พุทธศาสนิกชนแห่ร่วมทำบุญตักบาตรครูบาอริยชาติหลังออกจากนิโรธกรรม

พุทธศาสนิกชนแห่ร่วมทำบุญตักบาตรครูบาอริยชาติหลังออกจากนิโรธกรรม เชื่อ หากอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะประสบผลทุกประการ.

วันนี้ 12 ม.ค.ที่ชายป่าด้านหลังวัดแสงแก้วโพธิญาณ บ้านป่าตึง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พล.อ.พลางกูล กล้าหาญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.อารยะ งามประมวญ เสนาธิการกองทัพอากาศ นายภาสภณ เหตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดบริษัทสี่พระยาการพิมพ์ จำกัด พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาทั่วสารทิศทุกเพศทุกวัยจำนวนหลายพันคน ได้พากันนำเอาข้าวสารอาหารแห้ง จตุปัจจัยไทยทานมาเข้าแถวยาวกว่า 1 กิโลเมตรเพื่อรอใส่บาตรให้แก่ ครูบาอริชาติ อริยจิตโต เจ้าอาวาสวัดแสงแก้วโพธิญาณ ซึ่งได้เข้าพิธีนิโรธกรรม ครั้งที่ 9 และครบกำหนดการออกนิโรธกรรม ในวันนี้ เพราะในความเชื่อของชาวพุทธจะเชื่อกันว่าในยามใดที่มีพระสงฆ์กระทำนิโรธกรรมนั้น จะมีผลบุญอันยิ่งใหญ่ หากอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะประสบผลทุกประการ ซึ่งตลอดทางที่ครูบาอริยชาติ พร้มด้วยพระสงฆ์อีกจำนวนหนึ่ง ออกรับบิณทบาตรนั้นต่างก็มีประชาชนที่มาเฝ้ารอได้เข้าไปทำบุญใส่บาตรกันอย่างล้นหลามพร้อมๆกันนี้ทางครูบาอริยชาติก็ได้ให้พรแก่พุทธศาสนิกชนโดยถ้วนหน้า หลังจากนั้นจึงได้เข้ามายังศาลาภายในวัดแสงแก้วโพธิญาณ ทำพิธีสืบชะตาหลวง พิธีบวงสรวงเทพเทวดาฟ้าดิน พิธีเททองหล่อพระ พิธีปล่อยชีวิตโค-กระบือ ซึ่งตลอดทั้งวันนี้มีลูกศิษย์ได้ทำโรงทานนำอาหารมาบริการให้กับผู้มาร่วมทำบุญให้ทานฟรีตลอดทั้งวันอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม

เข้านิโรธกรรมฮิต ! (ครูบาอริยชาติ)

เข้านิโรธกรรมฮิต ! (ครูบาอริยชาติ)

ครูบาอริยชาติ ผู้เก่งกาจแห่งล้านนาไทย

อ้อ ! เดี๋ยวนี้ พระ-เณร เมืองเหนือ ไม่ร่ำไม่เรียนพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วหรือ นักธรรม-บาลี ไม่มีใครสนใจ บวชได้ไม่กี่วัน ก็เอาผ้าแดงมาห่ม ตั้งตนเองเป็นครูบา เข้ากรรมเป็นว่าเล่น แล้วก็ออกวัตถุมงคลขาย สร้างวัดใหญ่โตโก้หรูแข่งขันกัน ขณะที่ประเทศชาติประชาชนยากจนแทบล่มจม ตกอยู่ในหล่มแห่งความทะเลาะเบาะแว้ง เหลียวไปทางวัดก็เอาแต่สร้างกับสร้าง สร้างวัตถุมงคลห้อยคอ สร้างวัดใหญ่ให้เป็นที่ท่องเที่ยว สร้างสวรรค์วิมานไว้ในอากาศ ตายไปจะได้ไปอาศัย ส่วนปัจจุบันชาตินี้ก็ให้มันยากจนดักดานเข้าไว้ น่าสงสารประเทศไทยเหลือเกิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาพระปริยัติธรรม ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก จึงทรงโปรดพระราชทานพระราชทรัพย์เป็น “ทุนการศึกษาหลวง” เพื่อส่งเสริมพระภิกษุสามเณรให้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยให้เข้าใจ จะได้ไม่หลงไหลในสิ่งที่มิใช่พระพุทธศาสนา
อ่านเพิ่มเติม

กำเนิด “ครูบาน้อย”

กำเนิด “ครูบาน้อย”

ใครเล่าจะคาดคิดว่าในกาลครั้งหน้า เด็กชายผู้นี้จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย

ใครเล่าจะคาดคิดว่าในกาลครั้งหน้า เด็กชายผู้นี้จะเติบโตขึ้นและเจริญในวิถีแห่งธรรมจนโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาม ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต “ตนบุญ” ผู้มีชื่อเสียงนับตั้งแต่ดินแดนเหนือสุดของประเทศจดแผ่นดินบริเวณด้ามขวานของไทย
โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524…

“พี่…เด็กคนนี้เลี้ยงให้ดีนะ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ผมทำคลอดมาหลายคน ยังไม่เคยเห็นเหมือนเด็กคนนี้เลย…”

“คุณหมอสุชาติ” แพทย์ผู้ทำคลอดให้กับ นางจำนง อุ่นต๊ะ บอกกับนางจำนงเมื่อวันที่บุตรชายคนที่สามของนางลืมตาดูโลกเป็นวันแรก แล้วคุณหมอผู้ทำคลอดก็ขออนุญาตตั้งชื่อให้ทารกแรกเกิดผู้นี้ว่า “เก่ง”
ในวันนั้นการได้เห็นลูกน้อยซึ่งตนอุ้มท้องมานานถึง 9 เดือน เป็นความปีติยินดีของนางจำนงยิ่งกว่าสิ่งใด อีกทั้งลักษณะของบุตรชายที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นผู้นี้ ก็ทำให้นางจำนงรู้สึกภูมิใจไม่น้อย ด้วย “เด็กชายเก่ง” ผู้นี้ มีลักษณะอัน “งาม” ยิ่ง กล่าวคือ…ผิวพรรณผุดผ่อง ตาโต ใบหูยาวใหญ่ นิ้วมือนิ้วเท้าเรียวยาว…ซึ่งรูปลักษณ์เช่นนี้ตามคำทำนายของคนเฒ่าคนแก่แต่โบร่ำโบราณว่ากันว่า…นี่คือลักษณะของ “ผู้มีบุญ”
อ่านเพิ่มเติม

ความหวังของแม่ (ครูบาอริยชาติ)

ความหวังของแม่ (ครูบาอริยชาติ)

นางจำนงค์ผู้เป็นมารดาแอบหวังอยู่ลึก ๆ ว่า…ถ้อยคำที่คุณหมอทำนายเอาไว้เมื่อแรกคลอดบุตรชายคนสุดท้องอาจเป็นความจริงขึ้นมาสักวันหนึ่ง และความหวังที่จะเห็นลูกได้เป็นเจ้าคนนายคนก็เรืองรองอยู่ในใจของนางจำนงค์ตลอดมา

นางจำนงค์ผู้เป็นมารดาแอบหวังอยู่ลึก ๆ ว่า…ถ้อยคำที่คุณหมอทำนายเอาไว้เมื่อแรกคลอดบุตรชายคนสุดท้องอาจเป็นความจริงขึ้นมาสักวันหนึ่ง และความหวังที่จะเห็นลูกได้เป็นเจ้าคนนายคนก็เรืองรองอยู่ในใจของนางจำนงค์ตลอดมา

นายสุข และนางจำนงค์ อุ่นต๊ะ ก็เหมือนกับชาวบ้านปิงน้อยส่วนใหญ่ ที่ยึดอาชีพทำไร่ทำสวนสืบทอดจากบรรพบุรุษ และครอบครัวนี้ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกชายสามคน ก็มีฐานะไม่สู้จะดีนัก
อ่านเพิ่มเติม

นักบุญน้อย (ครูบาอริยชาติ)

นักบุญน้อย (ครูบาอริยชาติ)

เด็กชายเก่งจึงเป็นเด็กคนเดียวในหมู่บ้านที่รอบรู้และชำนาญในการ “การวัด” ตั้งแต่ยังเด็ก และสามารถสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี

เด็กชายเก่งจึงเป็นเด็กคนเดียวในหมู่บ้านที่รอบรู้และชำนาญในการ “การวัด” ตั้งแต่ยังเด็ก และสามารถสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี
ครูบาอริยชาติเล่าว่า ชีวิตเมื่อวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่ท่านลำบาก (กาย) ที่สุด เนื่องจากฐานะทางบ้านไม่สู้ดีนัก ดังนั้น ท่านและพี่ชายจึงต้องทำงานหนักเพื่อแบ่งเบาภาระของพ่อแม่มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ท่านเล่าว่า

“ครูบาไม่ได้เกิดมาใช้ชีวิตสบาย พ่อแม่มีลูก 3 คน อาชีพหลักคือทำสวน ฐานะทางบ้านเรียกว่าเข้าขั้นยากจน ครูบาช่วยงานแม่ทุกอย่างในวัยเด็ก ทั้งงานบ้าน งานสวน ทำสวนแทบจะทุกวัน ตั้งแต่สวนผัก ผักกาด ผักชี หอม แตงกวา สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปแต่ละปีๆ โรงเรียนเลิกกลับมาบ้านก็ต้องไปรดน้ำผักให้แม่ บางทีกลับบ้านมาก่อนก็ต้องมาทำกับข้าวรอแม่ บางวันต้องตื่นแต่เช้า บางทีตี 2 ไปเก็บผักเพราะคนซื้อเขาต้องการผักจำนวนมาก เช่น สั่ง 500 กิโล จะเอาตอนเช้า ก็ต้องไป บางทีตี 4 เก็บผักจากสวน 7 โมงไปโรงเรียน เสาร์อาทิตย์แทบไม่มีเวลาเล่น คนอื่นเขาดูการ์ตูน ดูหนัง แต่ครูบาไม่ได้เล่นนะ เสาร์อาทิตย์ก็ต้องช่วยแม่ทำงาน เก็บพริก เก็บมะเขือ ช่วยแม่ทุกอย่าง”
อ่านเพิ่มเติม

หัวอกแม่…หัวใจลูก (ครูบาอริยชาติ)

หัวอกแม่…หัวใจลูก (ครูบาอริยชาติ)

“เอาไว้ให้จบ ม.6 ก่อนแล้วค่อยบวชนะลูก…เดี๋ยวแม่จะซื้อมอเตอร์ไซค์” “ผมไม่เอารถ…ผมจะบวช” ไม่ว่าจะเกลี้ยกล่อมอย่างไร ลูกชายก็ยังไม่เปลี่ยนความคิด สุดท้ายนางจำนงค์ก็ได้แต่ตัดพ้อต่อว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่ง คงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว”

“เอาไว้ให้จบ ม.6 ก่อนแล้วค่อยบวชนะลูก…เดี๋ยวแม่จะซื้อมอเตอร์ไซค์” “ผมไม่เอารถ…ผมจะบวช” ไม่ว่าจะเกลี้ยกล่อมอย่างไร ลูกชายก็ยังไม่เปลี่ยนความคิด สุดท้ายนางจำนงค์ก็ได้แต่ตัดพ้อต่อว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่ง คงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว”
การศึกษาในระบบโรงเรียนของเด็กชายเก่งเป็นไปอย่างราบรื่นสมใจนายสุขและนางจำนงค์ผู้เป็นพ่อแม่ ในขณะเดียวกัน การศึกษาภายในวัดก็เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุดหน้า เป็นที่ถูกใจครูบาจันทร์ติ๊บผู้เป็นอาจารย์เช่นเดียวกัน !
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติครูบาอริยชาติ

ประวัติครูบาอริยชาติ

ใต้ร่มโพธิธรรม

ด้วยวัยเพียง 17 ปี ทั้งยังเพิ่งเข้าสู่เพศนักบวชในระดับ “สามเณรใหม่” ทำให้การปลีกวิเวกครั้งแรกในชีวิตของสามเณรอริยชาติมิใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยความมุ่งมั่นแรงกล้า สามเณรหนุ่มจึงมิได้ย่อท้อ…แม้สถานที่พักปักกลดจะเป็นบริเวณข้างถนน ตามป่าเขา หรือแม้แต่ในป่าช้า สามเณรอริยชาติก็สามารถควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่กับสภาวะนั้น ๆ ได้เป็นผลสำเร็จ

ด้วยวัยเพียง 17 ปี ทั้งยังเพิ่งเข้าสู่เพศนักบวชในระดับ “สามเณรใหม่” ทำให้การปลีกวิเวกครั้งแรกในชีวิตของสามเณรอริยชาติมิใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยความมุ่งมั่นแรงกล้า สามเณรหนุ่มจึงมิได้ย่อท้อ…แม้สถานที่พักปักกลดจะเป็นบริเวณข้างถนน ตามป่าเขา หรือแม้แต่ในป่าช้า สามเณรอริยชาติก็สามารถควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่กับสภาวะนั้น ๆ ได้เป็นผลสำเร็จ
ภายหลังจากได้ละเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตสมความปรารถนา สามเณรอริยชาติก็ตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอโดยเคร่งครัดทั้งปริยัติและปฏิบัติ และตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะมุ่งดำเนินแนวทางตามรอยพระบูรพาจารย์ในอดีต และหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างหนักเพื่อให้จิตเกิดสมาธิแก่กล้าจนบรรลุซึ่งความสงบให้ได้
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .