ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๓)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๓)

?

ป่าเปลี่ยวฆ่ากิเลส

?

การอยู่ป่าเป็นวัตรธุดงค์นี้ท่านพระอาจารย์มั่น เห็นว่ามีคุณประโยชน์เอื้ออำนวยให้แก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างวิเศษ เพราะป่า

เป็นสถานสงัดวิเวก ไม่ว่าจะมองไปทางใดก็ล้วนแต่ภูมิภาพอันเย็นตาเย็นใจปลุกประสาทให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาทนอนใจ

นั่งอยู่ก็มีสติ ยืนอยู่ก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติ

กำหนดธรรมะทั้งหลายที่มีอยู่รอบตัว เว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น ในอิริยาบถทั้งสี่เต็มไปด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่มีพันธะใด ๆ

มาผูกพัน มองเห็นแต่ทางมุ่งหวังพ้นทุกข์

ที่เตรียมพร้อมอยู่ภายในใจไม่มีวันจืดจางและอิ่มพอ จิตใจเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะที่จะโลดโดดทยานขึ้นจากหล่มลึกคือตัวกิเลส

ความจริงกิเลสก็คงเป็นกิเลส ที่ฝังอยู่ในใจตามความมีอยู่ของมันนั่นแล แต่ใจมันมีความรู้สึกไปอีกแง่หนึ่ง เมื่อไปอยู่ในป่าอันสงัด

วิเวกเช่นนั้น ความรู้สึกในบางครั้งเป็นเหมือนกิเลสตายลงไปวันละร้อยวันละพัน

ยังเหลืออยู่บ้างก็ประปรายราวตัวสองตัวเท่านั้น? นี่เป็นเพราะอำนาจของสถานที่ภูมิประเทศในป่าเขาลำเนาไพรช่วยส่งเสริมทั้งความ

รู้สึกโดยปกติและเวลาบำเพ็ญเพียร เป็นเครื่องพยุงใจให้มีมานะอาจหาญร่าเริงในธรรมอยู่ตลอดเวลา การธุดงค์อยู่ในป่าเปลี่ยวที่ชุกชุม

ไปด้วยส่ำสัตว์ร้ายนานาชนิด ย่อมเป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยอันตรายรอบด้าน

ทำให้พระธุดงค์ผู้ปราศจากเครื่องป้องกันตัวมีความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้กับตัวย่อมเป็นทางถอดถอนกิเลสไปทุก

โอกาส เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม หรือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่เรียกว่าสติปัฏฐานและสัจจธรรมอันเป็นจุดที่ระลึกรู้ของจิตแต่ละ

จุดนั้น ย่อมเป็นเกราะเครื่องป้องกันตัวเพื่อทำลายกิเลสแต่ละประเภทได้

อย่างมั่นเหมาะ ซึ่งไม่มีที่อื่นใดจะยิ่งไปกว่า ฉะนั้นจิตที่ระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานหรืออริยสัจเพราะความเปลี่ยวของป่าและความกลัว

เป็นเหตุ จึงเป็นจิตที่มีหลักยึดเพื่อการรบชิงชัยกับกิเลสเอาตัวรอดโดยสุคโตตามทางอริยมรรคไม่มีผิดพลาด

พระอาจารย์มั่นธุดงค์ท่องเที่ยวอยู่ในป่าเขาแดนประเทศลาว

?

เป็นเวลานานพอสมควรก็ข้ามฟากกลับมาฝั่งไทย จาริกธุดงค์ค์ไปตามถิ่นอีสานที่มีภูเขาลำเนาไพรโดยเฉพาะ แล้วก็ข้ามไปทางฝั่ง

ลาวอีก กลับไปกลับมาอยู่หลายตลบเป็นเวลาหลายปี แล้วท่านก็บ่ายหน้าลงมาอยู่ทางถิ่นลพบุรี พักบำเพ็ญธรรมกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำไผ่

ขวางบ้าง เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงห์โตบ้าง

วัดบรมนิวาส ยสเส กรุงเทพฯ

เข้ากรุงมุ่งปริยัติ

?

ต่อจากนั้นก็เข้าไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสระปทุม กรุงเทพฯ แดนนักปราชญ์ราชบัณฑิต เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้านปริยัติ และ

หมั่นไปนมัสการเพื่อนเก่าที่บารมีสูงได้ดิบได้ดีไปแล้ว คือ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ วัดบรมนิวาส ยศเส เพื่อสดับธรรม? ซึ่งท่าน

เจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็มีเมตตาต่อท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างยิ่งในฐานะเพื่อนเก่าลูกบ้านเดียวกัน

เคยเล่นหัวกันมาก่อนสมัยเป็นฆราวาส ได้อบรมข้ออรรถธรรมให้พระอาจารย์มั่นผู้อ่อนอาวุโสกว่าอย่างถึงใจทุกแง่ทุกมุมที่อับจนสงสัย

จนท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ กล่าวชมเชยว่าท่านมั่นนี้เฉลียวฉลาดมากเหลือเกิน

บอกอะไรก็จดจำได้แม่นยำไม่มีผิดพลาด ฟังข้ออรรถธรรมครั้งเดียวก็เข้าใจง่าย จดจำได้รวดเร็วไม่ต้องให้ครูอาจารย์ต้องอธิบายซ้ำ

สอง บางครั้งครูอาจารย์ถึงกับหมดภูมิเมื่อถูกท่านมั่นซักถามในข้อสงสัยอันลึกซึ้งเร้นลับบางประการ

?
ขอบคุณขัอมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php/2013-12-10-21-32-04/2012-07-14-08-21-34/1433-2010-01-20-18-22-13

. . . . . . .