ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๔)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์

ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๔)

เจโตต่อพระอุบาลี , ประวัติ

คำสอนพระเณร

ท่านพระอาจารย์มั่นมักจะเทศนาธรรมสั่งสอนพระเณรสานุศิษย์อยู่เสมอว่า ผู้ก้าวหน้าเข้ามาบวชพระพุทธศาสนา ก็คือผู้ก้าวเข้ามาหาความรู้ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย มิใช่ว่าเข้ามาเพื่อสั่งสมความโง่เขลาเบาปัญญาต่อเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสตัวหลอกลวง แต่เพื่อบวชเข้ามาเพื่อแสวงหาอุบายปัญญาพลิกแพลงให้ทัน เรื่องของกิเลสต่างหาก เพราะคนเราอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้อวกันตัวย่อมไม่ปลอดภัยอันตรายทั้งภายนอกและภายใน

เครื่องป้องกันตัวของนักบวชคือหลักธรรมวินัย มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ เป็นผู้มั่นคงต่อสิ่งทั้งหลายไม่สะทกสะท้าน จึงควรเป็นผู้มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอริยาบท จะคิดจะพูด จะทำอะไร ๆ ก็ตาม ไม่มีการยกเว้น สติปัญญาที่จะไม่เข้ามาสอดแทรกอยู่ อยู่ในวงงานที่ ที่ทำทั้งภายนอกและภายใน จะเป็นที่แน่นอนต่อคติของคนทุก ๆ ระยะไป

พระเณร จะต้องเป็นผู้มีความเข้มแข็ง ต่อแดนพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ทุกประโยคที่เต็มไปด้วยสติปัญญา เป็นหัวหน้างาน ไม่งุ่มง่าม เขอะขะต่อตัวเองตลอดธุระหน้าที่ทั้งหลาย พบกับศาสนายอดเยี่ยม ด้วยหลักธรรมที่สอนคนให้ฉลาดทุกแง่มุม พระเณรไม่ควรเป็นคนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจและเกียจคร้าน ในกิจการที่จะยกตนให้พ้นจากวัฏฏสงสาร พระจึงเป็นผู้ที่พร้อมแล้วเพื่อข้ามโลกสงสารวัฏฏ ไม่มีงานใดจะหนักหน่วงถ่วงใจ ยิ่งกว่างานยกจิตให้พ้นทุกข์จากห้วงแห่งวัฏฏทุกข์

งานนี้เป็นงานที่ต้องทุ่มเททั้งกายและใจ แม้ชีวิตก็ยอมสละไม่อาลัยเสียดาย จะเป็นจะตายก็มอบไว้กับความเพียร เพื่อรื้อถอนตนให้พ้นจากหลุมลึกคือกิเลสทั้งมวล เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเกิดแบกหามบาปหาบกองทุกข์นานาชนิดอีกต่อไป

?

เจโตต่อพระอุบาลี

เรื่องทิพยจักขุและเจโตรปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ที่ท่านแสดงอีกคราวหนึ่งคือ ก่อนที่ท่านจะอำลาจากถ้ำสาลิกามานั้นตอนกลางคืนดึกสงัดราวตี 4 ท่านคิดถึงท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนโท) วักบรมนิวาส พระนครว่า เวลานี้ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กำลังทำอะไรอยู่หนอ จึงกำหนดจิดจากถ้ำสาริกา เขาใหญ่มาดูท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ที่กรุงเทพฯ

พลันก็ทราบว่า เวลานั้น ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กำลังพิจารณาปัจจยาการคืออวิชชาอยู่ พระอาจารย์มั่นทราบใจท่านเจ้าคุณพระอุบาลีโดยตลอดแล้ว ก็จดจำวันเวลาไว้อย่างแม่นยำ ครั้นเวลาเดินทางลงมากรุงเทพฯ เมื่อได้มีอกาสเข้านมัสการท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็เรียนให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พิจจารณาปัจจยาการคือ อวิชชาอยู่ในคืนก่อน

ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ พอได้ทราบเช่นนั้นก็ตะลึงเลยต้องสารภาพว่า เป็นความจริงทุกประการ แล้วต่างฝ่ายก็พากันหัวเราะพักใหญ่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ได้กล่าวชมเชยว่าท่านมั่นนี้เก่งจริง ๆ เราเองขนาดเป็นอาจารย์แต่ไม่เป็นท่า น่าอายท่านมั่นเหลือเกิน ท่านมั่นเก่งจริงให้ได้อย่างนี้ซิลูกศิษย์พระตถาคต ถึงจะเรียกว่าเดินตามครู

ประวัติ

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2413

ที่บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บิดาท่านชื่อนายคำด้วง แท่นแก้ว มารดาชื่อนางจันทร์

ปู่ของท่านชื่อ เพี้ยแก่นท้าว มีพี่น้องร่วมบิดารดา 9 คน ท่านเป็นบุตรชายหัวปี

ท่านพระอาจารย์มั่นรูปร่างเล็ก ผิวขาวแดง ลักษณะเข้มแข็ง ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มาตั้งแต่เล็ก ๆ สมัยนั้นไม่มีโรงเรียนประชาบาล ใครจะเรียนหนังสือต้องเข้าเป็นลูกศิษย์วัด

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1223:-m-m-s&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .