รวมคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ)

รวมคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ)

อิทธิบาท 4
เมื่อบวช ก็ต้องยุติเรื่องราวทางโลก จึงควรที่สนใจศึกษาหาความรู้ทางปริยัติธรรม และฝึกปฏิบัติ ปริยัติธรรม ได้แก่ คำสั่งสอน อันเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ?ส่วนปฏิบัติธรรมนั้นเป็นคำสอน ที่บ่งวิธีปฏิบัติโดยตรงซึ่งจะมีผลส่งให้ถึงปฏิเวธธรรม?? คือ? การรู้แจ้งแทงตลอดสภาวะความเป็นจริง ท่านบอกว่า ถ้าบวชแล้วไม่สนใจในพระสัจธรรม?? ของพระพุทธองค์ ก็เสียเวลาเปล่า ถึงฆราวาสก็เช่นกัน เมื่อไม่ได้เป็นผู้ทรงศีล ก็ต้องเอาดีทางโลกให้ได้ ต้องเก่งไปในทางที่ตัวเลือกดำเนินชีวิต ท่านสอนว่า ?“ อ้ายโลกก็เหลว อ้ายธรรมก็แหลกเป็นแบกบอน เหลือแต่ กิน นอน เที่ยว สามอันเท่านั้นเอย” ? เมื่อละตัณหาได้ อุปทานก็ไม่มี ดังจะยกอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็น เช่น สามีภรรยาที่หย่ากัน เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า ฝ่ายภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า?? ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้ว มิใยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่ง จะไม่มีทุกข์มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะเขาหมดความยึดถือว่า เขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น จะเห็นได้ชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจากอุปาทานอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ?“ ปัญจุปาทานักขันทา ทุกขา ”
รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้หมดทุกข์ ถอดกายทิพย์ออกจากเสียงมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะไม่มีใครเป็นทุกข์ และในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานได้หมด ทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คงแต่ธรรมกายเด่นอยู่ ฯ กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมะของพระองค์ จะรู้ว่าธรรมะของพระองค์ดีจริงอย่างไร และเมื่อปฏิบัติตามแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร ดังนี้ ย่อมเกิดจาก การปฏิบัติของตนเอง ด้วยใจของตนเอง ผู้อื่นจึงพลอยรู้ด้วยไม่ได้ มันเป็นรสทางใจ หากใจผู้ปฏิบัติเยือกเย็นเป็นสุขสักปานใด แม้เขาจะมาเล่าให้เราฟัง ใจเรามันก็จะไม่เย็นอย่างเขา ตามคำที่เขาเล่าบอกนั้นได้ จะไม่ผิดอะไรกับคนหนึ่ง ได้กินแกงชนิดหนึ่งมาเล่าให้เราฟังว่า มันอร่อยอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะไม่ทำให้เราเปิปข้าวเปล่า ๆ โดยนึกเอารสแกงที่เขาว่านั้นมาประสมให้ได้รสอร่อยอย่างเขาว่านั้นได้ ?แม้ว่าเวลานี้จะเป็นการล่วงมาช้านานจากที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นข้อห้ามว่า ผู้ที่ปฏิบัติตามจะไม่ได้รับผล อย่างที่ท่านได้รับ นอกจากคำกล่าวอ้างของคนเกียจคร้าน ข้อนี้ มีคำว่า ….อกาลิโก ในบทพระธรรมคุณนี้เอง เป็นหลักฐานยันอยู่ว่าธรรมของพระองค์ ผู้ใดปฏิบัติตามย่อมทำให้เกิดผลทุกเมื่อ ไม่มีขีดขั้น พระอริยสาวกทั้งหลายนั้น ฐานะเดิมก็เป็นมนุษย์ปุถุชนนี้เอง แม้องคมนตรีสมเด็จพระบรมศาสดาก็เช่นกัน มิใช่ เทวดา อินทร์ พรหม ที่ไหน แต่ที่เลื่อนขั้นสู่ ฐานะเป็นพระอริยะได้ ก็เพราะการปฏิบัติเท่านั้น แนวปฏิบัติอย่างไหนถูก พระองค์สอนไว้ละเอียดหมดแล้ว ปัญหาจึงเหลือแต่ว่าพวกเราจะปฏิบัติกันจริงหรือไม่เท่านั้น ฯ

อิทธิบาท ๔ ? ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้เรียกว่า อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล แปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้นว่าโดยเฉพาะในการบำเพ็ญภาวนา
?? ๑. ต้องปักใจรักการนี้จริง ๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาว?? ๒. ต้องบากบั่นพากเพียรเอาจริงเอาจัง?? ๓. วิจารณ์ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามแนวสอนของ?????? อาจารย์ให้ดีที่สุด?? ๔. ทดลองในที่นี้ ได้แก่ หมั่นใคร่ครวญสอดสองดูว่าวิธีการที่ทำไปนั้น มีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง รีบแก้ไข อย่างนั้น ไม่ดีเปลี่ยน อย่างนี้ลองดูใหม่ เช่น นั่งภาวนาในที่นอนมักจะง่วง ก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่น เป็นต้นข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง ๔ อย่างนี้เรียกว่า?? อิทธิบาท? เป็นเครื่องที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในกิจทั้งปวง ฯ
ธรรมกาย
?
ต้องให้หยุดให้มากที่สุด เท่าที่บังคับให้หยุดได้ หยุดให้มากที่สุด ก็เจริญที่สุด หยุดต้องมีกลเม็ด หยุด ดับหยาบไปหาละเอียด
?
ร่ำไป ไม่ใช่หยุดแล้วไม่ทำอะไร ทำหยุดในหยุดนั้นและหนักขึ้นทุกทีไม่มีเวลาหย่อน จึงจะเจริญถึงที่สุดเร็ว ธรรมกาย เป็นกาย
?
ที่ ๕ นั้นเป็นกายที่สำคัญที่สุดในพุทธศาสนา ผู้ใดทำกายนี้ให้เป็นขึ้นได้ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่า อนุพุทธเจ้า
?
เป็นพระพุทธเจ้า ตามเสด็จพระพุทธเจ้า ฯ ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำ
?
เสมอ ทำเนือง ๆ ในทุกอิริยาบท ไม่ว่า นั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไปอย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้า
?
เรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไรท่านรู้ได้ ด้วยตัวของท่านเอง
?
พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริง ๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้วเป็นการเปรียบด้วยแก้ว ถ้าในทาง
?
ปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริง ๆ

?เห็น ใดฤามาตรแม้น ธรรมกายจำ สนิทนิมิตหมาย มั่นแท้คิดทำเถิดหญิง-ชาย
?
ชูช่วย ตนแฮรู้ ยิ่งเบญจขันธ์ แต่ล้วนอจิรัง
ร้อนด้วย ราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูป
?
บ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตา
?
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายาตนะทั้ง ๖ นั้น
?
ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้น ดับหมด พอหยุดได้เสียอันเดียวเท่านั้นก็ดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อ
?
หน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในทางความรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในทางสัมผัส
?
ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฯ
?
อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน มรรคผลนิพพานกายธรรมอย่างหยาบ กายธรรม โคตรภู โสดา สกิทา
?
คา อนาคา อรหัตต์ อย่างหยาบนั่นแหละ เป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด นั่นแหละ แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็น
?
กายโคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มี
?
ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิรา
?
คธาตุ วิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนอยากจนก็
?
เหนี่ยวรั้งคนอยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน
?
ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็
?
เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้าย ๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายาตนะสำคัญ อายตนะดึงดูดเช่น โลกายาตนะ
?
อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด
?
เพราะอยู่ในปรกครองของรูปฌาณ อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌาน ดึงดูดเข้ารวมกัน
?
อตถิ ภิกขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้นให้รู้จักหลักจริงอัน
?
นี้ก็เอาตัวรอดได้ ฯ
การให้

ทาน? การให้ไม่ใช่เป็นไปแต่ในพุทธศาสนา? ก่อนพุทธกาล? พระพุทธเจ้ายังไม่ได้อุบัติตรัสขึ้นในโลก?? การให้นี้
?
เขามีกันอยู่แล้ว? มีอย่างไร? จำเดิมแต่มารดาบิดาเมื่ออยู่ร่วมกัน? ก็ต้องให้กันแล้ว? ต้องให้ความสุข? ให้เงินทองข้าวของเสื้อ
?
ผ้าซึ่งกันและกัน? มีอะไรก็แจกกัน? รับประทานไปใช้สอยไป? นี่ก็ให้กัน ถ้าไม่ให้กันอยู่ด้วยกันไม่ได้? ต้องแยกจากกันทีเดียว
?
แหละ? ถ้าให้กันละก็อยู่ด้วยกันได้? นี่ การให้นี้เป็นข้อสำคัญนัก? ทานการให้เป็นหลักคัญที่จะให้ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ให้
?
ถ้าว่าไม่มีทานการให้แล้วคนจีนที่มาจากเมืองนอกจะไม่รวยเร็วถึงขนาดนี้ดอก? เพราะทานการให้นี่แหละ จีนยิ้มทีเดียว? เจอ
?
เถ้าโล้ใหญ่ ๆ ที่เขาทำงานใหญ่?? ๆ?? กัน? เมื่ออยากจะทำงานกับเขาด้วยแต่เขาไม่ค่อยยอมให้ทำ? เมื่อไม่ยอมให้ทำ? คนจีน
?
ก็ฉลาด? ค่อย ๆ ให้เล็ก? ให้น้อยเข้าไปก่อน? เอ๊ะ ! ไอ้นี่ดีนี่ให้หนักเข้าไปทุกทีแหละ? พอมีกำลังให้หนักขึ้น? ให้มากจนกระทั่ง
?
ถึงผูกภาษีอากร? เป็นเถ้าแก่ใหญ่โตขึ้นไปเป็นเพราะให้ไม่ใช่หรือ? ถ้าไม่ให้ก็ไม่ได้เป็นเถ้าแก่ผูกภาษีอากรน่ะสิ?? เพราะให้
?
นั่นเป็นตัวสำคัญนัก? คนจีนเขาจึงได้พูดยืนยันว่า? ลูกไก่ยังกินข้าวสารอยู่ตราบใดละก็เขาอยู่เมืองไทยไม่จนแน่? เขา
?
บอกอย่างนี้แหละ? ถ้าว่าลูกไก่ไม่กินข้าวสารละก็? จีนเขาก็ยอมจนล่ะ? จะไปให้อะไรใครก็ไม่ได้?? ถ้าว่าให้อะไรใครไม่ได้จะไป
?
หางานการอะไรได้? เพราะตนเป็นคนต่างบ้านต่างเมืองมา?? ดังนั้นการให้กันและกันนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญ
?
เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว? อยู่ในสถานที่ใดก็อย่าลืม? ทาน? การให้กับ? พ่อ แม่? ลูกหญิง? ลูกชาย? สามีภรรยาก็ต้องให้กัน?
?
เมื่อสามีภรรยาอยู่ร่วมกันและมีลูกขึ้นมา? ต้องให้ลูกกินนม? นมนั่นแหละเป็นเงินเป็นทองเหมือนกัน? นมน่ะกลั่นออกมาจากเงิน
?
ทองเช่นกัน? มารดา? บริโภคอาหารเข้าไป?? อาหารก็ไปเป็นน้ำนม?? ลูกก็กินนมเข้าไปเป็นลำดับ?? พอวายนมแล้วก็ให้ลูก
?
บริโภคอาหาร? ต้องซื้อข้าวของลูกไม้? ลูกไล่ มาให้มัน? ลูกจึงจะอ้วนพีมีเนื้อหนังดี?? ให้เรื่อยทีเดียว ลูกจะกินอะไร? จะต้อง
?
การอะไร? พ่อแม่ให้ได้ทุกอย่าง?? ให้เรื่อยจนกระทั่งเติบโต? แต่ว่าถ้าลูกต้องภัยได้ทุกข์ หิว? หรือโรยแรง? แม่ก็เอาของอะไรมา
?
ให้รับประทาน? พอโตหนักขึ้น? ๆ? ลูกต้องการอะไรก็อยู่ที่แม่อีกทั้งนั้น? แม่ไม่ให้? พ่อก็ให้ หรือให้ด้วยกันทั้งสองฝ่ายอีกนั่น
?
แหละ? ถ้าว่าพ่อแม่ไม่ให้ล่ะก็? ลูกตายหมดไม่เหลือเลย? ลูกที่เป็นอยู่ได้นี้ก็เพราะอาศัยการให้ซึ่งกันและกัน? เพราะให้อย่างนี้
?
แหละจึงได้นามระบือลือเลื่องไปทั้งเมืองว่า? พ่อและแม่เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้แล้ว? เราจำหลักไว้? เราค่อย ๆ ให้??
?
บุคคลหนึ่งคนใดโกรธเคืองด่าว่าเรา? เราก็หาอุบายแก้ไข? ค่อย? ๆ? ให้เขาเถอะ คนที่เคยด่าพ่อ ด่าแม่ คนอิจฉาริษยา? นั่น
?
แหละ? ให้เสีย? พอเขาเชื่อง? พอเขาเลื่อมใส เราจะใช้เขาทำอะไร? เขาก็ทำเอาทั้งนั้นแหละ? นี่สำเร็จด้วยการให้? นี่แหละ
?
เป็นข้อสำคัญนัก โลกจะจงรักภักดีซึ่งกันและกัน? ก็เพราะอาศัยให้ซึ่งกันและกัน? เขาจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า? หญิงชายที่
?
เป็นสามีภรรยากัน? ถ้าสามีไม่ชอบใจภรรยา? หรือภรรยาไม่ชอบใจสามีล่ะก็? เอาล่ะ? หาเสน่ห์เล่ห์ลม? ประการต่าง ๆ? ช่าง
?
บ้าหลังอะไรไม่เข้าใจ?? นี่เขาบอกไว้ชัด? ๆ? แล้ว? ว่าผู้ปฏิบัติครองเรือนไม่ต้องมีเสน่ห์อะไรดอก? เสน่ห์ปลายจวักนั่นแหละ
?
ผัวรักจนตายทีเดียว? เพราะอะไรล่ะ? จวักนี่หากินหาอยู่ให้สามีได้รับความสุข?? ลูกก็เหมือนกันจะดุด่าทุบตีเท่าไรเขาก็ยอมทั้ง
?
นั้นแหละ ไม่โกรธไม่เคืองหรอก? สามีก็เหมือนกัน ปรนนิบัติให้ดี? ให้อิ่มหนำสำราญเช่นนี้? เท่านั้นแหละ? จะใช้ให้ไปทำอะไรก็
?
ยอมทั้งนั้น?? นี่เสน่ห์? สำคัญนัก? ให้เข้าใจว่าการให้เป็นหลักสำคัญ ตระกูล ๆ หนึ่ง? ถ้าว่าให้กันถึงขนาดเข้าแล้ว? ตระกูลนั้น
?
ก็เจริญ? ให้ถูกส่วนเข้าก็เจริญ ฯ

http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2248:2010-05-22-23-56-12&catid=39:2010-03-02-03-51-18

. . . . . . .