สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ – ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
——————–
ชาตะ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ
พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
อ่านเพิ่มเติม

ประมวลภาพพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ประมวลภาพพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

พิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 9 มี.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ)

พิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 9 มี.ค.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ โดยเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้เสด็จขึ้นพลับพลาอิศริยาภรณ์ และประทับพระเก้าอี้ที่หน้าอาสนสงฆ์ เจ้าพนักงานลาดผ้าภูษาโยง จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 10 รูปบังสุกุล ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วเสด็จลงจากพลับพลา
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) หรือสมเด็จเกี่ยว

หากเอ่ยนามพระสงฆ์ “ผู้เป็นต้นแบบแห่งสงฆ์ ” ที่พุทธบริษัทปรารถนาจะได้พบเห็น อันเป็นหนึ่งในทัสนานุตริยะ ที่เป็นมงคลยิ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นพระมหาเถระที่ได้รับการกล่าวนามถึงมากที่สุดรูปหนึ่ง ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา บนผืนแผ่นดินไทย ด้วยใบหน้าที่เปิดยิ้ม ฉายแววแห่งความเมตตา ทักทายผู้คนทุกชนชั้นที่พบเห็น

เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานแนวคิดนำพระพุทธศาสนาก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และนำพระพุทธศาสนาขจรขจายไปก้องโลก

ชีวิตของพระสงฆ์รูปหนึ่ง เมื่อแรกตั้งใจบรรพชาเป็นสามเณรเพียง 7 วัน แต่กลับดำรงตนอยู่ในสมณเพศตลอดมาตราบเข้าสู่วัยชรา และสามารถสร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาได้อย่างอัศจรรย์
อ่านเพิ่มเติม

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์
ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.๙)
อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
กรุงเทพมหานคร โดยมีกำหนดการดังนี้
อ่านเพิ่มเติม

คาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร

ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา
จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง
อัตถิกาเยกายะ ญายะ
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต
ธะนะกาโมละเภธะนัง
เทวานังปิยะตังสุตตะวา
ท้าวเวสสุวัณโณ
นะโมพุทธายะ
อ่านเพิ่มเติม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์
(เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จเกี่ยว

เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2471
มรณภาพ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อายุ 85
อุปสมบท 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
พรรษา 64
วัด วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ท้องที่ กรุงเทพมหานคร
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.9 น.ธ.เอก
ตำแหน่ง
ทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
อดีตประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) (นามเดิม: เกี่ยว โชคชัย) (11 มกราคม พ.ศ. 2471 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นพระสงฆ์มหานิกาย และอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยเป็นผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม[1][2][3][4]ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

คติธรรมคำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ… ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร

ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

อ่านเพิ่มเติม

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

คำเทศนา ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

“บุญ” ถ้าเจ้าไม่เคยสร้างไว้ ใครที่ไหนเล่าจะมาช่วยได้ลูกเอ๋ย ก่อนที่เจ้าจะเที่ยวไปอ้อนวอนขอพึ่งบารมีหลวงพ่อองค์ใดองค์หนึ่ง เจ้าจะต้องมีทุน (บุญ) ของตัวเอง เป็นทุนเดิมติดตัวไปบ้างก่อน ต่อเมื่อบารมีของตัวเจ้าเองยังไม่พอ จึงขอร้อง ยืมบารมีของผู้อื่นมาช่วยเหลือ ถ้ามิฉะนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะเจ้าจะต้องเป็นหนี้บุญบารมีที่เจ้าร้องขอ หรือยืมคนเขามาจนล้นพ้นตัว

ครั้นเวลาใดที่เจ้ามีโอกาสทำบุญทำกุศลบ้าง เรียกว่า พอจะมีบุญบารมีเป็นของตัวเองบ้าง เจ้าก็จะต้องไปผ่อนใช้หนี้ที่เจ้าเคยขอร้องยืมเขามาจนหมดสิ้นแทบไม่เหลือสำหรับตัวเอง แล้วเจ้าจะมีบุญกุศลใดติดตัวไว้จุนเจือตัวเองในภพหน้าที่ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นวัฏฏทุกข์ที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องรับรู้ รับทราบ ถ้าเรามั่นใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น เจ้าจงหมั่นสะสมบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างสม่ำเสมอ เทพยดา ฟ้าดินจะเอ็นดูช่วยเหลือเจ้าเอง
อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโณ

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกี่ยว อุปเสโณ

10 สิงหาคม 2556 ทั่วทั้งสังฆมณฑลได้รับทราบข่าวมรณภาพของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือ “สมเด็จเกี่ยว” อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุ 85 ปี 6 เดือน
สมเด็จเกี่ยว มีนามและสกุลเดิมว่า เกี่ยว โชคชัย เป็นบุตรคนที่ 5 ของ นายอุ้ย เลี้ยน แซ่โหย่ หรือ เลื่อน โชคชัย และนางยี โชคชัย เกิดเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2471 ณ บ้านเฉวง อ.เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เริ่มศึกษาระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนจบ ป.4 /// เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาทอง อ.เกาะสมุย และโยมมารดานำไปฝากไว้กับ หลวงพ่อพริ้ง พระครูอรุณกิจโกศล วัดแจ้ง ใน อ.เกาะสมุย ก่อนที่ หลวงพ่อพริ้ง จะนำไปฝากไว้กับสมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทยมหาเถร วัดสระเกศ และได้อุปสมบท ในปี 2492 มีนามฉายาว่า “อุปเสโณ”
อ่านเพิ่มเติม

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธรรมะมีทั้งกลางวันและกลางคืน

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมะมีทั้งกลางวันและกลางคืน

ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการสำเหนียก กำหนดพิจารณาธรรมอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีอยู่ปรากฏอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัส) ก็มีอยู่ปรากฏอยู่ได้เห็นอยู่ได้ยินอยู่ได้สูดดมลิ้มเลีย และ สัมผัสอยู่ จิตใจเล่า ก็มีอยู่ ความคิด นึกรู้สึกในอารมณ์ต่างๆทั้งดีและร้ายก็มีอันมีอยู่โดยธรรมดาเขาแสดงความจริง คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ให้ปรากฏอยู่ทุกเมื่อ เช่น ใบไม้เหลืองหล่นร่วงจากต้น ก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็นได้ดังนี้ เป็นต้น เมื่อผู้ปฏิบัติมาพินิจพิจารณาด้วยสติปัญญา โดยอุบายนี้อยู่เสมอแล้วชื่อว่าได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ธรรมโอวาทของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธาตุเน่าไม่ควรยึด

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธาตุเน่าไม่ควรยึด

ท่านเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าตนทั้งนั้น
สุกะ เป็นธาตุบูดเน่าเป็นธรรมชาติของเขา
ร้ายแต่มนุษย์ จิตติดสุภะ ดื่มสุรา
ท่านยกพระโพธิสัตว์ยกเป็นกษัตริย์ มีเมีย ๖ หมื่น บุตรราหุล
ท่านก็ไม่เมา ไหนเรามีเมียตาเปียกคนเดียวติดกันจนตาย
ธาตุเมาอันนี้เป็นธรรมชาติไม่ให้คนสิ้นสุดทุกข์ไปได้

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คุณค่าของชีวิต

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คุณค่าของชีวิต

สิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง
จึงไม่ควรเบียดเบียนและทำลายคุณค่า
แห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
อันเป็นการทำลายคุณค่าของกันและกัน
เป็นบาปกรรมแก่ผู้ทำ

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วิ่งตะครุบเงา

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วิ่งตะครุบเงา

คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้
จึงวิ่งหาโน่นหานี่
เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ
คนที่หลงจึงต้องแสวงหา
ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
จะหาไปให้ลำบากทำไม
อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม
เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง
ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว

คติธรรม โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เราควรรักษาศีล 5

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เราควรรักษาศีล 5

๑. สิ่งที่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียน ข่มเหง และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
๒. สิ่งของของใคร ใครก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลัก ปล้น จี้ เป็นต้น อันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
๓. ลูกหลาน สามี ภรรยา ใครๆ ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อม ล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
๔. มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
๕. สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมีสติปกครองตัว จึงไม่ควรดื่มสุรา เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นการทำลายตัวเอง และผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้ทรงคุณค่าด้วยธรรม

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ผู้ทรงคุณค่าด้วยธรรม

ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น

ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน

ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์

ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน

จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์

ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี

ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทำตนอย่ารู้มาก

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ทำตนอย่ารู้มาก

อย่าสำคัญว่าตนเอง เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย

ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง

จนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์

ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร

เมื่อมีผู้เตือนสติ

ควรยึดมาเป็นธรรมคำสอน

จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ทำตามความอยาก

เมื่อพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้

จะประสบผลคือความสุขในปัจจุบันทันตา

แม้จะมิได้เป็นเจ้าของเงินล้าน แต่มีทางได้รับความสุข

จากสมบัติและความประพฤติดีของตน

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อย่าตำหนิติเตียนผู้อื่น

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

อย่าตำหนิติเตียนผู้อื่น

ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การรักษาศีล

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

การรักษาศีล

ศีลนั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่าผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลง กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่กี่กาลก็ได้ผลไม่กี่กาล ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจ กล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้มีศีลจักมั่งคั่ง ไม่อด ไม่อยาก ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวร หมดภัย

คติธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

อ้างอิง : http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-116-page-e.html

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พัฒนาตน

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พัฒนาตน

คนเราทุกคน..ใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ
ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ ความฉลาดเท่านั้น
ที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุข ทั้งกายและใจโดยถูกทาง
ตลอดจนให้ผู้อื่นได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วย
นั่นไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตด้วย
จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง
โดยไม่เลือกเพศ วัย ชาติ ชั้นวรรณะอะไรเลย

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

. . . . . . .