นไม่ค่อยมีการปลอมพระเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยม

– พระพิมพ์ที่มิได้มีพระราชาคณะเป็นประธานพิธีในการปลุกเสกไม่ควรเรียกพระสมเด็จ อย่าเห็นเพียงทรงพิมพ์สี่เหลี่ยม เพราะพระสมเด็จมีอยู่หลายรูปแบบ และพระราชาคณะนั้นต้องมีสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จอีกด้วย นอกจากนั้นพระพิมพ์ที่องค์พระประมุขเป็นประธานการสร้างก็เรียกพระสมเด็จได้เพราะพระองค์ท่านเป็นที่สมเด็จโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่นพระพิมพ์สมเด็จจิตรลดาเป็นต้น

– การตัดขอบพระสมเด็จจะต้องตัดจากด้านบนสู่ด้านล่าง และคนตัดขอบก็มิใช่เจ้าประคุณสมเด็จฯ หากการตัดทีการล้นขอบแสดงว่ามีการตัดขอบในขณะที่ผงยังไม่ทันห้งตัว แล้วปาดขึ้นเล็กน้อยจะแลเป็นพระขอบนูน แต่ถ้าตัดในขณะที่ผงแห้งตัวมากจะไม่มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้น และถ้าตัดห่างขอบก็จะกลายเป็นกรอบกระจก พระพิมพ์สมเด็จส่วนใหญ่มักมีกรอบสองชั้น และมักจะตัดตรงระดับรอยกรอบนี้ กล่าวเฉพาะสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จกรุวัดใหม่อมตรส ซึ่งใช้แม่บบหินอ่อน

– ให้พิจารณาสมเด็จโดยธรรมชาติไม่จำเป็นต้องวัดขนาดจุดโค๊ด เมื่อเราศึกษาไปนานๆจะทราบดีว่า การแกะแม่แบบ แต่ละแบบนั้นมีส่วนแตกต่างกันไปบ้างยิ่งเคร่งครัด หรือเล่นตาโน้ตจนเกินไปอาจเกิดการผิดพลาดได้เช่นกัน ในสมเด็จสกุลวังหน้า และวังหลวงนี้ มีผู้สร้างมากมาย แบบพิมพ์ธรรมดา ไปจนถึงแบบพิมพ์พิเศษ จนกล่าวชื่อพิมพ์แทบไม่ได้เพราะบางพิมพ์นั้นได้เหนือจินตนาการทางความคิดเราไปมาก หากเรายึดติดกับชื่อพิมพ์ก็ลำบากใจต่อผู้สร้างมิใช่น้อย เพราะว่าสิ่งที่เราคิดตั้งขึ้นมานั้นย่อมอาจไม่ตรง กับผู้ที่สร้างพระพิมพ์ก็คงเป็นได้ ดังนั้นเราควรสร้างจินตนาการไปตามเรื่องราวของทรงพิมพ์ เพื่อให้สมดั่งเจตนาของผู้สร้างอย่างแท้จริง

– พระสมเด็จปัญจสิริ คือพระสมเด็จ “ฮก ลก ซิ่ว” ซึ่งเป็เอกลักษณ์แห่งธาตุวิเศษทั้งห้าประการ

– พระที่มีราคาแทง พระที่ชนะการประกวด ไม่จำเป็นต้องเป้นของแท้เสมอไป

– พระสมเด็จ และพระทั่วไปไม่มีพุทธคุณ ( พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาธิคุณ ) มีได้เฉพาะ “อิทธิคุณ” เพราะเป็นเพียงอิทธิมงคลวัตถุ
กล่าวกันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านสร้างพระพิมพ์ (ความเป็นจริงแล้วท่านปลุกเสกต่างหากเล่า)ท่านไม่ได้สร้าง แต่คนที่จัดสร้างแท้จริงก็คือ ลูกศิษย์ลูกหาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านต่างหากที่เป็นคนสร้าง และเป็นคนทำขึ้น ถ้ากล่าวว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นผู้ปลุกเสกน่าจะเป็นคำพูดที่ดีกว่าเป็นไหน ฉะนั้นเราจึงควรกล่าวให้ถูกต้อง !!!

หลังจากที่ผมศึกษามานานปี ผมก็ได้ความรู้จากท่านอาจารย์ทั้งหลาย ที่มากด้วยประสบการณ์นี่แหละครับ ได้มาคอยเติมเต็มความรู้ให้กับผม ผมก็เลยเขียนเรื่องนี้ลง BLOGGER สำเร็จรูป ที่มีอยู่ในเวปไซด์ทั่วไป และใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางที่ผมต้องขออนุญาติ coppy บทความของ อ.จารย์หลายๆท่านเพื่อได้มารวบรวมไว้ใน ณ ที่นี้เพียงแห่งเดียว ผมจึงขออภัยไว้ ณที่นี้ด้วย เผื่อผู้ที่อยากทราบข้อมูลนั้น จะได้ศึกษาหากันได้ง่ายขึ้น และ มิได้หวังผลกำไรหรือประโยชน์ส่วนตนแต่อย่างใด เพียงแค่เผยแพร่ความรู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นถ้าอยากจะเข้าไปศึกษาหาความรู้เข้าไม่ยากครับ ง่ายๆครับเพียงเข้าไปใน…อินเตอร์เน็ตแล้ว เข้า google แล้วพิมพ์คำว่า รวมสุดยอดสมเด็จวัดพระแก้ว แล้วท่านก็จะเจอข้อมูล และภาพพิมพ์สมเด็จกรุวังหน้าส่วน รายละเอียดต่างๆนั้น จะเรียงตามเดือนต่าง ลองคลิกเข้าไปดูนะครับ และที่ลงกระทู้ไว้ อีกมากมายหลายหัวข้อนั่นก็เป็นส่วนนึ่งเท่านั้น coppy แล้วเอาไปปริ้นเอาออกมาอ่านครับ เอาไปศึกษากันโดยไม่ต้องเสียตังค์ ผมรู้ว่าเงินทองบางท่านนั้นหาได้ยากนัก สำหรับการที่จะไปซื้อหนังสือซักเล่มในราคาที่สูง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในครั้งนี้ มีคนคลิกเข้าไปชมเป็น ๑0๐, ๐๐๐ กว่าคนแล้วในขณะนี้ ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้ในครั้งนี้ บอกได้เลยว่ามีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่สนใจและมีไว้ในครอบครองเยอะพอสมควร แต่ไม่กล้าเปิดเผยตัวตนออกมา เพราะว่ากลัวจะถูกว่าเป็นพระเก๊ หลังจากเอกสารนี้ได้เผยแพร่ไปแล้ว ต่อจากนี้ไปจะมีคนสนใจกันมากขึ้น รู้มั๊ยครับว่าทำไมเราถึงจะเถียงเค้าได้ พูดออกไปดังๆเลยว่าเค้าเล่น อิทธิคุณ…. กันครับ

ขอให้เก็บรักษาและบูชาให้ดีนะครับ สมเด็จกรุวังหน้าชุดที่ออกมานี้ ถ้ามีในครอบครองแล้วล่ะก็จะช่วยเสริมและป้องกันตัวเราและครอบครัวให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ที่สำคัญต้องมีจิตที่นับถืออย่างจริงด้วย หมั่นการไหว้บูชา และที่ขาดมิได้ท่านก็ไม่ควรลืมผู้มีพระคุณของท่านทุกคนด้วยโดยเฉพาะบิดา และมารดา ของท่านเอง ถ้าเป็นไปได้ทำสมาธิบ้างก็จะดีมาก เมื่อท่านทำตามที่กล่าวมาขั้นต้นแล้วก็ลองสังเกตชีวิตของตัวท่านดูก็แล้วกันนะครับ

พระคาถา ชินบัญชรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ก่อนเจริญภาวนาพระคาถาชินบัญชร ให้ตั้งนะโม 3 จบ

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ

ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตตะวา มะรัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสังเย ปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะตินายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัย อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก
เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสะโปเถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละถา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันนตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลาละกัง
ขันธะโมระ ปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต ชะจะรามิ ชินะปัญชะเรติ

ขอขอบพระคุณ
– คุณปู่ประถม อาจสาคร
– คุณลุงเอกชัย อาจสาคร
– คุณจำลอง มัลลิกะนาวิน
– ขอระลึกถึง อาจารย์ ดีพร้อม ไชยวงค์เกียรติ
– คุณอาทองปุย
– คุณอาโชคชัย
– พ.อ. ดำรง สุดใจทำ
– วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
– เพื่อนสมาชิกรวมสุดยอดสมเด็จวัดพระแก้วทุกคนที่ติดตาม

วิธีการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตาม
พระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน
อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือน
ถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใต้บังคับบทบัญญัติใน
วรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์
ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง
และบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็น
เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความ
เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจ
ตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน
เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุป
โดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียน
ในชั้นเรียน หรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อ
หากำไร

(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบ

ขอบพระคุณที่ติดตาม….โอมวังหลวง

ขอขอบคุณ : http://somdatwatprakeaw.blogspot.com/2008/12/blog-post_09.html

. . . . . . .