ดับขันธ์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๖)

ดับขันธ์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๖)

ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 หน้าแล้งตกประมาณเดือนมีนาคม ปี 2492 พระอาจารย์มั่นเริ่มป่วยและเริ่มลาวัฏฏสังสาร อาการเริ่มแรกมีไข้และไอผสมกันเล็กน้อย ต่อมาอาการไข้ก็กำเริบไปทั้งวันทั้งคืน บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ถวายหยูกยาให้ฉัน แต่พระอาจารย์มั่นไม่ยอมฉัน และยังแสดงความรำคาญเวลาสาธุชนหลั่งไหลนำหยูกยาต่าง ๆ มาถวาย

ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า เวลานี้อาตมาอายุจะเต็ม 80 ปีแล้ว อาการป่วยไข้ครั้งนี้เป็นไข้คนแก่เฒ่าชะแรแก่ชราธรรมดาของโลก ถึงเวลาที่สังขารร่างกายของอาตมาจะหมดสิ้นการสืบต่อใด ๆ แล้วเมื่อสามปีก่อนอาตมาเคยบอกไว้ว่า อายุ 80 จะลาสังขารจากโลกนี้ไป บัดนี้ก็ถึงเวลาที่จะไปแล้วขอให้ทุกคนอย่าได้เศร้าโศกเสียใจอาลัยเลย หยูกยาขนานใดจะมารักษาอาตมาก็ไม่มีทางหายหรอก มีแต่ฟืนสำหรับเผาเท่านั้นจะเข้ากันได้สนิทกับสังขารอาตมา

?

เวลานี้อาตมาก็เปรียบเหมือนต้นไม้ตายยืนต้นเหลือแต่แก่น ไม่มีใครที่จะมารดให้ไม้แก่นกลับเจริญงอกงามมีรากมีใบอ่อนผลิดอกออกช่อขึ้นมาได้อีกหรอก จงอย่าพากันพยายามที่จะให้หยูกยารักษาอาตมาเลยเสียเวลาเปล่า ๆ แต่เมื่อลูกศิษย์ลูกหากราบไหว้วิงวอนขอให้ท่านฉันหยูกยาเสียบ้าง จะได้หายจากโรคภัย มีอายุยืนยาวออกไปอีกเพื่อโปรดลูกศิษย์ลูกหาไปนาน ๆ

ท่านพระอาจารย์มั่นทนรบเร้าวิงวอนไม่ไหว ก็จำใจฉันหยูกยาเล็กน้อยพอเป็นพิธี ไม่ให้ทุกคนเสียใจนักว่าท่านทอดอาลัยในสังขารเกินไป ข่าวพระอาจารย์มั่นป่วยกระจายไปถึง ไหน ใครทราบก็รีบรุดมานมัสการด้วยความเป็นห่วงทั้งพระทั้งฆราวาสจากทุกทิศทุกทาง สำนักของท่านที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม สกลนคร นี้เป็นถิ่นอยู่ในหุบเขา ห่างไกลจากถนนใหญ่หกร้อยเส้น การสัญจรไปมาลำบากทั้งหน้าแล้งและหน้าฝน ถึงกระนั้นก็ปรากฏว่า ทั้งพระทั้งฆราวาสพากันหลั่งไหลเยี่ยมนมัสการดูอาการป่วยของท่านไม่ขาดสาย คนเฒ่าคนแก่ที่เดินไม่ไหวก็ว่าจ้างล้อเกวียนเดินเข้าไป พอออกพรรษาแล้วบรรดาพระและครูบาอาจารย์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ทยอยกันมากราบเยี่ยมและปรนนิบัติ ท่านมากเป็นลำดับการป่วยไข้ด้วยโรคชราของท่านหนักเข้าทุกวัน

ท่านได้บอกทุกคนว่า ท่าจะตายแน่แล้วไม่อยากตายที่นี่เพราะที่นี่เป็นบ้านป่าบ้านดงชาวบ้านจะเดือดร้อนด้วยว่าไม่มีตลาดจับจ่ายซื้อข้าวของ เมื่อไม่มีตลาดก็จะพากันฆ่าสัตว์ เช่น เป็ดไก่ หมู วัว ควาย กันเป็นการใหญ่เพื่อเอาเนื้อสัตว์ทำบุญถวายพระในงานศพของท่านซึ่งแทนที่จะเป็นการทำบุญก็กลับจะเป็นการทำบาปครั้งใหญ่หลวง

พระอาจารย์มั่นกล่าวต่อไปว่า นับตั้งแต่ท่านได้บวชเรียนมาไม่เคยคิดจะให้สัตว์ทั้งหลายได้รับความลำบากเดือดร้อนถึงแก่ชีวิตเลยมีแต่ความเมตตาสงสารทุกเวลา ได้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์ทั้งหลายไม่เลือกหน้า โดยไม่มีประมาณตลอดมา ครั้นเวลาเวลาท่านจะตายลงไปจะยอมให้สัตว์ทั้งหลายถูกฆ่าตายไม่ได้

ขอให้พาท่านไปในจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ท่านต้องการตายที่ในเมืองเพราะในเมืองใหญ่มีตลาดใหญ่อยู่แล้วมีการค้าขายข้าวปลาอาหารเหลือเฟือเป็นปกติอยู่ทุกวี่ทุกวัน? เมื่อท่านตายลงไป ผู้ที่ศรัทธาเคารพนับถือในตัวท่าน สามารถจะซื้อหาข้าวปลาอาหารในตลาดมาทำบุญถวายพระให้ลำบากเป็นเวรภัย? เมื่อเป็นความปรารถนาของพระอาจารย์มั่นเช่นนั้น ลูกศิษย์ลูกหาคณะศรัทธาชาวบ้านก็ปฏิบัติตามไม่อาจจะขัดใจท่านได้? จึงได้นำท่านออกจากวัดหนองผือเดินทางมายังสกลนคร โดยอาราธนาท่านขึ้นนอนบนแคร่แล้วหามออกมา ไม่ยอมให้นั่งล้อเกวียนหรือพาหนะใด ๆ เพราะทางเป็นหลุมบ่อขรุขระมากเกรงว่าจะกระทบกระเทือนสังขารของท่านให้ทรุดหนักลงไปอีก

พอมาถึงฟากทุ่งนาที่เป็นถนนหนทางดีหน่อยจึงอาราธนาท่านขึ้นรถยนต์ ซึ่งแขวงการทางสกลนครส่งมาสามคันเพื่อรับท่านและคณะเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง และเดินทางเข้าถึงสกลนครเวลาเที่ยงวันพอดี เข้าพักที่วัดป่าสุทธาวาส ขณะนั้นท่านยังคงหลับอยู่และหลับไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเริ่มตื่นขึ้น? อาการไข้ของท่านเริ่มทรุดหนักเห็นได้ชัดตอนนี้เอง ท่านเริ่มตั้งสติในเบื้องต้นด้วยการนอนในท่าสีหไสยาสน์คือนอนตะแคงข้างขวาเพื่อเตรียมลาขันธ์คือ ภาราหเว ปัญจักขันธา อันเป็นกองมหันต์ทุกข์ในโลก

ขณะนั้นเป็นเวลาดึกสงัดวิเวกวังเวงใจบรรดาครูบาอาจารย์ที่เคยเป็นลูกศิษย์ มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นต้น ทยอยกันมาที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่นด้วยอาการรีบร้อนเมื่อได้ข่าวจากพระเณรที่รีบไปแจ้งอาการให้ทราบ การนั่งดูอาการของพระอาจารย์มั่น นั่งดูเป็นสามแถว แถวแรกเป็นพระผู้ใหญ่ แถวที่สองพระอาจารย์อันดับรองลงมาแถวที่สามเป็นคณะสามเณร ต่างนั่งพนมมือนิ่งด้วยอาการสงบ ตาจับจ้องมองดูอาการพระอาจารย์มั่นแน่วนิ่ง เพื่อจะประทับภาพอันเป็นวาระดับขันธ์ของท่านไว้ติดตาติดใจไว้ไม่รู้ลืม

พระอาจารย์มั่นลาโลกไปด้วยอาการสงบเมื่อเวลาตี 2 นาฬิกา 23 นาที

พอรุ่งเช้าทั้งพระผู้ใหญ่ทั้งข้าราชการทุกแผนกในจังหวัดสกลนครทราบข่าวมรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น ต่างก็รีบหลั่งไหลมากราบเยี่ยมศพและปรึกษาหารือกิจการเกี่ยวกับศพท่านว่าจะจัดการอย่างไรจึงจะเหมาะสม และเป็นการถวายเกียรติโดยควรแก่ฐานะของท่านซึ่งเป็นพระอาจารย์สมถวิปัสสนาองค์สำคัญที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสมากแทบทั่วประเทศไทยและประเทศลาว จึงตกลงกันนำข่าวมรณภาพของท่านไปออกข่าววิทยุและหนังสือพิมพ์แจ้งให้ประชาชนทราบ

ปรากฏว่าเมื่อข่าวแพร่ออกไป ประชาชนและพระเณรทั้งใกล้และไกลต่างพากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมศพท่านทุกวันมิได้ขาดนับจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสนมืดฟ้ามัวดินไปหมด

**บศพท่านด้านหน้าทำด้วยกระจก เพื่อผู้มาแต่ไกลล่าช้าจะได้เห็นองค์ท่านได้เต็มตาเต็มใจ คณะกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะเก็บศพท่านไว้จนถึงเดือน สามข้างขึ้น ต้นปี 2493 แล้วจึงค่อยถวายฌาปนกิจ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3159:2012-01-05-16-01-17&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .