ธรรมบรรยาย เรื่องหน้าที่พุทธศาสนิกชน

ธรรมบรรยาย เรื่องหน้าที่พุทธศาสนิกชน
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

1. กรรมศรัทธา เชื่อกรรม คือ เชื่อการกระทำเท่านั้น เป็นเหตุให้รวย หรือจน เท่านั้น ให้ดีหรือชั่ว ไม่ใช่เพราะโชคหรือเคราะห์ หรือผีสางเทวดาอะไรอำนวยให้
2. วิปากศรัทธา เชื่อผลของกรรม คือ เชื่อว่าผลของกรรรมนั้นต้องมีแน่นอน และให้ผลตรงตามกรรมที่ทำไว้จนได้ เว้นแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่มีใครจะบิดเบือน หรือ ห้ามผลของกรรมที่กระทำมาแล้วไม่ให้บังเกิดผลได้
3. กัมมัสสกตาศรัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครจะทำให้คนดีหรือคนชั่วได้ ตนเองก็ไม่สามารถจะทำให้ใครดีหรือชั่วได้ ความดีและความชั่วเป็นของจำเพาะตัวเท่านั้น
4. ตถาคตโพธิศรัทธา คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ไม่มีผู้ใดสั่งสอน และสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของจริง อย่างประเสริฐยิ่ง จะหาสิ่งใดจริงหรือประเสริฐเสมอ มิได้

ชาวพุทธแท้จริง
1. สมาทานวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นโดยอาการสมาทานต่อหน้าพระสงฆ์ หรือบุคคลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทาน คือ ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติล่วงศีลข้อนั้น ๆ
2. สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ การงดเว้นโดยอาการที่ไม่ยอมประพฤติล่วงศีลข้อนั้น อันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เช่น บุคคลที่ไม่ได้สมาทานศีลไว้ และไปพบทรัพย์สินของผู้อื่น ที่ตนพอจะถือเอาได้โดยเจ้าของไม่รู้แต่เกิดมีหิริโอตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปในการถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาโดยเห็นแก่ตัวนั้นแล้วงดเว้นเสีย ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาโดยเห็นแก่ตัวนั้นแล้ว งดเว้นเสียไม่ถือเอาทรัพย์สินนั้น ๆ
3. สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่ การงดเว้น จากการประพฤติล่วงศีลนั้น ๆ อย่างเด็ดขาด หมายถึงศีลของผู้เป็นอริยะ ผู้หมดจากกิเลส อันเหตุให้ทำความชั่วทุกชนิด โดยเด็ดขาด
การกล่าววาจา
1. กล่าวในกาละที่ควรกล่าว
2. กล่าวแต่สัจจะความจริง
3. กล่าวแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์
4. กล่าวแต่วาจาที่สุภาพอ่อนหวาน
5. กล่าวแต่ด้วยความรู้สึกที่มีเมตตา
การพูดที่ดี
1. พูดในสิ่งที่เป็นความจริง
2. พูดนิ่มนวลชวนดื่มไว้ในใจ
3. พูดสมานไมตรีอันดียิ่ง
4. พูดในสิ่งที่มีประโยชน์
การพูดชั่ว
1. พูดผิดเวลา
2. พูดด้วยน้ำใจที่โหดเหี้ยมทารุณ
3. พูดเท็จ
4. พูดให้แตกความสามัคคี
5. พูดหยาบคาย
6. พูดเหลวไหล
7. พูดส่อเสียด
8. พูดไม่เป็นธรรม

1. ฉลาดคิด
2. ฉลาดทำ
3. ฉลาดพูด
การอบรมเด็ก
1. สอนให้เขารู้จัก วินัย
2. สอนให้เขารู้จัก เชื่อฟัง
3. สอนให้เขารู้จัก ความรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่
4. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

· หน้าที่
· ความดี
· ความจริง
· เหตุผล

1. ความรักหน้าที่
2. ความสนใจความดี
3. ความเคารพความจริง
4. ความมีเหตุผล
ชาวพุทธ ต้องมีคุณสมบัติ
1. บำรุงบิดามารดา
2. เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
3. เจรจาอ่อนหวาน
4. ไม่พูดยุยงส่อเสียด
5. ไม่ตระหนี่ หมั่นทำทาน
6. ซื่อสัตย์สุจริต
7. ไม่โกรธง่าย ข่มความโกรธไว้ได้
หน้าที่ผู้ทำงาน ที่เป็นชาวพุทธ
1. มีความสามารถ คือ ชำนาญในการปฏิบัติงาน
2. มีความพากเพียร คือ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ
3. มีไหวพริบ คือ รู้จักสังเกตหาทางปฏิบัติงานให้เกิดผลดีที่สุด
4. มีความรู้เท่าถึงการ คือ รู้จักปฏิบัติโดยเหมาะสม
5. มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ ปฏิบัติงานด้วยความสุจริต และอุตสาหะ เต็มสติกำลัง
6. มีความซื่อตรงต่อคนทั่วไป คือ ทำตนให้เป็นคนเชื่อถือ และไว้วางใจ
7. รู้จักนิสัยคน
8. รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
9. มีหลักฐาน
10. มีความจงรักภักดี
ทำความดีที่จะให้ได้ดีนั้น
1. คติสมบัติ ทำความดีต้องให้ถูกสถานที่
2. อุปธิสมบัติ ทำความดีต้องให้ถูกตัวบุคคล
3. กาลสมบัติ ทำความดีต้องให้ถูกกาลเวลา
4. ปโยคะสมบัติ ทำความดีต้องให้ติดต่อกันไปเรื่อย ๆ
อันตรายของชาวพุทธ เกิดในปัจจุบัน
1. กิเลสันตราย อันตรายเกิดจากกิเลส
2. กัมมันตราย อันตายเกิดจากความชั่วที่ทำในปัจจุบัน
3. วิปาอันตราย อันตรายเกิดจากวิบากคือผลของกรรม คือ ผลของกรรมที่ทำในอดีต
4. ทิฏฐันอันตราย อันตรายที่เกิดจากทิฏฐิที่ผิด
5. อริยูปวาทันตราย อันตรายที่เกิดจากการจ้วงจาบ พระอริยเจ้า

1. ธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุ
2. บริโภคเจดีย์ สังเวช ๔ ตำบล
3. ธรรมเจดีย์ พระไตรปิฎก
4. อุทเทสิกเจดีย์ พระพุทธรูป พระพุทธบาท พระสงฆ์สาวก

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00069.htm

. . . . . . .