ตอน ยี่สิบเอ็ด ภาคผนวก
ผนวก ๑ – ว่าด้วยญาณเนื่องด้วยอานาปานสติ
คำว่า “ญาณ” มีความหมาย ๒ ความหมาย อย่างแรกหมายถึงการรู้สิ่งที่ต้องรู้ ซึ่งอาจจะรู้ได้เมื่อกำลังทำอยู่พร้อมกันไปในตัว หรือว่าด้วยการศึกษามาก่อนถึงเรื่องนั้น ๆ ตามสมควร แล้วมารู้แจ้งสิ่งนั้นอย่างสมบูรณ์ ในเมื่อมีการปฏิบัติไปจนถึงที่สุด. ตัวอย่างเช่นเมื่อทำบ้านเรือนสำเร็จ คนคนนั้นก็มีความรู้เรื่องการทำบ้านเรือน ; ความรู้บางอย่างก็มีมาแล้วก่อนทำ ความรู้บางอย่างก็เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อกำลังทำ และความรู้ทั้งหมดย่อมสมบูรณ์เมื่อทำงานนั้นสำเร็จไปแล้วจริง ๆ. ฉะนั้น คำว่า ญาณในประเภทแรกนี้ หมายถึงสิ่งที่เราเรียกกันตามโวหารธรรมดาว่า “ความรู้” หมายถึงความรู้ที่ถูกต้อง เพราะได้ผ่านสิ่งนั้น ๆ มาแล้วจริง ๆ. ส่วนความหมายของคำว่า ญาณอย่างที่สองนั้น เล็งถึงความรู้แจ้งแทงตลอดเฉพาะเรื่อง และเป็นการเห็นแจ้งภายในใจล้วน เนื่องมาจากการเพ่งโดยลักษณะมีลักษณะแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นประธาน ซึ่งเรียกโดยโวหารธรรมดาว่า “ความรู้แจ้ง” เห็นแจ้ง หรือเลยไปถึงความแทงตลอด ซึ่งมีหน้าที่เจาะแทงกิเลสโดยตรง ; ในเมื่อญาณตามความหมายทีแรก หมายถึงเพียงความรู้ที่ทำให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จ และรู้ถึงที่สุดเมื่อทำสำเร็จเท่านั้น.และเราจะได้วินิจฉัยกันในญาณตามความหมายประเภทแรกก่อน ดังต่อไปนี้ :-
เมื่อบุคคลเจริญอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ หรือมีจตุกกะสี่ ดังที่กล่าวแล้วโดยละเอียดถึงที่สุดไปแล้ว เขาย่อมมีความรู้เกี่ยวกับการทำ อานาปานสติทั้งหมดหรือแม้ว่าก่อนจะเจริญอานาปานสติอันมีวัตถุสิบหกนี้ ถ้าเขาอยากจะศึกษามาก่อนเขาก็ต้องศึกษาเรื่องความรู้เหล่านี้เอง ซึ่งจะต้องตรงเป็นอันเดียวกันเสมอไปความรู้ที่กล่าวนี้แบ่งเป็น ๑๑ หมวด ดังต่อไปนี้ :-
หมวดที่ ๑ ญาณ ในธรรมที่เป็นอันตรายต่อสมาธิ ๘ ประการ
หมวดที่ ๒ ญาณ ในธรรมที่เป็นอุปการะต่อสมาธิ ๘ ประการ
หมวดที่ ๓ ญาณ ในโทษที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมาธิ ๑๘ ประการ
หมวดที่ ๔ ญาณ ในธรรมคือความผ่องแผ้วของสมาธิ ๑๓ ประการ
หมวดที่ ๕ ญาณ ในการทำตนให้เป็นผู้มีสติปัฏฐาน ๓๒ ประการ
หมวดที่ ๖ ญาณ ที่เป็นไปตามอำนาจของสมาธิ ๒๔ ประการ
หมวดที่ ๗ ญาณ ที่เป็นไปตามอำนาจของวิปัสสนา ๗๒ ประการ
หมวดที่ ๘ ญาณ ในนิพพิทา ๘ ประการ
หมวดที่ ๙ ญาณ อันอนุโลมต่อนิพพิทา ๘ ประการ
หมวดที่ ๑๐ ญาณ เป็นที่ระงับซึ่งนิพพิทา ๘ ประการ
หมวดที่ ๑๑ ญาณ ในสุขอันเกิดแต่วิมุตติ ๒๑ ประการ
รวมทั้งหมดเป็น ๒๒๐ ประการ หรือ ๒๒๐ เรื่อง ดังนี้ :-
หมวดที่ ๑ – ๒
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย และ ในธรรมที่เป็นอุปการะต่อสมาธินั้นอาจจะกล่าวเป็นคู่ ๆ ในฐานะที่เป็นของตรงกันข้ามต่อกันและกันดังต่อไปนี้:-
กามฉันทะ เป็นอันตราย เนกขัมมะ เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง,
พยาบาทเป็นอันตราย อัพ์ยาบาท เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง,
ถีนมิทธะ เป็นอันตรายอาโลกสัญญา เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง,
อุทธัจจะ เป็นอันตราย อวิกเขปะเป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง,
วิจิกิจฉา เป็นอันตราย ธัมมววัตถานะ เป็นอุปการะนี้คู่หนึ่ง,
อวิชชา เป็นอันตราย วิชชาหรือญาณ เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง,
อรติเป็นอันตราย ปามุชชะ เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง,
อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นอันตรายกุศลธรรมทั้งปวง เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง ;
รวมเป็น ๘ คู่ จำแนกเรียงอย่างเป็น ๑๖ อย่างด้วยกัน. ดังที่กล่าวมาแล้วบ่อย ๆ ว่า จะกำหนดรู้สิ่งใดต้องทำสิ่งนั้นให้ปรากฏแก่ใจจริง ๆ เสียก่อน แล้วจึงกำหนดรู้ ; ถ้าสิ่งนั้นปรากฏอยู่เองแล้วก็มีการกำหนดรู้สิ่งนั้นไปได้เลย. การกำหนดรู้ความเป็นอันตราย และการกำหนดรู้ความเป็นอุปการะ จะต้องกำหนดรู้ที่ธรรม ๑๖ ประการนี้จริง ๆ จนกระทั่งรู้จักตัวจริงของสิ่งนั้นจริง ๆ รู้จักความที่สิ่งนั้นทำอันตรายแก่สมาธิ หรือเป็นอุปการะแก่สมาธิอย่างประจักษ์ชัดแก่ใจตน ในขณะที่ตนกำลังพยายามจะทำจิตให้เป็นสมาธิซึ่งต้องทำการต่อสู้หรือทำการประคับประคองอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในขณะนั้นว่ามันมีความจริงในการทำหน้าที่ของมันอย่างไร จึงจะเรียกว่าญาณในที่นี้. รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมทั้ง ๑๖ ประการนี้มีอยู่แล้วในวินิจฉัยแห่งอานาปานสติขั้นที่สี่.
หมวดที่ ๓
ญาณในโทษเป็นเครื่องเศร้าหมองของสมาธิ นั้น หมายถึงความรู้เท่าถึงการณ์ในการพลิกแพลงของจิต ในขณะที่มีการกำหนดลมหายใจหรือนิมิตที่กระทำไปไม่สำเร็จ ซึ่งมีอยู่ ๑๘ ชนิดด้วยกันคือ :-
๑. เมื่อกำหนดเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แห่งลมหายใจเข้า จิตฟุ้งซ่านในภายใน.
๒. เมื่อกำหนดเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แห่งลมหายใจออก จิตฟุ้งซ่านในภายนอก.
๓. ความหวัง ความใคร่ ความพอใจ หรือความทะเยอทะยานอยากต่อลมหายใจเข้า.
๔. ความหวัง ความใคร่ ความพอใจ หรือความทะเยอทะยานอยากต่อลมหายใจออก.
๕. เมื่อสนใจในลมหายใจเข้ามากเกินไป จนเรียกได้ว่าถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ความเลือนก็เกิดขึ้นไปในการกำหนดลมหายใจออก.
๖. เมื่อสนใจในลมหายใจเข้ามากเกินไป จนเรียกได้ว่าถูกลมหายใจออกครอบงำ ความเลือนก็เกิดขึ้นไปในการกำหนดลมหายใจเข้า.
๗. เมื่อกำหนดนิมิตอยู่ จิตที่กำหนดลมหายใจเข้าหวั่นไหว.
๘. เมื่อกำหนดลมหายใจเข้าอยู่ จิตที่กำหนดนิมิตหวั่นไหว.
๙. เมื่อกำหนดนิมิตอยู่ จิตที่กำหนดลมหายใจออกหวั่นไหว.
๑๐. เมื่อกำหนดลมหายใจออกอยู่ จิตที่กำหนดนิมิตหวั่นไหว.
๑๑. เมื่อกำหนดลมหายใจเข้าอยู่ จิตที่กำหนดลมหายใจออกหวั่นไหว.
๑๒. เมื่อกำหนดลมหายใจออกอยู่ จิตที่กำหนดลมหายใจเข้าหวั่นไหว.
๑๓. จิตแล่นไปตามอารมณ์ในอดีต เป็นจิตตกไปสู่ความกระสับกระส่าย
๑๔. จิตหวังในอารมณ์อันเป็นอนาคต เกิดเป็นจิตกวัดแกว่งขึ้น.
๑๕. จิตหดหู่มีอาการแห่งความเกียจคร้านหรือตกลงไปสู่ความเกียจคร้าน.
๑๖. จิตเพียรจัดเกินไป จนตกไปฝ่ายความฟุ้งซ่าน.
๑๗. จิตไวต่อความรู้สึกอารมณ์เกินไป เป็นจิตตกไปสู่ความกำหนัด.
๑๘. จิตไม่แจ่มใส ไม่ผ่องแผ้ว เป็นจิตตกไปสู่ความขัดเคืองหรือความประทุษร้าย.
รวมทั้ง ๑๘ ประการนี้เรียกว่าโทษ เป็นเครื่องทำความเศร้าหมองแก่สมาธิ. ญาณ หรือความรู้ เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้ ในเมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฏเป็นอุปสรรค แล้วตนสามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ จึงจะเรียกว่า “ญาณ” ในที่นี้. ผู้ไม่มีญาณข้อนี้อาจจะไม่รู้แม้แต่เพียงว่าเป็นโทษ แม้สิ่งเหล่านี้เกิดอยู่ก็ไม่สามารถกำหนดได้ ว่าคืออะไรและจะต้องจัดการอย่างไร บางทีก็ไม่สามารถแม้แต่จะแจ้งอาการเหล่านี้แก่กัลยาณมิตรหรืออาจารย์. ฉะนั้น ควรได้รับการศึกษามาก่อนคือก่อนที่จะเจริญอานาปานสติอย่างเพียงพอ หรือเต็มที่อย่างที่จะสามารถทำได้ แล้วมารู้ถึงที่สุดเอาเมื่อได้ปฏิบัติเสร็จแล้ว. แม้รายละเอียดเรื่องนี้ก็ได้วินิจฉัยแล้วโดยละเอียดในอานาปานสติขั้นที่สี่ตอนต้น ๆ.
หมวดที่ ๔
ญาณในธรรมที่เป็นการผ่องแผ้วของสมาธิ มีอาการตรงกันข้ามหรือเป็นไปในทำนองที่ตรงกันข้าม จากอาการที่กล่าวมาแล้วในเรื่องธรรมที่เป็นเครื่องทำความเศร้าหมอง หากแต่ว่าหมวดนี้มีเพียง ๑๓ อย่างคือ :-
๑. เมื่อจิตแล่นไปตามอารมณ์ในอดีต จนตกไปสู่ความกระสับกระส่าย เธอเว้นจิตดวงนั้นเสีย ตั้งจิตไว้ในฐานอันเดียว ย่อมระงับโทษคือความกระสับกระส่ายนั้นได้.
๒. จิตหวังต่ออารมณ์ในอนาคต เป็นจิตหวั่นไหวแล้ว เธอเว้นจิตดวงนั้นเสีย น้อมจิตไปในฐานอันเดียว คือการเว้นจิตดวงนั้นเสียนั่นเอง ย่อมชำระความเศร้าหมองนั้นได้.
๓. จิตหดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน เธอย่อมทำการประคับประคองยกขึ้นซึ่งจิตนั้นด้วยการปลอบด้วยอุบายมีประการต่าง ๆ ย่อมละความเศร้าหมองได้.
๔. จิตเพียรจัดเกินไป จนตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน เธอย่อมข่มซึ่งจิตนั้นด้วยอุบายมีประการต่าง ๆ ย่อมละความเศร้าหมองได้.
๕. จิตไวต่อความรู้สึกเกินไป จนตกไปสู่ความกำหนัด เธอเพิ่มสัมปชัญญะทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม หรือความรู้เท่าทันในการที่จะหยดการไวต่อความรู้สึกนั้นเสีย ย่อมละเว้นความเศร้าหมองได้.
๖. จิตไม่แจ่มใส ตกไปฝ่ายประทุษร้าย เธอเพิ่มสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและรู้เท่าทันในการทำจิตให้แจ่มใส ย่อมละเว้นความเศร้าหมองได้.
ต่อไปนี้ เป็นความผ่องใสของจิต โดยความเป็นจิตเอก.
๗. ความเป็นจิตเอก เพราะจิตมีการสละสิ่งทั้งปวงปรากฏชัด.
๘. ความเป็นจิตเอก เพราะนิมิตแห่งสมถะปรากฏชัด.
๙. ความเป็นจิตเอก เพราะลักษณะแห่งความสิ้นไปและเสื่อมไปปรากฏชัดแก่จิต
๑๐. ความเป็นจิตเอก เพราะธรรมเป็นที่ดับเสีย ซึ่งความรู้สึกว่าตัวตนหรือของตนปรากฏชัด.
ความเป็นเอกต่าง ๆ กันนี้ มีได้ต่างกันแก่หมู่ชน ที่มีพื้นเพอุปนิสัยเดิมต่างกัน เช่นชอบให้ทานเป็นนิสัย ชอบทำสมาธิเป็นนิสัย ชอบพิจารณาเพื่อวิปัสสนาเป็นนิสัย และพวกพระอริยเจ้าในที่สุด.
๑๑. ความผ่องใส เกิดแก่จิตเพราะรู้ความหมดจดแห่งการปฏิบัติของตน.
๑๒. จิตผ่องใส เพราะเจริญด้วยอุเบกขา หรือพรั่งพรูด้วยอุเบกขา.
๑๓. จิตร่าเริงด้วยญาณ แล้วเป็นจิตผ่องใส ดังนี้.
ความผ่องใสทั้ง ๑๓ ประการนี้ สำเร็จมาจากความรู้ อันเป็นเครื่องทำความผ่องใส ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะกรณี และเฉพาะบุคคลก็จริงแต่บุคคลผู้ผ่านการเจริญอานาปานสติไปจนถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีญาณเหล่านี้อย่างครบถ้วน ด้วยการประจักษ์บ้าง ด้วยการหยั่งทราบบ้าง. รายละเอียดเกี่ยวกับการผ่องแผ้วทั้ง ๑๓ ประการนี้ มีวินิจฉัยอยู่แล้วในอานาปานสติขั้นที่สี่เช่นเดียวกัน.
หมวดที่ ๕
ญาณในความเป็นผู้มีสติปัฏฐาน ๓๒ ประการ๑ นั้น หมายถึงความรู้ที่ประจักษ์ในขณะเจริญอานาปานสติ มีวัตถุ ๑๖ หรือ ๑๖ ขั้น มีรายละเอียดดังที่กล่าวมาแล้วแต่ต้นจนละเอียดนั่นเอง หากแต่ว่าวัตถุหนึ่ง ๆ ถูกแบ่งออกเป็นสองตามขณะแห่งการหายใจเข้าและการหายใจออก เพราะมีการกำหนดอย่างเดียวกันและอย่างเต็มที่ทุกครั้งที่หายใจเข้าหรือหายใจออก. ความรู้ในขณะหายใจเข้า
ก็ถูกจัดเป็นญาณอันหนึ่ง ในขณะหายใจออก ก็เป็นญาณอีกอันหนึ่งไปทุก ๆ วัตถุ รวมทั้ง ๑๖ วัตถุ จึงเป็น ๓๒ ญาณ มีชื่อตามอาการที่กำหนดแห่งวัตถุนั้น ๆ คือ :
๑. ญาณเป็นเครื่องรู้ลมหายใจเข้ายาว ว่าเราหายใจเข้ายาว.
๒. ญาณเป็นเครื่องรู้ลมหายใจออกยาว ว่าเราหายใจออกยาว.
๓. ญาณเป็นเครื่องรู้ลมหายใจเข้าสั้น ว่าเราหายใจเข้าสั้น.
๔. ญาณเป็นเครื่องรู้ลมหายใจออกสั้นว่าเราหายใจออกสั้น.
๕. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า.
๖. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก.
๗. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๘. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๙. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า.
๑๐. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก.
๑๑. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า.
๑๒. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก.
๑๓. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า.
๑๔. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก.
๑๕. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๑๖. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๑๗. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า.
๑๘. ญาณเป็นเครื่องรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก.
๑๙. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่ หายใจเข้า.
๒๐. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่ หายใจออก.
๒๑. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า.
๒๒. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก.
๒๓. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า.
๒๔. ญาณเป็นเครื่องรู้การทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.
๒๕. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า.
๒๖. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก.
๒๗. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า.
๒๘. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก.
๒๙. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นธรรมเป็นที่ดับอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า.
๓๐. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นธรรมเป็นที่ดับอยู่เป็นประจำ หายใจออก.
๓๑. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า.
๓๒. ญาณเป็นเครื่องตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก.
ญาณเหล่านี้มีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า สโตการีญาณ มีชื่อตามลำดับเลขว่าสโตการีญาณ ที่หนึ่ง ที่สอง ตามลำดับไป. สโตการี แปลว่า ผู้กระทำซึ่งสติ ; สโตการีญาณ จึงแปลว่า ญาณของผู้ทำสติ จำแนกเป็น ๓๒ ตามอาการที่ทำดังที่กล่าวแล้ว.
หมวดที่ ๖
ญาณด้วยอำนาจความเป็นสมาธิ ๒๔ นั้น หมายถึงความรู้ในความเป็นสมาธิ หรือเพราะมีความเป็นสมาธิปรากฏอยู่อย่างนั้น ๆ แล้วเกิดความรู้ต่อความเป็นสมาธินั้น จำแนกเป็น ๒๔ ตามอาการของความเป็นสมาธิ ที่มีอยู่ในอานาปานสติเพียง ๓ จตุกกะข้างต้น คือ :-
๑. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว.
๒. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว.
๓. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น.
๔. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น.
๕. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า.
๖. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก.
๗. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๘. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๙. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า.
๑๐. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก.
๑๑. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า.
๑๒. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก.
๑๓. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า.
๑๔. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก.
๑๕. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๑๖. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๑๗. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า.
๑๘. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นรู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก.
๑๙. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตให้บันเทิงอยู่ หายใจเข้า.
๒๐. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตให้บันเทิงอยู่ หายใจออก.
๒๑. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า.
๒๒. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก.
๒๓. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตให้ตั้งปล่อยอยู่ หายใจเข้า.
๒๔. ญาณ คือความรู้ว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นเอกคตาไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจการทำจิตให้ตั้งปล่อยอยู่ หายใจออก.
ญาณด้วยอำนาจสมาธิมีเพียง ๒๔ เพราะมีใน ๓ จตุกกะข้างต้น ส่วนในจตุกกะที่สี่นั้น เป็นการกำหนดด้วยอำนาจวิปัสสนา จึงไม่ถูกนับรวมอยู่ในญาณในประเภทนี้.
หมวดที่ ๗
ญาณด้วยอำ นาจวิปัสสนา ๗๒ อย่าง จำแนกโดยทำนองของญาณด้วยอำ นาจสมาธิ ๒๔ อย่างดังที่กล่าวมาแล้วในหมวดก่อน หากแต่ว่าจำ แนกออกไปอีกอย่างละสาม ด้วยอำนาจลักษณะทั้งสามคือ อนิจจลักษณะ ๑, ทุกขลักษณะ ๑,อนัตตลักษณะ ๑, เป็นการตรีคูณญาณทั้ง ๒๔ ญาณ จึงกลายเป็น ๗๒ ญาณ มีชื่อแห่งอาการตามการกำหนด เช่นเดียวกันคือ :-
๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อหายใจเข้ายาว.
๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อหายใจเข้ายาว.
๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อหายใจเข้ายาว.
๔. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อหายใจออกยาว.
๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อหายใจออกยาว.
๖. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อหายใจออกยาว.
๗. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อหายใจเข้าสั้น.
๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อหายใจเข้าสั้น.
๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อหายใจเข้าสั้น.
๑๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อหายใจออกสั้น.
๑๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อหายใจออกสั้น.
๑๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อหายใจออกสั้น.
๑๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า.
๑๔. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า.
๑๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า.
๑๖. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก.
๑๗. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก.
๑๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อรู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก.
๑๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๒๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๒๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๒๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๒๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๒๔. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๒๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า.
๒๖. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจเข้า.
๒๗. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจเข้า.
๒๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก.
๒๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออก.
๓๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก.
๓๑. วิปัสสนาญาณเพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า.
๓๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า.
๓๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า.
๓๔. วิปัสสนาญาณเพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก.
๓๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก.
๓๖. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา มื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก.
๓๗. วิปัสสนาญาณเพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า.
๓๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า.
๓๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะจิตตสังขาร หายใจเข้า.
๔๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก.
๔๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก.
๔๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะจิตตสังขาร หายใจออก.
๔๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๔๔. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๔๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า.
๔๖. วิปัสสนาญาณเพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๔๗. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์เมื่อทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๔๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก.
๔๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า.
๕๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า.
๕๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า.
๕๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก.
๕๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก.
๕๔. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก.
๕๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่หายใจเข้า.
๕๖. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่หายใจเข้า.
๕๗. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่ หายใจเข้า.
๕๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่หายใจออก.
๕๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่หายใจออก.
๖๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตให้บันเทิงยิ่งอยู่ หายใจออก.
๖๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจเข้า.
๖๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจเข้า.
๖๓. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจเข้า.
๖๔. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออก.
๖๕. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออก.
๖๖. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออก.
๖๗. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจเข้า.
๖๘. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจเข้า.
๖๙. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจเข้า.
๗๐. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยง เมื่อทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก.
๗๑. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นทุกข์ เมื่อทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก.
๗๒. วิปัสสนาญาณ เพราะการตามเห็นความเป็นอนัตตา เมื่อทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก.
โดยนัยเป็นอันกล่าวได้ว่าวิปัสสนาญาณ ๗๒ ก็คือ ความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ละอย่าง ๆ ในขณะที่จิตมีความเป็นสมาธิ ๒๔ ขณะ แต่ละขณะ ๆนั่นเอง และเป็นวิธีการนับที่ใช้เฉพาะอยู่ในวงการแห่งการเจริญอานาปานสติโดยตรง.
หมวดที่ ๘
ญาณเนื่องจากความเบื่อหน่ายเรียกว่า นิพพิทาญาณ จำแนกตามอาการของการเห็นความไม่เที่ยง เห็นความจางคลาย เห็นธรรมเป็นที่ดับ และเห็นความสลัดคืน แล้วแยกออกเป็นสอง ๆ ตามขณะแห่งการหายใจเข้าและการหายใจออก จึงรวมกันเป็น ๘ อย่าง มีชื่อตามอาการแห่งการเห็นธรรมนั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :
๑. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นความไม่เที่ยง รู้อยู่ เห็นอยู่ ตามที่เป็นจริง หายใจเข้า.
๒. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นความไม่เที่ยง รู้อยู่ เห็นอยู่ ตามที่เป็นจริง หายใจออก.
๓. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นอยู่ซึ่งความจางคลาย รู้อยู่ เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง หายใจเข้า.
๔. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นอยู่ซึ่งความจางคลาย รู้อยู่ เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง หายใจออก.
๕. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นอยู่ซึ่งธรรมเป็นที่ดับ รู้อยู่ เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง หายใจเข้า.
๖. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นอยู่ซึ่งธรรมเป็นที่ดับ รู้อยู่ เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง หายใจออก.
๗. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นความสลัดคืน รู้อยู่ เห็นอยู่ ตามที่เป็นจริง หายใจเข้า.
๘. นิพพิทาญาณ เมื่อตามเห็นความสลัดคืน รู้อยู่ เห็นอยู่ ตามที่เป็นจริง หายใจออก.
โดยนัยนี้ เป็นอันกล่าวได้ว่านิพพิทาญาณโดยสมบูรณ์ ตามความหมายของญาณ ๆ นี้ มีอยู่ในอานาปานสติจตุกกะที่สี่ หรือหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนาเท่านั้น แม้จะมีการพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตามาแล้ว ตั้งแต่จตุกกะที่สอง คือหมวดเวทนานุปัสสนาภาวนา ก็หาได้มุ่งหมายที่จะทำนิพพิทาญาณให้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์และโดยตรงไม่ ; แต่ถ้าผู้ใดถือเอาการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขั้นนั้น แล้วทำ นิพพิทาให้เป็นไปโดยสมบูรณ์ได้ เรื่องก็กลายเป็นเรื่องลัดตรงไปสู่จตุกกะที่สี่ หรือสู่ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนามาเสียตั้งแต่ขณะนั้น ดังนี้ก็ได้. ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าไม่มีความจำเป็นสำหรับทุกคน ที่จะต้องทำอานาปานสติตามลำดับวัตถุทั้ง ๑๖ ไปจนหมด ถ้าสามารถทำปัสสนาญาณ และนิพพิทาญาณให้เกิดขึ้นได้ที่วัตถุใด แล้วทำ จตุกกะที่สี่ให้สมบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้นก็ย่อมเป็นการลัดสั้นของบุคคลนั้นอย่างเป็นที่น่าพอใจ. สำหรับในที่นี้เป็นการกล่าว ที่กล่าวไปตามหลักเกณฑ์จึงได้กล่าวนิพพิทาญาณไว้ในจตุกกะที่สี่โดยตรง.
หมวดที่ ๙
ญาณหมวดนี้ได้แก่ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ อย่าง คือ
๑. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า.
๒. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก.
๓. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า.
๔. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นความจางคลาย หายใจออก.
๕. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นธรรมเป็นเครื่องดับ หายใจเข้า.
๖. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นธรรมเป็นเครื่องดับ หายใจออก.
๗. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า.
๘. นิพพิทานุโลมญาณคือปัญญาในความเข้าไปปรากฏโดยความเป็นภัยเมื่อตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก.
ญาณเหล่านี้ชื่อว่า อนุโลมต่อนิพพิทา เพราะเป็นเหตุให้เกิดนิพพิทาขึ้นได้ในที่สุด ญาณเหล่านี้มีมาก่อนนิพพิทาญาณ เท่าที่จะกำหนดได้ว่าจะสนับสนุนให้เกิดนิพพิทาได้โดยแน่แท้ กล่าวคือ เมื่อได้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาในรูปของการเกิดและการดับอย่างเพียงพอแล้ว จึงเกิดความรู้สึกที่เป็นไปในทำ นองที่กลัวต่อภัย อันเกิดมาจากการที่ต้องเกิดต้องดับ หรือการทนทุกข์ทรมานนั่นเอง. ความกลัวที่ปรากฏชัดเรียกว่าการเข้าไปปรากฏแห่งภัย. ปัญญาที่รู้เห็นความเป็นอย่างนี้ เรียกว่าปัญญาในความเข้าไปปรากฏแห่งภัย. มีอยู่ได้ตลอดอานาปานสติจตุกกะที่สี่ นี้เรียกว่านิพพิทานุโลมญาณ เป็นความรู้ที่นับเนื่องอยู่ในนิพพิทาญาณ ในกรณีที่มีการแยกความรู้ในระยะนี้ให้ละเอียดลงไปอีก กล่าวคือเมื่อเห็นโดยความเป็นภัยแล้ว ก็ย่อมเห็นโดยความเป็นโทษ ซึ่งเรียกการเห็นนั้นว่า อาทีนวญาณ หรือ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นั้น : แม้ญาณนี้ ก็สงเคราะห์เข้าในนิพพิทานุโลมญาณด้วยอย่างเดียวกัน.
ฉะนั้น เป็นอันว่าภยตุปัฏฐานญาณก็ดี อาทีวญาณก็ดี จัดเป็นพวกนิพพิทานโลมญาณด้วยกันทั้งสิ้น ; จะถือว่ามีผลเป็นนิพพิทาญาณ หรือว่าเป็นนิพพิทาญาณอยู่ในตัวมันเอง ก็ถูกทั้งสองอย่าง เพราะได้ผลเท่ากันโดยพฤตินัย.ในวงแห่งการเจริญอานาปานสติ จำแนกญาณเหล่านี้ตามธรรมสี่ มีอนิจจตา เป็นต้น มีปฏินิสสัคคะ เป็นที่สุด และการจำแนกตามขณะที่หายใจเข้าและออก จึงได้จำนวนเป็น ๘ อย่างด้วยกัน ผิดจากในที่อื่นซึ่งระบุถึงแต่สักว่าชื่อไม่จำ แนกตามวัตถุหรือขณะเป็นต้นเลย ซึ่งทำ ให้มีจำนวนเพียงหนึ่ง เพราะการไม่จำแนกนั่นเอง อีกอย่างหนึ่งการที่ไม่จำ แนกนั้น เป็นการปฏิบัติในแนวอื่นซึ่งไม่ใช่การเจริญอานาปานสติ จึงไม่รู้ที่จะจำแนกอย่างไรนั่นเอง.
หมวดที่ ๑๐
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ หมายถึงบรรดาญาณที่รำงับอาการแห่งนิพพิทาเสียแล้ว ดำเนินหน้าที่ หรือทำจิตที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จำแนกเป็น ๘ ตามวัตถุที่กำหนด และขณะที่กำหนดอย่างเดียวกันอีก คือ :-
๑. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า.
๒. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก.
๓. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นความจางคลาย หายใจเข้า.
๔. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นความจางคลาย หายใจออก.
๕. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นธรรมเป็นเครื่องดับ หายใจเข้า.
๖. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นธรรมเป็นเครื่องดับ หายใจออก.
๗. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า.
๘. นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ คือปัญญาที่ทำหน้าที่การพิจารณาแล้วตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในขณะเห็นความสลัดคืน หายใจออก.
ญาณชื่อนี้ระงับซึ่งอาการแห่งนิพพิทา แล้วดำเนินกิจต่อไปในการพิจารณาหาทางพ้นเพราะอยากจะพ้น จนกระทั่งพบความหลุดพ้น. ถึงทราบว่าถ้ากำลังแห่งนิพพิทายังคงอยู่ ก็มีแต่ความกลัว ความหวาดเสียว และความเบื่อหน่าย ซึ่งล้วนเป็นการถอยกำลัง หรือทำให้ถอยกำลัง และเป็นความทนทุกข์ทรมานอยู่ในตัว ฉะนั้น จึงต้องรำงับกำลังแห่งนิพพิทาเสียด้วยญาณอื่นที่ถัดไป ;หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เปลี่ยนการใช้กำลังของญาณไปในทางอื่นนั่นเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แทนที่จะมัวเบื่อหน่ายอยู่ ก็กลายเป็นความอยากพ้นอย่างแรงกล้า แล้วแสดงหาความพ้นหรือทางพ้น จนกระทั่งพบว่าความวางเฉยต่อสังขารทั้งปวง เป็นความพ้นที่แท้จริง ; ฉะนั้นเป็นอันว่า ญาณที่มีชื่อว่า มุญจิตุกัม์ยตาญาณ ก็ดี ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ก็ดี ตลอดถึง สังขารุเบกขาญาณก็ดี ย่อมนับเนื่องอยู่ในนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาด้วยกันทั้งสิ้น. อีกอย่างหนึ่งต้องไม่ลืมว่าแม้ในญาณเหล่านี้ในขณะนี้ ก็ยังคงมีกำลังแห่งการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหนุนเนื่องอยู่ตามเคย และมีกำลังยิ่งขึ้นตามส่วนด้วย. กล่าวได้ว่าญาณทุกญาณตั้งอาศัยอยู่บนกำลังแห่งการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดสาย ในรูปที่ต่างกันตั้งแต่ต้นมาทีเดียว ซึ่งมีใจความสั้น ๆ คือ ญาณที่เห็นการเกิดดับ ก็คือการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ; ญาณที่ทำให้กลัวภัยในวัฏฏสงสาร ก็เพราะเห็นอยู่ว่าในวัฏฏสงสารเต็มไปด้วยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ; ญาณที่ทำให้เห็นโทษ ก็เพราะเห็นว่าโทษนั้นเกิดมาจากความที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ;ญาณที่เป็นความอยากพ้น ก็คืออยากพ้นจากความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ; ราวกะว่ากำลังแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเครื่องรุกเร้าให้หาทางพ้น. ญาณที่เป็นเครื่องพิจารณาหาทาง ก็หมายถึงหาางออกที่ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะทำอะไรแก่ตนไม่ได้. และในที่สุดญาณซึ่งเป็นเครื่องวางเฉยต่อสังขารธรรมทั้งปวงนั้น ก็หมายถึงการวางเฉยโดยเด็ดขาดต่อสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง. เป็นอันว่ากำลังแห่งการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีอยู่ในญาณเหล่านี้และมีมากยิ่งขึ้น เพื่อหนุนกำลังแห่งญาณเหล่านั้นให้มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งถึงญาณประเภทที่นับเนื่องอยู่ในอริยมรรคญาณ ก็ทำ การตัดกิเลสด้วยอำนาจของการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่มีกำลังถึงที่สุดนั่นเองง ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงให้เห็นชัดว่า ญาณประเภทที่อนุโลมต่อนิพพิทาญาณ หรือเป็นบุรพภาคของนิพพิทาญาณก็ดี ตัวนิพพิทาญาณเองก็ดี ญาณทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายหลังระงับอาการแห่งนิพพิทาญาณ แล้วทำกิจต่อไปก็ดี ล้วนแต่ต้องอาศัยกำลังแห่งการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น. เมื่อเป็นดังนั้นญาณเหล่านั้นจึงมีได้ ทั้งในขณะที่ตามเห็นความเป็นอนิจจัง ตามเห็นความจางคลาย ตามเห็นธรรมเป็นเครื่องดับ และตามเห็นความสลัดคืน ดังที่กล่าวมาแล้วได้ด้วยกันทั้งสิ้น และทุกขณะแห่งการหายใจเข้าและออก ดังนั้น จึงสามารถจำแนกญาณเหล่านี้ออกได้เป็น ๘ เสมอไป โดยอาศัยวัตถุ ๔ คือ อนิจจตา วิราคะ นิโรธะและปฏินิสสัคคะ ; และอาศัยขณะสอง คือขณะแห่งการหายใจเข้า และขณะแห่งการหายใจออก ดังที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
หมวดที่ ๑๑
วิมุตติสุขญาณ คือ ญาณในความสุขอันเกิดแก่วิมุตติ ได้แก่ความรู้โดยประจักษ์ต่อความสุขที่เกิดขึ้น เพราะจิตหลุดพ้นจากสัญโญชน์ และอนุสัยนับว่าเป็นความรู้ผลของการปฏิบัติ เป็นญาณหมวดสุดท้าย จำแนกตามสัญโญชน์และอนุสัยที่อริยมรรคทั้งสี่จะพึงตัด จำแนกโดยละเอียดได้เป็น ๒๑ อย่าง คือ :-
๑. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ สักกายทิฏฐิ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ด้วย โสดาปัตติมรรค.
๒. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ วิจิกิจฉา ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วยโสดาปัตติมรรค.
๓. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ สีลัพพตปรามาส ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย โสดาปัตติมรรค.
๔. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ ทิฏฐานุสัย ถูกละ ถูกตัดเสียได้ด้วย โสดาปัตติมรรค.
๕. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ วิจิกิจฉานุสัย ถูกละ ถูกตัดเสียได้ด้วย โสดาปัตติมรรค.
๖. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ กามราคะอย่างหยาบ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย สกิทาคามิมรรค.
๗. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ ปฏิฆะอย่างหยาบ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย สกิทาคามิมรรค.
๘. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ กามราคานุสัยอย่างหยาบ ถูกละถูกตัดเสียได้ ด้วย สกิทาคามิมรรค.
๙. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย สกิทาคามิมรรค.
๑๐. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ กามราคะอันละเอียด ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย อนาคามิมรรค.
๑๑. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ ปฏิฆะอันละเอียด ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย อนาคามิมรรค.
๑๒. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ กามราคานุสัยอันละเอียด ถูกละถูกตัดเสียได้ ด้วย อนาคามิมรรค.
๑๓. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ ปฏิฆานุสัยอันละเอียด ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วย อนาคามิมรรค.
๑๔. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ รูปราคะ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วยอรหัตตมรรค.
๑๕. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ อรูปราคะ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วยอรหัตตมรรค.
๑๖. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ มานะ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วยอรหัตตมรรค.
๑๗. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ อุทธัจจะ ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วยอรหัตตมรรค.
๑๘. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ อวิชชา ถูกละ ถูกตัดเสียได้ ด้วยอรหัตตมรรค.
๑๙. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ มานานุสัย ถูกละ ถูกตัดเสียได้ด้วย อรหัตตมรรค.
๒๐. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ ภวราคานุสัย ถูกละ ถูกตัดเสียได้ด้วย อรหัตตมรรค.
๒๑. วิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นเพราะ อวิชชานุสัย ถูกละ ถูกตัดเสียได้ด้วย อรหัตตมรรค.
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า ท่านเรียงลำดับเหล่านี้ ตามอาการที่มรรคทั้งสี่จะพึงละ. สิ่งที่จะพึงจำแนกเป็น ๒ หมวด คือ หมวดสัญโญชน์ และหมวดอนุสัย. ใน ๒๑ ข้อนั้น ข้อที่ ๑ – ๒ – ๓ – ๖ – ๗ – ๑๐ – ๑๑ – ๑๔ – ๑๕ – ๑๖ -๑๗ – ๑๘ สิบสองข้อนี้เป็นพวกสัญโญชน์ ; ข้อที่ ๔ – ๕ – ๘ – ๙ – ๑๒ – ๑๓ -๑๙ – ๒๐ – ๒๑ เก้าข้อนี้ เป็นหมวดอนุสัย เมื่อเป็นดังนี้เห็นได้สืบไปว่า เป็นการจำแนกที่ซ้ำกันอยู่ คือถ้าถือเอาสัญโญชน์ ๑๐ เป็นหลัก ก็มีอนุสัยซ้ำเข้ามาถึง ๗. ถ้าถือเอาอนุสัย ๗ เป็นหลัก ก็มีสัญโญชน์ซ้ำหรือเกินเข้ามา ๑๐. นอกจากนั้น.พึงสังเกตให้เห็นว่า ท่านได้แยกสัญโญชน์หรืออนุสัยบางอย่าง ออกไปเป็นชั้นหยาบและชั้นละเอียดอีก ตามควรแก่อำนาจของอริยมรรคจะพึงตัด เช่นจำแนกกามราคะและปฏิฆะ ว่ามีเป็นอย่างหยาบและอย่างละเอียด ทั้งที่เป็นสัญโญชน์และอนุสัย ด้วยการจำ แนกออกไปเช่นนี้ด้วย และด้วยการรวมเข้าด้วยกันทั้งสัญโญชน์และอนุสัยด้วย จึงได้จำนวนเป็น ๒๑ ดังกล่าว.
สัญโญชน์ ๑๐ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตาปรามาส
๔. กามราคะ (มีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด)
๕. ปฏิฆะ (มีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด)
๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา.
โสดาปัตติมรรคย่อมตัด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตาปรามาส ; สกิทาคามิมรรคย่อมตัดเพื่อจากโสดาปัตติมรรค คือ ตัดกามราคะอย่างหยาบและปฏิฆะอย่างหยาบ ; นาคามิมรรคย่อมตัดเพิ่มจากสกิทาคามิมรรค คือ ตัดกามราคะอย่างละเอียด และปฏิฆะอย่างละเอียด เป็นอันว่ากามราคะ และปฏิฆะ ถูกตัดหมดไปในขั้นอนาคามิมรรคนี้, ส่วนอรหัตตมรรค ย่อมตัดเพิ่มจากอนาคามิมรรค คือรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา. เป็นอันว่าหมดสัญโญชน์โดยประการทั้งปวง.
เมื่อกล่าวโดยยกเอาอนุสัยเป็นหลัก ; พึงทราบว่า อนุสัยมี ๗ คือ
๑. ทิฏฐานุสัย
๒. วิจิกิจฉานุสัย
๓. กามราคานุสัย (จำแนกอย่างหยาบและอย่างละเอียด)
๔. ปฏิฆานุสัย (จำแนกอย่างหยาบและอย่างละเอียด)
๕. มานานุสัย
๖. ภวราคานุสัย
๗. อวิชชานุสัย
โสดาปัตติมรรคย่อมตัดทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ; สกิทาคามิมรรค ย่อมตัดกามราคานุสัยอย่างหยาบและปฏิฆานุสัยอย่างหยาบเพิ่มขึ้น ; อนาคามิมรรค ย่อมตัดกามราคานุสัยอย่างละเอียด และปฏิฆานุสัยอย่างละเอียดเพิ่มขึ้น ; ส่วนอรหัตตมรรค ย่อมตัดมานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย.เมื่อนำสัญโญชน์ ๑๐ และอนุสัย ๗ มาเปรียบเทียบกันดู ย่อมจะเห็นได้ว่าเพียงแต่จำนวนต่างกัน เพราะเล็งถึงกิริยาอาการ ที่ทำหน้าที่เป็นกิเลสต่างกัน คือสัญโญชน์หมายถึงเครื่องผูกพัน และอนุสัยหมายถึงเครื่องนอนเนื่องอยู่ในสันดาน แต่โดยเนื้อแท้นั้นเป็นของอย่างเดียวกันได้ โดยการปรับให้เข้ากันดังต่อไปนี้ คือ : เมื่อเอาอนุสัยเจ็ดเป็นหลักยืน เอาสัญโญชน์สิบมาทำการสงเคราะห์เข้าในอนุสัย เรื่องก็จะกลายเป็นว่า สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาส ๒ อย่างนี้ คือทิฏฐานุสัย. วิจิกิจฉา คือวิจิกิจฉานุสัย, กามราคะ คือกามราคานุสัย,รูปราคะและอรูปราคาะ ๒ อย่างนี้ คือภวราคานุสัย, มานะและอุทธัจจะ ๒ อย่างนี้ คือมานานุสัย, อวิชชา คืออวิชชานุสัย. สัญโญชน์ ๑๐ อย่าง จึงลงตัวกันได้กับอนุสัย ๗ อย่าง ด้วยอาการดังกล่าวนี้.
สัญโญชน์ ๑๐ และอนุสัย ๗ รวมกันเป็น ๑๗ กามราคะและปฏิฆะ ทั้งของสัญโญชน์ และของอนุสัย ถูกแยกออกเป็นอย่างหยาบและอย่างละเอียดทั้ง ๒ ชื่อ และทั้ง ๒ ประเภท จึงได้เพิ่มมาอีก ๔ เมื่อไปรวมกับ ๑๗ จึงเป็น ๒๑ วิมุตติสุขญาณ จำแนกโดยอาการอย่างนี้ จึงมี ๒๑ ดังกล่าวแล้ว ซึ่งแท้จริงอาจจะกล่าวได้ว่ามีเพียง ๑๐ เท่ากับจำนวนแห่งสัญโญชน์ หรือมีเพียง ๗ เท่ากับจำนวนอนุสัย หรือแม้ในที่สุดมีเพียง ๔ เท่ากับจำนวนแห่งอริยมรรค ก็นับว่าเป็นสิ่งที่อาจจะกล่าวได้อยู่นั่นเอง.
https://sites.google.com/site/smartdhamma/smartdhamma.googlepages.compart21_anapan