ผลงานของท่านพุทธทาส

หลังจากที่ท่านสร้างสวนโมกข์–ไชยา ไม่นาน ท่านคิดทำหนังสือ “พุทธสาสนา” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ธรรมะ และเพื่อแถลงกิจการของคณะธรรมทานและสวนโมกข์ ท่านเล่าว่าในยุคนั้นที่กรุงเทพฯเคยมีหนังสือพิมพ์ “ธรรมจักษุ” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) แต่เมื่อสิ้นท่านก็ได้หยุดไป เมื่อท่านพุทธทาสออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนาในต่างจังหวัด ทางกรุงเทพฯ จึงรื้อทางกรุงเทพฯ จึงรื้อฟื้น “ธรรมจักษุ”
ชุดธรรมโฆษณ์ (วรรณกรรมหลัก)
“ระเบิดภูเขาหิมาลัย” หนังสือที่ออกมาเพื่อต่อต้านเรื่อง “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” โดยโจมตีว่า พุทธทาสภิกขุ รับจ้างคอมมิวนิสต์มาทำลายพระศาสนา และมีการนำเรื่องดังกล่าวฟ้องพระเถระผู้ใหญ่ด้วย แต่ไม่เป็นผล
นามปากกาที่ท่านพุทธทาสใช้มีมากมาย ได้แก่ “พุทธทาส” จะเขียนเรื่องธรรมะโดยตรง “อินฺทปญฺโญ” กับ “ธรรมโยธ” จะเขียนเรื่องให้คนโกรธ เพราะจะวิจารณ์กันอย่างแรง กระทบกันแรง “สิริวยาส” เขียนโคลงกลอน “สังฆเสนา” เขียนแบบนักรบเพื่อธรรม ส่วน “ทุรโลกา รมณจิต” เขียนเรื่องปรารถนาโลก “ข้าพเจ้า” เขียนเรื่องแง่คิดขำ ๆ “นายเหตุผล” เป็นการแกล้งเขียน เป็นเจตนาที่จะให้ผู้อ่านคิดนึกในทุกแง่ทุกมุม แกล้งเขียนค้านพุทธศาสนา ถ้าจะค้านมันจะค้านได้อย่างนี้ ให้คนอื่นได้วินิจฉัยได้ความรู้ทางพุทธศาสนามากขึ้นต่อมาเมื่อท่านพุทธทาส มุ่งเน้นการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก โดยค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฎก ท่านจึงได้เขียน “ตามรอยพระอรหันต์” ขึ้น โดยคัดเลือกเอาพระไตรปิฎก ส่วนหรือสูตรที่ควรจะเผยแพร่ มาแปลลงในหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนาท่านเล่าว่า “….ในนั้นมีความสมบูรณ์ของการปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะค้นคว้าสำหรับไว้ใช้เองด้วย เพื่อตามรอยเอง เพื่อใช้กับตนเอง แล้วก็เห็นว่าคนอื่นเขาก็ใช้ได้ ก็เลยให้พิมพ์ให้โฆษณาออกไป…มันเป็นตอนต้น ๆ ก่อน สมาธิ ภาวนา
เครื่องบันทึกเสียงเก่าแก่ ชนิดใช้เส้นลวดเป็นม้วนเทป เริ่มใช้งานประมาณปี ๒๔๘๕ ทำให้มีการถอดเทปคำบรรยายของพุทธทาสภิกขุ จัดพิมพ์เป็นหนังสือสำคัญ
เครื่องบันทึกเสียงสมัยต่อมาของท่าน ซึ่งใช้แถบเทปสีน้ำตาลแบบม้วนอย่างในปัจจุบัน
ตู้เก็บสื่อต่าง ๆ ในห้องทำงานชั้นล่างของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งมักมีทั้งภาพถ่าย สไลด์ เทปเส้นลวด
วรรณกรรมคู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์
การยืนปาฐกถาธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ด้วยความรู้ความสามารถของท่านพุทธทาส จึงได้รับการถวาย “ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” สาขาต่าง ๆ จากสถาบันหลายแห่ง ดังนี้
๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ได้รับการถวาย อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
๓ ธันวาคม ๒๕๒๘ ได้รับการถวาย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ได้รับการถวาย ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านพุทธทาสยังได้รับการถวายรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย ดังนี้
– สแวเรอร์ ได้สรรเสริญท่านพุทธทาสว่าเป็น “นาคารชุนแห่งเถรวาท” กล่าวคือ เป็นผู้ปฏิวัติชำระสะสาง ปฏิรูปพุทธศาสนา ทั้งในด้านวิชา ความรู้ และวิธีดำเนินการ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น สะอาดยิ่งขึ้น และก้าวหน้ายิ่งขึ้น (นาคารชุนคนแรก เป็นผู้ปฏิวัติพุทธศาสนาในสมัยนาลันทา ที่อินเดีย)
– พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือ แก่นพุทธศาสน์ ที่ท่านพุทธทาสแสดงปาฐกถาในโอกาสพิเศษ ณ ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) มหาวิทยาลัย แพทย์ศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศ “หนังสือดีประจำปี ๒๕๐๘” จาก องค์การยูเนสโก้ แห่งสหประชาชาติ
– พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านพุทธทาส ได้รับคัดเลือกจากทางราชการ ประเภทบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิต ในโอกาสสมโภชน์กรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญลักษณ์ “เสาอโศก” และเงินสดหนึ่งหมื่นบาท
– พ.ศ. ๒๕๓๗ ครุสภา ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕

ขอขอบคุณ http://www.dhammadana.or.th/

. . . . . . .