ประวัติ หลวงพ่อเงิน บางคลาน กรุวัดขวาง

ประวัติ หลวงพ่อเงิน บางคลาน กรุวัดขวาง

ประวัติความเป็นมา :
ตำบลวัดขวาง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโพทะเล ซึ่งเรียกชื่อตามชื่อวัด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำพิจิตรเก่า (แม่น้ำน่านเดิม) ปัจจุบันอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลวัดขวาง มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาบริเวณนี้เป็นโค้งคุ้งแม่น้ำน่าน มีเกาะอยู่กลางแม่น้ำ การเดินทางในสมัยก่อนราษฎร ใช้เรือแพเป็นพาหนะในการสัญจรไปมา ยามน้ำลดเรือแพของราษฎรมักจะติดอยู่ในบริเวณนี้ บางครั้งติดอยู่หลายวัน ต้องลงเรือหาที่พักแรมหาอาหาร หาฟืน บางคนเห็นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงได้ชักชวนกันตั้งบ้านเรือนจนเกิดชุมชนขึ้นในบริเวณนี้ ครั้นเมื่อมีบ้านเรือนอยู่หนาแน่นเป็นชุมชนใหม่ หลวงพ่อไข่และราษฎรผู้มีจิตศรัทธาจึงได้สร้างวัดขึ้น ติดบริเวณโค้งคุ้งน้ำแห่งนี้ และเนื่องจากบริเวณวัดตั้งอยู่ติดโค้งคุ้งน้ำ ราษฎรที่ใช้เรือแพเดินทางสัญจรไปมาเมื่อเดินทางใกล้ถึงบริเวณโค้งคุ้งน้ำแห่งนี้ เมื่อมองไปข้างแม่น้ำจะเห็นเป็นวัดสร้างขวางแม่น้ำอยู่ จึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดขวางน้ำ แต่ต่อมาเรียกกันติดปากสั้น ๆ ว่า “วัดขวาง”

สภาพทั่วไปของตำบล :
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำพิจิตรเก่าไหลผ่าน ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะกับการทำนา
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดกับ ต. ทับหมัน อ. ตะพานหิน จ. พิจิตร
ทิศใต้ ติดกับ ต. ทุ่งน้อย อ. โพทะเล จ. พิจิตร
ทิศตะวันออก ติดกับ ต. คลองคูณ อ. ตะพานหิน จ. พิจิตร
ทิศตะวันตก ติดกับ ต. โพทะเล อ. โพทะเล จ. พิจิตร

จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 5,469 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,390 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา
เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล :
ทางหลวงชนบท สายโพทะเล – บางลาย ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร
โครงสร้างการบริหารของ อบต.
0. สำนักงาน อบต.วัดขวาง
โทร. 0-5668-7077
1. นายรุ่งเรือง เอมสาร ประธานสภา อบต.
2. นายเย่น สิงห์ชู เลขานุการสภา อบต.
3. นายฉวน จันทร์ขวาง นายก อบต.
4. นางสายสุณี จงอยู่สุข ปลัด อบต.
5. นายฉวน จันทร์ขวาง ประธานกรรมการบริหาร อบต.

การเดินทาง :
จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ
สามารถเดินทางได้โดยทางรถไฟ ทางรถยนต์
และทางรถประจำทาง

///////ประวัติ หลวงพ่อเงินกรุวัดขวาง:////////

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน
แสดงพุทะคุณ อยู่ยงคงกระพัน
ยิงปืนใส่ กระสุนไม่ออก
แม้แต่นัดเดียว

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2527 ได้เกิดตำนาน ความศักดิ์สิทธิ์เล่าขานจากชาวบ้าน ตำบลวัดขวาง

อำเภอโพทะเลจังหวัดพิจิตร ถึงปาฏิหารย์ความศักดิ์สิทธิ์ที่เห็นประจักษ์ต่อสายตาคนจำนวนมาก ณ กรุวัดขวาง

ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 90 ปีเมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. ได้มีคนร้ายประมาณ 5 คน ลักลอบขุดเจาะฐานเจดีย์

ชะรอยกับที่นายเอิบ อินเอี่ยม ชาวบ้านแถบนั้นได้เดินทางมาจากต่างจังหวัด พบเห็นเหตุการณ์เข้าพอดี

นายเอิบ อินเอี่ยม ได้รีบนำความเข้าแจ้งต่อผู้ใหญ๋บ้านคือ นายเสนาะ เม่นเกิด ผู้ใหญ่บ้านซึ่งไม่รอช้า

รีบรวบรวมลูกบ้าน ออกไปทำการจับกุมคนร้ายทันที คนร้ายจึงรีบหนีพร้อมนำพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน

ที่ขุดได้หอบใส่ถุงพลาสติก เตรียมขึ้นรถจักรยานยนต์ไป ในขณะที่คนร้ายกำลังจะหลบหนี นาย-เสนาะ เม่นเกิด

ผู้ใหญ่บ้าน ได้ใช้ปืนพกขนาด .38 ยิงใส่กลุ่มคนร้าย ปรากฏว่า กระสุนทั้งหมดด้านอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้คน

ร้ายนำพระจำนวนมากหลบหนีไปได้ หลังจากที่คนร้ายหลบหนีไปแล้ว นายเสนาะ จึงใช้ปืนยิงขึ้นฟ้า ปรากฏว่า

กระสุนดังลั่นถึง 3 ครั้ง ซึ่งเรื่องนี้เคยเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ต่อมาทางวัดได้สำรวจบริเวณเจดีย์

พบพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่ยังเหลือตกค้างอยู่ เป็นเนื้อทองสีดอกบวบมีสนิมแดงขึ้นเต็ม จำนวน 73 องค์

ได้มอบให้กรรมการวัดเก็บรักษาไว้ และนำ ออกให้ประชาชนทั่วไปได้บูชา องค์ละ 60,000 บาท เพื่อนำปัจจัย

ดังกล่าวมาบูรณะวัด พร้อมด้วย พระรูปหล่อพิมพ์สังกัจจายน์ ที่ทางวัดได้ขออนุญาติต่อทางจังหวัดพิจิตรทำการรื้อ

เจดีย์เพราะสภาพชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว โดยมีพระครูพิบูลย์ธรรมเวทย์(หลวงพ่อเปรื่อง) เจ้าคณะอำเภอโพทะเล

เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยชาวบ้านอีกมากมายมาร่วมเป็นสักขีพยาน

ในวงการพระเครื่องต่างยอมรับว่าเป็นพระที่หลวงพ่อเงินสร้างไว้อย่างแน่นอน
ประกอบกับประวัติความเป็นมาของวัดและกรุแห่งนี้ได้รับการเปิดเผยจากนายวอ สุขหร่อง อายุ 85 ปี
แต่เรื่องที่เล่าให้ฟังยังอยู่ในความทรงจำที่ไม่เลอะเลือน ว่าตนเองอยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 3 ตำบลวัดขวาง
เคยเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดขวางมาก่อน ยืนยันว่าวัดแห่งนี้สร้างประมาณ 200 ปี แล้ว

หลวงพ่อไข่นั้นเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน โดยวัดแห่งนี้อยู่ห่างกันเพียง 20 กม. เท่านั้น
หลวงพ่อไข่ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดขวางนี้ นายวอมีอายุเพียง 9 ปี ซึ่งก็ได้อยู่รับใช้มาโดยตลอด
หลวงพ่อไข่ได้ว่าจ้าง เจ็กพัง สร้างเจดีย์แห่งนี้ ซึ่งนับถึงปัจจุบันนี้ มีอายุเก่าแก่ถึง 70 กว่าปีแล้ว(2527)
หลวงพ่อไข่ได้ไปหาหลวงพ่อเงิน โดยนำตนติดตามไปด้วย เพื่อขอพระมาบรรจุไว้ในเจดีย์ ที่สร้างใหม่
หลวงพ่อเงินได้มอบพระเครื่องให้จำนวน 1 บาตร โดยนำมาบรรจุร่วมกับโถลายครามอีกทีหนึ่ง

ปัจจุบันพระเครื่องเหล่านี้หมดจากวัดแล้ว

แต่ยังพอหาได้ตามละแวกตำบลวัดขวาง

ซึ่งก็เป็นที่หวงแหนของผู้ที่มีไว้ในครอบครอง

อยู่ไม่น้อยจากกิตติศัพท์ที่เล่าลือจัดเป็นพระเครื่อง

ที่มีพุทธคุณสูงเช่นเดียวกับพระเครื่องที่หลวงพ่อเงิน

วัดบางคลานได้สร้างมาทุกรุ่น

http://www.weloveshopping.com/

. . . . . . .