หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร

หลวงพ่อฤาษีลิงดำอธิบายเรื่องเจ้ากรรมนายเวร

“..เจ้ากรรมนายเวรหมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ใน อดีตชาติก็ดีในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง เราทำร้ายเขาบ้างเขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้วแต่ไอ้ตัวบาปที่เราทำไว้ อย่างคนที่ไปขโมยของเขาเจ้าของเขาไม่ติดใจแต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยาก ตาม แต่กฎหมายให้ตาม

ฉะนั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติในขั้น สุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโช (วิชา๓) ขึ้นไปเขาเห็นดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญพอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่

พอเข้ามาใกล้ก็บอกว่า “ผมกับท่านหมดเรื่องกัน”
อาตมาก็ถามว่า “หมดเรื่องอะไร”
เขาก็บอกว่า “หมดเรื่องที่จะต้องติดตามจองล้างจองผลาญกัน”
ก็ถามอีกว่า “จองล้างจองผลาญฉันทำไม”
เขาก็บอกว่า “เปล่าครับผมไม่ได้จองล้างจองผลาญ”
ก็ ถามว่า “แล้วเข้ามาทำไม”

เขาก็เลยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า “ในอดีตนับเป็นสิบๆ ชาติ ท่านกับผมรบกันมาเรื่อย” เป็นคู่สงครามกันตัวเขาเก่งขวานทุกชาติ ส่วนอาตมาเก่งดาบสองมือทุกชาติ ถ้าเวลาให้รบตัวต่อตัวต้องเอาคู่นี้มารบกัน ถ้าคนอื่นหัวขาด พอถึงเวลากินข้าวก็บอกว่า “พักรบก่อนกินข้าวเสร็จมารบกันใหม่” วันนั้นทั้งวันไม่มีใครเสียท่ากัน

อาตมาถามว่า “มันมีเวรกรรมอะไรกันล่ะ”
เขาบอกว่า “กฎของกรรมเขาถือว่ามีแต่เวลานี้กฎของกรรมสลายตัวแล้ว”
ก็เลยถามว่า “เวลานี้ไปเกิดที่ไหน”
เขาก็บอกว่า “ผมเป็นพรหมครับ”

ถามว่า “พรหมยังจองกรรมหรือ”
เขาตอบว่า “ผมไม่ได้จองแต่กฎของกรรมมันจอง เรื่องของกรรมหนักๆระหว่างสงครามหมดกันแค่นี้”

เราอุทิศส่วนกุศล ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขาจะได้รับหรือไม่ได้รับก็ตาม บุญที่เราทำเป็นผลให้เกิดความสุข ไอ้กรรมต่างๆที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไปแล้ว เราไปยับยั้งมันไม่ได้แต่ทว่าถ้าเราทำกรรมดีให้มีกำลังเหนือบาป บาปต่างๆ ก็จะตามเราไม่ทันเหมือนกันเรียกได้ว่า เป็นการทำบุญหนีบาปไม่ใช่ทำบุญล้างบาปทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ที่ไม่ทำความ ชั่วเลยน่ะไม่มีดังนั้นถ้าเราจะชดใช้บาปก็คงจะชดใช้กันไม่ไหวมีทางเดียวใน กิจของพระพุทธศาสนาคือหนีบาปด้วยการปฏิบัติดังนี้

๑) การคิดถึงคุณพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณพระธรรมคุณ และพระอริยสงฆคุณ

๒) ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

๓) มี พรหมวิหาร ๔ให้ครบถ้วน

๔) มี อิทธิบาท ๔ ทรงตัว

๕) มีการภาวนาให้จิตทรงตัว

๖) พยายามรวบรวม บารมี ๑๐ ประการให้มีในจิตให้ครบถ้วน

๗) พยายามตัด สังโยชน์ ๑๐ประการให้หมด

๘)จรณะ ๑๕ ปฏิบัติให้ครบถ้วน

เมื่อมีการทรงตัวดังกล่าวมาแล้วนี้ได้ทั้งหมดก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดกันอีกต่อไป นั่นคือตายเมื่อใดก็ไปพระนิพพานอันเป็นแดนที่มีความสุขที่สุด..”

ขอขอบคุณ

Code:
http://www.pranippan.com

http://www.watsangkaew.com/webboard/index.php?topic=275.0

. . . . . . .