ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๒)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๒)

ป่าหลวงพระบาง

พระอาจารย์มั่นจาริกธุดงค์ไปยังหลวงพระบาง รอนแรมบุกป่าฝ่าดงอันหนาแน่นไปด้วยต้นไม้และขวากหนามเส้นทางทุรกันดารยาก

ลำบาก วกไปเวียนมา มองไปทางไหนมีแต่ป่าแต่เขาสูงใหญ่จนอ่อนล้าเพราะหลงทิศทาง เดินไปทั้งวันก็วกกลับมาที่เดิมไม่น่าเชื่อ

สัตว์ตัวกระจ้อยร่อยประเภทดูดเลือด เช่น ฝูงทากก็มากมาย

คอยรบกวนให้ได้รับความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ตะวันยอแสงฉาบสีทองเอิบอาบขุนเขาสูงใหญ่เบื้องหน้าเป็นภาพสวยงามตระการตารวม

กับสีมณีวิเศษอันมีสีต่าง ๆ ท่านรู้สึกชื่นชมกับธรรมชาติในยามใกล้สนธยาเบื้องหน้า จึงรีบรุดตรงไปยังเชิงเขาเพื่อจะยึดเอาเขาลูกนี้เป็นที่

พักแรมคืน ภูมิภาพอันสวยงามเบื้องหน้า เงาหมู่ไม้อันทอดยาว

แสงสะท้อนจากกลุ่มเมฆสีขาวสลับซับซ้อนเบื้องบนเป็นสีระยับวะวับวาว ทำให้หุบเขาแห่งนั้นกลายเป็นสีรุ้งดั่งว่าเนรมิตไว้ฉะนั้น?

ท่านเห็นภูมิประเทศแห่งนี้งามประหลาด น่าชื่นชมก็หยุดรำพึงว่า ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้เสด็จท่องเที่ยวธุดงค์ไปแต่ลำพังโดยเดียว ดุจพญาราชสีห์ตัวกล้า

ไม่เกรงกลัวซึ่งภัยอันตรายใด ๆ ทุกฤดูกาลเพื่อแสวงหาความจริงอันเป็นสัจจะแห่งความหลุดพ้น

พระองค์ต้องต่อสู้กับกิเลสมารอันหนาแน่นต้องกระทำทุกกรกิริยา ซึ่งมนุษย์อื่นที่แกล้วกล้าสามารถก็พากันย่อท้อทำไม่ได้

แต่พระพุทธองค์ก็ทำได้จนภายหลังเห็นแจ้งซึ่งสังสารทุกข์เสด็จออกจากทุกข์แล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อันความเป็นไปของพระพุทธองค์ครั้งกระโน้น ได้เป็นเนติแบบฉบับให้บรรดาพระสาวกทั้งหลายทุกยุคทุกสมัยในกาลต่อมาได้ยึดเอา

เป็นเยี่ยงอย่างเจริญรอยตามยุคลบาท

กาลบัดนี้ อันตัวเราผู้เป็นศิษย์ตถาคตกำลังดำเนินเจริญตามรอยพระองค์มิได้ลดละซึ่งความเพียรอันอาจหาญแกล้วกล้า สักวันหนึ่งข้าง

หน้าถ้าเราไม่ลดละเสียซึ่งความเพียรแล้ว จะต้องค้นพบพระสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศไว้เป็นแน่นอน เมื่อนึกรำพึงเช่นนี้

พระอาจารย์มั่นก็รู้สึกมีกำลังใจชุ่มชื่นอาจหาญร่าเริงขึ้นมามากมาย

ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าที่เดินหลงทางมาทั้งวันพลันก็เบาบางลง ค่ำวันนั้น ท่านได้หยุดปักกลดที่เชิงเขาในคูหาถ้ำอันกว้างขวางสะอาด

สะอ้านคล้ายมีคนมาคอยปัดกวาดไว้เป็นประจำ ที่ใกล้ ๆ มีลำธารน้ำใสไหลเย็นไหลผ่าน หลังจากลงไปอาบน้ำในลำธารเป็นที่ชุ่มชื้นเย็น

กายเย็นใจแล้ว ท่านก็กลับเข้ามาในถ้ำนั่งพักผ่อนอยู่พักหนึ่ง ต่อจากนั้น

จึงได้นั่งสมาธิภาวนาด้วยบท “พุทธ – โธ”? เป็นวัตรปกติเสมอมา? แสงเดือนกระจ่างนวลใยสาดเข้ามาในถ้ำ กระแสลมที่พัดอยู่รวยริน

ทำให้สดชื่นเย็นสบายใจ? บรรยากาศภูมิประเทศก็เงียบสงัดวิเวกเหมาะสำหรับำบเพ็ญสมณธรรมพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 ด้วยประการทั้งปวง

เวลาผ่านไปอย่างสม่ำเสมอจนตกดึก ท่านจึงถอนจิตจากสมาธิ เปลี่ยนมาเป็นเดินจงกรมที่บริเวณหน้าถ้ำท่ามกลางแสงเดือนกระจ่างสว่าง

พราวเหมือนกลางวัน

ผจญเสือโคร่ง

มีเสียงเสือกระหึ่มร้องดังขึ้นสนั่นหวั่นไหว เสียงร้องรับกันทางโน้นทีทางนี้ที แสดงว่ามีเสือหลายตัวออกหากินในยามราตรี เสียงร้องของ

มันทำให้ป่าวังเวงด้วยเสียงจักจั่นเรไร ที่ร้องระงมป่าเงียบเสียงไปหมดสิ้นดั่งต้องมนต์อาถรรพณ์ ท่านพระอาจารย์มั่นมิได้สนใจ ไม่ได้นึก

เกรงกลัวแต่อย่างใด ถือว่าสัตว์ป่าออกหากินไปตามประสาของมัน

ท่านคงเดินจงกรมไปตามปกติด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ มีมหาสติปัฏฐานเป็นหลักคอยควบคุมกายและใจอยู่ตลอดเวลาไม่วอกแวก

เสียงเสือหลายตัวคำรามหลายตัวคำราม ใกล้เข้ามาทุกที แล้วในที่สุดเสียงกระหึ่มร้องนั้นก็เงียบหายไป ท่านเดินจงกรมกลับไปกลับ

มาอยู่พักใหญ่ รู้สึกเฉลียวใจว่ามีอะไรผิดปกติข้างทางเดินจงกรมจึงชำเลืองมองไป

พลันก็ได้เห็นเสือโคร่งตัวใหญ่มาก ใหญ่จริงๆ เกือบเท่าม้าล่ำพีมีจำนวน 7 ตัวกำลังนั่งจ้องมองดูท่านอยู่อย่างเงียบๆ อาการนั่งของพวกมัน

คล้ายสุนัขตามบ้านนั่งดูเจ้าของไม่มีผิด ท่านรู้สึกสงสัยว่า มันมานั่งจ้องมองท่านอยู่เช่นนี้เพื่อต้องการอะไรหนอ ถ้ามันต้องการจะจับตะครุบ

ท่านกินเป็นภักษาหารมันน่าจะทำลงไปแล้ว ไม่น่าจะพากันนั่งจ้องมอง

ไม่กระดุกกระดิกเช่นนี้เลย ดูๆ ไปแล้วก็น่ารักน่าสงสาร พอท่านคิดเช่นนี้ พลันทันใดเสือโคร่งทั้ง 7 ตัว ก็ส่งเสียงคำรามร้องกระหึ่มขึ้น

พร้อม ๆ กันดังสนั่นหวั่นไหวไปหมดจนแก้วหูอื้อ? เมื่อได้ยินเสียงมันคำรามขึ้นพร้อม ๆ กันเช่นนั้น ท่านก็คิดในใจว่า ชะรอยพวกมันคงจะ

พูดบอกว่าความในใจท่านอันเป็นภาษาของมันละกระมั้ง พอท่านคิดเช่นนั้น

มันก็พากันร้องสนั่นขึ้นอีกจนสะเทือนไปทั้งป่า? เอ….มันต้องการอะไรของมันหนอ ถ้ามาหากันอย่างมีมิตรไมตรีก็ไม่ควรจะส่งเสียงร้องให้

เป็นที่รำคาญหูเช่นนี้ ควรจะนิ่งสงบอย่างมีสัมมาคารวะ ท่านรำพึงในใจอย่างนี้จบลงก็เห็นว่าเสือทั้ง 7 ตัวพากันยอบตัวหมอบลงนิ่งเงียบ

ไปทันทีอย่างแปลกประหลาด ท่านไม่ได้นึกกลัวมันแม้แต่น้อย

คงเดินจงกรมผ่านหน้ามันไปมาเป็นปกติ มันก็ไม่ทำอะไร ได้แต่จ้องมองตามอิริยาบถเคลื่อนไหวของท่านอย่างเงียบๆ อยู่เป็นเวลานาน

แล้วพวกมันก็พากันถอยห่างเดินหนีหายไปในป่า

เสือแม่ลูกอ่อน

ท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่พอสมควรแล้ว ก็กลับมานั่งภาวนาสมาธิที่ลานกว้างหน้าปากถ้ำ เวลานั้นแสงเดือนยังนวลสว่างอยู่

นั่งภาวนาสมาธิอยู่พักใหญ่จิตหยั่งลงรวมสงบลง? พลันก็รู้สึกสัมผัสทางกายอันชวนให้น่าสงสัยพิกลอยู่ ทีแรกคิดว่าคงจะเกิดจากอุปาทาน

ขณะพิจารณาอรรถธรรมในอารมณ์อุปจาระสมาธิมากกว่า แต่ก็รู้สึกๆ

ว่าอาการสัมผัสนั้นรุนแรงยิ่งขึ้นทุกขณะจึงกำหนดจิตตรวจสอบดูก็รู่ว่าสัมผัสนั้นมาจากภายนอก จึงถอนจิตออกจากอุปจาระสมาธิลืมตาขึ้น

ดู ก็ได้เห็นลูกเสือตัวเล็ก ๆ น่ารักจำนวน 3 ตัว กำลังพากันมาเคล้าเคลียอยู่ที่ตักของท่านสูดๆ ดมๆ ตามร่างกายของท่านอย่างสนใจมี

ตัวหนึ่งซุกซนมากปีนขึ้นมานั่งบนตักท่านแล้วใช้ลิ้นเลียมือเลียแขนท่าน

กิริยาอันซุกซนของมันน่ารักน่าเอ็นดูมากกว่าน่าเกลียด ท่านให้รู้สึกสงสัยว่า ลูกเสืออายุน้อยเหล่านี้มันพากันมาจากไหนหนอ พอท่านคิด

สงสัยแค่นี้ ทันใดก็ได้ยินเสียงเสือใหญ่ตัวหนึ่งกระหึ่มร้องขึ้นข้าง ๆ จนสะเทือนไปทั้งถ้ำ จึงหันไปมองดูก็พบว่ามีเสือโคร่งตัวใหญ่เกือบ

เท่าม้ากำลังนั่งสองขาจ้องมองท่านอยู่

ในระยะห่างประมาณสองวา ฝ่ายลูกเสือทั้ง 3 ตัวนั้น พอได้ยินเสียงร้องของเสือใหญ่ก็พากันผละจากตักท่านวิ่งเข้าไปหาเสือตัวนั้นแล้ว

หมอบลงนิ่งสงบอยู่ข้าง ๆ แสดงอาการเกรงกลัวท่านก็รู้ได้ทันทีว่า เสือใหญ่ตัวนี้คือแม่ของมัน เป็นเสือแม่ลูกอ่อนที่พาลูกออกท่องเที่ยว

หากินในยามราตรี พอรู้ว่าเป็นเสือแม่ลูกอ่อนพาลูกมาดู

ท่านนั่งภาวนาสมาธิท่านแปลกใจเล็กน้อย แล้วก็ไม่ได้สนใจมันอีกต่อไป ไม่ได้คิดหวาดกลัว หากคิดไปในทางสงสารมากกว่าจะคิดใน

ทางเป็นภัย โดยคิดว่า สัตว์กับเราก็มีความเกิดแก่เจ็บตายเท่ากันในชีวิตชาตินี้แต่เรายังดีกว่าสัตว์ตรงที่เรารู้จักบุญบาปดีชั่วอยู่บ้าง

ถ้าไม่มีคุณธรรมเหล่านี้แฝงอยู่ในใจบ้างเราก็คงมีสภาพเท่ากันกับสัตว์ดี ๆ นี่เอง

เพราะคำว่า “ สัตว์ ” เป็นคำที่มนุษย์ไปตั้งชื่อให้พวกเขาเองโดยที่เขามิได้รับทราบจากเราเลย ทั้งๆ ที่เราก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งคือสัตว์

มนุษย์ที่ตั้งชื่อกันเอง ส่วนพวกเขาไม่ทราบว่าตั้งชื่อให้พวกเราอย่างไร หรือไม่หรือเขาอาจจะตั้งชื่อพวกเราว่า “ ยักษ์ ”

ก็ไม่มีใครทราบได้เพราะสัตว์มนุษย์นี้ชอบรังแกและฆ่าพวกเขา

แล้วนำเนื้อมาปรุงอาหารก็มี ฆ่าทิ้งเปล่าๆ ด้วยสันดานโหดร้าย เห็นเป็นของสนุกมือก็มี? จึงน่าเห็นใจสัตว์ที่ถูกพวกมนุษย์เราชอบรังแก

เอารัดเอาเปรียบเขาเกินไป ไม่ได้คิดเสียเลยว่าสัตว์ก็มีหัวใจเหมือนกัน รู้จักคิด รู้จักรัก รู้จักเสียใจ รู้จักเจ็บปวด มีภาษาพูดรู้เรื่องกันใน

หมู่ของพวกมัน เพียงแต่มันพูดภาษามนุษย์ไม่ได้เท่านั้น

มนุษย์ควรจะเอาใจตัวเองไปใส่ใจสัตว์บ้างว่า ถ้าเราเป็นสัตว์แล้วโดนมนุษย์ด้วยกันข่มเหงรังแกบ้างเราจะรู้สึกอย่างไร สัตว์มีสัญชาตญาณ

ในการระวังภัย มันมักจะรู้ได้เสมอว่าที่ไหนมีภัย ที่ไหนไม่มีภัยสัตว์หลายชนิดชอบอยู่ใกล้พระ พระอยู่ที่ไหน สัตว์มักจะไปอยู่ด้วย

สังเกตดูวัดวาอารามพวกสุนัขก็ชอบมาอาศัยอยู่แหล่งน้ำหนอง

บึง ลำห้วย และแม่น้ำที่อยู่ใกล้วัด ก็มักจะมีสัตว์น้ำ เช่น ปลามาอาศัยอยู่ใกล้ๆ วัดชุกชุมเป็นพิเศษ เพราะมันรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า

พระคือผู้ทรงธรรม ธรรมะเป็นขอเย็นกายเย็นใจยังสัตว์โลกให้ปลอดภัยจากการเบียดเบียนกัน สัตว์จึงชอบอยู่ใกล้พระด้วยประการฉะนี้

พระอาจารย์มั่นภาวนาสมาธิต่อไป

ไม่เอาใจใส่เสือแม่ลูกอ่อนกับลูก ๆ ของมันเลย พอถอนจิตออกจากสมาธิในตอนรุ่งเช้า ก็ปรากฏว่า เสือแม่ลูกอ่อนและลูก ๆ ของมันยัง

คงหมอบสงบนิ่งมองดูท่านอยู่ไม่ได้หายไปไหน ท่านรู้สึกแปลก ที่มันไม่ยอมผละไปหากินมาหมอบเฝ้าดูท่านอยู่ใต้ทั้งคืน จึงแผ่เมตตา

ให้ด้วยจิตคิดสงสาร ขอให้มันและลูกจงมีความสวัสดีมีสุขในทางดำเนินไปตามวิถีชีวิต

และขอให้มันพาลูก ๆ ไปหาอาหารใส่ปากใส่ท้องเสียเถิด เดี๋ยวลูกๆ จะหิวโหยไม่เป็นการพอท่านแผ่เมตตาให้ในใจแล้วเช่นนั้น เสือแม่

ลูกอ่อนก็ส่งเสียงคำรามขึ้นเบา ๆ? เหมือนจะรับรู้แล้วพาลุกเดินผละจากไป ต่อมาในตอนกลางคืน มันก็พาลูก ๆ มาเฝ้าดูท่านเดินจงกรม

และภาวนาสมาธิอีกอย่างเอาใจใส่ เป็นอยู่เช่นนี้ถึงสามคืนซ้อน ๆ

จนท่านแปลกใจมากที่เสือดุร้ายกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารยังชีพมีความเชื่องเหมือนแมวตามบ้านอุตส่าห์มาอยู่ใกล้ๆ มนุษย์อย่างเอาใจใส่ผิด

วิสัยเสือ ท่านเกรงว่าขึ้นอยู่ที่ถ้ำนี้ต่อไป จะทำให้ลูก ๆ ของมันลำบากเรื่องอาหารการกิน เพราะแม่ไม่เป็นอันออกหากินมาเง้าท่านอยู่ได้

ทุกคืน ดังนั้นพอวันที่สี่ต่อมาท่านจึงจาริกธุดงค์ค์เดินทางไปที่อื่น

?
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1385:2010-01-10-10-45-36&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .