พระครูสุภัทรสีลคุณ (หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท)

พระครูสุภัทรสีลคุณ (หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท)วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่

หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทโท ถือกำเนิดที่บ้านท่าจำปี ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนพื้นเพบ้านท่าจำปีมาแต่กำเนิด บิดามารดา เป็นชาวไร่ชาวนา โยมบิดาชื่อ พ่ออูบ โยมมารดาชื่อ แม่จั๋นติ๊บ (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) หลวงปู่ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตรงกับสมัยพ่อเจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้ามหาชีวิต) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 เดือนเมษายน พ.ศ. 2449 หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 4 คน หลวงปู่เป็นลำดับที่ 7 และมีน้องสุดท้องชื่อแม่นิน

เมื่อหลวงปู่อายุได้ 11 ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นท่านครูบาถูกทางการจังหวัดลำพูน นำตัวมากักขังบริเวณที่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน) ในข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนไม่มีหนังสืออนุญาตบวชพระ เมื่อท่านครูบาเจ้าฯได้เห็นเด็กชายดวงดี ท่านก็มีเมตตาอย่างสูงเรียกเข้าไปหาพร้อมกับบอกพ่อแม่ว่า “กลับไปให้เอาไปเข้าวัดเข้าวา ต่อไปภายหน้าจะได้พึ่งพาไหว้สามัน” นับเป็นพรอันประเสริฐ ยิ่งในการที่ท่านครูบาเจ้าฯได้พยากรณ์พร้อมกับประสาทพรให้หลวงปู่ตั้งแต่ยังเด็ก

หลังจากที่เดินทางกลับถึงบ้าน ไม่กี่วันต่อมา บิดาก็นำขันข้าวตอกดอกไม้ พร้อมกับนำตัวเด็กชายดวงดีไปถวายฝากตัวเป็นศิษย์(ขะโยม)ในท่านครูบาโปธิมา ซึ่งเป็นอธิการวัดท่าจำปี ใกล้ๆบ้านนั่นเอง ครูบาโปธิมาก็ได้พร่ำสอนหนังสือของทางการบ้านเมืองสมัยนั้น หลังจากสั่งสอนเด็กชายดวงดีจนพออ่านออกเขียนได้ ท่านครูบาโปธิมาก็ย้ายจากวัดท่าจำปีไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง ห่างจากวัดท่าจำปีไปเล็กน้อย ท่าครูบาสิงหะ เจ้าอาวาสท่านต่อมาได้ให้เด็กชายดวงดีศึกษาเป็นขะโยม(เด็กในวัด) อยู่กับคณูบาสิงหะได้ไม่นาน ครูบาสิงหะก็มรณภาพ คงเหลือสามเณรสิงห์แก้วดูวัดท่าจำปีแทนและทำหน้าที่สั่งสอนลูกศิษย์ไปด้วย หลังจากทำบุญประชุมเพลิงครูบาสิงหะแล้วสามเณรสิงห์แก้วก็ลาสิกขาจึงทำให้วัดท่าจำปีร้างรกไม่มีเจ้าอาวาสติดต่อกันถึง ๓ ปี ในขณะที่วัดร้างรานั้น หลวงปู่หรือเด็กชายดวงดีขณะนั้นก็ทำหน้าที่ดูแลวัดอย่างที่เคยปฏิบัติมา เช่น ปัดกวาดกุฏิวิหาร จัดขันดอกไม้บูชาพระ ตักน้ำคนโท(น้ำต้น)ถวายพระพุทธรูปตลอดเวลา

ต่อมาคณะศรัทธาวัดท่าจำปี ได้อาราธนานิมนต์ท่านครูบาโสภามาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกอีกตำแหน่งด้วย ทำให้วัดท่าจำปีเกิดความสำคัญขึ้นมาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากท่านครูบาโสภณจะเป็นเจ้าคณะตำบลแล้ว ท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกที่มีอายุพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันกับม่านคณุบาศีลธรรมศรีวิชัย มีผู้คนเคารพนับถือมากมายถึงกับขนานนามท่านว่า “ตุ๊เจ้าตนบุญตนวิเศษแห่งล้านนา” จริงๆ เพราะท่านมีบุญญาอภินิหารปรากฏแก่สายตาคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ร่ำลือถึงเหตุการณ์ต่างๆอย่างไม่ลดละตราบจนทุกวันนี้

ครั้นหลวงปู่ดวงดีบรรพชาเป็นสามเณรแล้วโดยมีท่านครูบาโสภาเป็นพระอุปัชฌายะบรรพชา ได้ไม่กี่วันก็ส่งตัวเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ อยู่จำพรรษาและช่วยเหลือท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย คอยปฏิบัติพัดวีตามอาจาริยวัตรที่ครูบาอาจารย์ในยุคสมัยนั้นสั่งสอน ไหว้พระสวดมนต์ นั่งกรรมฐาน บูชาขันดอกไม้ และช่วยเหลืองานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งในขณะนั้นท่านครูบาเจ้าศริวิชัยต้องเดินทางไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อสร้างสรรค์บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ วัดวาอารามต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือ เมื่อหลวงปู่ดวงดีอายุครบ 21 ปี จึงได้กลับไปนมัสการพระอาจารย์ท่านครูบาโสภาที่วัดท่าจำปีเพื่อปรึกษาเรื่องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จากนั้นท่านครูบาโสภาจึงได้เดินทางไปขออนุญาตกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เรื่องส่งมาจำพรรษาอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเหมือนเดิม

ในขณะที่หลวงปู่อยู่จำพรรษากับท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยนับตั้งแต่เป็นสามเณรใหม่ ๆนั้นและเดินทางปฏิบัติเล่าเรียนอยู่กับท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านอายุได้ 28 ปี เป็นช่วงที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ข้องกล่าวหาต่างๆนาๆ เช่นการบุกรุกป่าสงวน ซ่องสุมผู้คน ตั้งตนเป็นผีบุญ จนถึงกับถูกจับส่งตัวไปตัดสินความที่กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่โต เมื่อคณะสงฆ์ในเขตปกครองแขวงบ้านแมง (อ.สันป่าตอง) ขอลาออกจากการปกครองเมืองเชียงใหม่ถึง 60 วัด ท่านครูบาโสภาวัดท่าจำปี ท่านครูบาปัญญา วัดท่ากิ่งแลหลวง ก็ถูกไต่สวนจนต้องนำคณะศิษย์หนีหนีไปแสวงบุญก่องสร้างวิหานพระพุทธบาทฮังฮุ้ง ในเขตประเทศพม่าจนไม่ยอมกลับมาอีกเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านครูบาศรีวิชัยต้องแยกย้ายกันไปแสวงบุญคนละทิศละทาง คงค้างแต่ท่านครูบาขาวปีทำหน้าที่ดูแลวัดสิงห็ และเป็นหัวแรงในการก่อสร้างวัดวาอารามที่ค้างไว้

ลุ พ.ศ. 2480 – 2481 ท่านครูบาศรีวิชัยถูกชำระความพ้นผิดเดินทางกลับเมืองลำพูนอยู่ได้ไม่นาน ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดจามเทวี เมื่ออายุได้ 61 ปี 5 เดือน กับ 21 วัน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ดวงดีอายุได้ 32 ปี หลวงปู่ได้เดินทางไปก่อสร้างวัดวาอารามเจริญรอยตามท่านครูบาศรีวิชัยผู้เป็นพระอาจารย์ หลังจากนั้นก็ติดตามครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวปีมาสร้างวิหารวัดท่าจำปี

ลุ พ.ศ.2484 ขณะพลวงปู่อายุได้ 35 ปี หลังจากถวายพระเพลิงปลงศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเสร็จแล้วนั้น ท่านครูบาเจ้าอภิชัยผ้าขาวได้เชิญอัฐิธาตุของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยส่วนที่เป็นกระโหลกเท่าหัวแม่มือส่วนหนึ่งหลวงปู่นำมาเก็บรักษาสักการะบูชาจนถึงทุกวันนี้ หลวงปู่ได้อยู่ช่วยครูบาอภิชัยผ้าขาว สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาติของท่าครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสารแล้ว ก็รับขันดอกนิมนต์จากคณะศรัทธาป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไปสร้างวัดป่าเมี้ยงป๋างมะกล้วย เนื่องจากอารามอยู่ในป่าดง เหมาะที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งถูกกับจริตวิสัยของหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่อยู่ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้นานถึง 7 ปี ท่านครูบาโสภาก็ขอให้หลวงปู่ลงมาก่อสร้างวัดท่าจำปีต่อจากท่าน เนื่องจากวัดท่าจำปีมีศรัทธาญาติโยมน้อยเพียง 20 หลังคาเรือนเท่านั้น

หลวงปู่เดินทางกลับมาก่อสร้างวัดท่าจำปี ขณะนั้นอายุได้ 42 ปีได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตกจากท่านครูบาโสภาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าหลวงปู่จะมีตำแหน่งหน้าที่ทางการคณะสงฆ์ก็ตาม ท่านก็มิได้ละเลยข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ในระหว่างที่มาดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากท่านครูบาโสภา หลวงปู่ก็มิได้สร้างแต่เฉพาะวัดท่าจำปีเท่านั้น ทุกวัดในละแวกเดียวกันหลวงปู่ก็ช่วยเหลือเป็นแรงสำคัญไม่ว่าถนนหนทาง อุโบสถ วิหาร เจดีย์ สะพาน หรือแม้แต่โรงเรียน โรงพยาบาล หลวงปู่ก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุง แม้กระทั่งวัดในเขตอำเภอสันป่าตอง หรือต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด จนไม่สามารถนำมาบรรยายได้ทั้งหมด

http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=628

. . . . . . .