ธรรมะจากการธุดงค์ (ครูบาอริยชาติ)

ธรรมะจากการธุดงค์ (ครูบาอริยชาติ)

“ข้ีเหล้ากินเหล้า กินแล้วขาดสติ
มาด่าเรา แล้วก็กลับบ้านไปนอน เราน่ะมีสติอยู่แท้ๆ ถูกข้ีเหล้าด่า แต่กลับนอนไม่หลับ เอาแต่คิดถึงคําด่า แต่ถ้าไม่คิดอะไรแล้ว มันก็ไม่มีอะไรสักอย่าง”

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ปีแรกในร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัสตร์
หลังจากเพียรขออนุญาตครูบาอาจารย์ที่วัดชัยมงคล (วัดวังมุย) ครั้งแล้ว คร้ังเล่าเพื่อออกจาริกแสวงธรรม ในท่ีสุด ‘สามเณรอริยชาติ’ ก็ได้รับ อนุญาตสมความมุ่งมั่น และไม่นานหลังจากนั้น สามเณรใหม่วัย ๑๗ ปี ก็สะพายย่ามหนึ่งใบ บาตร และกลด ตั้งต้นเดินเท้าออกธุดงค์ในทันท๑ี
___________________________________________________________________________
๑ พระภิกษุทางภาคเหนือซ่ึงได้รับอิทธิพลจากลังกาวงศ์ สามารถออกจาริกไปจากวัดได้โดยไม่ต้องอยู่กับ พระอุปัชฌาย์จนครบ ๕ พรรษา เหมือนข้อจํากัดของพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติ
ส. สุทธิพันธ์ 21

และเรื่องราวต่อไปน้ีคือปกิณกะสารธรรมท่ีอดีต ‘สามเณร อริยชาติ’ หรือนามปัจจุบันคือ‘ครูบาอริยชาติ อริจิตฺโต’ได้เก็บเกี่ยวมาเป็น‘ของฝาก’ สําหรับทุกคน

ทุกข์จากความหิว…เรื่องธรรมดาของสังขาร

จากวัดวังมุย ตําบลประตูป่า อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน สามเณร อริยชาติเลือกที่จะมุ่งตรงสู่จังหวัด พิษณุโลกเพื่อกราบนมัสการพระพุทธชินราชเป็นแห่งแรก จากน้ันก็ตั้งต้นจากพิษณุโลกเข้าสู่จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่านเป็นลําดับต่อไป

หนทางที่สามเณรอริยชาติจาริกไปนั้น เป็นเส้นทางที่แม้แต่ท่าน เองก็ยังไม่รู้ว่าคือท่ีไหน ไม่รู้ว่าหลังคาบ้านเรือนท่ีเห็นอยู่ข้างหน้าลิบๆ นั้นคือหมู่บ้านใด อยู่ในเขตท้องที่ไหน และเมื่อไปถึงแล้วจะพบเจออะไร สิ่งที่สามเณรอริยชาติรู้ในตอนนั้นก็คือ ‘เดินไปตามทางที่เราอยากไป’
และหนึ่งในจุดหมายท่ีว่าน้ีก็คือ ‘อยากจะไหว้พระธาตุ’

ครูบาอริยชาติเล่าถึงสภาพเส้นทางขณะที่ท่านธุดงค์เมื่อครั้งเป็น สามเณรว่า เส้นทางในแถบจังหวัดพิษณุโลกนั้นค่อนข้างจะมบ้านเรือนผู้คนปลูกสร้างอยู่หนาตาพอสมควร ในขณะที่เมื่อเข้าสู่เขตพื้นที่จังหวัด แพร่และน่านจะพบว่าเป็นผืนป่าและภูเขาเสียส่วนใหญ่ ชาวบ้านและผู้คนที่อยู่นอกเขตเมืองยังคงมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลักสิ่งที่ท่านรู้สึกได้ก็คือบ้านเรือนแต่ละแห่งปลูกสร้างอยู่ค่อนข้างห่างไกลกันอีกทั้งกว่าจะพบหมู่บ้านแต่ละแห่งก็ต้องเดินทางเป็นเวลานาน ถึงขนาดว่าบางครั้งข้ามบางครั้งข้ามภูเขาไปเป็นลูกก็ยังไม่พบบ้านเรือนผู้คน

ท่านเล่าถึงความลําบากในช่วงนั้นว่า บางวันก็ได้ฉันข้าว บางวัน ก็ไม่ได้ฉัน เพราะท่านบิณฑบาตไม่ได้เลย บางคร้ังบิณฑบาตไม่ได้ถึง ๒-๓ วันก็มี แต่ท่านก็ยังคงจาริกต่อไปด้วยความอดทน ทั้งที่ร่างกาย แสนเหน็ดเหนื่อยจากการเดินเท้ามาทั้งวัน และอ่อนล้าแทบส้ินเร่ียวแรง เพราะความหิว
“ในตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรมาก เตือนตัวเองว่า อย่ายอมแพ้ คิดแค่ว่า ถ้าไม่มีใครใส่ก็ไม่กิน คิดแค่นั้น”
นั่นคือความคิดของสามเณรวัย ๑๗ ปี อย่าง ‘สามเณรอริยชาติ’ ซึ่งถึงวันน้ี เมื่อ ‘ครูบาอริยชาติ’ ท่านได้มองย้อนกลับไปถึงความทุกข์ที่ ท่านได้เผชิญเม่ือคราวนั้นแล้ว ท่านก็ได้ให้ข้อคิดสําหรับต่อสู้กับปัญหา หรืออุปสรรคเอาไว้ว่า

“ปกติการเอาชนะความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ภายนอกหรือภายในก็ตาม ก็ต้องใช้คาถาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีคาถาที่ สําคัญสําหรับเอาชนะความทุกข์อยู่ ๒ บท และพระผู้ใหญ่ท่านก็ให้คาถา ๒ บทน้ีแก่ครูบามาเช่นกัน ซ่ึงต้ังแต่ครูบาบวชเป็นต้นมา ครูบา ก็ใช้คาถานี้มาตลอด บทแรกก็คือ ‘อดทน’ บทที่สองคือ ‘ทนอด’ นี่เป็นคาถาที่ครูบาท่องมาตลอด และใช้มาตลอดไม่ว่าจะเกิดอะไรข้ึน ก็ตาม เวลาเกิดทุกข์ทางกาย ครูบาก็จะท่องคาถา ‘อดทน-ทนอด’ เวลาเกิดทุกข์ทางใจ ครูบาก็ท่อง ‘ทนอด-อดทน’ การที่ครูบาสามารถ ต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคปัญหา จนครูบาอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน ก็เพราะ คาถาสองบทนี้ ถ้าคนเราไม่อดทน ไม่ทนอด เราก็จะไม่ประสบความสําเร็จ ในการสร้างบารมี คือ ‘ขันติบารมี’

พระพุทธเจ้าทรงบําเพ็ญบารมีจนเป็นพระพุทธเจ้าได้เพราะ อะไรรู้ไหม เพราะท่านบําเพ็ญขันติบารมีและวิริยะบารมี ท่านจึงเป็น พระพุทธเจ้าได้ เช่น เมื่อคร้ังที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก ทรงใช้ความเพียรว่ายน้ําอยู่ในมหาสมุทรทั้งๆ ที่ท่านยังมองไม่เห็น เลยว่าฝั่งอยู่ไกลขนาดไหน แต่พระมหาชนกก็พยายามว่ายไป เพราะท่าน ไม่อยากให้ใครดูถูก ว่าในเม่ือท่านยังมีชีวิตอยู่แท้ๆ แต่กลับไม่ได้ทํา ความเพียร ไม่มีความพยายาม ไม่มีความอดทน ดังนั้น ตราบใด ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ท่านจึงมุ่งประกอบความเพียร มีความพยายามมีความอดทน ท่านว่ายน้ําอยู่กลางมหาสมุทรนานถึง ๗ วัน ๗ คืน นั่นคือ การบําเพ็ญบารมีของท่าน ที่ใช้ทั้ง’ขันติ’ คือ ความอดทน และ ‘วิริยะ’ คือความเพียรประกอบกัน คนเราก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ‘คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร’ เราต้องมีความเพียร มีความพยายาม มีความอดทน เราถึงจะก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ได้”

ทุกข์จากความกลัว…เกิดที่ใจก็ต้องดับที่ใจ

ตามปกติแล้ว ท่ีพักซึ่งสามเณรอริยชาติเลือกที่จะปักกลดค้างคืน ระหว่างการธุดงค์ มีท้ังตามวัดวาอาราม ตามแนวป่าโปร่งข้างทางเดิน รวมทั้งตามถ้ําหรือชะง่อนหินในป่าลึก แล้วแต่สภาพการณ์ท่ีจะเป็นไปใน แต่ละวัน แต่สถานที่หลักซึ่งถือเป็นบริเวณท่ีสามเณรอริยชาติเลือกพํานัก ปักกลดบ่อยครั้งท่ีสุดเห็นจะเป็น ‘ป่าช้า’
ความจริงแล้วหากให้จินตนาการถึง ‘ป่าช้ากลางดึก’ คนส่วนใหญ่ คงเห็นภาพแนวต้นไม้ทะมึนท่ามกลางบรรยากาศสลัวๆ มีแต่ความเงียบ สงัดและวิเวกวังเวงชวนขนลุก แต่สิ่งที่สามเณรอริยชาติได้สัมผัสเมื่อคราวนั้น กลับไม่ใช่ ‘ความเงียบ’ แต่เป็น ‘เสียง’ ซึ่งคงไม่อาจวัดได้ว่า บรรยากาศแบบใดจะน่าขนลุกกว่ากัน
ครูบาอริยชาติเล่าถึง ‘จิต’ ของท่านเองในขณะนั้นว่า
“สมัยตอนนอนป่าช้าใหม่ๆ นี่กลัว ไปใหม่ๆ นี่ใจไม่ค่อยถึงหรอก กลัวทุกคนแหละ นอนไปก็กลัวบ้าง กลางคืนก็นอนไม่หลับ จริงนะ มันจะมีเสียงเยอะมากเลย เสียงทุกอย่างอยู่ในนั้นหมดเลย เสียงจั๊กจ่ัน เสียงตุ๊กแก เสียงคนเดิน เดินในป่าช้าน่ะ มันอาจจะเป็นคนก็ได้ หรืออาจไม่ใช่คนก็ได้ แต่มีอยู่คร้ังหนึ่งตอนไปนอนที่ป่าช้าใหม่ๆ ครูบา น่ังอยู่ในกลด แล้วครูบาก็หลับตา ตอนที่หลับตานั้นก็มีความรู้สึกเลยว่ามี เสียงคนเดิน เดินมา มาถึงตรงหน้าเราปุ๊บ แล้วก็ก้มมอง มีความรู้สึกว่า มันมาอยู่ตรงหน้าเรา เราก็ลืมตาทันทีเลย ไม่เห็นอะไร แต่พอหลับตาปุ๊บ เสียงมันเดินหายไป คือ ‘มาดู’ เฉยๆ มันเป็นความรู้สึก แต่ไม่เห็น”
นั่นเป็นตัวอย่าง ‘สิ่งกระตุ้นความกลัว’ ท่ีมาเยือนป่าช้ายามค่ําคืน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง สําหรับสามเณรใหม่ที่บรรพชา ได้ไม่ถึงปี
แม้จะยอมรับกับตนเองว่าบรรยากาศและเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในยามดึกสงัดนั้น ทําให้จิตคิดจิตนาการไปถึงสิ่งที่น่ากลัวต่างๆได้มากมาย เหลือเกิน และยิ่งคิดก็ยิ่งทําให้สติที่พยายามควบคุมเอาไว้เผลอ’หลุด’ ไปบ่อยๆ แต่สามเณรหนุ่มก็สามารถดึงสติกลับมาได้ทุกครั้ง ด้วยวิธีการที่ท่านรู้จักและเรียนรู้ที่จะฝึกปฏิบัติเองมาตั้งแต่ยังเป็น ‘เด็กชายเก่ง’ ตัวน้อยๆ นั่นคือ ‘นั่งสมาธิ’
“ตอนเป็นเด็กครูบาไปวัด ตอนอายุน้อยๆ ครูบาก็มีความคิด แบบไม่เหมือนใคร เพ่ือนคนอ่ืนชอบเฮฮาชอบไปเท่ียวเล่น ครูบาไม่ค่อย ชอบเที่ยว ชอบไปวัด ก็เลยได้คําสอนดีๆ มาจากวัดเยอะ ครูบาป่วยเป็น ภูมิแพ้มาต้ังแต่ยังเป็นเด็ก ภูมิแพ้น่ีพอกําเริบขึ้นมามันจะนอนไม่ได้เลย พอนอนไม่หลับครูบาก็จะลุกมานั่งสมาธิ นั่งไปสักพักอาการที่เป็นอยู่มัน ก็จะหายไป”
การน่ังสมาธิจึงเป็นเสมือน ‘ยาวิเศษ’ ที่ ‘เด็กชายเก่ง’ นํามาใช้ สําหรับควบคุมร่างกาย ควบคุมจิตใจและสติที่กำลังเตลิดหรือแตกเพริดไป ให้กลับมาสงบระงับจนน่ิงสนิทได้ในทุกคร้ัง ซ่ึงการที่เด็กชายเก่งได้ใช้ ‘ยาวิเศษ’ ขนานน้ีเป็นประจําน่ีเอง จึงทําให้กลายเป็น ‘ความเคยชิน’ ที่ติดตัวมาจนเข้าสู่ความเป็น‘สามเณร’ และสืบเนื่องมาจนถึงบทบาทของ ‘ครูบา’ ในปัจจุบัน
เม่ือรวบรวมสมาธิได้ สติและปัญญาก็เกิด และหลังจากนั้น ‘ความกลัว’ ก็ไม่ใช่อุปสรรคสําหรับสามเณรอริยชาติอีกต่อไป

ค่ําคืนอันยาวนานในป่าช้าจึงผ่านไปได้อย่างราบรื่น คืนแล้วคืนเล่าทุกข์จากการ ‘เห็นส่ิงที่ไม่อยากเห็น’ ต้อง ‘ทําความเข้าใจ’ แล้ว ‘ปล่อยวาง’
ความอยากได้แล้วไม่ได้…เป็นทุกข์ความไม่อยากได้แต่กลับได้มา… เป็นทุกข์ การได้รู้ในสิ่งท่ีใจไม่อยากรู้…เป็นทุกข์ และการได้เห็นในสิ่งท่ีใจ ไม่อยากเห็น…ก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน
ดังนี้แล้ว การไม่อยากเห็น แต่กลับได้เห็น ท่ีสามเณรอริยชาติได้ ประสบมาหลายต่อหลายครั้งเมื่อคราวนั้นจึง ทําให้สามเณรวัย ๑๗ ปี ต้อง สะดุ้ง ด้วยความตกใจอยู่บ่อยครั้ง พอสมควร ดัง เช่น การได้เห็น‘ใคร’ หรือ’อะไร’ แปลกๆ ในคราวจารึกไปเยือนธรรมาศรมแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมืองจังหวัดน่าน คือ ‘ไร่นิทรากร’ ซึ่งปกครองดูแลโดยอาจารย์ปื้ด พระภิกษุ ผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และ ‘ดุ’ เหลือเกินในความคิดของสามเณร อริยชาติเวลาน้ัน

คร้ังหนึ่ง สามเณรอริยชาติออกจากไร่นิทรากรไปทําธุระข้างนอก กวา่จะเสรจ็ธรุะและเดนิทางกลบัถงึไรก่เ็ปน็เวลาดกึมากแลว้ซงึ่หากจะเปดิ ประตูกุฏิเข้าไปจําวัดตามปกติ เสียงประตูก็ดังเหลือเกินจนอาจไปรบกวน พระอาจารย์ปื๊ดซ่ึงกําลังจําวัดอยู่ ด้วยความเกรงใจพระอาจารย์ สามเณร อริยชาติจึงต้ังใจจะอาศัยแคร่ไม้ที่อยู่ข้างห้องครัวเป็นที่จําวัดในคืนน้ัน
“นอนไปสักพักได้ยินเสียงคนเดินมา มาหยุดอยู่ท่ีตรงเหนือหัวเรา

ตอนแรกก็คิดว่าเป็นอาจารย์ ท่านคงเดินออกมาดู ก็ไม่ได้คิดอะไร แล้วเสียงเดินก็ห่างออกไป ด้วยสัญชาตญาณเราก็เลยลืมตาขึ้นมอง ตาม อ้าว! ไม่ใช่อาจารย์ แต่เป็นผู้ชายคนหนึ่ง สวมหมวกสีดําแบบหมวกที่คนร้ายใส่ปล้นธนาคารน่ะ แล้วก็สวมเสื้อกันหนาว สวมกางเกงขายาว สวม รองเท้าเหมือนรองเท้าทหาร มีไฟฉาย สะพายปืน มีย่ามด้วย กําลัง เดินไปทางต้นสัก ๔ ต้นที่เรียงกันอยู่เป็นแถวไม่ไกลจากตรงน้ี”
แล้วชายคนน้ันก็เดินหายวับเข้าไปในต้นสักต้นท่ี ๔ ต่อหน้าต่อตา สามเณรอริยชาติ!
“เฮ้ย!” สามเณรหนุ่มอุทานพลางถลันลุกขึ้นน่ังด้วยความตกใจ แต่แม้จะได้ข้อสรุปแก่ตนเองตั้งแต่ต้นแล้วว่า ‘ผีหลอก!’ ถึงอย่างนั้นในใจก็ยังคิดว่าต้องพิสูจน์ ดังนั้น สามเณรอริยชาติจึงลุกข้ึนเดินไปยังทิศท่ีต้นสัก ท้ัง ๔ ต้นเรียงรายกันอยู่ พลางนึกในใจ
“แอบอยู่หลังต้นสักหรือเปล่าวะ!”
หลังจากสํารวจต้นสักท้ัง ๔ ต้น และไม่พบวี่แววของ ‘ผู้มาเยือน’ แม้แต่เงา สามเณรอริยชาติซึ่งขวัญผวาไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแล้วในตอนนั้นจึงจำต้องละความเกรงใจเรื่องเสียงประตู จัดการย้ายที่นอนขึ้นไปอยู่บนกุฏิกับพระอาจารย์ปื๊ดอย่างไม่ลังเลอีกเลย

วันรุ่งขึ้นหลังจากสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตาให้แก่ชายผู้มาเยือนกลางดึกเรียบร้อยแล้ว ในวันเดียวกันนั้นเองก็ปรากฏว่าได้เกิด ไฟป่าขึ้นในละแวกใกล้เคียงกับไร่นิทรากร แล้วภาพเหตุการณ์ ‘หนีตาย’ ท่ีได้พบเห็นกับตาตนเองในวันน้ัน ก็ทําให้สามเณรอริยชาติพลันระลึกถึง ชายลึกลับเมื่อคืนน้ีขึ้นมาทันที และหลังจากพิจารณาเหตุการณ์อยู่ชั่วครู่ ท่านก็ได้ ‘รู้จัก’ ความเป็นมาของเขา ตลอดจนเข้าใจถึงสภาวะจิตของ ชายผู้นี้ด้วยในเวลาเดียวกัน
ครูบาอริยชาติได้เล่าถึงความคิดของสามเณรอริยชาติในตอนนั้น ว่า
“ตอนที่ไฟป่ากําลังลุกไหม้อยู่น้ัน สัตว์ป่าหนีตายอลหม่านเลย สัตว์เล็กสัตว์น้อยกระโดดหนีไฟมาจนถึงเขตที่ครูบาพักอยู่ กระโดดไปกระโดด มาอยู่ต่อหน้าเราเลย มันทําให้ครูบานึกไปถึงคนที่เราเห็นเม่ือคืนน้ี อ้อ! มันเป็นนายพราน อาจจะโดนยิงตาย หรือตายตอนออกล่าสัตว์ ตอนตาย จิตมันคงติดอยู่กับการล่าสัตว์ และมันก็คงเป็นเจ้ากรรมนายเวรของสัตว์ เหล่าน้ีด้วย ไม่อย่างน้ันมันไม่ปรากฏตัวออกมาในท่าทางที่กําลังออกล่าสัตว์หรอก แล้วตอนนั้นครูบาก็ได้รู้ถึงสภาพความเดือดร้อนของสัตว์ต่างๆด้วยว่า อ้อ! ที่เขาว่าเผาป่าต้อนสัตว์น่ะ มันเป็นแบบนี้นี่เอง”
เมื่อเกิดความเข้าใจในความเป็นไปของ ‘วิบากกรรม’ ท่ีเกิดข้ึน ต่อหน้าสดๆ ร้อนๆ สามเณรอริยชาติจึงละวางความกลัวในสิ่งที่พบเห็นเมื่อกลางดึกท่ีผ่านมาได้อีกคร้ัง และเมื่อสอบถามพระอาจารย์ป๊ืดถึง ‘นายพราน’ คนดังกล่าว ก็ได้รับคําตอบว่าพรานป่าคนน้ีเคยมีตัวตนอยู่ จริง แล้วเขาก็เสียชีวิตไปขณะท่ีกําลังล่าสัตว์อย่างท่ีสามเณรอริยชาติ สันนิษฐานไว้จริงๆ
ย่ิงเมื่อผ่านมาถึงปัจจุบัน ความคิดของครูบาอริยชาติเกี่ยวกับเร่ือง ‘ผี’ ก็เปลี่ยนไป ท่านกล่าวถึงเรื่องน้ีว่า
“ปกติเรามักกลัวผีกัน ครูบาอยากบอกว่า อย่าไปกลัวเลย ผีหลอกน่ะ ผีหลอกไม่น่ากลัว ผีหลอกสิบครั้งบ้านก็เหลือ รถก็เหลือ นาก็เหลือ ที่ก็เหลือ เงินก็เหลือ ความรู้สึกก็เหลือ เหลือทุกอย่างเลย แต่ว่าคนหลอกครั้งเดียว บ้านไม่เหลือ รถไม่เหลือ นาไม่เหลือ ที่ไม่เหลือ เงินไม่เหลือ ความรู้สึกก็ไม่เหลือ ผีย่ิงหลอกยิ่งชิน มันหลอกบ่อยๆ โอ้โห! สนิทกันเลย วันหลังผีกลัวเราเสียอีก กลัวคนขอหวย แต่คนนี่ ยิ่งหลอกย่ิงช้ํา ยิ่งหลอกบ่อยๆ หลอกสักสิบครั้งน่ี โอ้โห! ไม่รู้จะช้ํายังไง ไม่ต้องกลัวผีหลอกหรอก กลัวคนหลอกดีกว่า”

http://www.satapornbooks.co.th/Resources/Uploads/Item/N002086_3.pdf

. . . . . . .