วัดชัยมงคลวังมุย ต.ประตูป่า (ครูบาเจ้าชุ่ม วัดชัยมงคล (วังมุย) )

วัดชัยมงคลวังมุย ต.ประตูป่า

ประวัติวัดชัยมงคลวังมุย
วัดชัยมงคลวังมุย

สร้างขึ้นด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาววังมุย โดยมีครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เป็นองค์ประธาน มูลเหตุของการดำริสร้างวัด มาจาการที่วัดเก่า คือวัดศรีสองเมืองประจำบ้านวังมุย ประสบอุทกภัยอยู่เนืองนิจ ชาววังมุยจึงได้สร้างวัดใหม่ คือ วัดชัยมงคลขึ้นสถานที่ตั้งของวัดใหม่ อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเก่า สิ่งก่อสร้างแรกเริ่มที่สร้าง คือ พระวิหาร ซึ่งยังคงเค้าเดิมอยู่ถึงปัจจุบันชื่อของวัดใหม่ ที่หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่มตั้งให้ คือ วัดชัยมงคล แต่ชาวบ้านและคนทั่วไปมักนิยมเรียกว่าวัดวังมุย ด้วยความที่คนภายนอกรู้จักวัดเล็กๆ ในหมู่บ้านห่างไกลอย่างวัดวังมุยนี้ ในฐานะที่เป็นวัดของครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก พระอริยะเจ้าจากเมืองลำพูน จึงมักจะคุ้นเคย ชินกับนามวัดวังมุยตามชื่อสถานที่มากกว่าดังนั้นกล่าวถึง วัดชัยมงคล จึงต้องมีชื่อ วังมุย ต่อท้ายด้วยเสมอจาก ประวัติทั่วราชอาณาจักรไทย ระบุว่า วัดชัยมงคล (วังมุย) สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2464 โดยมีหลวงปู่ครูบา เจ้าชุ่ม โพธิโก ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2484 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่ ณ บ้านวังมุย เลขที่ 85 หมู่ที่ 1 ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูนมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 6 ทิศใต้ กว้างประมาณ 17 วา จรดที่ดินเอกชน

ทิศตะวันออก กว้างประมาณ 46 วา จรดถนนสาธารณะทิศตะวันตก กว้างประมาณ 36 วา จรดที่ดินเอกชน
นอกจากนี้ ยังมีรูปเหมืองขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย ที่ปั้นขึ้นในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังดำรงขันธ์อยู่ และยังมีพระรูปเหมือนของหลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก ในท่านั่งสมาธิ อีกด้วย

วัดชัยมงคลวังมุย บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
โทร.0 5350 0131/0 8504 1446
Website www.watchaimongkol.com

ประวัติหลวงพ่อชุ่ม โพธิโก

วัดชัยมงคล (วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

หัวหน้ากัมมัฏฐาน เป็นผู้อาวุโสสูงสุดในจังหวัดลำพูน
ศิษย์ร่วมสำนักและใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย
รับพัดหางนกยูงและไม้เท้าเผยแพร่ธรรมแทนท่านครูบาฯ
ปฏิบัติกัมมัฎฐานอดอาหาร ๗ วัน ๗ คืนในถ้ำมหัศจรรย์
เทพยานำมงกุฎพระเจ้ามาถวาย
เชี่ยวชาญยันต์และพระเวทย์
ตระกรุดช่วยให้รอดตาย ได้รับเหรียญกล้าหาญจากสมรภูมิเวียดนาม
หลวงพ่อชุ่ม โพธิโก เป็นชาวจังหวัดลำพูนโดยกำเนิด เกิดในสกุล นันตละ มีโยมบิดาชื่อ นายบุญ โยมมารดารชื่อ นางลุน ท่านเกิด ณ บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ตรงกับวันอังคาร เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ขึ้น ๗ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๖ คน ด้วยกันชีวิตในเยาว์วัยนั้นหลวงพ่อได้ช่วยโยมบิดาทำไร่ทำนามาโดยตลอด เรื่องราวชีวิตในหนหลังหลวงพ่อเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย สมองมีความจดจำเป็นผู้เยี่ยม ผู้หนึ่ง ในยามว่างก็ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับเจ้าอาวาสวัดวังมุยจนอ่านออกเขียนได้ เป็นที่รักใครของสมณทั่วไป หลวงพอมีความเสื่อมใสในกิจการพระบวรพุทธศาสนา จากการที่ได้รับการอบรมสั่งสอนในด้านธรรมวินัยพอสมควร ประกอบกับจิตใจต้องการบวช เพื่อสืบต่อและเผยแพร่พระศาสนาอยู่แล้ว จึงได้ขอนุญาตต่อโยบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๑๒ ปีพอดี เมื่อได้รับอนุญาตจากโยมบิดามารดาและญาติแล้วหลวงพ่อก็ได้บรรพชาในทันที่ โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาว จ.ลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วยังความปลื้มปิติและอิ่มเอิบใจให้กับโยมทั้งสองและญาติมิตรเป็นอย่างยิ่ง ด้วยกิริยา มารยาท ประกอบกับมีความเมตราอารย์อันเป็นนิสัยประจำตัวมาก่อน หลวงพ่อจึงได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะเลิกฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิดและก็ได้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่เป็นสามเณรนั้น เป็นต้นมาและตั้งใจไว้อย่างแน่วแน่ว่า จะขอบวชอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนาตราบชั่วชีวิต ทั้งนี้เพื่อดำเนินรอยตามพระพุทธองค์ตลอดไป ขณะเมื่อยังเป็นสามเณรนั้นหลวงพ่อได้ศึกษาด้านคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) ของพระศาสนา เพื่อความรอบรู้แห่งพระไตรปิฏกให้ถ่องแท้ อันเป็นคุณธรรมแห่งผู้รู้หนังสือดี และเพื่อให้ได้ความรู้หนังสือกว้างขวางยิ่งขึ้น หลวงพ่อจึงได้กราบเรียนขออนุญาตพระอาจารย์ เพื่อออกแสวงหาสถานศึกษา เป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้สูงขึ้นไปอีก พระอาจารย์ก็ได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี พร้อมกับได้แนะนำให้ไปตามสำนักต่างๆที่มีพระอาจารย์เก่งหนังสือประจำอยู่ตามแต่จะเลือกเอา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว หลวงพ่อก็ได้กราบลาพระอาจารย์ญาติโยมออกเดินทางด้วยเท้าแต่ผู้เดียวพร้อมด้วยอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นติดตัวไป ออกจากจังหวัดลำพูนมุ่งสู่เชียงใหม่ ได้เข้าศึกษาในสำนักวัดผ้าขาว วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ หลวงพ่อได้อธิบายว่า การศึกษาสมัยเก่านั้นต้องจดต้องจำต้องท่องบ่นทั้งนั้น ต้องอาศัยสมองจดจำจึงจะสามารถอ่านแปลพระไตรปิฎกอันเป็นความรู้หลักใหญ่ของพระศาสนา ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ทันที หลวงพ่อได้กล่าวว่า คุณธรรมที่ยกย่องว่ารู้หนังสือดีนั้น คือรู้ภาษาบาลี จนสามารถอ่านประไตรปิฎกได้ถ่องแท้ และต้องอ่านพระไตรปิฎกครบหมดทุกคัมภีร์ จึงจะนับว่าเป็นผู้รู้หนังสือดี เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนด้านคันถธุระแปลหนังสือได้ดีแล้ว จึงได้เดินทางกลับวัดวังมุยเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดวังมุย โดยมีครูบาอินตาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์หลวงอ้ายเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “โพธิโก” หลังจากที่อุปสมบทเสร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ด้วยใจฝักใฝ่ในพระธรรมคำสั่งสอน หลวงพ่อได้ออกเดินทางศึกษาหาความรู้ในด้านพระกัมมัฏฐานต่อไปอีก เป็นการปฏิบัติทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งเป็นการศึกษาอีกประการหนึ่งที่ควบคู่กับด้านคันถธุระหลวงพ่อได้กล่าวว่า กิจของภิกษุและสามเณรก็คือการหมั่นศึกษาในสองประการนี้ หลวงพ่อได้ตั้งใจศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฎฐาน เพื่อชำระจิตใจตัวเองให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลส อันจะยังให้เกิดสมาธิเบื้องสูงซึ่งเป็นภาระหนักมาในการเพียรพยายาม นอกจากนั้นหลวงพ่อยังได้สนใจศึกษาศาสตร์ทางวิชาอาคมขลัง และการพิชัยสงครามอีกด้วย

ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่เพื่อเสริมสร้างบารมีและแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงให้หลุดล่วงพ้นทุกข์ หลวงพ่อจึงได้ศึกษาต่อที่วัดท้าวบุญเรือง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมีท่านครูบาสุริยะเป็นพระอาจารย์ ได้ศึกษาสาตาสนธิทั้งแปดมรรค แปดบท อันเป็นอรรถคาถาบาลี มูลกัจจายจนจบ สามารถแปลและผูกพระคาถาได้หมดสิ้น อันเป็นพื้นฐานที่พระพุทธองค์ทรงทราบโดยตรัสรู้ เมื่อได้ศึกษาจบแล้วหลวงพ่อได้ไปศึกษาต่อกับครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ผู้เป็นพระอาจารย์วิปัสสนากัมมัฎฐานและเป็นพระปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นขณะนั้นท่านครูบาศรีวิชัยองค์นี้มีอายุถึง 70 ปี ยังแข็งแรง มีผิวพรรณสดใจ มีปฏิปทาแห่งความเมตตามากผู้หนึ่ง หลวงพ่อได้รับการถ่ายทอดอาคมไสยเวทย์ และการฝึกกระแสจิตพร้อมกันไปในตัวโดยได้อยู่ศึกษาอบรมเป็นเวลาถึง 2 พรรษา ในขณะที่อยู่ปรนนิบัติ และศึกษากับท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งอยู่นั้น ท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้มาเยี่ยมเยียนสักการะท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งอยู่เสมอ ทุกครั้งที่มาเยี่ยมก็จะมีของมาถวายท่านเสมอ บางครั้งได้อยู่ค้างแรมร่วมสวดมนต์ทำวัตร และปฏิบัติกัมมัฎฐานด้วยและเห็นว่าท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งมากเมื่อหลวงพ่อได้ได้ศึกษาสำเร็จและมีความชำนาญเชี่ยวชาญดีแล้ว จึงได้กราบลาพระอาจารย์ออกเดินทางค้นคว้าศึกษาหาวิชาต่อไปอีก ต่อมาหลวงพ่อชุ่มก็ได้เข้าศึกษาต่อกับครูบาแสน วัดหนองหมู อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นพระอาจารย์ผู้เชียวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฎฐานสำนักใหญ่ในจังหวัด มีลูกศิษย์มากมายเป็นผู้ม่ความรู้สูง เป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หลวงพ่อได้ศึกษาอยู่ที่สำนักนี้ ได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกแขนงจากท่านครูบาแสน จนครบทุกอย่างหลวงพ่อได้กล่าวว่า ได้มีโอกาสทบทวนวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาแล้ว พร้อมกับฝึกฝนศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐานและพุทธาคม โดยพระอาจารย์ที่ชำนาญในด้านนี้ควบคุมกันแล้ว ทำให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น มีพรหมวิหารธรรม และพลังเมตตากล้าแข็งมากยิ่งขึ้น ด้วยความเคารพนับถือครูบาแสนซึ่งเป็นผู้มีพระคุณยิ่งที่ได้ช่วยแนะนำ ชี้แจง ช่วยเหลือจนมีความชำนาญ หลวงพ่อได้อยู่ปรนนิบัติวัตรฐากท่านผู้เป็นอาจารย์เป็นเวลานานถึง 2ปีจึงได้กราบลาพระอาจารย์กลับวัดวังมุย

เมื่อการกลับมาของหลวงพ่อได้ทราบถึงเจ้าคุณพระญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ท่านได้เรียกหลวงพ่อเข้าพบสอบความเป็นไปต่างๆ และการศึกษา หลวงพ่อได้เรียนให้ทราบทั้งหมดตามที่ได้ศึกษามา เจ้าคณะจังหวัดได้ทราบโดยละเอียดแล้วก็เกิดความยินดี และขอให้หลวงพ่อไปศึกษาต่อยังกรุงเทพฯ โดยทางจังหวัดจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด เพื่อกลับมาจะได้ให้เป็นผู้สอนของจังหวัด หลวงพ่อไม่ยอมไปโดยอ้างเหตุผลว่ายังต้องการศึกษาด้านธุดงค์วัตรต่อไปอีก และตั้งแต่นั้นมาเมื่อเจ้าคุณมีกิจธุระ ก็มักจะเรียกหลวงพ่อไปเป็นที่ปรึกษาอยู่ตลอดเวลา ให้เป็นเลขาประจำติดตามใกล้ชิดเสมอ โดยมอบหน้าที่การงานและพิธีการต่างๆให้หลวงพ่อเป็นผู้จัดเองทั้งหมด เจ้าคณะจังหวัดได้แต่ตั้งมอบสมณศักดิ์ชั้นพระครูให้ หลวงพ่อปฏิเสธไม่ยอมรับเอา ต่อมาหลวงพ่อเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งจำเจทุกเมื่อเชื่อวัน อีกทั้งเป็นการไม่เหมาะสมกับหลวงพ่อผู้ถือการปฏิบัติเป็นวัตรต้องการความสงบวิเวก จึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์วัตรเพื่อหาความสงบวิเวก จึงได้ตัดสินใจออกธุดงค์วัตรเพื่อหาความสงบบำเพ็ญพรต โดยได้จาริกไปยงอำเภอลี้ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวลัวะ, ยาง, กระเหรี่ยง, ได้ อบรมธรรมเทศนาธรรมโปรดพวกเขาจนมีศานะศิษย์มากมาย ชาวลัวะกะเหรี่ยงได้ปลูกที่พักให้หลวงพ่ออยู่ประจำและจัดจังหันถวายทุกวันเป็นนิจสิน ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของชาวกระเหรี่ยงและชาวลัวะได้จัดศรัทธามาอยู่ปรนนิบัติเฝ้าแทนหลวงพ่อด้วย ความเกรงกลัวว่าหลวงพ่อจะหนีไปที่อื่น บางขณะหลวงพ่อกลับวัดวังมุย พวกเขาจะพากันมาส่งถึงวัดและรอรับหลวงพ่อกลับไปด้วย เมื่อเสร็จธุระแล้วหลวงพอจึงต้องกลับกับพวกเขา เป็นผู้อย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง โดยพวกเขาอ้างว่าหากหลวงพ่อไม่กลับ พวกเขาจะเผาที่พักให้ไหม้หมดเลิกกันเสียทีหลวงพ่อต้องปลอบใจพวกเขา และได้บวชชาวลัวะและกะเหรี่ยงผู้เป็นศิษย์รวม ๒ องค์ ให้อยู่กับพวกเขาขณะที่หลวงพ่อมีธุระไปยังที่แห่งอื่นๆ เหตุการณ์ที่จะเผาที่พักจึงล่วงพ้นไปได้ ต่อจากนั้นหลวง พ่อก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยออกเดินจากตำบลบ้านก้อ อ.ลี้ ตัดป่าเขาไปทางทิศตะวันตกมุ่งหน้าสู่อำเภอฮอด ธุดงค์จนถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อันเป็นพระธาตุเก่าแก่ เป็นเจดีย์ขนาดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งในขณะที่หลวงพ่อพบนั้น มีสภาพแตกร้าวชำรุดทรุดโทรม จึงตั้งใจว่าจะพักอยู่เพื่อบูรณะองค์เจดีย์เพื่อรักษาไว้เป็นที่นมัสการ และบูชาองค์พระธาตุของพุทธศาสนิกชนเมื่อหลวงพ่อได้ทำการสำรวจตรวจสอบแล้วจึงได้ไปพบนายอำเภอแจ้งความประสงค์ว่าปรารถนาจะสร้างทางขึ้นพระธาตุนายอำเภอได้ตอบตกลงและยินดีให้ความร่วมมือ โดยจะเรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านมาร่วมประชุมด้วย จากนั้นหลวงพ่อได้พักอยู่ที่ป่าช้าวัดหนองบัวคำ ในขณะที่พำนักอยู่ในป่าช้าวัดหนองบัวคำ ในขณะที่พนักอยู่ในป่าข้า หลวงพ่อได้ถือปฏิบัติสำรวมสมาธิกัมมัฎฐานแผ่พลังเมตตาจิตเป็นวัตร ในคืนหนึ่ง ชาวบ้านนละแวกนั้นได้เห็นองค์พระธาตุสำแดงปฏิหาริย์มีแสงสว่างโดยรอบองค์พระบรมธาตุมีรัศมีเรื่องอร่ามสว่างไสวไปทั่ว ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นปลื้มปิติ ยินดียิ่งนักที่มีปรากฎการณ์เช่นนี้ขึ้นซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน ในขณะที่หลวงพ่อนั่งสมาธิสงบนิ่งอยู่นั้นได้นิมิตเห็นชีปะขาว ๕ ตนนำเอามงกุฎใส่พานมาถวายหลวงพ่อ หลวงพ่อได้ให้ศีลให้พรแผ่เมตตาให้ไป หลังจากนั้นชีปะขาวทั้ง ๕คน ก็ได้กราบลาจากไป หลวงพ่อออกจาสมาธิกัมมัฎฐานเมื่อเวลาตี ๔ พอดี ในคืนต่อมาหลวงพ่อได้เช้าสมาธิกัมมัฎฐานตามปรกติ ก็มีนิมิตปรากฏเช่นคืนก่อน โดยชีปะขาวได้นำมงกุฎใส่พานมาถวายอีก แต่คราวนี้มาเพียง ๔ ตนเท่านั้น หลวงพ่อก็ได้ให้พรและแผ่เมตตาให้เช่นเคยและชีปะขาวก็กราบลาจากไป และก็เป็นเวลาตี ๔ เช่นคืนก่อน ต่อมาในคืนที่ ๓ อันเป็นคืนวันเพ็ญหลวงพ่อได้เข้าสมาธิกัมมัฎฐานอีก และได้นิมิตเห็นต้นมะม่วงใหญ่มีลูกดกมาก มีกลิ่นหอมหวนยิ่งนัก บนต้นมะม่วงมีฝูงลิงและชะนีมาเก็บกินกันมากมาย ต่อมาสักครู่หนึ่งปรากฏมีลิงแก่สูงใหญ่ตัวหนึ่ง ออกมาไล่ฝูงลิงและชะนีมีมาเก็บกินผลมะม่วงจนหนีไปหมดสิ้น ปรากฏว่านิมิตนี้ก็เป็นเวลาตี ๔ เช่นคืนวันก่อนเหมือนกัน พอรุ่งเช้ากำนันผู้ใหญ่บ้านและพวกอำเภอได้มาหาหลวงพ่อพร้อมหน้ากัน หลวงพ่อได้แจ้งให้ทราบว่าจะได้บูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุ สระน้ำ และถาวรวัตถุให้กำนันและทางอำเภอว่าขาดแคลนน้ำเพราะสระน้ำไม่มีน้ำเลย ต้องช่วยกันทดน้ำจากลำห้วยเข้ามาเก็บไว้ในสระก่อน ซึ่งจำเป็นจะต้องหาน้ำก่อนจึงจะทำได้ และจะเอาน้ำมาได้ต้องผ่านภูเขาถึง ๔ ลูก ซึ่งเป็นเรื่องหนักมาก หลวงพ่อได้ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านตั้งจิตอธิษฐานขอให้การดำเนินนี้จงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขออย่ามีอุปสรรค์ใดๆ ปรากฏว่าระยะทางต้นน้ำที่ทำทางต้องผ่านภูมเขาถึง ๔ ลูก ไม่มีอุปสรรคใดๆ เลยสามารถนำเอาน้ำมาได้ด้วยความสะดวก ทุกแห่งแหล่งที่ที่ขุดลงไปไม่ปรากฏหินผากั้นขวางแต่อย่างใด และได้น้ำมาลงสระอย่างปฏิหาริย์ หลวงพ่อได้นั่งหนัก(ประธาน)อยู่บูรณะซ่อมแซมองค์พระบรม

ธาตุจนสำเร็จเรียบร้อย โดยมีชาวบ้านชาวป่า ชาวเขา มาร่วมในการบูรณะครั้งนี้มากมาย กินเวลา ๔๕ วันจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ส่วนการสร้างถนนขึ้นสู่พระบรมธาตุนั้น ได้รับการขัดขวางจากเจ้าคณะตำบล โดยอ้างเหตุผลว่า แม้แต่ครูบาศรีวิชัยก็ยังไม่สร้างถนนขึ้นพระธาตุ ฉะนั้นจึงยังไม่สมควรสร้าง เมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้นทางฝ่ายกรมการอำเภอเห็นว่า หลวงพ่อเป็นผู้มีบุญบารมีมาโปรด ก็ควรให้หลวงพ่ออยู่สร้างต่อไปและได้ขอร้องต่อหลวงพ่อให้อยู่ช่วยก่อสร้างทางให้ โดยเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือกับหลวงพ่อ หลวงพ่อได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หากขืนทำการสร้างต่อไป ก็จะเกิดปัญหาขัดแย้งกับเจ้าคณะตำบลเป็นแน่ จึงได้ประกาศให้ชาวบ้านชาวเขาและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองให้ทราบทั่วกันว่าจะระงับการก่อสร้างไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร หลังจากนั้นหลวงพ่อก็ได้ออกธุดงด์ต่อไปจนถึง อ.ห้างฉัตร เขตจังหวัดลำปาง เห็นทำเลเหมาะสมที่จะบูรณะให้เป็นวัดขึ้นได้ จึงได้หยุดพักอยู่ ณ ที่ป่านั้นและใคร่อยากจะสรงน้ำเพราะเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย พระผู้ติดตามได้บอกหลวงพ่อว่ามีบ่อแต่ไม่มีน้ำมีแต่โคลน หลวงพ่อได้เดินไปดูก็เห็นจริงตามที่พระรูปนั้นกล่าว จึงได้อธิษฐานกล่าวอันเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอได้โปรดเมตตาให้บังเกิดน้ำขึ้นด้วย เพื่อจะได้น้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ ในการบูรณะให้เกิดเป็นวัด ขึ้น ณ ที่นี้ จากนั้นหลวงพ่อได้กลับไปนั่งพักยังโคนไม้ที่อาศัย สักครูหนึ่งพระองค์นั้นได้รีบมาหาหลวงพ่อและบอกว่า น้ำได้ขึ้นมาครึ่งบ่อแล้วหลวงพ่อจึงได้สรงน้ำและใช้น้ำบ่อนั้นก่อสร้างโบสถ์เจดีย์ กุฏิ ศาลา จนสำเร็จเรียบร้อยด้วยแรงงานของชาวบ้าน ชาวเขา ที่ได้พร้อมใจกันสละทรัพย์และแรงงาน โดยหลวงพ่อนั่งหนักเป็นประธานอยู่ถึง ๓ พรรษา หลวงพ่อได้กล่าวต่อไปว่า ขณะนั้น ที่อำเภอห้างฉัตรมีหมู่บ้านอยู่ไม่กี่หลังคาเรือนอาศัยบุญบารมีแรงงานจากทั่วสารทิศมาช่วย จึงสำเร็จเป็นวัดอยู่ทุกวันนี้
โดยที่หลวงพ่อมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลประตูป่าจึงทำให้มีภาระที่จะต้องปฏิบัติงานต่างๆ นอกจากนั้น หลวงพ่อยังต้องรับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยจึงทำให้ต้องกลับวัดวังมุยเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยและการงานด้านของทางวัดด้วยได้พักอยู่ที่วัดวังมุย ประมาณเดือนเศษ ก็ได้นำภิกษุสามเณรออกธุดงค์ต่อไปอีก คราวนี้ได้ไปพักที่ป่าช้า บ้านเหมืองฟู ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง ได้อยู่พักฝึกอบรบพระภิกษุสามเณรด้านสมาธิกัมมัฎฐานปฏิบัติโดยได้มีชาวบ้านมาร่วมอนุโมทนามากมายรายได้ทั้งหมดที่มีผู้นำมาถวาย หลวงพ่อได้จัดมอบให้คณะกรรมการสุสานจัดทำสาธารณะประโยชน์ทั้งหมดโดยได้มีการจัดสร้างสะพานยาว ๒๕ วา ๒ ศอก กว้าง ๘ ศอก ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ เดือน จึงแล้วเสร็จ สิ้นเงิน ๘๐,๖๓๐ บาทจากนั้น หลวงพ่อได้มา สร้างสะพานที่ ต.สันทราย อ.สารภี กว้าง ๘ศอก ยาว ๑๒ วาสิ้นเงิน ๔๘,๐๐๐ บาทต่อมาชาวบ้านป่าเดื่อได้อาราธนาหลวงพ่อให้มานั่งหนักเป็นประธานสร้างสถาน ต.ขัวมุง ยาว ๕๕ วา กว้าง ๘ ศอก ข้ามลำน้ำแม่ปิงเป็นเวลา ๔ เดือน ๑๕ วัน จึงเสร็จ สิ้นเงินประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท ต่อมาก็ได้ไปนั่งหนักสร้างสะพานวัดชัยชนะ ต.ประตูป่าข้ามลำน้ำแม่ปิงยาว ๑๐ วา กว้าง ๘ ศอก ใช้เวลา ๑๐ เดือนสิ้นเงิน 30,000 บาทเศษ ต่อมาชาวบ้านริมปิง อ.เมืองลำพูนได้อาราธนาหลวงพ่อ ไปนั่งหนักสร้างสะพานให้อีกกินเวลา ๔ เดือน มีความยาว ๑๕ วา กว้าง ๘ ศอก ยังใช้อยู่ทุกวันนี้ จากนั้นหลวงพ่อก็ได้กลับวัดวังมุยและได้เริ่มงานสร้างสะพานหน้าวัดขึ้น มีความยาว ๑๒ ศอก กว้าง ๘ ศอกสิ้นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาทเศษกินเวลา๒ เดือนเสร็จสมบูรณ์พอดี หลวงพ่อได้กล่าวว่า ทุกครั้งที่ไปนั่งหนักเป็นประธานการสร้างสะพาน นายห้องบริษัทธานินท์อุตสาหกรรมจำกัด จะส่งเงินมาร่วมสมทบทำบุญด้วยทุกครั้งเมื่อเสร็จกิจนิมนต์แล้ว หลวงพ่อได้กลับมายังวังมุย และได้ยืนหนังสือลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ทุกตำแหน่ง เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว หลวงพ่อได้ธุดงค์ต่อไปอีก ตั้งใจว่าจะขึ้นไปเหนือสุดของประเทศ โดยเริ่มธุดงค์ออกทางอำเภอห้างฉัตร เห็นองค์พระเจดีย์ปรักหักพังรู้สึกเศร้าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พักอยู่เพื่อจะบูรณะซ่อมแซม เมื่อหลวงพ่อได้จัดทำพำนักเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มงานบูรณะองค์พระเจดีย์ทันที่ โดยมีชาวบ้านช่วยเหลือมากมายทั้งกำลังงานและทุนทรัพย์ ขณะที่บูรณะขุดวางรากฐานใหม่ ได้พบศิลาจารึกมีใจความว่า องค์พระเจดีย์นี้พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้าง และจะมีพระสงฆ์ ๓ รูป มาบูรณะต่อเติม หลวงพ่อได้สอบถามชาวบ้านดูได้ความว่ามีพระมาบูรณะ ๒ องค์แล้ว หลวงพ่อเป็นองค์ที่ ๓ และขณะที่ขุดลึกลงไปใต้องค์ฐานพระเจดีย์ ได้พบไหซองใบใหญ่หนึ่งใบปิดปากแน่นหนา หลวงพ่อจึงได้สั่งให้ชาวบ้านนำขึ้นมาเก็บไว้ก่อน จะเชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านหนองหล่มมาร่วมเป็นสักขีพยานในการเปิดออกดู เมื่อเชิญกำนันผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านมาพร้อมแล้วจึงได้เปิดไหออก ปรากฏว่าภายในมีแต่เบี้ยทั้งนั้น หลวงพ่อจึงได้สั่งให้ปิดปากให้สนิทแล้วนำลงฝั่งที่เดิมจากนั้นได้ขุดเพื่อวางรากฐานต่อไปได้พบสิ่งสำคัญอีกมากมาย ล้วนมีค่าทั้งสิ้น หลวงพ่อได้สั่งให้เทปูนซีเมสต์ปิดทับและหล่อคอนกรีตปิดฝังไว้ให้แน่นหน้า เพื่อป้องกันของมีค่าอันเป็นสมบัติโบราณจะถูกขุดคุ้ยนำออกไปการบูรณะครั้งนี้ใช้เวลาถึง ๓ เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จหลวงพ่อได้สร้างศาลาขึ้น ๑ หลังด้วย จากนั้นก็ได้ธุดงค์ต่อไป โดยตั้งใจจะไปนมัสการพระบรมธาตุดอยตุง การธุดงค์ครั้งนี้มีสามเณรร่วมไปด้วย ๒ รูป และศรัทธาอีก ๑ คน ซึ่งขอติดตามท่านไป หลวงพ่อก็อนุญาตให้ติดตามไปด้วย โดยบอกให้เดินตามอย่างให้คลาดสายตา หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ไปทางอำเภอเวียงป่าเป้า บุกป่า ผ่าดง ขึ้นเขา ลงห้วย ไปตามกำลังแรงศรัทธา และมีโอกาสหาความสงบวิเวก ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน เข้านิโรธสมาบัติทบทวนวิชาความรู้ที่ได้ศึกษาร่ำเรียนมา และเป็นการแสวงธรรมแผ่เมตตาจิตแด่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ขณะที่ธุดงค์ผ่านป่าทึบเวียงป่าเป้า ผ่านดอยนางแก้ว ได้พบรอยเท้าเสือขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ มีรอยเท้าเหยียบย่ำผ่านไปใหม่ๆ ซึ่งรอยน้ำขังยังขุ่นอยู่ หลวงพ่อได้แผ่เมตตาส่งกระแสจิตให้ โดยอธิษฐานว่า หากมีกรรมเก่าติดค้างมา ก็จะขอยอมเสียชีวิตเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม หลวงพ่อได้เดินทางต่อไปจนทะลุป่าก็ไม่พบเสือตัวนั้นเลย เมื่อถึงเชียงรายได้พักที่ป่าช้าเพื่อจะได้ธุดงค์ไปยังถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ต่อไป ขณะที่พักอาศัยอยู่นั้น ชาวบ้านได้นำอาหารมาถวาย และสอบถามหลวงพ่อว่า จะไปไหนต่อไป หลวงพ่อได้บอกตามเจตนาจะไปถ้ำ เพื่อนมัสการพระพุทธรูในถ้ำนั้น ชาวบ้านได้ขอร้องห้ามมิให้หลวงพ่อไป เพราะขณะนี้มีช้างตัวใหญ่กำลังตกมันอาละวาดอยู่ในป่า ซึ่งเป็นทางที่จะขึ้นสู่ถ้ำ และช้างตัวนี้ฆ่าคนมาแล้ว ขอหลวงพ่ออย่าเข้าไปเลย หลวงพ่อนิ่งคิดอยู่จนในที่สุดจึงได้กล่าวว่า อาตมาตกลงใจแล้วว่าจะต้องขึ้นไปบนถ้ำ เพื่อนมัสการพระพุทธรูปให้ได้ตามวันเวลาที่กำหนดไม่สามารถหยุดอยู่ได้ และอาตมาขอขอบใจมากที่ได้แจ้งข่าวบอกให้รู้ จากนั้นหลวงพ่อ สามเณรและผู้ติดตาม ได้ออกเดินทางเข้าป่าทันที ขณะที่ผ่านป่าหลวงพ่อได้ตั้งจิตภาวนา แผ่เมตตาจิตให้แก่ช้างตกมันเชือกนั้น และหลวงพ่อก็ได้พบช้างตัวนั้นกำลังอาละวาด พุ่งชนต้นไม้ใหญ่ที่ขวางหน้าอยู่ ขณะที่หลวงพ่อและคณะเดินเข้าไปใกล้ช้างตกมันตัวนั้นได้มองดูหลวงพ่อ และคณะที่กำลังเดินจะผ่านไป ช้างตกมันตัวนั้นกลับหันหน้าเข้าสู่กอไผ่ หันก้นให้พร้อมกับยืนนิ่ง พับใบหูไปๆมาๆอย่างสำราญใจ หลวงพ่อและคณะได้เดินผ่านไปอย่างปกติโดยไม่มีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นหลวงพ่อไม่ให้ได้ ด้วยจิตใจอันมั่นคงขณะเมื่อขึ้นสู่ปากถ้ำนั้น ได้พบฤาษี ๔ องค์ อาศัยอยู่บนถ้ำ เมื่อฤษีเห็นหลวงพ่อและคณะผ่านป่าขึ้นมาได้ จึงได้ไต่ถามว่า ขณะเดินผ่านป่ามาพบช้างตกมันอยู่หรือเปล่า หลวงพ่อตอบไปว่าพบ แต่ไม่เห็นเขาทำอะไรอาตมาเลย ฤาษีต่างอุทานออกมาด้วยความตกใจ เพราะช้างตัวนี้ตกมัน หนุ่มดุร้ายมาก และเมื่อเช้านี้เองมันยังไล่พวกฤาษีที่ออกไปหาอาหาร และมันทำไม่ถึงไม่ทำร้ายท่านเป็นเรื่องที่น่าแปลกมา พวกฤาษีที่อยู่บนถ้ำนี้ไม่สามารถออกไปติดต่อขอข้าวสารจากชาวบ้านมาเกือบอาทิตย์แล้ว นับว่าเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อแก่กล้าจริงๆ ที่ผ่านมาได้ เมื่อรับฟังแล้วหลวงพ่อก็นิ่งเฉยเสีย จากนั้นหลวงพ่อได้นำสามเณรทั้งสองและผู้ติดตามไปฝากพระภิกษุชรา ผู้ดูแลรักษาวัดถ้ำเพื่อของฝากฝังศิษย์ไว้ด้วย จากนั้นได้บอกกล่าวแก่ศิษย์ว่า จะเข้าไปปฏิบัติธรรมในถ้ำ ๗ วัน ถ้าหากหลวงพ่อไม่กลับออกมาให้กลับวัดกันได้ ในย่ามมีเงินอยู่บ้างและกลับไปก็ไม่ต้องบอกกล่าวอะไรกับญาติโยมทั้งสิ้น เมื่อสั่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อก็ครองผ้าใหม่เรียบร้อยพร้อมดอกไม้ ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ และเอาน้ำใส่ในบาตรเข้าถ้ำไป จากนั้นหลวงพ่อได้เข้านั่งบริกรรมสมาธิ ปฏิบัติธรรม และเข้าสู่นิโรธสมาบัติติดต่อกันจนครบ ๗ วัน ๗ คืน โดยมิได้ฉันอาหารใดๆเลย นอกจากน้ำในบาตรที่นำเข้าไปเท่านั้น เมื่อครบกำหนด ๗ วัน หลวงพ่อได้ออกจากนิโรธสมาบัติภายในก้นถ้ำปรากฏว่าจีวรสังฆาฏิที่ครองอยู่เปียกชื้นหมด จึงได้ลูกเดินออกมาสู่ปากถ้ำ และได้อยู่ใกล้ปากถ้ำเพื่อปฏิบัติภาวนาทำนิโรธสมาบัติต่อเป็นวันที่ที่ ๘ ขณะที่เตรียมจัดนั่งเพื่อปฏิบัติธรรม หลวงพ่อได้เห็นหนูท้องขาวตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ได้มาวิ่งวนรอบตัวหลวงพ่อ แล้วมาหยุดยืนยกขาหน้าขึ้น ต่อหน้าหลวงพ่อถึงสามครั้งสามหน แล้วก็วิ่งหนีหายเข้าถ้ำไป จากนั้นหลวงพ่อก็นั่งภาวนาทำนิโรธสมาบัติต่อไป พอสว่าง หลวงพ่อออกจากสมาธิญาณสมาบัติเดินออกจากถ้ำจะลงมาพบสามเณรและผู้ติดตาม ปรากฏว่าพระภิกษุผู้ชรา สามเณรทั้งสองและผู้ติดตามได้มายืนคอยอยู่แล้ว ต่างเข้าประคองหลวงพ่อลงไปและต้มข้าวถวายให้ฉันพร้อมกับพูดว่า หลวงพ่อจะเข้านิโรธสมาบัติก็ไม่บอกให้ผมรู้ด้วย จะได้บอกชาวบ้านเขามาเอาส่วนบุญด้วย หลวงพ่อก็ได้แต่นิ่งไม่กล่าวประการใด เมื่อได้ปฏิบัติธรรมเสร็จเรียบร้อยด้วยจิตใจอันอิ่มเอิบแล้ว หลวงพ่อก็ได้ธุดงค์ต่อไปยังพระธาตุดอยตุงขณะที่ธุดงค์เข้าในป่าเขาลึกเข้าไปจนรู้สึกว่า ไม่ผ่านพบผู้คนและบ้านเรือนเลย และเวลาก็ใกล้จะเพลแล้ว เกรงว่าสามเณรและผู้ติดตาม จะเกิดความหิวทนทานไม่ได้หลวงพ่อจึงตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยกุศลเจตนาที่ได้เพียรปฏิบัติขอให้ได้พบบ้านผู้คนด้วย หลังจากธุดงค์ไปอีกไม่นาน ก็พบบ้านหลังหนึ่ง มีชายชราสูงอายุผู้หนึ่งกำลังนั่งเหลาไม้อยู่ เมื่อได้เห็นหลวงพ่อและคณะจะธุดงค์ผ่านไป ก็รีบเข้ามานิมนต์ให้ฉันน้ำเสียก่อน จากนั้นก็รีบขึ้นบนเรือนจัดหาอาหาร นิมนต์หลวงพ่อ สามเณร ขึ้นบนเรือนฉันเพลทันที เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ให้ศีลให้พรแก่ชายชราผู้นั้น ซึ่งทั้งบ้านไม่มีใครเลย คงมีชายชราผู้นี้แต่ผู้เดียว ชายชระผู้นี้ได้เรียนถามถึงการปฏิบัติธรรมเข้าสู่นิโรธสมาบัติได้ถึง ๗ – ๘ วัน โดยไม่อ่อนเพลียเช่นนี้ นับว่าหลวงพ่อมีบุญบารมีพลังจิตกล้าแข็งมาก ขอให้รักษาไว้ให้ดี เพื่อโปรดเมตตาต่อสัตว์โลกและมวลมนุษย์ จากการตั้งปัญหาถามเองและตอบเองนี้ ยังความประหลาดใจให้กับหลวงพ่อมาก เพราะไม่เคยเอ่ยอ้างหรือเล่าสู่ให้ฟังก่อนเลย จะทราบด้วยญาณใดก็ไม่ทราบได้เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชายชราได้อาสานำทางพาหลวงพ่อออกสู่ถนนหลวง เพื่อผ่านตัวเมืองต่อไป เมื่อชายชราได้นำมาถึงชายป่าและชี้ทางสู่ถนนหลวงแล้วจึงได้รีบอำลากลับทันที โดยหลวงพ่อมิได้หันหน้ากลับ ไปดูชายชราผู้นั้นเลยต่อจากนั้นหลวงพ่อได้จาริกแสวงบุญปฏิธรรบโปรดสัตว์ไปยัง ณ ที่ต่างๆ พำนักตามป่าช้าเรื่อยมา ทุกเข้าชาวบ้านจะมาทำบุญตักบาตรถวายอาหาร หลวงพ่อจัดแบ่งฉันพอสมควรนอกนั้นได้ให้ผู้อื่นหมดสิ้น หลวงพ่อได้ปฏิบัติธรรมเข้านิโรธสมาบัต โดยไม่ฉันอาหารใดๆ นอกจากน้ำครบ ๗ วัน และก็ธุดงค์ต่อไปยังที่อื่นๆ รวมกับการปฏิบัติธรรมนิโรธสมาบัติเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยกุศลผลบุญที่ได้มา ขอสละเป็นบัดพลี มีส่วนช่วยอุทิศส่วนกุศลให้แก่อมนุษย์ได้มากมาย ผู้เขียนได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า การอดอาหารครั้งละ ๗-๘ วันนั้น หลวงพ่อมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง หลวงพ่อกล่าวตอบว่าไม่รู้สักเหน็ดเหนื่อยหรืออ่อนเพลียหิวโหยเท่าใดนักเป็นการปฏิบัติธรรมด้วยความสมัครใจ เป็นการฝึกถึงความอดทน เพียร และพยายาม เพื่อลุผลแห่งการปฏิบัติธรรมอันนี้

ศิษย์ครูบาศรีวิชัยหรือครูบาศีลธรรมวัดบ้านปางอ.ลี้จ.ลำพูน
เมื่อมีการสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ด้วยการริเริ่มและนำโดย ครูบาศรีวิชัย หรือ อีกนามหนึ่งที่เรียกกันว่า ครูบาศีลธรรม ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๓๗ ปี ยังหนุ่มแน่นอยู่ ได้เข้าร่วมช่วยเหลือการสร้างด้วยโดยมีพระภิกษุ ๔ รูปด้วยกัน สมัครเข้าเป็นสานุศิษย์ของท่าน คือ หลวงพ่อชุ่ม พระโสภาวัดถวาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ พระเหลา วัดแม่ตื่น อ.ลี้ จ.ลำพูน และพระแก้ว วัดพระเจ้าตนหลวง จ.ลำปาง ท่านครูบาศรีวิชัยได้แบ่งแยกหน้าที่การงานให้ปฏิบัติ โดยเฉพาะหลวงพ่อทำหน้าที่ช่วยเหลือท่านครูบาศรีวิชัยอย่างใกล้ชิด ทั้งภายในวัดและนอกวัด ได้รับข้อปฏิบัติธรรมจากท่านครูบาศรีวิชัยมากมาย โดยมีโอกาสได้ศึกษากันอย่างใกล้ชิดจนเกิดความชำนาญ ทุกยามค่ำท่านครูบาศรีวิชัยจะอบรมสั่งสอนข้อปฏิบัติมาธิวิปัสสนากัมมัฎฐาน จนได้เวลาพอสมควรก็ให้เลิกและเริ่มปฏิบัติในวันรุ่งขึ้นเวลาตี ๔ ทุกวัน เมื่อสว่างก็ให้ออกบิณทบาตรโปรดสัตว์ จากข้อปฏิบัติธรรมเหล่านั้นท่านได้บอกกล่าวไว้ว่า หากปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วจะมีอายุยืนยาว จากการที่ได้เข้าร่วมศึกษาปฏิบัติธรรม ช่วยเหลือครูบาศรีวิชัยตลอดมาได้รับความเมตตาอารีย์จากท่านมาก ทุกครั้งที่ท่านครูบาศรีวิชัยถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพฯในข้อหาต่างๆ หลวงพ่อได้รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาวัดและทำหน้าที่แทนท่านในการรับประเคนของถวายและนั่งรับแขกเหลื่อที่มาทำบุญ โดยท่านไม่ลืมสั่งไว้ว่าหากพวกยางมาหาก็รับประเคนแทน และให้ศีลให้พรแทนด้วย บอกเขาด้วยว่าไม่กี่วันจะกลับมาหลวงพ่อได้ทำหน้าที่แทนหลายครั้งหลายหน ในบางครั้งหลวงพ่อกลับวังมุย เมื่อท่านครูบาศรีวิชัยมีธุระจะส่งคนไปตามให้รีบกลับมา ปัญหาการถูกรบกวนมีหลายครั้งหลายตอน แต่ท่านก็กลับมาทุกครั้งโดยไปครั้งละ ๓ วัน ๕ วัน ถึง ๗ วัน ก็เคย และทุกครั้งที่ท่านกลับมาท่านจะไม่พูดถึงเรื่องราวใดๆ ให้ทราบเลย คงยึดหลักปักม่นในการสร้างทางมุ่งสู่องค์พระธาตุดอยสุเทพเท่านั้นเมื่อใกล้เวลาจะสร้างทางแล้วเสร็จ ท่านครูบาศรีวิชัยได้เรียกหลวงพ่อเข้าไปพบเป็นการส่วนตัว ได้ทบทวนขยายข้อมูลพระสูตรต่างๆ และข้อปฏิบัติธรรมทั้งหมดที่ได้รับจากท่านมา และท่านได้มอบพัดหางนกยุงพร้อมกับไม่เท้าให้โดยสั่งไว้ว่า เอาไว้เดินทาง เทศนาธรรมเผยแพร่ธรรมแทนท่านด้วยเมื่อการสร้างทางเสร็จสิ้นลง ท่านครูบาศรีวิชัยได้เดินทางไปสร้างพระวิหาร ที่วัดโคมคำ อ.พะเยา จ.เชียงราย ต่ออีก หลวงพ่อได้เล่าต่อไปอีกว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะที่ธุดงค์ผ่านวัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง เห็นวิหารที่ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างไว้ จะร่วมทำบุญด้วยก็ไม่มีเงิน จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานสละถวายพัดหางนกยูง และไม้เท้าที่ท่านครูบาศรีวิชัยได้กรุณามอบให้ร่วมทำบุญเป็นพุทธบูชา ผู้เขียนได้เรียนถามถึงพระอีก ๓ รูป ที่ร่วมเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย ในการสร้างทางขึ้นพระบรมธาตุดอยสุเทพ ขณะนี้อยู่ที่ใดบ้าง หลวงพอได้กล่าวตอบอย่างสลดใจว่า ท่านทั้งสามได้มรณภาพไปหมดแล้ว คงเหลืออาตมาเพียงรูปเดียวเท่านั้นขณะที่ท่านครูบาศรีวิชัยป่วยอยู่ ณ วัด จามเทวี หลวงพ่อได้ไปเยี่ยมและอยู่เฝ้าพยาบาลท่านร่วมกับครูบาธรรมชัยวัดประตูป่า หลวงพ่อ่ได้จ้างช่าง มาปั้นรูปเหมือนท่านครูบาเอาไว้ขนาดเกือบเท่าองค์จริง เมื่อช่างได้จัดการปั้นรูปเหมือนเสร็จแล้ว ได้นำเข้าไว้ยังปลายเท้าท่านและได้ช่วยกันประคองท่านนั่ง เมื่อท่านครูบาได้เห็นองค์รูปเหมือนของท่านแล้ว นำตาได้เอ่อคลอเบ้าและได้หลั่งไหลลงอาบแก้ม ท่านได้ใช้มือลูกไล้รูปเหมือนท่าน และได้สั่งหลวงพ่อไว้ว่า ให้ถือปฏิบัติดังรูปนี้น๊ะ จากนั้นท่านครูบาได้สั่งเณรให้นำเอาไม้เท้าและพัดหางนกยูงออกมาให้ เมื่อสามเณรได้นำมามอบให้ดังประสงค์แล้ว ท่านครูบาได้นำมอบให้กับหลวงพ่ออีกได้สั่งเสียไว้ว่า ให้เก็บรักษาไว้ให้ดีถือปฏิบัติแทนตัวท่าน รูปเหมือนองค์ที่หลวงพ่อจ้างช่างปั้นไว้ พัดหางนกยูงและไม้เท้าได้เก็บรักษาไว้ที่วัดวังมุย หากท่านผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสและต้องการเคารพบูชา ขอเชิญได้ทุกเวลาด้วยสัจจบำเพ็ญบารมีของหลวงพ่ออันประเสริฐ ที่ได้ยึดถือข้อปฏิบัติคำสอนอย่างเคร่งครัดได้คุณธรรมอันวิเศษ มีพลังจิตและญาณอันแก่กล้าที่ได้บำเพ็ญเพียรมา ตามคติอาจารย์จนเชี่ยวชาญอักขระพระเวทย์เลขยันต์ พระสูตรและอาคมของหลวงพ่อจึงขลังยิ่งนัก โดยเฉพาะด้านคงกระพันมหาอุด แคล้วคลาด และคุณไสยด้วยแล้วเป็นที่เชื่อได้ในฤทธิ์ธานุภาพ อันประกอบด้วยพลังแห่งญาณที่หลวงพ่อได้แผ่เมตตาจิตลงในวัตถุเหล่านั้น

คุณธรรมบารมี
ตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรเป็นต้นมาหลวงพอได้ละเว้นไม่ฉันเนื้อสัตว์ ทุกชนิด และฉันอาหารเพียงมื้อเดียวตลอดมา ต่อมาจนเมื่อใกล้กึ่งพุทธกาล หลวงพ่อรู้สึกว่ามีอาการร้อนจากไขสันหลังและแผ่นหลัง นักวันทวีหนักยิ่งขึ้น จึงได้ปรึกษาแพทย์ แพทย์ได้ตรวจอาการแล้วได้ขอร้องให้ฉันเนื้อสัตว์บ้าง เพราะเกิดจากการขาดธาตุโปรตีนที่จะทำหน้าที่บำรุงเลี้ยงร่างกาย จากนั้นมาหลวงพ่อจึงได้ฉันเนื้อสัตว์แต่ก็ยังยกเว้น ไม่ฉันเนื้อวัวและควายอีก หลวงพ่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีความทรงจำเป็นเลิศ และแม่นยำ หลวงพ่อถือการบินฑบาตรเป็นการโปรดสัตว์ทุกวัน สวดมนต์ทำวัตร ถือกัมมัฎฐานแผ่เมตตาจิตต่อสัตว์โลกทั้งปวง หลวงพ่อเป็นอริยะสงฆ์ที่สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวง ท่านชำระจิตของท่านดั่งน้ำและดิน สิ่งใดที่ไม่มีจริง ท่านจะไม่พูดและไม่ตอบเลย เพราะท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องการให้เกิดความมัวหมองอันเป็นกิเลสขึ้น หลวงพ่อยึดมั่นในพรหมวิหารสี่ ใครผู้ใดก็ตามไม่ว่ายากดีมีจนเดือนร้อนมา ท่าจะจะช่วยแก้ไขแบ่งเบาภาระให้จนหลุดพ้น หลวงพ่อไม่สะสมทรัพย์สินหรือหรือสิ่งอันใดเลย แม้กระทั้งลาภยศได้ถวายคืนเจ้าคณะจังหวัดหมดสิ้นได้แก่เจ้าคณะตำบลประตูป่า พระอุปัชฌาย์ พระครู ลาภสักการะที่ท่านได้มาหรือมีผู้นำถวาย หลวงพ่อจะแจกจ่ายไปหมดสิ้นใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุดังกล่าวมาแล้วและแจกจ่ายคนยากจนทั้งหลาย หลวงพ่อมีเมตตาธรรมประจำใจ ไม่ค่อยขัดต่อผู้ใดที่ขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ ถ้าไม่เกินขอบเขตแห่งพระวินัยขอปฏิบัติโดยเฉพาะผู้เจ็บป่วยด้วยคุณไสยด้วยแล้วเชือกและน้ำมนต์ของท่านขลังยิ่งนัก มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ธุดงค์ไปถึงอำเภอฮอด เข้าพักในป่าช้าบ้านบ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นมีด้วยกันหลายเผ่าหลายภาษา ลัวะ, ยาง, กระเหรี่ยง, ได้เอาเนื้อสดๆ มาถวายโดยบอกว่า เป็นส่วนของวัดหนึ่งหุ้นที่ล่าสัตว์มาได้หลวงพ่อไม่ยอมรับและบอกว่าหากจะนำถวายพระหรือสามเณรควรจัดทำให้สุกเป็นอาหารมาจึงจะรับได้ และขอบิณฑบาตอย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย และขอบิณฑบาตอย่าได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขาเลย ในยามค่ำหลวงพ่อได้ทำวัตร สวดมนต์ทำสมาธิแผ่อธิฐานจิตให้สรรพสัตว์ทั้งปวง จนใกล้สว่างจึงออกบิณฑบาต พวกชาวบ้านก็ใส่บาตรให้ และได้ขอร้องหลวงพ่อไม่ให้สวดมนต์อีกต่อไป โดยกล่าวหาว่า เช้าก็สวด ฉันข้าวก็สวด เย็นก็สวด กลางคืนก็สวด เข้าป่าล่าสัตว์ไม่ได้สัตว์มาหลายวันแล้ว ด้วยคุณธรรมบารมีของหลวงพ่อที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งที่รู้ภาษาและไม่รู้ภาษา ต่างก็รอดพ้นจากการถูกเบียดเบียนซึ่งกันและกัน อันนำมาซึ่งความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน

อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อชุ่มโพธิโก
ผ้ายันต์ เป็นผ้าสีแดงพิมพ์เป็นยันต์พระเจ้า หลวงพอได้ผูกอักขระพระเวทย์ลงครบถ้วนสามารถนำติดตัวไปได้ มีพุทธคุณในด้านคงกระพันชาตรี มหาอุต อีกทั้งเมตตามหานิยมสูงมาก ป้องกันด้านคุณไสยได้เป็นอย่างดี
ยันต์ตะกรุดเสื้อ มีชาวสุพรรณบุรีผู้หนึ่งชื่อวงศ์ ได้มามีภรรยาอยู่จังหวัดลำพูน และหลานภรรยาได้บรรพชาเป็นสามเณรชื่อสามเณรบุก และสามเณรผู้นี้มีความเชื่อถือทางไสยศาสตร์มาก จากกิติศัพท์ยันต์พระเวทย์ และความเก่งกล้าทางวิทยาคมอันกระเดื่องของหลวงพ่อ ทำให้สามเณรบุกได้เพียรพยายามขอตะกรุดจากหลวงพ่อ หลวงพ่อเห็นว่ายังเป็นสามเณร ประกอบกับมีอายุยังน้อยอยู่ หลวงพ่อก็ได้ผัดผ่อนเรื่อยมา สามเณรก็เพียรพยายามหลายครั้งหลายหนเข้า หลวงพ่อท่านทนรบเร้าอ้อนวอนจากสามเณรไม่ได้ จึงได้จัดสร้างตะกรุดเสื้อให้ไปหนึ่งชุด เมื่อสามเณรบุกได้รับตะกรุดเสื้อจากหลวงพ่อไป นายวงศ์ผู้เป็นน้าได้ขอยืมตะกรุดเสื้อจากสามเณรบุกไปใช้ และจากนั้นมานายวงศ์ผู้นี้ ได้ออกจี้ปล้นสะดมชาวบ้านร้อนถิ่นทั่วภาคเหนือ จนได้รับขนานนามเป็นเสือกันที่เดียว กิติศัพท์การปล้นสะดมของเสือวงศ์ยุคนั้น ได้มีการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามทุกครั้งเสือวงศ์ผู้นี้ก็รอดจากวงล้อม และห่ากระสุนหลบหนีได้ทุกครั้งโดยมิได้เป็นอันตรายเลย การปล้นสะดม ได้แผ่ขยายมากยิ่งขึ้นยังความสลดใจให้กับหลวงพ่อมาก เมื่อทราบจากสามเณรบุกถึงเรื่องเสือวงศ์ได้ขอยืมเอาตะกรุดเสื้อแล้วหายจากไปกลายเป็นอ้ายเสือผู้ยิ่งใหญ่แห่งภาคเหนือในยุคนั้นจากสงครามเวียดนามอันเป็นศึกประชิดใกล้บ้าน เหล่าทหารอาสาสมัครในกองพลเสือดำรุ่นที่หนึ่งและสองจำนวนหลายสิบนาย ได้มาหาหลวงพ่อ ขอตะกรุดจากหลวงพ่อเพื่อไปทำการรบป้องกันประเทศชาติ หลวงพ่อได้มอบให้ไปทุกนาย และปรากฏว่าได้รอดพ้นภยันตรายทุกนายได้รับเหรียญกล้าหาญมาประดับอก เชิดชูความกล้าหาญของเหล่าทหารหาญของชาติ เป็นการสร้างเกียรติประวัติ ให้กับประเทศชาติ ในความเป็นยอดนักรบผู้กล้าหาญ แห่งประเทศไทย หลวงพ่อได้กล่าวต่อไปว่า ทุกครั้งที่เหล่าทหารหาญจะออกเดินทางไปสมรภูมิ หลวงพ่อจะต้องถูกนิมนต์ให้เป็นผู้ประพรมน้ำมนต์ที่ชานชลาสถานีรถไฟเชียงใหม่ทุกครั้ง บางรายมาขออาบน้ำมนต์ถึงวัดก็มี กิติศัพท์ความเก่งกล้างทางอักขระพระเวทย์และผูกยันต์แล้วเป็นที่เชื่อถือได้โดยสนิทใจทีเดียวยันต์ตะกรุดหนังเป็นตะกรุดชนิดพิเศษดอกเดียวที่มีชื่อเสียงทั่วภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นเมืองของชายชาตรีต้องมีคงกระพัน มหาอุตไว้ป้องกันตัว หลวงพ่อได้รับการถ่ายทอดจากท่านมหาเมธังกรจังหวัดแพร่ เป็นผู้มอบให้กับหลวงพ่อจนหมดสิ้น โดยใช้เวลาศึกษาอยู่ถึง สองพรรษา มหาเมธังกรผู้นี้เป็นพระอาจารย์ชื่อดังของเมืองแพร่ซึ่งเป็นแดนแห่งมือปืนทุกระดับดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป ตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพลายนี้ ชาวเมืองแพร่ที่ได้ทราบว่าหลวงพ่อชุ่มท่านได้รับถ่ายทอดวิชานี้มา ต่างก็ได้ขึ้นมาขอจากหลวงพ่อไปจนหมดสิ้น เพราะต่างก็เห็นผลและได้รับการยืนยันแห่งความแน่นอนในด้านความคงกระพันมหาอุตและเมตตามหานิยมสูงด้วย ทราบว่ายังพอมีอยู่บ้างที่ท่านเจ้าคณะจังหวัดลำพูนในขณะนี้หลวงพ่อคำแสน คุณารังกโร วัดดอนมูล อ.สันกำแพง เชียงใหม่ เคยนิมนต์หลวงพ่อชุ่มไปเป็นประธานพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องรางของขลังเพื่อหาทุนศร้างศาลาและโรงเรียนวัดดอนมูลกล่าวว่า อักขระเลขยันต์และฌานของหลวงพ่อชุ่มเก่กล้าและขลังมากผู้หนึ่งในภาคเหนือ หลวงพ่อคำแสนได้พาศรัทธาญาติโยมไปคารวะหลวงพ่อชุ่มในเทศกาลตรุษสงกรานต์ ๒ – ๓ ครั้ง จนหลวงพ่อได้ออกปากของร้องของดการคารวะ จะเป็นบาป ต่อหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อชุ่มมีพรรษาอ่อนกว่า
ด้านพิธีพุทธภิเษก หลวงพ่อได้ไปเป็นประธานพิธีหลายครั้ง อาทิเชน วัดดอนขมิ้น ต.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี วัดตะพานหิน จ.พิจิตร ในจังหวัดสุโขทัยอีกหลายวัด การพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดลำพูนนั้น ได้แก่พิธีพุทธภิเษกอัฎฐิท่านครูบาศรีวิชัยวัดบ้านปาง หลวงพ่อเป็นประธานในพิธี มีพระเข้าร่วมพิธีทั่วภาคเหนือเป็นพิธีชุมนุมครั้งยิ่งใหญ่ เป็นประวัติการณ์ของภาคเหนือที่ไม่เคยมีมาก่อน และในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ นี้ ได้ไปเป็นประธานพิธีปลุกเสกเหรียญครูบาศรีวิชัย ซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน และในวันที่ ๒๖ ตุลาคม นี้ ณ วัดศรีบุญเรือง เชียงใหม่ อีกพิธีหนึ่งจากการที่หลวงพ่อได้จัดสร้างวัตถุเครื่องรางของขลังต่างๆ และผู้นำไปใช้ได้ประโยชน์และเห็นคุณภาพแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ตามที่ได้กล่าวมา ย่อๆ แล้วนั้น ทำให้มีบรรดาผู้แสดงหาของดีได้ไปนมัสการท่าน เพื่อขอของจากท่านมากมาย จนหลวงพ่อทำให้ไม่ทันแต่ก่อนที่หลวงพ่อจะทำของให้แต่ละบุคคล หลวงพ่อจะสังเกตผู้ไปขอแต่ละรายและก็ได้รับของจากหลวงพ่อแตกต่างกัน หลวงพ่อไม่เคยบอกบุญหรือคิดเป็นราคาแต่อย่างใด แล้วแต่ผู้มีจิตศรัทธาจะสละทรัพย์ จตุปัจจัยหลวงพ่อจะนำไปบูรณะเสนาสนะ และแจกจ่ายต่อผู้ยากจนทั่วไป นอกจากนั้นก็ยังมีบรรดาผู้แสวงหาของดีจากถิ่นต่างๆ แจ้งความประสงค์อยากได้เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อไปสักการะบุญชาประจำตัว ซึ่งหลวงพ่อก็ไม่เคยจัดสร้างเลย และไม่ยอมให้จัดสร้างด้วยมีหลายรายได้ขอเป็นผู้จัดสร้างให้หลวงพ่อท่านก็ไม่อนุญาตเนื่องด้วยท่านต้องการรักความสงบไม่ต้องการแสดงตน หลวงพ่อประสงค์ให้มีความเคารพเลื่อมใส มีมานะพยายามไปหาท่านมากกว่า แต่หลวงพ่อก็ยังให้ความหวังไว้ว่า เมื่อถึงเวลาอันสมควรนั่นแหละจึงจะทำ เวลาล่วงเลยมานับสิบปีผ่านมา ศิษย์ของหลวงพ่อได้ไปขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกซึ่งหลวงพ่อได้พิจารณาอยู่หลายวัน จึงเห็นว่าเป็นระยะเวลายาวนานนับสิบปีแล้วที่ผู้เคารพนับถือในตัวท่านประสงค์จะขอสร้างอยู่เสมอ จึงเห็นสมควรให้จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึก และเป็นศิริมงคลแก่ผู้นับถือและเลื่อมใส จึงได้เอ่ยอนุญาตให้สานุศิษย์จัดสร้าง ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อได้ผูกยันต์ลงอักขระตามพระสูตรให้อย่างครบถ้วน เพื่อบันทึกลงหลังเหรียญรุ่นนี้ และหลวงพ่อจะได้ทำการแผ่อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวตลอดเจ็ดวันเจ็ดราตรีในวิหารวัดวังมุยเริ่มทำพิธีปลายเดือน พ.ย. นี้การตรวจรับนับของที่หลวงพ่อได้อนุญาตให้จัดสร้างครั้งนี้ จะได้กระทำกันต่อหน้าหลวงพ่อและคณะกรรมการที่หลวงพ่อได้อนุมัติให้แต่งตั้งขึ้น คือ อาจารย์ยุทธ เดช

http://www.pratupa.com/?p=906

. . . . . . .