ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของ เมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

ประวัติ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี[4]) ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร1 หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) 2 เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลง มาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง3

สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัย นั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

บรรพชาและอุปสมบท

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณร โตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า “พฺรหฺมรํสี” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

จริยาวัตร
ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องใน กิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน

ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโต อยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวน มากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่าง ชัดเจน

สมณศักดิ์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม “พระธรรมกิติ” และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม “พระเทพกวี” หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม “สมเด็จพระพุฒาจารย์” มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า

” สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ” สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่าน ได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า “สมเด็จโต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า “ขรัวโต”

ปัจฉิมวัย

ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี
คำสอน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคม

ปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น

“บุญเราไม่เคยสร้าง…ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า …”

“ลูก เอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว…เมื่อทำบุญทำกุศลได้ บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว…แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ ในภพหน้า…หมั่นสร้างบารมีไว้…แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง…จงจำไว้นะ… เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้… ครั้นเมื่อถึงเวลา… ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่…จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”

พระคาถาชินบัญชร

ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)และตั้งคำอธิษฐานว่า
ปุตฺตกาโม ลเภ ปุตฺตํ ธนกาโม ลเภ ธนํ อตฺถิกาเย กาย ญาย เทวานํ ปิยตํ สุตวา (ภายหลังได้มีผู้นำบทบูชาท้าวเวสสุวรรณมาต่อเติม ซึ่งแต่เดิมมิได้มีอยู่ในบทของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี))
“อิติปิโส ภควา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวณฺโณ มรณํ สุขํ อรหฺ สุคโต นโมพุทฺธาย”

บทสวด คำแปล
๑.ชยาสนาคตา พุทฺธา เชตวามารํสวาหนึ
จตุสจฺจาสภํรสํ เย ปิวึสุ นราสภา พุทธะทั้งหลายทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนา พาหนะ
เสด็จสู่พระที่นั้งแห่งชัยชนะแล้ว พระพุทธะใดเล่า ทรงเป็นผู้ประเสริฐแห่งนรชน ทรงดื่มอมตรสแห่งสัจจะทั้งสี่แล้ว
๒.ตณฺหํกราทโยพุทฺธา อฏฺฐวีสติ นายกา
สพฺเพปติฏฺฐิตามยฺหํ มตฺถเก เต มุนิสฺสรา พระพุทธะทั้งหลาย ๒๘ พระองค์
มีพระตัณหังกรเป็นต้น ทรงเป็นพระนายกผู้นำโลก พระมุเนศวรจอมมุนี ทุกพระองค์นั้น ทรงสถิตประทับบนกระหม่อมแห่งข้าพเจ้า
๓.สีเส ปติฏฺฐิโต มฺยหํ พุทฺโธ ธมฺโม ทวิโลจเน
สงฺโฆ ปติฏฺฐิโตมยฺหํ อุเร สพฺพคุณากโร พระพุทธะทั้งหลาย
ทรงสถิตประทับบนศีรษะ พระธรรม สถิตประทับที่ดวงตาของข้าพเจ้า พระสงฆ์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณทั้งปวง สถิตประทับที่อุระของข้าพเจ้า
๔.หทเย เม อนุรุทฺโธ สารีปุตฺโต จ ทกฺขิเณ
โกณฺฑญฺโญ ปิฏฐิภาคสฺมึ โมคฺคลฺลาโน จ วามเก พระอนุรุทธประทับที่หทัย
พระสารีบุตรประทับที่เบื้องขวา พระโกณฑัญญะประทับที่เบื้องหลัง พระโมคคัลลานะประทับที่เบื้องซ้าย
๕.ทกฺขิเณ สวเน มยฺหํ อาสุํ อานนฺทราหุลา
กสฺสโป จ มหานาโม อุภาสุํ วามโสตะเก
(หรือ ทกฺขิเณ สวเน มยฺหํ อาสุํ อานนฺทราหุโล ในบางฉบับ
เนื่องจาก อาสุํ เป็นพหุพจน์ ดังนั้นคำว่า อานนฺทราหุลา จึงต้องเป็นพหุพจน์ด้วย จึงจะไม่ผิดไวยากณ์ ) พระอานนท์และพระราหุล
ประทับที่หูเบื้องขวาของข้าพเจ้า ประกัสสปะและพระมหานามะ ทั้งสองประทับที่หูเบื้องซ้าย
๖.เกสนฺเต ปิฏฺฐิภาคสฺมึ สุริโยว ปภํกโร
นิสินฺโน สิริสมฺปนฺโน โสภิโต มุนิปุํคโว พระโสภิตผูเป็นมุนีที่แกล้วกล้า
ถึงพร้อมด้วยสิริ เหมือนอย่างดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง ประทับที่สุดผมส่วนเบื้องหลัง
๗.กุมารกสฺสโป เถโร มเหสีจิตฺตวาทโก
โส มยฺหํ วทเนนิจฺจํ ปติฏฺฐาสิคุณากโร พระเถระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ผู้มีวาทะอันวิจิตร ชื่อกุมารกัสสป ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้น ประทับที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์
๘.ปุณฺโณ องฺคุลิมาโล จ อุปาลี นนฺทสีวลี
เถรา ปญฺจ อิเม ชาตา นลาเฏ ติลกา มม พระเถระห้าพระองค์เหล่านี้
คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ พระสีวลี เกิดเหมือนอย่างดิลก (รอยเจิม) ที่หน้าผากของข้าพเจ้า
๙.เสสาสีติ มหาเถรา วิชิตา ชินสาวกา
♦ เอตาสีติ มหาเถรา ชิตวนฺโต ชิโนรสา ชลนฺตา สีลเตเชน องฺคมํเคสุ สณฺฐิตา พระมหาเถระทั้งหลาย ๘๐ ที่เหลือจากนี้
ผู้ชนะ ผู้เป็นสาวกของพระสาวกของพระพุทธะผู้ทรงชนะ ๑ รุ่งเรืองอยู่ด้วยเดชแห่งศีล สถิตอยู่ที่องคาพยพทั้งหลาย
๑๐.รตนํ ปุรโต อาสิ ทกฺขิเณ เมตฺตสุตฺตกํ
ธชคฺคํ ปจฺฉโต อาสิ วาเม องฺคุลิมาลกํ พระรตนสูตรประจุอยู่เบื้องหน้า
พระเมตตสูตรประจุอยู่เบื้องขวา พระธชัคคสูตรประจุอยู่เบื้องหลัง พระอังคุลิมาลสูตรประจุอยู่เบื้องซ้าย
๑๑.ขนฺธโมรปริตตญฺจ อาฏานาฏิยสุตฺตกํ
อากาเสฉทนํ อาสิ เสสา ปาการสณฺฐิตา พระขันธปริตร พระโมรปริตร
และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเหมือนอย่างฟ้าครอบ พระสูตรปริตรทั้งหลายที่เหลือ กำหนดหมายเป็นปราการ
๑๒.ชินาณาวรสํยุตฺตา สัตฺต ปาการลํกตา
วาตปิตฺตาทิสญฺชาตา พาหิรชฺฌตฺตุปทฺทวา
(หรือ ชินานานาวรสํยุตฺตา สัตฺต ปาการลํกตา ในบางฉบับ
เนื่องจาก ชินาณา เกิดจาก ชิน + อาณา โดย อาณา แปลว่า “อำนาจ” และหากพิมพ์เป็น ชินานานา จะไม่สามารถแปลความหมายได้) เมื่อข้าพเจ้าอาศัยอยู่ด้วยกิจทั้ง ๔ อย่าง
ในบัญชรแห่งพระสัมพุทธะ ประกอบด้วยลานเขต แห่งอาณาอำนาจ แห่งพระพุทธะผู้ทรงชนะ ประดับด้วยปราการคือพระธรรมทุกเมื่อ
๑๓.อเสสา วินยํ ยนฺตุ อนนฺตชินเตชสา
วสโต เม สกิจฺเจน สทา สัมฺพุทฺธปัญฺชเร ขออุปัทวะ (เครื่องขัดข้อง)
ทั้งภายนอก ทั้งภายใน ทั้งหลาย ที่เกิดจากลมและน้ำดีเป็นต้น จงถึงความสิ้นไป ไม่มีเหลือ ด้วยเดชแห่งพระชินะผู้ไม่มีที่สุด
๑๔. ♦♦ ชินปญฺชรมชฺฌมฺหิ วิหรนฺตํ มหีตเล
สทา ปาเลนฺตุมํสพฺเพ เต มหาปุริสาสภา ขอพระมหาบุรุษ ผู้เลิศกล้าทั้งหลายทั้งปวงนั้น
โปรดอภิบาลแก่ข้าพเจ้า ผู้สถิตในท่ามกลางแห่งพระชินบัญชร อยู่บนพื้นแผ่นดิน
๑๕. อิจฺเจวมนฺโต สุคุตฺโต สุรกฺโข
ชินานุภาเวน ชิตุปทฺทโว
ธมฺมานุภาเวน ชิตาริสํโค
สงฺฆานุภาเวน ชิตนฺตราโย
สทฺธมฺมานุภาวปาลิโต จรามิ ชินปญฺชเรติ ข้าพเจ้ามีความรักษาดี โดยทำให้ครบถ้วนทุกทางอย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้ ขอจงชนะอุปัทวะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธะผู้ทรงชนะ
ชนะข้าศึกขัดข้อง ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมอภิบาล ประพฤติอยู่ในชินบัญชรเทอญ ฯ

ขอขอบคุณ : http://theacehome.blogspot.com/p/blog-page_7642.html

. . . . . . .