หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร
(๒๔๓๗ – ๒๕๓๗)
วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

นามเดิม บุดดา มงคลทอง
เกิด วันเสาร์ ที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕
บ้านเกิด บ้านหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
บิดามารดา นายน้อย และนางอึ่ง อาชีพทำนา
พี่น้อง มีพี่น้อง ๗ คน
อุปสมบท อายุ ๒๘ ปี ๒๔๖๕ ที่วัดเนินยาว ตำบลโพนทอง อำเภอบ้านหมี่ ลพบุรี โดยพระครูธรรมขันธสุนทร (ม.ร.ว. เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา ถาวโรภิกขุ

เรื่องราวในชีวิต

ท่านมีความพิเศษต่างจากคนอื่น คือสามารถระลึกชาติได้ตั้งแต่เด็ก รู้ว่าบิดานั้นเคยเป็นพี่ชายของท่านในชาติก่อน

ในวัยเด็กไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะในระแวกบ้านไม่มีโรงเรียน โตขึ้นจึงช่วยบิดามารดาทำนา เมื่ออายุ ๒๑ ปี ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี มีโอกาสได้เรียนอ่านเขียนหนังสือที่นั่น เมื่อพ้นทหารในปีต่อมา ยังต้องอยู่ช่วยทางบ้าน ทำนาอีก ๖ ปี จึงได้บวชสมความตั้งใจ
ระหว่างจำพรรษาที่วัดเนินยาว พยายามตัดความอยากได้อยากมีอยากเป็นพร้อมกับปฏิบัติธรรมจนชำนาญ พอออกพรรษาก็ออกธุดงค์ไปถึงหนองคายโดยไม่มีมุ้งไม่มีกลด พรรษาที่สองธุดงค์ไปในป่าดงทึบจังหวังเพชรบูรณ์ ข้ามไปฝั่งลาว ได้พบโครงกระดูกของท่านที่ถูกฝังไว้ในชาติก่อน ในพรรษาต่อมาเดินทางข้ามไปเวียงจันทร์ ได้พบวัดที่ท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสติดต่อกันถึงสามชาติ หลังออกพรรษาได้ออกธุดงค์บริเวณเทือกเขาภูพาน ได้พบ หลวงปู่สงฆ์ พรหมสระ ซึ่งระลึกได้ว่า เคยเป็นบิดาของท่านเมื่อชาติก่อน

หลวงปู่บุดดา และหลวงปู่สงฆ์ได้ธุดงค์ด้วยกันมาจนถึงถ้ำภูคา ตำบลหัวหวาย ตำบลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม แล้วท่านทั้งสองก็บรรลุธรรม ที่ถ้ำภูคาในปีนั้นเอง
ในปี ๒๔๗๖ พรรษาที่ ๑๐ ญาติโยมได้นิมนต์ท่านจำพรรษาที่วัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ และในพรรษาต่อ ๆมาก็ได้ไปจำพรรษาอีกหลายแห่งในหลายจังหวัด ทำให้ได้พบและสนทนาธรรมกับพระอริยสงฆ์ที่โด่งดังอีกหลายท่าน จนในปี ๒๕๒๒ หลวงปู่เย็น ทานรโต เจ้าอาวาสวัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี ได้นิมนต์ท่านปำพรรษาที่วัด นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ บุดดาได้ช่วยพัฒนาวัดกลางฯ ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาตามลำดับ
แม้ในวัยชราหลวงปู่บุดดาก็ยังคงให้ความอนุเคราะห์แก่ญาติโยมที่มานิมนต์หรือมากราบนมัสการด้วยดีเสมอมา จนกระทั่งต้นปี ๒๕๓๖ ท่านได้อาพาธกะทันหันด้วยเส้นโลหิตในสมองอุดตัน ต้องรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่นั้นมา

มรณภาพ
วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ อายุ ๑๐๑ ปี

ข้อมูลพิเศษ

* บุดดา เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า บุตรธิดา เอกลักษณ์ของหลวงปู่คือ การพาดสังฆาฏิลงมาจากบ่า

ทั้งสองแล้วคาดผ้าทับที่รอบอกและการให้ผงแป้ง กระป๋องแก่ญาติโยมเป็นสิ่งมงคล
ธรรมโอวาท

“ …เกิดมาทำไมให้ต้องวนเวียน? หนีสิ หนีเกิด ไม่ต้องมาเกิด เกิดก็เป็นทุกข์ แก่ก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ อย่าได้ประมาทนิ่งนอนใจ

อย่าได้ทิ้งเด็ดขาด อย่ามัวแบก ทุกข์อวิชากันอยู่เลย ให้เคารพศรัทธามั่นในโลกุตตรธรรมนะ..”

“…ธรรมะเป็นอย่างไร ธรรมะก็หนังแผ่นเดียวนะซิ จิตเดียวซิ กิเลสมันมาเป็นเจ้าของอวิชชา ตัณหาอุปาทานมันนึกว่าหนังของมัน เนื้อของมันตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของมัน ที่ไหนมันมาอาศัยเขาเกิดยังว่าของมันอีก…”

“…คนที่มันเขียนท้ายรถยนต์ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป ไอ้นั่นนะมันไม่รู้จัก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มันเอาข้อวัตรของมันมาเอากิเลสสอวด โอ่โธ่! พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดอย่างนั้นให้พ้นจากทุกข์เกิดแก่เจ็บตายนั่นแหละจึงได้เข้าศาสนาถูก…”

“…อาหารทุกอย่งเป็นยาเลี้ยงเขาไป ตา เขาก็ไม่ได้ว่าเป็นของเขา หูก็ไม่ได้ถือเป็นเจ้าของ ลิ้นเขาไม่ได้ยึดถือเป็นลิ้นเขา เขาทำตามธรรมชาติไปอย่างนั้นเองธรรมชาติเขาก็ทำหน้าที่ธรรมชาติของเขาคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอย่างนั้นเอง อยู่บ้านอย่าติดบ้านนะ อยู่วัดอย่าติดวัดนะ อยู่ถ้ำอย่าติดถ้ำนะ ติดที่ไหนเป็นกิเลสที่นั่น…”

http://www.santidham.com/Lhuangpoo/biography/p%20budda/1.html

. . . . . . .