สมเด็จพระพุทฒาจารย์

สมเด็จพระพุทฒาจารย์

ชาวพุทธตัวอย่างที่เป็นพระปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) บทความนี้ควรปรับปรุงภาษาหรือรูปแบบการเขียน เนื่องจากมีเนื้อหาที่แปลไม่สมบูรณ์ (ดูเพิ่ม) สะกดหรือใช้ไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง หรือเขียนด้วยภาษาพูด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ และแก้ไขรูปแบบให้เป็นสารานุกรม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จโต, หลวงปู่โต, สมเด็จวัดระฆัง เกิด 17 เมษายน พ.ศ. 2331 บรรพชา พ.ศ. 2343 อุปสมบท พ.ศ. 2351 มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 พรรษา 64 อายุ 84 วัด วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัด กรุงเทพมหานคร สังกัด มหานิกาย ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่พระราชทินนาม “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4[1] สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี[2]) ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) มารดาของท่านมีนามว่าเกสร หรือเกตุ[3] ชาติภูมิเดิมเป็นคนแถบตำบลท่าอิฐ อำเภอบางโพ 1 ส่วนฝ่ายบิดาไม่ปรากฏนาม แต่มีความเชื่อว่าบิดาของท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรี[4] ท่านบรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2343 และอุปสมบทในปี พ.ศ. 2350
เมื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ได้นามฉายาว่า “พฺรหฺมรํสี”[5] สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “สมเด็จโต” เป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้ทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ของท่าน ที่ถูกจัดเข้าในเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน เนื้อหา [ซ่อน] 1 ชาติภูมิ 2 บรรพชาและอุปสมบท 3 ธุดงควัตรและไม่ปรารถนาสมณศักดิ์ 4 สมณศักดิ์สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ 5 บั้นปลายชีวิต 6 กิตติคุณและคุณลักษณะพิเศษบางอย่างเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี 7 ผลงานคำสอน 8 เชิงอรรถ 9 อ้างอิง 10 หนังสืออ่านเพิ่มเติม 11 ดูเพิ่ม 12 แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]ชาติภูมิ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331[6] ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ[7] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[8] มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร [9] หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ[10] อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) 2 เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง3 สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป[11] [แก้]บรรพชาและอุปสมบท เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2351 ได้โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ [แก้]ธุดงควัตรและไม่ปรารถนาสมณศักดิ์ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณ และเกียรติคุณแต่ท่านไม่ยอมรับ (ปกติท่านไม่ปรารถนายศศักดิ์ดังจะเห็นได้จากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ไม่ปรารถนายศศักดิ์จึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระเปรียญ) ต่อมาเล่ากันว่า “…ท่านออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆกัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง นอกจากนี้ยังมีปูชนียสถานที่เจ้าประคุณสมเด็จฯได้สร้างไว้ในที่ต่างๆอีก ซึ่งทุกอย่างที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระคุณท่าน อนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ ณ ที่ใดๆท่านย่อมเป็นที่รักใคร่ของมหาชนทุกหนทุกแห่งและด้วยบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จฯนี้เอง จึงทำให้บรรดาพุทธศาสนิกชนในยุคนั้นเคารพเลื่อมใส ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปองค์ใหญ่โตที่ท่านสร้างจะต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้าง จึงจะทำได้สำเร็จ ฉะนั้น จึงสรุปได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมื่อท่านจะทำการใดคงจะต้องมีผู้อุทิศทั้งทรัพย์และแรงงานช่วยทำการก่อสร้างปูชนียวัตถุจึงสำเร็จสมดังนามของท่านทุกประการ [แก้]สมณศักดิ์สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ทรงโปรดปรานสมเด็จฯเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2395 ได้พระราชทานสมณศักดิ์ครั้งแรกถวายเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติ ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี ครั้งนั้นท่านยอมรับสมณศักดิ์ (โดยมีเหตุผลที่ทำให้ต้องยอมรับสมณศักดิ์) ครั้นต่อมาอีก 2 ปี คือพ.ศ. 2397 ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ “ พระเทพกวี “ อีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระพุฒาจารย์” เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ อนึ่งกิตติคุณ และชื่อเสียงของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ขจรกระจายไปทั่วทิศานุทิศว่า “ เจ้าประคุณสมเด็จ คือ ที่พึ่งของสัตว์โลกผู้ตกอยู่ในห้วงของความทุกข์ทั้งมวล” [แก้]บั้นปลายชีวิต ในราวปี พ.ศ. 2410 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ องค์หลวงพ่อโต ที่วัดอินทรวิหาร ครั้นท่านทำการก่อสร้างได้สูงถึงพระนาภี (สะดือ) ก็มีเหตุให้ไม่สำเร็จ เพราะวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สิ้นชีพิตักษัย (มรณภาพ) บนศาลาเก่าบางขุนพรหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมสิริอายุได้ 84ปี นับพรรษาได้ 64 พรรษา รวมเวลาการเป็นเจ้าอาวาสได้ 20 ปี [แก้]กิตติคุณและคุณลักษณะพิเศษบางอย่างเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป เจ้าประคุณฯสมเด็จ เป็นอัจฉริยะและสั่งสมบุญบารมีดียิ่ง ดังจะเห็นได้จากสติปัญญาตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณรโต คือ รอบรู้ในสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว กระทั่งครูอาจารย์ที่สอนยกย่องว่า “สามเณรโตไม่ได้มาให้ฉันสอน แต่มาแปลหนังสือให้ฉันฟัง” คือแทนที่อาจารย์จะต้องสอนแต่ท่านก็รู้ด้วยตัวของท่านเอง นับว่าแปลกมหัศจรรย์อย่างยิ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติในทางโลก หลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างข้างต้น คือ เมื่อบุคคลใดทำบุญถวายพระคุณท่าน ปัจจัยนั้นจะต้องไปถึงบุคคลอื่นที่กำลังมีความทุกข์ยากต่างๆ ดังมีเรื่องเล่ากันหลายสิบเรื่อง อาทิเช่น “…สองผัวเมียเป็นทุกข์เรื่องค้าขายแตงโมกำลังจะเน่าขาดทุนต้องเป็นหนี้สิน ครั้นสมเด็จฯท่านผ่านมาพบ และรู้ว่าสองผัวเมียนี้เป็นทุกข์เรื่องค้าขายขาดทุน พระคุณท่านจึงช่วยซื้อแตงโมเท่าที่มีปัจจัยจากคนอื่นถวาย เมื่อซื้อแตงโมพร้อมจ่ายเงินให้แล้วก็ยกแตงโมให้สองผัวเมียอีกด้วย นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีเรื่องอื่นๆอีกหลายสิบเรื่อง ดังนั้นจึงสรุปว่า “ทรัพย์สมบัติในทางโลกของพระคุณท่านนั้นไม่มี” เจ้าประคุณสมเด็จฯ ปรารถนาที่จะช่วยให้บุคคลนั้นสมความปรารถนาตรงตามหลักธรรมของพระพุทธองค์ที่ว่า “…ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง…” เมื่อบุคคลมีความปรารถนาสิ่งใดครั้นไม่ได้สิ่งนั้นบุคคลนั้นก็เป็นทุกข์ จากความจริงในทางโลกดังกล่าว ถ้าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้พบหรือได้รู้ท่านเป็นต้องหาทางช่วยให้บุคคลที่อยู่ในห้วงของความทุกข์ได้สมความปรารถนาในวิถีทางที่ท่านจะช่วยได้ ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติของพระคุณท่านในเรื่องที่ผ่านมาและเรื่องอื่นๆอีกเช่น “…เมื่อพระคุณท่านทราบว่า เรื่อที่ท่านได้เคยนั่ง และกำลังนั่งข้ามฝากกำลังจะหมดสภาพ เพราะรั่วโดยเจ้าของเรือบอกเจ้าประคุณสมเด็จฯว่า “ไม่มีสตางค์จะซ่อมเรือ” พอถึงฝั่งเจ้าประคุณสมเด็จฯก็หยิบพัดยศให้เจ้าของเรือถือไว้ จากนั้นเจ้าประคุณก็ขึ้นฝั่งไปทำกิจที่ได้รับนิมนต์ในพิธีหลวง พอถึงพิธีเจ้ากรมสังฆการีรู้ว่าพัดยศสมเด็จฯ อยู่ที่คนแจวเรือจ้าง โดยพระคุณท่านปรารถนาจะช่วยเหลือให้เจ้าของเรือจ้างได้รับเงินประมาณแปดสลังเฟื้อง เพื่อเป็นค่ายาเรือ ดังนั้นเจ้ากรมสังฆาการีจึงต้องนำเงินแปดสลึงเฟื้องไปถ่ายพัดยศที่เจ้าประคุณสมเด็จมอบให้คนแจวเรือจ้างถือไว้…” นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีอุทาหรณ์อีกว่า “ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ปรารถนาจะช่วยบุคคลไม่เลือกบุคคลว่าจะเป็นคนเลวหรือเป็นคนดี “ ดังเช่น “ขโมยเอื้อมมือลอดล่องจากใต้กุฏิที่ท่านพักอาศัยเพื่อควานหาของมีค่าแต่เอื้อมไม่ถึง พระคุณท่านรู้ใจขโมยว่าอยากจะได้อะไรจึงหยิบของนั้นส่งให้ขโมยเพื่อช่วยให้ขโมยสมความปรารถนา” นอกจากเรื่องนี้แล้ว เมื่อครั้งขโมยเข้ามาลักเรือที่ใต้กุฏิ สมเด็จฯ ยังโผล่หน้าต่างมาบอกขโมยว่า ถ้าจะให้ดีต้องทำอย่างใดจึงจะเอาเรือไปได้โดยไม่เกิดเสียงดัง เพราะถ้าเกิดเสียงดังเด็กวัดตื่นเดี๋ยวจะมีเรื่องเจ็บตัว ดังนั้น เพื่อช่วยให้ผู้ปรารถนาสมหวังจึงช่วยแนะนำขโมยเพื่อให้ขโมยได้สมความปรารถนา” จึงนับได้ว่าพระคุณท่านมีปณิธานจะช่วยให้บุคคลทุกคนสมความปรารถนาอย่างแท้จริง เจ้าประคุณสมเด็จฯ กอร์ปด้วยคุณธรรมพิเศษยิ่ง คือ เมตตา กรุณา จากอุทาหรณ์ที่เล่ามาหลายๆเรื่องที่แล้วมาเป็นหลักฐานสนับสนุนว่า “ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” เจริญธรรมพิเศษ คือ ให้ความเมตตา กรุณา และปรารถนาที่จะให้บุคคลอื่นสมความปรารถนา นอกจากบุคคลแล้วในเรื่องของสัตว์ก็เช่นเดียวกัน คือ ถ้าพระคุณท่านได้พบเป็นต้องช่วยเหลือดังอุทาหรณ์ที่เล่ากันมาว่า “ … เมื่อครั้งท่านธุดงค์ พบสัตว์กำลังอยู่ในระหว่างมีทุกข์ เพราะติดอยู่ที่บ่วงท่านก็ปลดปล่อยสัตว์นั้นให้พ้นทุกข์แล้วเอาเท้าของพระคุณท่านไว้แทนที่รอกระทั่งเจ้าของบ่วงมาถึง จึงขอบิณฑบาตรสัตว์นั้นแล้วเทศน์อานิสงฆ์การทำบุญเพื่อให้เจ้าของบ่วงเลิกทำอกุศล…” เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นพระธรรมกถึกเอก คือเป็นพระเถระที่เทศน์ได้ทั้งร้อยแก้วร้อยกรอง รวมทั้งสัมผัสติดต่อกันได้ ซึ่งในยุคนั้นเป็นที่กล่าวขวัญเลื่องลือกันมาก ฉะนั้นกิจนิมนต์ของเจ้าประคุณสมเด็จจึงมีมิได้ขาด แต่ผู้ที่ต้องการจะฟังเทศน์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯจะต้องมีข้อแม้ คือ “จะกำหนดเวลาไม่ได้ ต้องสุดแท้แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านจะมาได้ และจะมาเวลาใด” สำหรับเรื่องเทศน์นั้นมีเรื่องเล่าลือมากมาย และที่กำลังจะนำมาเล่านี้ก็เป็นคุณลักษณะพิเศษที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านปฏิบัติ ถ้าท่านคิดให้ลึกซึ้งท่านจะทราบซึ้งในคุณธรรมอันสูงส่งยิ่ง “มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง บ้านอยู่ตำบลบ้านช่างหล่อ ไม่ไกลจากวัดระฆังมากนักได้ศรัทธาและนิมนต์สมเด็จฯไปเทศน์ ก่อนเทศน์หญิงหม้ายได้เอาเงินติดเทียนกัณฑ์เทศน์ 100 บาท พร้อมกราบเรียนว่า “ขอพระเดชพระคุณนิมนต์เทศน์ให้เพราะๆสักหน่อยนะเจ้าคะ เพราะดิฉันมีศรัทธาติดกัณฑ์เทศน์ 100 บาท” เจ้าประคุณสมเด็จฯพอท่านนั่งบนธรรมาสน์ให้ศีลบอกศักราช ตั้งนะโม จากนั้นท่านก็เทศน์ว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ธัมมัง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ยถา…สัพพี” จบก็ลงจากธรรมาสน์เป็นอันว่าการเทศน์สิ้นสุดลง หญิงนั้นขุ่นข้องหมองใจมาก เพราะไม่สบอารมณ์สมความตั้งใจ แต่ก็ไม่ว่าอะไร พอวันรุ่งขึ้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปเทศน์บ้านนี้อีกครั้ง โดยที่มิได้มีการนิมนต์ก่อนเทศน์ เจ้าประคุณสมเด็จบอกหญิงนั้นว่า “เมื่อวานนี้ฉันรับจ้างเทศน์จ๊ะ แต่วันนี้ฉันมาเทศน์ให้เป็นธรรมทานนะจ๊ะ” คราวนี้ประคุณสมเด็จฯ เทศน์ได้เพราะจับใจผู้ที่ได้ฟังเป็นยิ่งนัก จากอุทาหรณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นพระเถระที่น่าศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ อนุเคราะห์คนยากจนด้วยใจที่ปรารถนาจะช่วยคนยากจน สมัยก่อนมีหวยชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเรียกกันว่าหวย กข มีการออกวันละ 2 เวลา คือ เช้ากับเย็น บุคคลเป็นจำนวนมากที่อยู่ในกรุงเทพฯนิยมเล่น แต่ถ้าคิดกันให้ดีแล้วโอกาสถูกยาก เพราะตัวผิดมากกว่าตัวถูกจำนวนมาก ดังนั้นเจ้ามือจึงร่ำรวย คนจนๆจึงยิ่งจนมากขึ้น เพราะหลงหวย กข สำหรับหวย กข นี้มีการออกเบอร์ไว้แล้วเพียงแต่จะชักรอกที่ใส่เบอร์ลงมาดูกันว่าวันนี้เวลาเช้าจะเป็นตัวอะไร และตอนบ่ายจะเป็นเบอร์อะไรทั้งนี้สุดแท้แต่เจ้ามือหวยจะเป็นผู้กำหนดให้ออกตัวอะไร อุทาหรณ์ที่เล่าลือกันมากก็คือ “เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านรู้ว่าหวยจะออกอะไร ดังนั้นท่านมักจะอนุเคราะห์คนยากจนด้วยปริศนาต่างๆ อาทิเช่น ถ้ามีผู้นิมนต์ท่านไปเทศน์ในตอนท้ายสุด พระคุณท่านมักจะไบ้หวยโดยลงท้ายว่า “เอวัง กังสือ” บางวันก็บอกว่า “เอวัง หุนหัน” ถ้าใครคิดทันก็ตีเป็นหวยถูกเล่าลือกันไป กระทั่งวัดระฆังมีผู้มาคอยดูพฤติกรรมสมเด็จฯแล้วนำไปคิดเป็นหวยก็มีจำนวนไม่น้อย อนึ่งหลายครั้งท่านเทศน์ไม่ให้คนลุ่มหลงในหวยเพราะเป็นอบายมุขไปสู่ความยากจน แต่ในขณะเดียวกันท่านก็เมตตาคนจนอยากจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือ โดยบางครั้งพระคุณท่านตั้งใจช่วยคนยากจน เช่นแทนที่จะใช้รัตประคตคาดเอวกับใช้เชือกปอคาดเอวแทนพอเทศน์ไปก็ขยับเชือกปอที่คาดเอวคล้ายจะเป็นปริศนาให้คิดว่าวันนี้หวยจะต้องออกตัว “ป” ถ้าใครมีปัญญาก็คิดได้ บางวันแม่ค้านำขนมจีนมาถวายพอแม่ค้าหันหลังกลับ ท่านก็ตะโกนบอก 2 จานนะจ๊ะ โดยตะโกนบอกอยู่เช่นนั้น 2-3 ครั้ง เหตุที่ท่านตะโกน ก็เป็นปริศนาบอกไบ้หวยว่าวันนี้หวยจะออก “จ” จากคำเล่าลือในเรื่องเจ้าประคุณสมเด็จฯไบ้หวยได้แม่นยำได้เล่าลือไปถึงพระกรรณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นวันหนึ่งในปีจุลศักราช 1226 เจ้าประคุณสมเด็จฯได้ถูกนิมนต์เทศน์หน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นการส่วนตัวอยู่แล้วจึงสัพยอกว่า “เขาพากันชมเจ้าคุณว่าเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องลองฟังดู” พระธรรมกิติ (โต) ถวายพระพรว่า “ผู้ที่ไม่มีความรู้เหตุผลในธรรม ครั้นเขาฟังรู้เขาก็ชมว่าดี” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล และทรงถามว่า “ได้ยินข่าวอีกว่าเจ้าคุณบอกหวยเขาถูกกันจริงหรือ” พระธรรมกิติ (โต) ทูลว่า “…ตั้งแต่อาตมาภาพได้อุปสมบทไม่เคยออกวาจาว่าหวยจะออก ด กวางเหม้ง ตรงๆเหมือนดังบอก ด กวางเหม้ง แด่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าอย่างวันนี้…” ปรากฏว่าวันนั้นหวยออก ด กวางเหม้ง ตรงตามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้กล่าวไว้ทุกประการ อนึ่งเรื่องการไบ้หวยของเจ้าประคุณสมเด็จฯนั้น ท่านมีเจตนาที่จะช่วยเหลือคนยากจน เพราะไม่เช่นนั้นเจ้ามือหวยจะร่ำรวย โดยคนจนก็จนมากขึ้นไปอีก แต่ถึงกระนั้นท่านก็พยายามเทศน์ไม่ให้ศิษย์เล่นหวยหรือการพนัน เพราะเป็นทางของความเสื่อม เจ้าประคุณสมเด็จฯ พระอมตะเถระพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ตลอดกาล จากการศึกษาประวัติเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตลอดจะเห็นได้ว่าท่านอุบัติมาในโลกเพื่อช่วยเหลือมนุษย์และสัตว์โลกอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากประวัติได้กล่าวมาแล้ว และที่กำลังจะกล่าวถึง ก็เป็นอุทาหรณ์ที่ชี้ให้เห็นว่า “พระคุณท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่สูงยิ่ง” ครั้งหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปทอดกฐินที่อ่างทองเรือบรรทุกกฐินจอดอยู่ท้ายเกาะท่านขึ้นไปจำวัดบนโบสถ์วัดท่าซุง คนในเรือหลับหมด ขโมยมาล่วงเอาเครื่องกฐินไปหมดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับดีใจยิ้มแต้ลงเรือโดยไม่มีความโกรธเลย ชาวบ้านถามว่า “พระคุณท่านทอดกฐินแล้วหรือ” เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านตอบว่า “ทอดแล้วจ๊ะ แบ่งบุญให้ด้วย” ตอนกลับท่านเลยซื้อหม้อบางตะนาวศรีบรรทุกเต็มลำเพื่อไปแจกชาวบ้านที่กรุงเทพฯ (โดยเฉพาะบ้านที่คลองโอ่งอ่าง คลองสะพานหินส่วนมากมักจะได้รับแจกหม้อดิน) จากข่าวที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ แจกหม้อบุคคล บุคคลที่มีปัญญาเก็บไปคิดเป็นหวยแล้วซื้อ “ม หันหุน” ก็ถูกร่ำรวยไปตามๆกัน อนึ่งเรื่องหวย กข และคุณลักษณะพิเศษอื่นๆของเจ้าประคุณสมเด็จฯยังมีอีกมาก ถ้าจะเขียน หรือเล่าอีก 3 วันก็ยังไม่จบ เพราะเกียรติคุณและชื่อเสียงของหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขจรกระจายไปทั่วทิศแม้แต่ประชาชนต่างจังหวัดก็เคารพศรัทธา เช่น ชาวสระบุรี ลพบุรี นับถือและเล่าลือกันมากว่าน้ำล้างเท้าเจ้าประคุณสมเด็จฯ รักษาโรคฝีดาษได้ ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวมากที่สุดในสมัยนั้น ฉะนั้น ชาวลพบุรี และสระบุรี จึงเก็บน้ำล้างเท้าเจ้าประคุณสมเด็จฯไวเป็นน้ำมนต์ และเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่แถวนั้นไม่ค่อยจะมีใครเป็นโรคฝีดาษ เพราะโรคฝีดาษกลัวน้ำล้างเท้าเจ้าประคุณสมเด็จฯพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระเครื่องและวัตถุมงคลสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัตถุมงคลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น “ พระพุทธรูป “ หรือ “ พระสมเด็จ “ ซึ่งเป็นพระเครื่องขนาดเล็ก ปรากฏว่ามีพุทธคุณเป็นที่เลื่องลือ และเป็นที่นิยมของมหาชนทุกยุคทุกสมัย ในปัจจุบันมีสนนราคา แสน-ล้าน ยังมีบุคคลศรัทธาเช่า และแสวงหาพระเครื่องของเจ้าประคุณสมเด็จฯยิ่งกว่าพระเครื่องชนิดใดๆทั้งหมด อนึ่งพระสมเด็จที่แท้จริงนั้นตามตำนานว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านสร้างไว้เพียง 84,000 องค์ เท่าพระธรรมขันธ์ ส่วนจะเป็นพิมพ์ใดมีจำนวนเท่าใดนั้นไม่มีใครทราบ บางท่านก็คิดว่าแต่ละพิมพ์มีจำนวน 84,000 องค์ แต่ในทัศนะส่วนตัวคิดว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” คงจะมีจำนวนทั้งหมดไม่ถึง 84,000 องค์ ส่วนพระสมเด็จกรุวัดใหม่บางขุนพรหมอาจจะมีจำนวน 84,000 องค์ ในสมัยนั้นก็ต้องนับว่ามากโข เพราะกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2410 ประชาชนทั้งกรุงเทพฯ จะมีประมาณ 15,000 ครอบครัว หรือประมาณ 75,000 คน สำหรับพุทธานุภาพพระเครื่องของสมเด็จฯนั้นมีผู้โจษขานเลื่องลือกันมาก โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งอหิวาตกโรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่ในอดีต เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 ปรากฏว่าบ้านใดมีพระสมเด็จแล้วอาราธนาพระสมเด็จทำน้ำมนต์อาบ บริโภคจะปราศจากโรคร้ายได้ แต่ถึงกระนั้นประชากรในกรุงเทพฯก็ล้มตายกันประดุจใบไม้ล่วงถึงกับมีคำขวัญว่า “คนหัวโตกินแตงโมวัดแจ้ง ไปดูแร้งวัดสระเกศ ไปดูเปรตวัดสุทัศน์” คำว่าแร้งวัดสระเกศหมายถึงบรรดาแร้งที่ลงกินศพคนตาย ซึ่งไม่สามารถจะเผาศพได้ทันจึงนำมาสุมกันไว้ เมื่อใครได้มาเห็นจะเกิดธรรมสังเวชในจิตใจเป็นอย่างยิ่ง [แก้]ผลงานคำสอน [ต้องการอ้างอิง] ” บุญเราไม่เคยสร้าง…ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า … ” ” ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว…เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว…แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้…แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง…” จงจำไว้นะ… เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้… ครั้นเมื่อถึงเวลา… ทั้วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่… จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า [แก้]เชิงอรรถ หมายเหตุ 1: ตำบลท่าอิฐในที่นี้ หมายถึงตำบลเมืองท่าค้าขายของเมืองเหนือในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งปัจจุบันคือแถบ 3 หมู่บ้านโบราณริมน้ำน่านคือ บ้านท่าอิฐ บ้านท่าเสา และบ้านคุ้งตะเภา ในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ (สมัยนั้นชื่ออำเภอบางโพ) จังหวัดอุตรดิตถ์ (สมัยนั้นชื่อแขวงพิไชย) ในปัจจุบัน[12] หมายเหตุ 2: เมืองเหนือในที่นี้หมายถึงคำเรียกของชาวเมืองเหนือในสมัยอยุธยาจนถึงช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหมายถึงเมืองสุโขทัย พิษณุโลก พิชัย (อุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) พิจิตร กำแพงเพชร อันเป็นกลุ่มหัวเมืองเหนือในสมัยอยุธยา หรือบ้านเมืองที่เคยอยู่ในเขตแคว้นของสุโขทัยแต่เดิม [13] หมายเหตุ 3: หากถือตามหลักฐานของพระครูกัลยาณานุกูลที่กล่าวว่ามารดาของท่านเป็นคนท่าอิฐ นางเกตุ ที่ขึ้นล่องเรือลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ย่อมมีความสอดคล้องกับประวัติของเมืองอุตรดิตถ์[14] ที่กล่าวว่าช่วงกรุงศรีแตก แถบอุตรดิตถ์ไม่ได้รับผลกระทบเพราะอยู่นอกทางเดินทัพ ทำให้แถบนี้มีคนแถบเมืองเหนือมาอาศัยหลบภัยมาก จนมีการตั้งชุมนุมพระฝางเป็นเมืองใหญ่ ในช่วงหลังชุมนุมเจ้าพระฝางแตกในปี พ.ศ. 2313[15] เมืองท่าอิฐได้โรยราไปพักหนึ่งจนถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เมืองพระฝางซึ่งอยู่เหนือท่าอิฐที่เคยเป็นชุมนุมใหญ่ก็ได้ทรุดโทรมจนหมดความสำคัญลง[16] ทำให้ช่วงหลังครอบครัวมารดาของท่านจึงอพยพย้ายถิ่นมาทำมาหากินทางแถบเมืองใต้ (ภาคกลาง) แต่ช่วงหลัง ตำบลท่าอิฐก็เริ่มมีความเจริญสืบมาจนสมัยรัชกาลที่ 5 [แก้]อ้างอิง ^ สมมตอมรพันธ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2545). เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ^ ________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช 1129-1130. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้าที่ 351. ^ ผู้จัดการออนไลน์. (2545). สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=517 ^ ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร. (2554). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.watrakang.com/biography.php ^ ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร. (2554). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.watrakang.com/biography.php ^ พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. รองปก ^ จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ต.ท่าหลวง กล่าวว่า สมเด็จโตเกิดในเรือซึ่งขณะนั้นลอยลำอยู่หน้าวัดไก่จ้น ^ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” :2466. ไม่ทราบสำนักพิมพ์ ^ พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. หน้า 9-13 ^ เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์. ^ ตรียัมปวาย. (2495). พระสมเด็จ. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). ^ เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ISBN 9789743648847 ^ __________. (2543). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร. หน้า 104. ^ วิบูลย์ บูรณารมย์. (2540). ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท. ^ __________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช 1129-1130. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). ^ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2465). พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ 5. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทย. หน้า 47 [แก้]หนังสืออ่านเพิ่มเติม เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์. ตรียัมปวาย. (2495). พระสมเด็จ. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์). (2419). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิทยากร. ธวัชชัย อิศรางกูร. (2510). สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม. นครหลวง : โรงพิมพ์อักษรสมัย. [แก้]ดูเพิ่ม วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร [แก้]แหล่งข้อมูลอื่น วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรงฺสี) จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์) สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมัยถัดไป สมเด็จพระพนรัต (ฤกษ์) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (พ.ศ. 2395 – พ.ศ. 2415) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ. ทัด เสนีวงศ์) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน นักเรียนศึกษาวิธีปฏิบัติธรรมได้อย่างไร กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนควรศึกษาจากข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จัดป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน การบูรณาการ ศีลป วาดภาพพระพุฒาจารย์ ภาษาไทย เขียนประวัติพระพุฒนาจารย์

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/
นำเสนอโดย : นางเพียรจิต พันธุ์โอภาส
โรงเรียนบ้านอุทัยทอง
สพป. นครราชสีมา เขต 6
อยู่ในขั้น : เจ้าสำนัก

ขอขอบคุณ : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4293

. . . . . . .