สาส์นจากสมเด็จพรหมนเรศวร เกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” และพระคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

สาส์นจากสมเด็จพรหมนเรศวร เกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” และพระคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

เตรียมกาย – เตรียมใจ … รับ “ภัยพิบัติ”
ความไม่เที่ยงเกิดขึ้นกับชีวิตทุกขณะ อุบัติเหตุเภทภัย ภัยอันตรายต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นได้ทุกเวลานาที แม้กระทั่งการเกิดภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมโลก ทั้งพายุถล่ม แผ่นดินไหว จนอาคารบ้านเรือนพังทลาย ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน มิได้ตั้งตัว เตรียมกาย-เตรียมใจไว้เลย เหตุเภทภัยเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งเตือนใจให้เราดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีสติกำกับในทุกลมหายใจเข้า-ออก

ความเชื่อเกี่ยวกับคาถาพาหุง
พุทธวิธีชนะมาร โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) กล่าวไว้ว่า “ความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์เรา เปรียบเสมือนการเดินข้ามห้วงเหว และสะพานที่เสี่ยงภัย แม้เราจะเดินเก่งหรือมีกำลังเรี่ยวแรงสักเพียงไร ถ้ามีเครื่องยึดเหนี่ยวไว้บ้างก็ดีกว่าไม่มี ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถาหรือพาหุงมหากาเป็นประจำทุกๆ วันแล้ว จะมีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถทุกประการ วิธีการแก้ปัญหาทุกชนิด เริ่มด้วยการทำจิตให้สงบ วิธีที่ดีที่สุดก็คือสวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตสม่ำเสมอ

จะเกิดปัญญา แก้ไขปัญหาได้อย่างอัศจรรย์ โดยมีเคล็ดลับ คือ ต้องมีความตั้งใจจริง มีความไม่ย่อหย่อน ปฏิบัติเป็นประจำ แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ” เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี

จากองคุลีมาล จากนางจิญจมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทะนาคราช และท่านท้าว

พกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้

ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ

ความเป็นมาของบทสวดมนต์พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ได้เล่าประวัติของคาถาพาหุงว่าสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยาปัจจุบันเรียกเป็นวัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยา เป็นผู้รจนาฉันท์บาลีว่าด้วยชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ผจญมาร

8 บท เรียกว่า พาหุงมหากา (รุณิโก)

นิมิตหลวงพ่อจรัญ พบ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้วฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า
“ฉันคือ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทยจาก

หงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว”

ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้ แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยกรรมฐานมีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวันซึ่งพังลงน้ำ

ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักพังทั้งนั้นหลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง
วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ

รจนาขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะมีเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงพบเช่นกัน
“เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วย การเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ”

รัชกาลที่ ๖ นำกองทัพสวดคาถาพาหุง
ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เล่าให้ฟังว่า “เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และฮังการี เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และทรงได้ส่งทหารไปสู่สงครามเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑นั้น พระองค์ทรงนำกองทัพสวดคาถาพาหุง พร้อมทั้งคำแปลที่ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นวสันตดิลกเพื่อชัยชนะแห่งกองทัพไทย และฝ่ายพันธมิตร

คำอาราธนาศีล ๕

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธะสะ (นะโม 3 จบ)

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

(ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอศีล ๕ ข้อพร้อมทั้งพระรัตนตรัยเพื่อประโยชน์แก่การจะรักษาต่างๆกัน)

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

(อาราธนาศีล 5) ปาณา ติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ

อทินนา ทาณา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
กาเม สุมิฉา จารา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
มุสา วาทา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ
สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พาหุง มหากา)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโนภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

คาถาชนะมาร (ป้องกันอันตรายทั้งปวง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก)
ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสสิ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

คำถวายกุศลพระแม่ธรณี

แม่ธรณีเจ้าเอ่ย อยู่แล้วหรือยัง สังขาตัง โลกังกะวิทู

บุญกุศลจากการภาวนานี้ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายองค์พระแม่ธรณี ขอพระแม่ธรณีได้โปรดนำทางสว่างให้แก่ดวงจิตข้าพเจ้าให้มีความเจริญ

เป็นแผ่นดินที่รองรับผู้มีธรรม และมีความมั่นคงสืบลูกสืบหลานต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=559686

. . . . . . .