วัดท้ายน้ำ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

วัดท้ายน้ำ ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

หลวงพ่อเงิน เกิดที่บ้านบางคลาน หมู่ที่ ๑ ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตรตรงกับสมัยรัชกาลที่๑ แห่งรัตนโกสินทร์ สำหรับวันเกิดของท่านนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดยืนยันได้แต่จากการสอบถามกับปีที่ท่านอุปสมบทแล้ว น่าเชื่อได้ว่า ท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ค่อนข้างจะแน่นอน คุณลุงแปลก สุขนวล ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ทันรับใช้หลวงพ่อบอกว่า ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีมะโรง พ.ศ.๒๓๕๑ และมรณภาพเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๑ค่ำปีมะแม เวลา ๐๕.๐๐ น. ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๒ รวมอายุได้๑๑๑ ปี ๙๐ พรรษา (ถ้าหากเกิดในปีฉลู จะมีอายุเพิ่มขึ้นอีก ๓ ปี เป็น ๑๔๔) สำหรับวันเกิดของท่าน หากมีหลักฐานอื่นใดที่เป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันได้แน่นอนก็จะทำให้ทราบอายุของท่านที่แท้จริงได้ถูกต้อง
หมายเหตุ หลวงพ่อเงิน วัดคงคาราม หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำ และ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) คือองค์เดียวกัน

ชาติภูมิ
บิดาของหลวงพ่อเงินเป็นชาวบางคลาน มารดาเป็นคนบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีพี่น้องทั้งสิ้นรวม ๖ คน ดังนี้
(๑) ตาพรหม เป็นพี่ชายคนโต
(๒) ยายทับ (ไม่ทราบนามสกุล)
(๓) ตาทอง หรือ ตาภุมรา
(๔) หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ
(๕) ตาหลำ (ไม่ทราบนามสกุล)
(๖) ยายรอด (ไม่ทราบนามสกุล)
เมื่อหลวงพ่อเงินอายุได้ ๓ ขวบ ตาช้างซึ่งเป็นลุงของหลวงพ่อเงินได้นำเอาหลวงพ่อไปเลี้ยงไว้ที่กรุงเทพฯ ด้วย ต่อมาเป็นวันเดือนปีใดไม่ทราบ หลวงพ่อเงินได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตองปุ (ปัจจุบันคือวัดชนะสงคราม จังหวัดพระนคร) เมื่ออายุ๑๒ ขวบ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นอุปัชฌาย์ พออายุได้ ๒๐ ปี บิดา มารดา และบรรดาญาติพี่น้องมีความประสงค์จะให้หลวงพ่ออุปสมบท แต่หลวงพ่อไม่ยอมบวช เพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริงบรรดาญาติก็อนุโลมตาม จนกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ และได้กำหนดวันอุปสมบทในปีนี้
จากปีที่อุปสมบทดังกล่าวนี้เอง ทำให้ค่อนข้างแน่ใจว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ซึ่งเชื่อถือได้มากกว่าปีอื่น ๆ

อุปสมบท
ก่อนที่หลวงพ่อเงินจะบวชเป็นพระ ท่านได้สึกจากการเป็นสามเณรเมื่ออายุครบ ๑๐ ปี และได้กลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอนคือจังหวัดพิจิตร ระหว่างที่สึกออกมานี้ ด้วยความที่เป็นวัยฉกรรจ์ ท่านได้ไปชอบพอกับสาวชาวบ้านชื่อ เงิน เช่นเดียวกัน แต่ด้วยมิใช่เนื้อคู่ จึงทำให้ต้องแคล้วคลาดจากกัน มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่ท่านไปมาหาสู่ที่บ้านสาว ตอนขึ้นบ้าน ชั้นบันไดเกิดหักขึ้นมา ทำให้ท่านตกบันได หลวงพ่อเงินจึงคิดความละอายและไม่ได้ไปหาสาวคนนั้นอีกเลย
การอุปสมบทของหลวงพ่อนั้น ไม่ทราบแน่ชัดว่าทำกันที่กรุงเทพฯ หรือที่อำเภอบางคลานปกติจะอุปสมบทใกล้บ้าน ในหมู่เครือญาติ โดยหลักการปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อน่าจะบวชที่บ้านเกิดมากกว่าเข้าไปบวชในกรุงเทพฯ ซึ่งไกลจากบิดามารดาและญาติพี่น้อง ระหว่างที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีจนแตกฉานพอสมควร เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้เดินทางกลับไปศึกษาเพิ่มเติมอีก รวมทั้งด้านวิปัสสนาธุระด้วยประมาณ ๓-๔ ปี พอดีคุณปู่ป่วยหนัก จึงถูกตามตัวกลับอำเภอโพทะเล หลังจากนั้นไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่า ท่านได้เดินทางกลับไปกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมอีกหรือไม่

ลำดับเจ้าอาวาส
1. หลวงพ่อเขียว เจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำองค์แรกซึ่งมีวิทยาคมสูงมากท่านหนึ่งมีชีวิต
ร่วมสมัยกับหลวงพ่อเงิน
2. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำ
3. พระครูวัตตสัมบัน
4. พระปลัดชุ่ม
5. พระครูวิจิตรวุฒิกร (น้อย ฐานุตฺตโร) เจ้าคณะอำเภอโพทะเล สัญญาบัตรชั้นเอก

การถ่ายรูปหลวงพ่อเงิน
ข้าพเจ้าผู้รวบรวมประวัติของหลวงพ่อเงินนี้ขอยืนยันว่า รูปหลวงพ่อเงินที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ถ่ายขึ้นที่วัดท้ายน้ำอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่พิจารณาได้เป็นหลักใหญ่ ๒ ประการ คือ
๑.รูปหลวงพ่อเงิน ถ่ายบนที่นั่ง พัดยศประดับด้านหลัง
๒.อันนี้เป็นความลับ ซึ่งทางวัดไม่อยากเปิดเผย แต่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ที่รองนั่งนั้นเป็นสมบัติของหลวงพ่อเงินขณะที่ยังอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยดีมาก

หลวงพ่อสร้างโบสถ์ที่วัดท้ายน้ำ
หลวงพ่อเงินได้สร้างโบสถ์ที่วัดท้ายน้ำ ๑ หลัง เป็นโบสถ์ไม้ทั้งหมดหลังคากระเบื้องดินเผา โบสถ์หลังนี้มีเกจิอาจารย์ที่เรืองเวทย์จากที่อื่น ๆ มาร่วมสร้างด้วย เช่น หลวงพ่ออินทร์ หลวงพ่อเทียน และที่หน้าบรรณโบสถ์ของหลวงพ่อ ท่านก็แกะสลักด้วยตนเองทั้งหมด เป็นลวดลายกนกและรูปครุฑยุคนาค ลุงเลียบ พูลชัยนาท ซึ่งปัจจุบันอายุ ๘๗ ปี ได้เล่าให้ฟังว่า ตรงหน้าบรรณจะมีคาถาของหลวงพ่อเงินสลักอยู่ด้วย ท่านสลักของท่านเอง เป็นตัวหนังสือดุนนูน ลุงเลียบ เคยท่องได้ แต่ปัจจุบันลืมคาถานี้หมดแล้ว
ลุงเลียบ พูลชัยนาท ปัจจุบันเดินไม่ไหวแล้ว ข้าพเจ้าไปขอสัมภาษณ์ก็ต้องคลานออกมาจากมุ้ง มานั่งคุย หูตาก็ไม่ดีมองไม่ค่อยเห็น พูดไม่ค่อยได้ยิน แต่ก็ยังกรุณาเล่าให้ฟังเท่าที่ยังจำได้อยู่
แรงงานที่สำคัญที่ช่วยสร้างโบสถ์คือ นายมี กับ นายน้อย ชาวบ้านบางคลานนั่นเองพอโบสถ์เสร็จก็มีการฉลอง โดยมีพระเถระจากวัดอื่นมาร่วมอนุโมทนาด้วยมากมายและในช่วงนี้เองที่ได้มีการถ่ายรูปพระเถราจารย์ต่าง ๆ ที่นั่งอยู่บนธรรมาสน์ของหลวงพ่อเงิน โดยมีพัดยศประดับอยู่ทั้งสองข้าง

ความศักดิ์สิทธิ์ของต้นโพธิ์หน้าวัดท้ายน้ำ
พูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของต้นโพธิ์ ถึงนะไม่ใช่ต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งประทับก็ตามเถิด เพราะความศักดิ์สิทธิ์และมีอภินิหารพอสมควรเท่าที่ได้พบมา และได้ทราบมาว่าต้นโพธิ์ต้นนี้เกิดก่อนวัดท้ายน้ำเสียอีก คล้ายกับว่าเป็นของคู่วัดท้ายน้ำมาเลย ก่อนตั้งวัดท่านผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าลือต่อกันมาว่า ตอนมาสร้างวัดใหม่ ๆ ก็แลเห็นจ้นโพธิ์ต้นนี้สูงราว ๆ๕ เมตรมีใบดกเป็นพุ่มสวยงามมาก บริเวณใต้ต้นโพธิ์ก็สะอาด ต่อมาการก่อสร้างวัดท้ายน้ำก็คือหน้ามี กุฏิ ศาลา หอสวดมนต์ แพที่อาศัยของสมภาร (สมัยแรกเรียกอย่างนั้น) เป็นหลักฐานติดต่อกันมาเป็นลำดับ และต่อมาอีกครั้งหนึ่งจะเป็นวันเดือนปีอะไรไม่ปรากฏ วัดท้ายน้ำมีสมภารชื่อหลวงพ่อเขียว ท่านเป็นผู้เปรื่องปราชญ์ไปด้วยความรู้ และเรืองวิชาทางไสยศาสตร์มาก ท่านมาอยู่ที่กุฏิเรือนแพ ใต้ต้นโพธิ์หน้าวัด และท่านยังริเริ่มเปิดสอนหนังสือไทยให้แก่เด็ก ๆ ที่หาคนสอนหนังสือไม่ได้ ส่วนหลวงพ่อเงินท่านไป ๆ มา ๆ เพาะเหตุว่าญาติโยมของทานอยู่แถบนี้มาก เมื่อท่านสร้างวัดวังตะโก (หรือวัดหิรัญญาราม) เสร็จแล้ว ท่านยังไปมาหาสู่ที่วัดท้ายน้ำอยู่เสมอ เพราะมีความสนิทชิดชอบกับหลวงพ่อเขียว เจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำ สมัยที่ท่านมาที่วัดนี้ใหม่ ๆ ท่านยังอุทานดัง ๆ ว่า ที่นี่ดีจริง ๆ ท่านยังดั้งชื่อว่า วัดช่องลม (คือวัดท้ายน้ำในปัจจุบัน) เวลาหลวงพ่อเงินมาพัก ท่านจะพักที่แพแต่อยู่รูปละห้องกับหลวงพ่อเขียว บางครั้งผู้ที่เป็นลูกศิษย์เช่าว่า หลวงพ่อเงินชวนว่าคืนนี้ไปไหว้พระจุฬามณีเจดีย์กันเถิด แล้วท่านทั้งสองก็ลงมาสู่ต้นโพธิ์นั่งเข้าสมาธิทำวิปัสสนาธุระที่ใต้ต้นโพธิ์นี้ และบางครั้งจะสอนวิปัสสนาแก่บรรดาพระเณร และประชาชนที่ใต้ต้นโพธิ์ทุกครั้ง แสดงว่าหลวงพ่อเงินทานโปรดปรานต้นโพธิ์นี้มากและเมื่อตอนที่ท่านอยู่นั้น ท่านเคยนำของมาฝังไว้ที่ใต้ต้นโพธิ์หลายอย่าง แต่ไม่ปรากฏที่แน่ชัด เพราะคนที่ลงมือฝังกับท่านนั้นต้องทำการสาบานเสียก่อนว่า จะไม่เปิดเผยให้ใครทราบเป็นหูที่สอง ถ้าบอกกับใครตาจะแตก หูจะหนวก ต้องคอยให้ถึงเวลาเสียก่อน นี่เป็นคำบอกเล่าจากผู้รู้มาจึงกล่าวได้ว่า ต้นโพธิ์ต้นนี้เป็นของคู่วัดจริง ฟ และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีครั้งหนึ่งสมัยปี พ.ศ. ๒๔๘๑ นี้เอง ยังมีชาวบ้านที่มีอาชีพขายควาย ไล่ควายมาพักที่หลังวัดท้ายน้ำ ตอนเย็นเดินผ่านมาที่หน้าวัดพร้อมกับถืออาวุธปืนมาด้วย พอดีแลไปเห็นนกยางเกาะอยู่บนต้นโพธิ์ จึงยกปืนแก๊ปเล็งไปที่นก น้าวไกเสียงดังฉาด ๆ ถึง ๓ ครั้งแต่ไม่ดัง พอบ่ายกระบอกปืนไปทางอื่นก็มีเสียงดัง แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ และอีกครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เอง ในบริเวณวัดท้ายน้ำมีไก่ที่ชาวบ้านนำมาปล่อยถวายหลวงพ่อเงินเป็นจำนวนมาก รวมทั้งลูกไก่ นกเหยี่ยว จึงชอบมาโฉบจิกลูกไก่ไปกินจนเกือบหมด ชาวบ้านตามแถบนั้นจึงเอาปืนลูกซองมาหวังเพื่อจะยิงเหยี่ยวพอดีนกเหยี่ยวตัวนั้นบินไปเกาะที่ต้นโพธิ์หน้าวัด ชาวบ้านจึงเล็งปืนไปที่นกดังกล่าว พอได้จังหวะก็ลั่นไกฉาด ๆ ๆ แม้จะเปลี่ยนลูกใหม่แล้วปืนก็ยิงไม่ดัง ทำเอาชาวบ้านกลุ่มนั้นแปลกใจมากเหตุการณ์ต่อมามีเรือหางยาวมาผูกกับรากต้นโพธิ์แล้วลืมแก้โซ่ออก เวลาติดเครื่องปรากฏว่าจะทำอย่างไรเครื่องก็ไม่ติด เจ้าของแปลกใจ จึงปล่อยให้เรือลอยไป พอพ้นชายต้นโพธิ์ก็ติดอย่างลำบาก และเคยปรากฏอีกอย่างหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการปล้นกันขึ้นที่บ้านใต้ (หมายถึงใต้วัด) พวกปล้นนี้จะมาจากไหนไม่ทราบ แต่มาทางเรือ โดยนำเรือมาจอดที่ใต้ต้นโพธิ์ เพราะตอนนั้นมีสะพาน พวกโจรทั้งหลายก็ขึ้นบันไดที่ใต้ต้นโพธิ์ พอทำการปล้นเสร็จไม่นานพวกโจรทั้งหลายก็ถูกจับ บางคนถึงตายและบางคนที่รอดไปก็อยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดพลันที่นาคาที่อยู่นี่แสดงว่าไม่เคารพต้นโพธิ์ที่หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อเขียวโปรดปรานมาก มีบางคนที่ไปดูหมอดูมา และถูกทำนายว่าเคราะห์ร้าย ก็มารดน้ำต้นโพธิ์บ้าง และใช้ไม้ค้ำต้นโพธิ์บ้าง ดวงชะตาก็ดีขึ้นมีความสุขขึ้น ตอนพรรษาตอนเช้า ๆ พระและเณรทุกรูปจะต้องมาทำการคารวะทุก ๆ ปีไป สามารถเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนได้เป็นอย่างดี (จากหนังสือของวัดท้ายน้ำเกี่ยวกับ ประวัติหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ วัดเก่าหลวงพ่อเงิน หน้า ๒๑-๒๒ พิมพ์เมื่อปี ๒๕๑๕)

หลวงพ่อเงินอายุล่วงเข้าวัยชราภาพ
หลวงพ่อเงินได้มรณภาพด้วยโรคชรา อายุของหลวงพ่อเงินเมื่อได้ประมวลดูแล้ว อายุ ประมาณ ๑๑๑ ปี ทานได้มรณภาพเมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม เวลา ๐๕.๐๐ น. ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร ส่วนทางคุณลุงแปลก สุขนวล เล่าว่า หลวงพ่อมรณภาพเมื่อวันศุกร์ ปีมะเมีย เดือน ๑๐ ท่านพระครูวิจิตรวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำ ได้เขียนแสดงความเห็นไว้ว่า อาตมาเทียบปฏิทินแล้วไม่ตรง คุณหมอแปลกบอกว่า หลวงพ่ออายุ ๑๐๗ ปี แต่ทางอื่นได้สอบสวนแล้วว่า หลวงพ่อเงินมีอายุประมาณ ๑๑๑ ปี มีพรรษา ๙๐ ฉะนั้นอาตมาจึงสิบหาเหตุผลมาพิจารณา ถ้าใครรู้แน่นอนแล้วก็ให้นำมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ส่วนการมรณภาพของหลวงพ่อเงินนั้น นำความเสียใจมาสู่บรรดาญาติโยมและลูกศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอย่างมากศพของหลวงพ่อบรรจุไว้ในหีบ เก็บรักษาไว้เป็นเวลา ๑ ปี พอครบกำหนด ๑ ปี บรรดามรรคทายกและคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดให้มีงานแลงศพอย่างมโหฬาร ขณะเริ่มประชุมเพลิงศพยังไม่ทันจะไหม้ดีบรรดาลูกศิษย์และญาติ ๆ ได้เก็บอิฐของหลวงพ่อไปไว้สักการบูชา แม้แต่จีวรและสบงก็เก็บไปกันจนหมด เพราะเหตุว่าอัฐิหรือส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของหลวงพ่อเงินนั้นอยู่ยงคงกระพันดีนักแล

หลวงพ่อเสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน
มีอยู่ครั้งหนึ่งจะเป็นวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ มีพระอาจารย์ทองซึ่งอยู่ที่วัดใดไม่ทราบแต่ต่อมาภายหลังมาทราบที่อยู่ของท่านว่าอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ทราบที่อยู่แน่นอนว่าอยู่ที่ไหนพระอาจารย์ทองได้ยินคำเล่าลือหรือไม่ ท่านเดินทางมาหลายวัน โดยได้นำเอาใบมะขามห่อผ้าติดตัวมาด้วย เมื่อเดินทางมาถึงวัดท้ายน้ำไม่พบหลวงพ่อเงิน จึงได้ถามพระในวัดว่า หลวงพ่ออยู่ที่ไหน ซึ่งได้รับคำชี้ แจงว่า หลวงพ่อเดินทางไปทุ่งอ่างทองหัวหนองยาวใต้ร่มไทรนั้น หนทางจากวัดท้ายน้ำไม่ไกลนัก พระอาจารย์ทองก็เดินทางต่อไปตามที่พระได้บอกไว้ เมื่อเดินทางไปถึงก็แลเห็นหลวงพ่อเงินกำลังนอนเล่นอยู่ จึงตรงเข้าไปกราบคารวะถึง ๓ ครั้ง ตามแบบอย่างการไปมาหาสู่แบบพระทั่ว ๆ ไป พระอาจารย์ทองยังไม่ทันได้กล่าวว่าอย่างไรเลย แต่หลวงพ่อเงินท่านรู้ด้วยฌานอะไรไม่ทราบท่านจึงพูดขึ้นว่า ก็ปล่อยมันไปซี่ พระอาจารย์ทองรู้สึกตกใจเพราะไม่ทราบว่าหลวงพ่อเงินรู้ได้อย่างไรว่าตนจะมาทดลอง โดยเอาใบมะขามมาปลุกเสกให้เป็นตัวต่อตัวแตน พระอาจารย์ทองจึงแก้ห่อผ้าดู ปรากฏว่าใบมะขามที่ตนห่อมานั้นกลายเป็นต่อเป็นแตนบินกันกรูไปสู่ต้นไม้ที่ชายหนองนั้นแสดงว่าหลวงพ่อเงินท่านเก่งทางเวทมนต์คาถาได้หลายอย่าง และล่วงรู้เหตุการณ์ภายหน้าได้ด้วยถ้าใครจะลิงดีท่าน ๆ ต้องแสดงให้เห็น คุณหมอพะยอมได้เล่าให้คุณหมอเย็น อิ่มสุข ฟัง คุณหมอเย็น อิ่มสุข ได้มาเล่าให้อาตมาฟังต่อ จึงได้บันทึกตามคำบอกเล่าดังนี้ (เฉพาะสิ่งปรากฏในตัวของหลวงพ่อที่วัดท้ายน้ำ
ตามคำบอกเล่าของญาติโยมที่อยู่ใกล้ชิดบอกว่า เวลาหลวงพ่อจะสรงน้ำตอนไหนก็ตามจะมีบรรดาชาวบ้านที่เป็นโรคกลาก เกลื้อน หรือเป็นผื่นคันประเภทต่าง ๆ คอยเฝ้าดู และบางคนจะตักน้ำมาให้ท่านสรง เพื่อจะคอยรองน้ำที่ใต้ถุน ขณะที่หลวงพ่ออาบอยู่ ถ้าใครได้น้ำที่พ่อหลวงพ่อใช้สรงเพียง ๒-๓ ครั้ง ก็ปรากฏว่า เกลื้อนหรือกลากเหล่านั้นจะอันตรธานไปหมดสิ้นแม้แต่เดี่ยวนี้ก็ยังมีผู้ทำกันอยู่ คือที่รูปจำลองของหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ
เวลานำเอารูปจำลองของหลวงพ่อเงินออกสรงน้ำในยามเทศกาลปรากฏว่าประชาชนยังลงไปรองน้ำที่ใต้ถุนเป็นจำนวนมาก เพราะเคยได้รับคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏที่วัดท้ายน้ำ)

ความศักดิ์สิทธิ์ของชานหมากที่วัดท้ายน้ำ
คุณหมอเย็นได้เล่าให้ฟังว่า ตามปกติหลวงพี่เงินชอบฉันหมากมาก บรรดาลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดต้องตำหมากกันทุกวัน วันไหนอารมณ์ดี ตอนเย็น ๆ ท่านจะออกมานั่งที่ที่สำหรับรับแขกร้องเรียกเด็กวัดให้มาใกล้ ๆ แล้วหว่านชานหมากที่ท่านฉันนั้นให้เด็ก ๆ บรรดาเด็กเหล่านั้นก็จะเข้าแย่งกัน จนถึงขนาดต่อยกันตกใต้ถุน บางคนก็ตีกัน แต่ก็ปรากฏว่าไม่มีใครได้รับบาดเจ็บและถ้าใครได้ชานหมากไว้ เท่าที่ได้เห็นกับตา ชานหมากของท่านนั้นเป็นทองแดง ซึ่งอาตมาเคยประสมมาหลายครั้ง
หลวงพ่อเงินทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า
คุณครูจิตร ปั้นเพ็ง ได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ในรัชกาลที่ ๕ หรือที่ ๖ ไม

http://www.109wat.com/bk01.php?id=291

. . . . . . .