โลหะที่เป็นส่วนประกอบของพระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

โลหะที่เป็นส่วนประกอบของพระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

จึงคาดว่า โลหะหลักๆ ในรูปหล่อพลวงพ่อเงิน จึงน่าจะมี ทองแดง สังกะสี เงิน และทองคำ เป็นหลัก หรือตามลำดับ โดยโอกาสจากมากไปน้อยก็ว่าได้
ในการที่จะเข้าใจวิวัฒนาการของเนื้อพระหลวงพ่อเงิน จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบว่ามีอะไรบ้าง

โดยพื้นฐานของส่วนประกอบเหล่านี้ จะสามารถพิจารณาได้จากสีของสนิมที่เกิดขึ้นมาในพระที่มีเนื้อจัด และแก่โลหะชนิดนั้นๆ

เท่าที่ส่องดูในองค์จริงจะมองเห็นความแวววาวของโลหะสามชนิดในเนื้อพระอย่างชัดเจน คือ

ทองคำ เงิน และ ทองแดง

ทั้งที่เป็นโลหะเดิม และโลหะที่กำลังเกิดสนิม

กล่าวคือ สนิมทองคำ จะออกสีแดงเรื่อๆ แบบสนิมน้ำหมาก

สนิมเงินจะออกดำๆ แบบสนิมตีนกา

และสนิมทองแดง เป็นสีเขียว ที่นิยมเรียกว่าสนิมหยก

จึงอนุมานได้ว่า โลหะสามชนิดนี้มีอยู่ในพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินแน่นอน ดังจะได้กล่าวถึงการเกิดสนิมตามลำดับต่อไป

อีกโลหะหนึ่งที่แทบจะไม่มีการกล่าวถึงคือ สังกะสี ที่เป็นส่วนประกอบของทองเหลือง โดยผสมอยู่กับทองแดง

ทั้งนี้ ทองเหลืองจะเป็นวัสดุที่มีราคาถูกและหาง่ายกว่าทองและเงิน ที่มีหลายเกรด ตั้งแต่มีสังกะสี 5% จนถึง 40%

จึงอาจกลายเป็นส่วนประกอบหลักของการหล่อพระทั่วไป ที่ทำให้ส่วนผสมเกิดสนิมช้าลง จากบทบาทของสังกะสีที่ทำปฏิกิริยาเกิดสนิมช้ากว่าทองแดง

ดังนั้นในชั้นนี้ จึงคาดว่า โลหะหลักๆ ในรูปหล่อพลวงพ่อเงิน จึงน่าจะมี ทองแดง สังกะสี เงิน และทองคำ เป็นหลัก หรือตามลำดับ โดยโอกาสจากมากไปน้อยก็ว่าได้

ดังนั้น การพิจารณาพัฒนาการของเนื้อและผิวพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน จึงควรเข้าใจองค์ประกอบ และลำดับการเกิดสนิมของโลหะแต่ละชนิด ดังนี้

โลหะ ที่เกิดสนิมได้ง่ายและเร็วที่สุดก็คือ เงิน ที่จะมีสนิมสีดำ หรือเทาดำ

ลำดับต่อมาก็คือ ทองแดง ที่จะออกสีสนิมเป็นสีหยก เขียวอมน้ำเงิน

ลำดับต่อมาก็คือ ทองคำ ที่ออกสีสนิมน้ำหมาก แดงเรื่อๆ ทั้งในเนื้อและที่ผิว

ลำดับสุดท้ายก็คือ สังกะสี ที่จะออกสนิมขาวๆนวลๆ ที่คนในวงการเรียกว่า เนื้อโลหะตกสี

แต่การเกิดสนิม ยังขึ้นอยู่กับสัดส่วนของโลหะที่มีในเนื้อพระ

พระที่แก่เงิน เนื้อก็จะออกดำ และอาจคลุมและบดบังสนิมอื่นๆไว้ ทำให้เห็นไม่ค่อยชัด

พระที่แก่ทองแดง ก็จะมีสนิมหยกจัดจ้าน คลุมสนิมดำของเงิน และสนิมแดงของทองไว้ภายใน แบบเดียวกับสำริดโบราณ

พระที่แก่ทองคำ ผิวจะแดงจัด เห็นได้ชัด

แต่พระที่ได้อายุ และแก่สังกะสี จะออกสีนวลๆ แบบพระตกสี

ดังนั้น

พระที่มีส่วนผสมดังนี้จะมีความแวววาวในเนื้อ มองเห็นโลหะทั้งสามอย่างชัดเจน เมื่อส่องแสงเข้มๆ เช่นส่องกับแสงอาทิตย์ และ
พระที่ได้อายุจะมีลำดับและส่วนประกอบของสนิมถูกต้อง

พระที่ได้อายุ เก่าถึงยุค ก็จะมีสนิมผสมกัน ระหว่าง ดำ แดง เขียว และขาว ของโละทั้งสี่ชนิดหลักดังกล่าว

ที่สามารถใช้ในการพิจารณาอายุของพระจากเนื้อได้

นอกจากลักษณะของการเกิดสนิมแล้ว การส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ยังพบสภาพการเหี่ยวของผิวโลหะ ที่คาดว่าน่าจะเกิดทั้งจากการกร่อน การตกผลึก และการเซทตัวของเนื้อพระ

ทำให้เห็นผิวเป็นริ้วๆ เป็นเส้นนูนๆ ละเอียดยิบ คล้ายลายผ้า หรือลายรากไม้

ที่พอจะสังเกตได้จากเลนส์กำลังขยาย 20x ขึ้นไป แต่จะชัดเจนที่กำลังขยาย 40x ขึ้นไป

สำหรับท่านที่เคยเห็นที่กำลังขยายสูงแล้ว ก็จะจำได้ และรู้วิธีการสังเกตด้วยเลนส์กำลังขยายต่ำ ที่ 10x ก็พอได้ แต่ก็แค่จะเห็น “ผิวไม่เรียบ ไม่มัน” เท่านั้น

นี่คือหลักเบื้องต้นในการดูเนื้อพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

หลังจากนั้นก็เป็นการดูพิมพ์และดูตำหนิ ที่จะพบได้ในตำราดูพระทั่วไปครับ

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. แสวง รวยสูงเนิน

http://www.gotoknow.org/posts/502154

. . . . . . .