ครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เดินตามรอยวิถีนักบุญล้านนา

ครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เดินตามรอยวิถีนักบุญล้านนา

ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ สร้าง“ครูบาศรีวิชัย” โลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลก นาทีนี้คงไม่มีใครไม่คุ้นเคยกับชื่อเสียงเรียงนามของพระหนุ่มนักพัฒนานาม “ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต” หรือครูบาเก่งหรือครูบาน้อย แห่งวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ บ้านป่าตึง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นแน่แท้ ไม่ว่าญาติโยมคนใดเดือดเนื้อร้อนใจทุกปัญหา หากดั้นด้นไปปรึกษาหารือท่านให้ช่วยเหลือขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกล้วนไม่เคย ผิดหวัง ทุกคนต่างสุขกายสบายใจ ด้วยจริยวัตรอันงดงามและยึดแนววิถีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและ เดินตามรอย “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” นักบุญแห่งล้านนาอย่างมาดมั่น น่าเคารพน่าศรัทธาและน่าเลื่อมใสยิ่งนัก จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้นักการเมือง คหบดี นักธุรกิจ พ่อค้า ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนต่างหลั่งไหลไปกราบมนัสการ ครูบาอริยชาติ จนแน่นขนัดวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต สมเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูรโดยแท้ ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๒๔ ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรคนสุดท้ายของโยมพ่อสุข โยมแม่จำนงค์ อุ่นต๊ะ ในวัยเยาว์ ด.ช.อริยชาติ มีผิวพรรณผุดผ่อง มีสติปัญญาเฉียวฉลาดกว่าเด็กในรุ่นเดียวกัน เรียนหนังสืออยู่ในระดับดีเยี่ยม แต่มีนิสัยรักสันโดษ ไม่ชอบเบียดเบียนสัตว์และมักนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปทั้งองค์เล็ก องค์ใหญ่ จน เพื่อน ๆ ล้อว่าเป็นตุ๊เจ้า ยามว่างชอบเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เนือง ๆ เป็นที่มาให้ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยชนะ ต.ประดู่ป่า อ.เมือง จ.ลำพูน เห็นแววว่าเป็นผู้มีบุญวาสนา

สมควรสืบสานพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป ครูบาจันทร์ติ๊บ จึงถ่ายทอดวิชาความรู้ต่าง ๆ ทั้งการอ่าน เขียน อักษรล้านนาให้เพียง ๑-๒ วัน ด.ช.อริยชาติ ก็สามารถอ่าน เขียน ได้คล่องแคล่ว ครูบาจันทร์ติ๊บ ได้ถ่ายทอดวิชาเวท มนตร์ อาคมต่าง ๆ ที่ร่ำเรียนสืบทอดมาจากครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตพระเกจิชื่อดังล้านนาและอดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วังมุย) ให้จนหมดสิ้น ด.ช.อริยชาติ ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว เขียนและจารอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ แทนอาจารย์ได้เลย ต่อมาครูบาจันทร์ติ๊บชราภาพมาก การทำตะกรุดพระเครื่อง วัตถุมงคลต่างๆ จึงตกเป็นภาระของ ด.ช.อริยชาติ ต้องทำเองแทนอาจารย์ ปรากฏว่าผู้เช่าบูชาได้รับประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน ปลอด ภัยและอุดมไปด้วยโชคลาภอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จวบจน ด.ช.อริยชาติ อายุได้ ๑๔ ปี กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.๔ เกิดปรารถนาแรงกล้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ประกอบกับมีโอกาสไปกราบนมัส การ ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ท่านเมตตาแนะนำให้บรรพชา จึงไปปรึกษาโยมพ่อโยมแม่แล้วบรรพชาเป็นสามเณรกับ ครูบาเทือง นาถสีโล วัดเด่นสลีเมืองแกน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จากนั้นสามเณรอริยชาติตั้งใจศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชาต่าง ๆ เพิ่มเติมจาก ครูบาอินตา วัดห้วยโทร อ.บ้านธิ จ.ลำพูน และครูบาอินตา วัดวังทอง จ.ลำพูน ที่เชี่ยวชาญด้านเมตตามหานิยม จนวิชาไม่เป็นรองใครในภาคเหนือ จนมีลูกศิษย์จาก จ.น่าน นิมนต์ท่านไปขจัดปัดเป่าทุกข์โศกก็สร้างความประทับใจให้ทุกคน ได้รับขนานนามว่า “หลวงพ่อเณร” วัตถุมงคลที่ท่านเคยสร้าง เช่น ปรอท ดาบ ผู้ใช้ต่างมีประสบการณ์ “หนังเหนียว” ยิ่งสร้างชื่อเสียงให้ท่านมากขึ้น ครั้นอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ สามเณรอริยชาติ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายา “อริยจิตฺโต”จำพรรษาอยู่วัดชัยมงคล (วังมุย) ต.ประดู่ป่า อ.เมือง จ.ลำพูน มุ่งมั่นปฏิบัติธรรมจนญาติโยมศรัทธานิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ซึ่งท่านอุทิศพัฒนาบูรณะพระธาตุเก่าแก่จนเจริญรุ่งเรืองทาสีขาว หุ้มทองคำเหลืองอร่ามใช้เวลาแค่ ๑ เดือนเท่านั้น ต่อมา ครูบาอริยชาติ ได้ย้ายมาสร้างวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ บนดอยม่อนแสงแก้ว เลขที่ ๑๙๑ หมู่ ๑๑ บ้านป่าตึง อ.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ในเนื้อที่ประมาณ ๒๙ ไร่เศษ เด่นเป็นสง่ามองลงมาเห็นตัว อ.แม่สรวย ชัดเจน ตามการรับนิมนต์ของ หลวงพ่อยา ศรีทา และคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง โดยถือฤกษ์ดีก่อสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนาหรือตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก การวางแผนผังวัดเป็นไปตามหลักธรรมคำสอนและเป็นแนวสถาปัตยกรรมล้านนา แบ่งพื้นที่ ๓ ส่วน เป็นขั้นบันได ๓ ขั้น แต่ละขั้นมีความหมาย ขั้นที่ ๑ ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน ที่จอดรถและสถานที่สาธารณกุศลสำหรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด ขั้นที่ ๒ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและใช้ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ขั้นที่ ๓ ชั้นสูงสุดเป็นชั้นสังฆกรรม ชั้นพระสงฆ์ทำพิธีกรรมและเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุประจำวัด บรรยกาศ ภายในวัด วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ จากชื่อเดิมคือ “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” บรรยกาศ ภายในวัด วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ จากชื่อเดิมคือ “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” ที่มาของชื่อ วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ หมายถึง ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว เป็นการตั้งชื่อตามนิมิตฝันของท่านที่เห็นฝนตกหนัก ท่านเดินจากยอดดอยแต่ศิษย์ห้ามไว้บอกว่า “ไม่ต้องลงไปหรอกหมู่บ้านข้างล่างน้ำท่วมหมดแล้ว” และท่านเห็นแสงสว่างคล้าย ๆ แสงแก้วลอยไปลอยมาหลายดวง เข้าไปดูใกล้ ๆ พบชาวบ้านถือดวงไฟส่องทาง จึงเดินกลับขึ้นดอยระหว่างทางตกหลุมโคลนพบลูกแก้วแสงสว่างเรืองรองสวยงาม แต่ท่านมิได้สนใจโยนทิ้งไปกลับกลายเป็นดอกบัวผุดขึ้นมากมายส่องแสงเรืองรอง ทั่วบริเวณ รุ่งเช้าท่านนำนิมิตฝันไปเล่าให้หลวงพ่อยา ศรีทาและคณะศรัทธาฟัง จึงตั้งชื่อว่า “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” แต่พอขออนุญาตสร้างวัดต่อกรมศาสนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกประทานนามใหม่เป็น “วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ” ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ในฐานะเจ้าอาวาสรูปแรกและทำการพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง ท่านเคยสร้างรูปหล่อ นางกวัก รูปร่างอ้วนตุ้ยนุ้ยจนเป็นที่เรียกขานว่า “นางกวักตุ้ย” รุ่นแม่เพชรพันกองแม่ทองพันโล ได้รับความนิยมบูชาจากญาติโยม โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าต่างเล่าขานถึงความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่จะถึงนี้ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณได้จัดงานทำบุญทอดกฐิน ทำพิธียกช่อฟ้า พระวิหาร อุโบสถ และวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างรูปหล่อเหมือน “ครูบาศรีวิชัย” โลหะองค์ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตักกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๒ เมตร โดยมีครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นประธาน จึงขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทั้งหลายมาร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่งในวันนั้นกลางคืนจะมีมหรสพ การแสดงของเหล่าดารา ศิลปิน ตลก จากรายการก่อนบ่ายคลายเครียดโชว์ลีลาให้ตื่นตาตื่นใจด้วย ย่างเข้าสู่วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา ๒๔.๐๐ น. เป็นต้นไป จะมีการแสดงธรรมเทศนา “อนิสงฆ์กฐิน” โดยพระนักเทศน์ชื่อดัง ๔ กัณฑ์ พิธีสวดมนต์เช้า เชิญกรรมฐาน ทำบุญตักบาตร แห่ขบวนกฐินสามัคคีและตั้งองค์กฐินสามัคคี ถวายกฐินทาน และพิธีหล่อพระเกตุเงิน พระประธาน พิธีหล่อพระสิงห์ ๑ หน้าตัก ๕๙ นิ้ว ๒ องค์ พระเศรษฐีนวโกฐ ๑ องค์ ข้อมูลจาก เดลินิวส์

http://en.spiritbuddha.com/node/607

. . . . . . .