ประวัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กำเนิดในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด จ.อุดรธานี เกิดเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ.2456 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู ณ บ้านตาด อ.หมากแข้ง จ.อุดรธานี บิดานายทองดี โลหิตดี มารดานางแพงศรี โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด 16 คน
สมัยเด็กหลวงตา มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ ขณะที่ในวัยหนุ่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงจังเป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง
สมัยเด็ก หลวงตา มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป
เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ 20 ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น วันบวช 12 พฤษภาคม พ.ศ.2477 ณ วัดโยธานิมิตร จ.อุดรธานี
พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)วัดโพธิสมภรณ โดยมีท่านพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายานามว่า “ญาณสมฺปนฺโน” แปลว่า “ถึงพร้อมแล้วด้วยการหยั่งรู้” ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้ เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่างๆตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน
หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้วต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียร ในป่าเขาอย่างจริงจัง ท่านตั้งสัจจะไว้ว่า จะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ 3 ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ 3 ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ 7 พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/